collapse

ผู้เขียน หัวข้อ: รู้ไว้ใช่ว่าใส่บ่าแบกหาม...โรคลมชัก  (อ่าน 1316 ครั้ง)

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
***รู้ไว้...โรคลมชัก***

การปฐมพยาบาลเบื้องต้นผู้ป่วยลมชัก เมื่อพบเห็นผู้ป่วยกำลังชัก คนจำนวนมากรู้สึกว่าไม่รู้จะทำอย่างไร ไม่มีเครื่องมือที่จะช่วยเหลือ แต่จริงๆแล้วส่วนมากใช้เพียงแต่สามัญสำนึกทั่วไป หลักปฏิบัติด้านล่างเหล่านี้เพียงระลึกถ...ึงก็สามารถช่วยเหลือผู้ป่วยลมชักได้ การปฐมพยาบาลเบื้องต้นไม่ได้สลับซับซ้อนเพียงแต่ทำเป็นขั้นตอน หลักสำคัญคือป้องกันการได้รับบาดเจ็บจนกว่าจะรู้สึกตัวคืนมา

อาการชักแบบลมบ้าหมู (เกร็งกระตุก)
อาการชักหลายแบบเช่นการชักแบบเหม่อ ไม่รู้สึกตัว ซึ่งผู้ป่วยไม่รู้สึกตัวเพียงชั่วครู่ไม่จำเป็นต้องการการปฐมพยาบาลที่ยากมากมาย ถ้าพบอาการชักเช่นแบบลมบ้าหมูเพียงทำตามขั้นตอนนี้

1. ใจเย็น อย่าตื่นตระหนก
2. ป้องกันการบาดเจ็บ เพียงแต่ใช้ความรู้สึกว่าไม่มีอะไรที่อยู่ใกล้เคียงที่อาจทำให้ผู้ป่วยที่กำลังชักบาดเจ็บได้
3. ดูระยะเวลาการชักว่านานแค่ไหน
4. ดูว่าผู้ป่วยไม่อยู่ในที่แออัด
5. คอยกันคนที่ไม่เกี่ยวข้องให้ห่างเช่นพวกไทยมุง
6. อย่าไปกอดรัดผู้ป่วย ถ้าผู้ป่วยชักแล้วมีการดิ้น อย่าไปจับรัดตัว พึงระวังความปลอดภัยของตัวเองด้วย
7. อย่าเอาอะไรใส่ในปากผู้ป่วย ซึ่งเป็นสิ่งตรงข้ามกับที่ชาวบ้านมักจะทำกัน ผู้ป่วยที่กำลังชักอาจกัดนิ้วท่านได้
8. อย่าให้น้ำ, ยาหรืออาหารแก่ผู้ป่วยจนกว่าจะรู้สึกตัวดี
9. ถ้าอาการชักยังไม่หยุดหรือชักติดต่อซ้ำๆกันหลายครั้งนานกว่า 5 นาทีควรเรียกรถพยาบาล
10. ให้กำลังใจแก่ผู้ป่วยและปลอบใจและบอกแก่คนรอบข้างด้วยเช่นกัน

หลังจากชัก ผู้ป่วยควรนอนตะแคงไปทางซ้าย ควรระลึกว่าผู้ป่วยอาจสำลักได้ก่อนที่จะรู้สึกตัวเต็มที่ ดังนั้นควรตะแคงหน้าเพื่อว่าถ้าผู้ป่วยอาเจียนจะได้ไม่สำลักเข้าหลอดลม และอยู่กับผู้ป่วยขนกว่าจะรู้สึกตัวเต็มที่ (ประมาณ 5-20 นาที)

อาการชักแบบเหม่อนิ่ง
อาการชักแบบนี้ส่วนมากเราไม่ต้องทำอะไรมากถ้าผู้ป่วยมีอาการเหม่อนิ่งไปชั่วขณะหรือแขนขากระตุกชั่วขณะ บางรายมีอาการงง สับสน มีพฤติกรรมแปลกๆเช่นเคี้ยวปาก มือคว้าสิ่งของ วิธ๊ช่วยเหลือคือ

- เฝ้าดูอย่างระมัดระวังและถ้าเรารู้ว่าอาการแบบนี้เป็นอาการชัก อธิบายให้ผู้คนรอบข้างทราบ เพราะบางครั้งคนทั่วไปเข้าใจว่าผู้ป่วยเป็นโรคจิต, เมาหรือใช้ยาเสพติด
- พยายามอย่าส่งเสียงดัง หรือเอะอะโวยวาย
- พยายามกันไม่ให้ผู้ป่วยได้รับอันตรายเช่น บันไดที่สูงชัน, ถนน, ของร้อนเช่น กะทะ,หม้อน้ำ อย่าพยายามจับยึดผู้ป่วยยกเว้นว่าผู้ป่วยกำลังมีอุบัติเหตุหรือได้รับอันตราย ส่วนมากอาการชักจะหยุดเอง ถ้าเราไปจับยึดผู้ป่วยอาจมีสัญชาตญาณต่อสู้คนที่มาจับยึด
- อยู่กับผู้ป่วยจนกระทั่งรู้สึกตัวดี และอาจช่วยพากลับบ้าน


การเรียกรถพยาบาล
เมื่อเราพบคนที่มีอาการชัก ไม่จำเป็นต้องเรียกรถพยาบาลเมื่อ

- มีบัตรประจำตัวบ่งบอกว่าเป็นโรคลมชักอยู่แล้ว
- อาการชักหยุดภายใน 5 นาทีและฟื้นกลับมาปกติ
- ไม่มีการบาดเจ็บหรืออยู่ระหว่างการตั้งครรภ์

ควรเรียกรถพยาบาลเมื่อ
- เกิดอาการชักในน้ำ
- ไม่มีบัตรที่บ่งบอกว่าเป็นโรคลมชักอยู่แล้วและเราไม่รู้ว่าผู้ป่วยมีโรคลมชักอยู่แล้ว
- คนที่ชักตั้งครรภ์, บาดเจ็บ หรือมีโรคเบาหวาน
- อาการชักเป็นนานกว่า 5 นาที
- ชักครั้งที่สองเริ่มหลังจากชักครั้งแรกหยุดไม่นาน
- ไม่คืนสติกลับมาหลังจากอาการกระตุกหยุดแล้ว

ในผู้สูงอายุ

ถ้าชักกระตุก
- จัดให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าสบายบนพื้นหรือผิวราบ หาอะไรหนุนศีรษะ หันหน้าไปด้านใดด้านหนึ่งเพื่อไม่ให้สำลักและทางเดินหายใจโล่ง ถ้านั่งอยู่หันศีรษะไปด้านหนึ่งให้ของเหลวไหลอกมาจากปาก
- อย่าเอาอะไรใส่ในปาก เพราะการชักจะไม่ทำให้ผู้ป่วยกลืนลิ้น
- อย่าให้ดื่มน้ำหรือทานยาจนกระทั่งหยุดชักและรู้ตัวดี
- ถ้ามีกระตุก อย่าไปยึดไว้เพราะกล้ามเนื้อกำลังหดตัวขณะชัก การไปยึดหรือรัดอาจทำให้กล้ามเนื้อฉีกหรือกระดูกที่บางหักได้

ถ้าชักแบบเหม่อ
- เอาสิ่งรอบตัวออกไม่ให้เกิดอันตราย
- อย่าไปจับยึด ถ้ากำลังเดิน สับสนอาจทำให้ยิ่งวุ่นวาย สับสน ถ้าจะมีอันตรายเพียงแต่ช่วยเคลียร์ทาง
- เมื่อรู้สึกตัว เข้าไปให้กำลังใจ ถ้ายังสับสนไม่ฟื้นควรพาพบแพทย์

ในผู้สูงอายุ ถ้าชักนานเกิน 5 นาทีหรือชักไม่อีกครั้งหลังจากหยุดไม่นาน, ถ้ามีการหายใจหอบเหนื่อย เจ็บหน้าอกหรือสับสนเกิน 1 ชั่วโมง ควรเรียกรถพยาบาล


ที่มา : thaiepilepsy.com

Tags: