กาแฟลดเสี่ยงเบาหวาน-หัวใจ?
(http://women.sanook.com/story_picture/m/35565_002.jpg)
คอลัมน์ อโรคยา ดูเหมือนว่ากาแฟจะมีประโยชน์มากกว่าการช่วยกระตุ้นร่างกายให้กระปรี้ กระเปร่า เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ช่วยลดอาการหงุดหงิดและความเครียด หากดื่มกาแฟในปริมาณที่เหมาะสม เพราะคาเฟอีนจะไม่มีการสะสมหรือตกค้างในร่างกาย เนื่องจากตับจะทำหน้าที่กำจัดออกไป รศ.ดร.ชัยชาญ แสงดี หัวหน้าภาควิชาเภสัชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า นอกจากกาแฟจะทำให้เรารู้สึกสดชื่น กระชุ่มกระชวย และทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้นแล้ว การดื่มกาแฟ ยังช่วยลดการเกิด oxidative stress, ช่วยเพิ่มสารต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย และยังช่วยเพิ่มการทำงานเอนไซม์ในการกำจัดสารที่เป็นอันตรายด้วย ปกติร่างกายจะมีสำรองหรือสมดุลของสารต้านอนุมูลอิสระ โดยสารที่เป็นส่วนเกินจะถูกกำจัดโดยตับ และขับออกจากร่างกายทางปัสสาวะ แต่ในบางภาวะการสำรองสารต้านอนุมูลอิสระในร่างกายจะลดลง หรือที่เรียกว่าภาวะ oxidative stress ทำให้มนุษย์จะต้องแสวงหาสารต้านอนุมูลอิสระจากอาหารและเครื่องดื่ม เพื่อสะสมในร่างกายและพร้อมใช้เมื่อถึงคราวจำเป็น สารต้านอนุมูลอิสระในกาแฟ จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง เนื่องจากสารต้านอนุมูลอิสระจะช่วยลดการเกิดเซลล์มะเร็งและลดการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็ง ยังช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคพาร์คินสัน โรคอัลไซเมอร์ โรคข้ออักเสบ โรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และโรคตับอักเสบอีกด้วย ซึ่งมีผลการศึกษาวิจัยเรื่องนี้จากต่างประเทศรองรับมากมาย ศูนย์วิจัยเนสท์เล่ สวิตเซอร์แลนด์ แสดงรายงานหนึ่งตัวอย่างของผลการศึกษาวิจัยถึงประโยชน์ของการบริโภคกาแฟ ซึ่งงานวิจัยนี้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารโภชนศาสตร์คลินิกของอเมริกา โดย ดร.เดวิด อาร์. จาคอบ จูเนียร์ และคณะจากมหาวิทยาลัยมินเนโซต้า เมืองมินเนอาโพลิส ได้ศึกษาความสัมพันธ์ของการดื่มกาแฟกับการเสียชีวิตทุกประเภท และการเสียชีวิตอันเนื่องมาจากโรคหลอดเลือดหัวใจ, โรคมะเร็งและ โรคต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบภายใต้โครงการศึกษาสุขภาพของผู้หญิงที่อาศัยอยู่ ในเมืองไอโอวา ศึกษาในกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้หญิง จำนวน 27,321 คน อายุระหว่าง 55-69 ปี ซึ่งใช้เวลาเริ่มต้นศึกษาและติดตามผลเป็นเวลา 15 ปีต่อมา โดยระหว่างการศึกษามีผู้เสียชีวิตรวม 4,265 คน ดร.จาคอบได้นำเสนอผลการศึกษาที่พบว่า เมื่อเปรียบเทียบ ระหว่างกลุ่มหญิงที่ดื่มกาแฟจำนวน 1-3 ถ้วยต่อวันกับผู้ที่ไม่ดื่มกาแฟเลย กลุ่มหญิงที่ดื่มกาแฟมีความเสี่ยงจากการตายจากการอักเสบลดลงถึง 24% และแม้ว่าจะดื่มกาแฟมากขึ้น แต่ความเสี่ยงจากการตายก็จะไม่ลดลงอีก อย่างไรก็ตาม การลดความเสี่ยงจากการตายลงเนื่องจากโรคหลอดเลือดหัวใจนั้น มีความสัมพันธ์เล็กน้อยกับการดื่มกาแฟในปริมาณมากขึ้น ส่วนโรคมะเร็งนั้น การดื่มกาแฟจะไม่ส่งผลต่อการเกิดโรคมากขึ้น ดร.จาคอบกล่าวว่า การที่พบว่ากาแฟให้ผลป้องกันการอักเสบ และอาจป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและโรคที่เกิดจากการอักเสบอื่นๆ นั้นไม่ได้เป็นสิ่งที่น่าแปลกใจ เพราะการศึกษาก่อนหน้านี้พบว่ากาแฟเป็นแหล่งของสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญ ในอาหารของชาวนอร์วิเจียน และหญิงวัยกลางคนของเมืองไอโอวา การเกิด Oxidative stress หรือปฏิกิริยาการทำลายเซลล์ เนื้อเยื่อ หรืออวัยวะ โดยอนุมูลอิสระนั้นมีความสัมพันธ์กับการอักเสบ ซึ่งนั่นทำให้เราคาดหวังจะเห็นผลความเสี่ยงที่ลดลงเมื่อดื่มกาแฟ แต่ทั้งนี้ต้องดื่มในปริมาณที่เหมาะสม ไม่มากเกินไป
สนับสนุนเนื้อหา (http://btgsf1.fsanook.com/weblog/category/1/5235/newspaper-kaosod.gif)
คำที่เกี่ยวข้อง : เบาหวาน (http://www.smilefine.com/index.php/%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%99.html) สุขภาพ (http://www.smilefine.com/index.php/%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E.html) รอบรู้เรื่องสุขภาพ (http://www.smilefine.com/index.php/%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E.html) มะเร็ง (http://www.smilefine.com/index.php/%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B9%87%E0%B8%87.html) เมื่อยคอ (http://www.smilefine.com/index.php/%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%84%E0%B8%AD.html) ปวดหลัง (http://www.smilefine.com/index.php/%E0%B8%9B%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87.html) เชื้อโรค (http://www.smilefine.com/index.php/%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84.html)