collapse

ผู้เขียน หัวข้อ: หลักแห่งการบำเพ็ญธรรม 10 ประการ  (อ่าน 7372 ครั้ง)

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม

                  พระโอวาทหนึ่งในแปดเซียนมหาเทพหลันไฉ่เหอ และ มหาเทพหันเซียงจื่อ

                                   หลักแห่งการบำเพ็ญธรรม 10 ประการ

                             พระโอวาทหนึ่งในแปดเซียนมหาเทพหลันไฉ่เหอ

                 บำเพ็ญธรรมเอ่ยแต่ปากยากกระทำ  ต้องน้อมนำตามหลักเกณฑ์เหตุผลจริง

                แล้วดำเนินเจริญตามมิหยุดนิ่ง                     มิประวิงสิ่งภายนอกให้วุ่นวาย

                             พระโอวาทหนึ่งในแปดเซียนมหาเทพหันเซียงจื่อ

               บำเพ็ญธรรมเริ่มจากตนต้องยอมก่อน  จึงส่องย้อนหาความผิดในใจตน

              แล้วเปลี่ยนแปลงตัดทิ้งสิ่งปลอมปน               ผลที่ได้จึงเรียกว่าการบำเพ็ญ

                                   หลักแห่งการบำเพ็ญธรรม 10 ประการ
                                 
                                               1. ตั้งปณิธาน
                                               2. รักษาศีล
                                               3. จิตอ่อนน้อม
                                               4. สำรวมสาม (กาย วาจา ใจ)
                                               5. ขันติ
                                               6. ขยันหมั่นเพียร
                                               7. เมตตาจิต
                                               8. มั่นคงเด็ดเดี่ยว
                                               9. ใจใฝ่ธรรม
                                              10. รู้ผิดรู้ชอบ



ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม

                 1. ตั้งปณิธาน

             ก่อนทำกิจ จิตมุ่งมั่น มีจุดหมาย          จึงลงแรง ทุ่มเทไป อย่างมีหวัง
            ดั่งปณิธาน ตั้งไว้ ยิ่งมีพลัง                รวบรวมจิต ศรัทธาขลัง มุ่งมั่นไป

     ปณิธานหมายถึงอะไร ?

ความตั้งใจหรือความมุ่งมั่น ความหวัง เรากลับมาลับสติปัญญาของเราดีหรือไม่ แม้ว่าเราทำสิ่งใดก็แล้วแต่ เราจะต้องตั้งจุดมุ่งหมายของเรา   หากเราทำอย่างเลื่อยลอย ทำอย่างขอไปที ผลที่ได้จะเป็นอย่างไร ไม่ดี ไม่สมบูรณ์  ฉะนั้น ไม่ว่าเราจะทำสิ่งใดก็ตาม เราจะต้องเริ่มที่การตั้งจุดมุ่งหมาย มีเป้าหมายที่แน่นอน เหมือนกับการบำเพ็ญธรรมในวันนี้ เราก็ต้องมีจุดมุ่งหมายแห่งการบำเพ็ญ จุดมุ่งหมายของแต่ละคนที่ตนตั้งไว้ในใจ อาจจะไม่เหมือนกัน อาจจะบำเพ็ญไม่เหมือนกัน แต่เป้าหมายหลักที่เราจะไปถึงก็ต้องเหมือนกัน แต่ทางเดิน แล้วแต่ใครจะเลือกเดินเท่านั้นเอง หากเรามีจุดมุ่งหมายที่แน่นอน เราจึงจะได้ลงแรงทั้งกาย ทั้งใจ อย่างเต็มที่ใช่หรือเปล่า ?  เราลงไปอย่างเต็มที่เพราะเรามีความหวัง มีจุดมุ่งหมายที่แน่นอน ทำตามกฎเกณฑ์ที่เราได้วางเอาไว้ มักจะไม่ออกนอกกฎเกณฑ์ แล้วผลที่ได้ก็ต้องมีมากกว่าการที่เราไม่ได้ตั้งหลัก ตั้งกฎ ตั้งเกณฑ์อะไรเลย ใช่หรือไม่ ?  อีกทั้งรวบรวมจิตศรัทธาอย่างมุ่งมั่นไว้ เราทำงานทุกอย่าง เราก็ต้องลงแรงใส่จิตศรัทธาลงไป  ในการบำเพ็ญหากบำเพ็ญธรรมไร้ซึ่งจิตศรัทธาควบคู่ ทำอย่างขอไปที ทำอย่างผ่านๆ ทำอย่างเกรงใจบุคคลอื่น เช่นนี้จะดีหรือไม่ ? อาจจะดีในตอนต้นก็ได้ แต่อาจจะร้ายในตอนปลาย ข้อนี้เข้าใจหรือไม่ ?  อธิบายอย่างคร่าวๆ ส่วนความหมายที่ลึกซึ้งต้องใช้จิตของตนพิจารณาดูอีกที เพราะเราคงจะช่วยได้ไม่หมด.

                2. รักษาศีล

           รักษาศีล อยู่ในกฎ บทข้อห้าม           ทุกชั่วยาม มิอาจผ่าน ทางสายธรรม
           ยับยั้งใจ กายวาจา การกระทำ            เป็นผู้นำ เหล่าเวไนย เลียนแบบเอย

      รักษาศีล เรารักษาอย่างไร ?  เอามานอนกอด อย่างนั้นหรือ ?  ศีลมีรูปลักษณ์ไหม ? แล้วศีลมีกี่ข้อ ? (5 ข้อ)
ที่ตอบแน่ใจแล้วหรือ เอาล่ะ 5 ข้อนี้เราปฏิบัติได้ดีแล้วหรือยัง ?  การรักษาคืออะไร ? คือการปฏิบัติออกมา ใช่หรือไม่ ? เพราะฉะนั้น เอาแค่ 5 ข้อ รักษาให้ได้  ศีล คือกฎ คือระเบียบ ศีลข้อห้าม  ฉะนั้น การที่เรารักษาศีล นั่นคือการบำเพ็ญธรรมเช่นเดียวกัน ให้เราปฏิบัติตนให้เป็นคนดี ไม่สร้างกรรมทำแต่ความดี สร้างบุญสร้างกุศลอุทิศให้กับใคร
การที่เราจะทำบุญ วันนี้อาจจะราบเรียบ วันหลังอาจจะลุ่มดอนหรือไม่ราบเรียบ เพราะฉะนั้น เราต้องอุทิศส่วนบุญให้กับการบำเพ็ญของเรา นั่นคือใคร ? (เจ้ากรรมนายเวร) รู้หรือไม่ ?  เอาล่ะข้อนี้ผ่านไปก่อน.

                 3.จิตอ่อนน้อม

            น้อมจิตต่ำ คู่บำเพ็ญ อยู่เป็นนิจ           มิเคยคิด อยู่สูง ข่มผู้ใด
           ยิ่งคล้อยต่ำ ยิ่งชี้ชัด เมตตาไซร้           รับรองด้วย ใจไสว ชนขานนาม

      จิตอ่อนน้อม  คำว่า “อ่อนน้อม” หมายถึง สิ่งที่อ่อนปวกเปียก สิ่งที่นุ่มนิ่ม ใช่หรือไม่ ? สิ่งที่อ่อนแอ แล้วมันหมายถึงสิ่งใดล่ะ เรามาช่วยช่วยกันตอบ อย่านั่งอยู่เฉยๆ มิฉะนั้น ท่านจะนั่งหลับอีก จิตอ่อนน้อม หมายถึง การให้อภัย ถูกผิดไม่เป็นไร บางคนบอกหมายถึงจิตที่เมตตา หมายถึงจิตที่ให้อภัย เรามีความอ่อนน้อมถ่อมตนให้แก่กัน ก็เหมือนกับเราเมตตาให้แก่กันนั่นแหละ ใช่ไม่ใช่ ? ความ หมายของเรานั้น อาจจะหมายถึงสิ่งที่ยินยอมให้แก่กัน เรายอมให้เขาก่อน สักวันหนึ่งเขาก็จะเห็นอะไร ? เห็นคุณงามความดี เห็นถึงความเสียสละของเรา และคนๆ นั้นก็จะมีจิตสำนึก มีมโนธรรมแห่งความเป็นจริงเกิดขึ้น เขาก็จะยอมให้เราบ้างในโอกาสต่อไป เพราะฉะนั้น การที่เราจะมีจิตอ่อนน้อมถ่อมตนกับใคร เราก็ต้องเป็นฝ่ายอ่อนให้เขาก่อน สิ่งที่แข็งย่อมแพ้สิ่งที่อ่อน ใช่หรือไม่ ? ทำไมจึงตอบว่าใช่ แข็งก็หักง่าย ใช่หรือไม่ ? แต่ความอ่อนนั้น จะโอนอ่อนไปตามสภาวะ มันจะอยู่ได้ยั่งยืนนานกว่าสิ่งที่แข็ง
“ยิ่งคล้อยต่ำ ยิ่งชี้ชัด เมตตาไซร้”  เรามาดูวรรคนี้ เรามองเห็นต้นข้าว รวงข้าวซึ่งสุกงอมป็นอย่างไร ? ยิ่งโน้มต่ำ ในยามที่ยังเป็นต้นกล้าเล็กๆ แต่ในยามสุกงอม มันจะยิ่งคล้อยต่ำ คล้อยต่ำหนักมากก็ติดดินไปเลย  ถ้านิสัยของคนเราเป็นอย่างนี้ ดีหรือไม่ ? ก็บอกแล้วไงยิ่งต่ำต้อยยิ่งชี้ชัด ต้องอ่อนน้อมถ่อมตนเหมือนกับต้นไม้ เกิดมาจากอะไร ? มันผุดขึ้นมาจากไหน ต้นไม้มาจากดิน ใช่ไม่ใช่ ? เมื่อมันเติบโต มันสูงใหญ่ ถึงวันหนึ่งมันตายลง มันจะกลับไปสู่ที่ไหน ? กลับสู่ที่เดิม คืนสู่รากฐานบ้านเดิม ใช่ไม่ใช่ ? ฉะนั้น ถึงแม้ว่าอะไรก็ตาม มันจะอยู่สูงเสียดฟ้า สักวันหนึ่งเมื่อมันสูญสิ้นสลาย มันก็จะต้องกลับคืนสู่สภาพตามเดิม เพราะไม่ลืมฐานเดิมของตัวเอง ดังเช่นคนเราก็เช่นเดียวกัน เราเกิดจากพ่อแม่ให้เราออกมาดูโลกใบนี้ ฟ้าดินเลี้ยงดูเรา ใช่ไม่ใช่ ? เมื่อเราตายไป เราต้องกลับคืนสู่อะไรเหมือนกัน ? (ดิน) กลับคืนสู่ดินเหมือนกัน เพราะ ฉะนั้น คุณค่าของคนมิได้อยู่ที่ความสูงศักดิ์ ไม่ได้อยู่ที่ความร่ำรวย แต่กลับอยู่ที่อุปนิสัยที่ดีที่อ่อนน้อมถ่อมตน ที่เข้ากับทุกคนได้ เหมือนกับสายน้ำ ไหลไปสู่ซอกหินที่ใด ไม่ว่าเล็กน้อยหรือใหญ่โต น้ำก็สามารถไหลผ่านเข้าไปได้ ฉะนั้น ผู้บำเพ็ญจึงสมควรที่จะปฏิบัติตนให้อ่อนโยนเหมือนดั่งน้ำ จงจำไว้ว่า “ยิ่งแข็งก็ยิ่งหัก” หากยิ่งอ่อนก็ยิ่งเข้าได้กับทุกสาวะการณ์ เข้าใจหรือไม่ ?

.

.
.

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม

                  4. สำรวมสาม

           ผู้บำเพ็ญ ปฏิบัติตน อยู่ในธรรม           วาจาคำ สำรวม ทุกเวลา
           คิดก่อนพูด มิกล่าวร้าย ผู้ใดหนา         จึงสมญา ผู้บำเพ็ญ เช่นวันนี้

     สำรวมสาม  สำรวมกาย สำรวมใจ สำรวมวาจา ใจของเราหากเราไม่สำรวม เราก็ยิ่งฟุ้งซ่าน คิดมากมาย เมื่อใดคิดมากมายก็จะทำให้ลุ่มหลง คิดผิดบ้างล่ะ คิดว่าคนโน้นไม่ดีบ้าง คนนี้ไม่ดีบ้าง คิดอยากเป็นใหญ่เป็นโต คิดอยากจะทำร้ายคนโน้น คนนี้มากมาย ทั้งคิดดีและคิดไม่ดี หากเราสำรวมสักนิด ทำจิตใจให้ว่าง รับแต่สิ่งดีๆ แล้วถ่ายทอดออกมาเป็นสิ่งที่ดี การที่เราถ่ายทอดออกมา วาจาของราสำคัญหรือไม่ ? หากเราพูดผิดก็ย่อมทำบาปให้กับตัวเอง หากเราพูดผิดไปสะกิดใจคนอื่น บางครั้งกลายเป็นเรื่องทะเลาะวิวาท ซึ่งออกจากปากของเรา บางครั้งเกิดปัญหาที่ยิ่งใหญ่ เพราะปากของเรา บางครั้งเกิดปัญหาที่ยิ่งใหญ่ ก็เพราะตาของเรา และอีกมากมาย ถ้าหากเราไม่ตรองดูแล้ว เราก็จะสร้าบาปให้กับตัวเอง เพราะฉะนั้น ผู้บำเพ็ญต้องสำรวม สำรวมกายของเรา ในวันนี้ใครเป็นผู้ให้ ? (คุณพ่อ-คุณแม่)
พ่อแม่เป็นผู้ที่ให้กายสังขาร เราต้องสำนึกบุญคุณ บิดามารดาเลี้ยงดูเรา ให้เราเติบใหญ่นั้นมิใช่ง่าย หากเรานำกายสังขารนี้ไปทำในสิ่งที่ไม่ดี ก็เกิดอะไรได้เช่นกัน เกิดอะไรขึ้นล่ะ ? เกิดปัญหามีมากมาย เพราะฉะนั้น ผู้บำเพ็ญต้องไม่ห่างจากสัจธรรม ไม่ห่างจากหลักธรรม เมื่อเราได้ฟังแล้ว เราก็นำไปชำระล้างใจของเราให้สะอาด ให้บริสุทธิ์ แล้วเราจะได้บำเพ็ญต่อไป

                  5. ขันติ

             ใช้ขันติ ยับยั้ง พายุใจ                      ให้สงบ มิหวั่นไหว ใจอดทน
             ยอมถอยหลัง มิแข็งขัน จิตผ่อนปรน      จึงชนะ ใจคน ที่ตนวอน

      ขันติ หมายความว่าอย่างไร ? ทนอด ทนหิว ทนเจ็บปวด ทนทุกๆ อย่าง ใช่หรือไม่ ? ความหมายนี้ เราทุกคนต่างรู้อยู่แก่ใจ ใช้ขันติยับยั้งชั่งใจ ในที่นี้หมายถึงอะไร ? (อารมณ์) อารมณ์ของแต่ละคน อารมณ์ของใครก็ของใคร แต่เรารู้อารมณ์ของเรามากที่สุด บางคนอารมณ์ร้อน บ้างร้อนปานกลาง บางคนร้อนนิดหน่อย บางคนก็เย็นชา เหมือนกับน้ำแข็ง มีหรือไม่ ? (มีครับ/ค่ะ) คน ตั้งมากมายบนโลกนี้ ดูหน้ารู้ใจหรือไม่ ? วางหน้าเป็นใสซื่อ ข้างในใครจะไปรู้ว่าเป็นคนอารมณ์ร้อนหรือเปล่า พูดจากระทบหูคำเดียว เราก็ตาบวมแล้ว ใช่หรือไม่ ?
     ฉะนั้น ใครจะตัน หรือขันติ ก็ยับยั้งอารมณ์กันเอาเอง เพราะหากอยากจะบำเพ็ญให้ดี สิ่งแรกที่สุดก็คือ ต้องมีความอดทนอดกลั้น ทนให้ได้ต่อสรรพสิ่ง ทนให้ได้ต่อทุกอารมณ์ที่มากระทบกับใจเรา ใช่หรือไม่ ? อย่างที่เราเคยทนมาแล้ว แล้วเราต้องทนต่อไป อาจจะฝืนในตอนแรก แต่หากเราทนได้จนเป็นอุปนิสัยของเราแล้ว ก็ไม่ต้องทนแล้ว มันก็จะเกิดคสฃวามคุ้นเคยและก็สบายใจ ใจจะว่า จะด่า จะยุแยงเราอย่างไร เราก็เฉยๆ ในที่นี้คือ “การวางเฉย” ฟังแล้วก็ผ่านไปไม่ต้องติดใจ ฟังแล้วก็วางลง อย่ามามัดปมในใจของเรา  ถ้าหากรู้ว่าตัวเองยังไม่มีขันติพอก็อย่าฟังมาก อย่าดูมาก อย่าเห็นมาก แล้วก็อย่าอะไรอีกมากๆ หลายอย่าง  ถ้าหากยับยั้งอารมณ์ตนเองไม่ได้ ก็อย่าไปเข้าใกล้ในที่ๆ เขาชุมนุมกัน ในที่ๆ เขาตั้งวงนินทากัน บอกแล้วว่าอย่าไปฟังมาก ออกห่างๆ บำเพ็ญจิตของตัวเองดีกว่า อย่าไปช่วยบำเพ็ญจิตให้ใครเลย  เพราะแม้แต่ตัวเองก็ยังบำเพ็ญได้ไม่ดี ไม่ต้องไปช่วยลดหนี้เวรกรรมให้กับเขา ตัวของตัวเองให้รอดก่อน

.                 6. ขยันหมั่นเพียร

           หนักก็เอา เบาก็สู้ คู่ใจรัก                    จิตประจักษ์ ความสุขใจ งานที่ทำ
           แรกขยัน อาจลำบาก ต้องตรากตรำ         หลังขมผ่าน หวานชดเชย ได้กลับคืน

      ขยันหมั่นเพียร ขยันทำอะไรล่ะ ? ขยันหาเงิน ขยันทุกๆ วัน หรือว่าขยันไปลักเล็กขโมยน้อย ขยันไปฉกชิงวิ่งราว ขยันยุแหย่ให้เพื่อนทะเลาะกัน ขยันนินทาว่าร้ายผู้อื่น ขยันดุด่าว่ากล่าวผู้อื่นไม่ดี ขยันอย่างนี้ถูกไหม ? แล้วเราจะขยันทำอะไร ? ขยันทำความดี ความดีมีมากมาย วันนี้เรามานั่งตรงนี้ หากเราขยัน ไม่หลับ ขยันฟังธรรมะ แล้วก็ขยันไปปฏิบัติ อย่างนี้ดีหรือไม่ดี ? ผู้บำเพ็ญธรรมต้องขยันศึกษา ขยันค้นคว้า ขยันปฏิบัติ วันนี้ขยันแค่นี้ก่อน แล้วพรุ่งนี้ค่อยขยันต่อ

                7. เมตตาจิต

          จิตโพธิ มีแต่ให้ มิหวังผล                เมตตาดล บันดาลสุข แก่ผู้ให้
          กายและใจ มีแต่ให้ แก่เวไนย           ยอมอภัย นี่คือหลัก เมตตาจิต

      เมตตาจิต  เราบำเพ็ญธรรมต้องมีจิตใจดั่งโพธิสัตว โพธิสัตว์ ก็คือตัวแทนแห่งความเมตตา ใช่ไม่ใช่ ? จิตแห่งความเมตตาก็คือมีแต่ให้ แต่เราส่วนมากชอบรับ แล้วก็ชอบหลับ ในเมื่อชอบรับก็เลยลืมให้ เมื่อไม่ได้ให้ก็เลยไม่มีบุญกุศล แล้วต่อไปนี้จะเปลี่ยนเป็นผู้ให้ได้หรือยัง ? วันนี้เรามารับก่อน เรามารับฟังสัจธรรม เรามาศึกษาให้เข้าใจ แล้วต่อไปเราจะได้เป็นผู้ให้  อย่างเช่นบุคลากรสองแถวนี้ หันมองหน้าเขาดูซิ วันนี้เขาให้หรือเขารับจากเรา ? เขามีแต่ให้กับเรา ให้การบริการ ให้ความสะดวกสบาย เราหิวเขาก็ส่งข้าวให้ เราอยากพักผ่อนเขาก็ให้เวลากับเรา เพียงแต่ขอให้เรารับฟังสัจธรรมแล้วทำความเข้าใจ






ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม

               8. มั่นคงเด็ดเดี่ยว

           จิตเพียงหนึ่ง ทุ่มเทใจ ให้แก่ธรรม        มิฝักใฝ่ นำตัวตน ให้หลงวน
           ด้วยมั่นคง กับจุดหมาย มิสับสน           ฝ่าฟันพ้น หลากปัญหา เด็ดเดี่ยวจริง

     มั่นคงเด็ดเดี่ยว  มั่นคง คือไม่โอนเอน คือการรักษาจิตของราที่แรกเริ่ม จิตแรกเริ่ม จิตนั้นคือจิตอะไร ? จิตศรัทธาในวันนี้ แต่หากเราไม่มั่นคง ไม่ได้รักษา ไม่ได้ปฏิบัติ ไม่ได้บำเพ็ญนั้น เรียกว่าจิตไม่มั่นคงแล้ว เพราะ ฉะนั้น คำว่า “จิตมั่นคงเด็ดเดี่ยว” จึงไม่ใช่มั่นคงเพียงอย่างเดียว เราจะต้องตัดสินใจของเรา กล้าที่จะทำ กล้าที่ยืนหยัดในหนทางที่ถูกต้อง กล้าที่จะเผชิญกับอุปสรรคกับการทดสอบทั้งหลาย ไม่ว่าด้านไหนๆ ก็แล้วแต่ เราจะฝ่าฟันต่อไปเพื่อที่จะให้ตนนั้นได้อยู่ในหนทางสายธรรม เพื่อที่จะให้ได้บำเพ็ญต่อไป นั้นคือการรักษาจิตของเราให้ “มั่นคง” นั่นเอง

                 9. ใจใฝ่ธรรม

         หมั่นศึกษา หลักพระธรรม เป็นพื้นฐาน          หากเกียจคร้าน ดวงปัญญา ฤๅสร้างเสริม
         อ่านแล้วคิด คิดแล้วทำ จิตดีเริ่ม                 เปลี่ยนแปลงเดิม ที่เลวร้าย ด้วยใฝ่ธรรม

     ใจใฝ่ธรรม  ข้อนี้หวังว่าทุกคนคงจะเข้าใจแล้ว ถ้าหากทุกคนมีจิตใจใฝ่ธรรม ศึกษาธรรม เชื่อหรือไม่ว่าทุกคนจะมีธรรมะครองใจ และเมื่อมีธรรมะครองใจ เราจะมีสติ เราจะมีปัญญาในการกระทำสิ่งใดก็แล้วแต่ เราจะไม่กล้าทำสิ่งที่ผิด หรือสิ่งที่ชั่ว สิ่งที่เลว โลกมนุษย์ก็จะไม่ตกต่ำถึงเพียงนี้ ใช่หรือไม่ ? แต่ที่ผ่านมา ทำไมโลกมนุษย์ถึงตกต่ำ ถึงเลวทรามแลเสื่อมทรามลง เพราะใครเป็นคนทำล่ะ ? เพราะคนมันยุ่งเหยิง มันไม่มีจิตใจใฝ่ธรรม มันไม่มีจิตใจแห่งธรรมะ ทำอะไรออกมาก็กลายเป็นอธรรมไปเสียหมด มันจึงมีข่าวร้ายๆ ออกมาในปัจจุบันนี้ ใช่ไม่ใช่ ? ถ้าหากทุกคนศึกษาธรรม ปฏิบัติธรรม เข้าใจธรรม ทุกคนก็จะมีจิตแห่งธรรม สุขสันต์แล้วก็สบายใจ เพราะเราสามารถนำธรรมะที่เราได้ศึกษานั้น มาเป็นอาหารของจิตได้ในยามทุกข์กังวล เราก็จะไม่กล้าทำสิ่งที่เลวร้าย สิ่งที่ไม่ดี เคยคิดในแง่นี้หรือไม่ ? เคยคิดหาธรรมะ เอาหนังสือธรรมะมาอ่านบ้างหรือไม่ ? หรือว่าอ่านแต่หนังสือข้างนอก หนังสือที่เพิ่มแต่กิเลสให้กับตน หนังสือที่เป็นข่าวคราวของเขา เขาเป็นอย่างนั้น เขาเป็นอย่างนี้ เขาไปเดินกับคนนั้น เขาไปกินข้าวกับคนนั้นวันนั้น
จิต ใจมัวแต่ฝักใฝ่อยู่แต่เรื่องของคนอื่น ไม่ได้คิดถึงย้อนมองถึงตนเองเลยว่าตนเองนั้นมาจากไหน และต่อไปจะไปที่ไหน ? และอยู่ในวันนี้เราสมควรจะทำอะไรในวันนี้
เป็นพ่อ เป็นแม่ เป็นลูก เป็นเพื่อน หรือเป็นอะไรก็แล้วแต่ เราสมควรที่จะทำอย่างไรบ้างในการดำเนินชีวิต คำอธิบายเหล่านี้มีอยู่ในหนังสือข้างนอกบ้างหรือไม่ ? อาจจะมี แต่ก็มีอยู่น้อย มีแค่บางสัดส่วน แต่จะมีอยู่ในหนังสือประเภทไหนล่ะ ช่วยตอบหน่อย ? (หนังสือธรรมะ) หนังสือธรรมะ ใช่ไม่ใช่ ? “อ่านแล้วคิด คิดแล้วทำ จิตดีเริ่ม” หากเราอ่านหนังสือธรรมะ แล้วเรานำไปคิด หนังสือธรรมะมีแต่สิ่งที่ดีๆ ให้กับเรา แล้วเรานำไปกระทำ เราก็จะได้สร้างเสริมจิตที่ดีของเราให้ยิ่งดีขึ้นไปอีก  แต่ถ้าเราอ่านหนังสือข้างนอก เป็นยังไง ? บอกให้เราไปลักเล็กขโมยน้อย หนังสือที่มีแต่อบายมุข แล้วเราก็เอาไปคิด แล้วเราก็เอาไปกระทำจริงๆ เป็นยังไงล่ะ ? จากจิตที่ดีก็เริ่มกลายเป็นจิตที่เลวไปเลย ใช่ไม่ใช่ ?

               10. รู้ผิดรู้ชอบ
 
          ฟังธรรมมา เกิดปัญญา รู้ผิดชอบ             จิตรอบคอบ ตัดสินความ ตามเหตุผล
          มีหลงผิด เดินตามทาง กฎกรรมวน           หลีกห่างพ้น วังมายา รู้ชอบเอย

   รู้ผิดรู้ชอบ รู้รอบคอบการกระทำ  ต่อให้อีกนิดหนึ่ง รู้ว่าผิดแล้วไปกระทำอย่างนั้นหรือ ? รู้ว่าผิดแล้วชอบอย่างนั้นหรือ ? แล้วรู้ได้ยังไงล่ะ รู้ผิดชอบคือรู้อย่างไร ? เมื่อเรารู้ว่าสิ่งไหนผิด แล้วเราก็จะไม่ไปกระทำ หรือว่าเรากระทำแล้ว เรารู้ตัวว่าผิด เราก็แก้ไข แต่มิใช่รู้ว่าผิดแล้วยังไปกระทำ แล้วกลับมาแก้ไข ฟังสับสนหรือไม่ ? สับสนหรือเปล่า ?
ในขณะเดียวกัน เมื่อรู้ว่าผิดแล้วไม่ต้องไปกระทำ แต่ถ้าหากว่าไม่รู้แล้วไปกระทำ แล้วรู้ว่าผิดก็ต้องรีบแก้ไข เข้าใจหรือไม่ ? พูดง่ายๆ ก็คือให้เรารู้จักแยกแยะดีเลว นั่นเอง….

.          ที่เราได้อธิบายทั้งหมด 10 ประการนี้เพียงส่วนเดียวเท่านั้นเอง ตัวเราจะต้องนำกลับไปทบทวนทำความเข้าใจให้ลึกซึ้งกว่านี้ ไปจดนำไปจำ นำไปปฏิบัติ ดีหรือไม่ดี ? เมื่อ เรานำไปปฏิบัติแล้วจะต้องทำอย่างไรเป็นประการต่อไป นำไปเผยแพร่ให้ผู้อื่นได้ปฏิบัติด้วย อย่างนี้เราก็ได้อีกหนึ่งข้อแล้วล่ะ คืออะไร ? มีจิตเมตตา  หรือเมื่อเราพบสิ่งที่ดี เรานำไปปฏิบัติอยู่คนเดียว แล้วเราไม่บอกผู้อื่น เก็บเอาไว้ให้กับตัวเอง ถูกต้องหรือไม่ ? เพราฉะนั้น ผู้บำเพ็ญธรรมต้องมีจิตเมตตา

     เวลาก็ล่วงเลยจนบัดนี้ ทุกท่านคงจะเหนื่อยแล้ว เราสองคนคงจะรบกวนท่านมากกวานี้ไม่ได้แล้ว หวังว่าข้อปฏิบัติเหล่านี้ทุกคนคงจะนำไปคิดพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง นำเหตุผลของตนเองใส่ไปอีก  บุคลากรทุกคนก็เช่นเดียวกัน หัวข้อทั้งหลายนี้อาจจะพลิกแพลงเป็นบทธรรมะได้อีกหนึ่งบท ใช่หรือไม่ ?  สิ่งเหล่านี้ อยู่ในชีวิตประจำวันของเราทั้งสิ้น แต่เราอาจจะมองข้ามไป มองไม่เห็นความสำคัญของมัน แต่วันนี้เราได้เข้ามาสู่สถานธรรมแห่งนี้ เรามารื้อฟื้นข้อพื้นฐานเหล่านี้ ดีหรือไม่ ?

     หวังเมธีทุกท่านวันนี้เราพบหน้ากัน เราได้พูดคุยทักทายกัน ก็หวังว่าวันหน้าคงได้พบหน้ากันอีก ลาเมธีทุกท่านในที่นี้คืนสู่แดน

Tags: