collapse

ผู้เขียน หัวข้อ: ไขหลักจิตภาวะสัจธรรม ถ้อยแถลงจากผู้เรียบเรียง  (อ่าน 40248 ครั้ง)

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                            ไขหลักจิตภาวะสัจธรรม   

                    @   ผู้บำเพ็ญกลัวตายด้วยหรือไม่

        ชีวิตคนเราเมื่อมีมาก็ต้องมีไป ชายชาตรีเห็นความตายเหมือนกลับไปสู่ที่พัก การเกิดในวันนี้ คือจุดเริ่มต้นของการตายในวันข้างหน้า การตายในวันนี้คือจุดเริ่มต้นของการเกิดในวันข้างหน้า อินหยังมืดสว่างผันเวียน แม้อริยปราชญ์ก็ไม่อาจยกเว้น ฉะนั้น ผู้บำเพ็ญจึงเห็นคำว่า ตาย สำคัญที่สุด และไม่สำคัญที่สุดหมายความว่าอย่างไร  หากจะกล่าวว่าไม่กลัวตาย เราทำไมจึงต้องศึกษาธรรมะเพื่อชีวิตนิรันดร์ แต่หากว่ากลัวตายทำไมผู้บำเพ็ญเราจะลดละทางโลกไม่สนใจในความตาย ยิ่งกว่านั้น เมื่อบำเพ็ญวิถีอนุตตรธรรมแล้วจะพ้นเวียนว่ายตายเกิดได้ เช่นนี้แล้วยังจะเห็นความสำคัญของชีวิตสั้นยาวทางโลกอีกหรือ

                   @   "ใจคนหมิ่นเหม่ยิ่ง  ใจธรรมสุขุมยิ่ง วิเศษสุดจุดหนึ่ง น้อมรักษาตรงกลางให้มั่นคง" วจนะนี้เป็นวิถีแห่งจิต ที่ปิยะมหากษัตริย์เหยาซุ่นถ่ายทอดสืบต่อมา มีคำอธิบายดังนี้

        ใจคนหมิ่นเหม่ นั่นคือ คนเป็นหนึ่งในสามคุณ (ฟ้าเป็นคน แผ่นดินเป็นคุณ คนคือคุณ) คนมีสัจธรรมอันสมบูรณ์ เป็นสัตว์โลกที่วิเศษกว่าสัตว์อื่นใด ใจ คือศูนย์กลางของสรรพชีวิต เป็นหลักควบคุมสรรพสิ่ง หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ใจของคนคือวิญญาณขันธ์ ที่มีอารมณ์รับรู้ ผูกพัน กระเจิงไกล แปดเปื้อน ฯลฯ  ซึ่งเรียกว่าจิตที่มีจริตอันเกิดขึ้นเมื่อมาอยู่ในกายสังขารแล้ว จึงมีทั้งดีและไม่ดี  เมื่อวิญญาณขันธ์เป็นหลักคิดอ่าน ตัณหาอารมณ์ก็กอบก่อ ใจคนมีกึ่งภาวะอินกึ่งภาวะหยัง จึงดีก็ได้ชั่วก็ได้ ไม่เอียงก็เอน หากเอียงไปทางหยังก็จะฟุ้งซ่าน เอียงไปทางอินก็จะมืดมน ความฟุ้งซ่านมืดมนเป็นอันตรายไม่ปกติสุข จึงได้กล่าวว่า "ใจคนหมิ่นเหม่ยิ่ง" "ใจธรรมสุขุมยิ่ง"  ธรรมะเป็นต้นกำเนิดของฟ้าดิน ครอบคลุมสรรพสิ่ง เป็นจุดเริ่มต้นของสรรพสิ่ง ใจธรรมจึงเป็นปัญญา เป็นธาตุแท้ของชีวิต เป็นจิตแท้จริงอันสงบเยือกเย็นเป็นประภัสสร ที่กล่าวว่า เป็นสัจธรรมอันสมบูรณ์ คือเป็นอยู่อย่างนั้นเองในอนุตตรภาวะ ปราศจากดี ปราศจากไม่ดี  เป็นดวงปัญญาอันกลมใส เป็นธาตุแท้ญาณเดิมอันวิสุทธิ์สงบว่างเปล่า ไม่เกิด ไม่ดับ ไม่เพิ่มขึ้น ไม่ลดลง วิเศษลึกซึ้งแยบยลมิอาจประมาณการ จึงได้กล่าวว่า "ใจธรรมสุขุมยิ่ง"  วิเศษจุดหนึ่ง วิเศษสุดคือ ความสว่างอันวิสุทธิ์ จุดหนึ่ง คือ ศรัทธา สัจจริง คงที่  วิเศษสุด เป็นเครื่องกำจัดความมืดมน  จุดหนึ่ง เป็นเครื่องกำจัดความฟุ้งซ่าน ทั้งนี้ด้วยเหตุที่วิเศษสุดเป็นความสว่าง จุดหนึ่งเป็นศรัทธาแท้นั่นเอง  ปัญญาอันวิลาศล้ำเยือกเย็น เป็นปัญญาและสมาธิเนื่องกัน เป็นจิตสุขุมอันได้กำจัดตัณหาแล้วจนหมดสิ้น เปลี่ยนจากวิญญาณขันธ์เป็นสัมปชัญญะ เช่นนี้ความหมิ่นเหม่ก็จะปกติได้เอง ความสุขุมก็จะปรากฏได้เอง  ที่กล่าวว่า เมื่อสว่างกระจ่างแจ้งก็จะเกิดศรัทธา สัจจริงคงที่ เมื่อเกิดศรัทธา สัจจริง คงที่ ก็จะสว่างกระจ่างแจ้งนั้น รวมความง่าย ๆ ก็คือ เป็นคุณที่เกิดจากวิเศษสุดจุดหนึ่ง คือเก็บความฟุ้งซ่านกลับมาสู่สัจธรรม สว่างใสในความดีงามคือสู่ภาวะธาตุแท้แต่เดิมทีนั่นเอง น้อมรักษา  ตรง  กลาง  ให้มั่นคง    อวิ่นคือน้อมรับ    จื๋อคือรักษาคงมั่น   เจวี๋ยจงคือจิตอันวิลาศล้ำ   เป็นสูญญตาอันกว้างใหญ่ไพศาลมิอาจประมาณ เป็นความเล็กละเอียดอันไม่มีสิ่งใดแทรกซอนอยู่ได้ เป็นความมีอยู่อันวิเศษ ซึ่งไม่มีจุดเริ่มก่อนหน้าและไม่มีจุดจบในภายหลัง แผ่ไพศาลทั่วทั้งสามโลกทศทิศอันไร้ขอบเขต  นั่นคือสัจธรรมแห่งธรรมจักรวาล พูดง่าย ๆ ก็คือ น้อมรักษา ตรง  กลาง  มั่นคง  (อวิ่นจื๋อเจวี๋ยจง) หมายถึง น้อมรักษาสัมมาธรรมะ มั่นคงในสัจธรรมนั่นเอง  นี่คือวิถีแห่งจิต ที่อริยเจ้าถ่ายทอดจิตประทับจิต สืบต่อกันมาตั้งแต่ครั้งมหาปิยะกษัตริย์ ทั้งสาม  เหยา  ซุ่น  อวี่  เรื่อยไปจนถึง ทัง  อุ๋น  อู่  โจวกง  และจอมปราชญ์ขงจื้อ  เป็นสัจวิถีทั้งสามศาสนาร่วมเทิดทูนปฏิบัติ และถ่ายทอดสืบต่อมาโดยไม่เปลี่ยนแปลง สรุปคือ เป็นวิถีจิตประทับจิตโดยมิอาจคาดคำนึง  ถ่ายทอดแท้จริงตามลำดับพงศาธรรม ซึ่งมิให้จารึกอักขระปรากฏไว้  ดังเช่นในคัมภีร์วัชรญาณสูตร อันมีพระสุภูติทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า "สาธุชนชายหญิงอันได้บังเกิดโพธิจิตแล้ว จะรักษาไว้เสมอไปโดยไม่ถดถอยได้อย่างไรฤา แม้หากเกิดความฟุ้งซ่านจะกำราบใจได้อย่างไร"  "พึงหยุดลง  ณ   ตรงนี้   กำราบลง  ณ  ตรงนี้"  โพธิจิตหมายถึง จิตอันเป็นธรรมะ ผู้มีจิตความคิดฟุ้งซ่านคือใจคน  พึงกำราบและหยุดลง  ณ  ตรงนี้คือ  น้อมรักษา  ตรง  กลาง  ให้มั่นคงนั่นเอง

โลกอิน - หยัง             มืดสว่าง             ไม่ต่างกัน

ทุกชีวัน                      เกิดดับ               กับเหตุ - ผล

ยุติธรรม                      คือนัยน์ตา            ฟ้าเบื้องบน

แม้เส้นขน                    ไม่เลยละ              ปละปล่อยไป

                                                                     ~  จบเล่ม  ~   

Tags: