ปุจฉา : ทุกศาสนาต่างมีคัมภีร์ เพื่อให้ศาสนิกชนได้อาศัยปฏิบัติบำเพ็ญ แต่อนุตตรธรรมกลับไม่มีคัมภีร์ของตน อาศัยเพียงหลักของห้าศาสนารวมเป็นหนึ่งเป็นรากฐาน การจะสละแพยังต้องมีแพก่อน ไม่มีแพแล้วจะข้ามฝั่งได้อย่างไร เช่นนี้ก็ไม่อาจข้ามทะเลทุกข์ได้
ท่านจื้อเต๋อต้าตี้ เมตตา วิสัชนา (แปลจากหนังสือเต้าอี้ไป่เวิ่น) : ศานาต่าง ๆ ไม่ค่อยมีศาสนาใดที่ตั้งขึ้นโดด ๆ รวมไปถึงศาสนาพุทธ คริสต์ อิสลามด้วย เช่น หากไม่มีศาสนาพราหมณ์ก็ไม่มีศาสนาพุทธ ไม่มีศาสนาคริสต์ ก็ไม่มีศาสนาอิสลาม อย่างในคัมภีร์อัลกุรอานของศาสนาอิสลามยังมีการพูดถึงพระแม่มาเรีย หรืออับราฮัมเป็นต้น ทำให้เห็นได้ว่าศาสนาอิสลามก็มีจุดกำเนิดเดียวกับศาสนาคริสต์ เรียกได้ว่าต้นกำเนิดเดียวกันแต่แตกออกเป็นคนละสาย ไม่ว่าศาสนาใดก็สามารถนำเอาจุดเด่นของศาสนาอื่นในการมาขยายผลต่อไปได้ จะสามศาสนารวมเป็นหนึ่งก็ดี หรือห้าศาสนารวมเป็นหนึ่งก็ดี นี่เป็นความพิเศษของวัฒธรรมตะวันออก ธรรมะคือสิ่งที่ดำเนินอย่างกลมกลืนโดยไม่ขัดแย้ง เข้าสู่ความยิ่งใหญ่และลึกซึ้ง พระมหาเถราจารย์หันซันในศานาพุทธ ก็ยังเขียนเคยในอรรถาคัมภีร์คุณธรรมของศาสนาเต๋า (เต้าเต๋อจิง) โดยการอธิบายก็ไม่ได้ใช้ศัพท์และภาษาแนวพุทธศาสนา แต่เลือกใช้คำศัพท์แนวศาสนาปราชญ์มาอธิบาย อีกทั้งยังสามารถถ่ายทอดความหมายได้อย่างลึกซึ้ง ต่างกับอีกหลายคน ที่หากไม่ใช่พุทธคัมภีร์จะไม่ยอมพูดถึง อย่าง จู่เจี่ยวอวี๋ปิน ที่เป็นคริสต์ศาสนิกชน เวลาอธิบายคัมภีร์ของคริสต์ ท่านก็อธิบายด้วยคัมภีร์ห้าจตุรปกรณ์ อธิบายด้วยวัฒนธรรมจีน เพื่อให้คนในประเทศเข้าใจและยอมรับได้โดยง่าย พวกเราต่างให้ความเคารพบูชาในศาสนาทั้งห้า นำเอาคำสอนของทั้งห้าศาสนามาใช้ โดยถือศาสนาปราชญ์เป็นแนว และอาศัยคำสอนของศาสนารอื่นมาประกอบ เราสามารถพิจารณาถึงจริตของผู้ฟัง แล้วนำเอาคัมภีร์ทั้งห้าศาสนามาอรรถาธิบายอย่างเหมาะสม นี่เป็นศาสตร์การสอนระดับสูงเรียกว่า "อบรมตามจริต" ซึ่งจะทำให้ผู้คนยอมรับและเชื่อมั่นมากยิ่งขึ้น อันที่จริงพวกเราก็ไม่ถึงกับไม่มีพระคัมภีร์ของตัวเอง เพียงแต่อาจจะน้อยกว่าศาสนาอื่น ๆ เท่านั้นเอง แม้พระคัมภีร์จะเป็นสิ่งที่สำคัญกับผู้บำเพ็ญ แต่การยึดแต่พระคัมภีร์ก็อาจจะทำให้เป็นอุปสรรคได้ ในพุทธศาสนาลัทธิธยานะ (เซ็น) จะไม่เน้นย้ำการสวดมนต์ เพราะการแจ้งในจิตนั้นคือการเข้าสู่ขั้นแห่งวิมุตติ ที่จะต้องไปสัมผัสรู้ด้วยตนเอง ไม่ใช่เรื่องการศึกษาหาความรู้ ระดับแห่งการหลุดพ้นไม่ได้อยู่บนคัมภีร์ ตัวอักษรบนคัมภีร์เป็นเพียงการจำลองการหลุดพ้นนั้นออกมา แต่ไม่ใช่ตัวการที่หลุดพ้นอย่างแท้จริง ยกตัวอย่างเช่น ไปเที่ยวที่เขาอาหลี่ซัน พระคัมภีร์ทั้งหลาย ก็เปรียบเหมือนหนังสือบันทึกการท่องเที่ยวเขาอาหลี่ ไม่ว่าในหนังสือจะบรรยายภาพได้เหมือนจริงขนาดไหน แต่หนังสือก็ไม่ใช่เขาอาหลี่อยู่ดี การเอาแต่อ่านหนังสือไม่สามารถทำให้เรารู้จักเขาอาหลี่ที่แท้จริงได้ ดังนั้น ในเซ็นจึงไม่เนิ้นให้คนอ่านหนังสือบันทึกการท่องเที่ยว แต่จะสอนให้ไปเที่ยวเขาอาหลี่ด้วยตัวเอง ในวัชรสูตรบท (เฟยซัวสั่วซัว) ระบุว่า "การที่ชาวโลกกล่าวว่าตถาคตได้เทศนาธรรมนั้น ถือว่าเป็นการตู่พระพุทธเจ้า" หลังจากที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์และปรินิพพานแล้ว เหล่าสานุศิษย์จึงได้ทำการสังคายนาพระธรรม จนสุดท้ายมีการรวบรวมเป็นพระไตรปิฏก ปกรณ์สิบสอง มีจำนวนห้าพันสี่สิบแปดพับ แล้วเหตุใดพระพุทธองค์จึงตรัสว่าพระองค์มิได้เทศนาธรรม พระพุทธองค์เคยตรัสว่า "ธรรมของตถาคตนั้น อุปมาดังแพ" ล้วนแล้วแต่เป็นการเปรียบเปรย จำลองทิศทางให้เวไนยสัตว์อาศัยนิ้วที่ชี้เพื่อมองให้เห็นดวงจันทร์ และความเป็นสู่รู้แจ้งได้ สภาวะแห่งธรรมมิใช่สิ่งที่สามารถอาศัยคำพูดหรืออักษรมาถ่ายทอดได้ ดังนั้นพระองค์จึงกล่าวว่ามิได้เทศนาธรรม ณ ที่นี่ จะขอยกโฉลกอีกบท เพื่อเอามาอธิบายเจตนารมณ์แห่งพระพุทธเจ้า
"ใจข้าดังจันทร์กระจ่าง
หยกสล้างสว่างใส
มิมีสิ่งเปรียบเปรยได้
แล้วจะให้กล่าวเช่นใด"
จากโศลกบทนี้ ทำให้เห็นถึงเจตนาในความหมายของพุทธคัมภีร์มากยิ่งขึ้น ในอดีตธรรมะยังไม่ได้มีการปรกโปรดอย่างกว้างขวาง ต้องบำเพ็ญก่อนจึงได้รับทีหลัง จึงต้องอาศัยพระธรรมคัมภีร์เป็นตัวช่วยในการเข้าถึงธรรมะ แต่บัดนี้เมื่อเข้าสู่ยุคแห่งการปรกโปรดอย่างกว้างขวาง สามารถรับธรรมะก่อนบำเพ็ญทีหลัง รับธรรมแล้วสามารถค้นพบตัวตนแท้จริงของตนมีจุดให้เริ่มต้นปฏิบัติ หมั่นอยู่ในความสงบบริสุทธิ์ มีศรัทธาจิตใจเที่ยงตรงค่อย ๆ ดำเนินปฏิบัติ จะทำให้ลงแรงเพียงนิดแต่ได้ผลเท่าตัว ส่วนพระธรรมคัมภีร์นำมาเป็นเครื่องพิสูจน์ว่าเราศึกษาหลักธรรมเหล่านี้ถูกต้องหรือไม่ แต่ก็อย่าได้ยึดติด