collapse

ผู้เขียน หัวข้อ: เต้าหู้แผ่น  (อ่าน 13430 ครั้ง)

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
เต้าหู้แผ่น
« เมื่อ: 3/08/2011, 14:59 »
              เต้าหู้แผ่น

วัตถุดิบที่สำคัญ 2 อย่างใช้ผลิตเต้าหู้แผ่น

1. ถั่วเหลืองคุณภาพดี เกรด A หรือเบอร์ 1
2.  ดีเกลือ    เป็นส่วนผสมที่ขาดไม่ได้สำหรับการทำเต้าหู้ หากไม่มีเจ้าตัวนี้ ถั่วเหลืองก็จะไม่จับตัวเป็นเต้าหู้ขาว ๆ น่ากิน โดยดีเกลือนี้มีลักษณะเป็นน้ำใส ๆ แต่จะเหนียว ๆ ข้น ๆ เหมือนน้ำเชื่อม รสชาติไม่เค็มเหมือนชื่อ แต่จะขมปนหวาน ดีเกลือนี้หาซื้อได้จากพื้นที่ที่ทำนาเกลือแทบทุกแห่งจะมีขายหมด ต้องบอกคนขายก่อนซื้อทุกครั้งว่าจะนำมาทำเต้าหู้แผ่น เพราะดีเกลือนี้จะต้องมีความเค็มพอประมาณ ถึงจะจับตัวกับถั่วเหลืองให้เป็นเต้าหู้ได้ดี และมีคุณภาพ โดยส่วนใหญ่จะไปซื้อมาจากย่านบางปะกงเพราะใกล้บ้าน การเก็บรักษาก็สามารถใส่ตุ่มหรือโอ่งปิดฝาให้สนิท ที่สำคัญอย่าให้น้ำฝนหรือน้ำเปล่าตกลงไปก็เป็นอันใช้ได้
                     
        อุปกรณ์        ที่จะช่วยในการทำถั่วเหลืองได้ง่ายและรวดเร็วขึ้นได้แก่

 :)  เครื่องโม่ไฟฟ้า     เครื่องโม่นี้จะใช้โม่ถั่วเหลืองให้ออกมาเป็นน้ำแป้งถั่วเหลือง เครื่องโม่ไฟฟ้าราคาซื้อใหม่ประมาณ 8,000 - 12,000 บาท

 :)  เครื่องร่อน หรือ เครื่องกรองไฟฟ้า เป็นเครื่องมือที่ใช้กรองน้ำถั่วเหลืองที่ผ่านการโม่เป็นน้ำแล้ว เครื่องร่อนนี้มีพื้นฐานมาจากการกรองด้วยผ้าขาวบางนั้นเอง เพียงแต่สะดวกขึ้นโดยไม่ต้องออกแรงทำให้กรองได้รวดเร็ว โดยยังใช้ผ้าขาวบางเป็นตัวกรองน้ำถั่วเหลืองขณะที่กรองเครื่องนี้ก็จะทำการเขย่าไปมา ทำให้กรองได้รวดเร็ว

 :)  พิมพ์ไม้สัก  ซึ่งเป็นบล็อกตารางสี่เหลี่ยม พิมพ์ 1 แผ่น จะแบ่งบล็อก ๆ ได้ 25 ช่อง กว้างและยาวช่องละ 3.5 นิ้ว x 3.5 นิ้ว ตัวพิมพ์นี้จะเป็นตัวทำให้เต้าหู้มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยม

 :)  แผ่นรองพื้น สำหรับรองพื้นด้านล่างของพิมพ์ มีขนาดใหญ่กว่าพิมพ์เล็กน้อย ทั้งพิมพ์และพื้นรองจะขายเป็นคู่ หาซื้อได้จากร้านค้า ย่านวัดปทุมคงคา มีอุปกรณ์ทำเต้าหู้เกือบทุกอย่างขาย พิมพ์ 1 คู่จะสามารถทำเต้าหู้ได้ 13 แผ่น ทำไมถึงทำได้ 13 แผ่นทั้ง ๆ ที่มีบล็อกถึง 25 ช่อง เป็นเคล็ดลับที่ทำให้เต้าหู้มีเนื้อแน่น ไม่เละ ในพิมพ์ 1 แผ่น ก่อนที่จะเทเต้าหู้ลงไปในบล็อก หรือช่อง นั้นจะต้องทำการรองพื้นด้วยผ้าขาวบางที่ผ่านการซักและต้มจนสะอาดเรียบร้อยแล้วเสียก่อน โดยวางช่องเว้นช่องเท่านั้น
 
 :)  ผ้าขาวบาง     จะเข้ามาเกี่ยวข้องกับอุปกรณ์ทั้งสองก็ตรงนี้เอง โดยผ้าขาวบางที่จะนำมาวางในช่องนั้นจะต้องทำการฉีกผ้าขาวบางออกเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมเสียก่อน ให้มีขนาดกว้าง และยาวประมาณ 6X6 นิ้ว สาเหตุไม่ใช้กรรไกรตัดผ้านั้น จะทำให้เนื้อผ้าเป็นขุย และลายเส้นบนเนื้อผ้าจะดิ้นไปมา
เตาสตรีม  สำหรับต้มน้ำให้ร้อนจัดอย่างรวดเร็ว

 :)  เครื่องปั๊มน้ำ สำหรับปั๊มน้ำถั่วเหลืองไปยังเครื่องกรอง ถังไม้สำหรับผสมมีลักษณะเหมือนถังพลาสติกแต่ทำด้วยไม้ 1 ถัง จะทำเต้าหู้ได้ทีละ 150 แผ่น เรียกว่า "ถังห่อ"
 
 :)  กระทะใบบัว สำหรับต้มน้ำแป้งถั่วเหลืองขนาดตามความต้องการ

 :)  ตระแกรงไม้ไผ้  สำหรับกรองน้ำออกจากถั่วเหลือง จานสเตนเลสไว้คนน้ำแป้ง ในขั้นการทดลองทำไม่ควรลงทุนมากมีแค่เครื่องโม่อย่างเดียวก็พอ ไม่จำเป็นต้องมีเครื่องกรอง เพราะใช้สามารถใช้ผ้าขาวบางกรองแทนได้แต่จะช้าต้องใช้แรงมากและร้อน

                กรรมวิธีการผลิตเต้าู้แผ่น

        หลังจากที่เราคัดเลือกซื้อถั่วเหลืองคุณภาพดีมาได้แล้วก็นำ ถั่วเหลืองไปล้างน้ำหลายครั้งจนสะอาด ไม่มีสิ่งสกปรกเจือปนอยู่ จากนั้นนำไปแช่น้ำพอท่วมถั่วเหลือง แช่ทิ้งไว้ 3 ชั่วโมง หรือจนกระทั่งเนื้อถั่วเหลืองเริ่มนิ่มและพองตัวถ้ายังไม่นิ่ม หรือพองตัวเต็มที่ก็ให้เติมน้ำเข้าไปอีก แช่ทิ้งไว้จนกว่าจะนิ่ม ถั่วเหลืองที่ใช้ได้แล้วจะมีขนาดของเม็ดถั่วที่อวบใหญ่ขึ้น เนื้อถั่วจะนิ่มนุ่มไม่แข็งแต่ไม่เละ จากนั้นก็ตักเอาแต่ถั่วเหลืองที่ใช้ได้แล้ว มาเทใส่เครื่องโม่ ซึ่งระหว่างการโม่ เครื่องจะมีที่สำหรับใส่น้ำลงไปผสมกับเนื้อถั่วทีละน้อยโดยจะทำไปพร้อมกันเพียงแค่เปิดก็อก ถั่วเหลืองเมื่อผ่านการโม่แล้วจะออกมาเป็น "น้ำถั่วเหลืองเหลว ๆ" หรือเรียกว่า "แป้ง" การโม่นี้ก็มีเทคนิคด้วยว่าต้องคอยปรับแต่งเครื่องโม่ไม่ให้โม่จนน้ำแป้งที่ออกมากหยาบหรือละเอียดเกินไป การตรวจดูนั้นจะใช้มือจับตัวน้ำแป้งดู
    โดยจะสังเกตได้ว่าถ้าละเอียดเกินไปน้ำถั่วเหลืองที่ออกมาจะร้อนและมีฟองเล็กน้อย เวลานำไปทำเป็นเต้าหู้แผ่นอาจทำให้เต้าหู้เสียได้ หรือถ้าโม่ออกมาหยาบเกินไปก็จะไม่ดี เวลานำไปกรองแล้วจะได้เนื้อแป้งน้อย  พอได้น้ำแป้งถั่วเหลืองแล้ว ก็นำไปกรองด้วยเครื่องกรอง โดยกรองผ่านผ้าขาวบางเพียงชั้นเดียว เพื่อแยกเอากากออกให้เหลือแต่น้ำแป้งขั้นตอนนี้สำหรับมือใหม่
หากไม่มีเครื่องกรองก็สามารถใช้ผ้าขาวบางกรองแล้วคั้นแป้งออกมาด้วยมือก็ได้
     เมื่อกรองได้น้ำแป้งแล้วก็นำน้ำแป้งที่ได้ไปต้มในหม้อ หรือทำทีละมาก ๆ ก็จะใช้กระทะใบบัวต้ม ตั้งไฟต้มน้ำแป้งจนเดือกสักครู่น้ำแป้งก็จะสุกใช้ได้ จากนั้นก็นำน้ำแป้งที่กำลังร้อน ๆ อยู่มากรองด้วยเครื่องกรองอีกครั้ง แต่ครั้งนี้จะใช้ผ้าขาวบางกรองแป้งสองชั้น แล้วนำ "ถังห่อ" มารองน้ำแป้งที่ผ่านการกรองแล้ว เมื่อต้มแป้งจนสุกแล้วจะมีเครื่องดูดแป้งจากกระทะผ่านลงที่เครื่องกรองเลยโดยไม่ต้องตักให้เสียเวลา และมีเครื่องกรองถึง 2 ตัว แยกกัน ทำให้ทำงานได้ไวและต่อเนื่องมากขึ้น แต่ถ้าทำในเริ่มแรกก็อาจจะใช้แค่ตัวเดียวได้
     เมื่อได้แป้งอยู่ในถังห่อแล้ว ต่อมาจะเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุด เพราะจะต้องนำดีเกลือ มาผสมกับน้ำแป้งโดยขั้นตอนนี้ไม่สามารถกะปริมาณของดีเกลือที่ใส่ลงไปให้แน่นอนได้ เนื่องจากมีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้บางครั้งใส่มากน้อยไม่เท่ากัน คือ คุณภาพถั่วเหลืองและความข้นเหลวของน้ำแป้ง การเทดีเกลือลงไปในถังห่อ ที่มีน้ำแป้งอยู่แล้วนั้นให้ใช้จานสเตนเลสพายน้ำแป้งในถังให้หมุนเป็นวงกลมไปในทางเดียวกันอย่างช้า ๆ แล้วจึงค่อย ๆ เทดีเกลือลงไปผสม เมื่อเริ่มเทดีเกลือลงไปน้ำแป้งจะเริ่มจับตัวเป็นเหมือนวุ้น  เป็นก้อนขึ้นมากมีลักษณะเหมือนกับไข่ตุ๋น นิ่ม ๆ เละ ๆ พอผสมเสร็จสักพักเดียวแป้งก็เริ่มจับตัว และแยกตัวหรือแยกชั้น ระหว่างแป้งที่รวมตัวกันกับน้ำที่เหลือ เราก็จะเอาตะแกรงไม้ไผ่ที่มีขนาดพอดีใส่ หรือวางเข้าไปข้างในของถังห่อได้ มาจุ่มแล้วกดลงไป ตัวน้ำที่เหลือจากการจับตัวของแป้งจะซึ่งผ่านช่องของตะแกรงขึ้นมา ตัวแป้งเต้าหู้จะถูกกดอยู่ด้านล่าง ต้องคอยตักน้ำที่ซึมผ่านขึ้นมาทิ้งไปเรื่อย ๆ กดตะแกรงลงไปจนรู้สึกว่าเนื้อแป้งด้านล่างแน่นพอดีโดยต้องระวังเวลากดไม่ให้เต้าหู้ด้านล่างแข็ง
หรือนิ่มเกินไป เมื่อยกตะแกรงออกมาจะเห็นเป็นเนื้อแป้งข้น ๆ เหมือนกับไข่ตุ๋นไม่มีผิด ใช้ผ้าขาวบางกว้าง 6x6 นิ้ว ที่ผ่านการซักและต้มจนสะอาดแล้ววางรองในพิมพ์ โดยวางทแยงกับเหลี่ยมของพิมพ์เพื่อที่จะห่อเต้าหู้ได้แน่นพอดี จากนั้นใช้กระบวยตักเต้าหู้โดยเทให้เต้าหู้ให้สูงขึ้นมาเหนือพิมพ์เล็กน้อยประมาณ 0.5-1 ซม. จากนั้นห่อเต้าหู้ด้วยผ้าขาวบางปิดให้สนิททุกด้าน ตักเต้าหู้ใส่พิมพ์แบบช่องเว้นช่องทำให้พิมพ์ 1 แผ่น สามารถห่อเต้าหู้ได้เพียง 13 แผ่น ทำอย่างนี้แล้วจะได้คุณภาพของเต้าหู้ที่ดี เนื้อนิ่มไม่เละหรือแข็งเกินไป
      เมื่อห่อเต้าหู้เข้าในพิมพ์เสร็จครบ 13 แผ่น แล้วก็จะนำไปตั้งเรียงซ้อนกันเป็นชั้น ๆ ตามจำนวนมากน้อยที่ทำจากนั้นก็จะใช้แผ่นไม้เหมือนกับแผ่นรองพื้นวางปิดด้านบนแล้วใช้หินทับ หรือของที่มีน้ำหนักกดทับลงไปบนไม้ กะว่ากดพอให้เต้าหู้แน่นแข็งตัว กดทิ้งไว้ประมาณ 10-15 นาที ก็ใช้ได้ โดยระหว่างที่กดก็จะมีน้ำซึมออกมาจากเต้าหู้บ้างเล็กน้อย ครบ 15 นาที ก็นำออกมาแกะออกจากพิมพ์ แกะผ้าขาวบางออกเอาเต้าหู้ที่ได้แช่ลงไปในน้ำเย็น โดยสามารถเก็บแช่น้ำเย็นไว้ได้นานถึง 1 อาทิตย์ ขั้นตอนการผลิตทั้งหมดจะใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมง เสร็จสรรพได้เต้าหู้แผ่นพร้อมขาย

 ;)  หมายเหตุ  :   ดีเกลือ คือสารประกอบเกลือซัลเฟตของโซเดียมและแมกนีเซียม แบ่งออกเป็นสองชนิดคือ ดีเกลือไทยและดีเกลือฝรั่ง ซึ่งทั้งสองชนิดมีคุณสมบัติและลักษณะแต่งต่างกัน ได้แก่...

1. ดีเกลือไทย มีสูตรทางเคมีว่า Na2SO4 ดีเกลือชนิดที่เป็นเกลือซัลเฟตของโซเดียม หรือเรียกง่ายๆว่า "โซเดียมซัลเฟต" มีลักษณะเป็นผงสีขาว ไม่มีกลิ่น มีรสเค็ม มีคุณสมบัติเป็นถ่ายพิษเสมหะและโลหิต ถ่ายอุจจาระ ถ่ายพรรดึก ทำให้เส้นเอ็นหย่อน

2. ดีเกลือฝรั่ง มีสูตรทางเคมีว่า MgSO4.7H2O ดีเกลือชนิดที่เป็นเกลือซัลเฟตของแมกนีเซียม หรือเรียกว่า "แมกนีเซียมซัลเฟต" เรียกเป็นภาษาสามัญแบบฝรั่งว่า Epsom salts มีลักษณะเป็นผลึกสีขาวหรือใส คล้ายผงชูรส ไม่มีกลิ่น ละลายน้ำได้ รสเค็ม

มีคุณสมบัติเป็นยาระบายถ่ายอุจจาระ ถ่ายพิษเสมหะและโลหิต นิยมนำเอามาใช้ในการรักษาปลา และยังมีการนำไปใช้ในการเกษตรเรื่องเอาไปช่วยรักษาดินที่ขาดแมกนีเซียม นอกจากนี้สาวๆ ยังนิยมนำไปเป็นส่วนผสมในการรักษาสิวแบบประหยัดอีกด้วย

ออฟไลน์ tik

  • Admin
  • มิตรนักธรรม
Re: เต้าหู้แผ่น
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 3/08/2011, 15:19 »
ทอดเต้าหู้แข็งให้พองกรอบ

Posted on ธันวาคม 21, 2009 | By: admin
Category: ขอดเกร็ดเคล็ดลับ
Tags: ทอด, ทอดเต้าหู้, เต้าหู้

เต้าหู้แข็งขาวทำจากน้ำเต้าหู้ผสมดีเกลือไห้ตกตะกอนแล้วนำไปใส่แม่ พิมพ์ให้สะเด็ดน้ำ แล้วห่อให้เป็นก้อน ส่วนเต้าหู้แข็งเหลืองเป็นการนำเต้าหู้แข็งขาวไปหมักในเกลือแล้วนำไปต้ม พร้อมใส่ขมิ้นให้สีเหลืองเคลือบผิว ทำให้เนื้อเต้าหู้แข็งและยึดหยุ่นกว่าชนิดขาว ส่วนใหญ่นิยมนำเต้าหู้แข็งมาเป็นส่วนผสมของอาหารต่างๆ ซึ่งบางอย่างต้องนำเต้าหู้มาทอดก่อนนำไปใช้ วิธีทอดเต้าหู้แข็งให้พองกรอบ ก่อนอื่นต้องล้างเต้าหู้ให้สะอาด นำมาหั่นเป็นชิ้นตามต้องการ คลุกน้ำมันเพื่อไม่ให้ติดกัน แล้วนำไปผึ่งให้หมาด เต้าหู้ยิ่งแห้งยิ่งดีเพราะทอดแล้วจะพองดี การทอดควรทอดในกระทะก้นลึก ใช้ไฟกลาง น้ำมันเยอะพอท่วม ควรใช้น้ำมันปาล์ม เพราะจะทำให้เต้าหู้กรอบและไม่อมน้ำมัน พอน้ำมันร้อนใส่เต้าหู้ทีละน้อยทอดให้เต้าหู้พอง ตักขึ้นให้สะเด็ดน้ำมัน

Credit : papamenu.com

ออฟไลน์ tik

  • Admin
  • มิตรนักธรรม
Re: เต้าหู้แผ่น
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 3/08/2011, 15:45 »
Credit by : workdeena.blogspot.com


ช่วงนี้เศรษฐกิจบ้านเราก็แย่ๆ คนตกงานก็เพิ่มมากขึ้น workdeena คิดว่าเรามาทำอาชีพอิสระกันดีกว่า และอาชีพวันนี้ก็น่าทำและกำไรดี นั้นคือ "การทำเต้าหู้" อาชีพนี้แต่เดิมเป็นอาชีพของชาวจีน แต่ปัจจุบันนี้ ไทยหรือจีนก็ทำได้เหมือนกัน และเต้าหู้ก็ยังนำมาทำอาหารได้หลายอย่าง เช่น

    * เต้าหู้ทอด กินกับน้ำจิ้มถั่ว
    * เต้าหู้ย่าง กินกับซีอิ้ว
    * ต้มจืดเต้าหู้ ซดน้ำร้อนๆ
    * ยำเต้าหู้ยี่ กับข้าวสวยร้อนๆ

-และยังมีการนำเต้าหู้ไปทำอาหารอื่นๆ อีกมากมาย


เรามาดูวิธีทำ เต้าหู้ กันเลย

อุปกรณ์ที่ต้องเตรียม

   1. พายไม้
   2. ผ้าขาวบาง
   3. ของหนักๆ สำหรับทับผาแบบ


ส่วนผสม

   1. ถั่วเหลืองดิบ 1 1/2 กิโล
   2. ดีเกลือ 3 ช้อนชา
   3. น้ำ 32 ถ้วยตวง
   4. เกลือแกง 1 ช้อนโต๊ะ


วิธีทำ

    * เก็บสิ่งสกปรกออกจากถั่วให้หมด นำถั่วไปแช่น้ำสัก 5 ชั่วโมง ล้างขยำเอาเปลือกออก
    * พอสะอาดดีแล้วดวงน้ำใส่ 30 ถ้วยตวง ลงไปปั่น
    * ใส่น้ำประมาณเท่าๆ กันเวลาใส่เครื่องปั่นพอเสร็จกรองด้วยผ้าขาวบาง
    * น้ำที่เหลือ 2 ถ้วย สำหรับล้างเครื่องปั่นครั้งสุดท้ายที่มีถั่วติดเครื่องอยู่
    * พอเสร็จนำไปตั้งไฟกลาง เชื้อคือดีเกลือ และเกลือแกงละลายน้ำสัก 2 ถ้วยตวงเตรียมไว้
    * พอน้ำเดือดยกลงหาพายไม้ยาวๆ 1 อันคนเชื้อให้เข้ากันแล้วค่อย ๆ เทลงใน้ำเต้าหู้ ใช้พายพุ้ยน้ำเต้าหู้ขึ้นมาข้างบนเชื้อ แล้วค่อยๆ เทไป
    * พุ้ยน้ำไปจนหมดเชื้อ น้ำเต้าหู้จะเริ่มแยกตัวกันเป็นเนื้อเต้าหู้และน้ำเปล่า
    * แล้วก็ยกไปเทลงแบบที่มีผ้าขาวบางรองข้างล่างมาถึงด้านบนด้วย
    * พอหมดก็ตลบชายผ้าข้าวบางปิดด้านบนทั้ 4 ด้าน แล้วเอาฝาปิดหาของหนักๆ ทับ เพื่อเทน้ำที่ค้างในเต้าหู้ออก

    * พอเย็นก็ตัดเป็นชิ้นๆ เพื่อนำไปจำหน่าย หรือรับทานก็ได้


-แค่นี้ก็เสร็จแล้ว และเพื่อนๆ รู้ไหมว่าเต้าหู้มีประโยชน์อย่างไร
ประโยชน์ของเต้าหู้


    * เต้าหู้ เป็นผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองซึ่งให้คุณค่าทางโภชนาการสูงโดยเฉพาะโปรตีน ซึ่งให้โปรตีนมากกว่าเนื้อสัตว์บางชนิดถึง 2 เท่าในปริมาณที่เท่ากันและมีราคาถูกอีกด้วย
    * ถั่วเหลืองซึ่งนำมาผลิตเป็นเต้าหู้ยังมีเลซิติน ซึ่งมีผลในการลดไขมันและช่วยสงเสริมการทำงานของระบบประสาทที่เกี่ยวกับความ ทรงจำ รวมทั้งฮอร์โมนจากพืชที่เรียกว่า ไฟโตเอสโทรเจน ที่มีการวิจัยพบว่ามีผลในการป้องกันมะเร็งและมีผลดีต่อผู้หญิงวัยทองคือช่วย ชะลอภาวะหมดประจำเดือนและลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านม


จึงสรุปได้ว่า เต้าหู้เหมาะกับทุกคนในครอบครัวโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ใหญ่วัย 40 ปีขึ้นไปเพราะเต้าหู้จะช่วยให้ระบบการย่อยทำงานได้ดีขึ้น

-แต่ถ้าเพื่อนๆ อยากทำ "เต้าหู้อ่อน" ขาย workdeena ก็แนะนำให้ทำตามนี้เลย

* เต้าหู้ชนิดเหลืองนิ่ม วิธีการทำต่างจากเต้าหู้ขาวแข็งเพราะใช้แคลเซียมซัลเฟต (ผงยิปซัม หรือที่เรียกในภาษาจีนแต้จิ๋วว่า"เจียะกอ") ในการทำให้โปรตีนในน้ำนมถั่วเหลืองตกตะกอน ซึ่งเนื้อจะเนียนและไม่แข็งเท่าเต้าหู้ขาวแข็ง เมื่อตกตะกอนแล้วนำมาใส่ผ้าขาวบางห่อในบล็อกให้เป็นก้อนแล้วนำไปต้ม ใส่ขมิ้นให้ได้สีเหลือง

**คุณสมบัติเด่นของเต้าหู้เหลืองนิ่ม คือ เมื่อนำไปทอดแล้วจะทำให้ได้เต้าหู้ที่กรอบนอกนุ่มใน เต้าหู้ชนิดนี้เหมาะที่จะนำไปผัดกับกุยช่ายขาว ทอดจิ้มน้ำจิ้มเปรี้ยวหวาน ทอดกินกับน้ำพริกกะปิหรือทอดจิ้มกับน้ำจิ้มซีฟู้ดก็ได้

* เต้าหู้ชนิดขาวอ่อน ลักษณะอ่อนนุ่มกว่าเต้าหู้เหลืองนิ่ม กรรมวิธีการผลิตเหมือนกับเต้าหู้เหลืองนิ่มจะต่างกันเพียงเวลาในการทำน้อย กว่า เต้าหู้ชนิดนี้นิยมนำไปทำเป็นแกงจืด เต้าหู้นึ่งหรือสเต๊กเต้าหู้

ถ้าใครอยากทำเป็นอาชีพอิสระ ก็ทดลองทำกันเลย

ออฟไลน์ tik

  • Admin
  • มิตรนักธรรม
Re: เต้าหู้แผ่น
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 7/12/2011, 09:22 »
ผู้ลองทำดูแล้วครับ ยังไม่ประสบผลสำเร็จเลย

ได้เต้าหู้เนื้อหยาบสีคล้ำกว่าท้องตลาด และได้ปริมาณที่น้อยมาก ถั่ว 1 กก. ได้ไม่กี่แผ่นเองคับ
เวลาทอดจะแข็ง ไม่ฟู

จากการทดลองทำ
เต้าหู้ที่อยู่ท้องตลาดน่าจะใส่อย่างอื่นเพิ่มเติม เพื่อให้เต้าหู้มีสีขาว และได้ปริมาณเพิ่มขึ้น

แต่เราก็ต้องหาสูตรทำเต้าหู้ต่อไป...  *:)

Tags: