การดื่มชาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตชาวจีน อย่างไรก็ตามประเพณีดื่มชามีความแตกต่างทั่วประเทศจีน ชาหอมเช่นชามะลิเป็นที่นิยมในภาคเหนือของจีน คนในภาคตะวันออกชอบชาเขียวในขณะที่คนในภาคใต้มักจะดื่มชาดำ ด้วยการเป็นหนึ่งในสิ่งจำเป็นในชีวิตประจำวันของชีวิตและเมื่อพิจารณาถึงวัตถุประสงค์ในการรักษาเป็นพิเศษ ชาจึงเป็นส่วนผสมที่นิยมใช้ในการเยียวยารักษาพื้นบ้าน ตัวอย่างเช่น กล่าวกันว่าชาเป็นสิ่งที่ดีสำหรับผู้สูงอายุหรือสำหรับผู้ที่กำลังฟื้นตัวจากโรคร้ายแรง เมื่อคนดังกล่าวมีอาการอ่อนเพลีย มีแก๊สมากในกระเพาะอาหาร และแน่นในช่องท้องหลังอาหาร ก็จะแนะนำว่าพวกเขาดื่มชาเก่าเป็นเวลาหลายวัน
ตัวอย่างต่อไปนี้ เป็นการเลือกชาให้เหมาะกับการรักษา:
ชาน้ำตาล : ทำจากชาเขียวและน้ำตาล การแพทย์แผนจีนเชื่อว่าชานี้สามารถทำให้เกิดความกลมกลืนกันภายในท้อง, เติมเต็มพลังชี่ (พลังงานที่สำคัญ) และยังช่วยในเรื่องเกี่ยวกับประจำเดือนผิดปกติ
ชาน้ำส้มสายชู : ทำจากผงชาหนัก 3 กรัม ผสมกับน้ำส้มสายชูที่หมักจากข้าว ดื่มวันละสองครั้ง ชานี้สามารถบรรเทาอาการหงุดหงิดซึมเศร้าและไม่สบายหน้าอก
ชาลูกบัว 莲子 : เมล็ดบัว (หนัก 30 กรัม) แช่ในน้ำอุ่นเป็นเวลา 5 ชั่วโมง แล้วต้มด้วยน้ำและน้ำตาลทรายแดง (หนัก 30 กรัม) จนนิ่ม แล้วจึงผสมกับชาก่อนรับประทาน ของหวานนี้จะช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับม้ามและไต ซึ่งแนะนำให้ผู้ที่เป็นโรคไตอักเสบและบวมรับประทาน
ชาดอกเก๊กฮวย : ทำจากชาเขียวและดอกเบญจมาศขาว ชานี้จะช่วยทำความสะอาดตับและมีประโยชน์ต่อตา; เหมาะสำหรับผู้ที่มีความดันโลหิตสูง, มองเห็นไม่ชัด และปวดหัว
ชาน้ำผึ้ง : มีสรรพคุณดับกระหาย, ช่วยสร้างเลือดทดแทน, บำรุงปอด และมีประโยชน์ต่อไต ช่วยป้องกันอาการท้องผูก ท้องอืด ท้องเฟ้อ และเจ็บคอ
ชาใบบัว : ชานี้จะทำจากผงชา (หนัก 2 กรัม) และใบบัวแห้ง (หนัก 9 กรัม) แช่ในน้ำเดือดนาน 5 นาที ช่วยดับความกระหาย ป้องกันการเกิดสิว และปรับความยืดหยุ่นของผิว อีกทั้งยังช่วยลดน้ำหนัก
ชาผลเซียงจา : ทำจากผลเซียงจา (Hawthorn) คั่วแล้วนำมาต้ม รินน้ำที่ต้มได้มาผสมกับชาเขียว ควรดื่มเป็นประจำเพื่อช่วยลดคอเลสเตอรอลและความดันโลหิต เหมาะสำหรับบุคคลที่มีความดันโลหิตสูง, โรคหัวใจหรือผู้ที่เป็นโรคอ้วน
ชาขิง : ชานี้เตรียมโดยการต้มขิงสด (ปอกเปลือกและหั่นบาง ๆ ) กับชาแดง เสิร์ฟหลังอาหาร ชานี้จะช่วยขับเหงื่อ สร้างความอบอุ่นให้ปอดและหยุดอาการไอ ช่วยลดไข้, ไข้หวัดและอาการไอ
ชานม : ผสม นมและน้ำตาลลงในชา ชานี้ช่วยม้ามและทำให้จิตใจชุ่มชื่น
ชาผลพุทราจีน (Red Date) : แช่ชาแดง (หนัก 5 กรัม) ในน้ำเดือดนาน 3 นาที แล้วใส่เนื้อพุทราจีนบด 10 ลูก เป็นยาบำรุงกำลังสำหรับม้ามพร่อง ซึ่งดีสำหรับเด็ก ที่ปัสสาวะรดที่นอน และไม่ค่อยกระหายน้ำ
ชากิมหงึ่งฮวย (Honeysuckle) : แช่ชาเขียว (หนัก 2 กรัม) และกิมหงึ่งฮวย (หนัก 1 กรัม) ในน้ำเดือด ชานี้จะช่วยขับความร้อนและพิษ และดับกระหาย ใช้เพื่อป้องกันไข้ ฝี และลำไส้ในช่วงฤดูร้อน
ชาลูกพลับ : เครื่องดื่มนี้ทำจากลูกพลับแห้งบด, น้ำตาลกรวดและชา ชานี้ช่วยควบคุมการไหลเวียนของพลังชี่, ละลายเสมหะ,หล่อลื่นลำไส้และทำให้กระเพาะอาหารแข็งแรง การแพทย์แผนจีนใช้กับผู้ป่วยวัณโรคเพราะ ช่วยขับเสมหะและหยุดอาการไอ
ชาพลัมสด : ลูกพลัมสด 10-150 กรัม ต้มกับน้ำ 320 ซีซี.นาน 3 นาที จากนั้นเติมชาเขียว หนัก 2 กรัม, น้ำผึ้ง หนัก 25 กรัม และนำไปต้ม ช่วยขจัดความร้อน, ระบายความชื้น มีประโยชน์ต่อตับ และช่วยลดความเครียด
ชาไหมข้าวโพด : เตรียมโดยการต้มไหมข้าวโพดสดหนัก 100 กรัม และชาเขียวหนัก 5 กรัม เป็นเวลา 5 นาที ดื่มชานี้วันละสองครั้ง ช่วยส่งเสริมม้ามและไต และเร่งการเผาผลาญของของเหลวในร่างกาย, ขับปัสสาวะ และลดอาการบวม
ใบชามีฤทธิ์การรักษาที่ไม่มาก จึงมักใช้ร่วมกับสมุนไพรอื่น เพื่อให้ได้ผลที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น บางครั้งอาจมิได้ใช้ชาในเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพร่วมกับสมุนไพร เพราะเพียงสมุนไพรเหล่านี้ก็มีผลดีต่อสุขภาพแล้ว