collapse

ผู้เขียน หัวข้อ: ความสัมพันธ์ระหว่าง อนุตตรธรรมกับศาสนา  (อ่าน 5973 ครั้ง)

ออฟไลน์ CSC บริการมิตรธรรม

  • มิตรนักธรรม
"อนุตตรธรรม มิใช่ศาสนาหรือลัทธิศาสตร์ใดๆ แต่เป็นสัจจธรรมของฟ้าดิน เป็นธรรมอันเที่ยงแท้เป็นหลักหรือรากฐานของทุกชีวิต
วิถีอนุตตรธรรม จึงเป็นทางเดินที่ทุกคนไม่ว่าจะเป็นชนชาติใด ศาสนาใด เด็กหรือผู้ใหญ่ พึงได้รับการถ่ายทอดให้รู้ความเป็น
ความจริงแห่งชีวิตตน จะได้บำเพ็ญเพื่อการหลุดพ้นโดยตรง หรืออย่างน้อยก็เพื่อมิให้จิตใจหลงใหลเสื่อทรามลง"

จากหนังสือสามโลกในธรรมกาลยุคขาว
โดย ศุภนิมิต
 

บทนำ
           อนุตตรธรรมและศาสนาแตกต่างกันอย่างไร? ข้าพเจ้าเชื่อว่าคำถามนี้คงจะติดอยู่ในใจของผู้ที่ได้รับ "วิถีธรรม" ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับผู้ที่รับวิถีธรรมแล้ว ควรทำความเข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่างอนุตตระรรมและศาสนา เราทั้งหลายทราบแล้วว่า "อนุตตรธรรม" หมายถึง "หนทาง" หรือ "วิถีทาง" ที่ทุกสิ่งในโลกต้องดำเนินต่อไป

อนุตตรธรรม คือ บ่อเกิดและอวสารของสรรพสิ่งในจักรวาล
อนุตตรธรรมนี้ สูงส่งที่สุด แต่ดูเรียบง่ายที่สุด
อนุตตรธรรม ไร้รูป ไร้รส ไร้เสียง แต่ไม่มีวันหมดสิ้น
ในตัวมนุษย์ "สัจจธรรม" ที่ให้เราสัมผัสได้ก็คือ
"มโนธรรม" ได้แก่ ความสามารถแยกแยะระหว่างความถูกและความผิด ดีและชั่วเป็นต้น
สัจจธรรมที่อยู่ในตัวมนุษย์เป็นพลังซึ่งไม่อาจมองเห็นได้ แต่สามารถทำให้สิ่งมีชีวิตเติบโตและพัฒนาจนถึงที่สุด
ฉะนั้นอนุตตรธรรมจึงดำรงรักษาและสัมพันธ์กับทุกสรรพสิ่งในจักรวาล

          เพื่อที่มนุษย์จะบรรลุถึงจุดสูงสุด มนุษย์ต้องนำเอา "จิตพุทธะดั้งเดิม" ออกมาใช้ ได้แก่ ความเมตตากรุณา ความเห็นอกเห็นใจกัน ความสัตย์ซื่อ ฯลฯ แท้จริงแล้วคุณธรรมความดีเหล่านี้ ตราตรึงอยู่ในตัวคนเรามาโดยธรรมชาติ ซึ่งก็คือ "สัจจธรรม" อันเป็น "ราก" ของทุกศาสนา

          จากอดีตจนถึงปัจจุบัน ศาสนาเกิดขึ้นจากการเทศนาสั่งสอนหลักธรรมของบรรดาพระศาสดาผู้เป็นบรมครูแห่งปราชญ์และอริยะทั้งหลาย ได้แก่ พระศากยมุนีสัมมาสัมพุทธเจ้า พระเยซูคริสต์ ท่านนบีมุฮัมมัด ท่านเหลาจื้อ ท่านขงจื้อ เป็นต้น

ทุกพระองค์เปรียบเสมือน "มงคลประทีป" ที่ส่องแสงสว่างนำทางแก่มนุษย์ทั้งหลาย ให้ได้รู้จักศีลธรรมจรรยาและทรงแนะวิธีค้นหาสัจจธรรม ที่มีอยู่ในตัวเองให้พบ

ปัจจุบันชาวโลกก็ยังคงมีโอกาสได้รู้จักศาสนาใหญ่ๆ ของพระบรมศาสดาทั้ง 5 พระองค์ ได้แก่

1. ศาสนาพุทธ ของ พระพุทธเจ้า
2. ศาสนาคริสต์ ของ พระเยซูคริสต์
3. ศานาอิสลาม ของ ท่านบีมุฮัดมัด
4. ลัทธิเต๋า ของ ท่านเหลาจื้อ
5. ลัทธิยู้ (ขงจื้อ) ของ ท่านขงจื้อ

เนื่องจากอำนาจอิทธิพลของโลกวัตถุเข้าครอบงำ ความมีเมตตากรุณาอันเป็นธรรมชาติเดิมแท้ที่มีในตัวมนุษย์ก็ลบเลือนหายไป สิ่งไม่ดีต่างๆ ได้แก่ความละโมภ อยากร่ำรวยไม่รู้จักพอ ความอยากมีชื่อเสียง อยากมีอำนาจ ฯลฯ ก็เริ่มเข้ามาครอบงำความคิดของคนเรา มนุษย์ได้เปลี่ยนแปลงโลกที่เคยมีแต่ความสุขให้กลายเป็นโลกแห่งการย่ำยีเข่นฆ่าประหัตประหารซึ่งกันและกัน

ด้วยเหตุนี้พระอริยะเจ้าทั้งหลายในอดีต หลังจากที่ทรงค้นพบ "สัจจธรรม" ที่เป็นรากเหง้าของ "จิตวิญญาณ" เมื่อได้บรรลุธรรมแล้วพระศาสดาทั้งหลายก็ต่างเทศนาสั่งสอน ปลุกจิตวิญญาณชาวโลกให้ตื่นขึ้นจากความเสื่อมทราม หลงงมงายอยู่ในสิ่งเลวร้ายทั้งหลายที่พวกเราได้กระทำ


ท่านขงจื้อได้สอนเกี่ยวกับคุณสัมพันธ์ 5 และคุณธรรม 8

คุณสัมพันธ์ 5 ได้แก่

1. บิดามารดาและบุตร พ่อแม่ต้องดูแลลูกๆ และลูกๆ ต้องกตัญญูต่อพ่อแม่ 
2. พี่กับน้อง พี่น้องต้องรักใคร่สามัคคีปรองดองซึ่งกันและกัน
3. สามีกับภรรยา ทั้งสองฝ่ายต้องให้เกียรติและเคารพซึ่งกันและกัน
4. เพื่อนต่อเพื่อน ต้องมีความซื่อสัตย์จริงใจในมิตรภาพ
5. ผู้ปกครองและผู้ใต้ปกครอง ผู้ปกครองจะต้องมีความเมตตากรุณา เอื้ออาทรต่อผู้ใต้ปกครอง ผู้ใต้ปกครองก็ต้องมีความภักดีและซื่อตรงต่อผู้ปกครอง

คุณธรรม 8
คือ

1. กตัญญูต่อพ่อแม่ 5. มารยาทดีงาม
2. สามัคคีปรองดอง  6. บริสุทธิ์ทั้งกาย วาจา ใจ
3. จงรักภักดี  7. ซื่อตรงต่อหน้าที่
4. สัจจวาจา  8. ละอายเกรงกลัวต่อบาป

พระศากยมุนีพุทธเจ้าทรงสั่งสอนเกี่ยวกับ "อริยสัจจ์ 4" และ "อริยมรรค 8"

อริยสัจจ์ 4 ได้แก่

1. ชีวิต คือ ทุกข์
2. ความโลภ โกรธ หลง เป็นเหตุแห่งทุกข์
3. การขจัดความโลภ โกรธ หลง จะนำไปสู่การสิ้นทุกข์
4. อริยมรรคมีองค์ 8 จะเป็นหนทางให้หลุดพ้นจากความทุกข์

อริยมรรค 8 ได้แก่

1. ความเห็นชอบ  5. อาชีพชอบ 
2. ความคิดชอบ  6. ความเพียรชอบ
3. วาจาชอบ  7. สติชอบ 
4. การงานชอบ  8. สมาธิชอบ 

ในคัมภีร์ไบเบิลของศาสนาคริสต์ สอนถึงพระบัญญัติ 10 ประการ
ศาสนาอิสลาม สอนหลักธรรมตามพระคัมภีร์อัลกุรอาน

พระบัญญัติ 2 ข้อที่ถือเป็นพระบัญญัติล้ำค่าของชาวคริตได้แก่
ข้อแรก กล่าวว่า "ท่านทั้งหลายจะต้องรักพระเจ้าของท่านจนหมดหัวใจ ด้วยจิตใจและวิญญาณทั้งหมด"

ข้อที่สอง กล่าวว่า "ท่านทั้งหลายจะต้องรักเพื่อนบ้านและทุกชีวิตเหมือนกับที่ท่านรักตัวของท่านเอง" ท่านเหลาจื้อได้สอนผู้คน ให้ดำเนินชีวิตอย่างกลมกลืนกับธรรมชาติที่สุด โดยรู้จักพอใจถ่อมตน สงบ เยือกเย็นและเอื้ออาทรซึ่งกันและกัน

ถึงแม้ว่าพระอริยะและนักปราชญ์ทั้งหลายมีชีวิตอยู่ในที่ซึ่งแตกต่างกันบนโลก แต่ทุกๆ ท่านก็สามารถค้นพบ "หลักธรรม" ที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้

ในคำสอนของพระศาสดาทั้งหลาย แม้จะใช้ถ้อยคำที่แตกต่างกันอันเนื่องมาจากเพื่อความเหมาะสมกับกาลเวลาภูมิประเทศและพื้นฐานจิตใจของผู้คนในสมัยนั้นๆ แต่คำสอนของทุกพระองค์ล้วนนำพาผู้คนให้มุ่งไปสู่จุดหมายเดียวกันคือ สามารถเข้าถึง "พระเจ้า" (สัจจธรรมอันสูงสุด)

ลำธารน้อยใหญ่ทั้งหลายที่แยกมาจากแม่น้ำสายเดียวกัน อาจมีจุดเริ่มต้นและเกิดขึ้นในเวลาที่ต่างกัน มีชื่อเรียกต่างกันออกไป แต่ก็ยังคงบรรจุน้ำที่มาจากต้นกำเนิดเดียวกัน ฉะนั้นสิ่งที่มนุษย์ต้องการและได้รับคุณประโยชน์คือ "น้ำ" ไม่ใช่ "ชื่อ" ของแม่น้ำลำธารทั้งหลาย

บรรดานักปราชญ์และพระอริยะทั้งหลายผู้จาก "แดนนิพพาน" ลงมาจุติในโลกมนุษยื ก็เพื่อประทานคำชี้แนะและบอกถึงความจำเป็นที่มนุษย์ทุกคนจะต้องค้นหา "รากเดิม" และ "สัจจธรรมอันสูงสุด" เพื่อจะได้กลับคืนสู่ "นิพพาน" โดยพร้อมเพรียงกันทั้งหมด

ในเวลาที่เหลืออยู่ไม่มากทุกๆ คนต้องร่วมใจกัน ปฏิบัติภาระกิจของตนๆ โดยอาศัยหลักสัจจธรรมเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ เลิกเห็นแก่ตัว ละทิ้งความคิดที่ไม่ดีและกิเลสต่างๆ ให้ได้

ความลับของ "อนุตตรธรรม" ถูกซ่อนเร้นไว้ในพระคัมภีร์พระสูตรต่างๆ เพื่อรอการเปิดเผยเมื่อเวลามาถึง ในพระสูตรของพุทธศาสนาบทหนึ่งได้กล่าวว่า ครั้งนั้นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงถือดอกบัวไว้ในมือแล้วชูขึ้นตรงหน้าพระพักตร์

พระสงฆ์สาวกทั้งหลายที่มาประชุมกันต่างฉงนสงสัยเป็นอย่างมาก มีเพียงพระมหากัสสปะเท่านั้นที่รู้ถึงปริศนาซึ่งพระพุทธองค์ทรงแสดง ท่านจึงยิ้มออกมาเป็นการรับรู้พุทธประสงค์

พระบรมศาสดาจึงเปล่งธรรมกถาขึ้นว่า
"ตถาคตมีธรรมอันซ่อนอยู่ภายในดวงตา "นิพพาน" สถิตอยู่ในใจของทุกคน สัจจธรรมนี้ไร้รูปลักษณ์และไม่สามารถบอกกล่าวเป็นคำพูด ตถาคตได้ถ่ายทอดสัจจธรรมอันสูงสุดนี้ให้แก่พระมหากัสสปะแล้ว"

จากเรื่องราวในพระสูตรนี้ เราพึงรู้ไว้ว่าสัจจธรรมสูงสุดไม่มีรูปลักษณ์ให้เราเห็นได้หรือเขียนอธิบายได้ แต่ละคนจะสัมผัสได้ด้วย จิตที่บำเพ็ญมาดีแล้วทั้งนั้น

ท่านขงจื้อได้กล่าวว่า "ได้รับรู้วิถีธรรมในตอนเช้า เย็นตายไม่ห่วงเลย" ดังนั้นนับว่าเราทั้งหลายโชคดีมากและเป็นวาสนาสูงส่งที่ได้มีโอกาสรับรู้ "วิถีธรรม" นี้ เพราะคุณงามความดีและบุญกุศลทั้งของบรรพบุรุษและของตัวเราองที่ได้สร้างสมไว้ในอดีตชาตินั่นเอง


ความแตกต่างระหว่างอนุตตรธรรมและศาสนา
อนุตตรธรรม ศาสนา
อนุตตรธรรมเป็นรากของทุกศาสนา
 ศาสนาเป็นกิ่งก้านสาขาในลำต้นของ "อนุตตรธรรม"
 
อนุตตรธรรมเป็น "มโนธรรมสำนึกอันบริสุทธิ์" คือ "พุทธจิตธรรมญาณดั้งเดิมของเรา"
 ศาสนาเป็นหลักธรรมคำสั่งสอนเพื่อชี้นำทาง ไม่ให้เราหลงออกนอก "มโนธรรม" ของเรา
 
อนุตตรธรรมสำแดงให้มนุษย์ได้ประจักษ์แจ้งใน "สัจจธรรม" ด้วยตนเองและนำพามนุษย์เข้าสู่ "ชีวิตนิรันดร์
 ศาสนาอบรมสั่งสอนหลักปฏิบัติให้มนุษย์รู้จัก สร้างสมคุณความดีในชีวิตไปตามลำดับขั้น เพื่อชีวิตหน้า
 
อนุตตรธรรมเผยแพร่หลักสัจจธรรมเที่ยงแท้ออกไป อย่างกว้างไกลในเวลาที่มหันตภัยคืบคลานใกล้เข้ามา ด้วยพระเมตตาของเบื้องบนที่ต้องการคุ้มครอง ฉุดช่วยสาธุชนผู้ประพฤติดีให้รอดพ้นจากภัยพิบัติครั้งยิ่งใหญ
 ศาสนายังคงเผยแพร่คำสั่งสอน เพื่อช่วยให้ผู้คนมีหลักธรรมในการดำเนินชีวิตอยู่เสมอ
 
อนุตตรธรรมจะถ่ายทอดแก่คนที่มีรากบุญ โดยพระวิสุทธิอาจารย์
 ศาสนา : ทุกคนสามารถเลือกปฏิบัติ และบำเพ็ญตนในศาสนาใดก็ได้ตามที่เราศรัทธา

 
การตัดสินว่า "อนุตตรธรรม" ควรอุบัติขึ้น เมื่อไหร่และถ่ายทอดลงสู่ผู้ใดเป็นพระวินิจฉัย ของพระองค์ธรรมมรดา
 การตัดสินว่าหลักธรรมคำสั่งสอนในศาสนา ควรจะเผยแพร่ออกไปเพียงใดขึ้นอยู่กับ บรรดานักบวชสาวกทั้งหลายในศาสนานั้นๆ
 
สัจจธรรมอันสูงสุดจะสำแดงให้ปรากฏขึ้นเมื่อ ถึงกาลอันควรถือเป็น "บุญวาระ" และการบำเพ็ญธรรมอย่างถูกเต้องย่อมเกิดขึ้น ตามมาภายหลังที่คนผู้นั้นได้รับรู้ "วิถีธรรม" แล้ว
 ศาสนาอยู่เคียงข้างผู้คนเพื่อชี้แนะให้คนทั้งหลายเดินไปสู่ "อนุตตรธรรม" แต่ไม่อาจเปิดเผย "อนุตตรธรรม" ได้
 
 

สรุป
เราสามารถกล่าวได้ว่า ศาสนาทุกศาสนาได้ตระเตรียมจิตวิญญาณของเรา ให้พร้อมที่จะได้รับ "วิถีอนุตตรธรรม" อันเป็นเส้นทางเดินในช่วงสุดท้ายของการบำเพ็ญธรรมเพื่อกลับคือ "สภาวะเดิมแท้" คือ "นิพพาน" เหตุนี้เองที่ทำให้เราทั้งหลายได้รับรู้วิถีแห่ง "อนุตตรธรรม" อยู่ในขณะนี้

ที่มา  http://www.hersunmeler.com

Tags: อนุตตรธรรม

Tags: