นักธรรม

ห้องสมุด "นักธรรม" => หนังสือ => ข้อความที่เริ่มโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 12/08/2013, 13:45

หัวข้อ: ธรรมจากพระไตรปิฏก ตอนที่ 1 : สังวาสสูตร : ว่าด้วยความอยู่ด้วยเป็นสามีภรรยา ๔
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 12/08/2013, 13:45
10 สิงหาคม 2556

ธรรมจากพระไตรปิฏก ( ตอนที่ 1: สังวาสสูตร: ว่าด้วยความอยู่ด้วยเป็นสามีภรรยา ๔ )...

.....จากพระไตรปิฏก ฉบับมหามกุฎราชวิทยาลัย เล่มที่ ๓๕ หน้า ๑๘๔-๑๘๘...

.....ผมเป็นคนหนึ่งที่ชอบอ่านพระไตรปิฏกมาก อ่านเกือบทุกวัน อ่านมาสิบกว่าปีแล้ว ขอแนะนำว่า ถ้าท่านนับถือศาสนาพุทธ ควรจะอ่าน ถ้าท่านนับถือศาสนาพุทธ แล้วไม่อ่านพระไตรปิฏก ผมก็งง...

.....เนื่องจากพระพุทธเจ้า "ทรงรู้แจ้งโลก" อันหมายถึงรู้เรื่องโลกๆ และรู้เรื่องทุกข์และแนวทางดับทุกข์ พระองค์ทรงตรัสสอนผู้ครองเรือนนั้น จะต้องมีความเหมาะสมกันทุกด้าน จึงจะมีความสุข...

.....พระองค์ทรงตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า สังวาส (ความอยู่ร่วมเป็นสามีภรรยา) มี ๔ ประเภพ...

.....1 ชายผีอยู่ร่วมกับหญิงผี...

.....2 ชายผีอยู่ร่วมกับหญิงเทวดา...

.....3 ชายเทวดาอยู่ร่วมกับหญิงผี...

.....4 ชายเทวดาอยู่ร่วมกับหญิงเทวดา...

.....1 ชายผีอยู่ร่วมกับหญิงผี หมายถึง สามี มีนิสัยชอบฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ผิดในกาม พูดเท็จ พูดคำหยาบ พูดส่อเสียด พูดเพ้อเจ้อ ละโมบ อยากได้ของเขา มีจิตพยาบาท ดื่มสุราเมรัย ชอบด่าสมณะชีพรหมณ์ ภรรยาก็ประพฤติเช่นเดียวกัน...

......2 ชายผีอยู่ร่วมกับหญิงเทวดา หมายถึง สามี มีนิสัยและพฤติกรรมดังกล่าว แต่ภรรยา เป็นคนมีศีลธรรม เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ผิดในกาม พูดเท็จ พูดคำหยาบ พูดส่อเสียด พูดเพ้อเจ้อ ละโมบ อยากได้ของเขา มีจิตพยาบาท ดื่มสุราเมรัย ชอบด่าสมณะชีพรหมณ์ เป็นต้น...

.....3 ชายเทวดาอยู่ร่วมกับหญิงผี...หมายถึงสามีเป็นคนมีศีลธรรม เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ผิดในกาม พูดเท็จ พูดคำหยาบ พูดส่อเสียด พูดเพ้อเจ้อ ละโมบ อยากได้ของเขา มีจิตพยาบาท ดื่มสุราเมรัย ชอบด่าสมณะชีพรหมณ์ แต่ภรรยา มีพฤติกรรมผิดศีลธรรม...

.....4 ชายเทวดาอยู่ร่วมกับหญิงเทวดา หมายถึง ทั้งสามีและภรรยา ต่างก็เป็นดี มีศีลธรรมเสมอกัน...

.....คู่ที่ 1 นั้น เปรียบเสมือนผีเน่ากับโลงผุ ร้ายและเน่า ด้วยกันทั้งคู่ เช่น สามีไปจี้ ปล้น ฆ่า หรือไปโกงใครมา ไปคอรัปชั่นมา ฯลฯ กลับมาบ้านภรรยากลับชื่นชมยินดีว่า สามีตัวเองเก่ง...

.....หรือถ้าภรรยาไปขโมยของ หรือไปทำอะไรที่ไม่ดีมา ฯลฯ กลับมาบ้าน สามีก็ชื่นชมและยินดี แต่จะอยู่ด้วยกันยึด เรียกว่า คู่เวรคู่กรรม...

.....คู่ที่ 2 และคู่ที่ 3 นั้น อยู่ด้วยกันไม่ยึด ไปกันคนละแนว คนหนึ่งดี อีกคนหนึ่งไม่ดี เข้ากันไม่ได้...

.....คู่ที่ 4 นั้น ทั้งคู่เป็นผู้มีศรัทธา รู้ความประสงค์ของผู้ขอ สำรวมในศีล เลี้ยงชีพโดยชอบ สามีภริยา พูดคำอ่อนหวานต่อกัน ย่อมบังเกิดความเจริญมาก อยู่ด้วยกันเป็นผู้มีความผาสุก พวกศัตรูของคู่ภริยาสามีที่มีความประพฤติดีสมกัน ย่อมเสียใจ กามกามี (ผู้ยังมีความใคร่ในกาม) ทั้งคู่ ผู้มีศีลและพรตเสมอกัน ครั้นประพฤติชอบในโลกนี้แล้ว (ละโลกนี้ไป) ย่อมยินดีบันเทิงในเทวโลก...

.....สามีภรรยาคู่ที่ 4 นี้ เราเรียกว่า คู่สร้างคู่สม...

.....จะเลือกคู่ ดูกันให้ดีๆเด้อ...

.....ขอให้ทุกคนโชคดี เจอ "คู่สร้างคู่สม" ครับ...

ขอบคุณครับ

นพ.ไมตรี พิชญังกูร          ขอบคุณค่ะ
หัวข้อ: ธรรมจากพระไตรปิฏก ตอนที่ 2 : สุริยเปยยาลที่ ๖ : ปฐมกัลยาณมิตตสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 11/09/2013, 10:59
11 สิงหาคม 2556

ธรรมจากพระไตรปิฏก ( ตอนที่ 2: สุริยเปยยาลที่ ๖: ปฐมกัลยาณมิตตสูตร )...

.....มิตรดีเป็นนิมิตรแห่งอริยมรรค...

.....จากพระไตรปิฏก ฉบับมหามกุฎราชวิทยาลัย เล่มที่ ๓o หน้า ๗๔...

.....เป้าหมายสูงสุดของการบวชเป็นพระในพุทธศาสนา คือ การบรรลุอรหันต์ โดยการเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘...

.....พระพุทธองค์ ได้ตรัสในพระสูตรนี้ว่า...

....."ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อพระอาทิตย์จะขึ้น สิ่งที่ขึ้นก่อน สิ่งที่เป็นนิมิตมาก่อน คือ แสงเงินแสงทอง สิ่งที่เป็นเบื้องต้น เป็นนิมิตมาก่อน เพื่อความบังเกิดแห่งอริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ ของภิกษุ คือ ความเป็นผู้มีมิตรดี...

.....ฉันนั้นเหมือนกัน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้มีมิตรดี พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ จักทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘"...

.....ถ้าจะว่าไปแล้ว ปัจจัยนี้ เป็นปัจจัยแรกของเงื่อนไขแห่งความสำเร็จ ( key success factors) ว่าจะสามารถบรรลุเป้าหมายในการบวช หรือไม่...

.....พระพุทธองค์ทรงให้ความสำคัญกับปัจจัยนี้มาก มิตรดี สังคมดี สิ่งแวดล้อมดี...

.....ในพระไตรปิฏก จึงปรากฎว่า พระองค์ได้ตรัสเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้มาก โดยเฉพาะ ในเรื่องที่เกี่ยวกับมิตร ซึ่งผมจะทยอยนำมาเสนอในโอกาสต่อไป...

.....ถ้าท่านเป็นนักศึกษา ท่านควรจะไปอยู่ในกลุ่มเพื่อนที่ตั้งใจเรียนหนังสือ ถ้าไปอยู่ในกลุ่มเพื่อนที่ไม่ตั้งใจเรียน เอาแต่เล่น เอาแต่เที่ยว แล้วจะเรียนจบ หรือเรียนได้ดีได้อย่างไร ตั้งใจไปเรียนปริญญาตรี แต่กลับได้ปริญญาโท...

.....ถ้าท่านทำธุรกิจ ก็ควรจะอยู่ในธุรกิจที่ดี มีเพื่อนที่ดี ท่านจึงจะประสบความสำเร็จได้ดี ถ้าท่านอยู่ในแวดวงธุรกิจที่ไม่ดี ท่านจะประสบความสำเร็จได้อย่างไร...

.....ถ้าท่าน อยู่ในแวดวงเพื่อน ที่มีแต่การพนัน การเที่ยวกลางคืน การทำในสิ่งที่ผิดกฎหมาย ท่านก็คงจะไม่มีอนาคต...

.....ถ้าท่านเป็นข้าราชการ ไปคบกับนักการเมืองและพ่อค้า แล้วมาช่วยกันคอรัปชั่น สักวันหนึ่งก็คงจะติดคุก...

.....ถ้าท่านเป็นนักการเมือง แล้วอยู่ในพรรคการเมือง และหมู่พวกที่จ้องแต่ผลประโยชน์ของตัวเอง โดยไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวม ก็คงเป็นบาปหนักหนา สุดท้าย อาจจะต้องติดคุก หรือไม่มีแผ่นดินอยู่ก็ได้...

.....การบวชเป็นพระ มีเป้าหมายสูงสุด คือ การบรรลุเป็นพระอรหันต์ ถ้าบวชแล้ว ได้อยู่ในหมู่เหล่าที่ดี สังคมดี มีมิตรดี มีกัลยาณมิตรคอยช่วยเหลือ ในการเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ สักวัน ก็คงบรรลุเป้าหมาย เป็นพระอรหันต์ได้...

.....แต่ถ้าบวชเป็นพระแล้ว อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดี สังคมไม่ดี มีมิตรไม่ดี วันๆ ไม่ในเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ให้มากเข้าไว้ วันๆเอาแต่แข่งกันด้วยลาภสักการะ แข่งกันว่า ใครจะมีเงินฝากมากกว่ากัน ใครขับรถรุ่นใหม่กว่ากัน ใครมีเครื่องบินเจ็ตส่วนตัวดัว ฯลฯ แล้ว โอกาสที่จะบรรลุเป้าหมายเป็นพระอรหันต์ คงไม่มี...

.....ตลอดชีวิตผม ตั้งแต่ เรียนหนังสือ รับราชการ ทำธุรกิจ ผมจะยึดหลักตามพระสูตรนี้มาตลอด และอีกตลอดไป...

.....แสงเงินแสงทองไม่มี สุริยาไม่มา...

.....มิตรดี สังคมดี สิ่งแวดล้อมดี...

ขอบคุณครับ

นพ.ไมตรี พิชญังกูร       ขอบคุณค่ะพี่หมอ
หัวข้อ: ธรรมจากพระไตรปิฏก ตอนที่ 3 : อันนนาถสูตร: ว่าด้วยสุข ๔ ประการ
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 11/09/2013, 11:02
13 สิงหาคม 2556

ธรรมจากพระไตรปิฏก ( ตอนที่ 3: อันนนาถสูตร: ว่าด้วยสุข ๔ ประการ )..

.....จากพระไตรปิฏก ฉบับมหามกุฎราชวิทยาลัย เล่มที่ ๓๕ หน้า ๒o๕-๒o๗...

.....มนุษย์ทุกคนต้องการความสุข เราคงปฎิเสธไม่ได้ว่า ที่เราทำงานกันทุกๆวันนั้น ความหวังสุดท้ายจริงๆแล้วคือ ต้องการความสุข...

.....เรายอมทำงานกันชนิดเอาทุกสิ่งทุกอย่างเข้าแลก บางคนยอมแม้กระทั่งเอาชีวิตเข้าแลก (แล้วก็ได้ตายสมใจ...) ก็มี เพราะมีความหวังว่า สุดท้ายแล้ว จะมีความสุข จากผลของงานนั้นๆ...

.....ครั้งหนึ่ง อนาถบิณฑิกคฤหบดี ได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า พระองค์ได้ตรัสกับท่านเศรษฐี เกี่ยวกับความสุข ๔ ประการ ว่ามีดังนี้...

.....๑ สุขเกิดแต่ความมีทรัพย์...

.....๒ สุขเกิดแต่การจ่ายทรัพย์บริโภค...

.....๓ สุขเกิดแต่ความไม่ต้องการเป็นหนี้...

.....๔ สุขเกิดแต่ประกอบการงานที่ปราศจากโทษ...

.....๑ สุขเกิดแต่ความมีทรัพย์ นั้นเป็นอย่างไร: พวกเราที่เป็นปุถุชน คนกิเลสหนา ย่อมจะเคยมีประสบการณ์นี้ เราตั้งหน้าตั้งตา ทำมาหากิน อาบเหงื่อต่างน้ำ ขยันทำมาหากินโดยชอบธรรม ทรัพย์สมบัติย่อมงอกเงยเพิ่มพูน เราย่อมมีความสุขโสมนัสจากการเพิ่มพูนของทรัพย์...

.....๒ สุขเกิดแต่การจ่ายทรัพย์บริโภค นั้นเป็นอย่างไร: เราตั้งหน้าตั้งตา ทำมาหากิน อาบเหงื่อต่างน้ำ ขยันทำมาหากินโดยชอบธรรม ทรัพย์สมบัติย่อมงอกเงยเพิ่มพูน เราย่อมที่จะบริโภคใช้สอยโภคทรัพย์บ้าง ทำบุญบ้าง เราย่อมมีความสุขโสมนัสจากการใช้สอยทรัพย์นั้นๆ...

.....๓ สุขเกิดแต่ความไม่ต้องการเป็นหนี้ นั้นเป็นอย่างไร: เนื่องจากไม่กู้หนี้ยืมสินใครเลย ไม่ว่าจะมากจะน้อย ย่อมไม่ต้องมีภาระในการคืนหนี้ ว่าจะคืนทันหรือไม่ทัน ย่อมไม่ต้องถูกทวงหนี้ เราย่อมมีความสุขโสมนัสจากการที่ไม่เป็นหนี้...

.....๔ สุขเกิดแต่ประกอบการงานที่ปราศจากโทษ นั้นเป็นอย่างไร: อริยสาวกในศาสนานี้ เป็นผู้ประกอบด้วยกายกรรม(การงานทางกาย) ที่ไม่มีโทษ ประกอบด้วยวจีกรรม (การงานทางวาจา) ที่ไม่มีโทษ ประกอบด้วยมโนกรรม (การงานทางใจ) ที่ไม่มีโทษ ย่อมได้สุขโสมนัสที่ยิ่งๆขึ้น...

.....สรุปแล้ว ในฐานะฆราวาส ปุถุชนธรรมดา การใช้ชีวิตให้มีความสุข โดยการประกอบอาชีพที่ชอบธรรม เป็นสิ่งที่สมควรจะได้ตามกาลเวลา...

.....แต่ถึงอย่างไรก็แล้วแต่ สุขทั้ง ๓ ประการขั้นต้น ก็ยังเป็นสุขแบบหลอกๆ ไม่ใช่สุขที่แท้จริงในสาระสัจจะ การได้สุขทั้ง ๓ ประการขั้นต้น สุดท้าย ก็เวียนกลับมาเป็นทุกข์อีกอยู่ดี เวียนกันอย่างนี้ ไม่มีที่สิ้นสุด...

.....การที่เราจะได้สุขแบบยั่งยืน คงต้องเป็นสุขเกิดแต่การประกอบการงานที่ปราศจากโทษ ถ้าในทางธรรม สูงสุดคือ การเจริญรอยตามพระพุทธองค์ แต่ในฐานะฆราวาส เราก็นำมาประยุกต์ใช้ได้ครับ ศึกษาดูดีๆครับ...

.....พระองค์ ได้ตรัสสรุปในพระสูตรนี้ว่า...

.....ดูก่อนคฤหบดี สุข ๔ ประการนี้แล อันคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม ควรจะได้รับตามกาล ตามสมัย...

....." บุคคล ผู้มีปัญยาดีรู้ว่า ความไม่เป็นหนี้เป็นสุข และระลึกรู้ว่า ความมีทรัพย์ก็เป็นสุข เมื่อได้จ่ายทรัพย์บริโภคเป็นสุข อนึ่ง ย่อมพิจารณาเห็น (สุขที่ยิ่งหย่อนกว่ากัน) ด้วยปัญญา เมื่อพิจารณาดู ก็ทราบว่าสุข ๔ นี้เป็น ๒ ภาค สุขทั้ง ๓ ประการข้างต้น นั้นไม่ถึงส่วนที่ ๑๖ แห่งสุขเกิดแต่ประกอบการงานที่ปราศจากโทษ"...

ขอบคุณครับ

นพ.ไมตรี พิชญังกูร      ขอบคุณค่ะพี่หมอ
หัวข้อ: ธรรมจากพระไตรปิฏก ตอนที่ 4 : สีของจีวร
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 11/09/2013, 11:06
11 กันยายน 2556

ธรรมจากพระไตรปิฏก ( ตอนที่ 4: สีของจีวร)...

.....จากพระไตรปิฏก ฉบับมหามกุฎราชวิทยาลัย เล่มที่ ๗ :พระวินัยปิฏก หน้า ๓o๙-๓๑o...

.....แฟชั่นการแต่งตัวของคนในสมัยนี้ มีความหลากหลายมาก มันก็ขึ้นอยู่กับรสนิยมของใคร ของมัน จะว่าไปแล้ว มันก็มีมาทุกยุคทุกสมัย...

......ในสมัยพุทธกาล พระฉัพพัคคีย์ ได้ทรงจีวรเปลี่ยนไปวันละสี บางวันก็สีครามล้วน สีเหลืองล้วน สีแดงล้วน ฯลฯ สลับสีของจีวร และจีวรมีลายแปลกๆบ้าง วิธีการเย็บก็แตกต่างกันไป บางวันก็สวมเสื้อใส่หมวก โพกผ้า ฯลฯ พระฉัพพัคคีย์นั้น เปรียบเสมือน เป็นผู้นำแฟชั่นการแต่งกายของพระในยุคนั้น...

.....แต่ว่า ชาวบ้านเขาไม่พอใจ มีการตำหนิติเตียน โพนทะนาว่า เหมือนพวกคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม เพื่อนพระภิกษุด้วยกัน จึงได้ไปกราบทูลเรื่องนี้กับพระพุทธเจ้า...

.....พระพุทธเจ้า จึงได้ตรัสห้ามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ...

.....1,ไม่พึงทรงจีวรสีคร้ามล้วน...

.....2,ไม่พึงทรงจีวรสีเหลืองล้วน...

.....3,ไม่พึงทรงจีวรสีบานเย็นล้วน...

.....4,ไม่พึงทรงจีวรสีดำล้วน...

.....5,ไม่พึงทรงจีวรสีแสดล้วน...

.....6,ไม่พึงทรงจีวรสีบานเย็นล้วน...

.....7,ไม่พึงทรงจีวรสีชมภูล้วน...

.....8,ไม่พึงทรงจีวรที่ไม่ตัดชาย...

.....9,ไม่พึงทรงจีวรมีชายยาว...

.....10,ไม่พึงทรงจีวรมีชายเป็นลายดอกไม้...

.....11,ไม่พึงทรงจีวรมีชายเป็นแผ่น...

.....12,ไม่พึงสวมเสื้อ...

.....13, ไม่พึงสวมหมวก...

.....14, ไม่พึงทรงผ้าโพก...

.....รูปใดทรง ต้องอาบัติทุกกฎ...

ขอบคุณครับ

นพ.ไมตรี พิชญังกูร
081 4031484
083 8949921           ขอบคุณค่ะพี่หมอ
หัวข้อ: ธรรมจากพระไตรปิฏก ตอนที่ ๕ : อัมพสูตร : ว่าด้วยบุคคลเปรียบด้วยมะม่วง
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 22/09/2013, 14:04
22 กันยายน 2556

ธรรมจากพระไตรปิฏก ( ตอนที่ ๕ : อัมพสูตร: ว่าด้วยบุคคลเปรียบด้วยมะม่วง ๔ จำพวก)...

.....จากพระไตรปิฏก ฉบับมหามกุฎราชวิทยาลัย เล่มที่ ๓๕ : อังคุตตรนิกาย หน้า ๒๘๘-๒๘๙...

.....ในพระสูตรนี้ พระพุทธเจ้าได้เปรียบเทียบบุคคลกับมะม่วงว่า สามารถแบ่งได้เป็น ๔ จำพวก คือ...

.....๑ มะม่วงดิบผิวสุก...

.....๒ มะม่วงสุกผิวดิบ...

.....๓ มะม่วงดิบผิวดิบ...

.....๔ มะม่วงสุกผิวสุก...

.....ในฐานะฆราวาส เราสามารถนำพระสูตรนี้มาประยุกต์ใช้ได้ ดังนี้...

.....1 มะม่วงดิบผิวสุก...หมายถึง บุคคลที่่มีกิริยาภายนอกดูน่าเลื่อมใส ไม่ว่าจะเป็นรูปลักษณ์ การแต่งกาย การพูดการจา กิริยาท่าทาง ล้วนดูดีไปหมด ใครได้พบ ได้เห็น ล้วนชวนให้น่าศรัทธาน่าเลื่อมใส...

... แต่ภายในจิตใจ กลับตรงกันข้าม เป็นบุคคลที่คบไม่ได้ เห็นแก่ตัว โลภ อิจฉา ริษยา เอาแต่ได้ ใจโหดร้าย ไม่มีคุณธรรม สรุปคือ เป็นคนไม่ดี ไม่ต่างอะไรกับพวกคนหลอกลวง หรือพวก 18 มงกุฎ...

.....การคบค้าสมาคมกับคนประเภพนี้ มีแต่จะนำความฉิบหายมาให้ ใครเป็นหุ้นส่วนธุรกิจ เป็นคู่ครอง เป็นแฟน เป็นเพื่อน ฯลฯ กับคนประเภพนี้ คงหาความเจริญไม่ได้ มีแต่ความเสื่อม...

.....หลายๆคน คงมีประสบการณ์ เห็นมะม่วงลูกนี้สุก ผิวสวยมาก น่าทาน แต่พอใส่เข้าปากแค่นั้น เปรี้ยวจนแทบจะคายทิ้งไม่ทัน...

.....๒ มะม่วงสุกผิวดิบ...หมายถึง บุคคลที่่มีกิริยาภายนอกดูไม่น่าเลื่อมใส ไม่ว่าจะเป็นรูปลักษณ์ การแต่งกาย การพูดการจา กิริยาท่าทาง ล้วนดูไม่ดีไปหมด ใครได้พบ ได้เห็น ไม่ชวนให้น่าศรัทธาน่าเลื่อมใส...

.....แต่ภายในจิตใจ กลับตรงกันข้าม เป็นบุคคลที่คบได้ ไม่เห็นแก่ตัว ไม่โลภ ไม่อิจฉา ไม่ริษยา เอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่ ใจดี มีคุณธรรม สรุปคือ เป็นคนดี เพียงแต่ดูภายนอกแล้วไม่น่านับถือ ไม่น่าศรัทธา ไม่น่าเลื่อมใส เท่านั้นเอง...

.....การคบค้าสมาคมกับคนประเภพนี้ ไม่ว่าจะเป็นหุ้นส่วนธุรกิจ เป็นคู่ครอง เป็นแฟน เป็นเพื่อน ฯลฯ ไม่ถึงกับเสียหายมาก แต่จะมีข้อจำกัดในความเจริญ...

.....หลายๆคน คงมีประสบการณ์ เห็นมะม่วงลูกนี้ ผิวไม่สวย ไม่น่าทาน แต่พอได้ทาน ก็พอทานได้...

.....๓ มะม่วงดิบผิวดิบ.....หมายถึง บุคคลที่่มีกิริยาภายนอกดูไม่น่าเลื่อมใส ไม่ว่าจะเป็นรูปลักษณ์ การแต่งกาย การพูดการจา กิริยาท่าทาง ล้วนดูไม่ดีไปหมด ใครได้พบ ได้เห็น ไม่ชวนให้น่าศรัทธาน่าเลื่อมใส...

....ภายในจิตใจ ก็เหมือนรูปลักษณ์ภายนอก เป็นบุคคลที่คบไม่ได้ เห็นแก่ตัว โลภ อิจฉา ริษยา เอาแต่ได้ ใจโหดร้าย ไม่มีคุณธรรม สรุปคือ เป็นคนเลว เป็นยิ่งกว่าพวกคนหลอกลวง หรือพวก 18 มงกุฎ จัดอยู่ในประเภพ รูปก็ชั่ว ใจก็ชั่ว...

.....การคบค้าสมาคมกับคนประเภพนี้ มีแต่จะนำความฉิบหายมาให้ ใครเป็นหุ้นส่วนธุรกิจ เป็นคู่ครอง เป็นแฟน เป็นเพื่อน ฯลฯ กับคนประเภพนี้ นอกจากหาความเจริญไม่ได้แล้ว ยังจะชวนกันพากันไปตกนรกแน่ๆ จงหลีกและห่างจากคนประเภพนี้ ให้เร็วที่สุด ให้ห่างที่สุด...

.....เมื่อเราเห็นแล้วว่ามะม่วงลูกนี้ไม่สุก ผิวไม่สวย ไม่น่าทาน ถ้าเราเห็นแบบนี้แล้ว ก็ไม่รู้จะใส่เข้าปากทำไมอีก...

.....๔ มะม่วงสุกผิวสุก...หมายถึง บุคคลที่่มีกิริยาภายนอกดูน่าเลื่อมใส ไม่ว่าจะเป็นรูปลักษณ์ การแต่งกาย การพูดการจา กิริยาท่าทาง ล้วนดูดีไปหมด ใครได้พบ ได้เห็น ล้วนชวนให้น่าศรัทธาน่าเลื่อมใส...

.....ภายในจิตใจ ก็เป็นบุคคลที่คบได้ ไม่เห็นแก่ตัว ไม่โลภ ไม่อิจฉา ไม่ริษยา เอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่ ใจดี มีคุณธรรม สรุปคือ เป็นคนดี นอกจากเป็นคนดีแล้ว รูปลักษณ์ กิริยา ท่าทางภายนอก การพูด การจา ล้วนน่านับถือ น่าศรัทธา น่าเลื่อมใส คือ ดีทั้งภายนอกและภายใน...

.....การคบค้าสมาคมกับคนประเภพนี้ ไม่ว่าจะเป็นหุ้นส่วนธุรกิจ เป็นคู่ครอง เป็นแฟน เป็นเพื่อน ฯลฯ มีแต่ความเจริญก้าวหน้า ไม่มีตกต่ำ จัดเป็นบุคคลประเภพที่ดีที่สุด...

.....หลายๆคน คงมีประสบการณ์ เห็นมะม่วงลูกนี้สุก ผิวสวยมาก น่าทาน แต่พอใส่เข้าปากแค่นั้น ก็หวาน อร่อยมาก ดั่งที่คิดไว้...

.....หากท่านกำลังคบเพื่อน หาแฟน หาคู่ครอง หาหุ้นส่วนทางธุรกิจ จงดูให้ดีๆ จงคิดถึงสิ่งที่พระพุทธองค์ได้ทรงสอนไว้...

..... หากคิดอะไรไม่ออก ก็จงคิดถึงมะม่วงและหมอไมตรี ครับ...

.....ขอให้ทุกๆคน ประสบความสำเร็จ...

ขอบคุณครับ

นพ.ไมตรี พิชญังกูร
081 4031484
083 8949921        ขอบคุณค่ะพี่หมอ