collapse

ผู้เขียน หัวข้อ: คัมภีร์ธรรมรัตนะบัลลังก์สูตร 六祖法寶壇經(ลิ่วจู่ฝ่าเป่าถันจิง)  (อ่าน 71979 ครั้ง)

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                           คัมภีร์ธรรมรัตนะบัลลังก์สูตร 六祖法寶壇經(ลิ่วจู่ฝ่าเป่าถันจิง) ๔

                                          บทที่ ๙

                         วิถีธรรมแสดงความแสดงความตรงข้าม

                                  (ฝา  เหมิน  ตุ้ย  ซื่อ)

        "คู่ธรรมคำตรงข้ามเกี่ยวกับสภาวะธรรมภายนอกห้าคู่อันปราศจากจิตญาณผูกพัน" เช่น ฟ้ากับดิน  ตะวันกับเดือน  สว่างกับมืด  อินกับหยาง  น้ำกับไฟ  นี่คือห้าคู่ตรงข้ามที่อยู่ภายนอก อันปราศจากจิตญาณผูกพัน   "คู่ธรรมตรงข้ามเกี่ยวกับภาษา  คำพูด  นิยามธรรม  หรือธรรมะลักษณะสิบสองคู่" เช่น คำพูดกับธรรมะ  มีกับไม่มี  รูปกับอรูป  สาระกับไร้สาระ  อาสวะกับสิ้นอาสวะ  มีอยู่กับว่างเปล่า  เคลื่อนไหวกับสงบนิ่ง  บริสุทธิ์กับมลทิน  ปุถุชนกับอริยชน   บรรพชิตกับฆราวาส  ชรากับเยาว์วัย  ใหญ่กับเล็ก  นี่คือธรรมลักษณะกับคำพูด สิบสองคู่ธรรมคำตรงข้าม "คู่ธรรมคำตรงข้าม ที่สำแดงสภาวะความ "เป็น" สำแดงการดำเนินใช้จิตญาณตนสิบเก้าคู่ธรรม" คือ ยาวกับสั้น  ผิดกับถูก  หลงกับปัญญา  โง่กับฉลาด  สับสนกับสมาธิ  เมตตากับพิษร้าย  ศีลกับทุจริต  ตรงกับคด  แน่นตันกับว่างกลวง  ผาดโผนกับราบเรียบ  กิเลสกับโพธิ  นิจจังกับอนิจจัง  กรุณากับทำร้าย  ปิติกับโมหะ  สละกับตระหนี่  ขึ้นหน้ากับถอยหลัง  เกิดกับดับ  กายธรรมกับกายเนื้อ  นิรมาณกายกับสัมโภคกาย  ทั้งหมดนี้คือคำตรงข้ามที่สำแดงสภาวะความเป็นสำแดงการดำเนินใช้จิตญาณตน สิบเก้าคู่ธรรม   พระธรรมาจารย์โปรดว่า "สามสิบหกคู่ธรรมคำตรงข้ามเหล่านี้ หากเข้าใจใช้ได้ถูกต้อง ธรรมะก็จะเป็นเอกะภาวะอันปรุโปร่ง ที่รู้แจ้งแทงตลอดพระธรรมคัมภีร์ทั้งปวง  การเข้าออกในธรรมนั้น ก็จะพ้นจากการ "ออกหาก" หรือ "เข้าสู่" อย่างสุดขั้ว  (ซึ่งมิใช่ทางสายกลาง) (เพราะแก่นแท้แห่งธรรม แม้แต่ทางสายกลาง...ถึงที่สุดก็จะปลาสนาการหายไปโดยสิ้น) จิตญาณสำแดงการใช้ จะกล่าวอันใดต่อใคร (อย่าต้องตกอยู่ในสุดขั้วสองข้าง) ภายนอกแม้อยู่กับรูปลักษณ์ก็ให้ออกห่าง (มิให้ยึดหมาย) ในรูปลักษณ์ ภายในแม้อยู่กับความว่าง ก็ให้ออกหาก (มิให้ยึดหมาย) ในความว่าง หากยึดหมายในรูปลักษณ์ทั้งหมดก็คือ "เห็นผิด" หากยึดหมายในความว่างทั้งหมดก็จะตกสู่อวิชชาความเป็นผู้ไม่รู้แท้อย่างยาวนาน  ผู้ยึดหมายในความว่าง จึงมักจะกล่าวโทษต่อพุทธธรรม เช่นว่า "ศึกษาธรรมไม่ต้องใช้อักษรภาษา"
        พิจารณา
     เหตุใดการกล่าวว่า "ศึกษาธรรมไม่ต้องใช้อักษรภาษา" นั้น เป็นการกล่าวโทษต่อพุทธธรรม ด้วยเหตุว่า เข้าใจผิดและทำให้ผู้อื่นเข้าใจผิดต่อความหมายในพุทธธรรม พงศาธยานะมักกล่าวว่า "ชี้ชัดจิตโดยตรง เห็นจิตญาณบรรลุพุทธะ" จื๋อจื่อเหยินซิน   เจี้ยนซิ่งเฉิงฝอ  กล่าวว่า "ไม่กำหนดอักษรไว้ ศาสน์อื่นใดมิให้ถ่ายทอด"  ปู๋ลี่เอวิ๋นจื้อ   เจี๋ยวไอว้เปี๋ยฉวน  ที่ว่า "ไมกำหนดอักษรไว้" นั้น มิใช่ไม่ต้องใช้อักษร พึงรู้ว่า "อักษร" คือเครื่องบ่งชี้อย่างหนึ่ง  ที่ว่า "ไมกำหนดอักษร" หมายถึง มิให้ยึดติดอยู่กับอักษรเครื่องบ่งชี้ เหมือนโดยสารเรือ เมื่อถึงฝั่งได้ ไม่ต้องอุ้มเรือไว้ ...ชี้ชัดจิตโดยตรง...  ก็มิได้หมายความว่า ไม่ต้องกำหนดอักษร เพราะการชี้ชัดก็เป็นเครื่องบ่งชี้อย่างหนึ่งแทนการใช้อักษรบ่งชี้ ยังมีคำว่า "ชี้จันทร์เพ็ญเห็นญาณตถตา" อิ่นจื่อเจี้ยนเอวี้ย  อาการชี้ก็เป็นเครื่องบ่งบอกแทนการใช้อักษรเช่นกัน (แต่บางคนแทนที่จะมองดูดวงจันทร์ กลับลังเลอยู่กับมือที่ชี้นั้น)  ทุกหนแห่งทุกสภาวะ ล้วนมีปริศนาธรรมนำทางให้จิตญาณกำหนดรู้ และเข้าสู่ภาวะญาณตถตาได้ทั้งนั้น โดยมิต้องอาศัยอักษรภาษา การอ่านตำรา พระคัมภีร์  หากยึดหมายในอักษรภาษาไว้ไม่ปล่อย จะเหมือนอาหารที่คั่งค้างไม่ย่อย อัดอยู่ในกระเพาะลำใส้ ฉะนั้น "พงศาธยานะ" จึงไม่เนื่องนำให้หัวปักหัวปำ อ่านพระธรรมคัมภีร์ แต่ให้เข้าถึงจิตญาณตนโดยฉับพลัน     

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                           คัมภีร์ธรรมรัตนะบัลลังก์สูตร 六祖法寶壇經(ลิ่วจู่ฝ่าเป่าถันจิง) ๔

                                          บทที่ ๙

                         วิถีธรรมแสดงความแสดงความตรงข้าม

                                  (ฝา  เหมิน  ตุ้ย  ซื่อ)

        ในเมื่อกล่าวว่าไม่ต้องใช้อักษร คนก้ไม่ต้องพูดจากัน เพราะวาจาเป็นรูปลักษณ์ของอักษร อีกกล่าวว่า "ธรรมะตรงแท้ไม่ต้องกำหนดด้วยอักษร" คำว่า "ไม่ต้องกำหนด" นั้น ก็คืออักษร (อีกกรณีหนึ่งคือ) เมื่อได้ยินใครพูดธรรม ก็กล่าวโทษแก่เขาว่า "ที่พูดนั้นท่องจำมา"  หรือกล่าวว่าเขา "ยึดหมายในอักษร"  ท่านทั้งหลายพึงรู้ว่า ตนเองเป็นคนหลงยังพอว่า ยังกล่าวโทษพุทธธรรมคัมภีร์เสียอีก จงอย่ากล่าวโทษแก่พระธรรมคัมภีร์ โทษบาปนี้หนักหนายิ่งนัก มิอาจประมาณได้เลย หากยึดหมายในรูปลักษณ์ภายนอก สร้างธรรมลักษณะ สร้างวิธีการ  เพื่อขอสัจธรรม  หรือสร้างอาณาจักรธรรม (วัดวาอาราม) กว้างใหญ่ไพศาล แต่อรรถาธรรมแสดงความีและไม่มีแห่งธรรมนั้นผิด ๆ บุคคลเช่นนี้ อีกอนันตกัปก็มิอาจรู้แจ้งจิตญาณตน
        พิจารณา
     จากข้อความนี้ จะเห็นได้ว่า "ศีล" จะทำลายมิได้ความ "รู้ชอบเห็นชอบ" จะทำลายมิได้ ทำลายศีล ยังอาจสำนึกขอขมากลับตัวกลับใจ แต่หากทำลายความรู้ชอบเห็นชอบแห่งจิตญาณตน ซ้ำยังเห็นผิดเป็นถูก ดั่งนี้ จะต้องได้รับผลกรรมหนักหนา ผู้บำเพ็นไฉนจึงไม่เกิดความรู้ชอบเห็นชอบเล่า ฉะนั้น อมตะพุทธะจี้กงจึงโปรดว่า "ไม่เข้าใจหลักธรรม จะเรียกว่าบำเพ็ญเช่นไรได้"  จงอาศัยหลักธรรม ทำตามบำเพ็ญไป แต่ก็มิใช่ไม่คิดคำนึงถึงอะไรไปเสียหมด เพราะจัเป็นอุปสรรคขัดข้องต่อทางธรรม ต่อการบรรลุสัมมาสัมโพธิ แต่หากเอาแต่ฟัง ไม่บำเพ็ญจิตญาณตน กลับจะก่อเกิดความคิดผิดเป็นมิจฉาสติ ระลึกผิดไป  จงบำเพ็ญตนตามหลักธรรม  ให้วิทยาธรรมเป็นทาน ด้วยการไม่ยึดหมายในรูปลักษณ์  ท่านทั้งหลายหากรู้แจ้ง พูดตามหลักนี้ สำแดงการใช้ดังนี้  ดำเนินการตามดังนี้  ปฏิบัติตามนี้  ก็จะไม่ผิดเพี้ยนต่อพงศาธรรมาจารย์ท่านสอนสั่งมา  หากมีผู้ถามท่านถึงความหมายแห่งหลักธรรม ถามว่ามี จงตอบด้วยไม่มี  ถามว่าไม่มี จงตอบด้วยมี  ถามความแห่งสามัญ จงตอบด้วยความแห่งอริยะ  ถามแห่งความอริยะ จงตอบด้วยความแห่งสามัญ  ธรรมะ (คำถาม - คำตอบ) สองด้านอันตรงข้ามกัน เป็นเหตุปัจจัยเนื่องนำต่อกัน (ให้เกิดการพิจารณาความเป็นกลาง)  หากนำทางให้เกิดการพิจารณาด้วย "คู่ธรรมคำตรงข้าม" เพียงแต่อย่าให้สุดขั้ว เช่นนี้ ทางสายกลางย่อมเกืิดขึ้นท่านจงให้ "คู่ธรรมคำตรงข้าม" เมื่อเขาถาม คำถามอื่น ๆ ก็ทำตามนี้ ก้จะไม่ผิดต่อหลักธรรม  หากมีผู้ถามว่า "อย่างไรได้ชื่อว่ามืด" จงตอบว่า "ความสว่างเป็นตัวเหตุ ความมืดเป็นปัจจัยเนื่องนำ ความสว่างลับหายจึงมืด"  เอาความสว่างแสดงให้เห็นความมืด เอาความมืดแสดงให้เห็นความสว่าง มากับไปเป็นเหตุซึ่งกัน ก็จะได้ความหมายของธรรมะที่เป็นทางสายกลาง คำถามอื่น ๆ ก็ให้เป็นทำนองนี้เดียวกันทั้งหมด  ท่านทั้งหลายจะถ่ายทอดวิถีธรรมต่อไปในภายหน้าอาศัยหลักนี้ถ่ายทอดสอนสั่งแก่กัน อย่าให้ผิดต่อหลักของพงศาธนายะ"
                                                               - จบบทที่ ๙ -

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                               คัมภีร์ธรรมรัตนะบัลลังก์สูตร 六祖法寶壇經(ลิ่วจู่ฝ่าเป่าถันจิง) ๔

                                             บทที่ ๑๐ 

                                กำชับให้แพร่หลาย   ฟู่จู่หลิวทง

        ณ ปฐมรัชสมัยไท่จี๋ ราชวงศ์ถัง ใรัชกาลพระเจ้าถังยุ่ยจงฮ่องเต้ ตรงกับปีชวด เดือนเจ็ด (ค.ศ.712) พระธรรมาจารย์โปรดให้สานุศิษย์ไปจัดการสร้างมหาเจดีย์ในพื้นที่พระอารามหลวงคุณาปฏิการาม  "กั๋วเอินซื่อ" เมืองซินโจว อีกทั้งโปรดกำชับให้เร่งสร้างโดยด่วน พอถึงปีถัดมา ปลายฤดูร้อนก็สร้างเสร็จ
พิจารณา
        สถูปหรือมหาเจดีย์องค์นี้ ใช้ประโยชน์สำหรับเก็บอัฐิที่พระธรรมาจารย์ดปรดให้เร่งสร้างด่วนนั้น เท่ากับเป็นการเตือนศิษย์ว่า ท่านใกล้จะถึงกาลดับขันธ์แล้ว
        หนึ่งค่ำเดือนเจ็ด ได้เรียกประชุมมวลศิษย์และโปรดว่า "ถึงเดือนแปด อาตมาจะไปจากโลกนี้ พวกท่านมีข้อธรรมใดสงสัยอยู่ พึงรีมมาถามเสียแต่เนิ่น ๆ จะแก้ข้อกังขาแก่ท่าน ให้ท่านสิ้นความหลงผิดเสีย เมื่ออาตมาจากไปแล้ว จะไม่มีใครสอนท่าน" สงฆ์ฝ่าไห่พร้อมกับศิษย์ทุกคนเมื่อได้ยินเช่นนี้ ต่างสะอื้นไห้ด้วยความอาดูร มีแต่สงฆ์เสินฮุ่ย (แต่ก่อนคือสามเณรเจ้าปัญญา) เท่านั้นที่อยู่ในอาการปกติ และมิได้หลั่งน้ำตาสะอื้นไห้  พระธรรมาจารย์โปรดว่า "พระอาจารย์น้อยเสินฮุ่ย พรรษาบวชยังไม่ถึงสิบปี กลับเป็นผุ้เข้าถึงภาวะจิตอันไม่ยินดียินร้าย ไมีสะเทือนต่อคำทำลายหรือให้เกียรติ ความโศกเศร้าและสุขสมก็ไม่เกิด ท่านอื่น ๆ
ยังใช้ไม่ได้ อยู่ในป่าเขา (วัดป่า) กันมาหลายปี บำเพ็ญธรรมอะไรกันหรือ"
พิจารณา
        แท้ที่จริง ศิษย์ท่านอื่นต่างก็บำเพ็ญถึงขั้นแล้วทั้งนั้น เพียงแต่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ ได้อยู่ปรนนิบัติวัฏฐากใกล้ชิดพระอาจรย์ทุกค่ำเช้ามานานปี ปุปปับเมื่อได้ยินคำสั่งเสียเช่นนี้ ใครเลยจะอดใจได้  อีกทั้งพระธรรมาจารย์ ก็อาศัยโอกาสจากเหตุการณ์เฉพาะหน้าให้ธรรมะ ให้ข้อคิดแก่ศิษย์ที่จะรับงานใหญ่ในอาณาจักรธรรมต่อไป
        วันนี้ที่ท่านโศกเศร้าสะอื้นไห้ ด้วยเหตุห่วงใยผู้ใดหรือ หากเป็นด้วยห่วงใยอาตมา ว่าไม่รู้จะต้องไปยังที่ใด อาตมารู้ที่ไปของตนเอง หากอาตมาไม่รู้ที่ไปคงจะบอกกล่าวพวกท่านล่วงหน้าอย่างนี้ไม่ได้เป็นแน่  ท่านทั้งหลายโศกเศร้าสะอื้นไห้  ล้วนด้วยเหตุไม่รู้ที่ไปของอาตมา หากรู้ที่ไปของอาตมา จะมิพึงโศกเศร้าสะอื้นไห้
พิจารณา
        ครั้งหนึ่ง อมตะพุทธะจี้กง พระอาจารย์โปรดว่า "ผู้สูงอายุที่ป่วยหนักใกล้จะตาย ลูกหลานเสียดายไม่ยอม พากันถวายธูปกำใหญ่ วิงวอนเบื้องบน ขอได้โปรดรักษาชีวิตของพ่อไว้  ลูกหลานเข้าใจว่านี่เป็นความกตัญญู แต่เราได้คิดถึงตัวผู้ป่วยบ้างไหม  การไปจากกายสังขารตัวนี้คือการหลุดพ้น จบสิ้นจากความทุกข์ทรมาน เช่นนี้จะไม่ไดีกว่าหรือ" การไม่รู้ที่ไป ทำให้หวาดกลัวไม่อยากไป ไม่อยากให้คนที่เรารักเดินทางไกล ต้องจากพรากไป แต่หากเรารู้ชัดเจนว่า ที่ ๆ จะไปคือพุทธาลัยสวรรค์ชั้นดุสิต จะได้ไปใกล้ชิดพระอริยเมตไตรย  ซึ่งเป็นภาวะที่วิเศษยิ่ง หากรู้ชัดเจนดังนี้ เราจะวางทุกอย่างลง เรายินดีที่จะไป ยินดีให้ผู้เป็นที่รักเราไป กล่าวโดยหลักสัจธรรมคือ  "การเกิด - ดับ ของกายสังขาร เป็นเพียงภาพลวงตา ที่เคลื่อนโคจรเข้ามาบรรจบกันอยู่ช่วงเวลาหนึ่ง หรือชั่วขณะหนึ่งเท่านั้น จากนั้น ก็ต้องแยกหากออกจากันเหมือนอย่างเดิม" 

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                                คัมภีร์ธรรมรัตนะบัลลังก์สูตร 六祖法寶壇經(ลิ่วจู่ฝ่าเป่าถันจิง) ๔

                                             บทที่ ๑๐

                                กำชับให้แพร่หลาย   ฟู่จู่หลิวทง

        อันที่จริงธรรมญาณนั้นปราศจากการเกิดดับ ไปมา ท่านทั้งหลายจงนั่งไว้ อาตมาจะให้โศลกแก่ท่านทั้งหลายบทหนึ่ง ชื่อว่า "โศลกเคลื่อนไหว -สงบนิ่งจริงเท็จ"  ท่านทั้งหลายท่องโศลกนี้ไว้ ให้ความคิดเห็นเป็นเช่นเดียวกับอาตมา บำเพ็ญตามนี้ ก็จะไม่ผิดเพี้ยนไปจากหลักธรรมแห่งพงศาธยานะ มวลศิษย์น้อมกราบอาราธนาพระคุณเจ้า พระธรรมาจารย์โปรดแสดงโศลกว่า :

ทุกสิ่งสรรพ              ปราศจาก             ความมีจริง
อย่าเอาสิ่ง               ที่เห็นจริง             ว่าจริงแท้
หากหมายว่า             ที่ข้าเห็น              เป็นจริงแน่
ที่เห็นแท้                 แต่แท้จริง            ไม่จริงเลย
หากเห็นญาณ           อันตนมี                ที่เป็นจริง
พ้นสรรพสิ่ง              ไม่จริงไป              ใจจริงแน่
ใจของตน                แม้ไม่พ้น              สิ่งปรวนแปร
ใจไม่แท้                 ที่ใดแล                ฤาแท้จริง       
สัตว์โลกนั้น              มันเคลื่อนไหว        ด้วยใจรู้
ปราศจากรู้               จะอยู่นิ่ง               ไม่ติงไหว
หากบำเพ็ญ             เช่นไม่รู้                อยู่นิ่งไว้
ไม่ต่างไป               คล้ายวัตถุ              อยู่นิ่งงัน
หากจะหา               สิ่งที่เป็น               ไม่วิ่งไหว
นั่นคือใจ                ไม่ไหววิ่ง               ตามสิ่งไหว 
ธาตุวัตถุ                 อยู่แน่นิ่ง               นิ่งเรื่อยไป
ไม่มีใจ                  ไม่อาจปลูก             พุทธญาณ
รู้จำแนก                 แยกธรรม -             ลักษณ์ไซร์
เบื้องต้นให้             สงบใน                  ไม่เคลื่อนหนา
จงรู้เห็น                 เป็นจิตญาณ             มั่นคงนา
คือตถตา               มรรคาธรรม               สำแดงคุณ
จงบอกกล่าว          เหล่าศึกษา               พระธรรมนั้น
ให้บากบั่น             หมั่นเพียรไป             ตั้งใจมั่น
มหายาน               ประตูทาง                 ไม่ผิดผัน
อย่ายึดมั่น             การเกิดตาย               ไร้ปัญญา
หากเขาสดับ          ยอมรับไว้                  ใจสอดคล้อง
ร่วมครรลอง           ของพุทธา                  มาสมาน
แต่หากไม่             เข้าใจเป็น                  เช่นเดียวกัน
จงสาธุการ             สมานมิตร                  จิตยินดี
พงศาฌาณ            มีหลักการ                  ไม่พาลแข่ง
หากขัดแย้ง            แข่งธรรมผิด               บิดธรรมส่าย
หากยึดมั่น             พาลขัดธรรม               ดำเนินไป
ญาณจิตใจ             เวียนเกิดตาย              ไม่พ้นทาง

พิจารณา  :  สรุปความหมายของโศลกดังนี้
        สรรพสิ่งในโลกนี้ ไม่มีอะไรจีรังยั่งยืนเที่ยงแท้ อย่าเห็นผิดคิดว่ามันเป็นจริง  หากหลงผิดคิดหมายว่าที่เห็นนั้นมันเป็นจริง ซึ่งแท้จริงทั้งหมดที่เห็นล้วนไม่เป็นจริงสักสิ่งเดียว แต่เราอาจรู้แจ้งว่า เจ้าตัวตนไม่เที่ยงแท้ของเรานี้มีสิ่งจริงอยู่ภายใน  สิ่งจริงนั้นจะรู้ได้เมื่อใจของเราออกหาก สลัดละไปจากสรรพสิ่งอันเป็นมายาสมมุติ เราก็จะเห็นได้ในใจจริงของตน  หากใจจริงของตนยังไม่พ้นไปจากสรรพมายาสมมุติ ก็จะไม่มีสิ่งจริงที่ไหนให้หาได้ สัตว์โลกที่มีชีวิตจิตใจ ย่อมเคลื่อนไหว และมีความเข้าใจได้ สิ่งที่ไม่มีชีวิตจิตใจ ก็จะไม่เคลื่อนไหว หากเราบำเพ็ญ แต่เป็นเหมือนสิ่งที่ไม่มีชีวิต ไม่เคลื่อนไหว ได้แต่นั่งนิ่ง เราก็จะไม่ต่างจากสรรพสิ่งที่ไม่มีชีวิตจิตใจ แต่หากจะหาสิ่งจริงที่ไม่เคลื่อนไหว นั่นคือใจที่สงบนิ่ง ไม่เคลื่อนไหวแม้อยู่ในกายสังขารอันเคลื่อนไปก็ตาม ส่วนสรรพสิ่งอื่น ๆ ที่ไม่เคลื่อนไหว ก็ยังคงไม่เคลื่อนไหว มันเป็นสิ่งไม่มีชีวิตจิตใจ จึงไม่อาจสืบต่อเผ่าพันธุ์แห่งพุทธะได้ หากเราจะจำแนกธรรมลักษณะได้ รู้ว่ามโนวิญญาณตัวรู้คิดของเรามันเป็นอย่างไร "จิตญาณตัวแท้" อันสงบนิ่ง ของเรามันเป็นอย่างไร เราก็จะรู้ว่าสิ่งสำคัญประการแรกคือ ความสงบนิ่งของมโนวิญญาณ จงทำความรู้เห็นเช่นนี้ สิ่งที่สำแดงคุณก็จะเป็นบทบาทของตถตา ความเป็นอย่างนั้นเองโดยดุษณี โดยสงบราบเรียบ เช่นนี้จึงจะเรียกว่าบำเพ็ญจริง จงบอกกล่าวแก่ผู้ศึกษาธรรมว่า จะต้องเพียรพยายามตั้งใจให้เข้าถึงจิตญาณแท้แห่งตน เข้าถึงภาวะรู้แจ้ง มิใช่เข้าสู่ประตูธรรมมหายานอันรู้แจ้งฉับพลันแล้ว ยังคงยึดหมายการเกิดตายอยู่อีก หากบอกกล่าวให้เขาเข้าใจ เขาสนองตอบความเข้าใจสอดคล้องกัน ก็ให้ร่วมศึกษาพิจารณาความหมายในพุทธธรรมต่อไป แต่ถ้าหากเขารับไม่ได้ ไม่เห็นพ้องต้องกันกับธยานะธรรมวิถีจิตอันรู้แจ้งฉับพลันนี้ ก็จงสาธุการ รักษาท่าทีให้เขามีความยินดี มิให้ร้าวฉานต่อกัน ธรรมะวิถีจิตหรือพงศาธยานะนี้ ไม่มีสิ่งขัดข้องต่อวิถีธรรมอื่นใด เป็นหลักสัจธรรม เป็นหลักสัทธรรม เป้าหมายคือ การหลุดพ้นด้วยจิตของตนเองโดยฉับพลัน หากจะยังต้องถกเถียง วิจารณ์ขัดแย้งกัน เหมือนบิดธรรมให้อยู่ในฝ่ายตน เมื่อถูกบิด ความหมายแห่ง "ธรรมอันบริสุทธิ์สงบ" ทุกวิถีทาง ก็จะสิ้นสูญไป ผู้ที่ยึดมั่นถือมั่น ขัดฝืน ถกเถียง ด้วยว่าธรรมวิถีอันผิดแผกแตกต่างกัน จิตญาณของผู้นั้นย่อมเข้าสู่กระแสแห่งการเกิดตายต่อไป             

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                            คัมภีร์ธรรมรัตนะบัลลังก์สูตร 六祖法寶壇經(ลิ่วจู่ฝ่าเป่าถันจิง) ๔

                                             บทที่ ๑๐

                                กำชับให้แพร่หลาย   ฟู่จู่หลิวทง

        ขณะนั้น สงฆ์ทุกรูปเมื่อได้สดับโศลกจบลง ต่างพร้อมกันก้มกราบสาธุการ ด้วยความเข้าใจเจตนาของพระธรรมาจารย์ ต่างซึ้งซาบประทับใจ บำเพ็ญธรรมตามนั้น มิกล้าที่จะวิตกวิจารณ์กันต่อไป  เมื่อทราบว่าพระธรรมาจารย์จะอยู่ในโลกนี้อีกไม่นาน ฝ่าไห่เจ้าคณะสงฆ์ จึงกราบเรียนถามอีกว่า "เมื่อพระเถระเจ้าเข้าสู่ปรินิพพานไป ในภายหลัง จีวรพงศาธรรมกับธรรมจักษุครรภนิพพาน (วิถีจิต) จะโปรดมอบหมายแก่ผู้ใดต่อไป"  พระธรรมาจารย์โปรดว่า "อาตมาอรรถาธรรมที่วัดมหาพรหมเป็นต้นมาจนถึงวันนี้ จงบันทึกคักลอกเผยแผ่ และให้ชื่อว่า "ธรรมรัตนะบัลลังก์สูตร        ฝ่าเป่าถันจิง"  ท่านทั้งหลายจงปกป้องรักษาไว้ ฉุดนำเหล่าเวไนยฯ หากแสดงธรรมตามนัยนี้ ได้ชื่อว่าสัทธรรม วันนี้แสดงธรรมให้ไว้แก่พวกท่าน แต่ไม่มอบหมายจีวรพงศาธรรมนั้น  ด้วยเหตุอันท่านทั้งหลายรากฐานแห่งศรัทธามั่นคงได้ที่ ไม่มีข้อสงสัยใดเป็นแน่แท้ สามารถรับภาระใหญ่ได้ แต่ทว่าสมเด็จพระโพธิธรรมพระบรรพจารย์เคยมอบโศลกโปรดไว้ว่า " จีวรพงศาธรรมไม่เคยถ่ายทอดต่อไป" 
        โศลกที่สมเด็จพระโพธิธรรมโปรดไว้มีดังนี้ว่า
อาตมา             จาริกสู่             แดนนี้นา
เพื่อธรรมา          ถ่ายทอดสู่        ผู้หลงใหล
หนึ่งดอกไม้        บานปริศนา       ห้ากลีบใบ
ภายหน้าไป        ได้ผลงาม         ตามมาเอง
        พิจารณา
        สมเด็จพระโพธิธรรมพระบรรพจารย์ ปฐมธรรมาจารย์สายฌานธยานะ โปรดจาริกสู่ประเทศจีนปี พ.ศ.1063 เพื่อถ่ายทอดสัทธรรม ฉุดช่วยเวไนยฯ ให้รู้้ตื่นฉับพลันด้วยวิถีธรรมสู่จิต  ในสมัยนั้น ผู้คนที่เข้าใจยังมีไม่มาก พระองค์จึงฝากธรรมพยากรณ์เป็นโศลกไว้ดังกล่าว คำว่า "หนึ่งดอกไม้บานปริศนาห้ากลีบใบ" หมายถึง ภายหน้า คือ นับจากพระองค์ ดอกไม้จะเบ่งบาน หมายถึงธรรมะจะเบ่งบานขยายดอกออกเป็นห้ากลีบ กลีบที่สองต่อจากพระองค์คือ พระธรรมาจารย์เสินกวง  กลีบที่สาม คือ พระธรรมาจารย์เซิงชั่น   กลีบที่สี่ คือ พระธรรมาจารย์เต้าซิ่น   กลีบที่ห้า คือ พระธรรมาจารย์หงเหยิ่น
        พอมาถึงสมัยพระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงลิ่วจู่สมัยที่หก ดอกทั้งห้ากลับใบได้ผลึกผล จึงมิพึงแคลงใจเลยว่า ในสมัยนี้ ธรรมะวิถีจิตรุ่งเรืองเฟื่องฟู ได้ผลงามตามมาเองเช่นนี้ โดยเฉพาะยุคสมัยนี้ต่อมา ธรรมะวิถีจิตถ่ายทอดสู่ครัวเรือน  ซึ่่งใครจะคาดคิดได้ว่า  บัดนี้ พุทธะวจนะของพระธรรมาจารย์ที่ว่า "ในบ้านเรือนครัวไฟ มีธรรมราชาผู้เป็นใหญ่ในท่ามกลาง" ได้ปรากฏเป็นจริงแล้ว  "ธรรมราชาผู้เป็นใหญ่ในธ่ามกลาง" ก็คือจิตญาณอันทรงศักยภาพของชาวธรรมผู้รู้แจ้งจิตญาณตนทุกคน ที่พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงได้โปรดอรรถาธิบาย ชี้ให้เห็น "จิตธรรมราชาแห่งตน"  มาตั้งแต่ต้นนั่นเอง
        พระธรรมาจารย์โปรดต่อไปว่า "ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ท่านจงต่างทำใจให้หมดจด (หยุดความคิดทั้งปวง) ฟังอาตมากล่าวธรรม  จิตของท่านทั้งหลายล้วนเป็นพุทธะ (มีพุทธภาวะ)  ยิ่งอย่าได้แคลงใจสงสัยเลย ภายนอกจิตญาณไม่มีแม้สักสิ่งเดียวอันอาจก่อเกิด ล้วนเป็นด้วยจิตแห่งตนเท่านั้นที่ก่อเกิดธรรมทั้งปวง  พุทธธรรมจึงมีคำว่า "ใจเกิด ธรรมทั้งปวงเกิด" (จิตปรุงแต่งรู้เห็นเป็นจริง จึงก่อเกิดยึดหมายว่ามีสิ่งนั้น)  "ใจดับ ธรรมทั้งปวงดับ) จิตไม่ปรุงแต่งยึดหมาย ทุกอย่างเงียบหายสงบนิ่ง) 
        พิจารณา
        เมื่อจิตมิได้สอดส่ายวุ่นวายไป อีกทั้งสงบนิ่งอยู่ ณ ฐาน "ตัวแท้" ของจิต สงบนิ่งอยู่ด้วยภาวะปกติเคยชินเป็นเนืองนิจ เมื่อนั้น ภาวะนั้นคือ "ดับ"  แม้หากปรารถนาทำความสำเร็จในพุทธปัญญา (มหาปัญญาบริสุทธิ์แห่งพุทธะ) พึงเข้าถึงต่อการบรรลุเห็น "เอกะลักษณ์สมาธิ" (สมาธิแน่วแน่สงบนิ่งด้วยธรรมลักษณะ เป็นหนึ่งเดียวโดยไม่เปลี่ยนแปร)  พึงเข้าถึงภาวะ "เอกะสังขารสมาธิ" (สมาธิแน่วแน่สงบนิ่งด้วยกายสังขาร เป็นหนึ่งเดียวทุกสภาวะอาการโดยไม่เปลี่ยนแปร)   หากดำรงอยู่อย่างนั้นในทุกสภาวะโดยมิได้ยึดหมายต่อรูปลักษณ์ใด (ดำรงอยู่ท่ามกลางเอกะลักษณ์สมาธิที่แน่วแน่ เป็นอย่างนั้นโดยตัวเอง) มิได้ก่อเกิดรักชิง (ท่ามกลางเอกะลักษณ์สมาธิโดยตัวเองนั้น)  ปราศจากใฝ่ได้ ใฝ่ละวาง  (ท่ามกลางเอกะลักษณ์สมาธินั้น)  มิได้ระลึกคุณโทษดีร้าย  (ท่ามกลางเอกะลักษณ์สมาธิที่แน่วแน่อยู่อย่างนั้นโดยตัวเอง)  สมาธิเช่นนั้นเป็นความสงบนิ่งเบาสบาย ผ่อนคลาย ราบเรียบ  เวิ้งว่าง ได้ชื่อว่า "เอกะลักษณ์สมาธิ)     

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                                 คัมภีร์ธรรมรัตนะบัลลังก์สูตร 六祖法寶壇經(ลิ่วจู่ฝ่าเป่าถันจิง) ๔

                                             บทที่ ๑๐

                                กำชับให้แพร่หลาย   ฟู่จู่หลิวทง

        หาก ณ สถานใด เดิน  ยืน  นั่ง  นอน ใจสงบเที่ยงตรงอยู่อย่างนั้น อาณาจักรธรรมแห่งใจมิได้หวั่นไหว เป็นวิสุทธิสถานทุกขณะอย่างแท้จริง ได้ชื่อว่า "เอกะสังขารสมาธิ"  บุคคลใดหากถึงพร้อมด้วยคุณสมบัติแห่งสมาธิทั้งสองนี้ ประหนึ่งได้ฝังเมล็ดพันธุ์ไว้ ไม่นานเมล็ดพันธุ์นั้นย่อมงอกเงยเจริญเติบโต ออกดอกตกผล  เอกะลักษณ์  เอกะสังขาร  ก็ย่อมออกดอกตกผลแห่งพุทธะได้เช่นเดียวกันนี้   อาตมากล่าวธรรมวันนี้ เปรียบได้ดั่งสายฝนอันตกต้องตามฤดูกาล  ให้ความชุ่มฉ่ำต่อผืนแผ่นดินใหญ่ พุทธจิตแห่งท่านทั้งหลาย สมมุติดั่งเช่นเมล็ดพันธุ์ต่าง ๆ ได้รับหยาดฝนอมฤตฉ่ำชื่น ล้วนงอกเงยก่อเกิด ผู้น้อมรับหลักธรรมคำชี้นำนี้ของอาตมาไว้ได้ ย่อมได้ความเป็นจิตโพธิแน่แท้  ปฏิบัติบำเพ็ญจามที่อาตมาถ่ายทอดให้ ย่อมประจักษ์มรรคผลอันวิเศษแน่นอน
        จงฟังโศลกจากอาตมา
ผืนดินใจ             ได้หมกฝัง             พันธุ์พืชผล
ฤดูฝน                กล่นโกรกถ้วน        ล้วนเงยงอก
รู้ตนตื่น               ขึ้นฉับพลัน            ญาณชูดอก
เบ่งบานออก        ตกผลสวย             ด้วยโพธิ

        พระธรรมาจารย์กล่าวโศลกจบลงแล้วโปรดว่า  "พระพุทธแห่งพุทธะนั้น ปราศจากความเป็นสอง จิตแห่งพุทะะก็เช่นกัน  ภาวะของความเป็นธรรมะนั้นใสบริสุทธิ์หมดจด อีกทั้งปราศจากรูปลักษณ์ทั้งปวง "  ท่านทั้งหลายพึงรอบคอบระวัง อย่าได้เพ่งดูความสงบ อีกทั้งอย่า "มุ่งหา"  ความว่างแห่งจิต (มิพึงเจาะจงทำสมาธิ กำหนดความว่างอย่างยึดหมาย)  ด้วยว่าจิตนั้นบริสุทธิ์ หทดจดอยู่เป็นเดิมที ปราศจากสิ่งใดอันพึงใฝ่ได้หรือใฝ่ละวาง  จงต่างทำความเพียรตามบุญปัจจัยอันสมควรเถิด"  จากนั้น ศิษย์ทั้งหลายน้อมกราบแล้วถอยกลับออกมาจากที่นั้น
        พิจารณา
        ...จงต่างทำความเพียร...
           เพียรบำเพ็ญตน 
           เพียรฉุดช่วยนำพาสาธุชน 
           เพียรเผยแผ่พุทธธรรม   
           เพียรจรรโลงธรรมวิถีธยานะ 
           เพียรเพื่อรู้แจ้งฉับพลัน...       

เพียรทำสมาธิ             มิใช่เพียรนั่ง
เพียรคล้ายเพียรว่าง      จิตกว้างเหมือนหาย
นั่งนอนเดินยืน            ไม่ฝืนไม่หน่าย
อยู่เหมือนอยู่ไม่          แต่มิใช่ตาย
จงอย่านั่งเฉย            เมินเลยใครใคร
นั่งอยู่ร่ำไป               ให้ญาณตนเพริศ
จงลุกขึ้นยืน              ยื่นมือฉุดเถิด
ช่วยบัวบานเกิด         เฉิดฉายไม่จม
ความเพียรแท้นั้น        มหายานชน
จิตสำคัญตน             หมั่นด้นคนใส
มรรคผลบารมี           เกิดที่ตนใน
ภายนอกออกไป        จ่ายธรรมนำคน

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                              คัมภีร์ธรรมรัตนะบัลลังก์สูตร 六祖法寶壇經(ลิ่วจู่ฝ่าเป่าถันจิง) ๔

                                             บทที่ ๑๐

                                กำชับให้แพร่หลาย   ฟู่จู่หลิวทง

        ครั้นถึงวันแปดค่ำเดือนเจ็ด พระธรรมาจารย์ลิ่วจู่มหาเถระเจ้าฮุ่ยเหนิง โปรดเรียกประชุมศิษย์ทั้งหลาย เฉพาะกาลแล้วโปรดว่า "อาตมาจะกลับเมืองซินโจว ถิ่นกำเนิด ท่านทั้งหลายรีบจัดเรือพาย "  ศิษย์ทั้งหลายนั้นต่างคร่ำครวญวิงวอนอย่างเหนียวแน่น  ขอให้พระธรรมาจารย์ได้โปรดอยู่ยั้ง จงอย่าจากไป  พระธรรมาจารย์โปรดว่า " การปรากฏพระองค์ของเหล่าพุทธะซึ่งอุบัติมาในโลกนี้ ประหนึ่งแสดงให้เห็นถึงการดับขันธ์เข้าสู่ปรินิพพานในวันข้างหน้า เมื่อมีการอุบัติมา ก็ย่อมต้องมีการกลับคืนไป หลักสัจธรรมเป็นเช่นนี้  รูปกายสังขารแห่งอาตมา ก็มีสถานอันพึงต้องกลับไปเช่นกัน" 
        พิจารณา
        รูปกายสังขาร กลับคืนไปสู่ความเป็นธาตุทั้งสี่ที่มาบรรจบกัน  ส่วนจิตญาณที่ดับขันธ์ปรินิพพานคือ กลับคืนไปสู่ภาวะ (ที่เป็นสุข ตามความรู้สึกของคน) สูงสุด เป็นอิสรภาพสมบูรณ์ด้วยปราศจากกิเลสทั้งปวง  สงบนิ่งด้วยมิได้เสวยอารมณ์แล้ว  เราอาจพิจารณาภาวะนิพพานของพระธรรมาจารย์จากคำสอนของพระองค์ได้ว่า น่าจะเป็นดับขันธ์ (ไม่เหลือขันธ์ห้า)  มิใช่นิพพานในระดับที่ยังเสวยอารมณ์ชอบและมิชอบได้อยู่  ศิษย์ทั้งหมดกราบเรียนถามว่า "การจากไปของพระธรรมาจารย์ครั้งนี้ ศิษย์ทุกคนหวังว่าพระธรรมาจารย์จะโปรดกลับคืนมาในเร็ววัน (ไม่เช้าก็เย็น) "  พระธรรมาจารย์โปรดว่า "ใบร่วงจากต้นลงสู่ราก  การจะกลับมานี้หามีปาก (ทาง) ไม่" 
        พิจารณา
        "การจะกลับมานี้หามีปากไม่"  ปากในที่นี้ของพระธรรมาจารย์ แฝงความหมายหลายประการ
1. ปากที่พูดจา      หารับปากได้ไม่  คือไม่รับปากว่าจะกลับมา
2. ปากทางประตู   หามีประตูหรือปากทางให้กลับคืนมาใหม่ได้ไม่  จิตญาณเมื่อออกจากกายสังขารทางญาณทวารไปสู่เบื้องสูง จะกลับเข้าญาณทวาร ก็ต่อเมื่อมีร่างใหม่ของตน
3. คำว่ากลับคืน     อักษรจีนเขียนว่า     หุย   คำว่า ปาก เขียนว่า     โข่ว   
        ...หามีปากไม่... ที่พระธรรมาจารย์โปรดแสดงความนัย คือจะไปสู่โลกกว้าง       ไม่มีปากทาง หรือจะไม่กลับมาอีก        ในช่องเล็กประโยคที่ว่า

        ...ใบร่วงจากต้นลงสู่ราก... มีสองความหมายคือ   
1. ชีวิตจิตญาณ   อันได้มาจากรพอนุตตรธรรมมารดาชคัตตรยาพดงศ์พระองค์ธรรมชาติ เมื่อละจากสังขาร (บรรลุธรรม) ย่อมจะต้องกลับคืนไปสู่พระองค์ธรรมชาติ
2. ชีวิตร่างกาย   ได้รับพระคุณชุบเลี้ยงเจริญเติบโตจากสิ่งแวดล้อมถิ่นกำเนิดและผู้คนในแวดวงนั้น เมื่อจะดับขันธ์สู่ปรินิพพาน ย่อมจะต้องระลึกพระคุณจากที่มา เหมือนใบไม้ร่วงจากต้นหล่นสู่ราก ให้เป็นหลักเป็นศักดิ์ศรี เป็นที่ระลึก  เป็นคุณแก่ถิ่นกำเนิดนั้น  เช่น  ใบไม้ร่วงให้เป็นปุ๋ย  เป็นความชุ่มฉ่ำแก่ต้น (ต้นกำเนิด)  ฉะนั้น
        กราบเรียนถามอีกว่า "จักษุครรถนิพพานสัทธรรม จะโปรดมอบหมายถ่ายทอดแก่บุคคลใด" (ยุคนั้นยังมิได้ถ่ายทอดทั่วไป) พระธรรมาจารย์โปรดว่า "บุคคลผู้มีธรรมจะเป็นผู้ได้รับ บุคคลผู้ปราศจากใจ (จิตว่างแท้)  จะเข้าถึงปรุโปร่ง
        พิจารณา
        การได้รับวิถีอนุตตรสัทธรรม เป็นสิ่งวิเศษสุดที่มิให้มอบหมายถ่ายทอดโดยง่าย  เช่นที่เห็นได้จากครั้งกระนั้น จะต้องเป็นผู้มี "ธรรม"  เป็นผู้ "ปราศจากใจยึดหมาย"  สืบต่อจากพระธรรมาจารย์เฉพาะบุคคล แต่บัดนี้เราได้รับวิถีจิตกันง่ายดายไม่เห็นคุณค่า จึงน่าเสียดายนัก หากเราท่านได้สังเกตจะเห็นว่าศิษย์ต่างร้อนใจ กราบเรียนถามพระธรรมาจารย์หลายครั้งว่า "...ธรรมจักษุครรภนิพพาน (วิถีจิต) จะโปรดมอบหมายแก่ผุ้ใดต่อไป"  กราบเรียนถามอีกว่า  "ต่อไปภายหน้า (หลังจากพระธรรมาจารย์ดับขันธ์จากไปแล้ว) จะมีเภทภัยอันใดหรือไม่"  พระธรรมาจารย์โปรดตอบว่า  "หลังจากอาตมาดับขันธ์แล้วประมาณห้าหกปี จะมีบุคคลหนึ่งมาตัดเอาศรีษะอาตมา 
        จงฟังพยากรณ์จากอาตมา
เขาต้องการ             สักการะ             ศรีษะอาตมา
ผู้นั้นหนา                ฐานะจน            ข้นแค้นนัก
ชื่อของเขา             สามพยางค์         "หมั่น" ประจักษ์
หยางหลิ่วศักดิ์         จักตรวจการ        งานบ้านเมือง
        พิจารณา
        ขอเรียนให้ทราบ ก่อนเวลาที่จะเกิดเหตุการณ์ตามคำพยากรณ์บอกกล่าวของพระธรรมาจารย์ว่า  ภายหลังในปีไคเอวี๋ยนที่สิบ  เดือนแปด สามค่ำ ชายผู้หนึ่งนามว่า "จางจิ้งหมั่น"          (ปัจจุบันคือเกาหลี)  ให้มาขโมยตัดพระเศียรของพระธรรมาจารย์ไปสักการะบูชา เพื่อเพิ่มพูนมหามงคลชัยให้แก่บ้านเมืองตน  ขณะนั้น ข้าหลวงผู้รักษาการเมืองเสาโจวที่เก็บรักษาสรีระร่างของพระธรรมาจารย์ กับผู้ตรวจการอำเภอท่านหนึ่ง คือ "หลิ่วอู๋เถี่ยน"
อีกท่านหนึ่งคือ "หยางขั่น"        เหตุเกิดหลังจากที่พระธรรมาจารย์ดับขันธ์ไปแล้ว ประมาณสิบเอ็ดปี  (ห้าหกปีบวกกันเป็นสิบเอ็ดปี) 

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                              คัมภีร์ธรรมรัตนะบัลลังก์สูตร 六祖法寶壇經(ลิ่วจู่ฝ่าเป่าถันจิง) ๔

                                             บทที่ ๑๐

                                กำชับให้แพร่หลาย   ฟู่จู่หลิวทง

        ครั้งนั้น พระธรรมาจารย์โปรดต่อไปว่า "หลังจากอาตมากลับไปแล้วเจ็ดสิบปี จะมีพระโพธิสัตว์สองรูป มาจากทางทิศบูรพา รูปหนึ่งถือบวชในเพศบรรพชิต  อีกรูปหนึ่งถือบวชอยู่ในเพศฆราวาส  ทั้งสองรูปจะพร้อมกันมาก่อฐานพงศาธยานะแห่งเราให้มั่นคงสถาวรยิ่งขึ้น จะเสริมสร้างสังฆาราม บูรณะปฏิสังขรณ์ให้เจริญรุ่งเรือง  จะแพร่ธรรมคำสอน จรรโลงพุทธธรรมให้เฟื่องฟูต่อไป" 
        พิจารณา
        พระโพธิสัตว์ทั้งสองรูปในภายหลังต่อมานั้น วงการศาสนาพุทธกล่าวว่า  รูปที่อยู่ในเพศบรรพชิตคือ พงศาธรรมาจารย์หม่าเต้าอี         รูปที่อยู่ในเพศฆราวาสคือ ท่านนักพรต "ผังอวิ้น        "   และหรือท่านนักพรต "เผยซิว        "   ในพงศาอนุตตรธรรม (ยุคหลัง) เมื่อสืบต่อมาจนถึงพระธรรมาจารย์สมัยที่เจ็ด มีสองพระองค์คือ พระธรรมาจารย์ไป๋  กับ  พระธรรมาจารย์หม่า
        กราบเรียนถามว่า "มิทราบว่าเหนือจากสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าขึ้นไป ที่ได้ทรงอุบัติมาแล้วจวบจนบัดนี้ โปรดถ่ายทอดแล้วกี่สมัย ขอได้โปรดเปิดเผยชี้ให้ศิษย์ได้ทราบด้วยเถิด"  พระธรรมาจารย์โปรดว่า  "บรรพพุทธาที่ทรงอุบัติมาสู่โลกนี้นั้น มากมายไม่อาจคณานับ มิอาจคำนวณได้ ณ จุดนี้ จะกล่าวโดยเริ่มจากเจ็ดพระพุทธาอันใกล้นี้เท่านั้น 
ในกัปอาลัมปกร            จวงเอี๋ยนเจี๋ย   มีพระวิปัสสี   พระสิขี   พระเวสสภู
ในภัทรกัปปัจจุบัน          จินเสียนเจี๋ย   มีพระกกุสันธะ   พระโกนาคมน์   พระกัสสปะ   และพระโคดม   รวมเป็นเจ็ดพระองค์
        พระศากยโคดมพระพุทะเจ้า โปรดถ่ายทอดต่อแก่พระมหากัสสปะ เป็นองค์แรก  เรื่อยไปเรียงตามลำดับดังนี้
๑.  พระมหากัสสปะ
๒.  พระอานนท์
๓.  พระศาณกวาสะ
๔.  พระอุปคุปตะ
๕.  พระธฤฏกะ
๖.  พระมิจฉกะ
๗.  พระวสุมิตร
๘.  พระพุทธนันธิ
๙.  พระพุทธมิตร
๑๐.  พระปารัศวิกะ
๑๑.  พระปุณยยะศะ
๑๒.  พระอัศวโฆษ
๑๓.  พระกปิมละ
๑๔.  พระนาคารชุน
๑๕.  พระกาณเทพ
๑๖.  พระราหุลตา
๑๗.  พระสังฆนันทิ
๑๘.  พระคยาศตะ
๑๙.  พระกุมารตะ
๒๐.  พระชยัต
๒๑.  พระวสุพันธุ
๒๒.  พระมโนรหิตะ
๒๓.  พระหกเลน
๒๔.  พระอารยะสิงหะ
๒๕.  พระวสิอสิตะ
๒๖.  พระปุณยมิตร
๒๗.  พระปรัชญาตาระ
๒๘.  พระโพธิธรรม
๒๙.  พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเข่อ
๓๐.  พระธรรมาจารย์เซิงซั่น
๓๑.  พระธรรมาจารย์เต้าซิ่น
๓๒.  พระธรรมาจารย์หงเหยิ่น
        อาตมาฮุ่ยเหนิง เป็นองค์ที่สามสิบสาม  (ตามลำดับพงศาธรรมชมพูทวีป)  ตั้งแต่พระบรรพจารย์ข้างต้นเรื่อยมา ต่างสนองรับหน้าที่ พวกท่านในภายหลัง (ก็ให้)  มอบหมายถ่ายทอดสืบต่อไป อย่าได้ผิดพลาด
        พิจารณา
        พระธรรมาจารย์ทุกพระองค์ ทำหน้าที่ถ่ายทอดสืบต่อแต่ละสมัยด้วยพระภาระศักดิ์สิทธิ์โดยมิให้ขาดสาย มิให้ผิดพลาดจนถึงยุคปัจจุบัน คือ พระพุทธบรรพจารย์เทียนหยาน (ธรรมชาติ)  กับ  พระโพธิสัตว์เอวี้ยฮุ่ย (จันทรปัญญา)         

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                                คัมภีร์ธรรมรัตนะบัลลังก์สูตร 六祖法寶壇經(ลิ่วจู่ฝ่าเป่าถันจิง) ๔

                                             บทที่ ๑๐

                                กำชับให้แพร่หลาย   ฟู่จู่หลิวทง

        ปีเริ่มปฐมศักราชไคเอวี๋ยน ตรงกับปีฉลู เดือนแปด สามค่ำ ณ พระอารามหลวงคุณาปฏิการาม  กั๋วเอินซื่อ  ที่เมืองซินโจว (บ้านเกิดของพระธรรมาจารย์) ภายหลังร่วมฉันภัตตาหารเจกัน เสร็จเรียบร้อยแล้ว พระธรรมาจารย์โปรดกล่าวแก่ศิษย์ทั้งหลายว่า  "พวกท่านจงนั่งลงตามลำดับ อาตมาจะลาจากพวกท่านแล้ว  สงฆ์ฝ่าไห่ (เจ้าคณะ) กราบเรียนถามว่า "มหาเถระเจ้า จะโปรดมอบพุทธธรรมคำสอนใด ไว้ให้แก่คนหลงรุ่นหลังต่อไปได้เห็นพุทธญาณตนได้"  พระธรรมจารย์โปรดว่า  "ท่านทั้งหลายจงตั้งใจฟัง คนหลงรุ่นหลังหากรู้จักเวไนยฯ นั่นก็คือพุทธญาณ หากไม่รู้จักเวไนยฯ แม้จะผ่านกาลเวลานานนับหมื่นกัป เพื่อแสวงหาพุทธะ เขาก็จะมิอาจพานพบ" 
        พิจารณา
        ข้างต้นได้กล่าวไว้แล้วว่า  "เวไนยคือเรา  เราคือเวไนย"   "ขณะหลง   พุทธะคือเวไนย"   "รู้แจ้งทันใด  เวไนยคือพุทธะ"   เวไนยกับพุทธะคือหนึ่งเดียวกัน จะต่างกันแต่เป็นผู้รู้ตื่นหรือหลับหลงเท่านั้น   พระธรรมาจารย์จึงโปรดว่า  "...หากรู้จักเวไนยฯ  นั่นคือพุทธญาณ..."  ศุกษาพุทธธรรม อันดับแรกคือ จะต้องเข้าใจหลักธรรมข้อนี้
        " บัดนี้ อาตมาจะสอนให้ท่านรู้จักเวไนยฯแห่งจิตญาณตน ให้เห็นพุทธญาณแห่งจิตตน  ใคร่เห็นพุทธะแห่งตน  พึงรู้จักเวไนยฯ  เพียงด้วยเวไนยฯหลงหายไปจากความเป็นพุทธะ มิใช่พุทธะหลงหายไปจากความเป็นเวไนยฯ   (เวไนยฯ ไม่รู้ความเป็นพุทธะในตน จึงหลงอยู่กับความเป็นเวไนยฯเรื่อยไป ส่วนพุทธะรู้ความเป็นเวไนยฯในตน จึงตื่นอยู่ในความเป็นพุทธะ มิให้หลงกลับไปเป็นเวไนยฯอีกต่อไป)  จิตญาณตนหากรู้แจ้ง เวไนยฯก็คือพุทธะ  จิตญาณตนหากหลง พุทธะก็คือเวไนยฯ   จิตญาณเสมอภาคเท่าเทียมกัน เวไนยฯก็คือพุทธะ  จิตญาณหากผิดบาปมีเล่ห์ร้าย พุทธะก็คือเวไนยฯ  จิตใจท่านทั้งหลายหากเหลี่ยมร้านคดงอ ก็คือ พุทธะที่อยู่ท่ามกลางความเป็นเวไนยฯ  หากความคิดจิตใจตรงเรียบ ก็คือเวไนยฯได้สำเร็จความเป็นพุทธะ"
ใจฉันมี             พุทธะแท้             แต่เดิมที
พุทธะที่มี          เป็นพุทธะ             ปาริสุทธิ์
หากใจตน         ปราศจาก             องค์แห่งพุทธ
ที่ใดรุด            หาพุทธะ              จะได้จริง
        ใจท่านทั้งหลายเองเป็นพุทธะ ยิ่งอย่างได้สงสัยแคลงใจไปเลย
        พิจารณา
        พระธรรมาจารย์พยายามย้ำเตือนเรื่องจิตพุทธะแห่งตน แก่ศิษย์และสาธุชน จนถึงเวลาสุดท้ายของชีวิต  คนที่ไม่เข้าใจอาจคิดว่า ท่านเลอะเลือนซ้ำซาก  แต่หากเข้าใจ ได้อ่านซ้ำคำย้ำเตือนของท่านแล้วจะตื้นตัน   ใกล้เวลาจะละสังขาร จะดับขันธ์อยู่แล้ว ซึ่งโดยปกติก็ปราศจากยึดหมายในรูป  เวทนา  สัญญา   สังขาร  วิญญาณ  ไฉนก่อนจะทิ้งไป ยังต้องรื้อขนเอาขันธ์ห้าขึ้นมาใช้เพื่อให้เวไนยฯได้รู้แจ้งจิตพุทธะแห่งตน  อะไรจะเมตตากรุณาถึงปานนี้

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                               คัมภีร์ธรรมรัตนะบัลลังก์สูตร 六祖法寶壇經(ลิ่วจู่ฝ่าเป่าถันจิง) ๔

                                             บทที่ ๑๐

                                กำชับให้แพร่หลาย   ฟู่จู่หลิวทง

        โปรดต่อไปว่า "ภายนอกจิตญาณปราศจากสิ่งหนึ่งสิ่งใดอันอาจก่อเกิดได้ ล้วนด้วยจิตตนก่อเกิดหมื่นธรรมทั้งปวง"  พระคัมภีร์จึงมีคำว่า "ใจเกิด ธรรมทั้งปวงเกิด  ใจดับ ธรรมทั้งปวงดับ"   วันนี้อาตมาจะให้โศลกหนึ่งบท เป็นการอำลาจากพวกท่าน ชื่อว่า "โศลกจิตญาณตนพุทธะแท้"  คนสมัยหน้า แม้เข้าใจในความหมายโศลกนี้ เห็นจิตญาณตน จะบรรลุพุทธญาณในตน
           
         " โศลกจิตญาณตนพุทธะแท้ " โศลกมีความว่า
ญาณแท้ตน             คือตถตา             พุทธจิต
คิดเห็นผิด               สามพิษนั้น           มารร้ายใหญ่
หลงผิดอยู่              ขณะนั้น               มารอยู่ใน
เห็นชองไซร์           ในสถาน              บ้านพุทธา

        พิจารณา
        สามพิษ คือ โลภ โกรธ หลง  ขณะหลงผิด จิตใจแฝงไว้ด้วยมาร เหมือนเอามารมาเชิดชูให้เป็นใหญ่ในบ้าน (จิตญาณตน) เมื่อคิดดีเห็นชอบ เหมือนห้องโถงใหญ่ใจกลางบ้าน (จิตญาณตน) ได้ประดิษฐานพระพุทธะไว้  บ้านหลังเดียวกันนี้ เจ้าของบ้านคนเดียวกันนี้ มีผู้อยู่อาศัยที่เป็นทั้งมารก็ได้ เป็นพุทธะก็ได้ เจ้าของบ้านชื่นชอบมาร มารก็เริงร่าขึ้นมาเป็นใหญ่ ชื่นชอบพุทธะ มารก็ถอยหากออกไปเป็นธรรมดา

ท่ามกลางจิต             เห็นผิดนำ             สามพิษเกิด
นั่นคือเชิด                 มารใหญ่ไว้           ให้ครองบ้าน
เห็นชอบนำ               สามพิษใจ             มลายพลัน
แปรเปลี่ยนมาร           เป็นพุทธา             หาใช่เท็จ

อันกายธรรม               สัมโภคะ              นิรมาณ
สามกายนั้น                อันจริงซึ่ง            หนึ่งกายรวม
เป็นกระบวน               บรรลุหมาย           ในพุทธา

        พิจารณา
        ขอย้ำทำความเข้าใจเรื่องสามกายอีกครั้งเผื่อลืม
1.  ธรรมกาย     (           ฝ่าเซิน)  คือจิตญาณอันบริสุทธิ์ กอปรด้วยกรุณาคุณ   ปัญญาคุณ   และบริสุทธิ์คุณอยู่ในตัว
2.  สัมโภคกาย  (           เป้าเซิน)  กายทิพย์ที่มีรัศมีรุ่งโรจน์ แผ่ซ่านสาดส่องด้วยมหากรุณาคุณ  ปัญญาคุณ  และพระวิสุทธิคุณอยู่ในตัว
3.  นิรมาณกาย  (           ฮว่าเซิน) กายอันแผ่พลานุภาพสร้างสรรค์เปลี่ยนแปร เช่น การโปรดสัตว์ในลักษณะต่างๆ ตามเหตุปัจจัยอันควรของพระโพธิสัตว์ 
        ผู้บำเพ็ญหากเห็นชัดได้ในจิตญาณสามกายรวม คือ หากเข้าถึงภาวะของจิตญาณตนที่มีสามกายดังกล่าวร่วมอยู่ ในจิตญาณตน
1.  ก็จะรู้ความบริสุทธิ์สูงส่งแต่เดิมที ที่ไม่ควรปล่อยตัวปล่อยใจให้แปดเปื้อนต่อไป
2.  ก็จะรู้ความเป็นทิพย์  ที่ตนอาจสร้างบารมีให้แสงสว่างนำทางสาธุชนให้พ้นมืดบอดได้
3.  ก็จะรู้หน้าที่  รู้ภาระศักดิ์สิทธิ์ รู้ปรับเปลี่ยนตนและใคร ๆ ในทุกสถาน ในทุกการเมื่อ
        สามกายให้คุณทั้งช่วยตน ช่วยท่าน  บรรลุตน   บรรลุท่าน   เมื่อใช้สามกายถูกต้องบริบูรณ์ บารมีคุณทุกประการ ย่อมส่งผลให้จิตญาณตน เข้าสู่ภาวะความเป็นพุทธะ                   

Tags: