collapse

ผู้เขียน หัวข้อ: เหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า มาทางนี้...  (อ่าน 1473 ครั้ง)

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                   เหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า มาทางนี้

โรคเหนื่อยล้าเรื้อรังไม่ทราบสาเหตุ (chronic fatique syndrome / CFS) พบในประชากรทั่วไปมากกว่า 200 ต่อแสนคน คนไข้ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง อายุ 25-45 ปี

อาการโรคนี้คล้ายกับโรคปวดเมื่อยกล้ามเนื้อเรื้อรัง (fibromyalgia)ซึ่งมีอาการเหนื่อยล้าเรื้อรัง ทว่า... บางคนมีอาการนอนไม่หลับ ซึมเศร้า เหงา นอนไม่หลับและอารมณ์ไม่คงเส้นคงวา

ท่านอาจารย์ศัลยา คงสมบูรณ์เวช ตีพิมพ์เรื่อง "กินบำบัดอาหารเหนื่อยล้าเรื้อรัง" ในหนังสือเรื่อง "อาหารบำบัดโรค" ซึ่งกล่าวว่า มีข่าวดีคือ คนไข้ส่วนหนึ่งอาการดีขึ้นเมื่อได้รับยาต้านซึมเศร้า ซึ่งบ่งชี้ว่า คนที่เป็นโรคนี้ไม่ได้แกล้งป่วย แต่เป็นโรคที่อาจเป็นผลจากสารเคมีในระบบประสาท "เสียศูนย์" ไปนั่นเอง

(1). ลองเพิ่มเกลือ วิธีไม่ยากคือ วัดความดันเลือดดูหลายๆ ครั้ง... ถ้าไม่มีโรคความดันเลือดสูง หรือความดันเลือดค่อนไปทางต่ำ ให้ลองเพิ่มเกลือแกง (โซเดียมคลอไรด์) ในอาหารหรือเครื่องดื่มดู เพราะคนไข้หลายๆ คนอาการดีขึ้น

(2). เพิ่มวิตามิน B สมัยก่อนคนเราไม่ค่อยขาดวิตามิน B เนื่องจากวิตามินชนิดนี้มีมากในจมูกข้าว และรำข้าว... คนที่กินข้าวกล้องจะได้จมูกข้าวและรำข้าวไปในตัว ต่อมาคนเรากินข้าวขาว ขนมปังขาว ทำให้มีโอกาสขาดวิตามิน B เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะคนที่ออกแรง-ออกกำลังมาก นักกีฬา คนที่อยู่ในช่วงลดน้ำหนักด้วยอาหารกำลังงาน (แคลอรี) ต่ำ ผู้หญิงตั้งครรภ์ และคนที่กินมังสวิรัติ

วิธีเพิ่มวิตามิน B คือ เปลี่ยนข้าวขาวเป็นข้าวกล้อง เปลี่ยนขนมปังขาวเป็นขนมปังโฮลวีท เสริมวิตามิน B รวม (หรือวิตามินรวม) หรือเสริมอาหารที่มีวิตามิน B สูง เช่น ผักโขม หน่อไม้ฝรั่ง เมล็ดทานตะวัน ปลาทูน่า (ปลากระป๋อง) ถั่ว มะเขือเทศ กะหล่ำปลี แครอท บรอคโคลี ข้าวโพด ข้าวโอ๊ต งา จมูกข้าว (วีทเจิร์ม) ฯลฯ

(3). เพิ่มวิตามิน C วิตามิน C มีมากในฝรั่ง มะละกอ พริกสด บรอคโคลี สตรอเบอรี ส้ม แคนตาลูป กะหล่ำปลี และผักผลไม้สดๆ อีกหลายชนิด

(4). เสริมธาตุเหล็ก คนเอเชีย โดยเฉพาะผู้หญิงและคนที่ออกแรง-ออกกำลังหนัก (เสียธาตุเหล็กเพิ่มทางเหงื่อ และการหลุดลอกของผิวหนัง-เยื่อบุทางเดินอาหาร) และคนที่กินมังสวิรัติมีความเสี่ยงที่จะขาดธาตุเหล็กเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจทำให้เพลีย ไม่มีสมาธิ เป็นหวัด ติดเชื้อได้ง่าย หรือเลือดจางได้

ธาตุเหล็กจากผลิตภัณฑ์สัตว์ดูดซึมได้ดีกว่าผลิตภัณฑ์พืช อาหารที่มีธาตุเหล็กสูงได้แก่ เนื้อ ปลา ถั่ว เต้าหู้ ผักใบเขียว ลูกพรุน สาหร่าย การกินอาหารพร้อมกับชาจะลดการดูดซึมธาตุเหล็ก... ทางที่ดีคือ ถ้าจะดื่มชา ควรดื่มชาระหว่างมื้อ (ดื่มตอนท้องว่าง) ไม่ดื่มพร้อมอาหาร

คนที่ไม่มีโรคเลือดจางธาลัสซีเมีย (รู้ได้จากการตรวจเลือด) จะลองกินยาบำรุงเลือดที่มีธาตุเหล็กวันละ 1-2 เม็ด 10-15 วันดูก็ได้ ถ้าขาดธาตุเหล็ก กินไปไม่กี่วัน อาการจะดีขึ้น ถ้าจะกินมากกว่านั้น ควรปรึกษาหมอใกล้บ้าน เนื่องจากธาตุเหล็กที่มากเกินมีพิษต่อตับ และกล้ามเนื้อหัวใจ

(5). กินโคบอลท์ ภาวะขาดธาตุโคบอลท์อาจทำให้เกิดโรคเลือดจางได้ อาหารที่มีธาตุนี้สูงได้แก่ ปลา หอย ตับ เนื้อแดง (เนื้อสัตว์ใหญ่) ถั่วเปลือกแข็ง นม ผักใบเขียว
อาหารในกลุ่มนี้ควรระวังไม่กินตับมากเกินหรือบ่อยเกิน เนื่องจากมีโคเลสเตอรอลสูง วิตามิน A สูงมาก และมีไขมันอิ่มตัวมาก โดยเฉพาะถ้ามีปัญหาไขมันในเลือดสูงหรือเบาหวานควรกินอาหารอย่างอื่นแทน

(6). กินเซเลเนียม ภาวะขาดธาตุเซเลเนียมอาจทำให้เกิดโรคเลือดจางได้ อาหารที่มีธาตุนี้สูงได้แก่ บราซิลนัท (ถั่วเปลือกแข็ง) ถั่วเปลือกแข็ง ธัญพืชไม่ขัดสี เช่น ข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีท ข้าวโอ๊ตหยาบ ฯลฯ หอย ปลาทะเล ตับ

(7). กินแมกนีเซียม ภาวะขาดธาตุแมกนีเซียมอาจทำให้การสร้างพลังงานลดลง เพลีย เบื่ออาหาร ซึมเศร้า หงุดหงิด หรือนอนไม่หลับได้
อาหารที่มีธาตุแมกนีเซียมสูงได้แก่ ธัญพืชไม่ขัดสี เช่น ข้าวกล้อง ข้าวโพด ฯลฯ ปลาทะเล ถั่วเปลือกแข็ง (นัท) เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ ถั่ว เมล็ดฟักทอง ผักโขม มะเขือเทศ

(8). กินวิตามิน E ภาวะขาดวิตามิน E อาจทำให้เลือดจางหรืออ่อนเพลียได้ อาหารที่มีวิตามิน E สูงได้แก่ เมล็ดทานตะวัน น้ำมันพืช(หลายชนิด) มะละกอสุก ผักโขม ธัญพืชไม่ขัดสี เช่น ข้าวกล้อง ฯลฯ จมูกข้าวสาลี (วีทเจิร์ม) ถั่วลิสง บรอคโคลี

(9). กินโฟเลต โฟเลตหรือกรดโฟลิคเป็นวิตามิน B ชนิดหนึ่งที่ช่วยในการแบ่งตัวของเซลล์ และสร้างเม็ดเลือด อาหารที่มีโฟเลตสูงได้แก่ ผักผลไม้สดๆ โดยเฉพาะผักโขม หน่อไม้ฝรั่ง กะหล่ำปลี มะละกอ ส้ม หัวหอม แครอท ถั่ว ตับ ธัญพืชไม่ขัดสี เช่น ข้าวกล้อง ฯลฯ จมูกข้าวสาลี (วีทเจิร์ม)

(10). กินสังกะสี สังกะสีหรือซิ้งค์ (zinc) มีมากในตับ เนื้อแดง (เนื้อสัตว์ใหญ่) งา เมล็ดฟักทอง ถั่ว กุ้ง ผลิตภัณฑ์นม ธัญพืชไม่ขัดสี เช่น ข้าวกล้อง ฯลฯ

(11). กินอาหารเช้า ควรกินอาหารเช้าหลังตื่นนอนไม่เกิน 1 ชั่วโมง... ถ้าไม่มีอะไรเตรียมไว้ กล้วยสักครึ่งผล นมไขมันต่ำ นมไม่มีไขมัน หรือนมถั่วเหลืองเสริมแคลเซียมสัก 1 แก้วกับขนมปังโฮลวีท (เติมรำ) ก็ใช้ได้

(12). กินมื้อเล็กหลายๆ มื้อ อาหารมื้อเล็กๆ วันละหลายมื้อหน่อย (อย่างน้อย 4 มื้อคือ เช้า-สาย-เที่ยง-เย็น) หรือมื้อเล็กๆ ทุกๆ 3-4 ชั่วโมงช่วยลดอาการเหนื่อยล้าอ่อนเพลียได้ดีกว่าอาหารมื้อใหญ่วันละไม่กี่มื้อ

(13). กินอาหารหลากหลาย กินอาหารหลายชนิดสับเปลี่ยนหมุนเวียนกัน เพื่อป้องกันโอกาสขาดสารอาหาร
ถ้างดเว้นอาหารประเภทใดประเภทหนึ่ง เช่น มังสวิรัติ ฯลฯ การกินวิตามินรวมเสริมอาจช่วยป้องกันการขาดวิตามินได้ (บล็อกของเราไม่ได้ส่งเสริมให้กินมังสวิรัติ ทว่า... สนับสนุนให้ลดเนื้อลงอย่างน้อยครึ่งหนึ่ง และใช้โปรตีนจากพืชทดแทน)

(14). ดื่มน้ำให้พอ ดื่มน้ำให้พอ หรือประมาณ 8 แก้วขึ้นไปต่อวัน ดื่มน้ำเพิ่มถ้าปัสสาวะมีสีเหลืองเข้ม หิวน้ำ ออกแรง-ออกกำลังมากขึ้น เสียเหงื่อ หรืออากาศแห้ง เช่น อยู่ในห้องแอร์ ฤดูหนาว ขึ้นเครื่อง(บิน) ฯลฯ

ที่มา : health2u.exteen.com   ขอบคุณค่ะ

Tags: