นักธรรม

ห้องสมุด "นักธรรม" => หนังสือ => ข้อความที่เริ่มโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 21/12/2011, 17:36

หัวข้อ: ถาม - ตอบ อนุตตรธรรม (พระโอวาทพระอาจารย์จี้กง)
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 21/12/2011, 17:36
   
ชื่อหนังสือ  ถาม - ตอบ อนุตตรธรรม
พระโอวาทพระอาจารย์จี้กง
.
ISBN :  *
ผู้เขียน :  *
ผู้แปลและเรียบเรียง :  กลุ่มพัฒนาเพื่อฟื้นฟูธรรมญาณ
ขนาดรูปเล่ม
จำนวน :  x หน้า
ชนิดกระดาษ :  กระดาษปอนด์ ขาว
สำนักพิมพ์ :  x
เดือน/ปีที่พิมพ์ :  x
จำหน่ายโดย :  กลุ่มพัฒนาเพื่อฟื้นฟูธรรมญาณ
ติดต่อ :  x
ราคา :  x บาท
หัวข้อ: ถาม - ตอบ อนุตตรธรรม (พระโอวาทพระอาจารย์จี้กง)
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 22/12/2011, 06:07
พระโอวาทพระอาจารย์จี้กง
พวกเราศิษย์อนุตตรธรรมบำเพ็ญธรรมต้องบำเพ็ญเพียรใจ       
ในการประกอบอนุตตรธรรมกิจต้องพยายามจนสุดความสามารถ
พวกเราไม่เปรียบเทียบและวิจารย์ผู้อื่น
พวกเราไม่แก่งแย่งชิงดีชิงเด่นกับผู้อื่น
พวกเรายอมถูกปรักปรำเพื่อให้ทศทิศเกิดความกลมเกลียวสมานฉันท์ 
พวกเราคือสะพานที่เชื่อมต่อระหว่างทะเลทุกข์กับแดนอนุตตรภูมิ
แม้จะถูกผู้อื่นเหยียบย่ำและกล่าวให้ร้าย
พวกเราก็ยังยอมทนและไม่ตอบโต้
พวกเราดำรงตนตามหลักครรลองคลองธรรม
พวกเราสามารถพลิกแพลงตามสถานการณ์ได้ดั่งใจ
พวกเรามั่นคงในหลักสัจธรรม
การอุทิศเสียสละของพวกเราจะไม่สูญเปล่า
พวกเราจะไม่เกิดมาบนโลกมนุษย์โดยเปล่าประโยชน์
พวกเราจะไม่ปล่อยเวลาให้ล่วงเลยไปโดยเปล่าประโยชน์
แม้นชีวิตเดียวของเราก็มีความเกี่ยวพันกับชีวิตของเวไนยสัตว์อีกจำนวนมาก
จึงควรเห็นคุณค่าของตนและไม่เคลือบแคลงสงสัย
เพื่อไม่เป็นอุปสรรคแก่ตนเอง  กำหนดสัมมาวิถีสู่จุดหมายอย่างแน่วแน่
ให้มนุษย์ทั้งปวงได้ก้าวเดินไปอย่างมั่นคง
ให้มนุษย์ทั้งปวงได้รับประทีปแห่งความเมตตา
ให้มนุษย์ทั้งปวงได้อิ่ม่อิบอยู่ภายใต้พระมหากรุณาธิคุณของฟ้าเบื้องบน
ให้บรรพชนเจ็ดชั้นและลูกหลานเก้าชั่วคนของมนุษย์ทั้งปวง
ได้รับบารมีแห่งแสงธรรมปรกแผ่ถ้วนทั่ว

คำนำ
"ถาม - ตอบ  อนุตตรธรรม" เป็นหนังสือที่รวบรวมคำถามทั้ว ๆ ไป ซึ่งเกิดจากข้อกังขาของญาติธรรม ทั้งญาติธรรมใหม่ที่เพิ่งก้าวเข้าสู่ประตูธรรม และญาติธรรมเก่า ที่กำลังบำเพ็ญปฏิบัติธรรม ข้อสงสัยเหล่านี้ พระอาจารย์จี้กงซึ่งเปรียบเสมือนบิดา ผู้มีคุณอนันต์ต่อศิษย์อนุตตรธรรม ได้ทรงตอบคำถามไขข้อกังขาด้วยพระองค์เอง ทั้งที่ตอบแบบตรงไปตรงมา และตอบแบบอุปมาอุปไมย  หนังสือเล่มนี้ยังให้ทัศนะเกี่ยวกับวิถีอนุตตรธรรม ในแง่ของการบำเพ็ญธรรม และในการปฏิบัติบำเพ็ญธรรม  อนึ่ง หนทางการบำเพ็ญปฏิบัติธรรมจำต้องมีพื้นฐานแห่งความเชื่อมั่น เป็นพลังศรัทธาผลักดันเพื่อบรรลุจุดหมายและวิธีการเสริมสร้างความศรัทธาเชื่อมั่น ก็คือ  "การขจัดข้อกังขา"  นั่นเอง ดังพระพุทธจี้กงได้เมตตาว่า  "เมื่อขจัดข้อกังขา ความเชื่อมั่นจึงบังเกิด"  หวังว่าหนังสือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์แก่สาธุชนผู้บำเพ็ญทั้งในอาณาจักรธรรมและนอกอาณาจักรธรรมไม่มากก็น้อย และหากการแปลพระวจนะ หรือการจัดทำหนังสือมีข้อผิดพลาดใด ๆ ขอเบื้องบนได้โปรดเมตตาประทานอภัย ขอพระอาจารย์ทรงการุณย์เสริมปัญญาแก่ศิษย์โง่ด้วยเถิด

ด้วยจิตสำนึกคุณ
กลุ่มพัฒนาเพื่อฟื้นฟูธรรมญาณ
แปลและเรียบเรียง           
หัวข้อ: ถาม - ตอบ อนุตตรธรรม (พระโอวาทพระอาจารย์จี้กง)
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 23/12/2011, 11:18
3.  ตามที่ได้เข้าใจเบื้องต้นว่า ความทุกข์ยากลำบากที่ผู้บำเพ็ญได้รับแท้จริงมีสาเหตุมาจากเหตุต้นผลกรรมแห่งตน หาใช่เป็นการทดสอบจากเบื้องบนไม่ ส่วนสิ่งศักดิ์สิทธิ์มีหน้าที่ในการลำดับอริยฐานะตามสถานการณ์ที่ผู้บำเพ็ญประสบ  จึงอยากทราบว่า การเผชิญกับความทุกข์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากเหตุต้นผลกรรมนั้น  จะได้รับบุญกุศลหรือไม่ ?.

 พระพุทธจี้กง ตอบ   :
     "ไหนเลยจะมีบุญกุศล"  เนื่องจากความทุกข์ยากลำบากทั้งหลายที่ผู้บำเพ็ญได้รับ ล้วนเกิดขึ้นมาจากเหตุต้นและผลกรรมของตนทั้งสิ้น เพียงแต่ฟ้าเบื้องบนได้อาศัยโอกาสนี้ เพื่อพิสูจน์ความมุ่งมั่นในวิถีธรรมของผู้บำเพ็ญเท่านั้น  ครั้นผู้ที่ไม่กระจ่างแจ้งในวิถีธรรม ได้รับความทุกข์ต่าง ๆ ในการบำเพ็ญปฏิบัติก็ย่อมโทษฟ้า และปรักปรำผู้อื่น  ทว่าผู้กระจ่างแจ้งในวิถีธรรม เมื่อได้รับความทุกข์ต่าง ๆ ในการบำเพ็ญปฏิบัติก็จะสำนึกเสียใจ และตำหนิเฉพาะตนเอง
เพราะฉะนั้น  เกณฑ์พื้นฐานในการกำหนด อริยฐานะของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ก็ขึ้นอยู่กับความศรัทธาและความมุ่งมั่นที่ผู้บำเพ็ญแสดงให้เห็นต่อวิถีธรรมนั่นเอง


4 .   ผู้บำเพ็ญธรรมที่ตั้งปณิธานทานเจ  มีบุญกุศลหรือไม่ ?.

พระพุทธจี้กง ตอบ   : 
     "ไร้ซึ่งบุญกุศล"  เพราะการทานอาหารเจเป็นสิ่งที่มนุษย์พึงกระทำ แต่เดิมมนุษย์เป็นสัตว์ที่ไม่บริโภคเนื้อสัตว์  การทานอาหารเจ จึงเป็นสิ่งที่ควาปฏิบัติ ไหนเลยจะมีบุญกุศล


5.  เมื่อการทานอาหารเจไม่มีบุญกุศลแล้ว  เหตุใดผู้บำเพ็ญธรรมจึงต้องทานอาหารเจ ?.
พระพุทธจี้กง ตอบ  :
     ดังที่กล่าวไปแล้วว่าการทานอาหารเจ เป็นสิ่งที่มนุษย์พึงกระทำ เป็นการไม่ปลูกเหตุในการทำลายสรรพชีวิต  ผู้บำเพ็ญพึงละเว้นจากการปลูกต้นเหตุแห่งหนี้กรรม  ถ้ายังก่อเหตุสร้างหนี้เวร ด้วยการทำลายชีวิตสรรพสัตว์ต่อไป  ก็จะทำให้เจ้าหนี้นายเวรเกิดความอาฆาตแค้นมากยิ่งขึ้น จนในที่สุด ผู้บำเพ็ญเองก็ไม่อาจหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดได้  วิบากกรรมในกาลก่อนยังไม่ชำระสิ้น แต่กลับเพิ่มหนี้เวรกรรมใหม่ในก่ลนี้อีก  นี่เป็นสาเหตุของการเกิด ๆ ตาย ๆ  และตาย ๆ เกิด ๆ มีการฆ่าเขาบ้าง และมีการถูกเขาฆ่าบ้าง หมุนเวียนเป็นวัฏจักรไม่มีที่สิ้นสุด
     อนึ่งฟ้าเบื้องบนทรงไว้ซึ่งความเที่ยงธรรม  เมื่อเรากินเนื้อเขา 1 ชั่ง ก็ต้องใช้เนื้อคืนเขา  16  ตำลึง เป็นแน่ เป็นไปไม่ได้ที่เนื้อ  1/2 ชั่ง  จะเท่ากับ 7. 5  ตำลึง  (ขาดหายไปครึ่งตำลึง)                           


6.  เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว บุญกุศลจะมาจากไหน ?.

พระพุทธจี้กง ตอบ  : 
     แม้นคำว่า  "บุญกุศล"  ก้หามีไม่ เพราะการที่เวไนยบำเพ็ญธรรมและสร้างบุญกุศลโดยมุ่งหวังแต่จะรอรับผลบุญตอบสนอง ยึดติดในผลบุญ ส่งผลให้พฤติกรรมที่แสดงออกไม่เป็นธรรมชาติที่เกิดจากจิตเดิมแท้ หากเป็นเช่นนี้ ก็เป็นเพียงการปลูกสร้างเนื้อนาบุญเพื่อยังผลให้ไปเกิดเป็นเทพยดาบนสวรรค์ชั้นเทวภูมิ หรือผู้มีลาภสักการะในสนุสภูมิเท่านั้น เพราะการกระทำเพื่อหวังผลบุญตอบแทน ผลบุญที่ได้รับจึงมีจำกัด เมื่อเสพบุญกรรมหมดสิ้น ก็ต้องกลับมาเวียนว่ายต่อไป เปรียบได้ดั่งการยิงธนูขึ้นฟ้า พอแรงหนุนส่งหมด ลูกธนูก็ตกลงมา ฉันใดก็ฉันนั้น
     คำว่า  "บุญกุศล"  เป็นเพียงศัพท์ที่บัญญัติขึ้น เพื่อสร้างพื้นฐานในการทำความเข้าใจ ซึ่งที่จริงแล้ว "บุญกุศล"  เป็นสิ่งที่ไม่อาจเข้าใจได้โดยอาศัยลายลักษณ์อักษร เพราะ  "บุญกุศล"  เป็นพฤติกรรมธรรมชาติ ที่แสดงออกจากธรรมญาณเดิมอันบริสุทธิ์ เป็นพฤติกรรมที่สอดคล้องกับหลักธรรมของฟ้าเบื้องบน  "บุญกุศล"  จะได้มา เมื่อกระทำอย่างไม่เสแสร้ง กระทำโดยไม่คำนึงถึงผลบุญที่จะได้รับ เดินตามมัชฌิปฏิปทา (ทางสายกลาง)  อย่างสุขุมเยือกเย็น เช่นนี้จึงเป็น  "บุญกุศล"  แท้จริง
     ส่วนจิตใจที่คิดแต่จะรอรับผลบุญตอบแทน ล้วนเป็นจิตเพ้อฝันทั้งสิ้น เพราะจิตเพ้อฝันจึงทำให้โฉมเดิมแห่งธรรมที่บริสุทธิ์ไม่สามารถปรากฏ เพราะเวไนยมีทิฐิ จึงเกิดการแบ่งแยกระหว่าง อริยกับปุถุชน จึงมีคำว่า  "บุญกุศล"  เกิดขึ้นตามมา  เพราะฉะนั้น จิตใจที่ยึดติดในผลบุญจึงเป็นเมล็ดพันธุ์แห่งการเวียนว่ายตายเกิดนั่นเอง
หัวข้อ: ถาม - ตอบ อนุตตรธรรม (พระโอวาทพระอาจารย์จี้กง)
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 23/12/2011, 14:42
7.  ขอกราบเรียนถามเกี่ยวกับสายทองในวิถีอนุตตรธรรม

พระพุทธจี้กง ตอบ   :
     ตั้งแต่โบราณกาลมา วิถีอนุตตรธรรมมีพงศาธรรม (เชื้อสายแห่งธรรม) ที่สืบต่อกันระหว่างบรรพจารย์สู่อีกบรรพจารย์อย่างไม่ขาดสาย ผู้มีธรรมย่อมเข้าถึง จิตใครว่างก็ได้รับไป  ผู้ได้รับหมายถึง  ผู้ที่ได้รับการเบิกจุดญาณทวารจากพระวิสุทธิอาจารย์ กำราบจิตที่ฟุ้งซ่านให้หมดสิ้นไป สำรวมปฏิบัติตามคุณธรรมแห่งธรรมญาณเดิมที่ฟ้าเบื้องบนประทานให้ สร้างคุณประโยชน์แก่มนุษยชาติและประกาศสัจธรรมแทนฟ้าเบื้องบน หากเป็นเช่นนี้สายทองก้เชื่อมโยงกันได้  แต่ถ้าไม่ชำระกิเลสภายในให้บริสุทธิ์ กระทำโดยการเห็นแก่ตัว อย่างนี้แม้จะอยู่ร่วมกับพระวิสุทธิอาจารย์ สายทองก้เชื่อมโยงกันไม่ได้
     ธาตุทอง  เป็นสัญลักษณ์ของทิศตะวันตก เป็นโลหะธาตุชนิดเดียวที่มีสีขาวในบรรดาโลหะธาตุทั้ง 5  สีขาวบ่งบอกถึงความสะอาด และเป็นสัญ -
ลักษณ์ของความบริสุทธิ์  หมายถึงความกระจ่างแจ้งในสภาวะธรรมญาณเดิมที่บริสุทธิ์ผุดผ่อง  หลังจากที่เราได้รับวิถีธรรมแล้ว ได้กระจ่างแจ้งในธรรมญาณแห่งตนแล้ว ลำดับต่อไปคือการเข้าถึงมวลเวไนย (ฉุดช่วยให้รับธรรม)  ตลอดจนการบรรลุถึงที่สุดของความดี นั่นก็คือ พุทธภูมิ
     วิธีการบำเพ็ญแบบรู้แจ้งโดยฉับพลัน สำคัญที่การบรรลุถึง  "สูญญภาวะ"  ซึ่งหาใช่พิธีการที่มีรูปลักษณ์ไม่ 

สูญญภาวะ คือ  มรรคาแห่งการหลุดพ้น
ส่วนรูปลักษณ์ทั้งปวง  คือ  เหตุปัจจัยแห่งเนื้อนาบุญ

     เมื่อเข้าใจในหลักธรรมนี้แล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องถามเกี่ยวกับสายทอง ขอเพียงระบบขั้นตอนการดำเนินงานธรรมไม่สับสนวุ่นวาย สายทองก็ยังเชื่อมต่อกัน  เหตุใดกฏพุทธระเบียบ  15  ข้อ จึงเป็นกฏพุทธระเบียบที่บัญญัติขึ้นเฉพาะกาล สิ่งเหล่านี้ควรนำไปพินิจพิจารณา  เพราะการพินิจพิจารณาเป็นการ  "สำนึดรู้"    "ผู้สำนึกรู้ คือ พุทธะ"    ผู้ไม่สำนึกรู้ คือ เวไนย  ความแตกต่างระหว่างพุทธะกับเวไนย ก็อยู่ที่สภาพจิตเท่านั้นเอง
หัวข้อ: ถาม - ตอบ อนุตตรธรรม (พระโอวาทพระอาจารย์จี้กง)
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 27/12/2011, 01:41
8  :  ผู้ตั้งปณิธานทานเจแล้วผิดต่อปณิธานไม่ทราบว่าเบื้องบนจะพิจารณาโทษอย่างไร ?.

พระพุทธจี้กง ตอบ  : 
     ฟ้าและดินคงไว้ซึ่งหลักสัจธรรม ตัดสินบาปบุญคุณโทษอย่างเที่ยงธรรม  เมื่อตั้งปณิธานทานเจ  แล้วผิดต่อปณิธาน นอกจากความดีความชอบต่าง ๆ ที่เคยสร้างมาเท่ากับสูญเปล่าแล้ว ยังเป็นการทำลายชื่อเสียงของอาณาจักรธรรมอีก  โทษที่ได้รับคือ  "ตกนรก"  อย่างไรก็ตาม จะมีพิจารณาโทษตามสถานหนักเบาและเหตุผล ที่ผิดปณิธาน


9   :  ผู้บำเพ็ญธรรมที่ไปกราบไหว้ตามวัดวาอารามต่าง ๆ หรือไหว้เจ้าที่เจ้าทาง มีความเกี่ยวพันกับวิถีอนุตตรธรรมอย่างไร ?.

พระพุทธจี้กง ตอบ  :
     การบำเพ็ญธรรมเป็นการบำเพ็ญจิต ปุถุชนที่ยังไม่กระจ่างแจ้งในหลักธรรมแท้  ย่อมหลงไปตามสถานการณ์แวดล้อม น่าเป็นห่วงยิ่งนัก  การบำเพ็ญธรรมเป็นการบำเพ็ญจิต หล่อเลี้ยงธรรมญาณ  กำจัดความฟุ้งซ่าน  ส่วนการกราบไหว้  เป็นการแสดงความเคารพและรำลึกคุณของสิ่งศักดิ์สิทธิ์  ในการบำเพ็ญธรรมนั้น ศิษย์อนุตตรธรรมควรปฏิบัติตามพุทธระเบียบอย่างเคร่งครัด อย่าเหยียบเรือสองแคม หรือกราบไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์อย่างงมงาย  เพราะฉะนั้น การบำเพ็ญก็คือการบำเพ็ญ การกราบไหว้ก็คือการกราบไหว้  หากความศรัทธาในวิถีธรรมไม่เปลี่ยนแปลง การกราบไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์เพราะความเคารพนับถือจะไม่ได้เชียวหรือ !           
หัวข้อ: ถาม - ตอบ อนุตตรธรรม (พระโอวาทพระอาจารย์จี้กง)
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 30/12/2011, 10:47
10.  เกี่ยวกับการทดสอบด้านทรัพย์สินเงินทองจะอธิบายอย่างไร ?.

พระอาจารย์จี้กง ตอบ  :
     การทดสอบด้านทรัพย์สินเงินทอง แบ่งออกเป็นการทดสอบครั้งใหญ่ และการทดสอบทั่วไป  เกี่ยวกับเงินทำบุญในการรับธรรมของเวไนยมีความซื่อตรงหรือไม่นั้นเป็นการทดสอบทั่วไป  ส่วนทรัพย์สินของอาณาจักรธรรมเป็นการทดสอบครั้งใหญ่   เมื่อธรรมกิจได้ขยายกว้างไป ทรัพย์สินของอาณาจักรธรรมก็มีมากขึ้น ผู้มีความโลภย่อมคิดอยากครอบครองจึงเกิดความแก่งแย่งอำนาจ และแสวงหาผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน  ฉะนั้น การช่วงชิงทรัพย์สินของอาณาจักรธรรม จึงจัดเป็นการทดสอบด้านทรัพย์สินครั้งใหญ่
 
               
11.  ศรัทธาแบบมิจฉาเป็นอย่างไร ?.

พระอาจารย์จี้กง ตอบ  :   
     คำว่า  "มิจฉา"  เป็นคำตรงข้ามกับ  "สัมมา"  จิตศรัทธาทั้งมวลที่ไม่ได้บังเกิดจากจิตเดิมแท้อันเที่ยงตรง ล้วนเป็นจิตศรัทธาแบบมิจฉา  อาทิ จิต
ที่ฟุ้งซ่านก็ดี  ความคิดเพ้อฝันก็ดี  จิตที่อยากเห็นปาฏิหาริย์ก็ดี  และจิตใจที่ฝังลึกอยู่กับการหลุดพ้นจากการเกิดการตาย  เฉพาะตนก็ดี  ล้วนเป็นจิตศรัทธา
แบบมิจฉา ที่โฉมหน้าเดิมแท้ยังไม่ปรากฏทั้งนั้น


12. ศรัทธาแบบโง่เขลาเป็นอย่างไร ?

พระอาจารย์จี้กง ตอบ   :
     ผู้  "โง่เขลา"  คือผู้ที่  "ไร้ปัญญา"  ซึ่งรู้แต่เพียงกราบไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ไม่คิดแสวงหาสัจธรรม และก้ไม่กระจ่างในหลักธรรม  หลับหูหลับตาคล้อยตามผู้อื่น  เป็นความเลื่อมใสที่จัดอยู่ในยานระดับต่ำ


13.  ศรัทธาแบบฉลาดแกมโกงเป็นอย่างไร ?.

พระอาจารย์จี้กง ตอบ   :
     ผู้ฉลาดแกมโกง คือผู้ที่อาศัยกลอุบาย และ เล่ห์เหลี่ยมต่าง ๆ เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น ไม่แสดงออกซึ่งปัญญาเดิมอันประเสริฐ อาศัยเพียงความเฉลียวฉลาดเฉพาะตน สร้างบุญบังหน้ากระทำได้แม้กระทั่ง  "ยืมดอกไม้ของผู้อื่นมาบูชาพระ"  จึงทำให้ธรรมญาณเดิมแท้ไม่อาจปรากฏได้


14. ศรัทธาแบบเสแสร้งเป็นอย่างไร ?.

พระอาจารย์จี้กง ตอบ   :
     คำว่า  "เสแสร้ง"  คิอ "การแกล้งทำ"  ความศรัทธาทั้ง 4 ระดับที่กล่าวมาข้างต้น  ล้วนเป็นพฤติกรรมที่สะท้อนจากจิตอันจอมปลอม ไม่ได้เกิดจากพุทธจิตจึงเป็นจิตที่ไม่บริสุทธิ์ทั้งสิ้น  การเสแสร้ง คือ ความไม่จริงใจ เมื่อไม่ใช้จิตเดิมแท้แล้ว ก็ย่อมเป็นจิตผ่านการปรุงแต่ง เป็นจิตที่หวังจะอาศัยบารมีธรรมของสิ่งศักดิ์สิทธิ์มาบังหน้า และเล่นละครเหมือนดั่งจริงเพื่อหลอกลวงผู้อื่น  เพราะฉะนั้น ความศรัทธาแบบเสแสร้ง จึงจัดเป็นความศรัทธาระดับต่ำที่สุดในมหาศรัทธาทั้ง 8


15. ศรัทธาแบบกระจ่างแจ้ง คืออะไร ?.

 พระอาจารย์จี้กง ตอบ   :
     คำว่า  "กระจ่างแจ้ง" คือ การรู้แจ้งในหลักธรรม ไม่มีจิตใจที่เป็นมิจฉา  โง่เขลา  ฉลาดแกมโกง  และเสแสร้ง อย่างไรก็ตามแม้ความศรัทธาแบบกระจ่างแจ้งจะยังไม่ลุจุดสูงสุดของความดี แต่อย่างน้อยก็เป็นไปตามหลักทำนองคลองธรรม มีความบริสุทธิ์ผุดผ่อง มีหลักการที่ชัดแจ้ง รู้จักรักษาระเบียบวินัย อยู่ในหน้าที่ของตนไม่ออกนอกลู่นอกทาง ไม่ข่มเหงผู้อื่น มีมโนธรรมสำนึกและยึดมั่นตามหลักสัจธรรม เช่นนี้ เรียกว่า ความศรัทธาแบบกระจ่าง
หัวข้อ: ถาม - ตอบ อนุตตรธรรม (พระโอวาทพระอาจารย์จี้กง)
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 30/12/2011, 10:57
16.  ศรัทธาแบบบรรลุถึงอะไร ?.

พระอาจารย์จี้กง ตอบ :
     คำว่า  "บรรลุถึง"  หมายถึง การเข้าถึงหลักของความเป็นมนุษย์ และเป็นการเข้าถึงโดยอาศัยจิต  ความศรัทธาแบบกระจ่างที่กล่าวมาแล้วนั้น เป็นการกระจ่างแจ้งในธรรมญาณแห่งตน  ส่วนความศรัทธาแบบบรรลุถึงเป็นการปฏิบัติตน เพื่อเปลี่ยนแปลงตนเป็นคนใหม่ ไม่ผิดต่อเพื่อนมนุษย์  ไม่ผิดต่อหน้าที่การงาน  ไม่ผิดต่อคุณธรรมของฟ้าดิน  และไม่ผิดต่อสรรพสิ่ง  มีเพียงจิตที่คิดจะช่วยผู้อื่น  เสียสละตนเองเพื่อมนุษยชาติ             
หัวข้อ: ถาม - ตอบ อนุตตรธรรม (พระโอวาทพระอาจารย์จี้กง)
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 30/12/2011, 11:05
17.   มหาศรัทธา คืออะไร ?.

พระอาจารย์จี้กง ตอบ   :
     คำว่า  "มหา"  เป็นคำตรงข้ามกับคำว่า  "หีน"  (ฮีนะ)  ซึ่งเป็นความศรัทธาที่พัฒนาสูงขึ้นเหนือกว่าระดับความศรัทธาแบบกระจ่างแจ้ง มีความกลมเกลียวกับบ้านใกล้เรือนเคียง  นอกนั้นยังมีความกลมเกลียวสมานฉันท์กับทุกชนชั้น 

        ดังที่กล่าวว่า  :   "กล่าววาจาออกไปทั่วอาณาจักรโดยไม่ก่อวจีกรรม ประพฤติปฏิบัติทั่วปฐพี  โดยไม่ถูกปรักปรำ ฟ้าดินและสรรพสิ่งยังสามารถสัมผัสในบารมีธรรม  เงยหน้าไม่อายฟ้า  ก้มหน้าไม่อายดิน"   เช่นนี้จึงเรียกว่า  "มหาศรัทธา"
หัวข้อ: ถาม - ตอบ อนุตตรธรรม (พระโอวาทพระอาจารย์จี้กง)
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 30/12/2011, 11:21
18.  สุดยอดแห่งความศรัทธา คืออะไร?.

พระอาจารย์จี้กง ตออบ  :
     คำว่า  "สุดยอด"  เป็นสภาวะที่สูงสุด ความศรัทธาระดับนี้ สามารถร่วมคุณธรรมกับฟ้าดิน  สามารถร่วมแสงสว่างกับตะวันเดือน สามารถร่วมเกณฑ์การผันแปรของฤดูกาลทั้ง 4  และยังสามารถร่วมความดี ร้ายกับเทพผี  นอกจากนี้แล้ว สุดยอดแห่งความศรัทธา ยังมีความกลมเกลียวสมานฉันท์ ในทุก ๆ เรื่องและดำรงอยู่เหนือกาลเวลาทั้งในอดีตและในปัจจุบัน  ดังเช่น คัมภีร์มหาบุรุษ ที่กล่าวว่า  "ให้สิ้นสุดที่คุณากร"  (บ่อเกิดแห่งความดี)  หากกระทำได้เช่นนี้ ก็จะบังเกิดรัศมีธรรมที่เปล่งประกายเจิดจ้า  ดังที่พระพุทธองค์ตรัสว่า  "อนุตตรสัมมา สัมโพธิญาณ"  อันเป็นพุทธปฏิปทาอันประเสริฐสุด  สุดยอดแห่งความศรัทธานี้ ยังมีส่วนร่วมในการอุ้มชูและพัฒนาสรรพสิ่งภายใต้ฟ้าดิน เป็นการพรั่งพรูออกมาซึ่งสัญชาตญาณเดิมของมนุษย์ ที่เรืองรองรุ่งโรจน์ที่สุด สัญชาตญาณเดิมนี้ ได้ผสมผสานกลมกลืนอยู่ในอากาศธาตุทั่วจักกรวาล  จึงกล่าวได้ว่า ผู้บรรลุสภาวะนี้ ภายในไร้ซึ่งอัตตาที่จะฉุดช่วย ภายนอกก็ไร้ซึ่งบุคคลที่ต้องฉุดช่วย พุทธอริยเจ้าเรียกสภาวะนี้ว่า  "สภาวะที่ฟ้าดิน และสรรพสิ่งได้สมานเป็นหนึ่งเดียว"
หัวข้อ: ถาม - ตอบ อนุตตรธรรม (พระโอวาทพระอาจารย์จี้กง)
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 2/01/2012, 10:59
19 .  ในอาณาจักรธรรม หากมีผู้ที่มีใจออกห่างจากวิถีธรรม แล้วยังยุยงให้ญาติธรรมแยกตัวจากอาณาจักรธรรม หรือหลอกล่อให้ญาติธรรมไปยังลัทธินอกรีตนอกทาง เช่นนี้เบื้องบนจะพิจารณาโทษอย่างไร ?.

พระพทธจี้กง ตอบ   :
     พยายามหาวิธีช่วยเหลือให้ถึงที่สุด ส่วนพวกที่ไม่สามารถช่วยเหลือ  "ก็จนปัญญา"  เขาเหล่านั้น จะต้องแบกรับผลกรรมด้วยตนเอง ในอนาคต  แม้แต่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ก็ไม่อาจช่วยได้  สำหรับผู้ที่ยุยงให้ญาติธรรมแยกตัวจากอาณาจักรธรรม หรือหลอกล่อให้ญาติธรรมเข้าสู่ลัทธินอกรีตนอกทางนั้น ผลกรรมที่จะได้รับนั้นไม่อาจประมาณได้  แม้นต้องตกลงสู่เดรัจฉานภูฒิ ในอนาคตก็ยากจะชดใช้ผลกรรมที่ก่อได้หมด
หัวข้อ: ถาม - ตอบ อนุตตรธรรม (พระโอวาทพระอาจารย์จี้กง)
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 2/01/2012, 11:09
20.  วิธีที่ดีที่สุดในการฉุดช่วยคนมารับวิถีธรรมคือวิธีใด ?.

พระอาจารย์จี้กง  ตอบ  :
     วิธีที่ดีที่สุดในการฉุดช่วยคน  คือ   การฉุดช่วยตนเองก่อน  เพราะเหตุที่โลกียชนมีความเฉลียวฉลาด หากนำพาให้มารับวิถีธรรมโดยอาศัยมนุษย์สัมพันธ์ ซึ่งวิธีทั้งหลายนี้ เป็นธรรมวิถีที่ไม่ได้จัดอยู่ในยาน(พาหนะที่ขนสัตว์ข้ามทะเลทุกข์)ระดับสูง  ในที่สุด  เขาเหล่านั้นก็จะย้อนกลับมาพิจารณาและประเมินคุณค่าของวิถีธรรม  โดยจะสังเกตุจากความประพฤติ และ การปฏิบัติของผู้ที่จะมาฉุดช่วยเขา
     ฉะนั้น การบำเพ็ญตัวเราให้ดีก่อน จึงเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการฉุดช่วยคนมารับวิถีธรรม
หัวข้อ: ถาม - ตอบ อนุตตรธรรม พระอาจารย์จี้กง ตอบ : เหตุใดวิถีอนุตตรธรรมจึงลงโปรดสู่โลกมนุษย์ ?.
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 2/01/2012, 11:21
21.   เหตุใดวิถีอนุตตรธรรมจึงลงโปรดสู่โลกมนุษย์ ?.

พระอาจารย์จี้กง ตอบ :
     วิถีอนุตตรธรรมลงโปรดสู่โลกมนุษย์ก็เพื่อปลดเปลื้องภับพิบัติ  กอบกู้จิตใจมนุษย์ที่เสื่อมทราม  ผลักดันให้โลกเอกภาพแห่งสันติสุขอุบัติขึ้นในเร็ววัน  แปรเปลี่ยนโลกโลกีย์ให้เป็นแดนสุขาวดี  และให้วิมานเกิดขึ้นบนแดนดิน
หัวข้อ: ถาม - ตอบ อนุตตรธรรม (พระโอวาทพระอาจารย์จี้กง)
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 3/01/2012, 09:32
22.  เหตุใดวิถีอนุตตรธรรมกับภัยพิบัติจึงลงมาพร้อมกัน ?.

พระอาจารย์จี้กง ตอบ  :
     วิถีอนุตรรธรรมลงโปรดเพื่อฉุดช่วยคนดี และให้มนุษย์ได้ประจักษ์แจ้งในโฉมหน้าเดิมแท้แห่งตน  ส่วนภัยพิบัติลงมาเพื่อตักเตือนคนชั่ว และให้มนุษย์ไม่กล้าทำในสิ่งที่ชั่วร้าย


23.  การทานเจทำให้สำเร็จธรรมได้หรือไม่ ?

พระอาจารย์จี้กง ตอบ  :
     การทานเจไม่ทำให้สำเร็จธรรม การทานเจเป็นเพียงพื้นฐานของผู้บำเพ็ญธรรม เป็นการไม่สร้างหนี้เวรกรรมเพิ่มขึ้นอีก  เพราะฉะนั้น นอกจากต้องทานเจแล้ว ยังจะต้องประพฤติปฏิบัติตนในธรรมอย่างจริงจัง ช่วยผลักดันงานธรรมโดยไม่ยึดติดในบุญกุศล เมื่อกระทำสิ่งใดไว้ก็ย่อมได้รับสิ่งนั้นตอบแทนในที่สุด
หัวข้อ: ถาม - ตอบ อนุตตรธรรม (พระโอวาทพระอาจารย์จี้กง)
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 3/01/2012, 09:45
24.  ชาวโลกต่างลือกันว่าในสมัยที่องค์พุทธะเดินดิน(พระอาจารย์จี้กง)บำเพ็ญปฏิบัติธรรมนั้น มีการดื่มสุราและฉันเนื้อสุนัข อยากทราบว่ามีความเป็นจริงหรือไม่ ?.

พระอาจารย์จี้กง ตอบ  : 
     การบำเพ็ญปฏิบัติธรรมในโลกโลกีย์นั้น มักมีคำครหานินทามากมาย อนึ่ง เพื่อเป็นการเยาะเย้ยและถากถางผู้บำเพ็ญธรรมที่ไม่รักษาระเบียบวินัย ในกาลนั้น จึงได้แกล้งทำจริตดื่มสุราและฉันเนื้อ  แต่หากมาพินิจพิจารณาให้ดีก็จะรู้ว่า การดื่มสุราและฉันเนื้อ จะสำเร็จธรรมได้อย่างไร  แม้กระนั้นข่าวลือในโลกมนุษย์ก็ยังมีอยู่ทั่วไป


25.  ผู้บำเพ็ญธรรมควรเริ่มต้นบำเพ็ญอย่างไร ?.

พระอาจารย์จี้กง ตอบ  :
     ผู้บำเพ็ญธรรมควรเริ่มต้นจากการ  "เข้าถึงจิตใจ"  ของตนเองก่อน ต้องหมั่นพินิจพิจารณาว่าจิตใจของตนมีสภาพเป็นอย่างไร  เช่น หากมีข้อบกพร่องต้องรีบแก้ไข และขจัดส่วนไม่ดีให้หมดไป หากมีข้อดี ก็ควรดำรงรักษาไว้  เช่นนี้เรียกว่า  "ย้อนมองส่องตน"
หัวข้อ: ถาม - ตอบ อนุตตรธรรม (พระโอวาทพระอาจารย์จี้กง)
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 3/01/2012, 10:05
26.  การบำเพ็ญปฏิบัติธรรมในเพศของบรรพชิตที่ไม่ครองเรือนจะเหมาะกว่า การบำเพ็ญปฏิบัติธรรมแบบฆราวาสที่อยู่ในครัวเรือนหรือไม่ ?.

พระอาจารย์จี้กง ตอบ  : 
     
อ้างถึง
ผู้ออกบำเพ็ญและปฏิบัติธรรมในเพศบรรพชิต เพื่อมุ่งในการหลุดพ้นจากการเกิดตายของมวลเวไนยทั่วหล้า หากไม่บรรลุมรรคผลเป็นอริยเจ้าอย่างน้อยก็เป็นถึงปราชญ์เมธี จึงเป็นเรื่องที่น่ายินดียิ่ง  แต่ทว่าการออกบำเพ็ญและปฏิบัติธรรมในเพศของบรรพชิต เพียงเพื่อต้องการแสวงหาความวิเวก และการหลุดพ้นเฉพาะตน  ก็ไม่ต่างอะไรกับเวไนยนั้นเอง แม้จะออกบวชก็ไม่มีประโยชน์อะไร ลองพิจารณาถึงความเกี่ยวพันด้านเหตุต้นผลกรรมที่ว่า เมื่อได้ฉันอาหารที่ได้รับจากโยมอุปัฏฐากแล้ว  จะตอบแทนโยมอุปัฏฐากอย่างไรเล่า  โยมอุปัฏฐากถวายอาหารอุปการะเรา เมื่อเราสำเร็จธรรมแล้ว โยมอุปัฏฐากจะไปที่ไหนเล่า เช่นนี้ยุติธรรมหรือไม่ ทุกคนลองมาวิเคราะห์ตัดสินด้วยเหตุและผลเถิด
  ขอตรวจสอบต้นฉบับอีกครั้งก่อนนะครับ-Admin

     ด้วยเหตุนี้ หากมีผู้ที่สามารถบำเพ็ญปฏิบัติธรรม เพื่อการหลุดพ้นของเวไนยทั่วหล้าแล้ว ไม่ว่าเขาผู้นั้นจะอยู่ในเพศของบรรพชิต หรือเพศฆราวาสต่างก้ดีทั้งนั้น  เพราะการออกบวชที่แท้จริง คือการบุกเบิกธรรม คือการเผยแพร่ธรรม และคือการฉุดช่วยมวลเวไนยให้หลุดพ้นจากทะเลทุกข์ กลับคืนสู่ฝั่งนิพพานต่างหาก ส่วนการออกบวชเพื่อตบตาผู้อื่นนั้น เป็นการฉวยโอกาสเพื่อสุขสบายแห่งตน
หัวข้อ: ถาม - ตอบ อนุตตรธรรม (พระโอวาทพระอาจารย์จี้กง)
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 3/01/2012, 10:21
27.   การบำเพ็ญปฏิบัติธรรมในเพศของฆราวาสมีประโยชน์อย่างไร ?.

พระอาจารย์จี้กง ตอบ   : 
     ประโยชน์มีมากมาย  เพียงแต่จะลำบากกว่าเพศบรรพชิตเล็กน้อยเท่านั้น  อาทิ
1.  สามารถบำเพ็ญปฏิบัติธรรม และยังอยู่ดูแลครอบครัวได้
2.  สามารถบำเพ็ญปฏิบัติธรรม และไม่ต้องอาศัยโยมอุปัฏฐากในการดำรงชีวิต
3.  สามารถบำเพ็ญปฏิบัติธรรม และอุทิศเสียสละตน เพื่อประโยชน์ของมวลมนุษย์ได้
4.  สามารถบำเพ็ญปฏิบัติธรรม และไม่ผิดต่อหลักมนุษยธรรม ซึ่งมีความกตัญญูกตเวทีเป็นพื้นฐาน ทั้งยังมีโอกาสช่วยส่งเสริมสมาชิกในครอบครัวให้บำเพ็ญปฏิบัติธรรมได้อีก
5.  สามารถบำเพ็ญปฏิบัติธรรม และช่วยพัฒนาประเทศชาติโดยการชำระภาษีอากร และแสดงความจงรักภักดีด้วยการรับใช้ชาติบ้านเมืองได้อีก

     อนึ่ง เราทุกคนต้องทราบดีว่า ธรรมะไม่ได้อยู่ ณ ดินแดนแสนไกล แต่ธรรมะอยู่ที่การปฏิบัติต่อผู้อื่น ธรรมะอยู่ในตำแหน่งหน้าที่การงาน ธรรมะอยู่ในตัวเรา ธรรมะอยู่ในครอบครัวของเรา ธรรมะอยู่ในสังคมระหว่างผู้คน และธรรมะอยู่ในประเทศชาติบ้านเมือง  ฉะนั้น ทุกแห่งทุกหนจึงมีธรรมะดำรงอยู่
หัวข้อ: ถาม - ตอบอนุตตรธรรม พระอาจารย์จี้กงตอบ : การบริกรรมพระสูตรมีประโยชน์หรือไม่?.
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 4/01/2012, 10:35
                            ถาม - ตอบอนุตตรธรรม

                             พระอาจารย์จี้กงตอบ :

                28 .  การบริกรรมพระสูตรมีประโยชน์หรือไม่?.

              พระพุทธจี้กงตอบ  :

        การบริกรรมพระสูตรมีประโยชน์ที่มีขอบเขตจำกัด (การบริกรรมพระสูตรสามารถทำให้กายใจสงบได้ก็จริง แต่ก็ยังจัดอยู่ในยานระดับต่ำเท่านั้น)  ผู้ที่บริกรรมพระสูตรย่อมดำรงตนเป็นพุทธศาสนิกชน  ผู้ดำรงตนอยู่ในพุทธศาสนาย่อมไม่ก่อกรรมทำเข็ญ  ในเมื่อเขามีความศรัทธาจริงใจ รู้จักการะบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์และสวดภาวนาพระสูตร นอกจากทำให้จิตใจมีความสงบสุขแล้ว ยังทำให้รู้จักสร้างบุญสร้างกุศลอีก  ฉะนั้น  การบริกรรมพระสูตรจึงมีประโยชน์ต่อวิธีการบำเพ็ญธรรมระดับพื้นฐานเท่านั้น  แต่ทว่าวิธีการบำเพ็ญที่จัดอยู่ในยานระดับสูงนั้น  ไม่อาศัยการบริกรรมพระสูตร เพราะการบริกรรมพระสูตรนั้นไม่เทียบเท่าการเทศนาพระสูตร และการเทศนาพระสูตรก็ไม่เทียบเท่าการปฏิบัติตามหลักธรรมคำสอนในพระสูตร  จึงควรเอาเวลาที่ใช้บริกรรมพระสูตร มาศึกษาพระสูตรให้กระจ่าง และในที่สุดสามารถเป็นตัวแทนสิ่งศักดิ์สิทธิ์เทศนาหลักธรรมในพระสูตรได้  นอกจากการบำเพ็ญตนแล้ว ยังสามารถกล่อมเกลาผู้อื่นได้อีก เพราะผู้ที่ประสงค์จะประกาศสัจธรรม จำต้องประพฤติตนให้เป็นแบบอย่างตามหลักธรรมในพระสูตร จึงกล่าวว่า  "การเทศนาธรรมหรือจะสู้การประพฤติปฏิบัติธรรมตามหลักธรรมในพระสูตร" 

        สรุปแล้ว  แม้การบริกรรมพระสูตรจะมีประโยชน์  แต่ไม่ใช่วิธีการบำเพ็ญในยานระดับสูง ยานระดับสูงแห่งพุทธมรรคา คือการสำนึกปฏิบัติ ที่เคียงคู่กับหลักธรรมของฟ้าเบื้องบน  ฉะนั้น  การบำเพ็ญะรรมในยานระดับสูง จึงไม่อาศัยการบริกรรมพระสูตร
หัวข้อ: ถาม - ตอบอนุตตรธรรม พระอาจารย์จี้กงตอบ : หากผู้บำเพ็ญธรรมไม่ชัดเจนต่อบัญชีทรัพย์สินในอาณาจักรธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 4/01/2012, 10:46
                          ถาม - ตอบอนุตตรธรรม

                           พระอาจารย์จี้กงตอบ :

               29 .   หากผู้บำเพ็ญธรรมไม่ชัดเจนต่อบัญชีทรัพย์สินในอาณาจักรธรรม  ไม่ทราบว่าผลจะเป็นเช่นไร ?.

               พระอาจารย์จี้กง ตอบ   :

           ทรัพย์สินในอาณาจักรธรรม   เป็นทรัพย์สมบัติของเบื้องบน ดังคำกล่าวที่ว่า  "สตางค์แดงเดียวของเบื้องบน ยิ่งใหญ่กว่าเขาพระสุเมรุ"  ผลกรรมที่จะได้รับ จึงสันนิษฐานได้ว่าจะเป็นอย่างไร ! 

              30 .  หากผู้บำเพ็ญที่มีหน้าที่ดูแลทรัพย์สินในอาณาจักรธรรม ไม่ประหยัดในการใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่ายนั้นจะบาปหรือไม่ ?.

             พระอาจารย์จี้กง ตอบ  :

        องค์กรต่าง ๆ ในโลกมนุษย์ หรือผู้ที่รับใช้บ้านเมือง หากไม่ประหยัดในการใช้จ่าย หรือใช้จ่ายอย่างสุรุ่ยสุร่ายยังมีความผิดเลย ยิ่งเป็นทรัพย์สินของเบื้องบน หากใช้จ่ายอย่างสุรุ่ยสุร่าย ย่อมบาปแน่นอน !     
หัวข้อ: ถาม - ตอบอนุตตรธรรม พระอาจารย์จี้กงตอบ : ในธรรมกาลยุคขาวนี้ วิถีอนุตตรธรรม ได้ลงโปรด ฯ
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 6/01/2012, 09:21
                          ถาม - ตอบอนุตตรธรรม

                           พระอาจารย์จี้กงตอบ :

                31.   ในธรรมกาลยุคขาวนี้ วิถีอนุตตรธรรม ได้ลงโปรดสู่โลกมนุษย์อย่างกว้างขวาง เป็นวิถีธรรมที่ถ่ายทอดจริงตามพงศาธรรม แต่ทำไมคนส่วนใหญ่กลับไม่เชื่อ เป็นเพราะสาเหตุใด ?.

              พระพุทธจี้กง ตอบ   :

           จิตใจของมนุษย์ในปัจจุบัน  ไม่ดีงามเหมือนผู้คนในอดีต ฉะนั้นผู้ที่มีความศรัทธาอย่างเต็มเปี่ยมในวิถีอนุตตรธรรม จึงเชื่อได้ว่าเป็นผู้มีรากบุญที่ลึกและแน่นไม่เช่นนั้น ก็ยากที่จะบังเกิดความเชื่อมั่นได้ ด้วยเหตุที่วิถีอนุตตรธรรมไม่สอนให้คนยึดติดในรูปลักษณ์ภายนอก     
หัวข้อ: ถาม - ตอบอนุตตรธรรม พระอาจารย์จี้กงตอบ : วิถีอนุตตรธรรมแตกต่างกับการสั่งสมกล่อมเกลาทั่วไป ฯ
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 6/01/2012, 09:29
                             ถาม - ตอบอนุตตรธรรม

                             พระอาจารย์จี้กงตอบ :

                 32.  วิถีอนุตตรธรรมแตกต่างกับการสั่งสมกล่อมเกลาทั่วไปอย่างไร ?.

             พระอาจารย์๗ี้กง ตอบ :

           ความแตกต่างระหว่างวิถีอนุตตรธรรม กับการสั่งสอนกล่อมเกลาทั่วไป อยู่ตรงที่วิถีอนุตตรธรรมสามารถทำให้หลุดพิ้นจากการเกิดและการตายได้  ทำให้ไม่ตกอยู่ในวัฏจักรของชาติกำเนิด 4  และภูมิวิถี 6   สำหรับผลผสัมฤทธิ์ที่สูงสุดของการสั่งสอนกล่อมเกลาทั่วไป ก้แค่ทำให้ไปเกิดเป็นเทพเทวาบนชั้นเทวภูมิเท่านั้น ซึ่งเป็นการปลูกสร้างเนื้อนาบุญที่ยังอยู่ในวัฏจักรของการเวียนว่ายนั่นเอง !
     
หัวข้อ: ถาม - ตอบอนุตตรธรรม พระอาจารย์จี้กงตอบ : การทานเจมีประโยชน์ต่อการบำเพ็ญธรรมอย่างไร ?.
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 6/01/2012, 09:55
                          ถาม - ตอบอนุตตรธรรม

                            พระอาจารย์จี้กงตอบ :

                 33.  การทานเจมีประโยชน์ต่อการบำเพ็ญธรรมอย่างไร ?.

             พระพุทธจี้กง ตอบ  :

        ประโยชน์ของการทานเจมีมากมายเหลือคณานับ แต่จะกล่าวอย่างง่าย ๆ ดังนี้
1.  การทานเจทำให้ไม่ค่อยมีโรคภัยไข้เจ็บมาคุกคาม และทำให้อายุยืน ด้วยเหตุที่มนุษย์เป็นสัตว์ที่บริโภคพืชพันธุ์ธัญญาหาร ร่างกายจึงเหมาะสำหรับทานเจ สังเกตุได้จากโครงสร้างฟันของมนุษย์ที่มีลักษณะราบเรียบ จัดเรียงอย่างมีระเบียบ เหมือนกับลักษณะโครงสร้างฟันของวัวและแพะ ซึ่งจัดเป็นสัตว์ที่บริโภคพืชผักเป็นอาหาร ส่วนแมวและสุนัขนั้น มีฟันที่แหลมคม จัดเป็นสัตว์ที่บริโภคเนื้อสัตว์เป็นอาหาร  ฉะนั้น เมื่อพิจารณาตามความเหมาะสมของสภาพร่างกาย  ประกอบกับโครงสร้างฟันของมนุษย์แล้ว ก็รู้ได้ว่ามนุษย์ควรรับประทานอาหารประเภทใด  เฉกเช่น การเลือกใช้น้ำมันรถทั่ว ๆ ไป ที่ต้องใช้ให้เหมาะกับสภาพของรถยนต์ที่กำหนดไว้ หากรถยนต์ชนิดนี้ กำหนดให้ใช้นำ้มันซุปเปอร์ ก็ควรเติมน้ำมันซุปเปอร์  รถยนต์ชนิดนั้นกำหนดให้ใช้น้ำมันดีเซล ก็ควรเติมน้ำมันดีเซล  การใช้น้ำมันให้ถูกต้องและเหมาะสมตามสภาพของรถ จะทำให้ยืดอายุการใช้งานของรถยนต์ออกไปอีก  สรุปแล้ว  การใช้ชนิดน้ำมันให้ถูกต้องตามสภาพของรถยนต์ มีอิทธิพลต่ออายุการใช้งานของรถยนต์ฉันใด การบริโภคประเภทอาหารให้ถูกต้องก็มีอิทธิพลต่ออายุของชีวิตมนุษย์ฉันนั้น

2.  การทานเจทำให้ไม่ปลูกเหตุแห่งผลกรรม จากการทำลายชีวิตสัตว์โลกมนุษย์ คือโลกที่ประกอบด้วยเบณจธาตุ  (ธาตุดิน  ธาตุน้ำ  ธาตุไฟ  ธาตุทอง  ธาตุไม้ ) ที่อยู่ภายใต้วัฏจักรแห่งการตอบสนองของเหตุต้นผลกรรม ปลูกเหตุใดไว้ วัฏจักรของเบญจธาตุก้ผลักดันให้ได้รับในผลนั้น หรือที่เรียกว่าผลแห่งกรรม  ซึ่งเป็นกฏแห่งจักรวาล

3.  สามารถเสริมสร้างไอแห่งสภาวะหยัง  (สัมมาภาวะ)  เพราะกายธาตุของสัตว์เดรัจฉานเป็นสภาวะอิน (มิจฉาภาวะ)  เมื่อกินเข้าไปก็จะเป็นการสั่งสมไอที่เป็นสภาวะอินในร่างกายมนุษย์  แแต่ทว่า  อนุตตรภูมิซึ่งเป็นวิสุทธิภูมิ  (แดนบริสุทธิ์)  ที่มีแต่ไอของสภาวะหยัง มนุษย์ที่มีจิตญาณห่อหุ้มไปด้วยสภาวะอิน จึงเข้าสู่แดนอนุตตรภูมิไม่ได้

4.  ช่วยเสริมสร้างสติปัญญาในการทำงาน  การกินเนื้อสัตว์ที่มีสภาวะอิน จะทำให้มีอุปนิสัยรุนแรง และมีอารมณ์ฉุนเฉียวเร่าร้อน ส่วนอาหารเจที่มีสภาวะหยังจะช่วยเสริมสร้าง บุคลิกภาพที่อ่อนโยน มีสัมมาคารวะ และรู้จักอ่อนน้อมถ่อมตน
หัวข้อ: ถาม - ตอบอนุตตรธรรม พระอาจารย์จี้กงตอบ : ขณะนี้หมื่นลัทธิได้อุบัติขึ้นพร้อมกัน ไม่ทราบว่าจะมีผลกระทบ
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 7/01/2012, 10:04
                           ถาม - ตอบอนุตตรธรรม

                             พระอาจารย์จี้กงตอบ :

             34.  ขณะนี้หมื่นลัทธิได้อุบัติขึ้นพร้อมกัน ไม่ทราบว่าจะมีผลกระทบต่อวิถีธรรมหรือไม่ ?.

           พระอาจารย์จี้กง ตอบ  :

        ทุกสิ่งในโลกมนุษย์ล้วนเป็นของคู่กัน ไม่มีของปลอมจะปรากฏของจริงได้อย่างไร แม้หมื่นลัทธิจะกำเนิดขึ้นมากมาย แต่ก็สรุปได้เพียงสองคำคือ  "สัมมา"  และ  "มิจฉา"  เท่านั้นเอง  สัมมาค้ำจุนวิถีธรรม  มิจฉาทำลายวิถีธรรม  เมื่อจิตใจมนุษย์เป็นมิจฉา สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่บูชากราบไหว้อยู่ก็เป็นมิจฉาเทพเพราะเทพที่มีความเที่ยงตรงจะไม่ยอมมาสถิตให้คนมิจฉาบูชาหรอก !   
หัวข้อ: ถาม - ตอบอนุตตรธรรม พระอาจารย์จี้กงตอบ : อาชีพการงานที่เหมาะที่สุด สำหรับผู้บำเพ็ญธรรมคืออะไร?.
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 7/01/2012, 10:11
                         ถาม - ตอบอนุตตรธรรม

                          พระอาจารย์จี้กงตอบ :

                 35.  อาชีพการงานที่เหมาะที่สุด สำหรับผู้บำเพ็ญธรรมคืออะไร?.

            พระอาจารย์จี้กง ตอบ  :

          หากไม่มีงานทางโลกช่วยค้ำจุน งานทางธรรมก็ไม่สามารถดำเนินไปได้ เพราะฉะนั้นอาชีพการงานที่เหมาะที่สุดสำหรับผู้บำเพ็ญธรรม ควรเป็นงานที่มีประโยชน์ต่อประเทศชาติบ้านเมือง มีประโยชน์ต่ออาณาจักรธรรม มีประโยชน์ต่อมนุษยชาติในสังคม และมีประโยชน์ต่อมวลเวไนยจึงจะเหมาะที่สุด  รองลงมาก็ควรเป็นงานที่ไม่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินงานทางธรรม

             
หัวข้อ: ถาม - ตอบอนุตตรธรรม พระอาจารย์จี้กงตอบ : อานิสงส์ในการพิมพ์หนังสือธรรมะยิ่งใหญ่ขนาดไหน ในขณะ?
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 9/01/2012, 09:08
                         ถาม - ตอบอนุตตรธรรม

                          พระอาจารย์จี้กงตอบ :

                36 .  อานิสงส์ในการพิมพ์หนังสือธรรมะยิ่งใหญ่ขนาดไหน ในขณะที่หนังสือลบล้างทำลายวิถีธรรมมีบาปเพียงไร ?.

            พระอาจารย์จี้กง ตอบ  : 

         หนังสือธรรมะ ที่มีส่วนช่วยส่งเสริมวิถีธรรมนั้น บุญกุศลยิ่งใหญ่ที่สุด  ส่วนหนังสือที่ลบล้างทำลายวิถีธรรม นอกจากจะไม่ได้รับบุญกุศลแล้ว ยังต้องรับโทษอีก ด้วยเหตุที่โอกาสในการสำเร็จธรรมของผู้บำเพ็ญธรรมหนึ่งคนอาจถูกทำลายไปเพราะหนังสือที่ลบล้างทำลยวิถีธรรมได้ การพิมพ์และการเผยแพร่หนังสือที่ลบล้างทำลายวิถีธรรมจึงมีบาปมหันต์
หัวข้อ: ถาม - ตอบอนุตตรธรรม พระอาจารย์จี้กงตอบ : อาจารย์ถ่ายทอดเบิกธรรมควรมีจิตใจอย่างไร ?.
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 9/01/2012, 09:15
                               ถาม - ตอบอนุตตรธรรม

                               พระอาจารย์จี้กงตอบ :

                        37.  อาจารย์ถ่ายทอดเบิกธรรมควรมีจิตใจอย่างไร ?.

                พระอาจารย์จี้กง ตอบ  :

           อาจารย์ถ่ายทอดเบิกธรรม คือ ผู้สนองรับพระโองการสวรรค์ ถ่ายทอดวิถีธรรมแทนองค์ผู้ปกครองธรรมกาล (พระศรีอาริย์)  ต้องมีจิตใจเยี่ยงพระโพธิสัตว์ หากไม่เช่นนั้นก็ไม่เป็นไปตามพระประสงค์ของฟ้าเบื้องบน  ฟ้าเบื้องบน ประทานพระโองการสวรรค์ก็เพื่อให้ฉุดช่วยเวไนย เพื่อส่งเสริมผู้บำเพ็ญธรรมให้เข้าสู่กระแสธรรม และเพื่อบรรลุสภาวะแห่งการหลุดพ้น จากการเกิดการตาย  หาใช่เป็นการส่งมอบอำนาจให้ข่มเหงผู้อื่นไม่

        ฉะนั้น  อาจารย์ถ่ายทอดเบิกธรรมที่เผด็จการและครองอำนาจแต่ผู้เดียว ไม่เพียงแต่จะไม่มีบุญกุศลแล้ว ยังมีบาปมหันต์อีก               
หัวข้อ: ถาม - ตอบอนุตตรธรรม พระอาจารย์จี้กงตอบ : พุทธะกับเวไนยแตกต่างกันอย่างไร ?.
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 9/01/2012, 09:26
                            ถาม - ตอบอนุตตรธรรม

                             พระอาจารย์จี้กงตอบ :

                      39.   พุทธะกับเวไนยแตกต่างกันอย่างไร ?.

                พระอาจารย์จี้กง ตอบ  :

        แต่เดิมไม่มีทั้งพุทธะกับเวไนย เพราะเวไนยทั่วหล้าล้วนมีพุทธะภาวะที่เป็นหนึ่งเดียวกัน ครั้นมีเวไนยจุงมีพุทธะ  ดังหลักธรรมที่จอมปราชญ์เหลาจื้อกล่าวว่า  "ความยาวกับความสั้นเป็นของคู่กัน" 

         พุทธะ  คือผู้รู้ตื่น มีสัมมาดำริ  ไม่มีความโลภ ทุกขณะจิตล้วนเป็นจิตของฟ้าดิน

        เวไนย  คือผู้ลุ่มหลง มีมิจฉาดำริ มีความโลภทุกขณะจิต ล้วนเป็นจิตที่เห็นแก่ตัว

       สำหรับพุทธะแล้ว  สวรรค์กับนรกไม่แตกต่างอะไรกัน เมื่อจิตเป็นพุทธะ อยู่ที่ใดก็ยังเป็นพุทธะสภาวะจิตจะไม่แปรเปลี่ยนไปตามสภาพแวดล้อม

       ส่วนเวไนย  มีการแบ่งแยกสวรรค์กับนรก เมื่อยังไม่บรรลุถึงสภาวะเดิม ไปที่ไหนก็ยังคงเป็นเวไนย สภาวะจิตจึงแปรเปลี่ยนไปตามสภาพแวดล้อม   
หัวข้อ: ถาม - ตอบอนุตตรธรรม พระอาจารย์จี้กงตอบ : ขันติมีประโยชน์ต่อการบำเพ็ญธรรมหรือไม่ ?.
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 9/01/2012, 09:36
                           ถาม - ตอบอนุตตรธรรม

                             พระอาจารย์จี้กงตอบ :

                39.  ขันติมีประโยชน์ต่อการบำเพ็ญธรรมหรือไม่ ?.

            พระอาจารย์จี้กง ตอบ  :

        ขันติ มีประโยชน์แต่ไม่มากในการบำเพ็ญธรรม เพราะขันติเป็นวิธีการบำเพ็ญของเมธีชน (อริยฐานะรองมาจากพระอริยเจ้า)  ผู้ที่ยังไม่บรรลุในสัจธรรมต้องอิงขันติ แต่สำหรับผู้ที่บรรลุธรรมแล้ว ไม่จำเป็นต้องอาศัยขันติอีกต่อไป เมื่อภายในจิตใจไม่มีอคติใด ๆ ก็ไม่จำเป็นต้องมีขันติ กลับคืนสู่ความเป็นธรรมชาติไม่มีทิฐิการแบ่งแยกระหว่างอริยชนกับปุถุชน  เมื่อจิตใจมีความสงบเยือกเย็น ก็ไม่จำเป็นต้องมีขันติ เป็นสภาวะธรรมชาติแห่งพุทธะ  ซึ่งไม่ใช่ปุถุชนธรรมดาจะเข้าถึงได้ง่าย ๆ  คำว่า  "ขันติ"  เปรียบเหมือน  "มีดแทงใจ"  เจ็บปวดยิ่งนัก ฉะนั้น พุทธะอริยเจ้าจึงไม่อาศัยขันติ

        หากสามารถบำเพ็ญธรรมจนไม่อาศัยขันติ ในขณะเดียวกันในใจก็ไม่เกิดความขุ่นเคืองใด ๆ สภาพจิตก็จะมีความสุขุมเยือกเย็นไปเอง !   
หัวข้อ: ถาม - ตอบอนุตตรธรรม พระอาจารย์จี้กงตอบ : คุณวิเศษของการปฏิบัติงานธรรมปรากฏดอกบัวในรถ
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 29/01/2012, 06:17
                              ถาม - ตอบอนุตตรธรรม

                              พระอาจารย์จี้กงตอบ :

                40.  คุณวิเศษของการปฏิบัติงานธรรมปรากฏดอกบัวในรถ

        พระอาจารย์จี้กง  ตอบ :

       ขอให้มีความจริงใจศรัทธาไปรับ - ส่งญาติธรรมไม่ว่าเป็นรถแบบไหน จะปรากฏดอกบัวตูมหนึ่งดอก ดอกบัวที่บาน ล้วนเกิดจากจิตศรัทธา ไม่มีจิตใจแบ่งแยก เพราะฉะนั้นพวกเราทุ่มเทหนึ่งส่วน จะเก็บเกี่ยวได้หนึ่งส่วน แม้เหนื่อยแต่จิตใจมีความสุข เวลากลับคืนเบื้องบนเราก็มีส่วนในมรรคผล ขอให้ทุกท่านทุ่มเท ใส่ใจ อดทน ตั้งใจกับความมั่นคง ถึงแม้ถูกตีตายจิตใจก็ไม่ถอย เพื่อให้หลุดพ้นจากการเวียนว่าย - ตายเกิด ตอนนี้ธรรมเผยแพร่ทั่วโลก ได้รับธรรมะหรือเข้าชั้นอบรมธรรม ถ้าสถานธรรมจัดงานธรรมะ ญาติธรรมมาช่วยดูแลคุ้มครอง โดยไม่แบ่งเขาแบ่งเรา คนไหนมีรถมอเตอร์ไซคื รถยนต์หรือรถตู้มีความยินดีรวมกันไปส่งเสริมและรับส่งญาติธรรมมาเข้าชั้นเรียน หรือรับ - ส่ง คนมารับธรรมะ ให้เขาเข้าใจถึงจุดมุ่งหมาย เพราะทุกคนมีจิตสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเบื้องบนและพระอาจารย์ ต่างทุ่มเทกายใจ ขยันสร้างบุญสร้างกุศล
        รถตู้ของเจิ้งถันจู่ ปรากฏดอกบัวบานใหญ่ตรงกลางมีเม็ดบัว รถคันใหญ่รับ - ส่งญาติธรรมมาก ดอกบัวจะใหญ่ตาม  รถยนต์ของอาจารย์ถ่ายทอดเบิกธรรม ปรากฏฐานบัว (อาจารย์ถ่ายทอดเบิกธรรมมีพระโองการสวรรค์)  อาจารย์ถ่ายทอดเบิกธรรม เมื่อรับพระโองการสวรรค์ ได้ประคับประคองทำงานแทนพระองค์ ทุ่มเทบุกเบิกเผยแพร่ธรรมะ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ไม่เคยหยุด เบื้องบนจึงประทานฐานบัว   
หัวข้อ: ถาม - ตอบอนุตตรธรรม พระอาจารย์จี้กงตอบ : คุณวิเศษของการไหว้พระที่สถานธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 29/01/2012, 06:26
                           ถาม - ตอบอนุตตรธรรม

                            พระอาจารย์จี้กงตอบ :

                    41.  คุณวิเศษของการไหว้พระที่สถานธรรม

             พระอาจารย์จี้กง ตอบ  :

        ทุก 1 ค่ำ 15 ค่ำ  ญาติธรรมกลับมา กราบพระที่สถานธรรม บรรพบุรุษจะมาคุกเข่า อยู่ด้านหน้าสถานธรรมกราบพระ มีเทพเจ้ากวนอู และท่านหลวี่ต้งปิน เป็นพิธีกรเอก - โท พาไหว้ทุกครั้ง  ช่วงตรุษจีน (ปีใหม่) ญาติธรรมกลับมากราบพระที่สถานธรรม (หนึ่งปีมีแค่หนึ่งครั้ง ที่บรรพบุรุษสามารถเข้ามาในสถานธรรมได้)  ถึงแม้พวกเรามองไม่เห็น แต่เราโชคดีมาก ที่มีกายสังขาร สามารถสร้างบุญสร้างกุศล ได้คุกเข่ากราบพระหน้าเบื้องพระแท่น (โดยไม่ต้องรอลูกหลานมา ถึงมาได้)
หัวข้อ: ถาม - ตอบอนุตตรธรรม พระอาจารย์จี้กงตอบ : พุทธะกับเวไนยแตกต่างกันอย่างไร?.
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 8/02/2012, 03:20
                               ถาม - ตอบอนุตตรธรรม

                                พระอาจารย์จี้กงตอบ

                   42.   พุทธะกับเวไนยแตกต่างกันอย่างไร?.

             พระอาจารย์จี้กง ตอบ

        แต่เดิมไม่มีพุทธะทั้งเวไนย เพราะเวไนยทั่วหล้าล้วนมีพุทธภาวะที่เป็นหนึ่งเดียวกัน ครั้นมีเวไนยจึงมีพุทธะ ดังหลักธรรมที่จอมปราชญ์เหลาจื้อกล่าวว่า "ความยาวกับความสั้นเป็นของคู่กัน"  พุทธะ คือ ผู้รู้ตื่น  มีสัมมาดำริ ไม่มีความโลภ ทุกขณะจิตล้วนเป็นจิตของฟ้าดิน   เวไนย คือ ผู้ที่ลุ่มหลง มีมิจฉาดำริ มีความโลภ ทุกขณะจิตล้วนเป็นจิตที่เห็นแก่ตัว  สำหรับพุทธะแล้ว สวรรค์กับนรกไม่แตกต่างอะไรกัน  เมื่อจิตเป็นพุทธะอยู่ที่ใดก็ยังเป็นพุทธะสภาวจิตจะไม่แปรเปลี่ยนไปตามสภาพแวดล้อม  ส่วนเวไนยมีการแบ่งแยกสวรรค์กับนรก เมื่อยังไม่บรรลุถึงสภาวะเดิม ไปที่ไหนก็ยังคงเป็นเวไนย สภาวะจิตจึงแปรเปลี่ยนไปตามสภาพแวดล้อม
หัวข้อ: ถาม -ตอบอนุตตรธรรม พระอาจารย์จี้กงตอบ ผู้บำเพ็ญในวิถีอนุตตรธรรมจะกราบไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ?.
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 8/02/2012, 03:35
                          ถาม -ตอบอนุตตรธรรม

                            พระอาจารย์จี้กงตอบ

                 43.  ผู้บำเพ็ญในวิถีอนุตตรธรรมจะกราบไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์  นอกเหนือจากที่กราบไหว้ในอาณาจักรธรรมได้หรือไม่?.

             พระอาจารย์จี้กง ตอบ

        การบำเพ็ญธรรมก็ส่วนการบำเพ็ญธรรม การกราบไหว้ก็ส่วนการกราบไหว้ เหตุใดจะไปกราบไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์นอกเหนืออาณาจักรธรรมไม่ได้ หากเราเข้าใจความหมายของการเคารพนบน้อมสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ที่กำหนดไว้ในพุทธะระเบียบ  15  ข้อแล้ว ก็จะไม่เกิดข้อกังขาใด ๆ  ยิ่งกว่านั้น ในจริยพุทธระเบียบพิธีก็ยังมีข้อที่กราบไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั่วสากลโลกเลย  หรือว่าเราซึ่งเป็นลูกหลานของครอบครัวหนึ่ง จะเคารพนบนอบแต่ห่อแม่และพี่ ๆ ของเราเท่านั้น โดยไม่แสดงความเคารพนบนอบต่อ พ่อแม่และพี่ ๆ ของครอบครัวผู้อื่นอย่างนั้นหรือ ?.  เพีบงแต่ เมื่อได้ถือวิถีอนุตตรธรรมเป็นสรณะแล้ว ก็ไม่ควรกลับไปยังลัทธินิกายต่าง ๆ อีกเท่านั้นเอง  เพราะว่าวิถีอนุตตรธรรมเป็นการบำเพ็ญที่รู้แจ้งโดยฉับพลัน ส่วนลัทธินิกายต่าง ๆ เป็นวิถีการบำเพ็ญอย่างค่อยเป็นค่อยไป"สละต้น แสวงปลาย" 

พวกเธอไม่รู้หรอกว่าในอดีตนั้น                 
อาจารย์จะช่วยใครสักคนต้อง
ทุ่มเทใจขนาดไหน   บางครั้ง                   
ต้องให้เขาด่าว่าเสียก่อน จึงจะ 
สามารถช่วยเขาได้                               
พวกเธอทำได้บ้างหรือเปล่า ?.   
หัวข้อ: ถาม - ตอบ อนุตตรธรรม เหตุใดอาณาจักรธรรมในปัจจุบัน จึงมีการกล่าวหาและนินทาให้ร้ายกัน ฯ
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 10/02/2012, 08:11
                             ถาม - ตอบ อนุตตรธรรม

                               พระอาจารย์จี้กง ตอบ

                 44.  เหตุใดอาณาจักรธรรมในปัจจุบัน จึงมีการกล่าวหาและนินทาให้ร้ายกันระหว่างผู้บำเพ็ญธรรมด้วยกัน แท้ที่จริงแล้วเป็นเพราะเหตุใด?.

             พระอาจารย์จี้กง ตอบ  :

        จุดประสงค์ในการบำเพ็ญธรรม ก็เพื่อขจัดสภาพจิตใจที่เป็นมิจฉาเหล่านี้ ถ้าจะกล่าวถึงจิตใจที่คิดจะเบียดเบียนชีวิตสัตว์ การลักขโมยหรือประพฤติผิดในกามแล้ว อย่าว่าแต่ผู้บำเพ็ญธรรมเลย แม้แต่บุคคลที่ไม่บำเพ็ญธรรมในอาณาจักรธรรม ก็ไม่ค่อยคิดจะกระทำสิ่งผิดเหล่านี้  ฉะนั้น จิตใจที่คิดแต่จะกล่าวหาให้ร้ายผู้อื่น เป็นเครื่องกีดขวางพัฒนางานธรรม ดูอย่างผิวเผินจะไม่ร้ายแรงอะไร แต่ที่จริงแล้วเป็นอุปสรรคที่ยิ่งใหญ่ ต่อการเติบใหญ่ของธรรมกิจ หากผู้ที่ถูกกล่าวหาให้ร้าย ไม่เกิดความขุ่นเคืองใจ วิบากกรรมแต่ปางก่อนก็จะถูกลบล้างไป  สำหรับผู้ที่ปรักปรำกล่าวหาให้ร้ายผู้อื่นนั้น ต้องแบกรับหนี้บาปของตน ถ้ากระทำจนผู้ถูกใส่ร้ายป้ายสีต้องถดถอยออกจากอาณาจักรธรรม ผลกรรมที่จะได้รับนั้นประมาณมิได้ 
หัวข้อ: ถาม - ตอบอนุตตรธรรม พระอาจารย์จี้กงตอบ : หลักธรรมที่ว่า "รับก่อนแล้วค่อยบำเพ็ญ"กับ"บำเพ็ญก่อนแล้วฯ
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 10/02/2012, 08:37
                              ถาม - ตอบ อนุตตรธรรม

                               พระอาจารย์จี้กง ตอบ

                    45.  หลักธรรมที่ว่า "รับก่อนแล้วค่อยบำเพ็ญ" กับ "บำเพ็ญก่อนแล้วค่อยรับ" มีความหมายแตกต่างกันอย่างไร?.

                พระพุทธจี้กง ตอบ

        ความหมายของคำว่า "บำเพ็ญ"  คือการแก้ไขข้อบกพร่องให้สมบูรณ์ ส่วนคำว่า  "รับ"  คือการได้รับ "การได้รับ" จึงเป็นจุดหมายที่สูงสุด เพื่อง่ายในการทำความเข้าใจ จึงนำการซื้อขายสินค้าบนโลกมนุษย์มาเปรียบเทียบให้เห็น สมมุติว่ามีคนคนหนึ่งต้องการซื้อสินค้าชนิดหนึ่ง เจ้าของโรงงานที่ผลิตสินค้านั้น มั่นใจว่าผลิตภัณฑ์ของตน มีคุณภาพและไม่กลัวการทดสอบ จึงได้ส่งสินค้าไปยังผู้ซื้อเพื่อให้ทดลองใช้ก่อน แล้วค่อยชำระเงินเมื่อสิ้นเดือน หรืออนุญาตให้ยืดระยะเวลาชำระค่าสินค้าออกไป  เช่นนี้ในอาณาจักรธรรมเรียกว่า  "เป็นการรับก่อนแล้วค่อยบำเพ็ญ" 

        สำหรับการบำเพ็ญก่อนแล้วค่อยรับนั้น คือ ผู้ซื้อต้องชำระเงินค่าสินค้าก่อน แล้วจึงได้รับสินค้า เป็นการให้ค่าตอบแทนที่พอควรก่อนจึงได้รับสินค้า แต่ในที่สุดก็ได้รับสินค้าเช่นกัน  เปรียบเสมือนการซื้อขายสินค้า ที่บางแห่งต้องชำระเงินก่อนแล้วจึงมอบสินค้า บางแห่งส่งมอบสินค้าก่อนแล้วจึงชำระเงินภายหลัง ซึ่งที่จริงแล้วก็ไม่แตกต่างกันเลย

        อีกตัวอย่างเช่น เวลาเราไปทานอาหารที่ร้านอาหาร ซึ่งบางร้านให้ลูกค้าทานอาหารก่อน แล้วจึงชำระค่าอาหาร แต่บางร้านต้องให้ลูกค้าชำระค่าอาหารก่อนถึงจะทานอาหารได้  ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่ผิดแปลกอะไร เพราะนี่เป็นวิธีการดำเนินกิจการเฉพาะบุคคล

        วิธีของการบำเพ็ญธรรมก็เช่นเดียวกัน วิธีการบำเพ็ญธรรมในธรรมกาลยุคแดงใช้ระบบ  "ชำระค่าอาหารก่อนทานอาหาร"  ก็คือ  "การบำเพ็ญเพียรก่อนแล้วจึงได้รับธรรม"  ส่วนธรรมกาลยุคขาวใช้ระบบ  "ทานอาหารก่อนค่อยชำระค่าอาหาร"  ก็คือ  "การได้รับวิถีธรรมก่อนแล้วค่อยบำเพ็ญเพียร"  หากเข้าใจในหลักธรรมนี้ก็คงจะไม่มีข้อสงสัยใด ๆ อีก

        เวไนยทั้งหลาย !  ผู้บำเพ็ญธรรมทั้งหลาย !  และปราชญ์เมธีทั้งหลาย !  ขอให้มีความตั้งใจในการบำเพ็ญ ปฏิบัติ  เพื่อการหลุดพ้นของตน จะหยุดบำเพ็ญธรรมไม่ได้ อย่าได้มุ่งเข้าไปในทางตัน  อย่าได้กล่าวคำครหา  นินทาผู้อื่นอยู่ตลอดเวลา จะทำให้ทั้งตนและผู้อื่นเสียหาย หาไม่แล้วต่อให้ระยะเวลานานนัปกัปก็ยากจะหลุดพ้น
หัวข้อ: ถาม - ตอบอนุตตรธรรม พระอาจารย์จี้กงตอบ : ธรรมวิถีที่รู้แจ้งโดยฉับพลันแตกต่างกับธรรมวิถีที่บำเพ็ญแบบฯ
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 13/02/2012, 03:04
                           ถาม - ตอบอนุตตรธรรม

                            พระอาจารย์จี้กงตอบ

             46. ธรรมวิถีที่รู้แจ้งโดยฉับพลันแตกต่างกับธรรมวิถีที่บำเพ็ญแบบค่อยเป็นค่อยไปอย่างไร ?.

           พระอาจารย์จี้กง ตอบ

        ธรรมวิถีที่รู้แจ้งโดยฉับพลัน เป็นธรรมวิถีที่ชี้ตรงไปยังธรรมญาณเดิมให้เวไนยได้เข้าถึงโฉมหน้าเดิมแท้ของตน และได้ฟื้นฟูพฤติกรรมเดิมอันบริสุทธิ์ โดยเริ่มจากการกำหนดที่ฐานแห่งต้นจิตภายใน และแสดงออกโดยการประพฤติปฏิบัติภายนอก 

        สำหรับ ธรรมวิถีที่บำเพ็ญแบบค่อยเป็นค่อยไป เป็นธรรมวิถีที่พร่ำสอนให้เวไนยสร้างความดี ให้เวไนยค่อย ๆ สำนึกรู้ถึงต้นจิต เรียกว่าเป็นการเริ่มจากการปฏิบัติภายนอกเข้าสู่ต้นจิตที่เป็นฐานกำหนดเดิมภายใน 
หัวข้อ: ถาม - ตอบอนุตตรธรรม พระอาจารย์จี้กงตอบ : ปัจจุบันผู้บำเพ็ญธรรมจำนวนมากที่คับอกคับใจ ฯ
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 13/02/2012, 03:21
                             ถาม - ตอบอนุตตรธรรม

                              พระอาจารย์จี้กงตอบ

               47.  ปัจจุบันผู้บำเพ็ญธรรมจำนวนมากที่คับอกคับใจที่นักธรรมอาวุโส ไม่มีหลักธรรมใหม่ ๆ มาบรรยาย ทุกครั้งก็บรรยายหัวข้อธรรมะไม่กี่หัวข้อ กล่าวไปกล่าวมาก็ไม่กี่ประโยค เช่น คุณธรรมหลัก 3  (ซันกัง)  คุณธรรมสามัญ 5 (อู่ฉาง)  คุณธรรมสัมพันธ์ 5 (อู๋หลุน)  และคุณธรรม 8 (ปาเต๋อ)  หรือไม่ก็ให้เปลี่ยนแปลงอุปนิสัยที่ไม่ดี  แก้ไขข้อบกพร่อง   ตลอดจนให้สร้างบุญสร้างกุศล  ฟังไปฟังมาก็น่าเบื่อ ไม่ทราบว่า เช่นนี้เป็นสิ่งที่ถูกหรือไม่ ?.

           พระพุทธจี้กง ตอบ
                   
        หลักธรรมไม่มีใหม่หรือเก่า   คุณธรรมก็ไม่มีใหม่หรือเก่า  ทุก ๆ คนมีความสมบูรณ์พร้อมในธรรมญาณ หรือที่เราเรียกว่า  "ภูมิธรรมเดิม"  ภูมิธรรม
เดิมเป็นโฉมหน้าเดิมของเราที่แท้จริง  การฟังธรรมมิใช่เป็นการฟังนิยาย  หรือการดูละครที่ต้องมีสิ่งแปลก ๆ ใหม่ ๆ จึงสามารถกระตุ้นอายตนะที่ตื่นตาตื่นใจหากเป็นเช่นนี้ก็ล้วนเป็นผู้ขาดมโนสำนึก 

        แม้กล่าวเพียงไม่กี่ประโยคเช่น คุณธรรมหลัก 3   คุณธรรมสัมพันธ์ 5  คุณธรรมสามัญ 5  คุณธรรม 8   ให้เปลี่ยนแปลงอุปนิสัยที่ไม่ดี  และแก้ไขข้อบกพร่อง  ตลอดจนให้สร้างบุญสร้างกุศล  ฯลฯ  หากสามารปฏิบัติตามอย่างสุขุมโดยไม่ยึดติดในผลบุญ ก็มีความสามารถเกินพอ ในการบรรลุธรรม  หลุดพ้นจากการเกิดการตาย  ใยต้องมีหลักธรรมใหม่ ๆ มากระตุ้นให้ตื่นตาตื่นใจอีก   
หัวข้อ: ถาม - ตอบอนุตตรธรรม พระอาจารย์จี้กงตอบ : องค์พุทธะเดินดินเมตตาลูกศิษย์ของท่านล้นหลามทั่วปฐพี?.
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 15/02/2012, 02:15
                             ถาม - ตอบอนุตตรธรรม

                              พระอาจารย์จี้กงตอบ

    48.  องค์พุทธะเดินดินเมตตาลูกศิษย์ของท่านล้นหลามทั่วปฐพี ทุก ๆ วันต้องพบภัยพิบัติต่าง ๆ นานา เหตุใดองค์ท่านถึงไม่ฉุดช่วยเขาเหล่านั้นให้หมด ?.

                  พระพุทธจี้กง ตอบ

        เราพุทธะ ตรากตรำกับการฉุดช่วยลูกศิษย์ทุก ๆ วัน  แม้ลูกศิษย์สักคนก็ไม่เคยตกหล่นไป แบ่งนิรมานกายพันร้อยล้าน เพื่อฉุดช่วยลูกศิษย์ตลอดเวลา   

               
หัวข้อ: ถาม - ตอบอนุตตรธรรม พระอาจารย์จี้กงตอบ : ในเมื่อพระองค์ตรากตรำกับการฉุดช่วยลูกศิษย์แล้ว ?.
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 15/02/2012, 02:31
                             ถาม - ตอบอนุตตรธรรม

                               พระอาจารย์จี้กงตอบ

                   49.  ในเมื่อพระองค์ตรากตรำกับการฉุดช่วยลูกศิษย์แล้ว  เหตุใดยังมีผู้บำเพ็ญธรรมจำนวนมากประสบกับภัยพิบัติ ?.

                พระพุทธจี้กง ตอบ

        เฮ้อ !  เป็นเพราะเหตุต้นผลกรรมตอบสนอง เกณฑ์กำหนดของกฏแห่งสวรรค์และเจ้ากรรมนายเวรติดตามทวงหนี้ หากมีการโยงใยพันผูกด้านเหตุต้นผลกรรมและเจ้ากรรมนายเวรไม่ยอมประนีประนอมด้วย ก็สุดวิสัยที่เราจะช่วย ในเมื่อลูกศิษย์ติดหนี้เจ้ากรรมนายเวรแล้วจะให้เราพุทธะเข้าข้างลูกศิษย์ โดยไม่ให้เขาชำระหนี้กรรมได้อย่างไร  ยินยอมให้ลูกศิษย์รับการทวงหนี้ ของเจ้าหนี้นายเวรเถิด !  ทางเดียวที่จะขึ้นสู่สวรรค์เบื้องบนได้ก็คือ ชำระหนี้เวรให้หมดสิ้นไป เราพุทธะมีจุดมุ่งหมายประการเดียวในการประกอบธรรมกิจ คือการให้ลูกศิษย์ได้หลุดพ้นจากการเกิดตาย หากเข้าใจเหตุผลนี้แล้ว ตนเองก็คงไม่มีข้อกังขาในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และไม่โทษฟ้าโทษผู้อื่นด้วย
หัวข้อ: ถาม - ตอบอนุตตรธรรม พระอาจารย์จี้กงตอบ : การบำเพ็ญธรรมเป็นอย่างไร ?.
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 15/02/2012, 02:42
                           ถาม - ตอบอนุตตรธรรม

                            พระอาจารย์จี้กงตอบ

                        การบำเพ็ญธรรมเป็นอย่างไร ?.

               พระพุทธะจี้กง ตอบ

        ธรรมญาณของมนุษย์แต่เดิม มีความใสบริสุทธิ์ทุกอิริยาบทไม่ว่าจะเป็นภาวะการเคลื่อนไหวหรือภาวะสงบนิ่ง ล้วนมีธรรมะ เพราะเป็นสภาวะธรรมชาติที่ไร้รูปนามจึงไม่มีคำว่า  "บำเพ็ญธรรม"  และก็  "ไม่ต้องบำเพ็ญ"  ด้วย อย่างไรก็ตามเพราะต้องการแนะนำให้มนุษย์ได้รู้จักกับสภาพเดิมนี้ ท่านเหลาจื้อจึงได้บัญญัติคำศัพท์ว่า  "เต๋า"  หรือ  "ธรรมะ"  ไปพลาง ๆ ก่อน  ครั้นธรรมชาติแห่งธรรมญาณเดิมอันวิสุทธิ์นี้ ได้ถูกครอบงำด้วยกิเลสตัณหาและถูกบดบังด้วยความเพ้อฝันของใจมนุษย์  ดังนั้นเพื่อเป็นการฟื้นฟูโฉมหน้าเดิมอันใสบริสุทธิ์จึงต้องอาศัยการบำเพ็ญธรรม

        กล่าวโดยสรุป  การบำเพ็ญธรรม คือการกำจัดความเพ้อฝันที่หมักหมมอยู่ในจิตใจมนุษย์ และฟื้นฟูโฉมหน้าเดิมแท้นั่นเอง !
หัวข้อ: ถาม - ตอบอนุตตรธรรม พระอาจารย์จี้กงตอบ : คำว่า แจ้งจิตเห็นธรรมญาณ มีความหมายว่าอย่างไร ?.
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 16/02/2012, 16:06
                           ถาม - ตอบอนุตตรธรรม

                            พระอาจารย์จี้กงตอบ

                     คำว่า "แจ้งจิตเห็นธรรมญาณ  มีความหมายว่าอย่างไร ?.

               พระพุทธจี้งกง ตอบ

        ในเมื่อธรรญาณเป็นสภาวะเดิมของธรรมชาติ สภาวะจิตไร้ซึ่งมลทินความมัวหมอง หากเป็นเช่นนี้แล้ว ที่ว่าแจ้งจิตเห็นธรรมญานก็เป็นเพียงนามศัพท์ของขั้นตอนการบำเพ็ญธรรมเท่านั้นเอง ด้วยเหตุที่ธรรมญาณคือธรรมชาติ จิตดั้งเดิมก็ใสบริสุทธิ์ แล้วใยจะมีการแจ้งจิตและเห็นธรรมญาณได้อย่างไร ?.  แต่ถึงกระนั้น ครั้นเกิดอุปาทานและความเพ้อฝันมาครอบงำจิตใจ ทำให้สภาวะจิตมัวหมอง ไม่กระจ่างแจ้ง และส่งผลให้ธรรมญาณเดิมไม่สามารถปราฏกให้เห็นรวมทั้งพฤติกรรมต่าง ๆ ที่แสงดออกก็มิใช่เป็นพฤติกรรมที่สะท้อนจากธรรมชาติแห่งธรรมญาณเดิม เพราะฉะนั้น จึงสรุปได้ว่า

         "การขัดเกลาธรรมญาณให้กลับคืนสู่ความสว่างไสว เป็นขั้นตอนแรกของการ แจ้งจิตเห็นธรรมญาณ  ส่วนการแสดงออกซึ่งสภาวะเดิม อันบริสุทธิ์ของธรรมญาณ เป็นสภาพของการบรรลุในการแจ้งจิตเห็นธรรมญาณ
หัวข้อ: ถาม - ตอบอนุตตรธรรม พระอาจารย์จี้กงตอบ : การเก็บงานขั้นสมบูรณ์คืออะไร ?.
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 16/02/2012, 16:26
                           ถาม - ตอบอนุตตรธรรม

                            พระอาจารย์จี้กงตอบ

                      การเก็บงานขั้นสมบูรณ์คืออะไร ?.

                 พระพุทธจี้กง ตอบ

        การเก็บงานขั้นสมบูรณ์คือ  การรวมหมื่นธรรมวิถีเป็นหนึ่งเดียว  เป็นการเก็บจิตใจที่กระเจิดกระเจิงและเลอะเลือน รวมทั้งความคิดที่เลื่อยลอย กลับคืนมาเป็นโฉมหน้าเดิม อันกลมกลืนไร้ความด่างพร้อย

        ต่อตนเอง  : 

ไม่ปล่อยกายและใจให้หลงระเริง
มีจิตใจและความประพฤติที่เที่ยงตรง
จิตใจอิงสัจธรรม  และปฏิบัติตามหลักสัจธรรม

        ต่อครอบครัว   :

ดำรงตนเป็นแบบอย่างที่ดี มีความกลมเกลียวในครอบครัว
บิดามีความเมตตา กรุณา  บุตรมีความกตัญญูกตเวที
สามีอยู่ในหน้าที่ของสามี  ภรรยาก็อยู่ในจริยาของภรรยา
ทุกอย่างกลมเกลียวสมบูรณ์  ทุกคนบำเพ็ญธรรม

        ต่อประเทศชาติ   :

ไม่มีโจรผู้ร้าย  ไม่มีขุนนางคิดกบฏ
เบื้องสูงไม่ข่มเหงเบื้องล่าง
เบื้องล่างไม่หลอกลวงเบื้องสูง
ประชาราษฏร์ มีความเสมอภาคถ้วนทั่ว

        ต่อพื้นปฐพี   :

เมื่อวิถีธรรมลงโปรด ความเสมอภาคก็จะบังเกิดบนพื้นปฐพี
ผู้มีคุณธรรม และผู้มีความสามารถจะถูกเลือกเฟ้น
ผู้คนจะกล่าวแต่วาจาสัตย์ และจะมีแต่ความสมานฉันท์ จึงทำให้บุตรไม่กตัญญูเฉพาะบุพการีของตน บุพการีไม่อุปการะเฉพาะบุตรของตน
ผู้สูงอายุ มีสถานที่อยู่อาศัยยามชราภาพ
ผู้อยู่ในวัยกลางคน มีโอกาสสร้างคุณประโยชน์แก่บ้านเมือง
ผู้เยาว์ ได้เจริญเติบโตอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี
ผู้ไร้คู่ครอง ผู้กำพร้า ผู้โดดเดี่ยว ผู้พิการ และผู้ป่วย ล้วนได้รับการดูแลเอาใจใส่
ชายมีหน้าที่การงาน  หญิงมีที่พักพิง
        ทรัพย์ในดิน สินในนา ได้ถูกบุกเบิกและไม่เก็บไว้เฉพาะตน ความสามารถได้ถูกพัฒนา และไม่กระทำเพื่อตนเอง เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว จะสกัดกั้นความเจริญรุ่งเรืองของสังคนก็เป็นไปได้ยาก เพราะไม่มีทั้งอาชญากรรม ผู้ร้ายหรือผู้ก่อความไม่สงบสุข เวลาออกนอกบ้าน ก็ไม่ต้องปิดประตูหน้าต่าง สภาพเช่นนี้เรียกว่า  "โลกเอกภาพแห่งสันติสุข" 
หัวข้อ: ถาม - ตอบอนุตตรธรรม พระอาจารย์จี้กงตอบ : การโปรดฉุดช่วยทั่วไป คืออะไร ?.
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 16/02/2012, 16:38
                           ถาม - ตอบอนุตตรธรรม

                           พระอาจารย์จี้กงตอบ

                     การโปรดฉุดช่วยทั่วไป คืออะไร ?.

               พระพุทธจี้กง ตอบ 

        การเก็บงานขั้นสมบูรณ์ หมายถึง การทำให้ไม่มีจุดด่างพร้อยใด ๆ  ส่วนการโปรดฉุดช่วยทั่วไป เป็นการฉุดช้่วยมวลเวไนยสัตว์ในพื้นปฐพีให้ได้รับวิถีธรรม  ให้สดับธรรม  และกระจ่างแจ้งในธรรมญาณแห่งตน ตลอดจนถ่องแม้ในหลักสัจธรรม กล่าวโดยสรุป คำว่า  "ทั่วไป"  มีความหมายว่า  ทุกหนทุกแห่ง  ทั่วทุกสารทิศ  สถานที่ ที่ยวดยานพาหนะสามารถไปถึง  ที่ที่แสงเดือนแสงตะวันปกคลุม  ไม่ว่าผู้มีเลือดเนื้ออารมณ์  มีรูปหรือไร้รูป  มีความคิดหรือไร้ความคิด  รวมทั้งเวไนยทุกระดับ  ล้วนได้รับการฉุดช่วยให้ได้สดับรับวิถีธรรมทัั่วหน้า

        ส่วนการโปรดฉุดช่วย คือ  การกล่อมเกลาเพื่อให้เกิดความสำนึกและซาบซึ้งในวิถีธรรม จนสามารถบำเพ็ญปฏิบัติธรรม และฟื้นฟูโฉมหน้าเดดิมอันสมบูรณ์ในที่สุด  หากเมื่อใดที่เวไนยทั่วหล้าได้รับการปรกโปรดฉุดช่วยทั้งหมด เมื่อนั้นจึงจะกล่าวได้ว่า

 "โปรดฉุดช่วยถ้วนทั่ว
เก็บงานธรรมขั้นสมบูรณ์" 
                                                     ~  จบเล่ม  ~