นักธรรม
ห้องสมุด "นักธรรม" => หนังสือ => ข้อความที่เริ่มโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 30/09/2011, 02:35
-
ไขหลักจิตภาวะสัจธรรม
ถ้อยแถลงจากผู้เรียบเรียง
เมื่อเป็นต้นฉบับภาษาจีนอยู่ ข้าพเจ้ารู้สึกหนักใจในการตีความ เพราะค่อนข้างยากและลุ่มลึก แต่เมื่อแปลเป็นภาษาไทยแล้ว กลับกลายเป็นคำพูดตื้น ๆ ธรรมดา แม้ท่านจอมปราชญ์เหลาจื้อจะกล่าวไว้ว่า " ธรรมะมิใช่กล่าวอ้างได้ด้วยวาจา " แต่ก็มิอาจใช้เป็นข้ออ้างสำหรับการแปลที่ไม่สมบูรณ์นี้ได้
ข้าพเจ้ายังคงต้องกราบขอประทานพระแม่องค์ธรรม ได้โปรดนิรโทษกรรม
กราบขอประทานอภัยจากพระอาจารย์จี้กง ในความผิดพลาดบกพร่อง
กราบขออภัยต่อท่านผู้อ่านทั้งหลาย ที่หวังว่าจะได้รับรู้ความหมายอันลึกซึ้งแยบยลของหนังสือต้นฉบับภาษาจีน ที่แปลออกมาในภาคภาษาไทยเล่มนี้
นอกจากจะเป็นความเสียใจอย่างสุดซึ้งที่ไม่อาจถ่ายทอดความหมายได้ครบถ้วนแล้ว ข้าพเจ้ายังถือเป็นภาระที่จะพยายามศึกษา ทำความเข้าใจให้ดียิ่งขึ้นต่อไปโดยไม่หยุดยั้ง เพื่อจะได้แก้ไขเรียบเรียงให้ละเอียดลึกซึ้งและถูกต้องกว่านี้
ศุภนิมิต
เรียบเรียง
-
ไขหลักจิตภาวะสัจธรรม
คำนำจากพระพุทธะจี้กง
เต๋า คือสัจธรรม ไม่เข้าใจสัจธรรม จะบำเพ็ญธรรมอย่างไร ฉะนั้น ก่อนจะบำเพ็ญจึงจำต้องรู้สัจธรรม วิธีจะเข้าใจสัจธรรมไม่มีอะไร อยู่ที่มีข้อสงสัยให้ถามเท่านั้น น่าเสียดายชาวโลกล้วนอับอายที่จะลดตัวลงถาม จึงเป็นเหตุให้ยิ่งสงสัย ยิ่งหลงผิด หลงผิดแล้วไม่สำนึกรู้ ห่างไกลไปจากธรรมะ หนทางใหญ่สัจธรรมตั้งแต่เริ่มโปรดสัตว์ อย่างกว้างขวางเป็นต้นมา คนเดิมที่ได้รับวิถีธรรมมิใช่ไม่มาก แต่จะหาผู้ที่เข้าใจสัจธรรมบำเพ็ญนั้นกลับน้อยดั่งดวงดาวยามฟ้าสางนี่เพราะเหตุใด ล้วนเกิดจากสงสัยแต่ไม่ถาม ถามแต่ไม่อาจรู้แจ้งนั่นเอง เหตุด้วยเราเห็นเป็นเช่นนี้ จึงได้เขียนไขตามข้อสงสัย การตอบแต่ละข้อพยายามอธิบายความหมายชัดเจน ให้คำนิยามเรียบง่าย ในหลายสิบหัวข้อนี้ แม้ไม่กล้ากล่าวว่าสมบูรณ์นัก แต่ก็เพรียบพร้อมในหลักคร่าว ๆ อาจใช้เพื่อประกอบการศึกษาพิจารณาได้ รวมความว่า จุดมุ่งหมายของเรา คือเพื่อให้ผู้บำเพ็ญถ่องแท้ต่อหลักสัจธรรมจากการรู้เห็นนี้ เพื่อเป็นแนวทางสำหรับผู้มุ่งบำเพ็ญ เพื่อคลายข้อสงสัยให้กระจ่างสำหรับผู้ชื่นชมแสวงธรรม
หากทุกคนทำตามเช่นนี้ได้ แม้ไม่อาจบรรลุจุดสุดยอด ก็ยังสามารถล้างบาปเวรแต่ชาติปางก่อน พร้อมกันพ้นจากทะเลทุกข์ ร่วมสู่สัมมาวิถี ซึ่งเป็นความหวังอย่างยิ่งจากเรา
ณ ปีหมินกั๋วที่ยี่สิบเก้า
วันพระหนึ่งค่ำ เดือนสิบสองข้างจีน
-
ไขหลักจิตภาวะสัจธรรม
ถ้อยแถลงจากนักธรรมแซ่กัว
ดังได้สดับมาว่า วิถีธรรมของปรมาจารย์ขงจื้อ เมิ่งจื้อ เป็นหลักวิถีจริงแห่งจิต เป็นความหมายรวมคำสอนของสามศาสดาไว้ด้วยกัน ( ศาสนาปราชญ์ขงจื้อ ศาสนาเต๋าเหลาจื้อ และศาสนาพุทธ ) เป็นนาวาวิเศษฉุดช่วยชาวโลก ด้วยเหตุที่ใจคนตกต่ำ แบบแผนดีงามของชาวโลกเสื่อมทราม ก่อให้เกิดมหันตภัย ทำลายชีวิตทั้งหลายอย่างไม่เคยมีมาก่อน ดังนั้น พระอนุตตรอภิภูซึ่งทรงไว้ด้วยมหาเมตตา มิอาจปล่อยให้คนดีคนชั่วปะปนกัน ถูกทำลายทั้งหมด ทั้งหยกและหิน
จึงโปรดประทานวิถีอนุตตรธรรมอุบัติในมณฑลซันตง เผยแผ่ความหมายแยบยลของจิตสัจธรรม ให้ปรากฏขึ้นใหม่ เมื่ออายุของโลกดำเนินมาได้ครึ่งหนึ่งตามกำหนดกาล ปราชญ์บัณฑิตคืนชีพในยุคนี้ ปลุกวิถีอริยะ ประกาศหลักธรรมแท้แต่ต้นเดิม เพื่อเป็นหลักต่อต้านและฉุดรั้งความเสื่อมทราม
ดุจกลองระฆังค่ำเช้า อันจะปฏิรูปคุณสัมพันธ์การปกครองซึ่งตกต่ำ เพื่อหวังปลุกเร้าคนโง่เขลาให้ตื่นใจ รีบเร่งแก้ไขสภาพอันเสื่อมทราม กล่อมเกลาวัฒนธรรมดีงาม ฟื้นฟูโลกกษัตริย์เหยาซุ่น ให้เจริญใหม่ในวันนี้ เพื่อชีวิตอุดมสุขของประชาราษฏร์ ให้สันติสุขเป็นเอกภาพ ปรากฏขึ้นใหม่อีกครั้งในโลกยุคสุดท้ายนี้ แต่น่าเศร้าที่ชาวโลกส่วนใหญ่ยังคงหลงใหลไม่สำนึก ถูกกิเลสตัณหาครอบงำ แย่งชิงกันเพื่อลาภสักการะ แข่งขันใช้เล่ห์เหลี่ยมกลโกง บัดนี้มีแต่จะเลวลง และแผ่วงกว้างออกไป คุณธรรมความดีแต่ก่อนสูญสิ้น จนไม่อาจวาดภาพอนาคตของมนุษยชาติได้ เช่นนี้ หากไม่รีบเร่งฉุดช่วยชีวิตนับพัน ๆ ล้าน จะต้องตกอยู่ในหุบเหวของความทุกข์ ตกอยู่ในสังคมเน่าร้าย ที่ไม่มีวันจะใสสะอาดอีกต่อไป
สัจอนุตตรธรรมลึกล้ำแยบยล แม้ผู้ใดได้สดับก็ยากที่จะเข้าใจได้ตลอด วิถีนั้นก็ไม่ได้ปรากฏให้เห็นอย่างเด่นชัด จึงเกิดความเข้าใจผิด คิดว่าสัจอนุตตรธรรมเป็นมิจฉาวิชา พาให้หลงเชื่องมงาย ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงซึ่งความลึกซึ้งแยบยลในสัจอนุตตรธรรม จึงทำให้คนทั่วไปเกิดความลังเลสงสัย แม้พระพุทธองค์ หรือ จอมปราชญ์ขงจื้อจะอุบัติ ณ บัดนี้ ก็ไม่อาจกระตุ้นให้คนเช่นนั้นตื่นใจได้ในบัดดล
พระพุทธจี้กงทรงทราบปัญหา ด้วยพระมหาเมตตา จึงโปรดบัญชาให้ข้าพเจ้าทั้งหลาย แบ่งแยกกันเรียบเรียง และตอบปัญหา ซึ่งพระองค์ได้โปรดประทับทรงแก้ไข อีกทั้งทรงโปรประทานตอบปัญหาด้วยพระองค์เองสิบกว่าข้อ
หนังสือเล่มนี้ ใช้เวลาจัดทำอยู่หลายเดือน จึงสำเร็จออกมาเป็นรูปเล่ม ใช้ปกชื่อว่า ไขหลักจิตภาวะสัจธรรม (ซิ่งหลี่ซึอี๋) สาระในเล่มประกอบด้วย การตอบปัญหาเกี่ยวกับพระธรรมคำสอนของพระศาสดาทั้งสาม ซึ่งผู้อ่านสามารถทำความเข้าใจได้โดยง่ายดาย
เป็นคำตอบที่ไขข้อข้องใจในอนุตตรธรรม และเป็นปาฐกถาธรรมของพระอริยเจ้า ที่มุ่งปลุกใจเวไนยสัตว์โดยแท้ เมื่อเรียบเรียงเป็นรูปเล่มแล้ว พระอาจารย์ ฯ โปรดบัญชาให้เขียนคำนำ ข้าพเจ้าด้อยด้วยปัญญาความรู้และโวหาร จึงหวังในความกรุณาจากท่านผู้อาวุโส ได้โปรดชี้แนะจะเป็นพระคุณยิ่ง
กัวถิงต้ง
มกราคม ปีหมินกั๋วที่ 29 ( พ.ศ. 2473 )
-
ไขหลักจิตภาวะสัจธรรม
ความหมายที่แท้จริงของ " เต๋า " หรือ ธรรมะ
การกำเนิดของโลกเราครั้งนั้น ฟ้าดินยังคงคลุกเคล้ารวมกันเป็นกลุ่มของอากาศธาตุ ปราศจากสรรพสิ่ง ไม่มีกลิ่นและสำเนียงใด ๆ มีแต่พลังอันศักดิ์สิทธิ์แยบยลแฝงอยู่ ดังที่จอมปราชญ์เหลาจื้อท่านอนุมานไว้ว่า " ธาตุแท้ของสัจธรรมที่ก่อให้เกิดฟ้่ดิน ซึ่งไม่มีชื่อให้เรียกได้ในบางต้น ขอกำหนดสัญลักษณ์เป็นฐานคือ O วงกลม " ศักย - พลานุภาพ ที่ก่อให้เกิดสรรพสิ่ง ซึ่งมีชื่อให้เรียกได้ในภายหลัง ขอกำหนดสัญลักษณ์เป็นฐานคือ -------------- เส้นเหยียด ทั้งธาตุแท้ของสัจธรรมและศักย - พลานุภาพ ที่มีอยู่ในความว่างเปล่าอันประมาณขอบเขตมิได้นี้เรียกว่า " เต๋า " หรือ " ธรรมะ " ธรรมะกว้างใหญ่ไร้รูป จำต้องอาศัย O วงกลม เป็นสมมุติฐาน
วงกลม O เป็นภาวะสงบหยุดนิ่งของธรรมะ ก่อนที่จะเหยียดเส้นออกไป วงกลม เป็นสัญลักษณ์ของธรมะอันว่างเปล่า
เส้นเหยียด --------------- เป็นภาวะเคลื่อนตัวของวงกลม
เส้นเหยียด เมื่อแผ่ขยายออกไปจึงกลายเป็นสรรพสิ่งหมื่นแสน เป็นอรรถประโยชน์ที่เกิดจากธรรมะ เมื่อเส้นเหยียดหดตัว จะรวมไว้ในจุดเดียว(.) เมื่อจุดยืดขยายจะกลายเป็นเส้นเหยียด -------------- จากวงกลมไปสู่เส้นเหยียด จากเส้นเหยียดหดตัวมาเป็นจุด (.) เป็นขบวนการเปลี่ยนแปลงของการเคลื่อนตัวที่ไม่มีขีดจำกัดของธรรมะ เป็นขบวนการเปลี่ยแปลงของการสงบหยุดนิ่งของการเหยียดขยายแผ่ไพศาล และเป็นการรวมตัวของธรรมะ เมื่อธรรมะขยายจะประจุเต็มเป็นหนึ่งเดียว เมื่อหนึ่งเดียวรวมตัวซ่อนเร้นจะกลายเป็นจุด ธรรมะจึงกว้างใหญ่ ไม่มีอะไรอยู่ภายนอกความกว้างใหญ่ได้ ธรรมะจึงเล็กละเอียด ไม่มีอะไรเล็กกว่าแฝงไว้ในความเล็กได้ ธรรมะจึงมีอยู่ทุกสภาวะ ธรรมะจึงห่อหุ้ม โอบอุ้มให้สรรพสิ่งเจริญอยู่ได้ในสัจธรรม ธรรมะจึงซอกซอนโยงใยให้เกิดความสมดุลระหว่างสรรพสิ่ง ธรมะจึงครอมคลุมรูปธรรมและสรพสิ่งทั้งหลาย ธรรมะจึงเป็นความว่าง ที่มีอยู่ในสภาวะของความว่างอันวิเศษ ธรรมะจึงเป็นต้นพลัง ที่กำหนดกำเนิดสรรพสิ่งอันศักดิ์สิทธิ์ต่อมา ธรมะที่มีอยู่ในธรรมจักรวาลเราเรียกว่า " หลักสัจธรรม " ธรมะที่มีอยู่ในมนุษย์ เราเรียกว่า" ธาตุแท้ธรรมญาณ " ธาตุแท้ธรรมญาณ คือคุณสมบัติร่วมของสัจธรรม ธาตุแท้ธรรมญาณ คือสัจธรรมที่มีอยู่ในสรรพสิ่งชีวิตสังขาร
ทุก ๆ คน มีธาตุแท้ธรรมญาณอันเป็นสัจธรรมแห่งตน แต่ไม่รู้ว่ามีอยู่ แม้นรู้ตัวตนจุดนี้ของตนได้ ก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลงใหญ่ไปสู่ความหลุดพ้น แต่หากหลงใหลไม่รู้จุดนี้ ก็จะเป็นผีสู่ทางนรก จึงมีคำกล่าวว่า " อ่านจนหมื่นพันคัมภีร์ขาดวิ่น มิสู้ได้รู้จุด " จุดนั้นเป็นธาตุแท้ธรรมญาณ ที่เป็นจุดเริ่มต้นของ คุณธรรมทั้งสี่ ไปสู่หมื่นพันความดีงาม คือ....(คุณธรรมทั้งสี่ แสดงให้เห็นธาตุแท้และความเป็นหนึ่งของสัจธรรม)
เมตตา เป็นจุดเริ่มต้นของความสงสารเห็นใจเมื่อผู้อื่นทุกข์ยาก
มโนธรรมสำนึก เป็นจุดเริ่มต้นของความละอายต่อบาป ความอัปยศอดสูทั้งปวง
ปัญญา เป็นจุดเริ่มต้นของความไม่หลงผิด คิดร้าย อิจฉาริษยา ฯลฯ และรอบรู้การอันควร
จริยา เป็นจุดเริ่มต้นของความเสียสละ เป็นผู้ให้ ไม่โลภมาก แย่งชิง
ธาตุแท้ของเมตตา เป็นเส้นตรง ----------- ของมโนธรรมสำนึก จุดรวมธาตุแท้ของเมตตากับมโนธรรมสำนึก และจุดรวมธาตุแท้ของจริยาปัญญาคือ "สัจจา" คือสัจธรรม คือธาตุแท้ธรรมญาณ ท่านศาสดาจารย์ขงจื้อกล่าวไว้ว่า "คนดีขาดสัจจะ มิรู้การอันควร" หากขาดสัจธรรมหรือธาตุแท้ธรรมญาณแล้ว กายสังขารนั้นย่อมไร้คุณค่า เส้นโยงแนวตั้ง และเส้นแนวนอน ประกอบกัน แสดงให้เห็นถึงธาตุแท้ของสัจธรรมและศักยภาพของสัจธรรมที่ครอบคลุมจักรวาลอันมิรู้จบ ดังที่ท่านจอมปราชญ์เหลาจื้อได้กล่าวไว้ว่า "ธาตุแท้ของธรรมะไม่มีรูปลักษณ์ใด ๆ ให้เห็น แต่มีพลานุภาพก่อให้เกิดฟ้าดิน" "ธาตุแท้ของธรรมะไม่มีจิตสัมพันธ์ให้ยึดเหนี่ยว แต่มีพลานุภาพให้ดาวเดือนเคลื่อนโคจรอยู่ได้" "ธาตุแท้ของธรรมะไม่มีนามกำหนดให้เรียก แต่มีอานุภาพก่อกำเนืดและชุบเลี้ยวสรรพสิ่งได้" ก่อนจะมีฟ้าดิน ธาตุแท้ของธรรมะมีคุณสมบัติกำหนด กำเนิดฟ้าและสรรพสิ่งอยู่พร้อมมูลแล้ว ภายหลังเมื่อมีฟ้าดินแล้ว ธาตุแท้ของธรรมะก็กระจาย พลานุภาพ ครอบคลุมเสริมสร้างสรรพสิ่งให้เจริญเฟื่องฟูต่อไป สรุปให้เห็นง่าย ๆ คือ
ธรรมะคือ ธาตุแท้ที่ ไม่มีนามรูป
ธรรมะคือ ธาตุแท้ที่ เป็นต้นกำเนิดของฟ้าดิน
ธรรมะคือ ธาตุแท้ที่ กำหนดสัญลักษณ์เป็นวงกลม O
ธรรมะคือ ธาตุแท้ที่ สงบนิ่ง
ธรรมะคือ ธาตุแท้ที่ ลึกซึ้งว่างเปล่า
ธรรมะคือ ธาตุแท้ที่ เป็นสูญญตา
ธรรมะคือ ธาตุแท้ที่ เป็นหนึ่งเริ่มต้นของสรรพสิ่ง
ธรรมะคือ ธาตุแท้ที่ ไม่มีเสียง ไม่มีกลิ่น
ธรรมะคือ ธาตุแท้ที่ เป็นอมตะแยบยล
ธรรมะคือ ธาตุแท้ที่ เป็นหลักในแนวตั้ง
ธรรมะคือ ธาตุแท้ที่ เป็นความแน่นอน ไม่เปลี่ยนแปลง
ธรรมะคือ ธาตุแท้ที่ เมื่อรวมตัวจะซ่อนเร้น
ธรรมะคือ ธาตุแท้ที่ สถิต ณ จุดญาณทวารในกายสังขาร
ธรรมะคือ คุณสมบัติที่ ก่อให้เกิดสรรพนาม
ธรรมะคือ คุณสมบัติที่ ก่อให้เกิดสรรพสิ่ง
ธรรมะคือ คุณสมบัติที่ กำหนดสัญลักษณ์เป็นเส้นตรง -------------
ธรรมะคือ คุณสมบัติที่ เคลื่อนตัว
ธรรมะคือ คุณสมบัติที่ มีอานุภาพศักดิ์สิทธิ์ วิเศษล้ำ
ธรรมะคือ คุณสมบัติที่ มีอยู่อย่างแยบยล
ธรรมะคือ คุณสมบัติที่ มีมืด สว่าง เกิด ดับ
ธรรมะคือ คุณสมบัติที่ ก่อกำเนิดไม่หยุดยั้ง
ธรรมะคือ คุณสมบัติที่ เป็นความซับซ้อนเช่นแนวขวาง
ธรรมะคือ คุณสมบัติที่ เป็นความเปลี่ยนแปลงที่ไม่แน่นอน
ธรรมะคือ คุณสมบัติที่ เมื่อกระจายออกจะครอบคลุมจักรวาล
ธรรมะคือ คุณสมบัติที่ แพร่หลายเป็นหลักธรรมคำสอน
ตารางเปรียบเทียบธาตุแท้และคุณสมบัติของธรรมะ
ธรรมะคือธาตุแท้ที่ ธรรมะคือคุณสมบัติที่
ไม่มีนามรูป ก่อให้เกิดสรรพนาม
เป็นต้นกำเนิดของฟ้าดิน ก่อให้เกิดสรรพสิ่ง
กำหนดสัญลักษณ์เป็นวงกลม O กำหนดสัญลักษณ์เป็นเส้นตรง -------------
สงบนิ่ง เคลื่อนตัว
ลึกซึ้ง ว่างเปล่า มีอานุภาพศักดิ์สิทธิ์วิเศษล้ำ
เป็นสูญตา มีอยู่อย่างแยบยล
เป็นหนึ่งเริ่มต้นของสรรพสิ่ง จากหนึ่งกระจายไปหมื่นแสน
ไม่มีเสียง ไม่มีกลิ่น มีมืด สว่าง เกิด ดับ ฯลฯ
เป็นอมตะ แยบยล ก่อกำเนิดไม่หยุดยั้ง
เป็นหลักแนวตั้ง เป็นความซับซ้อน เช่นแนวขวาง
เป็นความแน่นอนที่ไม่เปลี่ยนแปลง มีความเปลี่ยนแปลงที่ไม่แน่นอน
เมื่อรวมตัวจะซ่อนเร้น เมื่อกระจายจะครอบคลุมจักรวาล
สถิต ณ จุดญาณทวารภายใน เป็นหลักธรรมคำสอนภายนอก ฯลฯ
-
ไขหลักจิตภาวะสัจธรรม
เต๋ากับคนมีความสัมพันธ์กันอย่างไร
ในคัมภีร์ทางสายกลาง (จงอยง) จารึกไว้ว่า "เต๋า คือสิ่งซึ่งมิอาจขาดหายจากไปแม้ชั่วขณะ สิ่งที่ขาดหายหรือไปจากได้ ไม่ใช่เต๋า" เต๋าคือหลักสัจธรรม เป็นวิถีที่ชีวิตจะต้องดำเนินตาม ผู้ใดดำเนินชีวิตไปตามคุณธรรมวิถีเต๋า ก็จะเปรียบได้ดังรถไฟที่แล่นไปตามราง ดังเรือยนต์ที่แล่นไปทางน้ำ ดังเครื่องบินที่บินไปตามเส้นทางอากาศ แต่หากรถไฟพ้นไปจากราง เรือยนต์พ้นไปจากทางน้ำ เครื่องบินพ้นไปจากเส้นทางอากาศ อันตรายจะเกิดขึ้นมากมาย ผู้ใดแม้พ้นไปจากวิถีแห่งคุณธรรม เมื่ออยู่ในสังคมก็จะถูกกฏหมายลงโทษ อยู่ในนรกก็จะถูกพยายมลงโทษตกสู่กงกรรม เวียนว่ายในชาติกำเนิดสี่และชีววิถีหก คือ
ชาติกำเนิดสี่
1. เกิดเป็นตัว
2. เกิดเป็นไข่เปลือกแข็ง
3. เกิดเป็นสัตว์น้ำ
4. เกิดเป็นแมลงต่าง ๆ
ชีววิถีหก คือ 1. เทพเทวา 2. มนุษย์ 3. อสูร 4. เดรัจฉาน 5. เปรต 6. ผีนรก
หมุนเวียนเปลี่ยนไปไม่รู้จบ เป็นทะเลทุกข์สุดประมาณ ท่านจอมปราชญ์ขงจื้อกล่าวไว้ว่า "กัลยาณชนพึงยึดมั่นในวิถีธรรมอันดีงาม" กัลยาณชนจะวิตกต่อการหยุดยั้งของวิถีสัจธรรม แต่มิกังวลต่อความยากจนเฉพาะตน" เมื่อปราชญ์เอี๋ยนจื่อได้รับแล้ว ท่านก็ประคองรักษาปฏิบัติชั่วชีวิตโดยมิผิดพลาด ต่อมาเมื่อปราชญ์เจิงจื่อได้รับแล้ว ท่านก็ระมัดระวังรักษาปฏิบัติมิให้บกพร่อง หมั่นสำรวมในสามสถานทุกวันว่า
"การใดหรือที่เรารับทำหรือร่วมด้วย โดยขาดความซื่อสัตย์จงรักภักดี
เพื่อนคนใดหรือที่เราคบด้วยโดยขาดสัจจะความจริงใจ
ความรู้ใดหรือที่เราได้รับถ่ายทอดโดยขาดการฝึกฝนทบทวน "
ดังนี้จะเห้นได้ว่า ธรรมะกับคนมีความสัมพันธ์ต่อกันอย่างแน่นแฟ้น น่าเสียดายที่คนเรามักไม่ใส่ใจ ท่านจอมปราชญ์ขงจื้อรำพึงว่า "ใครเลยที่ออกไปได้โดยไม่ผ่านทางประตู แต่ทำไมจึงไม่ดำเนินตามวิถีนี้"
-
ไขหลักจิตภาวะสัจธรรม
ปัจยการของเต๋า
คัมภีร์คุณธรรม (เต้าเต๋อจิง) ของศาสนาเต๋า จารึกไว้ว่า "ธาตุแท้ของเต๋า ไม่มีรูปลักษณ์ใด ๆ ให้เห็น แต่มีพลานุภาพก่อให้เกิดฟ้าดิน" ยืนยันให้เห็นว่าต้นกำเนิดของฟ้าดินเกิดจากธาตุแท้ของเต๋า เต๋าจึงมีอยู่ก่อนฟ้าดิน ในหนังสือบันทึกพงศาวดาร (สื่อจี้) จารึกไว้ว่า "ฟ้าเบิกดิถีเกิดมีเมื่อเกณฑ์ชวด และจะพินาศไปเมื่อถึงเกณฑ์จอ" "แผ่นดินเกิดมีเมื่อเกณฑ์ฉลู และจะพินาศไปเมื่อเกณฑ์ระกา "คนเกิดมีเมื่อเกณฑ์ขาล และจะพินาศไปเมื่อถึงเกณฑ์วอก" เมื่อแรกเริ่มที่มีคนเกิดขึ้นในเกณฑ์ขาล จิตใจของคนมีความดีงามเป็นพื้นฐานเดิม เพราะถือกำเนิดจากฟ้าเบื้องบน ความเป็นไปของชีวิตคนขึ้นอยู่กับฟ้าเบื้องบน จึงยังไม่มีเต๋าให้กล่าวอ้าง กำหนดกาลต่อมา คนถือกำเนิดจากคน ความเป็นไปของชีวิตคนขึ้นอยู่กับตนเอง (จะขึ้นสวรรค์ตกนรกตนเป็นผู้กำหนดตน) บรรพกาลครั้งห้าพันกว่าปีก่อน อริยกษัตริย์ฟู่ซีเฝ้าพิเคราะห์ความเป็นไปของฟ้าดินจนรอบรู้กำหนดกาลความแปรผันและปรากฏการณ์ต่าง ๆ ของฟ้าดินที่ดำเนินไปตามกฏเกณฑ์ของธรรมชาติ จึงเริ่มขีดเส้นเป็นขีดแรกให้เป็นสัญลักษณ์ของฟ้า จากนั้นก็ขีดเป็นสัญลักษณ์ของดิน น้ำ ลม ไฟ ภูเขา หนอง บึง ฯลฯ โดยขีดเส้นยาวสลับกัน เช่น ฟ้า ----- ดิน - - - - - น้ำ ดังนี้ แสดงให้เห็นถึงความแยบยลลี้ลับของฟ้าดิน และครั้งนั้นเองที่วิถีแห่งเต๋าเริ่มลงมาสู่ชาวโลก ต่อมาเมื่อถึงยุคของเซวียนเอี๋ยน หรือ ฮวงตี้มหาราช (ประมาณสี่พันปีก่อน) ความเจริญทางวัตถุและวัฒนธรรมก็รุ่งเรืองขึ้นอย่างรวดเร็ว มีการสร้างปราสาทราชวัง ผ้าผ่อนแพรพรรณ สร้างอักษรจีน และวางแผนวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม เป็นกำหนดกาลที่เต๋าได้เริ่มวางแผนพื้นฐานเป็นเส้นทางชีวิต ต่อจากนั้นก็มาถึงยุคสมัยของมหาราชผู้ทรงคุณธรรมตามลำดับ คือ เหยา ซุ่น อวี่ ทัง อุ๋น อู่ โจวกง สืบสายวิถีแห่งเต๋า ต่อมาเป็นพงศาธรรม ถ่ายทอดวิถีแห่งจิตสู่กันโดยตรง ในแต่ละสมัยแต่ละพระองค์เป็นการเฉพาะ ในยุคนั้น เป็นเกณฑ์กำหหนดธรรมกาลยุคเขียว (ชิงหยังฉี) มีวิถีธรรมเป็นทางตรงโดยสมบูรณ์ ยังไม่มีศาสนาหรือลัทธิอื่นใด จนกระทั่งถึงสมัยของอิวลี่อ๋อง อ๋องผู้หยาบช้าหลงในกามคุณ อีกทั้งทรราชทั้งห้า คือ ฉีหวนกง จิ้นอุ๋นกง ซ่งเซียนกง ฉินมู่กง และฉู่จวงอ๋วง ฮึกหาญตามกันมาแต่ละสมัย จนฐานะฮ่องเต้ที่เคยได้รับการยกย่องว่เป็นบุตรแห่งสวรรค์ (เทียนจื้อ) ขาดความศักดิ์สิทธิ์ไป เต๋า หรือวิถีธรรมจึงได้แปรไป โดยผันเข้าสู่ธรรมกาลยุคแดง และกระจายวิถีธรรมออกมาเป็นสามศาสนา คือ ศาสนาพุทธ ศาสนาเต๋าของเหลาจื้อ และศาสนาปราชย์ของขงจื้อ ที่เรียกว่าการแบ่งแยกของ "เต๋า" จอมปราชญ์เหลาจื้อถือกำเนิดมาในโลกนี้ เพื่อเผยแผ่ศาสนาเต๋า ท่านได้โปรดเดินทางไปถึงแคว้นหลู่ แห่งมณฑลซันตง เพื่อถ่ายทอดวิถีธรรมแด่ท่านขงจื้อ จนมีคำเล่าลือที่บ้านเกิดของท่านขงจื้อว่า "หลังจากนั้นท่านจอมปราชญ์ขงจื้อก็ชื่นชม จนต้องอุทานด้วยความฉงนว่า "ความสูงส่งของท่านเหลาจื้อประดุจมังกรที่ผงาดฟ้าด้วยลีลาอันล้ำลึกพิศดารโดยแท้" สุดท้าย ท่านจอมปราชญ์เหลาจื้อก็เดินทางไปทางทิศตะวันตก ผ่านด่านหันกู่กวนเพื่อจะเดินทางไปโปรดสัตว์ในดินแดนทางทิศตะวันตกของจีนต่อไป เมื่อไปถึง พลันเบื้องบนท้องฟ้าของด่านหันกู่กวนก็ปรากฏรัศมีสว่างจ้าเป็นฉัพพรรณรังสีไปทั่ว นายด่านเห็นบุญญาธิการของท่านเหลาจื้อเช่นนั้น จึงกราบวิงวอนขอให้ท่านได้โปรดประทานพระโอวาทไว้เป็นที่ระลึก ท่านเหลาจื้อจึงได้โปรดเขียนพระธรรมคำสอนเป็นคัมภีร์คุณธรรม (เต้าเต๋อจิง) ด้วยอักษรห้าพันตัว และนั่นเป็นจุดเริ่มต้นของศาสนาเต๋า
ท่านจอมปราชญ์ขงจื้อ จาริกไปตามบ้านเมืองน้อยใหญ่ทั้งหลายเพื่อแพร่ธรรมคำสอน กำหนดแบบแผนวัฒนธรรม และระเบียบประเพณี ขัดเกลาโคลงสร้างของกาพย์ กลอน โคลง ฉันท์ฯ อบรมชี้แนวทางและให้การศึกษาแก่คนรุ่นหลังตามที่ได้รับสืบทอดมาจากบรรพจารย์อรรถาธิบายหลักสัจธรรมและวางรากฐานของทฤษฏีที่ไม่เปลี่ยนแปลงเป็นอมตะให้ได้รู้ความวิเศษลึกซึ้ง ซึ่งรวมอยู่ไว้ในคัมภีร์ "มหาสัตถ" (ต้าเสวีย) และ "ทางสายกลาง" (จงยง) และนั่นเป็นจุดเริ่มต้นของศาสนาปราชญ์ ท่านขงจื้อได้ถ่ายทอดวิถีอนุตตรธรรมแด่ศิษย์เอก นามว่า "เจิงจื้อ" สมัยต่อมา เจิงจื้อ ได้ถ่ายทอดต่อไปให้แก่ศิษย์เอกคือ "ปราชญ์เมิ่งจื้อ" จากสมัยเมิ่งจื้อไปแล้ว ชีพจรของวิถีอนุตตรธรรมก็ดำเนินไปเฟื่องฟูอยู่ชมพูทวีป จากนั้นวิถีอนุตตรธรรมที่ถ่ายทอดจากจิตจึงได้ทิ้งช่วงการถ่ายทอดในประเทศจีนลง กาลเวลาได้ล่วงเลยต่อมาอีกหลายสมัย จากสมัยราชวงศ์ฉิน ฮั่น จิ้น ตั้ว และราชวงศ์ถัง มีผู้แซ่ซร้องสาธุการต่อวิถีอนุตตรธรรมกันมากมาย ซึ่งได้รู้แต่คำเล่าลือ ผู้ที่เข้าถึงและรู้แท้นั้นหามีไม่
-
ไขหลักจิตภาวะสัจธรรม
ปัจยการของเต๋า
จนกระทั่งถึงรัชสมัยของราชวงศ์ซ่ง เบื้องบนได้โปรดเบิกวิถีฟ้าใหม่ ดวงดาวทั้งห้า (ทอง ไม้ น้ำ ไฟ ดิน) ได้มาชุมนุมกันในตำแหน่งที่บ่งชี้ชะตาแผ่นดินจีน จากนั้น ท่านซีอี๋ ซึ่งเก็บตัวบำเพ็ญ ณ ฮว๋าซันบรรพตอยู่หลายสมัย จึงได้ปรากฏองค์ออกโปรดสัตว์ แสดงความนัยแห่งวิถีอนุตตรธรรม จากนั้น อริยปราชญ์ ผู้บำเพ็ญเป็นเอกในวิสุทธิวิถีแห่งจิตทั้งห้าท่าน จากสี่ฐานของแผ่นดินก็ปรากฏออกตามลำดับคือ...
ท่านโจวตุนอี๋ แห่งเมืองเหลียนซี
ท่านเฉิงเห่าและเฉิงอี๋ สองพี่น้องแห่งเมืองลั่วหยัง
ท่านจางไจ้ แห่งเมืองกวงจง และ
ท่านจูซี แห่งเมืองหมิ่นจง
จากนั้น หลักธรรมแท้โดยท่านจอมปราชญ์ขงจื้อ ก็ได้อาศัยอริยปราชญ์รุ่นหลังทั้งห้าท่านจรรโลงสืบต่อ และเฟื่องฟูขึ้นอีกครั้งหนึ่ง แต่น่าเสียดายที่หมายกำหนดชะตาของท่านทั้งห้ามิได้มาบรรจบสืบทอดพงศาธรรมต่อไป ด้วยในสมัยของท่านจอมปราชญ์เมิ่งจื้อ วิถีธรรมได้เปลี่ยนเส้นทางของการถ่ายทอดไปสู่ชมพูทวีป ศาสนาพุทธรับช่วงตามกำหนดกาลของเบื้องบน ดังนั้น แม้ในสมัยราชวงศ์ซ่ง จะปรากฏอริยปราชญ์มากมาย แต่ท่านเหล่านั้นก็ได้แต่รับพระธรรมโองการเพียงอรรถาธิบายความหมายแห่งวิถีอนุตตรธรรมเท่านั้น
พระศากยฯ พุทะเจ้า ได้โปรดพระมหากัสสปอัครสาวกจนสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าองค์ที่หนึ่งในศาสนาพุทธ กาลนั้น วิถีอนุตตรธรรมซึ่งเป็นหนึ่งเดียวจึงได้แยกออกเป็นศาสนาทั้งสามคือ ศาสนาพุทธ ศาสนาเต๋า (ท่านเหลาจื้อ) ศาสนาปราชญ์ (ท่านขงจื้อ) ซึ่งต่างก็เผยแผ่พระธรรมคำสอนไปในดินแดนภาคพื้นนั้น ๆ และต่างก้ถ่ายทอดหลักธรรมเฉพาะไว้
ศาสนาพุทธ ได้ถ่ายทอดเฉพาะองค์สืบต่อมายี่สิบแปดสมัย จนถึงพระโพธิธรรม ในครั้งราชวงศ์เหลียงอู่ตี้ พระโพธิธรรมได้จาริกสู่ประเทศจีน วิถีสัจธรรมอันแยบยลไม่เป็นที่เปิดเผยก้กลับคืนสู่ประเทศจีนอีกครั้ง เหมือนกระแสน้ำที่ไหลคืนมา เริ่มแต่พระโพธิธรรมจาริกสู่ประเทศจีน วิถีสัจธรรม ก็เริ่มสืบสายต่อไปไม่หยุดยั้ง เริ่มแต่พระโพธิธรรมจาริกสู่ประเทศจีน วิถีสัจธรรม ก็สืบสายต่อไปไม่หยุดยั้ง......
จาก พระโพธิธรรม สู่..
2. พระสังฆปรินายกเสินกวง
3. พระสังฆปรินายกเซิงซั่น
4. พระสังฆปรินายกเต้าซิ่น
5. พระสังฆปรินายกหงเหยิน
6. พระสังฆปรินายกเว่ยหล่าง
จากพระสังฆปรินายกเว่ยหล่างเป็นต้นไป ได้สิ้นสุดการมอบหมายบาตรและจีวรเพื่อเป็นสัญลักษณ์ในการถ่ายทอดสืบต่อพงศาธรรม ในครั้งนั้น สาธุชนได้แบ่งวิถีธรรมออกเป็นสองฝ่าย ตามความเข้าใจของตน ดินแดนทางทิศใต้ ท่านเว่ยหล่าง พระธรรมาจารย์สมัยที่หก ถ่ายทอดฯ ปกครองอยู่ เรียกว่าฝ่ายให้ "รู้แจ้งฉับพลัน" ส่วนทางเหนือนั้นพระธรรมาจารย์เสินซิ่ว ปกครองอยู่ เรียกว่าฝ่ายให้ "บำเพ็ญค่อยเป็นไป" โดยความจริงแล้ว วิถีธรรมถึงกาลถ่ายทอดสู่ฆราวาส เมื่อท่านเว่ยหล่างได้โปรดท่าน ไป่อวี้ฉัน และท่าน หม่าตวนหยัง สืบทอดเป็นพระธรรมาจารย์สมัยที่เจ็ด สืบต่อจากพระองค์
กาลนั้น เรียกว่า "วิถีธรรมได้โปรดสู่ชาวบ้าน" จากพระธรรมาจารย์ไป๋ และ พระธรรมาจารย์หม่า ซึ่งเป็นพระธรรมาจารย์สมัยที่เจ็ดแล้ว ต่อมาก็คือ
8. พระธรรมาจารย์หลัวอุ้ยฉวิน
9. พระธรรมาจารย์หวงเต๋ยฮุย
10. พระธรรมาจารย์อู๋จื่อเสียง
11. พระธรรมาจารย์เหอเหลียวขู่
12. พระธรรมาจารย์เอวี๋ยนทุ่ยอัน
13. พระธรรมาจารย์สวีหวนอู๋ และ พระธรรมาจารย์หยังหวนซวี
14. พระธรรมาจารย์เหยาเฮ่อเเทียน
15. พระธรรมาจารย์หวังเจวี๋ยอี
16. พระธรรมาจารย์หลิงชิงซวี
ครบสิบหกสมัย ซึ่งนับเป็นพระธรรมาจารย์ในธรรมกาลยุคแดง จากนั้น ก็เริ่มวาระธรรมกาลยุคขาว พระศรีอริยเมตตรัยเสวยอายุกัปล์ปกครองธรรมกาล มีพระธรรมาจารย์ลู่ฯ สมัยที่ 17 เป็นปฐมกาล กาลนั้นวิถีธรรมได้ถ่ายทอดปรกโปรดสาธุชนอย่างกว้างขวาง ความนัยอันแยบยลแห่งวิถีอนุตตรธรรมก็ได้รับการอรรถาธิบายเปิดเผยเป้นครั้งใหญ่ สุดท้ายนี้ พระธรรมาจารย์กงฉัง และ พระธรรมจาริณีจื่อซี ร่วมกันรับสนองพระภาระบัญชาเก็บงานขั้นสุดท้ายจากเบื้องบน เริ่มงานปรกโปรด เทพเทวา สาธุชน วิญญาณนรก และในที่สุดคือการรวมทุกศาสนาไว้คืนสู่วิถีธรรมเดียวกัน ก่อนยุคสามสมัย(ซันไต้) คือ ราชวงศ์เซี่ยซังและโจว วิถีธรรมอยู่กับองค์ประมุขบ้านเมือง คุณธรรมบารมีของผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดินพระองค์เดียว มีผลต่อจิตใจความดีงามของประชาราษฏร์ทั้งหมด กาลนั้น เปรียบดั่งฤดูดอกไม้ผลิ เรียกว่าธรรมกาลยุคเขียว ผู้คนส่วนใหญ่มีจิตใจดี หลังยุคสามสมัย วิถีธรรมอยู่กับปราชญ์ผู้บำเพ็ญ
ศาสนาเต๋า ศาสนาขงจื้อ และศาสนาพุทธ เกิดขึ้นตามลำดับ ต่างเผยแผ่คำสอนอยู่ในแต่ละทิศทางภาคพื้นนั้น ๆ กาลนั้น เปรียบดั่งฤดูร้อน เรียกว่าธรรมกาลยุคแดง ผู้คนมีจิตใจเสื่อมทรามมากขึ้น บัดนั้น กาลกำหนดของวิถีธรรมได้ย่างเข้าสู่ปลายกัปล์ นับเป็นยุคสุดท้าย เปรียบดั่งฤดูใบไม้ร่วง (เริ่มจากวันคิมหันต์ ปี พ.ศ. 2472 เป็นต้นมา) ผู้คนส่วนใหญ่มีจิิตใจเสื่อมทราม มหันตภัยเกิดขึ้นทั่วไปในโลกหมดสิ้นแดนดิน สันติสุข วิถีธรรมอยู่กับฆราวาส ทุกคนมีโอกาสบรรลุวิถีธรรมสำเร็จเป็นพระพุทธะได้ กาลนี้เรียกว่า ธรรมกาลยุคขาว วิถีธรรมมีแนวทางผันแปรสืบต่อมาดังกล่าวนี้
-
ไขหลักจิตภาวะสัจธรรม
จุดหมายแห่งธรรมปฏิบัติ
จุดหมายแห่งธรรมปฏิบัติ มีดังนี้คือ
1. เคารพฟ้าดิน
2. รู้จักกราบไหว้บูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์
3. รักชาติ ซื่อสัตย์ต่อหน้าที่
4. สำรวมตนดีมีจริยธรรม
5. กตัญญูต่อบิดามารดา เคารพครูบาอาจารย์
6. สัตย์จริงต่อเพื่อน โอบอ้อมอารีย์ต่อเพื่อนบ้าน
7. เปลี่ยนแปลงตนให้มีแต่กุศลความดี
8. รู้จักปฏิบัติในคุณสัมพันธ์ห้า และคุณธรรมแปด
9. เชิดชูจุดหมายอันวิเศษในคำสอนของพระศาสดาทั้งห้า
10. ดำเนินตามกรอบการปกครองทั้งสี่ และคุณธรรมพื้นฐานห้า อันเป็นจริยธรรมแต่โบราณมา
11. ชำระล้างจิตใจไม่วิตกมัวหมอง
12. อาศัยกายสมมุติ บำเพ็ญจิตแท้ ฟื้นฟูพุทธญาณอันเป็นธรรมชาติแห่งตน
13. โน้มนำที่สุดแห่งความดีงามของจิตภาวะและจิตวิสัยให้ปรากฏ
14. ดำรงตนอยู่ในธรรมและช่วยให้ผู้อื่นดำรงอยู่ในธรรม
15. เพื่อการบรรลุธรรมแห่งตนและช่วยให้ผู้อื่นได้บรรลุ
16. เพื่อฉุดช่วยให้โลกได้สันติสุข
17. เพื่อแปรเปลี่ยนจิตใจของคนให้ดีงาม โดยหวังความเสมอภาคให้เกิดแก่โลก อันเป็นจุดหมายเฉพาะแห่งธรรมปฏิบัติโดยแท้
การถ่ายทอด
ธรรมปฏิบัติดังกล่าวไม่มัเบื้องหลัง ไม่มีประโยชน์สืบเนื่องทางโลก ไม่มีองค์การ ไม่มีดำริมิชอบ ไม่ขัดต่อการปกครองอันดีงามต่อสังคมใด ๆ เป็นทางกว้าวใหญ่ เปิดเผย สดใสดังแก้วผนึก เป็นธรรมวิถีอันสว่างไสว ดังที่ท่านขงจื้อกล่าวไว้ว่า "อบรมสั่งสอนคนทั่วไป โดยไม่แยกชั้นวรรณะ" และอีกคำหนึ่งที่กล่าวว่า "แต่หากใฝ่ใจในทางผิด ผลภัยก็จะมากมาย"
-
ไขหลักจิตภาวะสัจธรรม
วัฏจักรมีหรือไม่
ในวัฏจักรในภาษาจีนใชคำว่า "หลุนหุย" "หลุน" คือวงล้อรถ "หุย" คือเวียนไปรอบวง ที่เห็นฟ้าเวียนไปรอบหนึ่ง เท่ากับแผ่นดิน (โลก) เวียนไปหนึ่งรอบ ฟ้าดินจึงเปรียบเสมือนโม่หิน ที่โม่เวียนไปบนฐานโม่ ดังนั้น จึงก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงของฤดูกาลทั้งสี่ และลมฝนเนื่องกัน นั่นคือวัฏจักรใหญ่ของฟ้าดิน ทุกวันคืน ตะวันเดือนจะเคลื่อนคล้อยผ่านฟากฟ้าไปหนึ่งรอบ ตะวันเดือนจะส่องแสงสว่างให้แก่พื้นโลกสลับกัน การเวียนไปที่ไม่หยุดยั้งนี้ ทำให้เกิดมีกลางวันและกลางคืนของโลก นั่นคือวัฏจักรเล็กระหว่างโลกกับตะวันเดือน พลังที่ก่อให้เกิดวัฏจักรของฟ้าดินตะวันเดือน และความเปลี่ยนแปลงของฤดูกาลก็คือ อิน - หยาง (อิน คือ พลานุภาพที่เป็นลบ เป็นความมืด เป็นความหนาวเย็น ๆ หยัง คือพลานุภาพที่เป็นบวก เป็นความสว่าง เป็นความร้อน) วัฏจักรของความเปลี่ยนแปลงคือ เมื่อถึงที่สุดของอินแล้ว หยังก็จะเริ่มเกิดขึ้น เมื่อถึงที่สุดของหยังแล้ว อินก็จะตามมา เช่นเดียวกับสภาวะของขั้วโลกเหนือกับขั้วโลกใต้ เมื่อขั้วโลกใต้อยู่ในมุม 36 องศา จะอยู่ในสภาวะชัดแจ้งไม่แฝงเร้น เป็นที่สุดของหยังหรือขั้วหยัง ขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้ ก่อให้เกิดวัฏจักรของฟ้าดิน ฉะนั้น สรรพสิ่งทั้งหลาย ท่ามกลางฟ้าดิน ซึงอยู่ภายใต้ตะวันเดือน จึงตกอยู่ในวัฏจักรของการเปลี่ยนแปลงทั้งสิ้น คนเราเกิดมาท่ามกล่างพลานุภาพอันสุขุมของฟ้าดิน เจริญเติบโตขึ้นด้วยคุณวิเศษแห่งพลานุภาพของตะวันเดือน ด้วยกายสังขารที่เป็นภาวะอิน แต่มีภาวะหยังค้ำชูเสริมสร้างอยู่ ไม่มีขณะใดเลยที่คนเราไม่ได้อยู่ภายใต้การครอบคุม ของฟ้าและการรองรับของแผ่นดิน ไม่มีขณะใดเลยที่มิได้ตกอยู่ภายใต้แสงส่องของตะวันเดือน เช่นนี้แล้ว มีหรือที่จะพ้นจากวัฏจักรของโลกนี้ได้ ฉะนั้น ใครก็ตามที่ปล่อยตัวปล่อยใจไปกับอิน ผู้นั้นก็จะตกอยู่ในภาวะของอิน ผู้ใดที่ใฝ่ทางสว่างหยัง ผู้นั้นก็จะล่วงพ้นขึ้นสู่ภาวะหยังได้ ตะวันมีภาวะเป็นหยัง ดวงเดือนมีภาวะเป็นอิน ดวงเดือนปรากฏในเวลากลางคืนเป็นภาวะของอิน ที่สงบนิ่ง ผู้คนจึงต้องเข้าสู่ภาวะสงบนิ่งตามไป เมื่อตะวันพ้นขอบฟ้าเวลาเช้า เป็นภาวะของหยังที่เคลื่อนไหว ผู้คนจึงต้องเข้าสู่ภาวะตื่นตัวทำการทำงาน สรรพสิ่งที่ดำเนินชีวิตไปตามภาวะของฟ้าดิน จะจบสิ้นภาวะหยังเริ่มภาวะอิน คือเวียนไปสู่ความเป็นผีในความมืด หรือจะจบสิ้นจากภาวะอินเริ่มภาวะหยัง คือเวียนมาเกิดเป็นคนใหม่ในโลกมนุษย์ ความแยบยลของเหตุและผล ที่ทวีขึ้นหรือลดน้อยลงของพลังลบของอินหรือพลังบวกของหยัง เป็นสัจธรรมของวัฏจักรของฟ้าดิน และตะวันเดือน วัฏจักรชองชีวิตมีการเกิดหกช่องทางคือ เทพเทวา มนุษย์ อสูร เปรต เดรัจฉาน และผีนรก มีรูปกำนเิดของการเกิดสี่เหล่าคือเกิดเป็นตัวตน เกิดเป็นฟองไข่ เกิดในน้ำ และเกิดในที่อับชื้น เกิดเป็นคน มีร่ำรวยสูงศักดิ์ และยากจนต่ำต้อย เมื่อรวยถึงที่สุด ความจนจะเกิด เมื่อจนถึงที่สุด ความรวยจะเกิด เมื่อสูงศักดิ์ถึงที่สุด ความต่ำต้อยจะเกิด เมื่อต่ำต้อยถึงที่สุดความสูงศักดิ์จะเกิด สรรพสิ่งที่ถึงที่สุดของภาวะนั้น ๆ แล้ว จะแปรเปลี่ยนไปในทางตรงกันข้าม คนเมื่อถึงที่สุดแล้ว ก็แปรเปลี่ยนเป็นสรรพสัตว์ สรรพสัตว์ก็แปรเปลี่ยนเป็นคน ชีวิตที่เกิดจากฟองไข่ ก็จะแปรเปลี่ยนไปเกิดเป็นแมลง ในที่อับชื้น ชีวิตที่เกิดจากที่อับชื้น ก็จะแปรเปลี่ยนไปเกิดเป็นชีวิตที่เกิดจากฟองไข่ วนเวียนจากเกิดเป็นตาย ตายแล้วเกิดในวัฏจักร ซึ่งจะเป็นขอบวงกว้างบ้างเล็กบ้าง ดีบ้างชั่วบ้าง คนบ้างสัตว์บ้าง เทพเทวาบ้าง ผีบ้าง อุปม่ดั่งเข็มนาฬิกาที่เวียนไปเรื่อย ๆ วัฏจักรนี้จึงเป็นหนทางกลที่ลวงให้หลงวกวน ซึ้งแม้ชายชาตรีวีรชนก็ไม่อาจตีฝ่ากรอบกรงนี้ออกไปได้ ดั่งตอนหนึ่งในพระคัมภีร์ที่ว่า
" อ่านจนวัชร ฯ คัมภีร์ขาดวิ่น
ภาวนาสิ้นมหาเมตตา ฯ สูตร
ปลูกแตงผลที่ได้ยังคงเป็นแตง
ปลูกถั่วก็ได้ถั่ว
แม้มิได้รับรู้จุดนั้นจากพระวิสุทธิอาจารย์
ตราบนานเท่านานยังคงเวียนว่ายต่อไป
-
ไขหลักจิตภาวะสัจธรรม
การล่วงพ้นการเกิด - ตาย คืออย่างไร
ซุ่นจื้อฮ่องเต่ ซึ่เป็นปฐมบรมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ชิง ได้ทรงประพันธ์คำกลอนสะท้อนชีวิตไว้บทหนึงเมื่อพระองค์ทรงออกผนวช ว่า
"เมื่อมาเกิดก็เลอะเลือน
เมื่อตายก็หลง
เท่ากับเกิดมาไม่ได้อะไรในโลกนี้
ก่อนที่ฉันจะเกิด ใครคือฉัน
หลังจากเกิดมีฉันแล้ว ฉันคือใคร
เมื่อเติบใหญ่จึงได้รู้ตัวฉันเอง
แต่เมื่อหลับตาเคลิ้มไป ใครคือฉัน
เพราะฉะนั้น ไม่มาและไม่ไปจะดีกว่า
ไม่ต้องพาให้วิตกและโศกเศร้า "
เราจะเห็นได้ว่า วิญญาณนั้นกลัวความเกิด แต่เขาจะไม่เกิดได้หรือ คนกลัวการตาย แต่เขาจะไม่ตายได้หรือ ท่านปราชญ์จวงจื้อ เคยกล่าวไว้ว่า
"อันที่จริงฉันไม่ปรารถนาที่จะเกิด
แต่พลันฉันก็ต้องเกิดมาในโลกนี้
อันที่จริงฉันไม่ปรารถนาที่จะตาย
แต่พลันกำหนดการตายก็มาถึง "
การวนเวียนอยู่กับการเกิดและตาย ไม่รู้แก่นสารอันแท้จริงของชีวิต เป็นการเดินทางพเนจรอยู่ในเส้นทางของการเกิดตาย ที่เปรียบได้ดั่งทะเลทุกข์อันหาขอบเขตมิได้ ฉะนั้น หากหวังจะหลุดพ้นจากความตาย ให้ใฝ่หาจุดสิ้นสุดของการเกิดเสียก่อน จะหาจุดสิ้นสุดของการเกิด จะต้องหาวิถีที่พาชีวิตให้ล่วงพ้นจากการเกิดได้เป็นเบื้องต้น แม้นหากได้พบพระวิสุทธิอาจารย์ ได้รับการชี้นำให้รู้วิถีทางอันไพศาล (วิถีอนุตตรธรรม) ขอถอนชื่อจากบัญชีในยมโลก จารึกลงทะเบียนไว้ในบัญชีสวรรค์ ก็จะพ้นจากหน้าที่ควบคุมของพญายม พ้นจากเงื้อมมือของยมทูต กาลนี้ หากแม้มิใช่กำหนดกาลยุคสามสุดท้ายปลายกัปล์ของโลก วิถีสัจธรรมนี้จะยังไม่ถึงการปรกโปรด ซึ่งจะพ้นจากการเกิด - ตาย นั้นจะยากยิ่งนัก ดังคำกล่าวในคัมภีร์ที่ว่า " เดินย่ำจนรองเท้าเหล็กสึกโหว่ก็หาพบไม่ แต่เมื่อถึงเวลาจะได้ก็ง่ายดายไม่ยากเลย " เป็นความจริงทีเดียว
-
ไขหลักจิตภาวะสัจธรรม
การได้รับวิถีธรรมมีความยากอยู่สี่ประการอย่างไร
การที่จะได้รับวิถีธรรมมีความยากอยู่สี่ประการ คือ
1. ยากนักที่จักได้เกิดกายเป็นคน
2. ยากนักจักได้เกิดทันยุคที่สาม
3. ยากนักจักได้เกิดกายในศูนย์กลางโลก
4. ยากนักจักได้พบวิถีสัจธรรม
ท่านจอมปราชญ์เหลาจื้อ กล่าวไว้ว่า "เรามีความทุกข์กับกายสังขารนี้ แต่เรารักกายสังขารนี้" ที่เรามีความทุกข์กับกายสังขารนี้ เพราะกายสังขารนี้มีหู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นนายโจรทำลายเรา เมื่อนายโจรนัยน์ตาเห็นรูป นายโจรหูได้ยินเสียง นายโจรจมูกได้ดมกลิ่น นายโจรลิ้นได้ลิ้มรส นายโจรกายได้สัมผัส และนายโจรความคิดได้เกิดโลภหลง อาทิ เงินตรา นารีที่ยั่วเย้าอยู่ภายนอก และอารมณ์ทั้งเจ็ดที่เบ่งบานอยู่ภายใน ประกอบเข้าด้วยกัน เมื่อมโนธรรมสำนึกไม่อาจเป็นหลัก เมื่อจิตที่ใฝ่ต่ำระเริงไม่อาจควบคุมได้ นรกขุมลึกจึงได้ก่อขึ้นสนองรับ กายสังขารนี้จึงเป็นทุกข์ คน มีชีวิตที่สูงส่งกว่าสรรพสิ่งชีวิตใด ๆ จิต (ธรรมญาณ) อาศัยดำรงอยู่ในกายสังขาร กายสังขารก็อาศัยจิตดำรงความมีชีวิตไว้ ธาตุแท้ของชีวิตจึงไม่พ้นไปจากกายสังขาร ซึ่งเป็นธาตุสมมุติ ทั้งธาตุแท้และธาตุสมมุติจึงประกอบอยู่ด้วยกัน ดังพระคัมภีร์ที่ว่า "สริสัมภวะ รูปอยู่กับความว่าง (กายสังขารอยู่ได้ด้วยธรรมญาณ) "ความว่างอยู่กับรูป (ธรรมญาณเป็นชีวิตได้ด้วยกายสังขาร)" คนจึงต้องอาศัยกายสังขารนี้บำเพ็ญ เพื่อให้ธรรมญาณหลุดพ้นการเวียนว่าย แม้ปราศจากกายสังขารนี้ ธรรมญาณนี้จะหลุดพ้นได้อย่างไร ที่ว่าเรารักกายสังขารเป็นฉะนี้ จึงกล่าวว่า " ยากนักจักได้เกิดกายเป็นคน"
แม้มิรู้ในสัทธรรม ไม่รู้แจ้งความเป็นจริงของชีวิต ไม่รู้แจ้งในคุณและโทษของชีวิตก็จะเหลวไหลผ่านไปชั่วชีวิตหนึ่ง ในยุคสามมหันตภัยครั้งสุดท้ายนี้ ก้เท่ากับเป็นยุคเบิกดิถีสามศุภธรรมกาลด้วย (ซันหยังไคไท่) ภัยพิบัติกับศุภวาระเกิดขึ้นคู่กัน เป็นยุคที่ธรรมกาลยุคเขียว ยุคแดง และยุคขาวถึงกาลพลักผันพร้อมกันทั้งหมด วิถีอนุตตรธรรมอันสูงส่ง เบื้องบนจะไม่โปรดประทานให้ แม้มิใช่วาระอันควรได้รับ อุปมากับผู้ป่วยหนักจักต้องได้รับก่ารเยียวยารักษา ให้ตรงต่อสมุฐสนของโรค เช่นเดียวกัน วิถีธรรมอันได้โปรดถ่ายทอดในครั้งนี้เพื่อรับมือกับมหันตภัย ในยุคที่สามยุคมหันตภัยครั้งสุดท้ายนี้ ภัยจากน้ำ ลม ไฟ ความทุกข์ที่เกิดจากน้ำ ไฟ ศาสตราวุธ การสงคราม ความแห้งแล้ง น้ำท่วม อดอยาก ข้าวยากหมากแพง เกิดขึ้นประดังกัน เป็นปรากฏการณ์เลวร้ายที่ไม่เคยมีมาก่อน ฉะนั้น แม้มิใช่สัจธรรมไซร์ ไม่อาจกอบกู้ชาวโลกให้พ้นจากภัยพิบัติครั้งนี้ได้ เมื่อเบื้องบนโปรดประทานเบิกดิถีศุภธรรมกาล วิถีอนุตตรธรรม จึงได้ปรกโปรดชุบชูญาณทั้งมวล จึงได้กล่าวว่า "ยากนักจักได้เกิดทันยุคที่สาม
ประเทศจีนตั้งอยู่ในทวีปเอเซีย อักษรจีนคำว่าเอเซียเป็นรูปกากบาทโปร่งขาว อยู่ในกรอบตัวอักษรดังนี้.............
ชื่อของประเทศจีน ไม่ว่าจะเป็น จงกั๋ว จงฮว๋า จงเอวี๋ยน หรือจงเอียง ล้วนเป็นศูนย์กลางของฟ้าดิน
คำว่า จง แปลว่ารากฐาฯของฟ้าดิน พระอริยบุคคลจึงอุบัติขึ้นมิขาดสาย ประเทศจีนเจริญด้วยวัฒนธรรมเก่าก่อนกว่าชาติใดในโลก ในครั้งโบราณ ประเทศจีนมีชื่อว่า เทียนเฉา แปลว่า ราชฐานแห่งฟ้าเบื้องบน เป็นดินแดนแห่งแรกของโลกที่สัทธรรมได้โปรดถ่ายทอด จึงกล่าวได้ว่า "ยากนักจักได้เกิดกายในศูนย์กลางของโลก"
ในยุคที่สามนี้ศาสนาลัทธินิกายต่าง ๆ นับพันพร้อมกันปรากฏ แต่สัจธรรมวิถีทางตรงมีเพียงหนึ่ง ทางอื่น ๆ เป็นหนทางทั่วไป ดังคำที่พระพุทธะตรัสไว้ว่า "แม้พบรากฐานจะบรรลุนิพพาน ไม่พบรากฐานเหมือนคลำทางบำเพ็ญ" ผู้ใดแม้มิได้มีเหตุปัจจัยแห่งบุญกุศลลึกซึ้งมาก่อน บรรพบุรุษ มิได้มีบารมีเสริมส่งมา ก็ยากนักที่จะได้พบ จึงกล่าวได้ว่า "ยากนักจักได้พบวิถีสัจธรรม"
-
ไขหลักจิตภาวะสัจธรรม
คนเมื่อได้ "หนึ่ง" จะเป็นอริยะหมายความว่าอย่างไร
เมื่อภาวะสูญตาอันสงบนิ่งเกิดการเคลื่อนไหว ทำใหเกิดจุดหนึ่งของความเปลี่ยนแปลง ในมหาจักรวาล สุญญตาภาวะของ หนึ่ง คือ เต๋า หรือธรรมะ เต๋าหรือธรรมะ เป็นเหตุปัจจัยสืบเนื่องต่อไปให้เกิดสรรพสิ่ง จากหนึ่ง เป็นสอง สาม สี่ เป็นหมื่นแสนมิรู้จบ ฟ้าได้ความเป็นหนึ่งฟ้าสงบใส พื้นโลกได้ความเป็นหนึ่งพื้นโลกจะสงบสุข คนได้ความเป็นหนึ่งคนจะเป็นอริยะ ดังที่พระพุทธะตรัสไว้ว่า "รู้แจ้งเห็นจิตแท้ธรรมญาณ แปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์เป็นหนึ่ง"
ท่านเหลาจื้อได้โปรดสอนว่า "บำเพ็ญจิตฝึกธรรมญาณ ประคองธาตุกำเนิดรักษาความเป็นหนึ่งไว้"......
ท่านขงจื้อก็ได้โปรดสอนว่า "โน้มนำจิตกล่อมเกลี้ยงธรรมญาณ ประคองความเป็นกลางเข้าสู่ความเป็นหนึ่ง"...........
หนึ่งคือภาวะหลักของสัจธรรม คนได้รับหลักสัจธรรม คือได้รับธาตุแท้ญาณเดิม ได้รับความเป็นหนึ่งของฟ้า จึงเป็นชีวิตของกายสังขาร ดังนั้น ภาวะเดิมของธรรมญาณอันกลมกลืนสว่างใส เป็นธรรมชาติธาตุเดียว ขณะอยู่ในครรภ์มารดาจึงไม่ต้องดื่มกิน ไม่ีมีความคิดดำริวิตก อาศัยการหายใจของมารดา เป็นกระแสเดียว จนเมื่อเกิดกายออกมาร้องแว้ กระแสของอิน หยังเข้าทางจมูก ภาวะความเป็นหนึ่งจึงกลายเป็นสองไปทันที ดังที่กล่าวแล้วว่าก่อนธรรมญาณจะอาศัยในกายเนื้อ ธรรมญาณวิภาวะเป็นหนึ่ง เมื่อเข้าอาศัยกายกำเนิดจึงมีผลของชะตากรรมกำหนดมาประกอบเข้าด้วยกัน จึงเป็นชีวิตที่มีอิน หยัง คือมืด สว่าง ถูก ผิด ดี ร้าย ฯลฯ ดังนั้น ธรรมญาณและชะตาชีวิตจึงสูญสิ้นความเป็นหนึ่ง เมื่อขาดความเป็นหนึ่ง ธรรมญาณจะกระจายระเริงไป เมื่อธรรมญาณระเริงไป ธรรมญาณก็มิได้สถิตอยู่กับญาณทวาร ไปพ้นจากฐานของสริสัมภวะ ฐานนั้นจึงว่างเปล่า ปราศจาพลังสถิต เมื่อธรรมญาณระเริงไปสู่นัยน์ตาก็ติดในรูป ระเริงไปสู่หูก็ติดในเสียง ระเริงไปสู่จมูกก็ติดกลิ่น ระเริงไปสู่ปากก็ติดรส และวาจา ระเริงไปสู่แขนขาก็ติดอาการ ระเริงไปสู่ผิวหนังก็รู้สึกเจ็บคันระเริงไปสู่รูขุมขนก็รู้หนาวร้อน ระเริงไปสู่อวัยวะช่องท้องก็รู้อิ่มรู้หิว
ระเริงไปสู่จิตก็รู้ในกามคุณทั้งหก คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส อารมณ์
ระเริงไปสู่มโนวิญญาณก็รู้อารมณ์ทั้งเจ็ดคือ ยินดี โกรธ โศก สุข รัก เกลียน อยาก
เมื่อเป็นเช่นนี้ ชีวิตจิตใจจึงร่อนเร่ เมามายเหมือนคนตาย เหมือนหลับฝัน ถลำตัวมั่วหมก อยู่กับความวิตกทุกข์ภัย เมื่อชะตาชีวิตขาดความเป็นหนึ่งชะตาชีวิตจะตกวิบาก วิญญาณจะถลำอยู่กับอารมณ์ต่าง ๆ ในกามคุณ จะจมอยู่กับสุรา นารี จะฝังชีวิตไว้กับลาภสักการะ เมื่ออกจากกายสังขารก็จะเวียนว่ายต่อไปในรูปกำเนิดสี่ชีววิถีหก ไม่อาจกลับคืนสู่สภาวะความเป็น หนึ่ง แห่งธาตุแท้ธรรมญาณได้
เมื่อฟ้าขาดความเป็น หนึ่ง ดาวเดือนจะผิดระบบการโคจร
เมื่อแผ่นดินขาดความเป็นหนึ่ง ภูเขาจะถล่มแผ่นดินจะทลาย
เมื่อคนขาดความเป็นหนึ่งจะตกไปสู่วัฏจักรของการเวียนว่าย
จิตเดิมแท้ของธรรมญาณ เป็นภาวะหลักของสังขาร คำว่า หลัก อักษรจีนเขียนว่า หลี่
เมื่อหลักขาดความเป็น หนึ่ง อ่านว่า ไหม แปลว่า ถูกฝัง
มีความเป็นหนึ่งจึงเป็น หลัก ดังคำกล่าวที่ว่า "มีหลักท่องไปได้ในโลกกว้าง ขาดหลักไปได้ยากนักแม้สักก้าวเดียว"
-
ไขหลักจิตภาวะสัจธรรม
เหตุใดวิถีสัจธรรมจึงมีผู้ลบล้างทำลาย
มีคำกล่าวว่า "หากทำนองเพลงสูงส่งลึกล้ำ น้อยคนจักร้องคลอได้"
"เมื่อใดที่สัทธรรมปรากฏโดดเด่นจะถูกทำลาย"
" ผู้ที่บำเพ็ญคุณธรรมจะถูกวิจารณ์ลบล้าง"
สัจธรรมยิ่งใหญ่วิเศษลึกล้ำจนมิอาจประมาณซึ่งคนทั่วไปยากที่จะคะเนถึงความแยบยลได้ จึงก่อให้เกิดความลังเลสงสัย วิจารณ์กล่าวร้ายเป็นธรรมดา ดังที่ท่านจอมปราชญ์ขงจื้อได้กล่าวไว้ว่า "เราไม่ขุ่นเคืองแม้ใครจะไม่รู้แท้ในธรรมที่เราบำเพ็ญ ฉะนี้แล้ว เราก็คือกัลยาณชนหรือมิใช่" วิถีสัจธรรมไม่ถูกกล่าวร้ายจะไม่เฟื่องฟู ดังที่พระพุทธะตรัสไว้ว่า "ผ่านการถูกทำร้ายไปได้ครั้งหนึ่ง ก็จบสิ้นวิบากกรรมไปส่วนหนึ่ง" ในครั้งที่ท่านจอมปราชญ์ขงจื้อเดินทางแพร่ธรรมไปตามเมืองต่าง ๆ ผู้คนก็พากันกล่าวร้าย ในที่สุดท่านก็บรรลุมรรคผลนิพพาน คงชื่อดีงามไว้ในโลกา มีผู้สร้างศาลบูชาท่านมากมายทุกมุมเมือง ชาวจีนและชาวต่างชาติยกย่องเคารพบูชา ท่านจอมปราชญ์ขงจื้อกล่าวว่า "ตั้งแต่จื่อลู่เข้ามาเป็นศิษย์ คำขัดหูที่ลบล้างทำลายสัทธรรมก็หมดไป" จะเห็นได้ว่า สัทธรรมแท้ย่อมมีผู้ลบล้างทำลาย
-
ไขหลักจิตภาวะสัจธรรม
เหตุใดวิถีสัจธรรมยังจะมีการถูกทำลาย
วิถีสัจธรรมเป็นหนทางที่ต้องฝืนเดิน (ฝืนโลกีย์) หนทางที่เดินง่ายคือเดินไปเป็นผี (ปล่อยตัวปล่อยใจ ไปตามอารมณ์) ผู้ฝืนเดินได้จะบรรลุเป็นพระพุทธะ ดังคำโบราณที่กล่าวไว้ว่า "บำเพ็ญธรรมเปรียบดังปืนกระบอกไม่ไผ่ ลื่นลงไปง่ายแต่จะปืนป่ายขึ้นไปยาก" พระพุทธะจี้กงก็ได้ตรัสไว้ว่า "อนุตตรธรรมล้ำลึกซ่อนเร้น แต่ก็เด่นชัด วิถีสัจธรรมต้องทดสอบจริงจึงเห็นใจจริง" ดังคำกล่าวที่ว่า "หยกแม้มิได้เจียระไนไม่เป็นรูป ทองแท้มิได้หล่อหลอมก็ไร้ราคา" ศาสนาเต๋าของท่านจอมปราชญ์เหลาจื้อ ให้ฝึกปรือเคี่ยวกรำทั้งบุ๋นและบู๊ คือทั้งปัญญาและอาการสังขาร
ศาสนาปราชญ์ของท่านบรมครูขงจื้อ ให้ขัดเกลากระดูกที่แข็งดั่งหิน (สันดานหยาบ) ของตน
ทั้งนี้เพื่อทดสอบความมั่นคงของจิตในการบำเพ็ญเท่านั้น ในครั้งที่ท่านบรมครูขงจื้อเดินทางไปแพร่ธรรมยังเมืองต่าง ๆ ท่านต้องประสบวิบากกรรม ถูกกักกันอยู่ที่ชายแดนระหว่างเมืองเฉินกับเมืองไซ่ แต่ท่านกลับกล่าวว่า
"ไม่ขึ้นภูเขาสูง ไม่รู้ภัยที่จะหงายหลังตกลงมา"
"ไม่อยู่ริมน้ำลึก ไม่รู้ภัยของการจมน้ำ"
"ไม่อยู่ริมทะเลใหญ่ ไม่รู้ภัยของคลื่นลม"
"กล้วยไม้เกิดอยู่ในป่าสงัด มิเป็นด้วยขาดผู้คน จึงไม่ส่งกลิ่นหอม
"กัลยาณชนบำเพ็ญธรรมตั้งมั่นในคุณความดี มิเป็นด้วยลำเค็ญจึงผิดข้อสำรวม"
เมื่อพ้นจากการถูกกักกันแล้ว ท่านบรมครูขงจื้อได้หันมาทางศิษย์สองสามคน ที่ร่วมวิบากกรรมด้วยกัน ในที่นั้นแล้วกล่าวว่า
"เหตุการณ์ที่ชายแดนระหว่างเมืองเฉินกับเมืองไซ่ เป็นเรื่องน่ายินดีสำหรับเรา และเป็นที่น่ายินดีสำหรับเจ้า ทั้งสองสามคนด้วย"
"พึงรู้ไว้ว่าการถูกทิ่มแทงนั้นเป็นเหตุเบื้องต้นให้เกิดมานะต่อสู้ ผู้ที่ได้รับความสำเร็จมีหรือที่จะไม่เริ่มจากจุดนี้"
ท่านปราชญ์เมิ่งจื้อกล่าวไว้ว่า
"เมื่อเบื้องบนจะมอบหมายภาระอันยิ่งใหญ่แก่ผู้ใดนั้น จะต้องเคี่ยวกรำจิตใจ ให้เขาทุกข์ร้อน บั่นทอนแรงกายของเขให้เหนื่อยนัก ให้สังขารต้องหิวกระหายให้ยากไร้ไม่มีอะไรติดตัว"
การถูกทดสอบเป็นพระมหากรุณา ฯ ที่เบื้องบนต้องการจะเสริมสร้าง เปรียบได้ดังจังหวัดคัดเลือกนายอำเภอ ผู้สมัครสอบจะต้องมีคุณวุติตามกำหนดมิใช่คนทั่วไปจะสมัครสอบได้
ท่านบรมครูขงจื้อได้กล่าวไว้ว่า
"ไม้ผุไม่อาจนำมาสลักเสลาได้ กำแพงที่ก่อด้วยมูลดินโสโครกมิอาจฉาบสีได้"
คนที่มีพุทธะบารมีสูงส่ง เบื้องบนจะโปรดทดสอบ หากมิใช่คนระดับนี้แล้วไซร์ มีหรือที่เบื้องบนจะทดสอบเสริมสร้าง
-
ไขหลักจิตภาวะสัจธรรม
@ องค์ธรรมอันศักดิ์สิทธิ์วิสุทธิ์
หลักสัจธรรม เป็นศูนย์พลานุภาพเป็นหลักที่กำหนดกำเนิดฟ้าดิน และสรรพสิ่ง ศูนย์พลังนั้นเป็ฯที่สุดแห่งความลุ่มลึก กว้างใหญ่ไพศาลจนมิอาจประมาณได้ เป็นที่สุดแห่งความสงบนิ่ง เป็นที่สุดของคุณวิเศษ ใสสว่างอันวิสุทธิ์ เป็นที่สุดแห่งความสูงส่งและศักดิ์สิทธิ์ เราจึงถวายพระนามสดุดีว่า "พระผู้เป็นเจ้า" ถวายพระนามว่า "พระผู้ปกเกล้าเหล่าธรรมกาล" พระศักย - พลานุภาพที่ก่อกำเนิดฟ้าดินให้สรรพสิ่งเจริญงอกงาม พระองค์จึงเป็นพระแม่ของสรรพสิ่ง เราจึงถวายพระนามเทิดทูนว่า "พระแม่องค์ธรรม" ในคัมภีร์ซื่ออิงบทต้าเอี่ย บันทึกไว้ว่า "ฮ่องเต้อินโจ้วแห่งราชวงศ์ซัง เมื่อครั้งที่ยังมิได้สูญเสียความสวามิภักดิ์จากประชาราษฏร์ พระองค์ทรงมีพระทัยดำริสอดคล้องกับพระผู้เป็นเจ้า ในพระคัมภีร์ซือจิงบทเสี่ยวเอี่ย ก็มีคำเทิดทูนพระนามพระผู้กำหนดกำเนิดฯไว้ว่า "เอกองค์พระผู้เป็นเจ้า" พระผู้เป็นเจ้าจึงหมายถึง พระองค์จึงเป็นที่สุดแห่งความสู.ส่งและศักดิ์สิทธิ์ ฟ้าดินตะวันเดือน สรรพชีวิตสรรพสิ่งที่บังเกิดมี อีกทั้งความเป็นความตาย ความผันแปร ล้วนอยู่ในความควบคุมของพระองค์ มิฉะนั้น โลกนี้จะหยุดนิ่ง สรรพสิ่งจะถึงกาลสิ้นสุด ปัจจุบันวิทยาศาสตร์ก้าวหน้าโลกเจริญด้วยวัตถุ ผู้คนจึงไม่เชื่อเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์พระพุทธะอริยะ รู้แต่ว่าทั้งหลายทั้งปวงล้วนเป็นปรากฏการณ์ของธรรมชาติ เข้าใจว่าทุกอย่งเกิดขึ้นได้ด้วยการคิดค้นของมนุษย์ ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกเปลี่ยนแปลง สร้างสรรค์ด้วยความสามารถของคน ไม่รู้ว่าปรากฏการณ์ธรรมชาตินั้นแท้จริงใครเป็นผู้สร้าง ความสามารถของมนุษย์นั้น ได้รับประสิทธิ์ประสาทมาอย่างไร พลังงาน เสียง แสง ไฟฟ้า หรือสารเคมี ใครกำหนดกำเนิด ไฟฟ้าในอากาศทำให้เกิดฟ้าร้องฟ้าผ่า หรือเมฆกลับกลายเป็นน้ำฝนและอื่น ๆ กระบวนการเหล่านี้ ใครกำหนดความเป็นไป คนได้แต่สรุปว่า เป็นผลจากธรรมชาติ ซึ่งมิได้รู้ลึกซึ้งถึงแก่นของความเป็นจริง จึงมิอาจเข้าใจในหลักสำคัญได้ หลักสัจธรรมของธรรมะเชื่อได้หรือไม่ ธรรมญาณของคนเราเชื่อได้หรือไม่ว่ามีจริงเมื่อเห็นแสงแดดเราจึงรูว่ามีดวงตะวัน เห็นคนจึงรู้ลักษณะสังขาร เห็นลูกหลานจึงรู้ว่าเขามีบรรพบุรุษ ดังนั้น เมื่อเห็นสรรพสิ่งที่เกิดท่ามกลางฟ้าดินและสรรพสิ่ง เมื่อดื่มน้ำเราจึงรู้ว่า จะรำลึกถึงต้นกำเนิดแห่งน้ำ ย้อนรำลึกขึ้นไปถึงเมื่อครั้งเริ่มมีมนุษย์ชาติเกิดขึ้นในโลกนี้ (ตามกำหนดกาลของโลกยุคนั้นเป็นบรรจบกาลเกณฑ์ขาล) คนเราเริ่มมีพ่อมีลูกสืบ ๆ กันต่อมาไม่ขาดสาย บัดนี้เรารู้แต่บรรพบุรุษตน แต่มิรู้บรรพบุรุษต้นกำเนิดของมนุษยชาติ ธรรมญาณของเราเมื่อพ้นกายสังขารนี้แล้วจึงกลับมาเกิดในกายสังขารตัวใหม่ เป็นเช่นนี้เรื่อยไป เราจึงรู้จักแต่พ่อแม่ที่ให้กำเนิดกายสังขาร แต่มิรู้พระแม่องค์ธรรมที่ให้กำเนิดธรรมญาณ สะท้อนใจนักกับจิตใจของคน ที่นับวันจะอับแสง โลกธรรมที่นับวันจะจมลง มนุษย์ล้วนหลงลืมต้นกำเนิดของชีวิตตน จึงต้องเวียนว่ายตายเกิด ยึดเอาแต่สิ่งที่นัยน์ตามองเห็นเป็นของจริง มองไม่เห็นก็ว่าไม่มี เหมือนปลาที่อยู่ในน้ำ จะเห็นแต่สัตว์น้ำด้วยกัน เหมือนคนที่อยู่กับบรรยากาศของโลก จึงมองเห็นแต่รูปวัตถุ สิ่งสำคัญใหญ่ ๆ ของฟ้าดินนี้ ยังมีอีกเหนือประมาณไม่สิ้นสุด แต่ความรู้ของคนมีขีดจำกัด
-
ไขหลักจิตภาวะสัจธรรม
@ วิถีธรรมในไตรยาน
ยาน คือธรรมนาวาที่จะพาผู้ปฏิบัติธรรมกลับไปสู่ฝั่งนิพพาน ยานแบ่งออกเป็นสามระดับของการบำเพ็ญ คือ สูง กลาง ต่ำ ดังนั้นในการเรียนรู้จึงแบ่งออกเป็นหลายวิธี เช่น รู้โดยพลัน ค่อยเรียนรู้ไป รู้เฉพาะกาล และรู้เที่ยงแท้ วิถีธรรมจริงมีพงศาธรรมสืบต่อกันมา มีกำหนดกาลแฝงเร้น มีกำหนดกาลปรากฏชัดเจน ถ่ายทอดโดยช้ให้เห็นจิตแท้โดยตรง ถ่ายทอดจากปากประทับไว้ในจิตเป็นการเฉพาะ หนึ่งจุดให้บรรลุความเป็นพุทธะ ก้าวเดียวให้ล่วงพ้นวัฏสงสาร บรรลุสู่ชั้นนิพพาน เช่นนี้เรียกว่ารู้โดยฉับพลัน ผู้ได้สดับจักบรรลุความเป็นพุทธะอริยะ เป็นคุณวิเศษอันเร้นลับ ซึ่งมิได้โปรดให้ถ่ายทอดแต่โบราณกาลมา ท่านจอมปราชญ์ขงจื้อได้กล่าวไว้ว่า "เช้าได้สดับวิถีธรรม เย็นตายไม่ห่วงเลย" ดังที่กล่าวมานี้ เป็นวิถีแห่งญาณระดับสูง ส่วนการทำสมาธิ การเวียนธรรมจักรในกายตน การเวียนพลังธาตุรอบกาย การกำหนดลมปราณยักย้ายจากส่วนล่างไปสู่ส่วนบน ฯลฯ ฝึกฝนทั้งกายธาตุและพลังธาตุจนเป็นหนึ่งเกิดอินเกิดหยัง คือความมืดความสว่างได้ แม้จะโชคดีฝึกฝนได้จนสำเร็จ แต่ก็เป็นผลของการบำเพ็ญที่ยังตกอยู่ในภาวะของอินหยัง คือเวียนว่ายเกิดดับ ยังเป็นการบำเพ็ญที่เกิดจากความศรัทธาไปสู่ความเข้าใจ จากความเข้าใจไปสู่การปฏิบัติ จากการปฏิบัติไปสู่ประจักษ์รู้ เช่นนี้เรียกว่าค่อยเรียนรู้ไป จนกว่าจะถึงจุดของความว่าง ผู้บำเพ็ญในลักษณะนี้จะบรรลุได้ในชั้นเทวโลก คือมรรคผลระดับกลาง สำหรับการบำเพ็ญด้วยวิธีการสวดมนต์ภาวนา
สร้างบุญทานบารมีภายนอก เช่น สร้างถนน สร้างสะพาน ช่วยเหลือสงเคราะห์ผู้ยากไร้และอื่น ๆ เหล่านี้เป็นเหตุปัจจัยแห่งบุญวาสนา ที่จะพาตนกลับเวียนว่าย เกิดมาเสวยสุขใหม่ในชาติหน้า จนกว่าผลบุญวาสนาจะหมดสิ้น แล้วเวียนว่ายในวัฏสงสารต่อไป ดังในพระคัมภีร์ที่ว่า "หากถามเหตุแห่งกรรมที่ทำมาในชาติก่อน ดูได้จากผลของกรรมที่กำลังได้รับอยู่ในชาตินี้ " แรงแห่งบุญวาสนาจึงอุปมาดั่งยิงธนูขึ้นฟ้า เมื่อกำลังที่ยิงถึงที่สุด ธนูก็ตกลงสู่พื้นดินเช่นเดิมผู้ปฏิบัติบำเพ็ญในลักษณะนี้ จะสำเร็จเป็นนักบุญคนดี มิอาจบรรลุอรหัตผล เป็นยานระดับต่ำ
-
ไขหลักจิตภาวะสัจธรรม
@ รับวิถีธรรมแล้วพึงบำเพ็ญเช่นไร
ธรรมะ เมื่อสำรวมไว้ในใจ เป็นกุศลจิต เมื่อแสดงออกเป็นคุณสัมพันธ์ หากมีแต่ภาวะธรรมอยู่ภายใน แต่ขาดคุณงาม มารจะผจญ ดังคำที่ท่านจอมปราชญ์ขงจื้อกล่าวไว้ว่า "แม้ขาดคุณงามอันยิ่งใหญ่ จะไม่อาจรักษาสภาวะธรรมอันสูงส่งแห่งตนจนบรรลุได้" คุณงามคือบารมี สร้างบุญคือสร้างคุณงาม จึงพึงสงเคราะห์ผู้คน สร้างคุณต่อสรรพสิ่ง มีน้ำใจฉุดช่วยกอบกู้ชาวโลกให้พ้นจากทุกข์ภัย ปฏิบัติตามคำสอนของพระศาสดาทั้งสามด้วยความเคารพอย่างจริงจัง การคัดลอกพระธรรมโอวาท จัดตั้งพุทธสถาน แพร่คำเตือนโน้มนำกล่อมเกลาผู้คน บุกเบิกเผยแพร่ธรรม ประกาศสัจธรรมคำสอนให้กว้างไกล เปิดใจคนหลงให้เกิดปัญญา ส่งเสริมกล่อมเกลาให้เขาบรรลุมรรคผลได้ เป็นบุญกุศลมิใช่น้อย เมื่อบุญบารมีภายนอกเสริมสร้างได้พร้อมแล้ว กุศลจิตภายในก็จะสมบูรณ์ใสไปด้วย ในส่วนของการดำรงตนทางโลก การช่วยเหลือผู้ประสบภัยทั้งทรัพย์สิ่งของเงินทอง และกำลังความสามารถ หากเป็นเรื่องเล็กน้อย กำลังเฉพาะตนช่วยได้ก็ช่วยไป ถ้าเป็นเร่องใหญ่ให้รวบรวมกัน ร่วมกันสงเคราะห์ให้เหมาะกับกาลเทศะ บุคคล และเหตุอันควร โน้มนำให้เกิดคุณในทุก ๆ ด้าน คนที่เป็นพ่อให้เกิดเมตตาคุณ คนที่เป็นลูกให้มีกตัญญุตาคุณ คนที่เป็นพี่ให้มีมิตรไมตรีคุณ คนที่เป็นน้องให้มีสัมมาคารวะคุณ สามีภรรยากันให้มีฉันทคุณ เพื่อนพ้องให้มีสัตยคุณ เจ้าหน้าที่บ้านเมืองให้มีความยุติธรรมและสุจริตคุณ แปรบาปให้เป็นบุญ แปรคนโง่หลงให้เป็นปัญญาชน
จึงนับเป็นการสร้างบุญที่แท้จริง มิได้ทำไปด้วยหวังชื่อเสียงอวดตน มิได้แสดงอาการหรือน้ำเสียงเกรี้ยวกราด หากทำไปเพื่อหวังชื่อเสียง มิจัดว่าเป็นบุญ แม้ตักเตือนผู้คนด้วยโมหะ โทสะ จะขาดคุณสมบัติของผู้บำเพ็ญธรรม
@ โปรดสามโลกทั่วไปคืออย่างไร
วิถีอนุตตรธรรมมีขอบข่ายของการฉุดช่วยจิตญาณทั้งหลายอย่างกว้างขวาง ในเบื้องบนสามารถฉุดช่วยเทพเจ้า แห่งดวงดาวต่าง ๆ อีกทั้งเทพเทวาทั้งหลายในชั้นเทวโลก ในเบื้องกลางสามารถฉุดช่วยชาวโลกหญิงชายเหลือคณานับ ส่วนเบื้องล่างก็สามารถฉุดช่วยผีนรกทั้งหลาย เช่นนี้เรียกว่าฉุดช่วยพร้อมกันทั้งสามโลก
@ เบื้องบนฉุดช่วยเทพเจ้าแห่งดวงดาวต่าง ๆ อย่างไร
บัดนี้ เป็นกำหนดกาลยุคสามมหันตภัยสุดท้ายของโลก พระพุทธาทั้งสามพระองค์ ( พระทีปังกรพุทธเจ้าแห่งธรรมกาลยุคเขียว พระศากยะพุทธเจ้าแห่งธรรมกาลยุคแดง และพระศรีอริยเมตตรัย พระพุทธเจ้าแห่งธรรมกาลยุคขาว ) ( พระศรีอาริย์ พระพุทธะจี้กง และพระโพธิสัตว์จันทรปัญญา ) ร่วมกันสนองพระโองการ ฯ เก็บงานขั้นสมบูรณ์ จึงได้มีการปรกโปรดฉุดช่วยทั้งสามโลกอย่างกว้างขวางเกิดขึ้น ด้วยเหตุที่ผู้บำเพ็ญแต่เก่าก่อนมา ผู้อุตส่าห์ทำสามธิฝึกจิต กำหนดลมปราณ ฯ ล้วนแต่ยังมิได้พบพระวิสุทธิอาจารย์ประทานถ่ายทอดวิถีจริงให้คืนกลับนิพพานได้ อีกทั้งขันนางผู้ซื่อสัตย์ต่อแผ่นดิน ลูกกตัญญู วีรสตรี และหญิงหม้ายที่รักนวลสงวนตัว เมื่อตายไปแล้วก็มิอาจถูกลบลืมความดีงามได้ แม้จะได้รับการยกย่องให้เป็นเทพเทวาในชั้นเทวโลกหรือเป็นใหญ่ในเมืองผี แต่หากมิได้รับวิถีอนุตตรธรรมก็ยังยากที่จะพ้นทุกข์จากการเวียนว่ายตายเกิด ไม่อาจคืนสู่ต้นกำเนิดเดิมได้ บัดนี้ ถึงกำหนดกาลยุคสามมหันตภัยสุดท้าย วิถีอนุตตรธรรมได้โปรดถ่ายทอดฉุดช่วยทั่วไป ดังนั้นเทพเทวาทั้งหลายในชั้นเทวโลกจึงมักจะติดตามพระบาทพระุพุทธอรหันต์มาสู่พุทธสถานหรือปรากฏบุญญาธิการไปทั่ว เพื่อค้นหาผู้เคยมีบุญสัมพันธ์กันมาเมื่อชาติก่อน ให้คนเหล่านั้นเป็นผู้เชื่อมโยงนำพาและรับรองให้ได้ขอรับวิถีอนุตตรธรรมด้วย เพื่อพระองค์จะได้คืนกลับนิพพาน พ้นจากการเวียนว่ายตลอดไป ดังนั้น การจะฉุดช่วยเทพเจ้าแห่งดวงดาวจึงเป็นเรื่องยุ่งยากกว่าการฉุดช่วยคน
-
ไขหลักจิตภาวะสัจธรรม
@ ยุคที่สามมหันตภัยสุดท้าย คืออย่างไร
เริ่มจากกำหนดกาลของฟ้าดินนี้ จนถึงกาลสิ้นสุดของฟ้าดินนี้ ถือเป็นอุบัติกาล (เอวี๋ยนธรรมกาล) ใหญ่ หนึ่งอุบัติกาลใหม่แบ่งเป็นสิบสองบรรจบกาล (ฮุ่ย) โดยใช้สิบสองนักกษัตร คือ ชวด ฉลู ขาล เถาะ ฯลฯ เป็นชื่อบรรจบกาลนั้น ๆ หนึ่งบรรจบกาลเท่ากับหนึ่งหมื่นแปดร้อยปี ในแต่ละช่วงเวลาหนึ่งบรรจบกาล เนื่องจากเกิดความผันผวนของสภาวการณ์ต่าง ๆ จึงก่อให้เกิดภัยพิบัติอันเป็นชะตากรรม บัดนี้ เวลาของบรรจบกาลมะเมียได้สิ้นสุดลง และเริ่มต้นเข้าสู่บรรจบกาลมะแม กำเนิดของฟ้าดินในอุบัติกาลนี้ ประมาณได้หกหมื่นปี หลังจากที่พระอริยเจ้าได้อุบัติแล้วในโลกนี้ จึงได้แบ่งเวลาบรรจบกาลมะเมียกับมะแมออกเป็นสามยุคคือ
1. ยุคเขียว เป็นสมัยพระอริยเจ้าฟู่ซี
2. ยุคแดง เป็นสมัยพระเจ้าอุ๋นอ๋วง
3. ยุคขาว เป็นสมัยบรรจบกาลมะเมียคาบเกี่ยวมะแม
คนดีจะได้เข้าสู่วิถีธรรม ส่วนคนชั่วคนบาปก็ตกไปสู่ภัยพิบัติ นับจากบรรจบกาลที่สาม (ขาล) ที่คนได้ถือกำเนิดมาในโลกจนบัดนี้ ธรรมกาลเดิมได้เกิดกายมาในโลกครั้งแล้วครั้งเล่า เพราะหลงอยู่ในโลกีย์วิสัยอันเป็นภาพมายา ไม่รู้จิตญาณแห่งตน ไม่รู้กำเนิดที่มา และไม่รู้จักหาหนทางคืนกลับ กลับหลงลึก เลวลง เมื่อคนมีเล่ห์ร้ายจนถึงที่สุดเช่นนี้แล้ว จึงก่อให้เกิดมหันตภัยที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน จึงเรียกได้ว่า "ยุคที่สามมหันตภัยสุดท้าย"
@ การจะฉุดช่วยวิญญาณผีทำได้อย่างไร
คนเราเกิดมาในโลกนี้ จะต้องมีความกตัญญูต่อพ่อแม่ และปรองดองกับพี่น้องเป็นพื้นฐาน ในคัมภีร์กตัญญุตาธรรมกล่าวว่า "การดำรงตน (ให้พ้นจากเหตุของการเวียนว่ายต่อไป ด้วยการดำเนินธรรม (สำรวม ปฏิบัติ แพร่ธรรม) ไว้ชื่อ ระบือนาม เชิดชูเกียรติประวัติของบิดามารดา เป็นที่สุดของความกตัญญู" ใครที่ไม่อยากบกพร่องในกตัญญุตา ขณะมีชีวิตอยู่พึงแสดงความเคารพ กตัญญูต่อพ่อแม่อย่างแท้จริง เมื่อพ่อแม่สิ้นแล้วยิ่งจะต้องบำเพ็ญจริง สร้างบุญกุศลฉุดช่วยดวงวิญญาณของท่านให้พ้นจากความทุกข์ของการเวียนว่ายในวัฏสงสารตลอดไปอีกทั้งได้กลับขึ้นไปเสวยวิมุติสุข ณ โลกุตรสถานอันสงบ ลูกหลานที่คิดจะฉุดช่วยดวงวิญญาณของพ่อแม่ บรรพชนเจ็ดชั่วคน หรือฉุดช่วยบุตรหลานอีกเก้าชั้น จะฉุดช่วยอย่างไรจุงจะบรรลุเป้าหมาย นั่นก็คือจะต้องศรัทธาบำเพ็ญเสมอต้นเสมอปลาย เสริมสร้างบุญกุศล แสดงความจริงใจต่องานธรรมะ เช่นนี้ จึงจะฉุดช่วยได้ ดังคำที่ว่า " ลูกหนึ่งคนได้เข้าสู่ประตูอนุตตรธรรม บรรพบุรุษอีกเก้าชั้นก็ได้รับการเชิดชู" ลูกหนึ่งคนได้บรรลุธรรม บรรพบุรุษเก้าชั้นก็หลุดพ้นเลื่อนชั้นตามไป"
@ ในพระอนุตตรธรรมโอวาท มักจะกล่าวถึงคำว่า " ไก่ทองขันครั้งที่สาม " คืออย่างไร
ทองเป็นหนึ่งในธาตุทั้งห้า ตามหลักคำนวณโป๊วก้วยแต่โบราณมา สัญญลักษณ์ธาตุทองอยู่ในตำแหน่งทิศตะวันตกจึงกลาวว่า ธาตุทองทิศตะวันตก ในสิบสองนักกษัตร ระกาหมายถึงไก่ ระกาก็เป็นสัญญลักษณ์หนึ่งในกำหนดสิบสองชั่วยามของจีน ระกาเป็นยามที่สิบ คือ ระหว่างเวลา 17.00 - 19.00 น. เวลาระกาจึงเป็นเวลาที่ดวงอาทิคย์ลับหายไปทางทิศตะวันตก ไก่ทองจึงหมายถึงทิศตะวันตก ทิศตะวันตก เป็นธาตุทอง ธาตุทองเป็นสีขาว โดยหลักคำนวณโป๊วก้วย กำหนดกาลของโลกตกอยู่ในตำแหน่งธรรมกาลยุคขาว พระธรรมาจารย์สมัยที่สิบเจ็ด ซึ่งเป็นพระภาคหนึ่งของพระศรีอริยเมตตรัยได้ถืออุบัติขึ้น รับพระภาระปกครองธรรมกาล ฉุดช่วยธรรมญาณทั้งหลาย กลับคืนนิพพานอันเป็นสถาเดิมของเราในครั้งนี้ พระองค์ได้รับอริยฐานธจากเบื้องบนว่า " " จินกงจู่ซือ " คือ " พระบรรพจารย์ทอง " ซึ่งตรงกับหลักคำนวณของโป๊วก้วยในตำแหน่งระกาหรือธาตุทอง " ขันสามครั้ง " หมายถึง กำหนดกาลมหันตภัยสุดท้ายในยุคที่สาม พระองค์จะอุบัติมาโปรดประทานพระโอวาท ในครั้งที่สามการถ่ายทอดวิถีธรรมจะกระจ่างแจ้ง จึงได้มีคำกล่าวว่า " ไก่ทองขันสามครั้ง " ซึ่งก็หมายความว่า วิถีอนุตตรธรรมจะปรากฏชัดเจน เมื่อถึงกำหนดกาลนั้น ธรรมะกับภัยพิบัติจะครอบคลุมโลกมนุษย์พร้อมกัน วิถีธรรมจะแผ่ไพศาล
-
ไขหลักจิตภาวะสัจธรรม
@ คนเราดื่มกินอย่างเดียวกัน แต่เหตุใดบ้างจึงเจ็บป่วยไม่ขาด แต่บางคนไม่เป็นอะไรเลยทั้งปี ๆ
คนเรามีเลือดเนื้อเป็นกายสังขาร มีหรือที่จะไม่เกิดทุกข์ภัย แต่โรคภัยไข้เจ็บใหญ่มักเกิดจากกรรมสนอง ส่วนการเจ็บป่วยเล็ก ๆ น้อย ๆ นั้นเกิดจากการละเลยไม่ดูแลสุขภาพของตนเอง พญายมจึงมีสมุนปีศาจฝ่ายแพร่โรคระบาด บนเทวโลกจึงมีเทพเจ้าฝ่ายเพทภัยซึ่งล้วยปฏิบัติไปตามพระบัญชา ความเจ็บป่วยมิใช่เกิดจากความผิดพลาดของความหนาวร้อนของร่างกายเท่านั้น อารมณ์ยินดี โทสะเสียใจ เป็นสุข รักชอบ โกรธเกลียด ฯ หรือตัณหาที่เกิดจากรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส นึกคิด เหล่านี้ก็ล้วนเป็นเหตุให้เกิดเจ็บป่วยได้ ร่างกายของคนเรา ไม่เพียงแต่ถูกทำลายด้วยอาหารการกิน ถูกทำลายด้วยตัณหาราคะของตน แม้แต่ความโลภ หลงไม่รู้จักพอ หรือผิดหวังในสิ่งที่ต้องการ ฯ ก็เป็นภัยร้ายแรงแก่สุขภาพอย่างยิ่ง ดังคำกล่าวที่ว่า
" ใจสบายกระท่อมหญ้าคาก็น่าอยู่
จิตสงบน้ำแกงผักหญ้าก็ว่าหวาน "
ในคัมภีร์ต้าเสวียกล่าวไว้ว่า
" ความร่ำรวยช่วยให้บ้านดูหรูหรา
คุณความดีช่วยให้กายงดงาม
ใจกว้างช่วยให้ใจสมบูรณ์ "
ฉะนั้น กัลยาณชนจึงพึงวางตน จะกล่าววาจาให้รู้สัจจะ ทำการใดให้ระวังผิดพลาด ครึ่งหนึ่งทำเต็มกำลังความสามารถ ครึ่งหนึ่งล้วนแต่กำหนดของเบื้องบน พึงรู้ว่าสิ่งซึ่งพึงมีได้ในชีวิตของเราฟ้ามิอาจช่วงชิง สิ่งที่ฟ้าประทานให้ ใครก็มิอาจปฏิเสธ จึงมีคำกล่าวว่า "กัลยาณชนรู้ครองชีวิตโดยสงบ" ในครั้งสามก๊ก เมื่องลั่วหยังเกิดยุคเข็ญอดอยาก ความหิวกระหายปรากฏอยู่บนใบหน้าของประชาชนทั่วเมือง มีเพียงคนเดียวที่ใบหน้ายังคงอิ่มเอิบเป็นปกติโจโฉ จึงถามหาสาเหตุ คนผู้นั้นตอบว่า "ข้าพเจ้าตัดกิเลส กินเจมาสามสิบปีแล้ว" ฉะนั้น ผู้ตั้งใจบำเพ็ญ ละเว้นการบริโภคเนื้อสัตว์ หอม กระเทียม สุรายาเมาอย่างบริสุทธิ์ได้ โลหิตก็จะบริสุทธิ์ โรคภัยไข้เจ็บก็จะลดน้อยลงได้เอง
-
ไขหลักจิตภาวะสัจธรรม
@ ได้รับวิถีธรรมแล้วอยากก้าวหน้าควรเริ่มต้นอย่างไร
อยากจะก้าวหน้า จะต้องเริ่มด้วยตั้งความเชื่อมั่นไม่สั่นคลอน เพราะความเชื่อมั่นเป็นฐานของการบำเพ็ญ เป็นต้นกำเนิดของบุญกุศล คนที่ขาดความเชื่อมั่น แม้ดูฤกษ์ยามดวงชะตาหาแม่นไม่ อย่าว่าแต่การบำเพ็ญ พึงรู้ว่าทุกคนเป็นธรรมญาณอันวิเศษสมบูรณ์เช่นเดียวกับธรรมญาณของพระอริยะผู้บรรลุทั้งหลายแต่เหตุที่บ้างก็หลง บ้างก็สำนึกรู้ จึงได้ต่างกันไป เรามีศรีษะทรงกลม มีฝ่าเท้าแบนราบ ลักษณะเปรียบได้ดังท้องฟ้าและแผ่นดิน เรามีลมหายใจเข้าออกเป็นลักษณธอิน - หยัง ในธรรมชาติ นัยน์ตาทั้งสองเปรียบดังตะวันเดือน ( มีปอดเป็นธาตุทอง ไตเป็นธาตุน้ำ ตับเป็นธาตุไม้ หัวใจเป็นธาตุไฟ และม้ามเป็นธาตุดิน ) เรามีอารมณ์ยินดี โทสะ โศกเศร้า เป็นสุข เปรียบได้ดังลมไฟ้าคะนอง เมฆและฝน เรามีเมตตา มโนธรรม จริยธรรม และปัญญา เปรียบกับฟ้าเบื้องบนที่มี ธาตุแท้ แผ่ไพศาล ปัจจการกำเนิด อนุรักษ์ จิตบริสุทธิ์จากฟ้าหรือผู้ได้รับวิถีอนุตตรธรรมบำเพ็ญจิตกำเนิดแห่งตน เหมือนทารกไร้เดียงสาเป็นสภาวะเดียวกันกับฟ้าดิน พระอริยกษัตริย์เหยา - ซุ่น จอมปราชญ์ขงจื้อ เมิ่งจื้อ มิได้กำเนิดต่างไปจากคนเรา ต่างกันแต่ว่า
ผู้รู้สัจธรรมของชีวิตได้บรรลุความเป็นพุทธะ
ผู้ฝืนต่อกฏสัจธรรมของชีวิตเป็นวิญญาณผี
นำพาบำเพ็ญจิต เรียกว่า ธรรมะ อันเป็นหลักเที่ยงแท้ที่ไม่เปลี่ยนแปลง
@ # พุทธานุภาพมิอาจประมาณ มีวิธีการสะดวกอย่างไรสำหรับผู้บำเพ็ญใหม่ จะได้ปฏิบัติต่อไปได้ตามขั้นตอน
ศาสนาปราชญ์ของท่านขงจื้อ สอนให้โน้มนำจิตสำนึกกล่อมเกลี้ยงธรรมญาณฯ ซึ่่งผู้บำเพ็ญใหม่สามารถปฏิบัติได้ทันที ด้วยเหตุที่โน้มนำจิตไปสู่ความดีงาม จึงได้บรรลุสู่หนทางบุญ แต่หากโน้มนำจิตไปสู่ความชั่วก็จะนำภัยมาสู่ตน โน้มนำจิตไปสู่ความสงบก็จะพาให้อายุวัฒนะ ประคองจิตใว้ ณ จุดญาณทวารอันเป็นประตูวิเศษเรียกว่า " กัลยาณชนรู้รักษาความเป็นกลาง (มโนธรรม) อยู่ทุกขณะ " เมื่อกล่อมเกลี้ยงญาณโน้มนำจิตได้แล้ว จะไม่เป็นเช่นที่ท่านจอมปราชญ์เมิ่งจื้อกล่าวหรือว่า " สิ่งที่กัลยาณชนแตกต่างจากคนทั่วไปก็คือ การโน้มนำจิตของเขา " กัลยาณชนใช้เมตตาธรรมโน้มนำจิต ใช้จริยธรรมโน้มนำจิต เมตตาธรรมเป็นความรักที่ให้ต่อคนทั้งหลาย จริยธรรมเป็นความเคารพที่แสดงต่อคนทั้งหลาย คนที่ให้ความรักต่อคนทั้งหลายจะได้รักตอบเสมอ คนที่แสดงความเคารพต่อคนทั้งหลาย จะได้ความเคารพตอบเสมอ ผู้ศึกษาธรรม เพียงให้ใช้จิตสำนึกที่มีต่อธรรมะเพิ่มเติมเข้าไว้ในสองประการนี้เท่านั้นก็เหมาะแล้ว
-
ไขหลักจิตภาวะสัจธรรม
@ ทราบหรือไม่ว่าการบำเพ็ญธรรมมีวิถี "ตามกระแส" และ "ทวนกระแส"
" ตามกระแส " หรือ " ทวนกระแส " เป็นการบำเพ็ญที่อาศัยกายสังขารเป็นหลักซึ่งก็จะต้องู้ไว้ เมื่อกายธาตุ พลังธาตุ และวิญญาณธาตุ (จิง ซี่ เสิน)อีกทั้งหูตาที่ได้ยินได้เห็นแผ่ซ่านออกไป ภาวะนั้นเป็นโลกียชน แต่เมื่อสำรวมคงที่อยู่ภายใน ภาวะนั้นเป็นอริยะ กายธาตุ พลังธาตุ วิญญาณธาตุ แผ่ซ่านออกไปอยู่กับความยินดีในกามคุณ เป็นภาวะ " ตามกระแส " (เป็นไปโดยง่าย) การสำรวมเก็บเข้าไปจะเป็นภาวะ " ทวนกระแส " (ฝืนได้ลำบาก) ฉะนั้น ท่านปราชญ์เมิ่งจื่อจึงได้กล่าวไว่ว่า "วิถีแห่งการเรียนรู้มิใช่อื่นไกล ให้นำจิตที่กระเจิงไปกลับคืนมาเท่านั้นเอง" ความปราณีตในการโน้มนำจิตกล่อมเกลี้ยงธรรมญาณแห่งตนก็คือ ให้จิตคืนสู่ภาวะความเป็นหนึ่งดียว บริสุทธิ์และสงบ ให้สยบอารมณ์ ย้อนมองส่องตน (รู้ภาวะจิตเดิมแท้) ให้ดับไฟในจิต (ความอยากทั้งปวง) ความร้อนลุ่มจะลดลง ให้ดุนปลายลิ้นไว้กับเพดานเหงือก จากนั้นน้ำอมฤตจะซึมออกจากต่อมใต้ลิ้น เมื่อมีปริมาณพอสมควรให้กลืนลง น้ำอมฤตนี้จะซึมซาบไปสู่ศูนย์กลางกาย สมานกับธาตุไฟในประตูชีวิต (จุดกำเนิดของชีวิตในกาย) ธาตุน้ำจะแปรเป็นพลังธาตุ พลังธาตุและวิญญาณธาตุจะเอิบอิ่มชุ่มชื่น แม้ตรากตรำทำงานก็ไม่เกิดความเหนื่อยหน่าย เมื่อเข้าสู่ภาวะ "ทำให้ลดลงแล้วเพิ่มขึ้นในภายหลัง" น้ำอมฤตจะวนเวียนหล่อเลี้ยงชีวิตร่างกายไม่ขาดสาย แม้กายธาตุจะสมบูรณ์ก็ไม่ก่อให้เกิดอารมณ์กำหนัด แต่จะไปส่งเสริมพลังธาตุ เมื่อพลังธาตุสมบูรณ์ก็จะไม่เกิดอาการหิวกระหาย แต่พลังธาตุจะไปเสริมสร้างวิญญาณธาตุให้อิ่มเอิบสดชื่น เมื่อวิญญาณธาตุสมบูรณ์ ก็จะไม่ทำให้เกิดอาการง่วงเหงาหาวนอน วิญญาณธาตุที่สมบูรณ์จะเบาสบาย ไม่หมกมุ่น ไม่คร่ำเครียด ก็จะส่งผลให้จิตว่าง ศักดิ์สิทธิ์ และแผ่ไพศาล ไปได้ทั่วโลกธรรม
ศาสนาเต๋าเรียกวิญญาณธาตุในภาวะนี้ว่า " เวียนธรรมจักร "
ศาสนาปราชญ์เรียกว่า " บริสุทธิ์สิ้นตัณหา มโนธรรมนำทาง"
เช่นนี้เป็นความปราณีตของการบำเพ็ญ " ทวนกระแส " พึงเข้าใจว่า พลังธาตุของโลกียชนจะ " ขึ้นก่อนแล้วตก " ส่วนพลังธาตุของผู้บำเพ็ญจริงจะ " ลดก่อนแล้วเพิ่มขึ้น " เช่นนี้ เป็นคุณและโทษที่ต่างกันหรือมิใช่
-
ไขหลักจิตภาวะสัจธรรม
@ การฉุดช่วยวิญญาณในวิธีธรรมคืออย่างไร
ในบทบัญญัติเดิมกำหนดไว้ว่า " บุคคลใดบรรลุธรรม บรรพบุรุษเก้าชั้นของผู้นั้นจะพ้นจากนรก " ในครั้งที่การโปรดสัตว์ทั่วไปเพิ่งเริ่มขึ้น พระอนุตตร ฯมารดาทรงกำหนดว่า " จะโปรดคนเป็น ไม่โปรดผี " (ฉุดช่วยถ่ายทอดวิถีธรรมให้) ภายหลังต่อมา เนื่องด้วยตรีเทพพิทักษ์มหาราช ( ซันกวนเต้าตี้ ) และพระกษิติครรภ์ ( ตี้จั้งกู่ฝอ ) ได้โปรดกราบขอพระมหากรุณาธิคุณ จึงได้โปรดประทานอนุญาตฉุดช่วยทั้งผู้คนและวิญญาณผีพร้อมกัน เหตุนี้เบื้องบนจึงได้จัดตั้งพุทธาลัย เป็นสถานรองรับวิญญาณที่ได้รับการฉุดช่วยขึ้นไป หรือเป็นที่พักสำหรับผู้ที่ได้รับวิถีธรรมแล้วคืนสู่ความสว่าง (ตาย) เพื่อรอพิจารณากำหนดมรรคผลผู้ตายที่บำเพ็ญดีทั้งกุศลจิตภายใน และกุศลกรรมภายนอก จะได้รับคัดเลือกไว้ระดับสูง ผู้ที่มีกุศลทั้งสองไม่มากพอ ก็จะถูกตัดสินให้ไปเกิดใหม่ เพื่อบำเพ็ญใหม่ หรือจุติลงไปเกิดในฐานะหรือชาติตระกูลดี เพื่อเสวยสุขวาสนาต่อไป อันความกตัญญูนั้นแบ่งออกเป็นทางโลกและทางธรรมสองสถาน ความกตัญญูในทางโลกคือ เมื่อพ่อแม่มีชีวิตอยู่ให้เลี้ยงดูด้วยความเคารพ เมื่อพ่อแม่ตายให้จัดงานศพด้วยความเคารพ และเมื่อพ่อแม่ตายให้จัดเซ่นไหว้ด้วยความเคารพทุกวันตรุษสารท วันคล้ายวันเกิด วันตาย และวันสำคัญอื่น ๆ ของท่าน ที่สุดก็คือ ทำเต็มกำลังความสามารถของผู้เป็นลูกจะกระทำได้เท่านั้น ซึ่งเหล่านี้ไม่อาจช่วยลบล้างแก้ไขบาปเวรของพ่อแม่ได้ ไม่อาจฉุดช่วยให้พ่อแม่พ้นจากวงเวียนกรรมได้ ไม่อาจฉุดช่วยให้พ่อแม่ไม่ต้องไปเกิดใหม่เป็นลูกเมียใครต่อใครต่อไปได้ ความกตัญญูสถานนี้จึงเป็นความกตัญญูเล็กน้อยเทานั้น หากใครมีความกตัญญูอย่างจริงจัง สำนึกรู้ในพระคุณของพ่อแม่ที่ท่านต้องเหนื่อยยากเลี้ยงดูเรามา ซึ่งยากนักที่จะตอบแทนท่านได้ และปรารถนาที่จะฉุดช่วยวิญญาณของท่าน ก็จะต้องบำเพ็ญธรรม ในการบำเพ็ญอนุตตรธรรม มีการเพิ่มผลบุญที่ว่า " หกสิบสี่กุศลเพิ่มหนึ่งผลบุญ " (ลิ่วสือซื่อกงเจียอี้กั่ว) หมายความว่า ผู้บำเพ็ญธรรมผู้ใดที่ฉุดช่วยผู้คนให้ได้รับวิถีธรรมได้หกสิบสี่คนแล้ว เบื้องบนจะโปรดประทานให้ฉุดช่วยวิญญาณในชั้นพ่อแม่ได้หนึ่งชั้น เท่ากับโปรดประทานเพิ่มให้หนึ่งผลบุญ รวมเก้าชั้นตามระดับแต่ละหกสิบสี่ผลบุญ การฉุดช่วยวิญญาณของบรรพบุรุษในระดับสูงเช่นนี้ เรียกว่า " ซันป๋า " ฉุดช่วยวิญญาณของลูกหลานระดับต่ำกว่าเราลงไปเรียกว่า " เอินป๋า " ซึ่งการนี้ผู้ฉุดช่วยจะต้องถึงพร้อมด้วยบุญกุศลสูงพอ ต่อมาในปีหมินกั๋วที่ 13 (พ.ศ. 2454 ) ระเบียบนี้ได้โปรดเปลี่ยนแปลงใหม่คือ " ให้ฉุดช่วยพ่อแม่ได้ หากพี่น้องลูกหลานได้รับวิถีธรรมพร้อมกันแล้วทั้งครอบครัว หากจะฉุดช่วยชั้นปู่ย่าตาทวด ก็ให้ทำตามระเบียบเดิมแต่ละชั้น "
หมายเหตุ : ตามระเบียบที่กำหนดใช้ในปัจจุบัน ผู้ปฏิบัติธรรมทั่วไปอนุญาตให้ฉุดช่วยได้เฉพาะพ่อแม่ ระดับอาจารย์ถ่ายทอดเบิกธรรม ( เตี่ยนฉวนซือ ) จึงจะอนุญาตให้ฉุดช่วยชั้นของปู่ย่าตายายได้
-
ไขหลักจิตภาวะสัจธรรม
@ มีอะไรเป็นประจักษ์หลักฐานว่าวิญญาณได้รับการฉุดช่วยแล้ว
เมื่อวิญญาณได้รับการฉุดช่วยครบร้อยวันแล้ว จะเชิญวิญญาณมาเข้าทรงที่พุทธสถานได้ให้เล่าเรื่องราวความทุกข์ในนรก การเวียนว่ายตายเกิด และหนทางหลุดพ้น ที่ตนได้รับอนุญาตให้ขึ้นไปเสวยสุขยังแดนสุขวดีได้ อีกทั้งจะบอกกล่าวหรือมอบหมายสิ่งที่ตนยังทำค้างไว้ เมื่อมีชีวืตอยู่ให้คนหลังรับรู้โดยละเอียด ด้วยการเขียนกระบะทราย หรือใช้ร่างของใครพูดจา เหล่านี้เป็นประจักษ์หลักฐานชัดเจนที่แสดงให้เห็นว่า วิญญาณได้รับการฉุดช่วยให้พ้นจากนรกแล้วจริง ๆ
@ วิญญาณที่ได้รับการฉุดช่วยจะไปอยู่ที่ไหน ?.
วิญญาณที่ได้รับการฉุดช่วยแล้ว จะได้รับการลงทะเบียนบนบัญชีสวรรค์ ถอนชื่อจากบัญชีในยมโลกขึ้นไปฝึกฝนบำเพ็ญในสถาน " บำเพ็ญตน " (จื้อซิวถัง) ของพุทธาลัย ( เทียนฝอเอวี้ยน) จนครบหนึ่งร้อยวัน จากนั้นวิญญาณซึ่งมีภาวะเป็นอินคือเย็นยะเยือกมืดมัว ก้กลับคืนสู่ภาวะหยังคือสว่าง สดใส เป็นธาตุแท้ญาณเดิม ต่อจากนั้นพระอนุตตรธรรมมารดาเจ้า จะโปรดประทานพระมหากรุณาธิคุณบัญชาตรีเทพพิทักษ์มหาราช (ซันกวนต้าตี้) กำหนดฐานะตามผลบุญกุศล ซึ่งจะต้องถือเอากุศลจิตของวิญาณเองเมื่อครั้งมีชีวิตอยู่ บวกกับกุศลจิตและกุศลกรรมของลูกหลานในปัจจุบันเป็นเกณฑ์ ฉะนั้น พึงเข้าใจว่า แม้ทุกคนได้รับวิถีอนุตตรธรรมแล้ว จะมีส่วนในอริยฐานะบัลลังก์บัว ตามมรรคผลเป็นราย ๆ ไป
@ รับวิถีธรรมแล้วต้องกินเจด้วยหรือ
เมื่อเข้าสู่วิถีธรรมแล้ว การถือศีลกินเจเป็นเรื่องสำคัญที่สุด เพราะเหตุว่าจิตแท้ญาณเดิมของเรามีภาวะเป็นที่สุดของความบริสุทธิ์ จึงไม่อาจรับเอาความสกปรกแปลกปลอมใด ๆ เข้าไปปะปนได้ เมื่อมีสิ่งสกปรกปะปนเข้าไป ธรรมญาณจะสูญเสียภาวะของความเป็นธาตุแท้ไป ฉะนั้น ผู้บำเพ็ญธรรมจะต้องขจัดสิ่งสกปรกแปลกปลอมออกไป คงเหลือไว้แต่ความบริสุทธิ์ จิตเดิมแท้จึงจะฟื้นฟูความสว่างได้ดั่งเดิม ผักฉุนทั้งห้าคือ หอม (ทำลายไต) กระเทียม (ทำลายหัวใจ) กุยไฉ่ (ทำลายตับ) หลักเกี๋ย - กระเทียมโทนของจีน (ทำลายม้าม) ใบยาสูบ (ทำลายปอด) เนื้อสัตว์ทั้งสามจำพวก คือจำพวกสัตว์ปีก สัตว์บก และสัตว์น้ำทุกชนิดควรงดเว้นให้หมด ผักฉุนทั้งห้ามีกลิ่นแรง และมีพิษทำลายพลังธาตุเดิมในกายเราให้กระจายหมดไป สัตว์ทั้งสามจำพวกเป็นเนื้อสกปรกและมีภาวะเป็นอิน คืออับเหม็น มีผลในการทำลายภาวะหยังคือความสว่างสดใสในธรรมญาณ ในเมื่อการบำเพ็ญในวิถีอนุตตรธรรม มีจุดหมายในอันที่จะฝึกฝนให้ธาตุแท้ธรรมญาณของเรากลับคืนสู่ความสดใสสว่าง จึงจำเป็นที่จะหลีกเลี่ยงให้พ้นจากความอับเฉาของภาวะอินเป็นสำคัญ เพื่อรักษาภาวะของหยังไว้ ยิ่งกว่านั้น เบื้องบนทรงไว้ซึ่งมหาเมตตากรุณาฯ เป็นหลัก ผู้บำเพ็ญทั้งหลายควรจะสำนึกรู้ในพระเจตนา มิควรที่จะโลภหลงอยู่กับปากท้องฆ่ากินชีวิตเขา สร้างบาปสร้างเวรติดตัวไป ถ้าหากไม่อาจงดเว้นอาหารเนื้อสัตว์ได้ทันที ก็น่าจะค่อย ๆ ฝึกไป โดยการกินเจในวันพระวันโกนข้างไทยข้างจีนหรือวันจันทร์ พุธ ศุกร์ หรือกินเจในเดือนสำคญ เช่น เดือนอ้าย เดือนเก้าตลอดทั้งเดือน นานวันเข้าก็จะเกิดความเคยชิน จากนั้นจึงค่อยกินเจตลอดไป แต่ถ้าสุดวิสัยกินเจเลยไม่ได้จริง ๆ ก็ต้องสร้างบุญกุศล ให้มาก อุทิศให้แก่สรรพชีวิตที่เป็นเจ้ากรรมนายเวรของเรา ซึ่งเราได้กินได้ฆ่าเขาเข้าไป ก็พอจะอนุโลมได้ เกณฑ์กำหนดมีอยู่ แต่วิถีการอาจเปลี่ยนแปลงได้ เพื่อความเหมาะสมแก่กรณี สรุป คือ ผู้บำเพ็ญจะต้องมีเมตตาจิตเป็นที่ตั้งนั่นเอง
-
ไขหลักจิตภาวะสัจธรรม
@ รับธรรมะแล้วมีผลเป็นอย่างไร
หลังจากรับธรรมะ ได้รับการจุดเบิกญาณทวารแล้ว ปัญญาจะสว่งขึ้น หากมั่นคงในศรัทธาปฏิบัติบำเพ็ญต่อไป สร้างบุญกุศลชดใช้หนี้กรรมเวรในอดีตให้หมดสิ้นไปได้ ชีวิตจะประสบความราบรื่น จะพ้นจากเหตุร้ายภยันตราย เมื่อหมดอายุจะตายอย่างสงบ พ้นจากความทุกข์การเวียนว่ายในเงื้อมมือพยายม ผลที่ไดรับนั้นมีคุณยิ่งใหญ่นัก หวังว่าผู้บำเพ็ญทั้งหลาย จะได้เร่งตื่นใจ เพื่อให้บรรลุมรรคผลในวันข้างหน้าให้จงได้
@ ผลที่ได้รับมีประจักษ์หลักฐานหรือไม่
หากสาธุชนพากันบำเพ็ญอนุตตรธรรม สร้างสมบุญกุศลจนเบื้องบนซาบซึ้ง ขณะมีชีวิตอยู่ เมื่อประสบเหตุร้ายจะกลายเป็นดี เมื่อประสบทุกข์ภัยจะคลี่คลายเป็นมงคล มีประจักษ์หลักฐานมากมายนับไม่ถ้วน จากเรื่องราวของผู้ประสบเหตุ ที่ได้รอดพ้นภยันตรายทั้งหลายทั้งปวงกันมาแล้ว เมื่อตายจะพ้นจากการเวียนว่ายในวัฏสงสาร การนี้ไม่เพียงแตวิญญาณของผู้ตายจะมาขอใช้ร่างคน เข้าทรงบอกกล่วอย่างชัดเจน ยังทิ้งกายสังขารอ่อนนุ่มและใบหน้างดงามไว้ให้ประจักษ์อีกด้วย ในวงการศาสนาพุทธและเต๋าของท่านเหลาจื้อ พระผู้ใหญ่ที่บำเพ็ญดี หรือนักธรรมอาวุโสเมื่อถึงการมรณภาพบางท่านนั่งสงบกล้ามเนื้อเส้นเอ็นอ่อนคลาย ทิ้งกายสังขารให้ประจักษ์ว่า จิตได้ออกจากร่างไปสู่สุคติ แต่ร้อยพันผู้บำเพ็ญจะเห็นได้สีกรายหนึ่งเท่านั้น แสดงให้เห็นว่า ผู้บำเพ็ญมีมากมาย แต่ผู้จะบำเพ็ญจนสำเร็จได้มีน้อยจริง ๆ สำหรับผู้ที่ผ่านการจุดเบิกญาณทวารจากอาจารย์ถ่ายทอดเบิกธรรม (เตี่ยนฉวนซือ) แล้ว ไม่ว่าผู้นั้นจะบำเพ็ญบุญกุศลสูงต่ำเพียงไร ตายไปใบหน้าก็จะยิ้มสดใสเหมือนมีชีวิตอยู่ เพราะวิญญาณของเขาไม่ได้ออกไปตามช่องเวียนว่ายทั้งสี่ทวาร คือ หู ตา จมูกและปาก อากาศหนาวศพก้ไม่แข็ง อากาศร้อนศพก้ไม่เน่าเหม็น บางรายดำรงอยู่ได้หลายวัน อีกทั้งมีกลิ่นหอมอบอวนอยู่รอบ ๆ แต่ทั่ว ๆ ไปจะไปดีทุกราย ไม่ว่าเด็กผู้ใหญ่ ทุกรายจะทิ้งกายสังขารนุ่มนวลให้ประจักษ์ว่า วิญญาณได้ไปสู่สุคติจริง ๆ โดยไม่ต้องสงสัย
@ เข้าสู่วิถีธรรมแล้วไม่ดำเนินต่อไป มีโทษหรือไม่
คนที่บำเพ็ญ จะมีจุดมุ่งหมายมาก่อนจึงเกิดความคิดที่จะเดินทางนี้ แน่นอน จุดมุ่งหมายนั้นก็คือเพื่อพาตัวให้รอดพ้นจากภัยพิบัติ พ้นจากการเวียนว่ายในวัฏสงสาร จึงทำให้เกิดความยินดีที่จะขอรับวิถีธรรม อยากให้รอดพ้นภัยพิบัติ ก่อนอื่นจะต้องรู้ว่า ภัยพิบัติเกิดขึ้นได้อย่างไร ภัยพิบัติมิได้เกิดขึ้นโดยไม่มีสาเหตุเจาะจง แต่เกิดขึ้นจากผลกรรมที่บุคคลก่อไว้โดยแท้ ฉะนั้น การที่จะรอดพ้นจากภัยพิบัติได้ จะต้องขอขมาสำนึกบาปต่อความผิดทั้งหลายทั้งปวงที่เคยกระทำมา อยากจะลบล้างบาปเวรให้หมดสิ้นไป ยิ่งจะต้องเคารพปฏบัติตามวิถีธรรมของพระอาจารย์ เชิดชูไม่ดูดาย ทำจริง บำเพ็ญจริง ละความชั่วทำแต่ความดี จึงจะสอดคล้องกับหลักสัจธรรมของเบื้องบน จึงจะยับยั้งมหันภัยมิให้เกิดขึ้นได้ เช่นน้จึงจะบรรลุจุดมุ่งหมายในการเข้ารับวิถีธรรม ที่ตั้งใจมาแต่ต้นได้ มิฉะนั้น ก้เท่ากับเดินสวนทางกับวิถีธรรม คนที่เดินสวนทางหรือหันหลังให้วิถีธรรม บาปเวรที่ตนเคยก่อไว้ไม่เพียงแต่จะไม่มีทางลดน้อยลง ภัยพิบัติจะเพิ่มขึ้นตามมาอีกด้วย จนกระทั่งเมื่อความชั่วร้ายพอกพูนได้เต็มที่แล้ว ภัยพิบัติก็ถึงตัว ไม่มีทางจะหลีกเลี่ยงได้เลย เมื่อหลีกไม่พ้น ก็ไม่อาจพ้นเวียนว่ายจึงไม่อาจพ้นทุกข์จากนรกได้ จากนี้เราจะเห็นได้ว่า ภัยพิบัติคือผลของความชั่วร้าย ภัยพิบัติเกิดจากผลของความชั่ว ความชั่วเกิดจากการกระทำของคน ฉะนั้นเมื่อเข้าสู่วิถีธรรมแล้วจึงจะต้องดำเนินต่อไปอย่างเต็มที่ ตรงกันข้าม การไม่บรรลุปณิธานจึงเท่ากับทำบาป เมื่อบาปเกิดจากการกระทำของตัวเองแล้ว เป็นการสมควรมิใช่หรือที่เราจะต้องรับผลของบาปเวรนั้นด้วยตนเอง
-
ไขหลักจิตภาวะสัจธรรม
@ เข้าสู่วิถีธรรมแล้ว ความเคยชินเลวยังไม่เปลี่ยนจะกล่อมเกลาอย่างไร
วิถีธรรมนี้สั่งสอนผู้คนด้วยหลักสัจธรรม เอาความดีเข้าแปรเปลี่ยนความชั่ว เมื่อเข้าสู่วิถีธรรมแล้ว ไม่ว่าจะเป็นนิสัย ความเคยชิน เสพติดเลวร้าย อบายมุขใด ๆ จะต้องขจัดออกไปให้หมดสิ้น ชี้แจงให้เขาเข้าถึงภัยอันตรายของมัน ค่อย ๆ ชักนำชี้ชวน ให้เกิดจิตสำนึกดี ให้รู้สภาพความเป็นจริง รู้คุณรู้โทษตักเตือนห้ามปรามให้เหมาะกับลักษณธนิสัยของแต่ละคนจะด้วยทางตรงหรือทางอ้อมก็ตาม ที่สุดคือ จะต้องให้บรรลุผลจนกว่าเขาผู้นั้นจะกลับตัวกลับใจเป็นคนดี
@ สามศาสนารวมเป็นหนึ่งคืออย่างไร
ต้นกำเนิดศาสนาทั้งสาม เกิดจากหลักสัจธรรมเดียวกัน แม้จะต่างภาษาคำนิยาม แต่เนื้อแท้เป็นหลักสัจธรรมเดียวกัน ศาสนาทั้งสามเกิดขึ้นตามวาระอันควร สนองรับกับยุคสมัย ล้วนเป็นงานกล่อมเกลาจิตใจของผู้คนแทนเบื้องบน ฉุดยั้งแปรเปลี่ยนความชั่วร้ายให้เป็นคุณ และเปลี่ยนแปลงคนเลวให้เป็นคนดีนั่นเอง ยิ่งกว่านั้นศาสนาเ๋ต๋ามีหลักการบำเพ็ญให้จิตว่างเป็นหลัก ระวังรักษาจิตญาณคืนสู่นิพพาน ศาสนาพุทธให้ละสังโยชน์ ตัดกิเลสความทุกข์กังวลหม่นหมองทั้งปวงเพื่อให้จิตได้วิมุติสุข เข้าสู่ภาวนิพพานเช่นกัน ศาสนาปราชญ์ ให้เห็นแจ้งในจิตประภัสสรแห่งตน ให้ชำระกิเลสตัณหาจนหมดสิ้น เป็นความบรสุทธิ์โดยแท้ เช่นเดียวกับหลักสัจธรรมของฟ้า หลักสัจธรรมของฟ้าก็คือ ธาตุแท้ความดีงามของจิต หมายถึงความสงบเป็นนิพพาน ซึ่งนิพพานก็คือสัจธรรมนั่นเอง จะเห็นได้ว่า ศาสนาทั้งสามล้วนเกิดจากหลักเดียวกันคือ "นิพพาน"
ศาสนาพุทธ ให้บำเพ็ญหหมื่นธรรมขันธ์คืนสู่ความเป็นหนึ่ง ให้จิตสว่างเห็นธรรมญาณแห่งตน
ศาสนาเต๋า ให้บำเพ็ญจิตฝึกธรรมญาณประคองธาตุกำเนิด รักษาความเป็นหนึ่งไว้
ศาสนาปราชญ์ ให้โน้มนำจิตกล่อมเกลี้ยงธรรมญาณ ประคองจิตจุดกลางสู่ความเป็นหนึ่งที่รู้แจ้ง
แม้การถ่ายทอดวิถีธรรมของสามศาสนาจะต่างกัน แต่ล้วนมาจากหนึ่ง อันเป็นต้นกำเนิดเดียวกัน มีจุดเริ่มต้นที่จิตเช่นกัน จากสัจธรรมเดียวกันแยกออกเป็นสามศาสนา อุปมาดังกายสังขารเดียวกัน ที่แบ่งออกเป็นกายธาตุ พลังธาตุ และวิญญาณธาตุ ฉะนั้น บัดนี้ ศาสนาทั้งสามได้รวมกันเป็นหนึ่ง เป็นนิมิตหมายของการเก็บงานเพื่อกลับคืนสู่ภาวะนิพพานแต่เดิมมา ล้วนเป็นจิตสมบูรณ์ อีกทั้งรวมกันเป็นหนึ่ง
-
ไขหลักจิตภาวะสัจธรรม
@ สามศาสนามาจากหลักเดียวกัน แต่อยากทราบว่าศาสนาใดสูงกว่า ผู้บำเพ็ญมีความเอนเอียงต่อศาสนาใดหรือไม่
ในเมื่อศาสนาทั้งสามมีหลักมาจากสัจธรรมเดียวัน จึงไม่มีความสูงต่ำกว่ากัน แต่ในความรู้สึกนึกคิดเปรียบเทียบของคนทางโลก จะเห็นว่าพุทธธรรมมีความสูงส่งที่สุด เหตุใดจึงกล่าวเช่นนั้น เราจะเห็นได้ว่า แต่โบาราณมา ผู้นำทางศาสนาล้วนเป็นผู้บำเพ็ญในศาสนาพุทธทั้งสิ้น ดังคัมภีร์อิงเจี๋ยจิงกล่าวไว้ว่า "เมื่อเริ่มกำหนดฟ้าดินโลกนี้ ก็ได้กำหนดให้ทศมพุทธาปกครองธรรมจักรวาล" สิบพระพุทธาที่ทรงรับพระภาระโปรดสัตว์โดยตรงเป็นหลักศาสนาในแต่ละยุคสมัยตั้งแต่บรรพกาลมา มีดังนี้คือ
1. พระวิปัสสีพุทธเจ้า อุบัติ ณ ทิศใต้ ปกครองธรรมกาล 60,000 ปี
2. พระสุขีพุทะเจ้า อุบัติ ณ ทิศเหนือ ปกครองธรรมกาล 4,800 ปี
3. พระเสสภูพุทธเจ้า อุบัติ ณ ทิศตะวันออก ปกครองธรรมกาล 3,720 ปี
4. พระกกุสันธะพุทธเจ้า อุบัติ ณ ทิศตะวันตก ปกครองธรรมกาล 7,080 ปี
5. พระโกณาคมน์พุทธเจ้า อุบัติ ณ ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ปกครองธรรมกาล 5,284 ปี
6. พระกัสสปพุทธเจ้า อุบัติ ณ ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ปกครองธรรมกาล 5,516 ปี
7. พระโคดมพุทะเจ้า อุบัติ ณ ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ปกครองธรรมกาล 5,800 ปี
พระอริยะฟู่ซี อุบัติ ณ ทิศตะวันตกเฉียงใต้ พระองค์รับพระภาระปกครองธรรมกาลแทนพระพุทธเจ้า 500 ปี
1. พระทีปังกรพุทธเจ้า เริ่มวาระธรรมกาลยุคเขียว ปกครองธรรมกาล 1,500 ปี
2. พระศากยพุทธเจ้า เริ่มวาระโปรดสัตว์ให้ออกบวชบำเพ็ญในธรรมกาลยุคแดง ปกครองธรรมกาล 3,000 ปี
3. พระศรีอริยเมตตรัยพุทธเจ้า จะอุบัติมาในภายหน้า
สำหรับพระทีปังกรพุทธเจ้า และพระศากยพุทธเจ้า นอกจากจะเป็นใหนึ่งในสิบพระพุทธาที่ทรงรับพระภาระปกครองธรรมกาล สืบเนื่องต่อมาตามลำดับพุทธบรรพกาลแล้ว ทั้งสองพระองค์ยังทรงรับพระภาระร่วมกับพระศรีอริยเมตตรัย เป็นสามพระพุทธา ในศุภวาระเก็บวิสุทธิธรรมญาณทั้งมวล คืนสู่นิพพานให้หมดในธรรมกาลยุคขาวสุดท้ายนี้ด้วย ( สำหรับพระประวัติ และพระพุทธรูปบูชาของเจ็ดพระพุทธายังมีหลักฐานสืบทอดต่อมาช้านานในประเทศจีน ที่วัดมุขมนตรี ต้าเซี่ยงกั๋ว หมู่บ้านหม่าอิ๋ง ตำบลเซี่ยวอี้ อำเภอเฟินหยัง มณฑลซันซี เป็นวัดที่พระอริยฟู่ซีสร้างขึ้น นอกจากรูปบูชาเจ็ดพระพุทธเจ้าแล้วยังมีศิลาจารึกกำหนดกาลเป็นไปของโลกนี้หลายพันปีต่อมากระทั่งบัดนี้ให้ประจักษ์จริงทุกประการ ) เมื่อพระทีปังกรพุทธเจ้าปกครองธรรมกาลครบ 1,500 ปี ไปแล้ว ก็ถึงสมัยของพระศากยพุทะเจ้า พระพุทธองค์อุบัติในรัชสมัยโจวเจ๋าอ๋วงฮ่องเต้ แปดค่ำเดือนสี่ข้างจีน พระบิดาคือพระเจ้าสุทโธทนะ พระมารดาคือพระนางมหามายา ออกบรรพชาเมื่อพระชนมายุได้ 29 ชันษา พระทีปังกรพุทธเจ้า ได้ชี้ชัดพยากรณ์ไว้ว่า จะสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าในกาลข้างหน้า ภายหลังที่ตรัสรู้แล้ว ได้โปรดแสดงธรรมอยู่สี่สิบเก้าปี ซึ่งพระอัครสาวกได้รวบรวมเป็นพระไตรปิฏกคัมภีร์ธรรมเป็นแสงสว่างแก่ชาวโลกมาสองพันกว่าปี พระธรรมคำสอนของพระองค์ชี้ให้เห็นจิตเดิมแท้อันวิสุทธิ์เป็นพุทธจิตของตน สอนให้ค้นหาธาตุแท้แห่งตน และสิ่งอันเป็นรูปธรรมนำจิตให้คืนสู่นิพพาน พระองค์ได้รับการเทิดทูนว่า "พระสัมมาสัมพทธเจ้า"
พระอริยเจ้าเหลาจื้อ พระนามเดิมหลีเอ่อ นามรองป๋อหยัง คุณานาม ตัน อุบัติในรัชสมัยโจวติ้งอ๋วง ปีมะเส็ง ณ เมือง ฉู่ แคว้นเฉิน เคยรับราชการเป็นผู้ตรวจราชการแทนพระองค์ หรือพระราชเลขาในพระเจ้าโจวอิ้งอ๋วงฮ่องเต้ บิดาแซ่หัน นามเฉียน นามรอง เอวี๋ยนปี้ มารดาจิงฟู ตั้งครรภ์ท่านเหลาจื้ออยู่แปดสิบปีจึงได้กำเนิด ณ ใต้ต้นลี้ จึงเปลี่ยนมาใช้แซ่สกุลลี้
หลังจากที่ท่านขงจื้อ เดินทางมาเรียนรู้จริยธรรมจากท่านแล้ว ไม่นานต่อมาท่านเหลาจื้อ ก็ขี่ความออกไปนอกแคว้นทางด่านหันกู่กวน มุ่งสู่ทิศตะวันตกเพื่อจะถ่ายทอดวิถีธรรมแด่เจ้าชายสิทธัตถะ ก่อนจะเดินทางถึงด่านหันกู่กวน นายด่านนามว่าอิ่นสี่ มองเห็นแสงฉัพพรรณรังสีพวยพุ่งขึ้นสู่ท้องฟ้าเบื้องหน้า อิ่นสี่ นึกรู้ทันทีว่ามีผู้บุญญาธิการวิเศษกำลังจะผ่านมา เมื่อเห็นท่านเหลาจื้อจึงได้ก้มลงกราบขอให้ท่านแสดงธรรม ท่านเหลาจื้อได้โปรดเมตตาเขียนคัมภีร์มอบให้ด้วยอักษรห้าพันคำ ชื่อว่าคัมภีร์คุณธรรม (ต้าเต๋อจิง) อันลึกซึ้ง เป็นแนวทางปฏิบัติธรรมอันสูงส่งสำหรับสาธุชนรุ่นหลังสืบต่อมาจนถึงทุกวันนี้วิถีธรรมของท่านเหลาจื้อเป็นไปอย่างเรียบง่าย ท่านให้เลี้ยงจิตให้สงบ กำหนดจิตที่สงบจนเกิดความสว่าง ละจากรูป สังขาร เข้าสู่ภาวะนิพพาน ให้น้ำและไฟในกายเกิดคุณเนื่องกันจนวัชรญาณหรือจิตเดิมแท้คงตัว คัมภีร์ที่ท่านได้โปรดถ่ายทอดไว้ให้ คัมภีร์คุณธรรม (เต้าเต๋อจิง) คัมภีร์วิสุทธิสูตร (ซิงจิ้งจิง) ท่านได้รับการเทิดทูนว่า " บิดาแห่งเต๋า "
วิถีธรรมของท่านขงจื้อ ดำเนินควบคู่กันไปทั้งทางโลก และทางธรรม อยู่กับรูปแต่ไม่ติดรูป ให้พ้นรูปธรรม อรูปธรรม เข้าสู่นิพพาน วิถีธรรมนี้เป็นที่คุ้นเคยกัน ไม่จำเป็นจะต้องแจง สรุปคือ วิถีธรรมของศาสนาใหญ่ทั้งสามล้วนมีจุดมุ่งหมายอยู่ที่จิต คุณธรรมความดีงามที่แสดงออกล้วนปรากฏออกมาจากธาตุแท้ธรรมญาณ เมื่อธาตุแท้ธรรมญาณสว่างแล้ว คุณธรรมทั้งหมดจะงดงามเที่ยงตรงเองโดยมิต้องฝึกฝน ดังคำกล่าวที่ว่า "เมื่อเข้าใจในภาวะธรรมแห่งตนแล้ว ผลแห่งคุณงามจะเกิด" "เมื่อรากฐานมั่นคงแล้ว กิ่งก้านสาขาจะงอกงามเป็นหลักธรรมดา" เสียดายที่พุทธศาสนิกชนรุ่นหลังไม่ได้รับรู้วิถีแห่งจิตอันวิเศษโดยตรง สานุศิษย์ในศาสนาเต๋า ก็ไม่ได้รับรู้เคล็ดลับรหัสคาถา อันแยบยลในการรวมศูนย์จิตญาณ กลับกลายเป็นรับจ้างทำพิธีสวดมนต์สะเดาะเคราะห์แก่ผู้เดือดร้อน สานุศิษย์ในศาสนาปราชญ์ ก้ไม่ได้รับวิถีแห่งจิตโดยตรง อักษรศาสตร์บัณทิตทั้งหลาย ก็ได้ชื่นชมหาคำแปลอันไพเราะตามความหมายของอักษรในคัมภีร์ หารู้ความแยบยลลึกซึ้งที่แฝงอยู่ในคำเหล่านั้นไม่ แม้หากถามว่า ความปราณีตของการ รู้จุดหยุดนิ่ง ไม่ยินไม่ยล รู้แจ้งสัจธรรมจิตแท้ปรากฏ กล่อมเกล้ยงเลี้ยงจิต โน้มนำสะรวมจิต ผู้รู้ได้ไม่มีสักกี่คน เช่นนี้ จึงทำให้ศาสนาของพระอริยะทั้งสามใกล้กาลเสื่อมสูญ
ฉะนั้น การถ่ายทอดวิถีแห่งจิตอันแท้จริง จึงจำเป็นจะต้องบำเพ็ญกันตามหลักคำสอนของทั้งสามศาสนาอย่างถูกต้องโดยไม่เอนเอียง จะต้องดำเนินตามหลักจริยธรรมมโนธรรมของศาสนาปราชญ์ ใช้ความปราณีตละเอียดอ่อนสุขุมคัมภีรภาพในการประคองจิตตามแนวปฏิบัติของศาสนาเต๋า และ รักษาศีลปฏิบัติบำเพ็ญตามหลักศาสนาพุทธ การปฏิบัติบำเพ็ญตามอัธยาศัย จะช่วยให้อายุัวัฒนะ ปฏิบัติบำเพ็ญอย่างจริงจัง อาจบรรลุธรรมสำเร็จมรรคผล อันเป็นเรื่องที่พึงตระหนักสำหรับผู้บำเพ็ญ
-
ไขหลักจิตภาวะสัจธรรม
@ ใจดีก็พอ จำเป็นหรือที่จะต้องรับธรรมด้วย
คนทั่วไปหากเป็นพุทธบุตรธรรมญาณเดิมที่มีจิตใจดีงาม เมื่อได้สดับวิถีอนุตตรธรรมแล้ว จะกระตือรือร้นขอรับไว้ใฝ่บำเพ็ญและส่งเสริมเต็มกำลัง เหตุเพราะกัลยาณชนคนบุญมักจะห่วงใยความเป็นไปของเพื่อนร่วมโลกอยู่เป็นนิจ โลกปัจจุบันศีลธรรมเสื่อมถอย ผู้คนใจคอโหดเหี้ยมมีเหลี่ยมลวงกัน บรรยายกาศของความชั่วร้ายกระจายไปทั่วโลก จึงก่อให้เกิดมหันตภัยนานัปการ กัลยาณชนคนบุญที่ห่วงใยว่าธรรมะจะหมดไปจากจิตใจของคน จะพยายามหาทางสงเคราะห์ ฉุดช่วยอย่างไม่หยุดยั้งทุกค่ำเช้า บัดนี้ เบื้องบนได้ดปรดประทานวิถีอนุตตรธรรมลงโปรดทั่วไป ใครหรือจะไม่ยินดีที่ปฏิบัติ ยิ่งกว่านั้นการขอรับวิถีอนุตตรธรรม จุดมุ่งหมายสำคัญคือ ให้พ้นเวียนว่ายตายเกิด ให้จิตคืนสู่สภาวะธรรมญาณเดิม เพื่อคืนสู่นิพพานบ้านเดิม พ้นจากเงื้อมมือพยายม พ้นจากความทุกข์ในวัฏสงสาร ถ้าหากจะบอกว่า เราเป็นคนมีจิตใจดีแล้ว เราก็เป็นเพียงคนดีในโลกโลกีย์นี้ แล้วเกิดใหม่มารับบุญวาสนาที่สร้างไว้เท่านั้น บุญวาสนามีวันหมดสิ้นไป ต่อไปจะเป็นอย่างไรก็ไม่รู้ได้อีก ซึ่งจะเทียบกับการได้รับถ่ายทอดวิถีอนุตตรธรรม จากพระวิสุทธิอาจารย์ แล้วพ้นเวียนว่ายในความทุกข์ เสวยสุขนิรันดร์ไม่ได้เลย เราจะลองพิจารณาให้ลึกซึ้งที่ท่านขงจื่อกล่าวไว้ว่า " คนดีในสายตาของชาวบ้าน เบื้องหลังเป็นโจรปล้นคุณธรรม" คนดีที่ว่านี้จริงแท้สักแค่ไหน อีกคำหนึ่งที่ท่านกล่าวว่า "เช้าได้รับวิถีธรรม เย็นตายไม่ห่วงเลย" จะเห็นได้ว่า การเป็นคนดีกับการได้รับวิถีธรรมนั้น ต่างกัน
@ เหตุใดวิถีธรรมนี้จึงไม่โปรดมาก่อน เพิ่งจะมาโปรดลงครั้งนี้
วิถีธรรมมีวาระแฝง (ถ่ายทอดเฉพาะ) มีวาระแจ้ง (ถ่ายทอดทั่วไป) เหตุที่เพราะผ่านมายังมิใช่บุญวาระอันควร จึงแฝงอยู่ ผู้สดับรู้จึงมีน้อย บัดนี้ได้กำหนดธรรมกาลยุคสุดท้าย เบื้องบนจึงโปรดประทานฉุดช่วยทั่วไปอย่างกว้างขวาง เหตุที่ฉุดช่วยทั่วไป เพราะหลายปีมานี้ บรรยายกาศของโลกและจิตใจของผู้คนเสื่อมทรามลง ศาสนาทั้งสามลบเลือนไป ค่าของคุณธรรมตกต่ำ การแย่งชิงกันสูงขึ้น ความชั่วช้าลุ่มลึกลง ก่อให้เกิดภัยพิบัติใหญ่ แก่มนุษยชาติ อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน เป็นเหตุที่ภัยสงคราม น้ำ ไฟ โรคร้าย ปราฏกมากมายทั่วไป ภัยพิบัติเหล่านี้ เป็นแรงของกรรมชั่วที่ส่งผลมาทั้งสิ้น แต่คนมิใช่จะชั่วช้าเสียทั้งหมด ยังมีคนดีที่มีรากฐานของบุญซึ่งมิควรถูกทำลายไปพร้อมกัน ดังหยกที่ปรนอยู่กับกรวดหิน สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย กอปรด้วยพระมหาเมตตาเป็นปีที่ตั้ง จึงได้กราบขอพระอนุตตรธรรมเจ้าได้โปรดประทานวิถีธรรม เพืื่อฉุดช่วยคนดี เดชะบุญ พระอนุตตรธรรมเจ้าได้โปรดประทาน วิถีอนุตตรธรรมจึงได้โปรดลงฉุดช่วยผู้คนอย่างกว้างขวางในครั้งนี้ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายโปรดประทานพระอักษร โอวาทให้ปรากฏบนกระบะทราย สิ่งศักดิ์สิทธิ์กับคนจึงได้สร้างบุญสัมพันธ์กัน การอาศัยร่างทรงประทานพระโอวาทในกระบะทราย ก้เพื่อให้ผู้คนกลับใจเป็นคนดี เพื่อจะได้คลี่คลายภัยพิบัติ คนบุญทั้งหลายได้พร้อมกันก้าวสู่หนทางแห่งสัมมาปัญญา บรรลุฝั่งธรรมโดยไว เปลี่ยนโลกโลกีย์ให้เป็นแดนสุขาวดี ทั้งนี้ เป็นความพยายามที่สุดของสิ่งศักดิ์ในอันที่จะช่วยโลกมนุษย์ และเป็นเหตุเบื้องต้นที่วิถีอนุตตรธรรม ได้โปรดฉุดช่วยครั้งใหญ่ทั่วไปในครั้งนี้
-
ไขหลักจิตภาวะสัจธรรม
@ ในเมื่อวิถีอนุตตรธรรมเป็นหลักญาณที่ถ่ายทอดสู่จิต เหตุใดผู้ศรัทธาจึงล้วนแต่ชาวบ้านคนธรรมดา
ทั้งนี้เป็นไปตามวาระโอกาส เป็นไปตามวาระกำหนด ก่อนยุคสามสมัย (รัชสมัย เซี่ย ซ้ง โจว) วิถีธรรมถ่ายทอดอยู่กับวรรณกษัตริย์ หลังยุคสามสมัย วิถีธรรมถ่ายทอดอยู่กับวรรณปราชญ์ ยุคปัจจุบันวันนี้ กำหนดกาลของธรรมะสนองต่อชาวบ้านคนธรรมดาทั่วไป วาระของกำหนดกาลที่เป็นเช่นนี้ มิใช่ความสามารถของใครทำให้เป็นไป ยิ่งกว่านั้น ในอนุตตรพุทธระเบียบยังกำหนดไว้ว่า ไม่ฝักใฝ่สถานการณ์ทั่วไป ไม่เกี่ยวข้องการเมือง ไม่ให้แอบแฝงหาประโยชน์ไม่ให้อาศัยธรรมะหากิจกรรมอื่น ๆ ฉะนั้น ญาติธรรมจึงล้วนแต่ชาวบ้านคนธรรมดา
@ ธรรมนาวาคืออย่างไร มองเห็นได้หรือไม่
คำว่าธรรมนาวา เป็นคำเปรียบเทียบ แท้จริงคือวิถีธรรม เมื่อไม่มีรูปลักษณ์ให้เห็น แต่เหตุใดจึงว่าเป็นธรรมนาวา เพราะเหตุว่า คนเกิดกายอาศัยอยู่ในโลก ลืมตัวมัวเมาเวียนว่ายในชาติกำเนิดสี่ ชีววิถีหก สร้างเหตุแห่งกรรมผูกพันต่าง ๆ รับกรรมตามเหตุต่าง ๆ ชีวิตจึงเป็นไปตามยถากรรม ไม่มีวันจบสิ้นไไม่มีทางแก้ไขให้หลุดพ้นได้ จึงทุกข์กันยิ่งนัก เช่นนี้ มิใช่ทะเลทุกข์หรือ หากบำเพ็ญธรรมแล้ว ก้จะเห็นโลกเป็นอนิจจังดังภาพดอกไม้ในกระจก เห็นความร่ำรวยสูงศักดิ์ดังภาพของฟองอากาศ เห็นลูกเมียดังโซ่ตรวนขื่อคาความรัก จะตัดนิวรณ์ ตัดอุปสรรคได้ เช่นนี้ ไม่ใช่เท่ากับขึ้นสู่ธรรมนาวาหรือ
@ ปัจจุบันประตูธรรมมีมากมาย ล้วนเป็นธรรมนาวาหรือไม่
ปัจจุบันประตูธรรมมากมาย ไม่อาจบอกได้ว่าล้วนเป็นธรรมนาวา แต่ทว่าแม้จะไม่ใช่ธรรมนาวา ก็เป็นประตูธรรมที่อบรมสั่งสอนให้คนเป็นคนดี ฉะนั้น จึงมีการนั่งฌาณ ทำสมาธิ สวดมนต์ภาวนา มีการแสดงอิทธิฤทธิ์เล่นกับคมหอกคมดาบ ใช้เวทย์มนต์คาถาต่าง ๆ นา ๆ ฯลฯ รวมความก็คือ มีทั้งสัมมาวิถีและมิจฉาวิถี มีคำพังเพยว่า "หมุนรอกสามรอบ เข้าได้ไม่ว่าประตูใคร" เปรียบเช่นสาธุชนจะเข้าประตูธรรมใดก็ย่อมได้ แต่ถ้าเข้าประตูทางตรง ก็จะบรรลุเป็นพระพุทธะ ไม่พบประตูทางตรง ก็วุ่นวายไปเปล่า ๆ จึงขึ้นอยู่กับสายตาและบุญวาสนาของแต่ละคน ฉะนั้น ท่านศาสตราจารย์ขงจื้อจึงได้สอนไว้ว่า "ให้ศึกษากว้าง ๆ สอบถามให้รู้จริง นิ่งพิจารณาให้รอบคอบ วิเคราะห์ให้ชัดเจน และบำเพ็ญให้จริงใจ
-
ไขหลักจิตภาวะสัจธรรม
@ รับธรรมแล้ว กราบไหว้บูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์อย่าได้งมงาย
เคารพบูชา คือความศรัทธาจริงใจ ใครที่ให้คุณแก่เรา มีหรือที่เราจะไม่เคารพตอบด้วยจริยา ฟ้าเบื่องบนประทานหนทาง ไขสัจธรรม เปิดเผยความลับของชีวิตจริง ทำให้เราได้รู้สัจธรรมความเป็นต้ากำเนิดของสรรพสิ่ง "สัจจะพระผู้เป็นเจ้า" คืออภิภูผู้สูงส่ง เราเทิดทูนว่าเป็นสัจจะพระผู้เป็นเจ้า พระอนุตตรธรรมมารดา เป็นพระผู้กำเนิดญาณทั้งมวล อีกทั้งเป็นพระผู้สร้างต้นตระกูลของกายสังขาร คนเราเกิดมาในโลก หลงลืมธาตุแท้ญาณเดิม ลืมหนทางที่มาจึงเวียนว่ายเกิดตายรับทุกข์ทรมาน ในวัฏสงสาร อนุตตรพระแม่ ฯ ทรงห่วงใย จึงได้ประทานวิถีอนุตตรธรรม มานำพาฉุดช่วยสาธุชนให้ผู้คนเดินตามหนทางสว่างกลับคืนสู่ภาวะธาตุแท้ญาณเดิม มีหรือที่ได้รับหนทางสำคัญอันเกี่ยวแก่ชีวิตกายตนแล้วจะทำผยองได้ ฉะนั้น การกราบไหว้บูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ก็คือตอบแทนพระคุณที่ท่านได้ถ่ายทอดฉุดช่วย อันเป็นการแสดงความศรัทธาจริงใจ ไหนเลยจะเห็นเป็นเรื่องงมงาย
@ ไม่รู้จักเคารพสิ่งศักดิ์สิทธิ์ก็ภาวนาอธิษฐานได้หรือ
จะกราบไหว้ภาวนาอธิษฐาน จำต้องระวังความผิด แก้ไขความผิด มิฉะนั้นจะได้รับโทษจากเบื้องบน ไม่อาจสัมฤทธิผลในการภาวนา ยิ่งกว่านั้น ผู้บำเพ็ญจะเห็นความสำคัญของธรรมะมากกว่าวาสนาตน มองดูฮ่องเต้แต่ครั้งกษัตริย์โบราณ วาสนาสูงส่งเหลือคณา แต่บัดนี้ยังมีใครอยู่ยงที่ตรงไหน เช่นนี้ พระสังฆราชาสมัยที่ 5 จึงดำรัสว่า "ชาวโลกดีแต่จะขอบุญวาสนา ไม่พิจารณาจิตตน หลงงมงาย วาสนาจะขอได้อย่างไรมา"
@ การถวายธูปใช้มือซ้ายและปักดอกกลางก่อนคืออย่างไร
มือซ้ายเป็นมือบุญ ไม่จับมีดเข่นฆ่า ไม่ตบตี ใช้มือซ้ายปักธูป เอาความหมายของความดี ปักธูปดอกกลางก่อน อันความหมายของสัจธรรมอันยืนยงเป็นหนึ่งเป็นกลางไม่มีสองคือลักษณะธรรม ปักธูปดอกกลางก่อน คือก่อตั้งลักษณะธรรม หนึ่งตรงกลางคือลักษณะธรรม กลางคือตัวเราเป็นหลัก หากเปรียบเช่นประตูเมือง ถ้าฉันอยู่ในตำแหน่งประตูเมืองด้านทิศตะวันออก ตัวเมืองก็จะอยู่ทางทิศตะวันตก ถ้าฉันอยู่ทางใต้ ตัวเมืองก็จะอยู่ทางเหนือ แท้จริงไม่ใช่ตัวเมืองเคลื่อนย้าย ที่อยู่ตะวันออกตะวันตกนั้น ฉันเองเป็นผู้ย้าย ใช้กายของฉันเป็นกลาง สรรพสิ่งในฟ้าดินล้วนอยู่ในอาณัติควบคุมของฉัน นอกจากฟ้าดินแล้ว ฉันเป็นใหญ่ในท่ามกลาง ฉันเป็นกลางในท่ามกลาง ฉะนั้น คนจึงมิให้ดูแคลนตนเอง
-
ไขหลักจิตภาวะสัจธรรม
@ มีคำพังเพยว่า "รู้หนึ่งสองสามก็เดินตามเซียนได้" หมายความว่าอย่างไร
พระอริยเจ้าเหลาจื้อ กล่าวไว้ว่า "ธรรมะ" ( ภาวะอู๋จี๋ ความว่าง ) เมื่อก่อให้เกิดหนึ่ง ( ภาวะไท่จี๋ มีการเคลื่อนไหว ) จึงก่อให้เกิดสอง ( ภาวะอินหยัง ต่างกัน ) สองก่อให้เกิดสาม สามให้กำเนิดสรรพสิ่งตามมา เป็นปัจยการสืบเนื่อง ความละเอียดแยบยลลึกซึ้งของ " หนึ่่ง " ( ----- ) ไม่มีคำอธิบายให้ถึงที่สุดได้ ใครที่ได้ความเป็นหนึ่งไว้ มิใช่อริยเมธาหรือว่าอย่างไร ฉะนั้น คำว่า " อวิ่นจื๋อเจวี๋ยจง = ศรัทธารักษาความเป็นกลางนี้ไว้ให้ดี " คำว่าจงเป็นกลางก็คือความเป็นหนึ่ง ความเป็นหนึ่งนี้ก็คือ วิถีแห่งจิตที่พระอริยเจ้าทุกพระองค์ทรงถ่ายทอดสืบต่อมา อยากจะรู้รากฐานของความเป็นหนึ่ง พึงศรัทธาใฝ่หาวิถีธรรม หลังจากได้รับธรรมะแล้วจึงจะเข้าใจในความเป็นมาของความเป็นหนึ่งแห่งตน มีคำกล่าวว่า " อรรถาธรรมไม่พ้นตน ตีเหล็กไไม่พ้นฐาน " พระอริยเก่าก่อนจึงกล่าวไว้ว่า " เรียกร้องความถูกต้องจากตนเองแล้วจะได้เอง " พระวจนะนี้แน่แท้นัก หนึ่ง คือธาตุแท้จิตตน เมื่ออยู่กับฟ้าเบื้องบนเป็นสัจธรรม เมื่อมาอยู่ในกายสังขารเป็นจิตภาวะ จิตภาวะธาตุแท้เป็นหนึ่ง สองคือพลังลมปราณ สามคือสังขารร่างกาย ฉะนั้น จึงกล่าวว่า " รู้หนึ่งสองสามก็เดินตามเซียนได้ "ธรรมะครอบคลุมทุกสิ่งทุกอย่าง หากสามารถทำตนสอดคล้องกับพลังสร้างสรรค์ในธรรมจักรวาลได้ ไม่ว่าจะขณะสงบหรือเคลี่อนไหวจึงจะได้ความเป็นธรรมะอย่างแท้จริง
@ อธิบายให้เข้าใจแล้วจึงให้รับธรรมะไม่ดีหรือ
ชาวโลกปัจจุบันจิตใจไม่เหมือนเดิม หนทางบาปบุญคุณโทษมีอยู่คู่กัน จำจะต้องพิสูจน์ความมีพุทธสัมพันธ์และปัญญาของคนที่รู้จริงเท็จแล้วจึงถ่ายทอดให้ หากอธิบายให้เข้าใจเสียก่อน จะแยกออกได้อย่างไร อีกทั้งวิถีแห่งจิตที่พระพุทธะอริยะได้สืบทอดต่อมาบรรพอริยะยังมิกล้าแพร่งพรายแก่ใครโดยง่าย นับอะไรกับสามัญชน ดังนั้นจึงกล่าวว่า " วิถีธรรมไม่ถึงกาลอันควรจะไม่โปรด มิใช่บุคคลอันควรจะไม่ถ่ายทอดให้ " แม้จะกล่าวว่าบัดนี้เป็นยุคโปรดทั่วไปอย่างกว้างขวาง แต่ก็จะต้องมีศรัทธาในการแสวงธรรมเสียก่อน จะต้องทดสอบความจริงใจเสียก่อนจึงจะถ่ายทอดให้ได้ มิฉะนั้นใครเลยจะก้าแพร่งพรายโดยง่่าย หาเรื่องให้ฟ้าปกาศิตโทษตนเอง
-
ไขหลักจิตภาวะสัจธรรม
@ บุญสัมพันธ์ฐานบารมี คืออย่างไร
เรื่องของบุญสัมพันธ์ฐานบารมี จะต้องพูดถึงรากฐานกำเนิดเดิม หากผู้นั้นเป็นพุทธบุตรคนเดิม ธาตุแท้จิตจากฟ้าไม่มัวเมา เมื่อได้ยินใครพูดถึงอนุตตรธรรมความเชื่อมั่นจะเกิดขึ้นทันที เมื่อได้ฟังก็เกิดความเชื่อ เมื่อเชื่อก็บำเพ็ญ เช่นนี้ก็เรียกว่ามีพุทธสัมพันธ์ ที่ว่ามีฐานบารมีหรือฐานตำแหน่งนั้นคือ คนที่มีพุทธสัมพันธ์ เมื่อได้รับวิถีธรรมแล้วก็ใส่ใจทุกขณะ เกรงว่าจะตกต่ำตามเขาไม่ทัน หมั่นสร้างสมกุศลบุญ ไม่กล้าชักช้า คนเช่นนี้มีวันบรรลุได้ในที่สุด หลังจากบรรลุแล้ว ก็จะได้ฐานตำแหน่งตามมรรคผล เช่นนี้เรียกว่ามีบุญสัมพันธ์ มีฐานบารมี อีกอย่างหนึ่งคือ รูแล้วไม่เรียนเรียกว่าไม่มีบุญสัมพันธ์ เรียนแล้วไม่เป็นจริงเรียกว่าไม่มีฐานบารมี พระอริยะก่อนเก่ากล่าวไว้ว่า "เมื่อเยาว์วัยไม่ศึกษา เติบโตไม่เป็น เติบใหญ่ไม่ศึกษา แก่เฒ่าเศร้าหมอง" อย่าคิดว่าวันนี้ไม่เรียน ยังมีวันพรุ่งนี้ ปีนี้ไม่เรียนยังมีปีหน้า วันเดือนหมดไป ขวบปีไม่รอคอยเรา ควรทำแล้วไม่ทำจะเสียใจในภายหลัง ชายชาตรีจะไม่ทำสิ่งอันต้องเสียใจในภายหลัง เมื่อถึงเวลาสำนึกเสียใจ ยังจะทันการหรือ
@ พุทธบุตรคนเดิมคืออย่างไร
เริ่มกำหนดกาลขาลป่าดงพงทึบ สัตว์ป่ามากมาย มนุษย์อยู่ร่วมกับสัตว์ ดื่มเลือดกินเนื้อสัตว์สด ๆ อาศัยอยู่ตามถ้ำโพรง ไม่อาจปกครองโลก แม้จะมีคนก็เหมือนไม่มีคน พระอภิภูผู้เป็นเจ้า ทรงเห็นว่าโลกไม่เป็นโลก จึงโปรดเจาะจงส่งพุทธบุตรทั้งหลายจากแดนพุทธะลงมาสู่โลก เรียกว่า "พุทธบุตรคนเดิม" (เอวี๋ยนฝอจื่อ) เรียกสั้น ๆ ว่า "คนเดิม" จากนั้น
อิ่วเฉาซื่อ อุบัติมา มีปัญหาในทางสร้างบ้านบนคาคบไม้ หลีกเลี่ยงอันตรายจากสิงห์สาราสัตว์ ฯ
สุยเหยินซื่อ มีปัญญาเสียดสีไม้ให้เกิดไฟ ให้มนุษย์พ้นจากโรคภัยไข้เจ็บ ที่ต้องกินของดิบเน่าเหม็น
โฮ่วจี มีปัญญาสอนผู้คนให้ทำไร่ไถนา
เสินหนง รู้สรรพคุณยาต้นไม้ใบหญ้า
เซวียนเอวี๋ยน สร้างเสื้อผ้ามาลา
ชังเจวี๋ย สร้างอักษร
หลิงหลุน สร้างเสียงดนตรี
จากนั้นก็เริ่มกำหนดจริยพิธี ดนตรีศึกษา วัฒนธรรม ของโลกเริ่มพร้อมสรรพ ประมาณการความเป็นมาทั้งหมด ล้วนเกิดแต่ปัญญาของจิตญาณ
@ วิถีธรรมนี้เป็นสัจธรรม แต่เพราะเหตุใดคนส่วนใหญ่จึงไม่เชื่อ
เรื่องนี้ขึ้นอยู่กับบุญบารมีของบรรพบุรุษประการหนึ่ง และขึ้นอยู่กับพื้นฐานบารมีของตน อีกประการหนึ่ง ผู้มีบุญสัมพันธ์สดับรับไว้แล้วไม่กล้าละทิ้ง ไม่มีบุญสัมพันธ์ดึงดันก็ไปไม่รอด แม้ไม่มีรากฐานของความเป็นพุทธะ คงยากที่จะเข้าสู่วิถีอนุตตรธรรม รวมความว่า บ้านที่มีคุณธรรมจึงได้กำเนิดบุตรบำเพ็ญได้ เรื่องนี้เปรียบเช่นเหมืองแร่ที่มีทองคำมากมาย ทางการอนุญา๖ให้ประชาชนขอสัมปทานบุกเบิก คนโง่เขลาไม่รู้เรื่อง ไม่ใส่ใจ คืดว่าในก้อนหินจะมีทองได้อย่างไร ส่วนคนฉลาดฝีเท้าไวไปถึงก่อนได้สัมปทานบุกเบิก ขุดทองได้วันละพันตำลึงกลายเป็นเศรษฐีทันที ต่อมาคนโง่เขลารู้ว่ามีทองจริงรีบไปขอสัมปทานบุกเบิกบ้าง แต่ก็สายเสียแล้ว แร่ทองคำที่มีอยู่ทั้งหมดถูกคนฉลาดเอาไปจนเกลี้ยง ขณะนั้นคนโง่เขลาแม้จะสำนึกเสียใจก็สายเกินการ ดังนั้นจึงกล่าวว่า "มีบุญสัมพันธ์เกิดทันพระพุทธะอุบัติ ไม่มีบุญเกิดหลังพระนิพพานแล้ว"
-
ไขหลักจิตภาวะสัจธรรม
@ มักจะเห็นผู้ศึกษาธรรม เมื่อแรกเริ่มวิริยะ นานวันชักเหนื่อยล้า ไม่รู้ว่าเป็นเพราะเหตุใด
เมธาจารย์เก่าก่อนกล่าวว่า "รับธรรมง่ายแต่บำเพ็ญยาก บำเพ็ญง่ายแต่บรรลุยาก" หมายความว่า คนมักไม่อาจเสมอต้นเสมอปลาย คนเก่าก่อนกล่อมเกลาชาวโลก โดยเดิมทีมีผู้รู้ก่อนสอนให้คนข้างหลังรู้ตามมา คนที่รู้ตามมาเอาอย่างผู้รู้ก่อน บัดนี้เป็นกำหนดโปรดทั่วไป แต่ละตำหนักพระจะสำเร็จหรือล้มเหลว หน้าที่ทั้งหมดอยู่ที่ผู้รับผิดชอบ ระฆังทองไม่เคาะก็ไม่ดัง ชาวโลกไม่เรียกก็ไม่ตื่น บรรพอริยะกล่าวว่า "คนอาจเผยแผ่ธรรมะ มิใช่ธรรมะเผยแผ่คน"พุทธบุตรปัญญาชนครั้งก่อนเก่า ยังจะต้องคอยให้อาจารย์ฉุดจูง นับอะไรกับคนสมัยนี้ที่เป็นสามัญชนเสียส่วนใหญ่ ฉะนั้นผู้นำการปฏิบัติ พึงสำนึกตนว่า เพื่อกล่อมเกลาชาวโลก จะต้องทำตัวเป็นบรรทัดฐานของผู้ปฏิบัติบำเพ็ญที่ดี แม้จะกล่าวว่า "มีแต่จะขอมาเรียน ไม่มีที่จะไปแค่นสอน" แต่ทว่าไม่สอนแล้วสำเร็จได้เองหมื่นคนหาไม่ได้สักหนึ่งเดียว จึงต้องเร่งรัดผู้นำพารับรอง (อิ๋นเป่าซือ) หมั่นบรรยาย หมั่นพูดเกี่ยวกับการกำหนดชีวิต บำเพ็ญจิตสำรวมกาย กำจัดอบายมุขละเว้นผิดในกาม มนุษย์ธรรมงามพร้อม เกรงพระโองการฟ้า ความมุ่งมั่นแข็งแกร่ง ขจัดความคิดฟุ้งซ่านซับซ้อน ทำใจให้สงบ ขยันและประหยัด รู้จักประมาณการ ถือศีลกินเจ กำหนดคุณงาม ละเว้นความผิด กลับตัวกลับใจแก้ไขความผิด สำนึกรู้สิบหกข้อสำคัญที่สุด ควรทำให้คนเคารพปฏิบัติได้ทุกข้อโดยไม่เปลี่ยนแปลง ท่านอาวุโสก่อนเก่ากล่าวไว้ว่า "ไม่สร้างคุณไม่ตกผล" แม้จะกล่าวว่าส่งเสริมผู้อื่น แท้จริงคือส่งเสริมตนเอง จึงต้องปฏิบัติให้เสมอต้นเสมอปลาย ไม่เปลี่ยนแปลง
@ ธรรมะสูงหนึ่งศอก มารสูงพันวา เหตุผลนี้มีจริงหรือไม่
หลังจากกำหนดกาลขาลที่คนได้ถือกำเนิดมาในโลก จนบัดนี้ มีภัยพิบัติเกิดขึ้นหลายครั้ง บาปเวรกองเท่าภูเขา หนี้เก่าชาติก่อนกผ้ยังชำระไม่หมดยังก่อขึ้นใหม่ในชาตินี้ จนกระทั่งหนี้เวรท่วมท้น ทบต้นวนเวียนเกิดตายไม่สิ้นสุด เมื่อได้รับวิถีธรรม หมู่มารเจ้ากรรมนายเวร เกรงว่าเราจะบรรลุพ้นไปจากวัฏจักร ไม่มีทางทวงถามได้จึงต่างไปทวงถามจากพญายม พญายมธำรงไว้ซึ่งความยุติธรรมเป็นที่สุด แน่นอน เมื่อมีเจ้าหนี้ทวงถามย่อมไม่อาจปิดห้ามการแจ้งความ ดังนั้น บ้างจึงชั่วร้ายไปตามภูติผี บ้างได้รับอุบัติเหตุ บ้างเจ็บป่วยเรื้อรัง ต่าง ๆ นานา เนื่องจากมีแรงอุปสรรค ผลผักดันให้เสียหายทุกข์ยากอยู่เบื้องหลัง เฉพาะหน้าก็มีแต่เรื่องเดือดร้อนวุ่นวาย ฯลฯ อันเป็นการใช้หนี้ลบล้างบาปเวรที่ผ่านมา ผู้ที่ศึกษาไม่ลึกซึ้ง ก็จะว่า "ฉันรับธรรมะ บำเพ็ญบุญวาสนา เหตุไฉนจึงยังได้รับเคราะห์ภัย" ทำให้คนทั่วไปยิ้มเยาะ ญาติเพื่อนฝูงวิจารณ์กันข้างหลัง เป็นเหตุให้ความตั้งใจถดถอยกันมากมาย ซึ่งหารู้กันไม่ว่า "หยกไม่เจียระนัย ไม่เป็นรูป ทองไม่เผาไฟไม่มีค่า แม้ไม่มีเขาสูง จะมีที่ลุ่มต่ำได้อย่างไร ผ่านการตีนับพันครั้ง จึงจะเป็นเหล็กดีได้" จึงหวังว่าจะอดทนกันได้จึงจะดี ท่านบรมครูขงจื้อกล่าวไว้ว่า "เล็กน้อยอดไม่ได้ จะเสียการใหญ่"
-
ไขหลักจิตภาวะสัจธรรม
@ คำปฏิญาณที่ว่าให้ฟ้าอัสนีตำหนิโทษ เคยได้ยินหรือไม่
ฟ้าโกรธโทษผิด อัสนีบาตบริภาษโทษ ตรงกับคำชาวบ้านที่ว่า " อู่เหลยฮงเซิน " คือถูกผ่าด้วยสายฟ้าทั้งห้า สายฟ้าคือความแกร่งของ " หยัง " หรือพลานุภาพของความสว่าง สายฟ้าทั้งห้าคือ สายฟ้าจากฟ้า สายฟ้าจากดิน สายฟ้าจากหยัง (ความสว่าง) สายฟ้าจากอิน (ความมืด) และสายฟ้าพลังธรรม เมื่อสายฟ้าจากฟ้าพุ่งวาบ ความมืดมัวอับเฉาจะกระเจิงหาย
เมื่อสายฟ้าจากดินพุ่งวาบ ต้นไม้ใบหญ้าจะตื่นตัวเจริญงาม
เมื่อสายฟ้าจากหยังพุ่งวาบ อัปรีย์มิจฉาบรรยายกาศปลาตพลัน
เมื่อสายฟ้าจากอินพุ่งวาบ งูเงี้ยวเขี้ยวขอก็หดหาย
เมื่อสายฟ้าจากพลังธรรมพุ่งวาบ วิถีธรรมก็ฟูเฟื่อง
ไม่ใช่เพียงเสียงฟ้าร้องฟาดครืน แต่ยังตื่นหูตื่นใจให้คนหลงได้สำนึก เช่นนี้เรียกว่าอัสนีบาตสายฟ้า ซึ่งก็หมายถึงในกายคน มีพร้อมด้วยสายฟ้าทั้งห้าเช่น ในขณะบันดาลโทสะหรือละอายใจ ใบหน้า หู ตา จะร้อนผ่าว เช่นนี้ มิใช่สายฟ้าจากฟ้าพุ่งวาบหรือ
คนที่มีพฤติกรรมชั่ว พะว้าพะวง เช่นนี้ มิใช่สายฟ้าจากดินพุ่งวาบหรือ
คนที่ก้าวร้าวล่วงเกินผิดจริยา จะอกสั่นหวั่นไหว เช่นนี้ มิใช่สายฟ้าจากหยังพุ่งวาบหรือ
คนที่มีเล่ห์เหลี่ยมราคะ จะประหวั่นพรั่นใจนั่ง นอน ร้อนรน เช่นนี้ มิใช่สายฟ้าจากอินพุ่งวาบหรือ
คนที่ผิดต่อธรรมะ จิตใจสับสนวุ่นวาย ฟุ้งซ่าน เช่นนี้ มิใช่สายฟ้าพลังธรรม พุ่งวาบหรือ
ในขณะที่สายฟ้าทั้งห้าปรากฏ สัมมาทิฐิกับมิจฉาทิฐิ กำลังจะปะทะกัน ฉับพลันนั้นจิตสำนึกเกิดขึ้น ยำเกรงสายฟ้าจากฟ้า ได้เปิดทวารฟ้าในตน สังวรณ์ระวังสายฟ้าจากดิน จะปิดทวารดิน (ทวารตัณหา) ในตนได้ คนที่รักษาสายฟ้าหยังไว้ไม่ให้พุ่งวาบ คือรักษาพลังธาตุเดิมทีไว้ได้ มิให้สายฟ้าดินพุ่งวาบ จะรักษากายธาตุเดิมแท้ไว้ไม่ให้แตกซ่าน หมั่นประคองรักษาสายฟ้าพลังธรรมไว้ จะรักษาวิญญาณธาตุไว้ได้ เมื่อคุณวิเศษทั้งสามของตน ( กายธาตุ พลังธาตุ วิญญาณธาตุ ) รวมศูนย์ พลังธาตุทอง ธาตุไม้ ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุดิน ในกายตนไม่แตกซ่าน ก็ไม่ยากที่จะกลับคืนสู่โฉมหน้า ( ะาตุแท้ ธรรมญาณ ) เดิมทีของตน อันเป็นวิมุติภาวะตลอดไป เช่นนี้ ย่อมเป็นเช่นที่อริยะโจวกง * ได้ " ซาบซึ้งถึงลมและสายฟ้า " เช่นที่ท่านจอมปราชญ์ขงจื้อ " เปลี่ยนสีหน้า เมื่อฟ้าร้อง ลมกรรโชก " * หากปล่อยให้กายธาตุหวั่นไหว พลังธาตุแตกกระจาย และ วิญญาณธาตุคร่ำเครียด จิตใจวิญญาณก็จะสะท้านกำลังขวัญไม่มั่นคง หน้าตาราศีก็จะอับเฉา โรคภัยเข้าเกาะกิน เช่นนี้ มิรู้เลยว่าเป็นทางนำไปสู่ความตาย มีหรือที่จะต้องรอให้อัสนีบาตสายฟ้าที่มองเห็นด้วยตาเนื้อลงฟาดฟัน ให้เป็นการลงโทษอย่างชัดเจน
หมายเหตุ :
โจวกง * ท่านเป็นผู้สำเร็จราชการในรัชสมัยโจวเฉิงอ๋วง เป็นข้าแผ่นดินผู้ซื่อสัตย์ และมีภาวะจิตอันสงบตรงต่อฟ้า เมื่อถูกเข้าใจผิดฟ้าจึงพิโรษ เกิดลมฟ้าคะนอง พัดข้าวในนาเอนราบไปกับดิน ถอนรากโคนต้นไม้ล้มลงเป็นแถบ เมื่อเจ้าแผ่นดินเลิกเข้าใจผิดแล้ว ก็เกิดลมฟ้าคะนองอีก พัดข้าวในนาและต้นไม้ที่ล้มราบกับดินให้ยืนต้นขึ้นใหม่ เพื่อเตือนใจเจ้าแผ่นดินและขุนนางทั้งหลายให้สำนึก
เปลี่ยนสีหน้าเมื่อฟ้าร้องลมกรรโชก * ท่านจอมปราชญ์ขงจื้อจะเคร่งขรึม นอบน้อม ห่วงใย ภาวนาสำนึกผิด และขอไถ่โทษแทนคนทั้งหลายทุกครั้งที่ฟ้าร้องคำรามและลมกรรโชก เพื่อคลี่คลายภัยพิบัติแก่แผ่นดินในทางอ้อม
-
ไขหลักจิตภาวะสัจธรรม
@ เหตุและผลกรรมคืออย่างไร
เหตุคือต้นเริ่มเดิมที ผลคือผลกรรมที่สำเร็จจากเหตุนั้น ชาวโลกไม่อาจ " ละเว้นความชั่วทั้งปวง ยึดถือปฏิบัติความดีทุกอย่าง " ด้วยเหตุไม่เข้าใจหลักที่เหตุและผลกรรมตามสนอง พึงรู้ไว้ว่า หลักสัจธรรมของฟ้ากระจ่างดังกระจกใส ไม่เคยผิดพลาด เหตุจากบุญก็ตอบสนองด้วยบุญ และเหตุจากบาปก็สนองด้วยบาป ท่านเซ่าคังเจี๋ย ( ปราชญ์ในสมัยราชวงศ์ซ่ง ) กล่าวไว้ว่า " มีคนมาขอให้พยาการณ์ดวงชะตา ว่าอย่างไรเป็นภัย อย่างไรเป็นวาสนา " ข้าพเจ้าตอบว่า
" เราเอาเปรียบเขาคือภัย ถูกเขาเอาเปรียบคือวาสนา "
" มีคฤหาสน์พันหลัง กลางคืนได้นอนเพียงแปดฟุต "
" ผืนนาอุดมนับหมื่นไร่ กินได้วันละทะนาน ยังจะดูโชคชะตาไปทำไม จะให้พยากรณ์อะไร "
" รังแกผู้อื่นจะเป็นภัย อภัยแก่ผู้อื่นเป็นวาสนา "
" ร่างแหฟ้ากว้างใหญ่ ( ไม่มีรั่วไหล ) ตอบสนองฉับไว "
ท่านจอมปราชญ์เหลาจื้อ กล่าวไว้ว่า
" ปลูกแตงย่อมได้แตง ปลูกถั่วย่อมได้ถัว "
" เมื่อปลูกไว้ไม่ผิดพลาด สิบปีหยั่งรากตกผล จะเป็นถัวหรือเป็นแตง ( ผลกรรมอะไร ) ยังคงต้องใช้หนี้เหมือนกัน "
ในพุทธคัมภีร์มีคำว่า
" อยากรู้เหตุแห่งกรรมเมื่อชาติก่อน ให้ย้อนดูที่ได้รับอยู่ในชาตินี้ "
" อยากรู้ชาติหน้าจะเป็นอย่างไร ให้ดูจากที่ทำไว้ในชาตินี้ "
รวมความก็คือ มีเหตุก็มีผล มีผลต้องมีเหตุ "เหตุของทุกข์ได้ผลทุกข์ เหตุของสุขได้ผลสุข " ไม่มีข้อสงสัยใดเลย
@ คุณสัมพันธ์ห้า ศีลห้า ธาตุทั้งห้าเป็นหลักเดียวกันหรือไม่
ศาสนาปราชญ์ มีหลัก เมตตา มโน ฯ จริย ฯ ปัญญา ฯ และสัตย์ ฯ เป็นเบญจธรรม
ศาสนาพุทธ มีหลัก ปาณาฯ อทินนาฯ มุสาฯ กาเมฯ สุราฯ เป็นเบญจศีล
ศาสนาเต๋า มีหลัก คุมธาตุ ทอง ไม้ น้ำ ไฟ ดิน เป็นเบญจธาตุ
สรุปแล้ว ศีลทั้งสามของศาสดา แม้ว่าจะมีชื่อต่างกัน แต่ก็มีหลักเป็นอย่างเดียวกัน เหตุอันใดหรือลองคิดดู
หากไม่ละเว้นฆ่าสัตว์ ก็เท่ากับขาดเมตตา ขาดธาตุไม้
หากไม่ละเว้นลักขโมย ก็เท่ากับขาดมโนธรรม ขาดธาตุทอง
หากไม่ละกาม ก็ขาดจริยา ขาดธาตุไฟ
หากไม่ละสุราเมรัย ก็ขาดปัญญา ขาดธาตุน้ำ
หากไม่ละมุสามิจฉาวาจา ก้ขาดความสัตย์ ขาดธาตุดิน
ฉะนั้น ศาสนาปราชญ์ จึงสอนให้คนคุมธาตุทั้งห้า ให้สอดคล้องกับจิตอันเป็นกลาง รู้ละวาง รู้ให้อภัย จิตไม่เอนเอียง ศาสนาพุทธ สอนให้คนรักษาศีลห้า เพื่อร่วมสมานกับเมตตาจิต ศาสนาเต๋า สอนให้คนบรักษาำเพ็ญธาตุทั้งห้า เพื่อรักษาจิตญาณสว่างใส เป็นภาวะเดียวกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หลักทั้งนี้ไม่มีอะไรต่างกันเลย
-
ไขหลักจิตภาวะสัจธรรม
@ การครองคู่ทำลายสุขภาพ เหตุใดปฏิบัติธรรมนี้จึงไม่ห้าม
ฟ้าดินสมานกันทำให้เกิดสรรพสิ่ง หญิงชายสมานกันจึงได้แพร่พันธุ์ นี่คือการสร้างสรรค์ ศาสนาพุทธและเต๋าเวทนาสงสารที่คนต้องถูกผูกมัดเหนื่อยยากจากลูกเมีย ปลีกตัวไม่พ้นจนชั่วชีวิต จึงมิได้มีคู่ ยุคนี้เป็นยุคโปรดสัตว์อย่างกว้างขวางทั่วไป โดยไม่ขัดต่อมนุษย์สัมพันธ์ พ่อลูกร่วมบำเพ็ญ สามีภรรยาร่วมบำเพ็ญ นักศึกษาไม่ละทิ้งการเรียน ชาวนายังคงทำนาได้ต่อไป คนทำงานก็ไม่เสียงาน คนค้าขายก็ไม่เสียเวลา กึ่งอริยะกึ่งปุถุชน จะคัดเลือกผู้บำเพ็ญจริงจากครัวเรือน ดังคำกล่าวว่า "ธรรมะของกัลยาณชนเริ่มต้นจากคู่สามีภรรยา" ที่กล่าวว่าห้ามครองคู่นั้นคือ ให้รู้ประมาณการอันควร หากมีผู้รู้ตื่นตั้งแต่ต้น เกรงจะถูกผูกพันด้วยครอบครัว บุตรภรรยา ก็จะต้องป้องกันตัวไว้ก่อนเจ็บไข้ เมื่อมีลูกก็จะยิ่งต้องขยัน ประหยัด ตั้งใจเลี้ยงดู การกระทำทุกอย่างชักนำไปในทางดี เหนือขึ้นไปไม่ละอายต่อบรรพบุรุษ ล่างลงไปไม่ผิดต่อลูก ลองดูคำว่ากตัญญู ท่อนบนเป็นตัวแก่ ข้างล่างเป็นตัวเด็ก หากทุกคนไม่มีครอบครัว ห้าสิบปีให้หลังจักรวาลนี้ก็เป็นสถานว่างเปล่ายังจะมีธรรมะอะไรให้พูดกันอีก
@ สุรา นารี โลภ อยาก อารมณ์ รู้อยู่ว่าเป็นภัยแก่ตน แก่สัจธรรม เหตุใดจึงกำจัดได้ยาก
ในศีลห้าของศาสนาพุทธ สุรา นารี เป็นข้อห้ามที่สำคัญ สุราพาใจให้วิปริต นารี (กามราคะ) ทำลายสุขภาพ โลภอยากทำลายคุณงาม อารมณ์ทำลายตับ บุหรี่ทำลายปอด ห้าสิ่งนี้เป็นพิาภัยทั้งห้าของฟ้าดิน ที่กล่าวว่า "โลกห้ามลทิน" (โลกโลกีย์) ก็คือเช่นนี้ ฟ้ามีพลานุภาพของธาตุทั้งห้า แผ่นดินมีคุณสมบัติของธาตุทั้งห้า คนมีอวัยวะของธาตุทั้งห้า ธาตุทั้งห้าเมื่อนำมาใช้ในทางที่ดีก็จะเป็นเบญจธรรม เมื่อนำมาใช้ในทางไม่ดีก็จะเป็นเบญจพิษสุรา นารี โลภ อยาก อารมณ์ บุหรี่ แปรธาตุมาจากธาตุทั้งห้า
ธาตุทอง แปรเป็น โลภ
ธาตุไม้ แปรเป็น กามราคะ
ธาตุน้ำ แปรเป็น สุรา
ธาตุไฟ แปรเป็น อารมณ์
ธาตุดิน แปรเป็น ยาสูบ
-
ไขหลักจิตภาวะสัจธรรม
@ ย้อนมองส่องตนคืออย่างไร
คนเมื่อเกิดมาในกายสังขาร ความคิดคำนึงจะมากมาย คิดออกนอกตัว (โลภอยากมากมาย) จะไปได้เรื่อยเหมือนสายน้ำไหลลงสู่ที่ต่ำ คิดเข้าหาตัว (พิจารณาความผิดตน) จะฝืน ( เหมือนทวนกระแสความชั่ว) เดินไปได้เรื่อยจะเป็นผี (เดินทางเตียนเวียนลงนรก) ฝืนเดินเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ (เดินทางรกวกขึ้นสวรรค์) หรืออีกนัยหนึ่งคือ ปล่อยใจเป็นผี เก็บใจเป็นอริยะ จึงขอเตือนให้ศึกษาธรรมะ ก็คือเรียกใจคืนมา เรียกใจคืนมาคือเรียกความคิดคำนึงคืนมา ย้อนกระแสความคิดคำนึงก็คือ ย้อนมองส่องตนนั่นเอง เมื่อมีเวลาว่าง รู้จักเก็บใจไว้ในจุดนี้ จะลืมเขาลืมเรา (จิตว่างไม่มีทั้งตนและคนอื่น) ประคองจิตเป็นหนึ่งเสมอ เป็นหลักการของการพ้นทุกข์ได้สุข ในพุทธคัมภีร์บันทึกไว้ว่า สองหกทุกเวลาไม่ห่างจากจุดนี้ (สองหกหมายถึงสิบสองชั่วยาม ยี่สิบสี่ชั่วโมง) ท่านจอมปราชญ์ขงจื้อกล่าวไว้ว่า "เรียนรู้ให้หมั่นทบทวน" (เมื่อรู้ธาตุแท้ธรรมญาณให้หมั่นกล่อมเกลา) ทั้งนี้ล้วนแต่สอนให้เราทำความปราณีตให้เกิดแก่จิตดังนั้น ผุ้มีความมุ่งมั่นในวิถีธรรมจะไม่เอาใจใส่ในการนี้ไม่ได้
@ ฝึกฝนบำเพ็ญคืออย่างไร
บำเพ็ญ (ซิว) คือควบคุมให้สงบ ทำให้สมบูรณ์ ฝึกฝน (เลี่ยน) คือกำจัดภาวะอับเฉา (อิน) ฟื้นฟูภาวะสว่างใส (หยัง) คนเราตั้งแต่เกิดกายสังขารความโลภอยากก็ค่อยทวีขึ้น ความเห็นแก่ตัวเป็นภาวะอิน ธาตุแท้ธรรมญาณคือภาวะหยังบริสุทธิ์ รู้จักย้อนมองส่องตนเห็นจิตภาวะแท้ก็คือ เอาภาวะหยังบริสุทธิ์ไปแปรเปลี่ยนภาวะอิน ภายในก็ฝึกฝนขับพลังอิน ภายนอกก็ฝึกฝนขับมิจฉาพลัง ฝึกฝนด้วยความสุขุมพร้อมกันทั้งภายนอกภายในให้เกิดความพอดีอย่าให้มากหรือน้อยไป นานวันเข้าก็จะได้สัมมาภาวะความเป็นกลางอันสมานฉันท์ได้เอง
พิษทั้งห้า ห้าธาตุ เบญจธรรม ผู้ได้บำเพ็ญ
สุรา น้ำ ปัญญา ธาตุน้ำภาวะอินฝึกฝนเป็นหยังจะไม่อยากสุรา
กามราคะ ไม้ เมตตา ธาตุไม้ภาวะอินสิ้นไปกลายเป็นหยังกำจัดกามราคะ
โลภอยาก ทอง มโนธรรม ธาตุทองภาวะอินฝึกฝนเป็นหยังจะไม่โลภอยาก
อารมณ์ ไฟ จริยฯ ธาตุไฟภาวะอินจะสิ้นไปกลายเป็นหยังมลายอารมณ์
ยาสูบ ดิน สัตยฯ ธาตุดินภาวะอินฝึกฝนเป็นหยังจะไม่อยากสูบบุหรี่
-
ไขหลักจิตภาวะสัจธรรม
@ ความหมายของคำว่าเมตตากรุณา
พุทธะมีเมตตากรุณาเป็นพื้นฐาน มีความสุขร่วมกับผู้อื่น (ปรารถนาให้ผู้อื่นได้สุข) เรียกว่าเมตตา มีความทุกข์ร่วมกับผู้อื่น (ปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ เรียกว่ากรุณา) ความสุขของผู้อื่นก็คือความสุขตน ความทุกข์ของผู้อื่นก็คือความทุกข์ตน จึงมีคำกล่าวว่า " ให้ความสุขคือเมตตา ช่วยให้พ้นทุกข์คือกรุณา "เวไนยสัตว์คือพุทธะ พุทธะคือเวไนยสัตว์ เวไนยสัตว์จมอยู่ในทะเลทุกข์ พุทธะตั้งปณิธานจะฉุดช่วย พ้นจากเมตตากรุณาหามีพุทธะไม่
@ คนกับฟ้าร่วมกายคืออย่างไร
จักรวาลคือท้องฟ้าใหญ่ คนคือท้องฟ้าผืนเล็ก หรืออีกนัยหนึ่งคือ คนคือจักรวาลน้อย ในจักรวาลมีชั้นเหนือบรรยากาศ ชั้นบรรยากาศ และชั้นสัญลักษณ์คนก็มีชั้นเหนือบรรยากาศ ชั้นบรรยากาศและสัญลักษณ์ กระดูกเลือดเนื้อและรูปลักษณ์อื่น ๆ คือสัญลักษณ์ ลมหายใจ (อารมณ์) ถ่ายเทเข้าออกนอกในกายคือชั้นบรรยากาศ จิตที่ปกครองสรรพางค์กายคือเหนือชั้นบรรยากาศ สัญลักษณ์ของคนกับเทหวัตถุของจักรวาลใกล้เคียงกัน พลังอากาศในจักรวาลกับพลังธาตุในกายคนตรงต่อกัน จิตญาณของคนกับสัจธรรมของจักรวาลตรงต่อกัน ในจักรวาลหากพลังอากาศใสชั้นบรรยากาศเหนือกว่าพลังบนเหนือชั้นบรรยากาศ สรรพสิ่งทั้งหลายในจักรวาลจะขาดความสมดุล ฤดูกาลจะวิปริต ลมฝนจะปรวนแปร จิตใจผู้คนจะผิดเพี้ยน สังคมจะต่ำทราม ความชั่วร้ายจะมากมี เก้าเก้าแปดสิบเอ็ดมหันตภัยจะเกิดประดังกัน จิตญาณของคนจะถูกปิดกั้นด้วยลม (อารมณ์) ก็จะขาดความสมดุล จะหลงลืมธาตุแท้ภาวะธรรมติดตามไขว่คว้าแต่ลาภสักการะ ระเริงตัณหารารคะ ตกสู่วัฏสงสาร ร่อนเร่เกิดตายไม่มีวันสิ้นสุด
-
ไขหลักจิตภาวะสัจธรรม
@ เหนือชั้นบรรยากาศ ชั้นบรรยากาศ และชั้นสัญลักษณ์ คืออย่างไร
เหนือชั้นบรรยากาศคือ สุญญตาภาวะ ไม่มีรูปลักษณ์ ไม่มีสุ้มเสียง เป็นความว่างเปล่าอันทรงศักยภาพ เมื่ออยู่ในภาวะแฝงจะเป็นที่สุดของความสงบนิ่งอันล้ำลึกเหลือประมาณ เงียบเชียบไม่เคลื่อนไหว กว้างใหญ่ไร้ขอบเขต เมื่ออยู่ในภาวะปรากฏจะเป็นมหาอานุภาพอันศักดิ์สิทธิ์ สนองรับ สนองตอบ ราบรอบ ละเอียดถี่ ไม่มีที่จะไม่ซอกซอนซาบซึ้ง แม้จะปราศจากรูปลักษณ์ แต่ก็สามารถก่อกำเนิดสรรพรูปลักษณ์ แม้ปราศจากสุ้มเสียง แต่ก็สามารถกำหนดสรรพสุ้มเสียง แม้จะมองไม่เห็นรูปลักษณ์ ไม่ได้ยินสุ้มเสียง แต่มิละเลยต่อสรรพสิ่ง ไม่มีผู้ให้กำเนิด แต่สูญญตาภาวะนั้นก็ไม่เกิดไม่ดับ ยังคงความสว่างใส ศักดิ์สิทธิ์คงอยู่เป็นนิจนิรันดร์ อีกทั้งเป็นรากฐานต้นกำเนิดของสรรพสิ่งชั่วกาล ไม่ว่าจะเป็นธาตุธรรม รูปธรรม ไม่มีอะไรนอกจากการควบคุมของภาวะนี้ไปได้ สรรพสิ่งดำรงอยู่ ภาวะนี้ก็ดำรงอยู่ สรรพสิ่งดับสูญภาวะนี้ก็ยังคงดำรงอยู่ ในคัมภีร์พระหฤทัยสูตรแสดงไว้ว่า "ไม่มีมลทินภาวะ ไม่มีวิมลภาวะ" "ไม่มี
ส่วนเพิ่มพูน ไม่มีส่วนลดน้อย" นั่นก็หมายถึงว่า ภาวะเดิมแท้ซึ่งเป็นอยู่อย่างนั้นเองของสูญญตา จึงกล่าวว่า "สัญลักษณ์อันปราศจากสัญลักษณ์ คือสัญ
ลักษณ์แท้"
ในชั้นบรรยากาศ อากาศธาตุในจักรวาล ทั่วไปเรียกว่าท้องฟ้า อากาศธาตุเบาใส ส่วนแผ่นดินหนักหนาหมักหมม สิ่งเบาใสมีภาวะเป็นหยัง สิ่งหนักหนาหมักหมมมีภาวะเป็นอิน อินกับหยังเป็นภาวะแตกต่างตรงกันข้าม ซึ่งเรียกว่า เฉียน คุน เฉียนคือฟ้า คุนคือแผ่นดิน เรามักจะกล่าวเสมอว่า "สรรพสิ่งท่ามกลางฟ้าดิน" ฟ้าดังกล่าวมีชั้นบรรยากาศ ถ้าไม่มีฟ้านี้แผ่นดินก็มิอาจดำรงอยู่ ผู้คนและสรรพสิ่งก้ไม่อาจเกิดและเติบโต ตะวันเดือนดวงดาวก็ไม่อาจลอยอยู่ ยิ่งกว่านั้นสรรพสิ่งอันมีรูปลักษณ์ ทั้งปวงล้วนไม่อาจคงอยู่ ฉะนั้น คุณประโยชน์ของชั้นบรรยากาศก็คือขับเคลื่อนผลักดัน สับเปลี่ยนอินหยัง ผันฤดูกาล ควบคุมสรรพสิ่ง ฯลฯ
ในชั้นสัญลักษณ์ คือรูปลักษณ์ต่าง ๆ เป็นโลกที่เห็นวัตถุเนื้อแท้ บนท้องฟ้ามีตะวันเดือนดวงดาว บนแผ่นดินมีภูเขา แม่น้ำลำธาร สรรพสิ่ง พืชพันธุ์แร่ธาตุ ฯลฯ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า สิ่งใดก็ตามที่มีรูปลักษณ์ ไม่ว่าจะมีอารมณ์ความรู้สึกหรือไม่ ล้วนจัดอยู่ในชั้นสัญลักษณ์
รวมความว่า เหนือชั้นบรรยากาศคือพุทธญาณภาวะของพระอนุตตรธรรมมารดา ชั้นบรรยากาศคือเทวโลก อินหยัง ชั้นสัญลักษณ์คือสรรพรูปลักษณะ กระบวนการกำเนิด จะเริ่มจากเหนือชั้นบรรยากาศ กำเนิดบรรยากาศ บรรยากาศกำเนิดสัญลักษณ์ กระบวนการเสื่อมสลาย สัญญลักษณ์เสื่อมสลายเร็วมากจากนั้นจึงเป็นบรรยากาศ ส่วนเหนือชั้นบรรยากาศไม่เสื่อมสลาย เปรียบเช่นคนใกล้ตาย จะเริ่มจากหูตาพร่ามัว มือเท้าเย็นชา จากนั้นก็ขาดใจวิญญาณออกเิดินทาง เวียนว่ายไปอาศัยกายสังขารอื่นอีก ฉะนั้น ถ้าอยากจะพ้นเวียนว่าย ไม่บำเพ็ญไม่ได้ ท่านจอมปราชญ์ขงจื้อกล่าวไว้ว่า "เช้าได้สดับวิถีธรรม เย็นตายไม่ห่วงเลย" หมายถึงการพ้นเวียนว่าย จบสิ้นการเกิดตายนั่นเอง
-
ไขหลักจิตภาวะสัจธรรม
@ รู้ได้อย่างไรว่าชั้นบรรยากาศ ชั้นสัญลักษณ์มีการเสื่อมสลาย
ชั้นบรรยากาศมีทวิภาวะอิน หยัง มีการเปลี่ยนแปลง ก็มีการเกิดตาย มีการเริ่มต้นก็มีการสิ้นสุด ท่านจอมปราชญ์ขงจื้อกล่าวไว้ว่า "สรรพสิ่งมีต้นมีปลายเรื่องทั้งหลายมีจุดเริ่มต้นและสิ้นสุด" ฟ้าดินตะวันเดือน ผีสางเทวดามนุษย์ สัตว์อากาศ สัตว์บก สัตว์น้ำ ต้นไม้ ใบหญ้า ฯลฯ สรรพสิ่งทั้งหลายล้วนมีต้นมีปลาย ฤดูกาลที่หมุนเวียนเปลี่ยนผัน หนาวร้อนสลับกัน ลมฝน ฟ้าใสมืดมัว เดือนเต็ม เดือนเสี้ยว ข้างขึ้น ข้างแรม การใด ๆ ล้วนมีจุดเริ่มและสิ้นสุด การสิ้นสุดจนถึงเริ่มต้นของชั้นบรรยากาศ เป็นเวลา หนึ่งแสนสองหมื่นเก้าพันหกร้อยปี ( 129,600 ) กำหนดได้สิบสองบรรจบกาล ( ฮุ่ย ) โดยอาศัยลำดับชวดฉลูถึงกุน เป็นสัญญลักษณ์ในการนับ
หกบรรจบกาลแรก พัฒนาก่อเกิดสรรพชีวิต สรรพสิ่ง
หกบรรจบกาลสุดท้าย เก็บทำลายสรรพชีวิต สรรพสิ่ง ก็คือจากไม่มีมาสู่การมี
จากบรรจบกาลมะเมีย ไปบรรจบ บรรจบกาลชวด เป็นช่วงจากความมีไปสู่ไม่มี
เบิกฟ้าในบรรจบกาลชวด เก็บฟ้าในบรรจบกาลจอ
ผนึกแผ่นดินในบรรจบกาลฉลู เก็บแผ่นดินในบรรจบกาลระกา
กำหนดคนในบรรจบกาลขาล เก็บคนในบรรจบกาลวอก
บรรจบกาลกุน บรรยากาศคละเคล้าปะปน พอเริ่มบรรจบกาลชวดก็เบิกฟ้าใหม่ หมุนเวียนเช่นนี้เรื่อยไป
พงศาวดารสื่อจี้บันทึกไว้ว่า " เบิกฟ้าในบรรจบกาลชวด แผ่นดินผนึกในบรรจบกาลฉลู คนเกิดในบรรจบกาลขาล" คำกล่าวเหล่านี้ยืนยันได้ว่า ในชั้นบรรยากาศมีสิ้นสุดและเริ่มต้น เมื่อชั้นบรรยากาศมีสิ้นสุดและเริ่มต้น ในชั้นสัญญลักษณ์ก็ยิ่งไม่ต้องพูดถึงอีกเลย อีกประการหนึ่ง ความเปลี่ยนแปรของชั้นบรรยากาศก็อาจอาศัยเรื่องเล็ก ๆ มาเทียบเคียงได้เช่น หนึ่งรอบวันมีหนึ่งกลางวันกลางคืน เท่ากับสิบสองชั่วยาม ( 24 ชม ) กลางวันเป็นหยัง กลางคืนเป็นอิน หนึ่งรอบวันจึงมีทั้งเวลาเปิด ( สว่าง ) และเวลาปปิด ( มืด ) เป็นเช่นนี้ทุกวัน ปีหนึ่งมีสี่ฤดูเท่ากับสิบสองเดือน ฤดูใบไม้ผลิ ฤดูร้อน เป็นหยัง ฤดูใบไม้ร่วง และ ฤดูหนาว เป็นอิน ในเวลาหนึ่งปี จึงมีทั้งช่วงเปิด ( สว่าง ) และช่วงปิด ( มืด ) เป็นเช่นนี้ทุกปี เทียบเคียงได้เช่นกันกับหนึ่งธรรมกาลใหญ่ ( เอวี๋ยน ) ก็มีสิบสองบรรจบกาล
บรรจบกาลชวด ภาวะหยังก่อกำเนิด
บรรจบกาลมะเมีย อิน ดิ่งตกต่ำ
บรรจบกาลมะเมีย เปรียบได้ดังเที่ยงวัน
บรรจบกาลชวด เปรียบได้ดังเที่ยงคืน
ชวดเป็นเวลาก่อเกิดสรรพสิ่ง มะเมีย เป็นเวลาที่สรรพสิ่งเริ่มเก็บตัว ก่อนถึงมะเมียเป็นช่วงจากความไม่มี ไปสู่ความมี หลังบรรจบกาลมะเมีย เป็นช่วงจากความมี ไปสู่ความไม่มี ฉะนั้น บรรจบกาลมะเมีย จึงเป็นหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญยิ่งในหนึ่งธรรมกาล และการเปลี่ยนแปรของบรรจยกาลมะเมีย ก็เป็นภาวะวิเศษยิ่ง ฉะนั้น เมื่อคำนวนตามหลักแล้ว วันนี้จึงไล่เลียงไปถึงวันพรุ่งนี้ได้ ปีนี้จึงไล่เลียงไปถึงปีหน้าได้ ทุกอย่างทั้งเรื่องเล็กเรื่องใหญ่จึงไล่เลียงด้วยเรื่องหลักเดียวกัน จึงรู้ได้ว่า จากธรรมกาลนี้ไล่เลียงย้อนขึ้นไปถึงธรรมกาลที่แล้ว และธรรมกาลข้างหน้าต่อไป เป็นธรรมชาติที่สอดคล้องต้องกัน ไม่มีอะไรต้องสงสัย
-
ไขหลักจิตภาวะสัจธรรม
@ อนุตตรญาณ จิตภาวะ จริต แตกต่างกันอย่างไร
คนอาศัยสามห้ามาเกิด* อาศัยชีวิตแท้ที่มีคุณสมบัติของเบญจธรรมเป็นญาณชีวิต อาศัยสองห้าอันได้มาจากพ่อแม่เป็นรูปกาย ญาณชีวิตที่ประกอบด้วยคุณสมบัติของเบญจธรรมเป็นธาตุแท้เดิมที ที่มีอยู่แล้ว ทันใดที่คลอดพ้นจากครรภ์มารดา พอเปล่งเสียงออกมา แรงกดดันในชั้นบรรยากาศเข้าทางจมูก ปาก ธาตุแท้ญาณชีวิตพลันก็เปลี่ยนไป จนกระทั่งเติบใหญ่ ถูกสภาพแวดล้อมรายรอบ วัตถุธาตุต่าง ๆ ก่อให้เกิดตัณหามาบดบัง ธาตุแท้ญาณชีวิตก็เปลี่ยนไปอีก ฉะนั้น ธาตุแท้ญาณชีวิตจึงมีคุณสมบัติแตกต่างกันในภาวะของสูญญตาและภาวะของชั้นบรรยากาศ (หลี่ซิ่ง สุญญตาอันเป็นธาตุแท้เดิมที ) เมื่อได้พลังจากชั้นบรรยากาศ เราเรียกว่า " จิตภาวะ " ( ชี่จื๋อ ที่ดำรงอยู่และผันแปรไปตามภาวะแวดล้อม ) เมื่อตกอยู่ในอิทธิพลของชั้นสัญญลักษณ์ ( วัตถุธาตุ ) เราเรียกว่า จริต ( จื๋อซิ่ง จิตที่ตอบสนองต่อสิ่งเร้าจากประสาทสัมผัสทั้งห้า คือ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส )
หมายเหตุ : เชื้อของพ่อ อันประกอบด้วยธาตุทอง ไม้ น้ำ ไฟ ดิน ( 1 ห้า ) เลือดของแม่ อันประกอบด้วยธาตุทอง ไม้ น้ำ ไฟ ดิน ( 2 ห้า ) อีกทั้งชีวิตแท้ที่มีคุณสมบัติของเบญจธรรม ( 3 ห้า )
@ เป็นคนเหมือนกันแต่เหตุใดจึงต่างกันด้วยอริยปราชญ์ ปุถุชน คนโง่เขลา
เพราะเหตุว่าอนุสัย ( ชี่ปิ่ง ที่นอนเนื่องอยู่ในสันดาน ) ต่างกัน ถูกสรรพวัตถุแวดล้อมจูงใจไม่เหมือนกัน การสำแดงออกของธาตุแท้ญาณเดิมจึงต่างกัน หากอนุสัยเบาบาง วัตถุจูงใจไม่มาก ธาตุแท้ญาณเดิมมีพลานุภาพ สามารถมุ่งมั่นเจริญรอยตามบรรพอริยปราชญ์ได้ ก็บรรลุอริยปราชญ์ หากอนุสัยลึกหนา วัตถุจูงใจมาก ธาตุแท้เดิมมีกำลังอ่อน จิตใจฝักใฝ่หลงใหล ดอกไม้ในกระจกเงา ( ทุกสิ่งอันไม่จีรังดังภาพลวงตาทางโลก ) คนนั้นก็จะเป็นปุถุชนคนโง่เขลา หรืออีกนัยหนึ่งคือ ใครที่อาจถอนรากถอนโคลนตัณหาราคะ ฟื้นฟูความสว่างใสของธาตุแท้ญาณเดิมได้ก็คือ อริยปราชญ์ ผู้ที่ไม่อาจเอาชนะตัณหาราคะ ฟื้นฟูความสว่างใสของธาตุแท้ญาณเดิมได้ ก็คือปุถุชนคนโง่เขลา เปรียบได้ดั่งกระจกเงาที่มีเนื้อแท้สว่างใส แต่เมื่อนานวันไป ฝุ่นละอองจับจนพร่ามัว แล้วมิได้เช็ดล้าง กระจกภาพนั้นก้ไม่มีวันสว่างใสได้อีก ธาตุแท้ญาณเดิมของเราก็เช่นกัน ฉะนั้น ปราชญ์ท่านจึงกล่าวไว้ว่า "ให้โน้มนำจิตกล่อมเกลี้ยงธรรมญาณ" ศาสนาเต๋ากล่าวไว้ว่า "บำเพ็ญจิตฝึกธรรมญาณ" ศาสนาพุทธกล่าวไว้ว่า "รู้แจ้งเห็นจิตแท้ธรรมญาณ" แม้คำกล่าวจะต่างกัน แต่สอนให้คนฟื้นฟูธาตุแท้ญาณเดิมเป็นอย่างเดียวกัน
@ สรรพสัตว์ล้วนกำเนิดจากอนุตตรญาณ แต่เหตุใด คนจึงเป็นสัตว์วิเศษ
สัตว์โลกแบ่งออกเป็นห้าจำพวกเท่านั้น คือ สัตว์ปีก สัตว์ขน สัตว์เกล็ด สัตว์กระดอง และสัตว์เกลี้ยง ( คน )
สัตว์ปีก อาศัยเกิดจากพลังธาตุไฟ ทางทิศใต้ ทะยานบินได้สูง
สัตว์ขน อาศัยเกิดจากพลังธาตุไม้ ทางทิศตะวันออก อ่อนนอกแข็งใน
สัตว์เกล็ด อาศัยเกิดจากพลังธาตุน้ำ ทางทิศเหนือ ว่ายน้ำดำดิ่งได้
สัตว์กระดอง เกิดจากพลังธาตุทอง ทางทิศตะวันตก แข็งนอกอ่อนใน
มีแต่สัตว์เกลี้ยง เท่านั้นที่อาศัยเกิดจากพลังธาตุดิน และได้รับพลังทั้งหมดจากทิศทั้งห้า อีกทั้งพลานุภาพวิเศษจากสามโลก ได้ห่อหุ้มกายด้วยเสื้อผ้ามาลา ได้อาศัยบ้านชายคา ปราสาท มีสัตว์ทั้งสี่ทิศเป็นบริวาร มีคุณงามทั้งสี่ ( เมตตา มโนธรรม จริยา ปัญญา ) เป็นสมบัติ ฉะนั้น คนจึงเป็นสัตว์วิเศษ ต่างจากสรรพสัตว์ทั้งหลาย สูงกว่าสัตว์ใด ๆ จึงได้บรรลุมรรคผลหนทางตรง
-
ไขหลักจิตภาวะสัจธรรม
@ จิตของคนเราเหตุใดจึงชั่วดีต่างกัน
ความชั่วดีของคนกำหนดจาก จิตแท้ จิตภาวะ และจริต จิตแท้เป็นอนุตตรภาวะวิเศษใส บริสุทธิ์ปราศจากสิ่งชั่วร้าย จิตภาวะขุ่นใสไม่แน่นอน ชั่วก็ได้ ดีก้ได้ แล้วแต่ภาวะการณ์ จริตเป็นความอยากปรารถนา เป็นตัณหา เป็นอารมณ์ ชั่วร้ายไม่มีดี ฉะนั้น เมื่อจิตแท้ใช้งาน เบญจธรรมจะปรากฏ การกระทำทุกอย่างจะตรงต่อความเป็นกลาง ใช้จิตภาวะทำงาน จะแยกไม่ออกในความขุ่นใส ใช้จริตทำงาน ตัณหาจะผลักดัน อารมณ์จะผันผวน ความดีมีน้อย ความชั่วจะมีมาก ปราชญ์เมิ่งจือกล่าวว่า "จิตเป็นธาตุดีงาม" นั้นท่านหมายถึงจิตที่เป็นธาตุแท้ ปราชญ์เก้าจื้อกล่าวว่า "จิตเป็นธาตุดีและชั่ว" นั้นท่านหมายถึงจิตที่ตกอยู่ในพลังบรรยายกาศของโลก อาจารย์สวินจื้อที่กล่าวว่า "จิตเป็นธาตุชั่ว" นั้นท่านหมายถึงจริตที่ติดรูปวัตถุ พูดถึงจิตแท้คือหนักในอนุตตรภาวะวิมุติ ไม่หนักในจิตภาวะทางโลก ท่านเมิ่งจื้อจึงได้ชื่อว่า ปราชญ์ พูดถึงภาวะทางโลก คือรู้ภาวะทางโลกไม่รู้อนุตตรภาวะ ท่านเก้าจื้อจึงได้ชื่อว่าเมธาจารย์ พูดถึงจริตคือรู้แต่ตัณหาฉันทาต่อสรรพสิ่ง ไม่เข้าใจความเป็นสูญญตา ไม่เข้าใจภาวะทางโลก ท่านสวินจื้อจึงมิได้เป็นปราชญ์เมธี รวมความว่า ที่ท่านทั้งสามจื้อให้ทัศนะเกี่ยวกับความชั่วดีของจิตนั้นแตกต่างกันด้วยความตื้นลึกของธรรมะ จึงได้กล่าวไว้ไม่เหมือนกัน
@ วิญญาณสาม อนุสัยญาณเจ็ด* กับวิญญาณของคนเราต่างกันอย่างไร
จิตที่แฝงอยู่ต่างกัน ความเป็นมาก็ต่างกัน วิญญาณแฝงอยู่ในตับ อนุสัยญาณแฝงอยู่ที่ปอด รวมเป็นพลังอินหยังของจิตญาณ เมื่อพลังยังอยู่ชีวิตก็ยังอยู่ เมื่อพลังกระจายชีวิตก็ตาย ที่กล่าวว่า "ไม่เพิ่มขึ้น ไม่ลดลง ตกน้ำไม่จม เผาไฟไม่ไหม้" เปลี่ยนที่อาศัยแต่ไม่เปลี่ยนเจ้าบ้าน (จิตวิญญาณเดิม กายสังขารใหม่) ที่เป็นเช่นนี้มีแต่ธาตุแท้ธรรมญาณเท่านั้น ฉะนั้น เราจะเห็นได้จากอักษรจีน คำว่า วิญญาณ ( หุน ) อนุสัยญาณ ( ผ้อ ) ตัวประกอบอักษรข้างหนึ่งคือคำว่า ผี ส่วนคำว่า จิตญาณ ตัวประกอบอักษรข้างหนึ่ง คือคำว่า หัวใจ ซึ่งเป็นหัวใจที่ตั้งตรงแฝงอยู่ในทวารวิเศษ ไม่เข้า ๆ ออก ๆ ไป ๆ มา ๆ ทำหน้าที่เป็นหลักของสังขารร่างกาย แต่ที่ทั่วไปเรียกว่าหัวใจนั้น หมายถึงรูปลักษณ์ของหัวใจอันเป็นอวัยวะ ฉะนั้น คำว่า เต๋า ( ธรรมะ )ส่วนประกอบแรกของอักษร จึงเป็นคำว่า ศรีษะ ( หัว ) เรื่องใหญ่หรือหัวเรื่อง ( เรื่องเกิดเรื่องตาย ) จึงต้องกำหนดสร้างบุญกุศล โดยเริ่มจากหัว ( จุดสถิตจิตญาณอยู่ที่หัว )
หมายเหตุ : อนุสัยญาณเจ็ด คือ ซือโก่ว ตะกละ - ฟู่ซือ ขี้โอ่ - เฉี่ยวอิน มักมาก - ทุนเจ๋ย ชอบพนัน - เฟยตู๋ต่อ สู้ท้าทาย - ฉูฮุ่ย โลภ - โซ่วซือจุกจิกสอดรู้
-
ไขหลักจิตภาวะสัจธรรม
@ อย่างไร คือใจคน อย่างไรคือใจธรรม
จิตใจที่เกิดจากสันดานเรียกว่าใจคน เกิดจากธาตุแท้จิตเดิมถูกหลักสัจธรรมเรียกว่าใจธรรม คนทุกคนล้วนมีใจคน อีกทั้งมีใจธรรม ใจคนมีดีมีชั่วไม่ปกติ ใจธรรมบริสุทธิ์ละเอียดอ่อนแต่ไม่ปรากฏชัด แม้ไม่อาจควบคุมบังคับใจคน ใจธรรมก็นับวันจะสูญสิ้น หากควบคุมบังคับใจคนไว้ได้ ใจธรรมก็นับวันจะปรากฏ การจะบรรลุพุทธะอริยะก็จะไม่ยากเลย ใจคนเป็นแรงอารมณ์ ใจธรรมเป็นหลักสัจจะ ขณะเป็นเด็กทารกจิตเดิมแท้ยังกลมเกลี้ยงสว่างใส พอความรู้ความเข้าใจเกิดขึ้น เริ่มความเคยชินติดเป็นนิสัยไปส่วนหนึ่งก็บดบังจิตวิสัยเดิมไปส่วนหนึ่ง นานวันไปยิ่งบดบังก้ยิ่งมืดมัว จึงจมลงไปอยู่ในห้วงของกิเลสตัณหา กามราคะ อารมณ์ต่าง ๆ การบำเพ็ญมิใช่อื่นไกล ให้ตัดตัณหาความอยากภายใน ภายนอกให้กำหนดพฤติกรรม เพิ่มพาด้วยการสร้างกุศลคุณงาม วันใดที่บุญกุศลถึงพร้อม กระจกเก่าก็จะกระจ่างใสขึ้นใหม่ (คืนสู่จิตประภัสสร) เผยให้เห็นธาตุแท้อันวิสุทธิ์ได้
@ พระธรรมคัมภีร์ทั้งหลาย บทใดน่าอ่านที่สุด
อ่านพระธรรมคัมภีร์ ความหมายอันแท้จริงก็เพื่อค้นหาวิถีธรรม เมื่อได้พบวิถีธรรมแล้ว จะไม่อ่านพระธรรมคัมภีร์ก็ไม่เป็นไร เพียงแต่ประคองรักษาจิตญาณจุดนั้น ซึ่งจุดนั้นก็คือ สัจธรรมคัมภีร์ที่มิได้จารึกไว้ด้วยตัวอักษร ยิ่งกว่านั้น พุทธธรรมคัมภีร์มีถึงห้าพันสี่ร้อยแปดสิบบท ถ้าอ่านวันละหนึ่งบท สิบห้าปีจึงจะอ่านได้ถ้วนทั้งหมด วันเดือนผ่านไปเร็วมาก (ดังกระสวยทอผ้า) ที่ไหนเลยจะมีความปราณีตตั้งใจได้ถึงเพียงนั้น แต่ไม่อ่านก็ไม่ได้ ซึ่งการอ่านก็จะปฏิบัติตามคำสอนในคัมภีร์จึงจะได้ประโยชน์ ไม่เสียเวลาเปล่า เช่น คัมภีร์ต้าเสวียมหาสัตถ จงยงทางสายกลาง ลุ่นอวี่ทัสนะธรรม เมิ่งจื้อ จินกังวัชรสูตรเต้าเต๋อคุณธรรม ชิงจิ้งวุสุทธิสูตร ล้วนประเทืองปัญญาน่าอ่านทั้งสิ้น
@ ปัญญา คือชีวิตของคนเรา
คำว่าปัญญา จื้อฮุ่ย ที่เราพูดกันในอนุตตรธรรม หมายถึงธาตุแท้ญาณเดิม สว่างเห็นแจ้งในสรรพสิ่งเรียกว่า จื้อ รู้ชัดในหลักสัจธรรมเรียกว่า ฮุ่ย สนองรับสรรพสิ่ง รู้จริงทำได้จริง รู้หลักทำตามหลัก เรียกว่าปัญญาจื้อฮุ่ย ด้วยหลักการคำนวณของโป๊ยก้วยโดยสังเขปมีดังนี้ ในชั้นโลกุตตร ภาวะจิตเป็นหยัง สว่างบริสุทธิ์ มีสัญญลักษณ์เป็น ---- เมื่อลงมาเกิดในโลก ความสมบูรณ์ขาดหายกลายเป็นอิน มีสัญญลักษณ์เป็น -- -- หยังซ้อนกันเป็นสัญญลักษณ์ฟ้า (เส้นตรงสามเส้นยาวซ้อนกัน) อินซ้อนกันเป็นสัญญลักษณ์ดิน (เส้นตรงสามเส้นสั้น ซ้อนกัน 2ครั้ง) หลังเกิดตาย เมื่อภาวะอิน เข้าแทรกในหยัง ความสมบูรณ์ขาดหายกลายเป็นสัญญลักษณ์หลี่ หลี่เป็นธาตุไฟ เมื่อภาวะหยัง เข้าแทรกในอิน ภาวะจิตจากฟ้าเกิดขึ้น สัญญลักษณ์อินก็กลายเป็นขั้น ขั่นเป็นธาตุน้ำ น้ำมีคุณสมบัติเป็นปัญญา ในคัมภีร์หลุนอวี่จารึกไว้ว่า "ผู้ทรงปัญญาจะรักน้ำ" วันนี้เราจะบำเพ็ญเพื่อกลับคืนสู่ต้นกำเนิดเดิม จึงต้องใช้ความประณีตตั้งใจ เมื่อน้ำอมฤตขั่นเพิ่มขึ้น ไฟจากหลี่ลดลง ไฟอารมณ์ไม่ลุกลาม ไม่มีโทสะ ไม่ฟุ้งซ่าน น้ำอันเป็นกายธาตุ อันเป็นปัญญาหล่อเลี้ยงกายธาตุ ผสมผสานกับธาตุไฟได้พอเหมาะก็เข้าสู่ภาวะบรรลุได้ ญาณชีวิตเดิมทีที่มาจากภาวะเหนือโลก มาอยู่ในโลกจะต้องบำเพ็ญให้กลับคืนไปให้ได้ ในศาสตร์อี้จิงได้จารึกไว้ว่า "หนึ่งอินหนึ่งหยังเรียกว่าเต๋า (ธรรมะ)" ในกายคนมีอวัยวะธาตุต่าง ๆ เท่ากับสัญญลักษณ์ต่าง ๆ ของโป๊ยก้วย เมื่ออวัยวะธาตุต่าง ๆ ทำงานเป็นปกติสุขก็เข้าสู่ภาวะของธรรมะ ในบทเฟินเทียนเจวี่ยน จารึกไว้ว่า "โป๊ยก้วยคุมลมหายใจให้เวียนวน สักี่คนแต่โบราณที่รู้ชัด เบาปัญญาหาธรรมะในกระดาษ ใครไม่คาดธรรมะอยู่คู่ขั่นหลี่" (ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ในตน)
-
ไขหลักจิตภาวะสัจธรรม
@ ธรรมะประณีตด้วยการผนึกสามห้า หมายความว่าอย่างไร
สามห้าไม่เพียงแต่กล่าวกันในศาสนาเต๋าเท่านั้น ศาสนาปราชญ์และศาสนาพุทธก็เช่นกัน ศาสนาปราชญ์มีปกครองสาม ศาสนาพุทธมีไตรสรณะ ศีลห้า ศาสนาเต๋ามีคุมสาม กำหนดห้า (คุมกายธาตุ พลังธาตุ วิญญาณธาตุ กำหนดพลังเดิมของหัวใจ ตับ ม้าม ปอด ไต เอาไว้ให้คงที่) แม้ชื่อจะต่างกันแต่หลักเป็นอันเดียวกัน วันใดได้สมบูรณ์จะเป็นเซียน พุทะะ อริยะ เช่นดียวกัน นี่เป็นสามห้าภายนอก ยังมีสามห้าภายในที่ง่ายกว่าอีก บทกลอนพระโอวาทพระอนุตตรธรรมเจ้า จารึกไว้ว่า "สองห้าสมาน กายสังขาร ก็สมบูรณ์
สามห้าเข้าเกื้อกูล คนตรงศูนย์ ฟ้าเบื้องบน
แต่ละเดือน หนึ่งค่ำ (ชิวอิก) ดวงจันทร์เริ่มปรากฏครบ 3 x 5 = 15 วัน ดวงจันทร์ก็กลมเต็ม ชีวิตถึงวัยห้าสิบ ร่างกายเจริญครบถ้วน ซึ่งธรรมชาติก็เช่นกัน อะไรคือสองห้า สองห้าคือนัยน์ตา อะไรคือสามห้า เพิ่มจิตญาณรวมกับนันย์ตาเป็นสามห้า สองห้าเบื้องบนคือตะวันเดือนอันสะท้องส่องถึงกัน ถ้าคนย้อนมองส่องตนรวมศูนย์ไว้ไม่กระเจิง ก็คือวิธีการกลับคืนไปสู่ต้นกำเนิดเดิม คำในพระคัมภีร์แฝงความนัยไว้มากมาย แม้ไม่เข้าใจ ให้ยึดหลักหนึ่งจิตญาณ หนึ่งญาณทวาร เทียบเคียงให้เข้าใจ แสวงหาพระวิสุทธิอาจารย์ประทานชี้จุดก็จะเข้าใจได้ทีละขั้น เมื่อเข้าใจแล้วก็ให้ทิ้งสมมุติฐานสัญญลักษณ์ภายนอก บำเพ็ญตนให้ดีเป็นสำคัญ เช่นนี้หมายความว่าอย่างไร ในคัมภีร์จารึกไว้ว่า "อันธรรมที่เรากล่าวอ้างดังเรือแพ เมื่อรู้แท้ให้สละแพขึ้นฝั่งได้" เมื่อขึ้นฝั่งไปได้แล้วจะยังนั่งเรือแพอยู่ทำไม
@ อย่างไรคือสามวิเศษรวมศูนย์ ห้าพลังคุมธาตู *
วิธีปฏิบัตินี้เป็นความประณีตในการรวมจิตตรงศูนย์ สามวิเศษ ซันฮวา คือ กายธาตุ พลังธาตุ และวิญญาณธาตุ กายสังขารเป็นเช่นเตาไฟ ศูนย์กลางญาณทวารเป็นเช่นกะทะ ศาสนาเต๋าของท่านจอมปราชญ์เหลาจื้อ สอนให้เจริญสมาธิด้วยการกำหนดวางเตาไฟ (กำหนดลมปราณอันหลู) ตั้งกะทะ (ตั้งจิตรวมศูนย์ลี่ติ่ง) ด้วยวิธีการเช่นนี้ ห้าพลัง คือพลังจากอวัยวะภายในทั้งห้า (หัวใจ ตับ ม้าม ปอด ไต) เมื่อจิตสงบ พลังธาตุขุ่นมัวกลายเป็นเบาใส ให้รวมจิตอยู่ที่ญาณทวาร นานและไม่ขาดสาย มีตัวตนเหมือนไม่มี ดำรงภาวะนี้ไว้ยิ่งมากได้ก็ยิ่งดี ในที่สุดธาตุแท้จิตญาณก็รวมศูนย์สมบูรณ์
หมายเหต : เรื่องเกิดตายเป็นเรื่องใหญ่ มิใช่ฝักใฝ่อยู่กับวิธีการกำหนดลมปราณ การเจริญสมาธิเจริญญาณ จุดสำคัญอยู่ที่ให้รู้ญาณภาวะ ให้รู้ธรรมะอันเป็นชีวิตจริง ๆ ของตน และดำรงอยู่ในภาวะนั้นจนกว่าจะทิ้งกายสังขารคืนสู่นิพพานอันวิมุติ
@ รู้จุด หยุดนิ่ง สมาธิ สงบ พิจารณา ได้รับ ในคัมภีร์มหาสัตถคืออย่างไร
วิธีนี้เป็นความประณีตในการบำเพ็ญตามวิถีพระอริยะขงจื้อ ภายในรู้กำหนดจิตให้สงบนิ่งอยู่บนฐานอันวิเศษ ภายนอกรู้กำหนดพฤติกรรมให้อยู่ในลู่ทาง การกำหนดพฤติกรรม ให้ดำเนินด้วยใจสงบเป็นธรรมชาติ (มิได้กดดันบังคับ) รู้จุดหยุดนิ่งแล้วได้สมาธิ ได้สมาธิแล้วได้ความสงบเยือกเย็น ได้ความสงบเยือกเย็น แล้วได้ความสุขุมคัมภีรภาพ ได้ความสุขุมคัมภีรภาพจึงเกิดการพิจารณา การพิจารณานี้มิใช่อื่นไกล คือสัมมาปัญญานั่นเอง จะรู้พิจารณาว่าอย่างไรคือสัจธรรมของฟ้าเบื้องบน อย่างไรคือโลกีย์วิสัยเฉพาะตน พิจารณารู้พฤติกรรมความถูกผิด สมควรหรือไม่อย่างไรของตน อะไรคือความถูกต้องด้วยหลักสัจธรรมให้มั่นคงรักษาไว้ อะไรที่ผิดหลักสัจธรรมให้กวาดล้างไป เช่นนี้เรียกว่าได้รับ (ได้รับวิถีธรรม) ก็คือได้รับการถ่ายทอดวิถีแห่งจิตแล้ว จิตได้ประทับจิตแล้วและไม่มีภาวะใดอันมิได้เข้าถึงและลึกซึ้งในความเป็นนั้น
-
ไขหลักจิตภาวะสัจธรรม
@ ความปราณีตในการบำเพ็ญ
รู้จุดหยุดนิ่งแล้วเป็นสมาธิ (ศาสนาพุทธเรียกว่าฌาณสมาธิ) (จิตสงบเรียกว่าฌาณ รู้จิตแน่วแน่เรียกว่าสมาธิ) จุดสงบ แม้มิได้รับถ่ายทอดจากพระวิสุทธิอาจารย์ยากที่จะรู้ได้ ฌาณสมาธิอันเป็นหนึ่งทุกคนอาจมีได้ ไม่ว่าอริยะหรือสามัญชน เป็นความแน่วแน่อันไม่เปลี่ยนแปร การกล่าวว่าได้ความสงบ ได้ความสุขุมคัมภีรภาพ ได้พิจารณาได้รับ เพราะต้องอาศัยความสามารถแห่งตน ความสามารถมีมากน้อยระยะสั้นระยะยาว แต่ธาตุแท้จิตญาณอันเป็นอยู่มีอยู่นั้น ไม่เพิ่มไม่ลด ไม่มีมลทินภาวะ ไม่เป็นวิมลภาวะ เป็นภาวะเดิมทีที่แน่นอน ความสงบ ความสุขุขมฯ พิจารณา และได้รับ มีคุณสมบัติเช่นกันได้ ที่ต่างกันก็ด้วยความพยยามที่ต่างกัน มรรคผลนิพพานจึงต่างกัน ฉะนั้น จึงแบ่งวิถีธรรมเป็นสามระดับยาน แบ่งฐานบัวเป็นเก้าชั้น
@ บรรลุจิตเป็นกลางสมาน ดำรงฟ้าดิน ก่อกำเนิดสรรพสิ่ง ไม่ทราบในคนเราจะมีวิธีใช้อย่างไร
บรรลุจิตเป็นกลาง เป็นฐานของธรรมะ บรรลุคือผลักดันให้ถึงที่สุด ความเป็นกลางคือฐานของจิต สมานคือคุณภาพของจิต คนโบราณกล่าวไว้ว่า "พิชิตความคิด เป็นอริยเจ้า" ฉะนั้น การบำเพ็ญจึงมุ่งหมายให้ใจสงบ ความยินดี มีสุข โศกเศร้า โทสะ เป็นอารมณ์ มีสู้ไม่มีจะดีกว่า เช่นนี้จึงจะร่วมฐาฯเดียวกันกับฟ้าดิน เมื่อตนรู้ในคุณงามแห่งจิตแท้ตนแล้ว ยิ่งจะต้องชักจูงให้ใคร ๆ ได้บำเพ็ญจริง อันเป็นมหาเมตตามิอาจประมาณ สงสารผู้คนด้วยจิตเช่นนี้สงสารสรรพชีวิตก็เช่นนี้ ปราชญ์เมิ่งจื้อกล่าวไว้ว่า "แม้อาจปรากฏธาตุแท้จิตตนได้สมบูรณ์ ก้อาจปรากฏธาตุแท้ความเป็นคนได้ และปรากฏธาตุแท้ของสรรพสิ่งได้" เมื่อปรากฏธาตุแท้ของสรรพสิ่ง ก็มีส่วนร่วมสมานปัจยการกำเนิดของสรรพสิ่งในฟ้าดินได้ เมื่อมีส่วนร่วมสมานปัจยการกำเนิดของสรรพสิ่งในฟ้าดินได้ ก็อาจมีส่วนร่วมพลานุภาพในการก่อกำเนิดสรรพสิ่งของฟ้าดินได้ นี่ก็คือบรรลุจิตเป็นกลางสมาน ดำรงฟ้าดิน ก่อกำเนิดสรรพสิ่ง
@ หลุดพ้นคืออย่างไร
คำว่าหลุดพ้น หลุดหมายถึงออกจากพันธนาการของอวิชา ความรักโลภโกรธหลง พ้นหมายถึงห่างจากความทุกข์ของผลกรรมชั่วทั้งสามโลก การจะหลุดพ้นมีทางเดียวคือ เกิดสัมมาปัญญาโดยฉับพลัน พ้นจากรูปธรรมทั้งปวง พุทธธรรมให้ตัดอวิชา มีศรัทธาในสัจธรรมเป็นหลัก ตัดรูปธรรมอันเป็นเหตุแห่งทุกข์ ใช้จิตว่างเป็นฐานของการบำเพ็ญ จิตหลุดพ้น ทั่วไปเรียกว่าปลงตก เห็นความเป็นจริงทุกสิ่งอย่าง รู้แท้ในรสชาติเปรี้ยวหวานเผ็ดขมของชีวิตทางโลก อีกทั้งภาวนาหาทางความสงบอยู่เสมอ ทุกอิริยาบทเห็นความเที่ยงแท้ของจิตเป็นที่ตั้ง มีอะไรผ่านเข้ามารับรู้ได้ เมื่อผ่านไปก็ว่างเปล่า ทำเช่นนี้ได้ก้ไม่ไกลไปจากเห็นจิตแท้ตนมากนัก พึงรู้ว่า แม่น้ำภูเขายาวเหยียดหมื่นลี้มิใช่ของฉัน ลูกเมียมิอาจอยู่ร่วมกันตลอดไป เงินทองมากมายหลายล้านต้องหนักใจรักษาไว้ มีแต่จิตญาณ ชีวิตจากฟ้าเท่านั้น ที่เมื่อบำเพ็ญก็บรรลุเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ละทิ้งไปก็กลายเป็นผี ทุกข์สุขอยู่กับตนเป็นคนหามา เมื่อทำเช่นนี้ได้จึงจะหลุดพ้น
-
ไขหลักจิตภาวะสัจธรรม
@ กายว่าง ใจว่าง จิตว่าง ธรรมะว่าง คืออย่างไร
กายสังขาร พ่อแม่เป็นผู้ให้กำเนิด มีลมหายใจเช่นเดียวกับพ่อแม่ ทวารทั้งเก้า (สองนัยน์ตา สองหู สองรูจมูก หนึ่งปาก หนึ่งทวารหนักทวารเบา) ระบายขับถ่ายเรื่อยไป สกปรกทุกอย่าง กายสังขารประกอบด้วยธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ ในที่สุดต้องเสียหาย จึงมีผู้ทรงปัญญารู้ว่าสังขารเป็นภาพลวงตา ศึกษาธรรมบำเพ็ญธรรม เช่นนี้คือรู้แจ้งว่า "กายสังขารว่างเปล่า"
เมื่อย้อนมองจิตตน ไม่เกิดไม่ดับ ศักดิ์สิทธิ์ที่สุด รับรู้เมื่อมีมา ดับหายเมื่อผ่านไปรู้ได้ในจิตแท้ มีสัมมาสติตลอดเวลา ไ่ม่มัวเมา ไม่หลงใหลไปตามใจกระเจิง แต่ปฏิบัติบำเพ็ญตามจิตแท้ เช่นนี้เรียกว่า "รู้แจ้งในจิตว่าง"
เมื่อย้อนมองธาตุแท้จิตตนอันสงบคงที่ มีอภิญญารอบรู้ ปลอดว่างสว่างใส ลึกล้ำมีอำนาจปราศจากอาสวะใด ๆ ทุกอย่างเป็นไปโดยมิได้กำหนด ฯ เช่นนี้เรียกว่า รู้แจ้งในจิตแท้ เมื่อมองดูพระสัมมาสัมพุทธเจ้า วิถีธรรมที่พระองค์นำพาล้วนเป็นทางสะดวก เปรียบได้ดั่งน้ำชำระละอองดิน ดังยารักษาโรค ฯ เมื่อผู้ใดได้รู้แจ้งในจิตว่างแล้ว ก็เหมือนโรคหายไม่ต้องกินยาต่อไป เช่นนี้คือ "รู้ว่างหนทางธรรม"
สรุปว่า สัมมาปฏิบัติไม่มีอื่นใด อยู่ที่รู้แจ้งต้นตอของจิตใจ โลภอยากไม่จบ จิตถูกผูกโยง ซึ่งอันที่จริงจอตเป็นความสงบ ก็ต้องกลายเป็นหวั่นไหวบ้าง คงที่บ้าง อันที่จริงไม่มีอะไรค้างใจก็ต้องกลายเป็นคิดบ้างหยุดบ้าง อันที่จริงปัญญาญาณรอบรู้สมบูรณ์หมดจดปกติ ไม่คิดก็มีได้ แต่เมื่อคืดเพราะจิตไหวจิตก็ถูกบดบัง การรู้ธรรมะจึงไม่มีประโยชน์ แต่หากจิตใจใสสะอาด ไม่หวั่นไหว ไม่ยึดติดกับสิ่งใด ไม่คิดดีไม่คิดชั่วเหมือนโง่เหมือนเซ่อ ปฏิบัติดังนี้เรียกว่า " บำเพ็ญเป็นพุทธะ "
-
ไขหลักจิตภาวะสัจธรรม
@ คัมภีร์กล่าวว่า "นัยน์ตา หู จมูก ลิ้น เป็นโจรทั้งสี่" และการไม่ยึดถือในรูปลักษณ์ทั้งหลายคืออย่างไร
นัยน์ตา หู จมูก ลิ้น เป็นอายตนะสี่ เป็นเครื่องช่วยจิตญาณทำงาน แต่หาก ดู ฟัง ดม พูด ผิดเพี้ยน อายตนะสี่ก็กลายเป็นโจรผู้ร้ายสี่ ทำร้ายจิตญาณ ดังนั้นท่านปราชญ์ขงจื้อจึงกำหนดสี่ไม่ คือ ไม่ดู ไม่ฟัง ไม่พูด ไม่ทำสิ่งอันเป็นการเสัยจริยา ซึ่งได้สอนท่านเอี๋ยนหุยก็คือหลักนี้ ที่กล่าวว่าไม่ยึดอัตตาตัวตน ไม่ยึดบุคคล เหล่านี้ก็สัมพันธ์กับอายตนะสี่
นัยน์ตาเป็นตัวให้ เป็นบุคคลา หากสงบใจพิจารณา เวไนย์สัตว์ ล้วนเป็นเช่นเด็กไร้เดียงสา ไม่แบ่งแยกเขาเรา ชั่วดีถี่ห่าง ฉุดช่วยด้วยความเสมอภาค เรียกว่า "ไม่ยึดในบุคลา"
หูเป็นตัวเงียบ เป็นอัตตา แม้รู้ตัวตนเป็นมายา ใด ๆ ในโลกล้วนอนิจจัง ไม่ห่วงใยแต่ชีวิตกายสังขาร แต่เดินตามแนวทางพระโพธิสัตว์ เรียกว่าไม่ยึดอัตตา
จมูกเป็นตัวดม เป็นชีวิตา แม้รู้แจ้งในตนเองว่าไม่มีวิญญาณอันเกิดตายอย่างแท้จริง ไม่เคลื่อนไหวไปตามสภาวะสัญญาอารมณ์ แต่ปฏิบัติบำเพ็ญเป็นไปตามแรงปณิธาน เรียกว่าไม่ยึดในชีวิตา
ปากเป็นตัวแพร่ เป็นสรรพสัตว์ แม้หากเข้าใจในความหลงโลก ให้ตัดขาดสิ้นเยื่อ ไม่เกี่ยวกรรมต่อไป เรียกว่า ไม่ยึดในสรรพสัตว์ รวมความก็คือ การจะได้มรรคผลพึงระวังอายตนะสี่ อายตนะสี่ไม่บริสุทธิ์ก็จะสร้างบาปมหันต์ ยากจะได้พบธาตุแท้ญาณเดิมแห่งตน
@ คัมภีร์จารึกว่า ทวารทั้งหกปิดเสมอ ไม่ต้องเดินหนทางคนคืออย่างไร
ทวารทั้งหกคือ หู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ ทวารเหล่านี้ไม่ปิด เข้า ๆ ออก ๆ ตามอำเภอใจ ไม่เพียงแต่ไม่อาจบรรลุ ภายหน้าเมื่อตายยังอาจไปสู่ชีววิถีหก ด้วยเหตุอันใดฤา ก็ด้วยตา หู จมูก ลิ้น เป็นประตูแรกของชาติกำเนิดสี่ สี่หนทาง
นัยน์ตาเจ้าชู้ เมื่อตายวิญญาณออกจากนัยน์ตา จะต้องไปเกิดเป็นสัตว์ปีกให้คนชมเล่น
หูชอบฟังมิจฉาวาจาไร้สาระนัก เมื่อตายวิญญาณออกจากหู ชาติหน้าเกิดเป็นวัว ม้า แกะ ลา ฯลฯ หูผึ่งใหญ่ฟังคนเรียกใช้งาน
จมูกติดกลิ่นมาก เมื่อตายวิญญาณออกทางจมูก ชาติหน้าจะต้องเกิดเป็นมดปลวก แมลง หมกอยู่กับความเหม็นอับสกปรกและต้องตายด้วยการสุดกลิ่นดูดกิน ชอบทำลายชื่อเสียงผู้อื่น นินทาว่าร้าย เมื่อตายวิญญาณออกทางปาก ชาติหน้าเกิดเป็นสัตว์หรือแมลงมีเกล็ด ตามหลักคำนวนโป๊ยก้วย ปากตรงกับสัญลักษณ์ขั่น ขั่นคือน้ำ วิญญาณออกจากปากจึงหมายึงกุ้งปลา ฯ ผู้ใดหลงอบายมุข เสพติด ผิดปกติ ดื้อร้นไม่กตัญญู ดำเนินชีวิตขัดต่อหลักธรรม ชาติหน้าจะต้องเกิดมารับกรรม ทั้งนี้เป็นวงเวียนชีวิตที่ไม่ผิดเพี้ยน บางคนถือสัมมาปฏิบัติ ประพฤติดีมีน้ำใจ แต่มิได้ผูกบูญสัมพันธ์กับการจะได้รับวิถีธรรมมาก่อน จึงยังมิได้รับวิถีธรรม ชาติหน้าจะได้เกิดมาเป็นคนบุญหนักศักดิ์ใหญ่ รับวาสนาสักการะเชิดชูไปชาติหนึ่ง เมื่อตายกลับลงนรกต่อไป เช่นนี้เรียกว่าการเวียนว่ายในชีววิถีหก ฉะนั้น พระศาสดา ศาสนาเต๋าท่านเหลาจื้อ จึงสอนให้คนปิดประตูทวารทั้งหกของตนให้สนิท จะได้ไม่ต้องเข้าไปสู่ชีววิถีหก แต่ทวารทั้งห้า (ตา หู จมูก ปาก ร่างกาย) ยังควบคุมได้ ทวารภายในคือความคิดจิตใจนั้นคุมได้ยาก ความคิดจิตใจหรือธรรมารมณ์นั้นแฝงอยู่ที่ม้าม มีชื่อว่าอินเสิน วิญญาณวาภะอิน ในศาสนาเต๋าให้ใช้วิธีโง่กำจัดคือ ทุกขณะเวลา ให้รวมจิตไว้ตรงศูนย์ญาณทวาร ใช้พลังไฟในธาตุแท้ของจิตหล่อหลอมจนเหมือนโง่เซ่อ ทำเช่นนี้ด้วยความเข้มแข็ง โดยไม่หยุดยั้งจนครบหนึ่งร้อยวัน ก็จะได้จิตสัมผัสใหม่ที่ใสสว่างมีปัญญา ปฏิบัติต่อไปนานเข้าธรรมารมณ์ก็หายไป จิตเดิมแท้ ทวารทั้งหกมิต้องบังคับกำหนดให้ปิดก็จะปิดได้เอง
-
ไขหลักจิตภาวะสัจธรรม
@ คำแรกในคัมภีร์อี้จิงคือ เฉียน เอวี๋ยน เฮิง ลี่ เจิน อธิบายได้หรือไม่
เฉียน หรือ เหล่าหยัง หมายถึงสัจธรมของฟ้าเบื้องบน อยู่ในคนคือธาตุแท้ญาณเดิม เหล่าหยังเป็นพลังกำเนิดทุกสิ่ง เป็นศักยภาพที่แปรเปลี่ยนทุกสิ่ง เอวี๋ยน เฮิง ลี่ เจิน (คุณทั้งสี่) เมื่อเป็นภาวะของฟ้าคือฤดูกาลทั้งสี่ เอวี๋ยน คือฤดูใบไม้ผลิ เฮิง คือฤดูร้อน ลี่ คือฤดูใบไม้ร่วง เจิน คือฤดูหนาว หลังจากเจินแล้วก็เวียนมาเริ่มเอวี๋ยนใหม่ เป็นเช่นนี้เรื่อยไปไม่สิ้นสุด นี่เรียกว่าเป็นวิถีธรรม (ธรรมชาติ) ของฟ้า เมื่อเป็นภาวะของแผ่นดินโลก คือสี่ทิศ เอวี๋ยนคือทิศตะวันออก ลี่คือทิศตะวันตก เจินคือทิศเหนือ เมื่อเป็นภาวะของคน คือสี่ฐาน ซื่อตวน หมายถึง เมตตา มโนธรรม จริยาฯ ปัญญา *หลังจากกราบพระวิสุทธิอาจารย์รับรู้เอวี๋ยนธาตุแท้ญาณเดิมของตนแล้ว กำหนดให้เฮิงสำแดงคุณ (สร้างบุญฯ) ให้ชีวิตทั้งหลายได้ ลี่ดำเนินไปในภาวะอันเหมาะสมกลมกลืนด้วยกุศลภายนอกใน ชีวิตเป็นเจินดำรงอยู่สืบไปด้วยความมั่นคง (เป็นอมตะไม่เวียนว่าย) ในศาสตร์โบราณของจีนคำนวณออกมาได้ว่า อู้จี่อยู่ในตำแหน่งกลาง หมายถึงแผ่นดิน ต้นกำเนิดของชีวิตตั้งอยู่บนฐานไม่เอนเอียง ณ ที่นั้นคือ ญาณทวาร คุณงามทั้งหลายเกิดขึ้น ณ ที่นั้น ชาวโลกเรียกหยุดนี้ว่า "ผืนนาใจ" (ซินเถือน) เมื่อมองดูอักษรของคำว่าผืนนา จะเห็นเป็นผืนนาสี่ช่อง ก็เห็นได้ว่าปลูกบุญก็เกิดบุญวาสนา ปลูกบาปก็เกิดเหตุร้ายกัยพาล บุญวาสนา เหตุร้ายภัยพาล มงคลหรืออัปมงคล ตนปลูกตนเก็บผล ฉะนั้น จอมเซียนหลวี่ต้งปิน จึงกล่าวไว้ว่า "ชีวิตฉันเป็นสัจธรรมจำเดิมมา มิใช่ฟ้าแต่ฉันทำกำหนดเอง" เมื่อเจ้าใจเช่นนี้แล้ว ก็รู้จักบำเพ็ญบุญวาสนา สร้างสมอริยทรัพย์ไว้ชาติหน้า ผู้บำเพ็ญจิต จึงเป็นผู้สร้างอริยทรัพย์อมตะ ทั้งหมดขึ้นอยู่กับการบำเพ็ญของตน
แตกต่าง / สี่คุณ ในกายตน อยู่ในภาวะนิ่ง อยู่ในภาวะไหว ความหมาย
เอวี๋ยน ภายใน = ตับ ธาตุแท้ธรรมญาณ เมตตา สรรพชีวิตเป็นได้ด้วยฟ้าประทาน ธาตุแท้ธรรมญาณ
ภายนอก = หู
เฮิง ภายใน = หัวใจ ธาตุแท้พลังญาณ จริยา สรรพชีวิตสำแดงคุณได้ด้วย ธาตุแท้พลังญาณ
ภายนอก = นัยน์ตา
ลี่ ภายใน = ปอด ธาตุแท้อารมณ์ ปัจยการ ชีวิตต่างๆ ดำเนินไปในสภาวะอันเหมาะสม
ภายนอก = จมูก
เจิน ภายใน = ไต ธาตุแท้กายธาตุ ปัญญา ชีวิตต่างๆ ดำรงอยู่สืบไปด้วยความมั่นคง
ภายนอก = ปาก
-
ไขหลักจิตภาวะสัจธรรม
@ ไม่พิจารณ์ ไม่มีกำหนด สงบนิ่ง ทรงศักยภาพ ในคัมภีร์อี้จิง หมายถึงอย่างไร
พระธรรมาจารย์สังฆปรินายกสมัยที่สิบห้า กล่าวไว้ว่า "สัจธรรมเป็นหลักอันไม่เปลี่ยนแปลง แต่สัจธรรมอันไม่เปลี่ยนแปลงก็มีปรากฏเปลี่ยนแปลง" เบื้องหลังการเปลี่ยนแปลงก็ยังคงเป็นหลักสัจธรรมที่ไม่เปลี่ยนแปลง (เช่นการโคจรของตะวันเดือน) ความไม่เปลี่ยนแปลงเรียกว่า หลักของสัจธรรม (หลี่) ความเปลี่ยนแปลงเรียกว่า เกณฑ์ของสัจธรรม (ซู่) หลัก ฯ มิอาจพ้นไปจากเกณฑ์ ฯ เกณฑ์ ฯ มิอาจพ้นไปจากหลัก ฯ แม้พ้นจากกัน ฟ้าจะถล่มแผ่นดินทะลายผู้คนจะล้มตาย สรรพสิ่งจะถูกทำลาย หลักสัจธรรมอันทรงศักยภาพ หมายถึงจิตวิสัยจิตภาพในคน นั่นก็คือธาตุแท้จิตญาณนั่นเอง ธาตุแท้จิตญาณของคน เป็นความสงบอันวิสุทธิ์ ไม่มีตริตรึกสำนึกอารมณ์ใด ๆ เป็นธาตุธรรมอันสมบูรณ์ เปรียบเช่นกระจกเงาส่องสิ่งใดก็ปรากฏสิ่งนั้น เมื่อสิ่งนั้นผ่านไปก็ไม่เหลือร่องรอยใด ๆ ฉะนั้น จึงสอนให้ชำระจิต กำจัดตัณหา เมื่อเมฆลอยผ่านไป จันทร์กระจ่างก็เผยโฉม ทั้งนี้ล้วนเป็นหลักสัจธรรม ยังจะต้องพิจารณากำหนดหรือ
@ ปราชญโจวจื้อกล่าวว่า สัจธรรมบนชั้นโลกุตตรประกอบกับกายธาตุสองห้า จึงรวมตัวกัน ในคัมภีร์อี้จิงจึงจารึกไว้ว่า ฟ้าเป็นชาย แผ่นดินเป็นหญิง หมายความว่าอย่างไร
ที่ปราชญ์โจวจื้อกล่าวนั้น เป็นหลักการณ์กำเนิดมนุษย์ ในคัมภีร์อี้จิงเรียกว่าเต๋า โดยกล่าวถึงชั้นพรหมโลก ส่วนคนทั่วไปจะไม่รู้ว่า เหนือชั้นพรหมโลกยังมีชั้นโลกุตตร เหล่านี้เป็นข้อความที่ปรากฏในหนังสือคัมภีร์อี้จิง จึงได้กล่าวว่า หนึ่งอินหนึ่งหยังรวมกันเป็นเต๋า ธาตุแท้ธรรมญาณก็คือญาณที่เบื้องบนประทานไว้กับกายคน กายธาตุสองห้าคือกายธาตุของบิดากับโลหิตมารดารวมกัน ตัวชีวิตกายธาตุของบิดาได้อาศัยโลหิตของมารดาหล่อเลี้ยง ญาณชีวิตอันเป็นธาตุแท้สัจธรรมจากชั้นโลกุตตรก้เข้าสถิต จึงเป็นชีวิตที่เกิดขึ้นจากสามห้า (สองห้าคือ ธาตุทอง ไม้ น้ำ ไฟ ดินจากพ่อแม่ ห้าที่สามคือ เมตตา มโนธรรม จริยฯ ปัญญา สัตยธรรม อันเป็นคุณสมบัติของธาตุแท้ญาณเดิมของตนเอง) พลังหยัง (ฟ้า) สูงกว่าจะเกิดเป็นชาย พลังอิน(แผ่นดิน) สมบูรณ์จะเกิดเป็นหญิง จึงกล่าวว่า ฟ้าเป็นชาย แผ่นดินเป็นหญิง
@ ในหนังสือธรรมโอวาทมีคำว่าฐาฯกับคุณ ต้นกับปลาย คืออย่างไร
ฐาน คุณ ต้น ปลาย หมายถึงรากโคนกับปลายกิ่ง เป็นทั้งเรื่องทางโลก กับเรื่องทางธรรม ในทางธรรมะ จิตญาณเป็นฐาน จิตใจเป็นคุณ หากจิตใจเป็นฐาน มือเท้าก็เป็นคุณ คนทั่วไปรู้ดีว่าคนมีจิตใจเป็นหลัก แต่ที่รู้คือใจเลือดใจเนื้อ แท้ที่จริงใจที่เป็นเลือดเนื้อนั้นคืออวัยวะชิ้นหนึ่งที่ช่องอก มิใช่เจ้าชีวิตที่แท้จริง ให้นึกถึงโฉมหน้าอันแท้จริงของตนก่อนที่พ่อแม่จะให้เกิดกายมาก็จะรู้
-
ไขหลักจิตภาวะสัจธรรม
@ อนุตตรธรรม มนุษยธรรม ต่างกันอย่างไร ควรจะเริ่มอะไรก่อน
ถ้าบำเพ็ญโดยเห็นความสำคัญของชีวิตจิตญาณ และการโปรดสัตว์ครั้งใหญ่ในยุคสามก็คืออนุตตรธรรม ถ้าปฏิบัติดดยเห็นความสำคัญของคุณสัมพันธ์ระหว่างคนก็คือมนุษยธรรมของคนทั่วไป มนุษยธรรมเป็นกิ่งก้านสาขาของอนุตตรธรรม ฉะนั้น ผู้บำเพ็ญอนุตตรธรรมจะต้องยืนหยัดให้มั่นคงในมนุษยธรรมเป็นจุดเริ่มต้น กตัญญู พี่น้องปรองดอง จริงใจ จงรัก มีความสัตย์จริง มีจริยะ มโนธรรม สุจริตฯ รู้ละอาย เป็นเรื่องสำคัญที่สุดของสามโลก ฟ้าดินสอดส่องมองดูจิตใจและพฤติกรรมของคนอยู่ทุกเวลา หากไม่รู้จักกตัญญูต่อพ่อแม่บังเกิดเกล้า ไม่รู้จักรักสมัครสมานต่อพี่น้อง ไม่จริงใจต่อญาติเพื่อนฝูง ปากกับใจไม่ตรงกัน ไม่มีความสัตย์จริง ไม่มีจริยะมโนธรรม ขาดความสุจริต ไม่ละอายต่อความผิดบาป คนเช่นนี้บำเพ็ญไปก้ไร้ประโยชน์ เมื่อขาดมนุษยธรรม จะยังพูดถึงอนุตตรธรรมได้หรือ ฉะนั้น ผู้บำเพ็ญอนุตตรธรรม จึงพึงปฏิบัติมนุษยธรรมให้ดีที่สุดเสียก่อน ท่านจอมปราชญ์ขงจื้อกล่าวไว้ว่า "ศึกษาเบื้องล่าง บรรลุเบื้องบน" (ศึกษาความเป็นคน บรรลุอริยะ) เมื่อถึงพร้อมในมนุษยธรรม ก็ใกล้อนุตตรธรรมแล้ว
@ ปัญญาชนคืออย่างไร
ปัญญาชนคือผู้รู้ มีแต่ผู้มีปัญญาเท่านั้นที่รู้ว่ามีวิถีอนุตตรธรรมให้บำเพ็ญได้ รู้ว่ามีอริยวิชาให้ศึกษาได้ รู้ว่ามีพระวิสุทธิอาจารย์ให้แสวงขอได้ รู้ว่ามีบุญให้ทำ รู้ว่ามีบาปให้สำนึกขอขมา และที่สุด รู้ว่ามีหนทางมาสู่โลกและพ้นโลกได้ วัฏจักรกงกรรม เช่น ท้องฟ้ามีตะวัน เช่นกลางคืนมีโคมไฟ เมื่อได้รู้ได้เห็น บาปบุญคุณโทษตอบสนอง ได้รู้ได้เห็นจิตแท้แห่งตนและสัจธรรมก็จะละชั่วมาสู่ดี ละบาปมาสู่บุญ เปลี่ยนทางผิดให้เป็นทางถูก ผิดหลักความจริงไม่พูด ผิดต่อธรรมะไม่ทำ มิใช่ของตนไม่หยิบฉวย มีความเที่ยงตรงทุกขณะ จริงใจทุกเวลา สร้างสมคุณงาม เชืดชูเกียรติประวัติให้คงชื่อไว้ว่าเป็นผู้มีปัญญา รวมความว่า ให้มีแต่เมตตามโนธรรม พูดแต่คุณงามตั้งตนดี อีกทั้งช่วยผู้อื่น บรรลุตน บรรลุท่าน เพื่อจุดหมายในอันที่จะทำให้ทุกคนบรรลุสู่เส้นทางอริยปราชญ์
@ คนโง่เขลาคืออย่างไร
คนโง่คือคนเขลาเบาปัญญา คนโง่เขลาจิตใจมืดมัว ใจมืดมัวจึงไม่รู้จักความสูงต่ำ ไม่รู้ว่ามีนรกสวรรค์ ไม่เชื่อว่ามีวัฏจักรชีววิถีหก รู้แต่โลภอยากสุรานารี ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ปรนเปรอปากท้องของตน ชั่วชีวิตน้อยใหญ่นับร้อยล้าน ผูกเวรจองกรรมนับชีวิตร้อยล้าน ต้องเกิดกายเวียนว่ายมาเจอกัน ขบเคี้ยวกินกันไม่มีวันจบสิ้นด้วยเหตุอะไร วัว ควาย ม้า แพะ แกะ สัตว์ต่าง ๆ ล้วนเป็นคนสนิทชิดเชื้อเครือญาติ ทั้งดีร้ายเกี่ยวกรรมกันมา ที่สุดเมื่อตกไปสู่วงเวียนกรรมเปลี่ยนโฉมหน้าเกิดมาเป็นเดรัจฉาน คนโง่เขลาจับเอามาฆ่ากิน ก็คือฆ่าพ่อแม่ของตนเอง กินเนื้อเครือญาติของตนเอง พ่อถูกลูกฆ่า ในหนทางเวียนว่าย พ่อลูกไม่รู้จักกัน ฆ่ากันกินกันเรื่อยไปไม่มีสิ้นสุด พ้นจากกายสังขารเป็นคนแล้ว นานนับหมื่นกัปไม่กลับคืน เช่นนี้เรียกว่าคนโง่เขลา ดังนั้น ท่านปราชญ์ซังเจี๋ย สร้างอักษรจีนคำว่าเนื้อ จึงประกอบด้วยคนสองคนคร่ำทำลายกันอยู่ในวงแคบ ดังคำพังเพยที่ว่า "กินเขาแปดตำลึงจ่ายคืนหนึ่งชั่ง บัญชีหักล้างยังคือคนกินคน" ความหมายเป็นเช่นนี้
-
ไขหลักจิตภาวะสัจธรรม
@ คนหลงคืออย่างไร
คนหลงคือเลอะเลือนไม่กระจ่าง คนหลงจะอาวรณ์โลกีย์ จะโลภในสุรานารี ปล่อยอินทรีย์หกไปตามตัณหา หลงรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ธรรมารมณ์ ระเริงราคะจริต ชั่วช้าสามานย์ ผิดทำนองคลองธรรมมากมาย เพียงเพื่อความต้องการเฉพาะหน้า ไม่ห่วงความหายนะจะตามมา หลงหายจากสัจธรรม ติดตามแต่สิ่งนอกกาย อ่านพระธรรมคัมภีร์เสียเปล่าให้ผิดพระประสงค์ที่พระองค์ได้โปรด หันหลังให้สัมมาสติไปเข้ากับเหล่าโลกีย์ คนเช่นนี้แม้ได้ประสบอริยปราชญ์ก็ไม่อาจฉุดช่วยจะจมอยู่ในทะเลทุกข์ยาวนาน สิ้นสูญจิตแท้ตลอดไป เมื่อตกเข้าไปสู่วงเวียนกรรม หมื่นกัลป์ไม่กลับคืน เช่นนี้เรียกว่าคนหลง
@ คนรู้แจ้งคืออย่างไร
คนรู้แจ้งคือคนมีสัมมาสติ คนรู้แจ้งจะรู้ว่าจิตคนคือพุทธะ จะชื่นชมธรรมะบำเพ็ญไม่ผิดในมโน วจี และกายกรรม หู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ สะอาดสงบ รู้จักเป็นผู้ให้ในอันการควรทุกเมื่อ ไม่แบ่งเขาแบ่งเรา ฉุดช่วยตนฉุดช่วยคนอื่นให้รู้แจ้งต่อธรรมะเยี่ยงเดียวกัน แม้จะใช้ชีวิตอยู่ในโลกวิตกวุ่นวาย แต่ก้เวียนมหาธรรมจักร แพร่ธรรมคำสอนแทนเบื้องบน เปลี่ยนนรกให้เป็นสวรรค์ ชี้คนหลงทางให้เห็นพุทธจิตตน ปฏิบัติพุทธกิจต่าง ๆ นำพาเวไนยฯให้หลุดพ้นบังเกิดมหาเมตตากรุณา ปฏิญาณว่าจะฉุดช่วย คนเช่นนี้เรียกว่าคนรู้แจ้ง
@ สร้างบาปเวรในวัยเยาว์ แก่เฒ่าได้บำเพ็ญ จะบรรลุหรือไม่
ทะเลทุกข์กว้างใหญ่ไร้ขอบเขต แต่เมื่อหันหลังก็ขึ้นฝั่งได้ ชาวโลกแม้หากกลับใจ ตั้งปณิธานจะปฏิบัติบำเพ็ญ ละทิ้งสิ่งผิดมุ่งหาสิ่งถูกต้อง เปลี่ยนแปลงความชั่วไปสู่ความดี รักษาศีลกินเจ ได้กราบพระวิสุทธิอาจารย์ รับรู้หนทางตรงสัมมาปัญญา ไม่ว่าคนแก่หรือเล็กล้วนบรรลุได้ ดังคำกล่าวว่า "วางมีดที่คิดฆ่า ณ ตรงนั้น ฉับพลันก็บรรลุอรหันต์" ท่านปราชญ์หันอุ๋นกง เริ่มศรัทธาต่อธรรมะเมื่อวัยชรา ในที่สุดก็บรรลุ ซึ่งเป็นตัวอย่างได้ในเรื่องนี้
@ ชั่วชีวิตถือศีลกินเจสร้างบุญกุศลต่าง ๆ แก่เฒ่ากลับเลิกเจทุศีลจะบรรลุไหม
คนเช่นนี้แม้จะมีรากฐานบุญ แต่ไม่มีปณิธานความมุ่งมั่นยิ่งใหญ่ ไม่รู้แท้แน่ชัดในธาตุแท้ญาณตน แต่ห่างไกลจากพระวิสุทธิอาจารย์ จึงทำให้เกิดวิปริต ละทิ้งบุญกุศลที่ทำมาก่อน โจรผู้ร้ายทั้งหก (หู ตา จมูก ปาก ลิ้น กาย ใจ) กลับเข้ามายึดครองบ้าน ปล้นบุญกุศลเอาไป เมื่อหมดบุญวาสนาสูญสิ้นธรรมะสมบติ สุดท้ายก็ต้องจมลงในทะเลทุกข์ เวียนว่ายต่อไป จะบรรลุได้อย่างไร
@ ความรู้ความเข้าใจน้อย บำเพ็ญแล้วจะเพิ่มพูนหรือไม่
อุตส่าห์เสริมสร้างบุญกุศล เพิ่มพูนปัญญาจากการทำจิตให้สงบเป็นใช้ได้ คนโบราณกล่าวว่า "สมถะเพื่อเสริมส่งใจมุ่งมั่น สงบใจเพื่อบรรลุหนทางไกล" และกล่าวว่า "การศึกษาพึงอาศัยความสงบ ความรู้พึงศึกษา ไม่ศึกษาไม่อาจได้รู้ความ ไม่สงบใจ เรียนไม่สำเร็จ" ผู้ผยองตนจึงไม่อาจเข้าถึงความลึกซึ้ง คนเจ้าเล่ห์ร้อนรนจึงไม่อาจพิจารณาด้วยเหตุผล หากเป็นความรู้ที่ได้มาด้วยความสงบ ความรู้และคุณงามจะดีพร้อม ผู้คงแก่เรียนทั้งหลายในโลก ด้วยเหตุใดจึงได้ข้อความและอรรถรสพิเศษจากการใช้อักษร นั่นเป็นเพราะหลังจากใจสว่างเห็นจิตภาวะตนแล้ว เหตุผลที่เขียนจึงเป็นหลักของพุทธะที่เขียนออกมาจากพุทธจิตนั่นเอง
-
ไขหลักจิตภาวะสัจธรรม
@ ผู้บำเพ็ญกลัวตายด้วยหรือไม่
ชีวิตคนเราเมื่อมีมาก็ต้องมีไป ชายชาตรีเห็นความตายเหมือนกลับไปสู่ที่พัก การเกิดในวันนี้ คือจุดเริ่มต้นของการตายในวันข้างหน้า การตายในวันนี้คือจุดเริ่มต้นของการเกิดในวันข้างหน้า อินหยังมืดสว่างผันเวียน แม้อริยปราชญ์ก็ไม่อาจยกเว้น ฉะนั้น ผู้บำเพ็ญจึงเห็นคำว่า ตาย สำคัญที่สุด และไม่สำคัญที่สุดหมายความว่าอย่างไร หากจะกล่าวว่าไม่กลัวตาย เราทำไมจึงต้องศึกษาธรรมะเพื่อชีวิตนิรันดร์ แต่หากว่ากลัวตายทำไมผู้บำเพ็ญเราจะลดละทางโลกไม่สนใจในความตาย ยิ่งกว่านั้น เมื่อบำเพ็ญวิถีอนุตตรธรรมแล้วจะพ้นเวียนว่ายตายเกิดได้ เช่นนี้แล้วยังจะเห็นความสำคัญของชีวิตสั้นยาวทางโลกอีกหรือ
@ "ใจคนหมิ่นเหม่ยิ่ง ใจธรรมสุขุมยิ่ง วิเศษสุดจุดหนึ่ง น้อมรักษาตรงกลางให้มั่นคง" วจนะนี้เป็นวิถีแห่งจิต ที่ปิยะมหากษัตริย์เหยาซุ่นถ่ายทอดสืบต่อมา มีคำอธิบายดังนี้
ใจคนหมิ่นเหม่ นั่นคือ คนเป็นหนึ่งในสามคุณ (ฟ้าเป็นคน แผ่นดินเป็นคุณ คนคือคุณ) คนมีสัจธรรมอันสมบูรณ์ เป็นสัตว์โลกที่วิเศษกว่าสัตว์อื่นใด ใจ คือศูนย์กลางของสรรพชีวิต เป็นหลักควบคุมสรรพสิ่ง หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ใจของคนคือวิญญาณขันธ์ ที่มีอารมณ์รับรู้ ผูกพัน กระเจิงไกล แปดเปื้อน ฯลฯ ซึ่งเรียกว่าจิตที่มีจริตอันเกิดขึ้นเมื่อมาอยู่ในกายสังขารแล้ว จึงมีทั้งดีและไม่ดี เมื่อวิญญาณขันธ์เป็นหลักคิดอ่าน ตัณหาอารมณ์ก็กอบก่อ ใจคนมีกึ่งภาวะอินกึ่งภาวะหยัง จึงดีก็ได้ชั่วก็ได้ ไม่เอียงก็เอน หากเอียงไปทางหยังก็จะฟุ้งซ่าน เอียงไปทางอินก็จะมืดมน ความฟุ้งซ่านมืดมนเป็นอันตรายไม่ปกติสุข จึงได้กล่าวว่า "ใจคนหมิ่นเหม่ยิ่ง" "ใจธรรมสุขุมยิ่ง" ธรรมะเป็นต้นกำเนิดของฟ้าดิน ครอบคลุมสรรพสิ่ง เป็นจุดเริ่มต้นของสรรพสิ่ง ใจธรรมจึงเป็นปัญญา เป็นธาตุแท้ของชีวิต เป็นจิตแท้จริงอันสงบเยือกเย็นเป็นประภัสสร ที่กล่าวว่า เป็นสัจธรรมอันสมบูรณ์ คือเป็นอยู่อย่างนั้นเองในอนุตตรภาวะ ปราศจากดี ปราศจากไม่ดี เป็นดวงปัญญาอันกลมใส เป็นธาตุแท้ญาณเดิมอันวิสุทธิ์สงบว่างเปล่า ไม่เกิด ไม่ดับ ไม่เพิ่มขึ้น ไม่ลดลง วิเศษลึกซึ้งแยบยลมิอาจประมาณการ จึงได้กล่าวว่า "ใจธรรมสุขุมยิ่ง" วิเศษจุดหนึ่ง วิเศษสุดคือ ความสว่างอันวิสุทธิ์ จุดหนึ่ง คือ ศรัทธา สัจจริง คงที่ วิเศษสุด เป็นเครื่องกำจัดความมืดมน จุดหนึ่ง เป็นเครื่องกำจัดความฟุ้งซ่าน ทั้งนี้ด้วยเหตุที่วิเศษสุดเป็นความสว่าง จุดหนึ่งเป็นศรัทธาแท้นั่นเอง ปัญญาอันวิลาศล้ำเยือกเย็น เป็นปัญญาและสมาธิเนื่องกัน เป็นจิตสุขุมอันได้กำจัดตัณหาแล้วจนหมดสิ้น เปลี่ยนจากวิญญาณขันธ์เป็นสัมปชัญญะ เช่นนี้ความหมิ่นเหม่ก็จะปกติได้เอง ความสุขุมก็จะปรากฏได้เอง ที่กล่าวว่า เมื่อสว่างกระจ่างแจ้งก็จะเกิดศรัทธา สัจจริงคงที่ เมื่อเกิดศรัทธา สัจจริง คงที่ ก็จะสว่างกระจ่างแจ้งนั้น รวมความง่าย ๆ ก็คือ เป็นคุณที่เกิดจากวิเศษสุดจุดหนึ่ง คือเก็บความฟุ้งซ่านกลับมาสู่สัจธรรม สว่างใสในความดีงามคือสู่ภาวะธาตุแท้แต่เดิมทีนั่นเอง น้อมรักษา ตรง กลาง ให้มั่นคง อวิ่นคือน้อมรับ จื๋อคือรักษาคงมั่น เจวี๋ยจงคือจิตอันวิลาศล้ำ เป็นสูญญตาอันกว้างใหญ่ไพศาลมิอาจประมาณ เป็นความเล็กละเอียดอันไม่มีสิ่งใดแทรกซอนอยู่ได้ เป็นความมีอยู่อันวิเศษ ซึ่งไม่มีจุดเริ่มก่อนหน้าและไม่มีจุดจบในภายหลัง แผ่ไพศาลทั่วทั้งสามโลกทศทิศอันไร้ขอบเขต นั่นคือสัจธรรมแห่งธรรมจักรวาล พูดง่าย ๆ ก็คือ น้อมรักษา ตรง กลาง มั่นคง (อวิ่นจื๋อเจวี๋ยจง) หมายถึง น้อมรักษาสัมมาธรรมะ มั่นคงในสัจธรรมนั่นเอง นี่คือวิถีแห่งจิต ที่อริยเจ้าถ่ายทอดจิตประทับจิต สืบต่อกันมาตั้งแต่ครั้งมหาปิยะกษัตริย์ ทั้งสาม เหยา ซุ่น อวี่ เรื่อยไปจนถึง ทัง อุ๋น อู่ โจวกง และจอมปราชญ์ขงจื้อ เป็นสัจวิถีทั้งสามศาสนาร่วมเทิดทูนปฏิบัติ และถ่ายทอดสืบต่อมาโดยไม่เปลี่ยนแปลง สรุปคือ เป็นวิถีจิตประทับจิตโดยมิอาจคาดคำนึง ถ่ายทอดแท้จริงตามลำดับพงศาธรรม ซึ่งมิให้จารึกอักขระปรากฏไว้ ดังเช่นในคัมภีร์วัชรญาณสูตร อันมีพระสุภูติทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า "สาธุชนชายหญิงอันได้บังเกิดโพธิจิตแล้ว จะรักษาไว้เสมอไปโดยไม่ถดถอยได้อย่างไรฤา แม้หากเกิดความฟุ้งซ่านจะกำราบใจได้อย่างไร" "พึงหยุดลง ณ ตรงนี้ กำราบลง ณ ตรงนี้" โพธิจิตหมายถึง จิตอันเป็นธรรมะ ผู้มีจิตความคิดฟุ้งซ่านคือใจคน พึงกำราบและหยุดลง ณ ตรงนี้คือ น้อมรักษา ตรง กลาง ให้มั่นคงนั่นเอง
โลกอิน - หยัง มืดสว่าง ไม่ต่างกัน
ทุกชีวัน เกิดดับ กับเหตุ - ผล
ยุติธรรม คือนัยน์ตา ฟ้าเบื้องบน
แม้เส้นขน ไม่เลยละ ปละปล่อยไป
~ จบเล่ม ~