นักธรรม
ห้องสมุด "นักธรรม" => หมวด : นานาภาษา => ข้อความที่เริ่มโดย: nakdham ที่ 20/03/2009, 14:55
-
宣纸 - เซวียนจื่อ หรือกระดาษเซวียน ในภาษาอังกฤษเรียกว่า rice paper ผลิตขึ้นในสมัยราชวงศ์ถัง ที่เมืองเซวียน ซึ่งปัจจุบันอยู่ในเขตมณฑลอันฮุย จึงได้ชื่อตามแหล่งผลิต ปัจจุบันแหล่งผลิตหลักยังคงอยู่ที่อันฮุย ส่วนใหญ่ใช้สำหรับคัดอักษรจีนและวาดภาพพู่กันจีน
สีครามต้องรอละอองไอฝน - เนื่องเพราะในสมัยหนึ่ง การผลิตเครื่องปั้นดินเผานั้น สีครามเป็นที่ที่ผลิตออกมาได้ยากที่สุด เนื่องจากสีครามไม่ใช่สีที่เผาออกมาได้ตามปกติ แต่ต้องใช้กรรมวิธีผลิตโดยเฉพาะ และต้องนำออกจากเตาเผาในวันฟ้าครื้ม ฝนพรำ จึงจะได้สีตามต้องการ เนื่องจากสีที่ปรากฏนั้นมีความเกี่ยวข้องกับสภาพความชื้นในอากาศ
隶书 - ลี่ซู หรืออักษรลี่ซู เป็นลักษณะการเขียนอักษรของจีนแบบหนึ่ง สำหรับที่มาของอักษรลี่ซูนั้น กล่าวกันว่า สมัยฉินมีทาสที่เรียกว่า " เฉิงเหมี่ยว" ผู้หนึ่ง เนื่องจากกระทำความผิดจึงถูกสั่งจำคุก เฉิงเหมี่ยวที่อยู่ในคุกคุมขังคิดปรับปรุงตัวอักษรจ้วนให้เขียนง่ายขึ้น จากโครงสร้างกลมเปลี่ยนเป็นสี่เหลี่ยมกลายเป็นอักษรรูปแบบใหม่ จิ๋นซีฮ่องเต้ทอดพระเนตรเห็นแล้วทรงโปรดอย่างมากจึงทรงแต่งตั้งให้เฉิงเหมี่ยวทำหน้าที่อารักษ์ในวังหลวง ต่อมาตัวหนังสือชนิดนี้แพร่หลายออกไป จึงมีการเรียกชื่อตัวหนังสือชนิดนี้ว่า อักษรลี่ซู หรือ อักษรทาส (คำว่า ลี่ ในภาษาจีนหมายถึง ทาส) แต่ในเชิงโบราณคดีนั้น พบว่า อักษรลี่ซู เป็นอักษรที่ใช้เขียนบนวัสดุที่ทำจากไม้หรือไม้ไผ่มาตั้งแต่ยุคจั้นกว๋อจนถึงสมัยฉิน และมีพัฒนาการมาเรื่อยๆ จวบถึงสมัยราชวงศ์ฮั่นได้กลายเป็นอักษรที่ได้รับความนิยมสูงสุด
宋体 - ซ่งถี่ หรืออักษรรูปแบบซ่ง เกิดขึ้นในสมัยซ่ง ซึ่งพัฒนามาจากอักษรที่เรียกว่า ข่ายซู โดยมีลักษณะเป็นเหลี่ยม มุม เพื่อให้ง่ายต่อการแกะสลักลงบนไม้เพื่อทำตัวพิมพ์ในแป้นพิมพ์ไม้ ภายหลัง อักษรชนิดนี้นิยมใช้มากในสมัยราชวงศ์หมิงและชิง