นักธรรม

ห้องสมุด "นักธรรม" => หนังสือ => ข้อความที่เริ่มโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 8/10/2012, 10:07

หัวข้อ: คัมภีร์ศาสตร์แห่งมหาบุรุษ : สารบัญ
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 8/10/2012, 10:07
                  คัมภีร์ศาสตร์แห่งมหาบุรุษ  :  สารบัญ

คำนำ

คัมภีร์ศาสตร์แห่งมหาบุรุษ  ภาคคัมภีร์

คัมภีร์ศาสตร์แห่งมหาบุรุษ  ภาคอรรถา
หัวข้อ: คัมภีร์ศาสตร์แห่งมหาบุรุษ : คำนำ
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 8/10/2012, 10:51
                        คำนำ 

        คัมภีร์ศาสตร์แห่งมหาบุรุษ เป็นหนึ่งในจตุรปกรณ์ อันเป็นคัมภีร์หัวใจสำคัญของศาสนาปราชญ์
ที่ได้สืบทอดกันมาอย่างเนิ่นนาน เป็นหนึ่งในคัมภีร์ที่ถ่ายทอดแก่นสารในวิถีจิต และสาระในวิถีแห่งการบำเพ็ญ บ่งชี้ถึงมรรคาแห่งการบำเพ็ญอริยภาพภายใน และศักดานุภาพภายนอก จัดเป็นโอสถทิพย์แห่งการบำเพ็ญกาย  ใจ  จิต  ไปจนกระทั่งครอบครัวสมบูรณ์ ใต้หล้าเป็นสันติ การสืบทอดของคัมภีร์แต่โบราณกาลได้เกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้นในสมัยราชวงศ์ฉิน ที่มีการฝังบัณฑิต  เผาคัมภีร์  แม้ในภายหลัง ปราชญ์จูซี จะได้รวบรวมคัมภีร์จตุรปกรณ์ขึ้นมา ทว่าในอรรถบทที่ว่าด้วยตัดกิเลส แจ้งในจิตภาพได้สูญหายไปจากการถูกเผา ทำให้ปราชญ์จูซี ผู้รวบรวมคัมภีร์จำต้องนำเอาคำอธิบายของ เฉิงจื่อ มาอธิบายในอรรถบทนี้แทน กระทั่งในปีหมินกั๋วที่ 36 (ค.ศ.1947) มหาเทพหลวี่ต้งปิน ได้มาประทานโอวาทเพิ่มเติมส่วนที่ขาดหายไปนี้ ทำให้คัมภีร์ศาสตร์แห่งมหาบุรุษสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ในการแปลคัมภีร์ศาสตร์แห่งมหาบุรุษเป็นภาษาไทยนั้น ได้เกิดขึ้นจากการแปลลงพิมพ์ในวารสารและเมื่อแปลจนครบถ้วนทั้งในส่วนปฐมบทและอรรถบทแล้ว จึงได้มีการรวมเล่มขึ้น เพื่อสะดวกต่อผู้ที่ต้องการจะศึกษาคัมภีร์อย่างจริงจัง โดยมีการแบ่งเป็น 2 ภาค ได้แก่ ภาคที่เป็นเนื้อหาคัมภีร์ อันได้แก่ ส่วนของปฐมบท และ อรรถบท  กับภาคอรรถบทที่เป็นเนื้อหาคัมภีร์ที่ได้เพิ่มอธิบายศัพท์และคำอธิบายประกอบ เพื่อให้สะดวกและกระจ่างแจ้งมากขึ้นในการศึกษา โดยคำอธิบายประกอบทั้งหลายที่ปรากฏในคัมภีร์ศาสตร์แห่งมหาบุรุษนี้ ได้คัดสรรมาจากคำอธิบายของ มหาเทพหลวี่ต้งปิน  ปราชญ์จุซี  และปราชญ์ท่านอื่น ๆ แต่โบราณที่ได้เคยอรรถาเอาไว้บวกกับการแปลที่พยายามคงรูปแบบการอิงพยัญชนะมากกว่าอรรถะด้วยจุดประสงค์ที่จะคงแก่นสารและอรรถรสของคัมภีร์ไว้ และพยายามที่จะไม่สอดแทรกความเข้าของใครลงไปในคัมภีร์ในขั้นตอนของการแปล จึงทำให้การศึกษาของคัมภีร์อาจจะพบกับคำศัพท์รูปแบบภาษาที่ไม่คุ้นเคยบ้าง จะเว้นไว้เสียก็แต่ชื่อคัมภีร์ "ศาสตร์แห่งมหาบุรุษ" ที่มิได้แปลตรง ๆ จากคำว่า "ต้าเสวีย" ที่ควรจะแปลเป็นคัมภีร์มหาศาสตร์ หรือมหาศึกษามากกว่า เนื่องจากต้นฉบับที่มีการแปลออกมาก่อนนั้นมักจะแปลว่า "คัมภีร์มหาบุรุษ" ซึ่งน่าจะตรงกับคำว่า และแน่นอนว่าการแปลว่า "คัมภีร์มหาบุรุษ" ย่อมมิได้ผิดแต่ประการใด เพราะความหมายที่แท้จริงของคัมภีร์ต้าเสวีย ได้ถูกให้คำนิยามว่า "มหาศาสตร์ก็คือมรรคาแห่งการเป็นมหาบุรุษ" หรือบุรุษอันยิ่งยวด  อันสมบูรณ์  ในภาษาไทยฉบับนี้จึงได้เลือกใช้ความหมายที่ตรงตัวว่า "คัมภีร์ศาสตร์แห่งมหาบุรุษ" อันหมายถึงคัมภีร์อันเป็นวิชาความรู้ที่จะนำไปสู่ความเป็นมหาบุรุษ  อาจมีผู้บำเพ็ญจำนวนไม่น้อยที่คิดว่าจตุรปกรณ์ คัมภีร์ศาสตร์แห่งมหาบุรุษ  เป็นคัมภีร์หรือเป็นคำสอนของจีน จึงมิได้ให้ความสำคัญเท่าที่ควร ทว่าในความเป็นจริงแล้ว ธรรมะนั้นมีเพียงหนึ่ง แต่ได้แตกแขนงออกไปตามคำสอนของพระศาสดาต่าง ๆ เพื่อให้เหมาะสมกับจริตและสติปัญยาของคนแต่ละคน โดยมีเป้าประสงค์สูงสุดเพียงหนึ่งเดียว คือ ให้ทุก ๆ คน สามารถบำเพ็ญธรรมจนบริสุทธิ์สมบูรณ์ กลับคืนสู่สภาวะต้นธาตุต้นธรรมเดิมอันพึงมีพึงเป็นของตนทั้งสิ้น ฉะนั้น แม้ว่าคำสอน รูปแบบการบำเพ็ญธรรมจะมีเนื้อหาที่แตกต่างกันไปบ้างในแต่ละชาติแต่ละศาสนา ทว่าแก่นแท้สำหรับผู้ที่เห็นแจ้งตลอดนั้นมิได้แตกต่างกันเลย

        จึงเชื่อว่าหากศึกษาคัมภีร์ด้วยความวิริยะ ด้วยความเคารพ และตั้งใจที่จะเข้าถึง พร้อมทั้งนำไปปฏิบัติจริง คัมภีร์ฉบับนี้ย่อมเกิดอรรถประโยชน์อันเอนกอนันต์ ทั้งการบำเพ็ญตนไปสู่ความรู้แจ้ง และฉุดช่วยคนให้พ้นจากความหลงและโอฆสงสารในอนาคตกาล
หัวข้อ: คัมภีร์ศาสตร์แห่งมหาบุรุษ : ภาคคัมภีร์.. บทนำจากจูจื่อ
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 27/10/2012, 14:16
        จื่อเฉิงจื่อเยวีย  "ต้าเสวีย  ข่งซื่อจืออี๋ซู  เอ๋อชูเสวียรู่เต๋อจือเหมินเหยี่ย"  อวี๋จินเข่อเจี้ยนกู่เหรินเหวยเสวียชื่อตี้เจอะ  ตู๋ไล่ฉื่อเพียนจือฉุนเอ๋อหลุน  เมิ่งชื่อจือ  เสวียเจอะปี้โหยวซื่อเอ๋อเสวียเอียน  เจ๋อซู่ฮูฉีปู้ชาอี่

บทนำจากจูจื่อ

        จื่อเฉิงจื่อกล่าวว่า "อันศาสตร์แห่งมหาบุรุษ เป็นคัมภีร์ที่สืบทอดจากท่านขงจื่อ อันเป็นทวารเริ่มแรกในการบำเพ็ญคุณธรรมแล"  การที่บัดนี้ยังสามารถเห็นถึงทิศทาง และลำดับขั้นตอนการบำเพ็ญของคนในอดีต ก็ด้วยอาศัยการดำรงอยู่ของคัมภีร์นี้ โดยคัมภีร์ชุมนุมคติพจน์  คัมภีร์เมิ่งจื่อนั้นรองลงมา ผู้ที่มีความมุ่งมั่นในการบำเพ็ญปฏิบัติธรรม จึงพึงเริ่มต้นศึกษาจากคัมภีร์นี้ เฉกนี้ ก็ไม่น่าจะผิดพลาดนักแล

จิงอีจาง  ต้าเสวียจือเต้า

        ต้าเสวียจือเต้า  ไจ้หมิงหมิงเต๋อ  ไจ้ซินหมิน  ไจ้จื่ออวี๋จื้อซ่าน
จือจื่อเอ๋อโฮ่วโหย่วติ้ง  ติ้งเอ๋อโฮ่วเหนิงจิ้ง  จิ้งเอ๋อโฮ่วเหนิงอัน  อันเอ๋อ
โฮ่วเหนิงลวี่  ลวี่เอ๋อโฮ่วเหนิงเต๋อ  อู้โหย่วเปิ่นม่อ  ซื่อโหย่วจงสื่อ
จือสั่วเซียนโฮ่ว  เจ๋อจิ้นเต้าอี่

ปฐมสูตร มรรคาของศาสตร์แห่งมหาบุรุษ

        มรรคาของศาสตร์แห่งมหาบุรุษ อยู่ที่การแจ้งในวิสุทธิจิต อยู่ที่การใกล้ชิดมวลชน  อยู่ที่การดำรงความวิเศษสุด เมื่อดำรงแล้วจึงมีสมาธิ (การแน่วแน่ จดจ่อ)   เมื่อมีสมาธิแล้วจึงนิ่ง  เมื่อนิ่งแล้วจึงสงบ  เมื่อสงบแล้วจึงพิจารณาแจ้ง  เมื่อพิจารณาแจ้งแล้วจึงบรรลุ  สรรพสิ่งมีต้นปลาย  เรื่องราวมีสิ้นสุดแลเริ่มต้น (หมายถึง เป้าหมาย กับก้วแรก)   เมื่อเข้าใจลำดับก่อนหลัง  ก็เข้าใกล้ธรรมะแล

หมายเหตุ   :  คำว่าใกล้ชิดนี้ มีการอธิบายไว้ 3 แบบ

1. หมายถึง การที่สามารถก้าวหน้าเป็นคนใหม่ได้ตลอด

2. หมายถึง ใกล้ชิดผู้คน เพื่อยังประโยชน์ ฉุดช่วยกล่อมเกลาพวกเขา

3. มีทั้งความหมายของการเป็นคนใหม่ และใกล้ชิดมวลชน ขจัดกิเลสมลทินเก่าที่มีอยู่ทิ้งไป จากนั้นก็ผลักดันจากตนเองสู่ผู้อื่น         
หัวข้อ: คัมภีร์ศาสตร์แห่งมหาบุรุษ : ภาคคัมภีร์.. บทนำจากจูจื่อ 2
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 27/10/2012, 14:49
                     บทนำจากจูจื่อ 2  :   

        กู้จืออวี้หมิงหมิงเต๋ออวี๋เทียนเซี่ยเจอะ  เซียนฉือฉีกว๋อ  อวี้ฉือ
ฉีกว๋อเจอะ  เซียนฉีฉีเจีย  อวี้ฉีฉีเจียเจอะ  เซียนซิวฉีเซิน  อวี้ซิวฉีเซิน
เจอะ  เซียนเจิ้งฉีซิน  อวี้เจิ้งฉีซินเจอะ  เซียนเฉิงฉีอี้  อวี้เฉิงฉีอี้เจอะ
เซียจื้อฉีจือ  จื้อจือไจ้เก๋ออู้  อู้เก๋อเอ๋อโฮ่วจือจื้อ  จือจื้อเอ๋อโฮ่วอี้เฉิง อี้
เฉิงเอ๋อโฮ่วซินเจิ้ง  ซินเจิ้งเอ๋อโฮ่วเซินซิว  เซินซิวเอ๋อโฮ่วเจียฉี  เจียฉี
เอ๋อโฮ่วกว๋อจื้อ  กว๋อจื้อเอ๋อโฮ่วเทียนเซี่ยผิง

        แต่บรรพกาลมา หากปรารถนาให้การแจ้งในวิสุทธิจิตสู่ใต้หล้า (หลวี่ต้งปินต้าเซียน  :  ยังตนให้แจ้งในวิสุทธิจิต จากนั้นจึงยังให้ทั่วหล้าสามารถแจ้งในวิสุทธิจิตนี้ด้วย (อุดมการณ์แห่งมหาเอกภาพ) พึงปกครองบ้านเมืองก่อน ผู้ที่ปรารถนาในการปกครองบ้านเมือง  พึงให้ครอบครัวสมบูรณ์ก่อน (ดำเนินอยู่ในธรรม) ผู้ที่ปรารถนาให้ครอบครัวสมบูรณ์  พึงบำเพ็ญตนก่อน  ผู้ที่ปรารถนาจะบำเพ็ญตน  พึงให้ใจเที่ยงตรงก่อน  ผู้ที่ปรารถนาให้ใจเที่ยงตรง  พึงให้ดำริศรัทธา (ศรัทธาจริงใจ บริสุทธิ์)  ผู้ที่ปรารถนาให้ดำริศรัทธา  พึงให้จิตภาพแจ้งถึงที่สุดก่อน (ไม่อาศัยการเรียนรู้ แต่สามารถรู้ได้ เรียกว่าจิตภาพ)  การแจ้งที่สุดแห่งจิตภาพ  อยู่ที่การตัดกิเลส  กิเลสตัดแล้วจิตภาพจึงแจ้งถึงที่สุด  จิตภาพแจ้งถึงที่สุดแล้วดำริจึงศรัทธา  ดำริศรัทธาแล้วใจจึงเที่ยงตรง  ใจเที่ยงตรงแล้วจึงสามารถบำเพ็ญตน  บำเพ็ญตนแล้วครอบครัวจึงสมบูรณ์  ครอบครัวสมบูรณ์แล้วบ้านเมืองจึงรุ่งเรือง  บ้านเมืองรุ่งเรืองแล้วใต้หล้าเป็นสันติ

        จื้อเทียนจื่ออี่จื้ออวี๋ซู่เหริน  อีซื่อเจียอี่ซิวเซินเหวยเปิ่น  ฉีเปิ่น
ล่วนเอ๋อม่อจื้อเจอะโฝวอี่  ฉีสั่วโฮ่วเจอะป๋อ  เอ๋อฉีสั่วป๋อเจอะโฮ่ว  เว่ยจือ
โหยวเหยี่ย ! 

        จากโอรสสวรรค์จนถึงสามัญชน  ต่างอาศัยการบำเพ็ญตนเป็นรากฐาน (การบำเพ็ญตน หรือ บำเพ็ญกาย คือ การรวม  ตัดกิเลส  แจ้งที่สุดแห่งจิตภาพ  ดำริศรัทธา  ใจเที่ยงตรงไว้ด้วย)  เมื่อรากฐานสับสน  แล้วปลาย (ครอบครัวสมบูรณ์ปกครองบ้านเมือง ยังใต้หล้าสู่สันติ) สามารถปฏิบัติได้ดีนั้นย่อมเป็นไปไม่ได้  สิ่งที่ควรหนา(ให้ความสำคัญ) กำลับบาง  สิ่งที่ควรบาง (สำคัญรองลงมา ,ไม่ค่อยสำคัญ) กลับหนา มิเคยปรากฏมาก่อนแล

        อันปฐมสูตร มรรคาของศาสตร์แห่งมหาบุรุษเป็นวจนะของท่านขงจื่อ ที่ถ่ายทอดโดยท่านเจิงจื่อ ส่วนอรรถบททั้ง 10 บทนั้น ท่านเจิงจื่อเป็นผู้อรรถาธิบาย  สานุศิษย์เป็นผู้บันทึก ซึ่งฉบับเก่านั้นเกิดความผิดพลาดสับสน ปัจจุบันได้อาศัยท่านเจิงจื่อได้เรียบเรียงตรวจทานจากคัมภีร์ จึงเรียงตามขั้นตอนดังนี้ 
หัวข้อ: Re: คัมภีร์ศาสตร์แห่งมหาบุรุษ : สารบัญ
เริ่มหัวข้อโดย: heinekenja ที่ 26/03/2014, 10:43
เป็นคัมภีร์ที่ดีมากครับ