นักธรรม

ห้องสมุด "นักธรรม" => หนังสือ => ข้อความที่เริ่มโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 15/04/2011, 16:12

หัวข้อ: คุณธรรมบรรพชน : คำนำ
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 15/04/2011, 16:12
        เป็นเวลานับพัน ๆ ปีมาแล้ว  ืั้เหล่าพนะศาสดาทั้งหลาย ได้ทรงประกาศหลักธรรมมากมาย  เพื่อให้มวลมนุษย์ในโลกได้นำไปเป็นแนวทางประพฤติปฏิบัติ  อันจะยังผลให้เกิดความสันติสุขอย่างแท้จริงขึ้นบนโลก
        การปฏิบัติบำเพ็ญ  ย่อมต้องมีรากฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง  หลักคุณสัมพันธ์ ๕  อันได้แก่  ความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่กับลูก  สามีกับภรรยา  พี่กับน้อง  เพื่อนกับเพื่อน  และผู้ปกครองกับผู้ใต้ปกครอง   นับเป็นรากฐานที่สำคัญของการอยู่ร่วมกันอย่างป็นสุขในสังคม  และเพื่อให้เกิดความเข้าใจกระจ่างแจ้งในหลักธรรมดังกล่าว มูลนิธิรัศมีธรรม จึงได้นำเอาเรื่องราวการบำเพ็ญ  คุณธรรมความดีของเหล่าบรรพชนในอดีต  มารวบรวมจัดพิมพ์ภายใต้ชื่อ "คุณธรรมบรรพชน"  ดังที่ปรากฏ
          อนึ่ง   ในการจัดพิมพ์ครั้งแรก  คณะกรรมการมูลนิธิรัศมีธรรม  พร้อมด้วยญาติธรรมและเจ้าหน้าที่ทุกฝ่าย  ได้กำหนดวัตถุประสงค์เพื่อมอบให้แก่  ห้องสมุดโรงเรียน  ห้องสมุดประชาชน  และสถานศึกษาต่าง ๆ ทั่วประเทศ  เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่องค์สมเด็จพระบรมราชินีนาถ  พระแม่เจ้าของปวงประชาชนชาวไทยทั้งชาติ  ในวโรกาสที่ทรงเจริญพระชนมายุครบ  ๖ รอบ  ในปี  ๒๕๔๖นี้       มูลนิธิรัศมีธรรมขออนุโมทนาในกุศลจิตที่สาธุชนทุกท่าน  ได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมเทิดพระเกียรติครั้งสำคัญยิ่งนี้

                   คณะกรรมการมูลนิธิรัศมีธรรม

ป.นาคะเสถียร  แปลจากต้นฉบับภาษาจีน     "รัศมีธรรม" เรียบเรียง
หัวข้อ: คุณธรรมบรรพชน : คุณธรรม จริยธรรมในสังคม : คำสอนของแม่
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 15/04/2011, 16:38
            คุณธรรมบรรพชน    :   หมวด  คุณธรรม  จริยธรรมในสังคม     

                                เรื่องที่ 1 

                           คำสอนของแม่

        ในสมัยราชวงศ์จิ้น มีหญิงหม้ายผู้หนึ่งชื่อ  ซุนซื่อ  บุตรชายของนางชื่อ  อี๋ถัน   ระหว่างรบราชการที่เมืองหนันคัง ทางราชสำนักมีคำสั่งให้ไปปราบปรามกบฏจิ้น   ขณะที่จะออกเดินทาง  นางซุนซื่ิได้เรียกอี๋ถันเข้ามาพบ พร้อมกับพูดว่า  "แม่ได้ยินเขาเล่ากันว่า ขุนนางผู้จงรักภักดีล้วนก้าวออกจากประตูแห่งความเป็นลูกกตัญญู  หากลูกของแม่เข้าใจคำว่ากตัญญู  การเดินทางไปปฏิบัติหน้าที่คราวนี้แม้จะต้องพลีชีพเพื่อผดุงคุณธรรม  เจ้าก็จงอย่าได้ห่วงถึงแม่"   พูดจบนางยังได้เรียกบุตรชายของอี๋ถัน  ผู้ซึ่งเป็นหลานให้ติดตามไปทำงานรับใช้ประเทศชาติด้วยกัน  ทั้งสองพ่อลูกน้อมรับคำสอนสั่งของแม่  และยึดถือปฏิบัติโดยเคร่งครัด  จนสามารถสร้างคุณประโยชน์ใหญ่หลวงแก่แผ่นดิน  มีชื่อเสียงเกียรติยศเป็นที่เลื่องลือ
        ส่วนนางซุนซื่อ  ผู้เป็นแม่มีอายุยืนยาวถึง  95  ปี  และยังได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ย้อนหลังจากที่ได้สิ้นชีวิตแล้ว   การอบรมสั่งสอนลูก นับเป็นหน้าที่พื้นฐานของความเป็นพ่อแม่  ผู้เป็นพ่อเป็นแม่ ก็ต้องเป็นพ่อแม่ที่มีคุณธรรม  นี่คือสิ่งที่ควรเป็นอยู่แล้ว  แต่ในความเป็นจริงผู้เป็นพ่อมักต้องอยู่นอกบ้าน  ส่วนแม่มีเวลาอยู่กับบ้านมากกว่า  โดยเฉพาะตอนที่ลูกยังเล็ก  แน่นอนว่าต้องอยู่ใกล้ชิดแม่  ดังนั้น หน้าที่ในการอบรมสั่งสอนลูก ย่อมต้องตกเป็นภาระหนักของผู้เป็นแม่
        แล้วคุณสมบัติของการเป็นแม่คนนั้น  คืออย่างไร ?  เบื้องต้นผู้เป็นแม่ต้องมีรักเป็นทุนกำเนิด  กล่อมเกลี้ยงเลี้ยงดูลูกด้วยเมตตาและอบอุ่น  เมื่อโตพอรู้ความ หมั่นอบรมสั่งสอนด้วยหลักธรรม  ดังแบบอย่างในอดีตที่  นางเมิ่งทำลายหูกทอผ้า  เพื่อนเตือนสติให้ลูกเห็นความสำคัญของความพากเพียรในการเล่าเรียน  หรือ  นางจิ้งเจียง  แม่ผู้สอนลูกไม่ให้เห็นแก่ความสุขสบายจนเกินไป  และไม่คิดถึงแต่ผลประโยชน์ส่วนตน
        ที่กล่าวมา  คือ  คุณสมบัติของการเป็นแม่ที่มีคุณธรรม
หัวข้อ: คุณธรรมบรรพชน : คุณธรรม จริยธรรมในสังคม : น้าสาวผู้ทรงคุณธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 17/04/2011, 20:33
             คุณธรรมบรรพชน    :   คุณธรรม  จริยธรรมในสังคม   :  น้าสาวผู้ทรงคุณธรรม

                                    เรื่องที่ 2 

                          น้าสาวผู้ทรงคุณธรรม

        ในสมันชุนชิว บ้านเมืองเกิดศึกสงคราม แคว้นฉีส่งทหารบุกโจมตีแคว้นหลู่  ทั้งรถศึก  กองทะหารม้า และพลรบ  บุกถาโถมเข้ามาตลอดแนวชายแดน ประชาชนชาวบ้านที่อาศัยอยู่โดยรอบแคว้นหลู่ต่างแตกตื่น พากันหนีตายอย่างโกลาหล ช่วงเวลานั้นมีหญิงสาวผู้หนึ่งอุ้มเด็กน้อยไว้กับตัว ข้างหลังมีห่อของพะรุงพะรัง อีกมือหนึ่งจูงเด็กอีกคน นางครึ่งเดินครึ่งวิ่งอยู่รั้งท้ายสุดในบรรดาผู้อพยบหนีภัยสงคราม  ครั้นทหารข้าศึกตามมาใกล้จะถึงตัว นางตกใจมากถึงกับทิ้งลูกที่อุ้มอยู่ลงไปข้างทาง แล้วคว้าเด็กอีกคนที่จูงอยู่ขึ้นมาอุ้มไว้แล้วรีบวิ่งหนีต่อ  ฝ่ายทหารแคว้นฉีซึ่งไล่ตามมาติด ๆ รู้สึกประหลาดใจ จึงร้องตะโกนว่า "เจ้าน่ะ ! หยุดก่อน...เด็กที่เจ้าอุ้มอยู่นั้นเป็นใคร ?"  หญิงสาวหันกลับมาตอบว่า "เป็นลูกของพี่สาวฉันเอง" ทหารแคว้นฉีถามอีกว่า "แล้วเด็กน้อยที่เจ้าทิ้งไปล่ะะเป็นใคร ?" นางก้มตอบด้วยเสียงอันสั่นเคลือว่า "เป็นลูกของฉันเอง"  ทหารแคว้นฉียิ่งประหลาดใจ จึงไตร่ถามว่า "ทำไมเจ้าจึงยอมทิ้งลูกแท้ ๆ ของตัว แต่กลับไปปกป้องลูกของพี่สาวเล่า ?"  หญิงสาวนางนั้นเงยหน้าขึ้นตอบทหารข้าศึกอย่างไม่สะทกสะท้านว่า "เป็นเพราะสามีฉันยังมีชีวิตอยู่ เรายังมีโอกาสมีลูกด้วยกัน แต่เด็กที่อุ้มอยู่นี้เป็นเด็กกำพร้า พี่เขยฉันมีลูกชายคนเดียว ดังนั้นจึงต้องปกป้องทายาทผู้สืบสกุลของเขา !"  เมื่อทหารแคว้นฉีรู้เช่นนั้น จึงนำความไปรายงานต่อแม่ทัพใหญ่ ท่านแม่ทัพจึงได้กล่าวว่า"แท้จริงแล้ว แคว้นหลู่เป็นดินแดนที่เปี่ยมด้วยจริยะ แม้กระทั่งหญิงชาวบ้านธรรมดายังเข้าใจในหลักธรรม พวกเราหาได้สมควรจะข่มเหงพวกเขาไม่"  ดังนั้น ท่านแม่ทัพใหญ่จึงมีบัญชาให้ถอยทัพกลับ ต่อมาเมื่อกษัตริย์แคว้นหลู่ทราบเรื่อง จึงทรงพระราชทานทรัพย์สิน ผ้าดิ้นแพรพรรณเพื่อเป็นเกียรติ พร้อมทั้งตรัสยกย่องนางว่า  "อี๋กู" อันหมายถึง "น้าสาวผู้ทรงคุณธรรม"
หัวข้อ: คุณธรรมบรรพชน : คุณธรรม จริยธรรมในสังคม : มั่งมีศรีสุขไม่ลืมคู่ชีวิต
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 19/04/2011, 13:21
                   คุณธรรมบรรพชน    :   คุณธรรม  จริยธรรมในสังคม   :  มั่งมีศรีสุขไม่ลืมคู่ชีวิต

                                    เรื่องที่  3

                          มั่งมีศรีสุขไม่ลืมคู่ชีวิต

        อี้ฉือจิ้งเต๋อ   เป็นแม่ทัพผู้เรืองนามในสมียราชวงศ์ถัง เคยร่วมทัพกรำศึกเคียงข้างกษัตริย์ไท่จง มีความดีความชอบจนได้รับพระราชทานตำแหน่งเป็นถึงเจ้าเมือง ต่อมากษัตริย์ไท่จง มีพระราชดำริจะยกพระราชธิดาให้อภิเษกสมรสกับเขา   เมื่อมีรับสั่งให้เข้าเฝ้าเพื่อสนองพระมหากรุณาธิคุณ  จิ้งเต๋อก้มกราบถวายบังคมพร้อมกับกราบทูลว่า "แม้ว่าภรรยาของข้าพระบาทจะเป็นหญิงโง่เขลาและอัปลักษณ์ แต่ในยามที่ข้าบาทยังยากจนอยู่นั้น นางก็ร่วมทุกข์อยู่เคียงข้างตลอดมา  โบราณว่า มั่งมีศรีสุขไม่ลืมคู่ชีวิต  มั่งคั่งร่ำรวยไม่เปลี่ยนภรรยา  พระมหากรุณาธิคุณครั้งนี้ ข้าบาทจึงมิกล้าจะน้อมรับ พระเจ้าข้า"  แม้กษัตรย์ไท่จงจะทรงทราบว่าไม่อาจบังคับเขาได้ แต่ก็ทรงชื่นชมในคณธรรมอันสูงส่งของเขายิ่งนัก
        ตามหลักมนุษยธรรม  ความซื่อสัตย์เป็นพื้นฐานของการอยู่ร่วมกันของสามีภรรยา  ถึงแม้จะมีคนแย้งว่าเป็นเพราะความรัก แต่การจะประคองรักให้มั่นคงยืนยาวได้นั้น ก็ต้องยึดถือความซื่อสัตย์ไว้เป็นกรอบ ของชีวิตคู่

        โบราณกล่าวว่า
        " ได้อยู่กินร่วมกันเป็นสามีภรรยา
        ชั่วชีวิตครองคู่ไว้หนึ่งเดียวมิคิดเปลี่ยน"

        ดังนั้น   ทั้งสามีภรรยาจึงต้องซื่อสัตย์ต่อกันและกัน ต่างฝ่ายต่างต้องมั่นคงในคู่ครองเพียงหนึ่งเดียว จึงจะเรียกว่า "ดีงาม"
ช่างน่าอนาถ !..........ในปัจจุบันความคิดของผู้คนเปลี่ยนไป ชายชอบอิสระ  หญิงก็ชอบอิสระ  อยากร่วมหลับนอนก็ทำอย่างอิสระ  ไม่เคารพจารีตประเพณี  วันใดนึกอยากเลิกร้างเปลี่ยนคู่ ก็ทำอย่างอิสระ เรื่องเช่นนี้........หากใช้หลักธรรมมาพิจารณา มันย่อมชี้ชัดได้ว่า พฤติกรรมที่เห็นกันว่า "อิสระ" ที่แท้มันเป็น "ความเหลวเหลกของชีวิต" ต่างหาก
หัวข้อ: คุณธรรมบรรพชน : คุณธรรม จริยธรรมในสังคม : แม้หมื่นทุกข์ก็ขอร่วมทาง
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 19/04/2011, 13:58
                  คุณธรรมบรรพชน    :   คุณธรรม  จริยธรรมในสังคม   :  แม้หมื่นทุกข์ก็ขอร่วมทาง

                                       เรื่องที่  4

                              แม้หมื่นทุกข์ก็ขอร่วมทาง

        ในสมัยราชวงศ์ฮั่น  อาจารย์หวนซื่อ มีบุตรสาวคนหนึ่งชื่อ เส่าจวิน  ในบรรดาศิษย์หลายคนของอาจารย์หวนซื่อ  เป้าเชวียน  เป็นศิษย์ที่ยากจนที่สุด  แต่ด้วยอุปนิสัยที่ขยันขันแข็ง ซื่อสัตย์และมุมานะบากบั่นในการเล่าเรียน  ทำให้หวนซื่อผู้เป็นอาจารย์ให้ความรักและเมตตาต่อเขามาก   เป้าเชวียน  และ  เส่าจวิน    ต่างรักใคร่สนิทสนมกัน ต่อมาเมื่อเป้าเสวียนสำเร็จการศึกษา  อาจารย์หวนซื่อจึงอนุญาตให้ทั้งสองแต่งงานกัน  ทว่าอาจารย์หวนซื่อเป็นผู้มีฐานะมั่งคั่ง  ดังนั้นผู้ใหญ่ฝ่ายหญิงจึงจักขบวนเกี้ยวที่ประดับประดาอย่างสวยงาม และเพียบพร้อมไปด้วยข้าวของเครื่องใช้อันล้ำค่า เพื่อให้เจ้าสาวเส่าจวินติดตัวไปในวันที่จะออกเรือนไปอยู่บ้านสามี
        ครั้นเป้าเสวียน  เห็นเช่นนั้น  จึงบอกกับภรรยาว่า  "เส่าจวิน !  พี่เข้าใจดีว่าน้องนั้นเกิดมาในตระกูลที่ร่ำรวยจึงคุ้นเคยกับการใช้สอยข้างของที่หรูหราปราณีต แต่ที่บ้านของพี่เป็นครอบครัวคนยากจน คงลำบากใจต่อทรัพย์สินสิ่งของที่ล้ำค่าสูงราคาเหล่านี้"เมื่อเส่าจวินได้ยินคำทักท้วงของเป้าเสวียนเช่นนั้นก็ตอบว่า  "ท่านพ่อสอนเสมอว่า เมื่อเป็นภรรยาแล้วต้องติดตามสามี เรื่องทั้งหลายควรให้สามีชี้แนะ  เช่นนี้แล้วแม้ทางข้างหน้าจะลำบากยากเข็ญเพียงไร น้องก็จะขอร่วมเดินทางไปบนทางนั้นด้วย"
        และแล้ว  นางจึงรวบรวมข้าวของและเครื่องประดับที่สวยงามล้ำค่า เก็บกลับคืนไว้ที่บ้านเดิมเสียหมด  อีกทั้งไม่ยอมนำสาวใช้ติดตามไปเลยสักคน เมื่อถึงเวลาจะออกเดินทาง หลังจากเข้าไปกราบอำลาบิดาแล้ว เส่าจวินก็ผลัดเปลี่ยนเสื้อผ้า โดยสวมชุดสาวชาวบ้านธรรมดา ๆ และมีสัมภาระของใช้ที่จำเป็นเพียงน้อย นำไปใส่ในรถลาก ซึ่งเรียกกันว่า "รถเทียมลา"  เส่าจวินกับเป้าเสวียนช่วยกันลากรถบรรทุกคันเล็ก ๆ เพื่อเดินทางกลับไปยังบ้านของสามี ต่อเมื่อถึงจุดหมายปลายทางเป็นที่เรียบร้อยในวันแรก หลังจากเข้าไปกราบคารวะพ่อแม่ของสามีแล้ว  นางก็เริ่มงานโดยนำถังไปหาบน้ำจากบ่อ  ทั้งปัดกวาด  เช็ดถู  ซักผ้า  ทำอาหาร  ฯลฯ
        เส่าจวินทำงานหนักด้วยความขยันขันแข็งไม่ย่อท้อ  ตลอดเวลาไม่เคยมีสีหน้าที่ไม่พอใจปราฏให้เห็นเลยแม้แต่น้อย เหตุฉะนี้ทั้งพ่อแม่ของสามีและทุกคนในครอบครัว จึงนับถือและให้เกียรตินางเป็นอย่างมาก  แม้แต่บรรดาผู้คนในหมู่บ้านต่างพากันยกย่องเส่าจวินว่านางเป็น  "ศรีภรรยา"  โดยแท้
        การที่หญิงสาวแต่งงานไม่ใช่เพื่อให้สามีเลี้ยง  แต่ที่ถูก.....ต้องช่วยเกื้อหนุนสามี อีกทั้งร่วมกันนำพาชีวิตครอบครัวไปสู่ความสำเร็จ  หากหญิงใดได้สามีที่ร่ำรวยเป็นคนดีมีอุดมการณ์ และมีเป้าหมายมุ่งมั่นในชีวิต  ก็ขอเพียงรู้จักเป็นภรรยาที่ทุ่มเทจิตใจช่วยเหลือหนุนส่งเขา นอกเหนือจากนี้แล้วบุญวาสนาก็จะเพียบพร้อมสมบูรณ์เอง
        แต่หากหญิงใดมีความละโมภ  คิดแต่จะโลภในทรัพย์สมบัติของสามี หรือถ้าตัวเองเกิดในตระกูลที่ร่ำรวย พอหลังจากแต่งงานไปแล้ว ชอบแต่ความสบาย นั่ง ๆ นอน ๆ ไม่เอาการเอางาน กลัวจะเหน็ดเหนือย ขืนเป็นอย่างนี้ ไม่ช้าก้เร็วทุกอย่างก็ต้องอันตรธานทรพย์สินเงินทองแม้มีกองสูงเท่าภูเขา ก็สามารถหายไปในชั่วพริบตา เช่นนี้แล้ว ชีวิตครอบครัวในภายหน้าจะต้องมืดมนน่าเวทนาเพียงใด.....ใครจะรู้ ?
หัวข้อ: คุณธรรมบรรพชน : คุณธรรม จริยธรรมในสังคม : เรื่องที่ 5 กุลสตรี ศรีสะใภ้
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 26/04/2011, 18:16
                  คุณธรรมบรรพชน : คุณธรรม  จริยธรรมในสังคม 

                               เรื่องที่ 5  กุลสตรี  ศรีสะใภ้

        "โม้วซือ"  นั้นเป็นศรีภรรยา  คราวหนึ่งเมื่อ  "เล่อหยา"  สามีของนางเดินทางไปเล่าเรียนวิชา  หนึ่งปีผ่านไป.....เขาก็กลับมา  โม้วซือ จึงถามว่าเป็นเพราะเหตุใด  เล่อหยางยิ้มแย้มพร้อมตอบว่า  "พี่จากบ้านไปหนึ่งปีแล้ว  คิดถึงน้องจึงกลับมาหา"  โม้วซือไม่พูดไม่จาหันหลังกลับเข้าบ้าน  ฉวยกรรไกรติดมือแล้ววิ่งไปที่เครื่องทอผ้า  นางลงมือตัดผ้าที่ทอค้างไว้จนขาดวิ่นลงไปกองอยู่กับพื้น  จากนั้นจึงบอกกับสามีว่า  "ผ้าที่ทอไม่เสร็จ....ถูกตัดขาดก็ทอต่ออีกไม่ได้ ! ท่านพี่ออกไปศึกษาหาความรู้ แต่กลับละทิ้งเสียกลางคัน จะต่างอะไรกับผ้าทอที่หมดสภาพแล้วเล่า !"  เล่อหยางผู้เป็นสามีทั้งตกตะลึง ทั้งสะเทือนใจเป็นที่สุด เขาจึงเก็บห่อตำราขึ้นสพายบ่า แล้วเดินออกจากบ้านไป ในใจของเล่อหยางเขาตั้งสัตย์ปฏิญาณไว้ว่า เมื่อใดที่ร่ำเรียนสำเร็จ เมื่อนั้นจึงจะกลับมา  ตลอดระยะเวลาที่เล่อหยางไม่อยู่ โม้วซืออาศัยเงินที่ได้จากการทอผ้ามาเลี้ยงดูแม่สามี มีอยู่วันหนึ่งไก่ของชาวบ้านตัวหนึ่ง พลักหลงเข้ามาในบริเวณบ้าน แม่สามีจึงจับเอาไปตุ๋นเป็นอาหารเย็น  เมื่อโม้วซือลูกสะใภ้กลับมา  นางจึงเอ่ยปากชวนด้วยความยินดีว่า  "วันนี้แม่ได้ไก่มาตุ๋น เรามากินให้อร่อยเถอะ"   ขณะที่นั่งโต๊ะเตรียมจะรับประทานอาหาร โม้วซือได้แต่สะอึกสะอื้นไม่กล้าหยิบไก้แม้สักชิ้น  แม่สามีจึงถามว่า "ลูกเอ๋ย...เจ้าเป็นอะไรไป ไม่สบายหรือเปล่า ?"  โม้วซือตอบทั้งน้ำตาว่า "ลูกเสียใจที่หาเงินได้ไม่มาก  เป็นเหตุให้ท่านแม่มากินอาหารที่ไม่ใช่ของเรา ลูกนี้ช่างไม่กตัญญูเอาเสียเลย !"  เมื่อแม่สามีฟังแล้ว  ในใจก็รู้สึกว่าการกระทำของตนไม่ถูกต้อง จึงนำไก่ตุ๋นไปทิ้งเสียทั้งหมด
        เล่อหยางออกจากบ้านไปถึง 7 ปี จนศึกษาเล่าเรียนได้สำเร็จจึงกลับมา  โม้วซือรู้จักตักเตือนสามีให้ใฝ่ก้าวหน้าไม่ย่อท้อ อีกทั้งชี้แนะแม่สามีไม่ให้ทำผิด  นับเป็นกุลสตรีศรีสะใภ้โดยแท้ 
หัวข้อ: คุณธรรมบรรพชน : คุณธรรม จริยธรรมในสังคม : เรื่องที่ 6 สอนอย่างอ่อนโยน
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 26/04/2011, 18:43
                 คุณธรรมบรรพชน : คุณธรรม  จริยธรรมในสังคม   

                           เรื่องที่ 6   สอนอย่างอ่อนโยน

        เฉินซื่อเอิน เป้นชาวเมืองเซี่ยอี้ เข้ารับราชการเป็นบัณฑิตสมัยราชวงศ์หมิง  บีอีโฉ่ว เขามีพี่ชายและน้องชายอีกคนหนึ่งตัวของซื่อเอินคือพี่รอง  พี่ชายใหญ่ชื่อเซี่ยนเหลียนและซื่อเอิน  ต่างยึดมั่นในคุณธรรม  มีเพียงแต่น้องชายคนเล็กซึ่งกำลังอยู่ในวัยรุ่นมีนิสัยชอบเที่ยวเตร่  ทุกคืนจะไปมั่วสุมกันที่ซ่องโสเภณี จนกระทั่งดึกดื่นค่อนคืนถึงจะกลับ  บ่อยครั้งเซี่ยวเหลียนพี่ใหญ่ จะว่ากล่าวตักเตือนเขาอย่างตรงไปตรงมาด้วยสีหน้าที่เคร่งขรึม  แต่ถึงกระนั้นน้องเล็กก็ยังไม่ยอมปรับปรุงแก้ไขตัวเอง เมื่อไม่มีอะไรดีขึ้นซื่อเอินจึงกล่าวกับพี่ใหญ่ว่า   "หากพี่ใหญ่ดุด่าว่ากล่าวน้องเล็กไปเรื่อย ๆ  นับวันก็จะแต่บั่นทอนสายใยระหว่างพี่น้องให้ขาดสะบั้น ซึ่งไม่เป็นการดีเลย ถ้าพี่ไม่ว่า  น้องจะขอลองใช้วิธีน้องดู"    เซี่ยวเหลียนฟังแล้วก็ยอมตาม จากนั้นมาทุกคืน ซื่อเอินจะไม่เข้านอนไม่ว่าจะดึกดื่นแค่ไหน เขาจะตั้งตาคอยจนกระทั่งน้องชายกลับมา  แล้วค่อยปิดประตูลงกลอนด้วยตนเอง  อีกทั้งไม่เคยจะเอ่ยปากสอบถามว่าน้องไปทำอะไรนอกบ้านเลยสักคำ
        ซื่อเอินปฏบัติเช่นนี้เป็นเวลาหลายเดือน จนกระทั่งคืนหนึ่งอากาศหนาวจัด เขานั่งคอยอยู่จนดึกมาก เมื่อน้องชายกลับมา ซื่อเอินรีบลุกไปเปิดประตูรับ และพูดขึ้นว่า "น้องเล็กเจ้าอยู่ข้างนอก คงต้องทนอากาศหนาวแย่ ! ....รู้สึกหิวบ้างหรือเปล่า ?...เดี๋ยวพี่จะไปอุ่นน้ำแกงให้เจ้าทานนะ"   พูดเสร็จ ซื่อเอินก็เอาเสื้อหนา ๆ ที่เตรียมไว้โอบคุมตัวของน้องชาย แล้วรีบไปอุ่นน้ำแกงในครัว น้องชายของเขาทั้งหนาวและหิว แต่เมื่อได้ยินคำพูดที่ช่างอ่อนโยน และเปี่ยมด้วยความเอื้ออาทรอย่างจริงใจเช่นนั้น  ทำให้เขาเหมือนถูกสะกดให้นั่งนิ่งอยู่กับที่ ได้แต่เฝ้าครุ่นคิดใคร่ครวญถึงสิ่งที่ได้กระทำมาในอดีต เวลาผ่านไปนานเท่าไรไม่รู้  ต่อเมื่อเงยหน้าขึ้นและมองเห็นพี่ชานรองกำลังวางชามน้ำแกงร้อน ๆ ไว้เบื้องหน้า วินาทีนั้นเองเขาลุกขึ้นแล้วถลาเข้าไปกอดพี่ชายพร้อมกับพูดด้วยเสียงอันสั่นระรัวว่า  "ท่านพี่.....ต่อแต่นี้ไปน้องจะเลิกทำตัวเหลวไหลเสียที ที่ผ่านมาน้องทำผิดต่อท่านพี่ไว้มากเหลือเกิน !"
        และนับจากนั้นเป็นต้นมา เขาก็แปรเปลี่ยนตัวเอง ละทิ้งนิสัยที่ไม่ดีทั้งหมด ทำให้สามคนพี่น้องต่างรักใคร่ปรองดอง และเป็นครอบครัวที่มีแต่ความสุขตลอดไป
หัวข้อ: คุณธรรมบรรพชน : คุณธรรม จริยธรรมในสังคม : เรื่องที่ 7 หลี่จีถูกไฟไหม้เครา
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 30/04/2011, 02:35
             คุณธรรมบรรพชน : คุณธรรม  จริยธรรมในสังคม   

                       เรื่องที่ 7    : หลี่จีถูกไฟไหม้เครา

        ในสมัยราชวงศ์ถัง มีองคมนตรีผู้มีชื่อเสียงเลื่องลือท่านหนึ่ง ชื่อ  หลี่จี   ท่านสร้างผลงานดีเด่นจัดระบบระเบียบการปกครองและปราบปรามทุจริต ทำให้บ้านเมืองเกิดความสงบสุข  ต่อมากษัตริย์ถังไท่จงได้พระราชทานตำแหน่ง  "อิง กั๋ซ กง"  คือ ผู้ถวายแนะนำต่อองค์กษัตริย์ ซึ่งเป็นตำแหน่งสูงสุดในสมัยนั้นแก่ท่าน  มีอยู่วันหนึ่ง พี่สาวของท่านหลี่จีเป็นไข้ต้องนอนพัก ท่านจึงเข้าครัวไปทำโจ๊กด้วยตนเอง แต่ขณะกำลังก้มลงเป่าไฟในเตาให้ลุก ทันใดนั้นก็มีลมพัดโชยย้อนมาวูบหนึ่ง ทำให้เปลวไฟลุกติดเคราของท่าน มิวายที่ท่านหลี่จีจะรีบดับไฟ แต่ทว่าเคราของท่านก็ถูกไฟเผาไปตั้งครึ่งค่อน  เวลานั้นพี่สาวของท่านหลี่จี มองจากเตียงเห็นเข้าจึงรีบเอ่ยปากว่า  "น้องเอ๋ย.....บ้านเรามีคนรับใช้ตั้งมากมาย ไยเจ้าไม่เรียกเขาไปทำเล่า ?  ทำไมต้องลงมือทำเองให้ลำบาก  ดูซิ...เคราของเจ้าถูกไฟไหม้หายไปตั้งแยอะ...ช่างน่าเสียดาย !"  ท่านหลี่จีได้ยินคำทักท้วงของพี่สาว จึงหันมายิ้มและตอบว่า "ไม่เป็นไรหรอก.....น้องก็รู้ว่างานเช่นนี้เรียกคนรับใช้มาทำก็ได้ แต่เมื่อคิดถึงว่า  อายุของท่านพี่ก็มากแล้ว และอายุของฉันก้ไม่น้อย หากต่อไปอยากจะต้มโจ๊กให้ท่านพี่ทานบ่อย ๆ  จะยังเหลือโอาสให้ทำได้อีกสักกี่ครั้งเชียว"   คำกล่าวของท่านองคมนตรี  หลี่จี สะท้อนให้เห็นถึงหลักธรรมว่าด้วยคุณสัมพันธ์ระหว่างพี่กับน้อง  คือ การที่พี่ต้องปกป้องดุแลน้อง ส่วนน้องก็ต้องเคารพพี่่  แต่บางคนก็ถูกยศฐาบรรดาศักดิ์ ความร่ำรวย  ครอบงำให้จิตใจลุ่มหลง  จมดิ่งอยู่ในบ่วงแห่งอำนาจ จนลืมตัว  ยะโส  เย่อหยิ่ง  ทะนงตน  บางคนถึงกับดูถูกเหยียดหยาม  มองพ่อแม่พี่น้องว่าต่ำต้อยด้อยค่ากว่าตน  กระทั่งละทิ้งครอบครัว ลืมชาติกำเนิดตัวเองเสียสิ้น  นี่เป็นเรื่องที่น่าอดสูใจจริง ๆ !  ท่านหลี่จี เป็นผู้สูงศักดิ์เปี่ยมด้วยยศฐาบารมี แต่ก็ยังใส่ใจปรนนิบัติพี่สาว ไม่เห็นแก่ความเหนื่อยยาก อีกทั้งคำพูดของท่านก็เป็นสิ่งที่ซึ้งใจยิ่งนัก  ความสุขของคนในโลกนี้...งงแท้จริงอยู่ที่ไหน ?  คนฉลาดควรจะคิดได้แล้ว  !
หัวข้อ: คุณธรรมบรรพชน : คุณธรรม จริยธรรมในสังคม : เรื่องที่ 8 มีแม่เดียวกัน
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 30/04/2011, 03:05
                 คุณธรรมบรรพชน : คุณธรรม  จริยธรรมในสังคม   

                          เรื่องที่ 8    :  มีแม่เดียวกัน

        ที่เมืองเสียนเฉิง  มีสองพี่น้องซึ่งไม่รักใคร่ปรองดองกัน บ่อยครั้งที่ต้องทะเลาะเบาะแว้งกันด้วยเรื่องไม่เป็นเรื่อง  วันหนึ่งแม่วัวของผู้พี่ชาย  ได้ให้กำเนิดลูกวัวตัวหนึ่ง ไม่นานเขาก็ขายให้เพื่อนบ้านไป ต่อมาแม่วัวได้คลอดลุกวัวอีกตัวหนึ่งแล้วมันก็ตาย !  ลูกวัวตัวใหม่ซึ่งกำพร้าแม่จึงถูกพี่ชายเลี้ยงไว้ตามลำพัง  เวลาผ่านไปไม่กี่เดือน เพื่อนบ้านที่เคยซื้อลูกวัวตัวแรกไป ได้นำกลับมาขายให้ผู้เป็นน้องชาย  เมื่อวัวทั้งสองได้พบกันมันตรงรี่เข้ามาคลอเคลียกันอย่างสนิทสนม  พอพลบค่ำ.....พี่ชายจึงไปจูงวัวของตนที่คอก  แต่มันกลับดิ้นรนขัดขืน  ส่วนวัวอีกตัวที่น้องชายมัดไว้ ก้ดิ้นจนเชือกขาดและพยายามปีนรั้วกั้น  จนสามารถเข้าไปนอนอยู่ในคอกเดียวกัน  พี่น้องทั้งสองพยายามแยกมันออกมากันแต่ก็ไม่เป็นผลในที่สุดจึงปล่อยให้มันนอนด้วยกัน  ผู้เป็นพี่ชายจึงพูดกับน้องของตนว่า  "น้องเอ๋ย  ! ดูเอาเถิด สัตว์ที่เกิดจากแม่เดียวกันมันยังรักใคร่กันถึงปานนี้ เราทั้งสองได้ชื่อว่าเป็นคน ยังเทียบกับมันไม่ได้เลย "  เมื่อน้องชายได้ยินเช่นนั้น ก็รู้สึกสะเทือนใจจนไม่อาจกลั้นน้ำตาเอาไว้ได้ นับแต่นั้นมาทั้งสองพี่น้องจึงกลับมารักใคร่ปรองดองกันเหมือนเมื่อครั้งที่พ่อและแม่ของพวกเขายังมีชีวิตอยู่

        ""คน""  ได้ชื่อว่าเป็นสัตว์ประเสริฐ  แต่กลับหลงลืมจิตญาณตนอันบริสุทธิ์ของตนไปเสียสิ้น  วัวควายช้างม้า มองว่าเป็นสัตว์เดโง่เขลา   แต่มันก็ยังสามารถรักษาคุณธรรมอันดีงามในตัวเอาไว้ได้  ดูอย่างวัวสองตัวนี้  เป็นเพราะเกิดจากแม่เดียวกัน จึงแสดงความรักต่อกัน ทำให้สองพี่น้องซึ่งมองหน้ากันราวกับเห็นศัตรูคู่อาฆาตรู้สึกละอายใจ จนกลับมารักใคร่ปรองดองกัน นี่ย่อมแสดงว่าพวกเขายังสามารถฟื้นคืนจิตญาณเดิมแท้ของความเป็นมนุษย์ขึ้นมาได้
   
        แต่ทุกวันนี้  เราเห็นคนฆ่าสัตว์เป็นว่าเล่น จะกล่าวไปไยกับเหตุการณ์ที่คนเข่นฆ่าทำลายล้างผลาญชีวิตคนด้วยกัน  ใช่หรือไม่ว่าจิตใจของผู้คนเวลานี้ตกต่ำจนถึงขีดสุด  หากจิตญาณเดิมแท้ไม่ถูกกอบกู้ฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ มันคงต้องสูญสิ้นไม่หลงเหลือเป็นแน่แท้  !
หัวข้อ: คุณธรรมบรรพชน : คุณธรรม จริยธรรมในสังคม : เรื่องที่ 9 ยอมตาย ปกป้องเพื่อน
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 2/05/2011, 01:40
                   คุณธรรมบรรพชน : คุณธรรม  จริยธรรมในสังคม   

                             เรื่องที่  9  :  ยอมตายปกป้องเพื่อน

        ในสมัยราชวงศ์ฮั่น มีชายผู้หนึ่งชื่อ จี้ป๋อ เป็นคนมีน้ำใจไมตรีต่อเพื่อน ๆ เสมอมา  คราวหนึ่งเพื่อนของเขาล้มป่วย เมื่อทราบข่าวเขาจึงเดินทางออกไปเยี่ยม ทั้ง ๆ ที่อยู่ไกลกันนับพันลี้ ครั้นเดินทางไปถึงบ้านเพื่อนแล้ว ช่างโชคร้าย ! .....วันต่อมามีพวกกองโจรกลุ่มใหญ่บุกจู่โจมขึ้นมาปล้นบ้านเรือนเสียหายยับเยิน  ประชาชนชาวเมืองพากันอพยบหนีตายกันจ้าละหวั่น แม้แต่บ่าวไพร่ผุ้คนในบ้านของเพื่อนจี้ป๋อเอง ก็แตกตื่นต่างพากันหลบหนีเอาตัวรอด เวลานั้นเหลือเพียงจี้ป๋อคนเดียว สักพักมีกลุ่มโจร 3 คน พังประตูเข้ามาหมายจะปล้นเอาทรัพย์สิน แต่เมื่อเห็นจี้ป๋อจึงตวาดใส่ว่า  "เฮ้ย !.....พวกโจรมาแล้ว ผู้คนหนีหัวซุกหัวซุนกันทั้งเมือง เจ้ายังกล้าอยู่อีกรึ ! .....จี้ป๋อ หันหน้าไปดูพวกโจรโดยไม่มีอาการตื่นตกใจเลยแม้แต่น้อย เขาลุกขึ้นยืนพร้อมกับชี้ไปที่เตียงคนป่วย  แล้วตอบว่า  "ฉันมาเยี่ยมเพื่อนจากแดนไกล เขากำลังป่วยหนักเช่นนี้ จะให้ฉันตัดใจหนีเอาตัวรอดงั้นหรือ ? ถ้ามันเป็นโชคร้ายที่มาตาย ฉันก็ยินดีตายพร้อมกับเพื่อนเสียที่นี่ ! "   พวกโจรได้ฟังคำตอบที่จริงจัง อีกทั้งท่าทางที่เด็ดเดี่ยวของเขาต่างก็รู้สึกซาบซึ้งใจอย่างบอกไม่ถูก และแล้วหนึ่งในกลุ่มโจรนั้นจึงพูดว่า  "ชายผู้นี้เป็นคนมีคุณธรรม น้ำใจสูงส่งจริง ๆ พวกเราจะทำร้ายเขาไม่ได้ ! "  และเมื่อจะกลับออกไป พวกโจรบอกกับจี้ป๋อว่า  "ท่านอยู่ที่นี่ดูแลเพื่อนให้ดีเถอะ พวกเราจะคอยคุ้มครองให้เอง ท่านอย่าได้กังวลใจเลย "   การคบหาสมาคมระหว่างเพื่อนกับเพื่อน สำคัญที่สุดคือ สัจจะและความจริงใจต่อกัน หากคบหากันเพราะหวังจะเก็บเกี่ยวเอาผลประโยชน์จากเพื่อน ไม่ว่าจะมากหรือน้อยก็ตาม ความสัมพันธ์นั้นย่อมเกิดจากใจที่เสแสร้งจอมปลอม  แต่สำหรับจี้ป๋อ การที่เขาไม่ยอมหนีเอาตัวรอด ไม่ใช่เพราะหมดโอกาสหรืออับจนหนทาง หากแต่ด้วยความจริงใจ ไม่หวั่นแม้ความตาย ใครจะนึกบ้างว่า กระทั่งพวกโจรยังซึ้งใจ  นี่เป็นเครื่องพิสูจน์ว่า จิตใจที่ศรัทธาจริงใจ ยึดมั่นในคุณธรรม เป็นเสมือนเกราะเพชรปกป้องคุ้มกันภัยได้
หัวข้อ: คุณธรรมบรรพชน : คุณธรรม จริยธรรมในสังคม : เรื่องที่ 10 ยอมเสียเปรียบแต่ชนะใจ
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 2/05/2011, 02:01
                   คุณธรรมบรรพชน : คุณธรรม  จริยธรรมในสังคม   

                            เรื่องที่  10  :  ยอมเสียเปรียบแต่ชนะใจ

        ในสมัยราชวงศ์ฮั่น    เฉินจ้ง   เป็นขุนนางผู้น้อย ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในจวนเจ้าเมือง วันหนึ่งขุนนางที่พักอยู่ร่วมห้องคนหนึ่ง ลางานกลับไปเยี่ยมบ้าน ขณะที่เก็บข้าวของเสื้อผ้าเขาเผลอหยิบเอากางเกงเพื่อนร่วมห้องอีกคนหนึ่งใส่กระเป๋าไปด้วย  วันต่อมา เจ้าของหากางเกงไม่พบจึงโวยวายว่า  เฉินจ้ง  เป็นคนเอาไป  เฉินจ้งไม่เพียงแต่ไม่โต้แย้งแก้ตัว ซ้ำยังออกไปซื้อกางเกงตัวใหม่มาใช้คืนเพื่อนร่วมห้อง  เรื่องจึงสงบ  ผ่านไปสองวัน  เมื่อเพื่อนขุนนางที่ลาพักกลับมา พอดีพบกับเจ้าของกางเกงจึงอธิบายว่า วันที่จะออกเดินทางด้วยความเร่งรีบไม่ดูให้ถี่ถ้วนจึงหยิบกางเกงผิดติดไปด้วย พูดจบก็มอบกางเกงคืนให้เจ้าของเดิม  เมื่อเรื่องราวกระจ่างแจ้ง เพือนร่วมห้องทั้งสองต่างรู้สึกผิดเฉินจ้งมาก จึงเข้าไปขอโทษเขาพร้อม ๆ กัน  ในเวลานั้น  เฉินจ้ง  เพียงแต่ยิ้มรับไม่พูดอะไรเลย
        การที่เพื่อนร่วมงานพักอาศัยอยู่ด้วยกันหลาย ๆ คน แต่ละคนต่างพื้นเพต่างอุปนิสัยใจคอ  เมื่อเกิดกรณีทรัพย์สินสิ่งของหาย ก็มักจะระแวงสงสัยกันไปต่าง ๆ นา ๆ  ถึงแม้คนที่ถูกสงสัยจะบริสุทธิ์ แต่หากยิ่งแก้ตัวปฏิเสธ กลับยิ่งดูน่าสงสัย บางคราวเรื่องอาจลุกลามใหญ่โตถึงขั้นทะเลาะวิวาท จนต้องบาดหมางใจกันไปตลอด ใครบ้างจะใจกว้างขวางอย่างเฉินจ้ง  หลายคนอาจแย้งว่า "ถ้าฉันไม่ได้เอาของใครไป ทำไมต้องยอมเสียเปรียบด้วย ? " พูดเช่นนี้ก็ไม่ผิด แต่ท่านจอมปราชญ์เหล่าจื้อกล่าวว่า "ยิ่งทำเพื่อผู้อื่น  เราก็ยิ่งจะได้รับ"  ฉะนั้น  แม้เฉินจ้งจะยอมเสียเปรียบผุ้อื่น แต่สิ่งที่เขาได้รับกลับมาคือ ชนะใจเพื่อน มันมีค่ามากกว่ายิ่งนัก
หัวข้อ: คุณธรรมบรรพชน : คุณธรรม จริยธรรมในสังคม : เรื่องที่ 11 อ่อนโยนต่อผู้น้อย
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 7/05/2011, 13:22
                   คุณธรรมบรรพชน : คุณธรรม  จริยธรรมในสังคม   

                            เรื่องที่  11  :  อ่อนโยนต่อผู้น้อย

        ในสมัยราชวงศ์หมิง  เฉินซินชง  ผู้มีศักดิ์เป็นอาเขยของ  เอี้ยนเหลี่ยวฝาน  เขามีบุคคลิกที่อ่อนน้อมถ่อมตนและน่าใกล้ชิด  ภรรยาของเขาชื่อ เอี้ยนซื่อ  ก็เป็นผู้ที่อ่อนโยนและมีคุณธรรมสูงสุดดุจเดียวกัน  เอี้ยนซื่อ ในฐานะหญิงของบ้าน แต่ไหนแต่ไรมาท่านไม่เคยส่งเสียงดุด่าบ่าวไพร่คนใช้ในบ้านให้ได้ยินเลย  มีอยู่ครั้งหนึ่ง ซินชง มีอาการป่วยเป็นไข้เล็กน้อย  เอี้ยนซื่ิอได้รินเหล้าใส่ถ้วยสำหรับปรุงยา แล้ววางไว้บนโต๊ะ ขณะที่เดินเข้าไปหยิบห่อยาเพื่อนำมาผสม ประจวบเหมาะกับคนรับใช้ชื่อ เหวินเฉิง เข้ามาทำความสะอาดจึงหยิบถ้วยเหล้าไปเททิ้งข้างนอก  เวลานั้น เอี้ยนซื่อ นายหญิงออกมาเห็นเข้า จึงรีบร้องว่า "เหวินเฉิง ! .....นั่นเป็นเหล้านะ ! ทำไมเอาไปเททิ้งเสียล่ะ ?"  เหวินเฉิงตกใจรีบตอบว่า  " บ่าวเข้ามาเก็บกวาด คิดว่าเป็นน้ำชาเก่าที่เย็นแล้ว ขอรับ "  นายหญิงยิ้มแล้วบอกว่า "เธอไม่รู้.....ก็ไม่เป็นไรหรอก แต่คราวหน้าจะทำอะไรต้องรอบคอบหน่อย  ถ้าไม่แน่ใจก็ควรถามให้รู้เสียก่อน จะได้ไม่เสียหาย เหล้าปรุมยานี้กว่าจะได้มาสักหนึ่งจอก ต้องใช้ข้าวนับพันเม็ดเชียวนา"   คำพูดที่กล่าวออกมาแต่ละคำ เปี่ยมไปด้วยน้ำเสียงที่นุ่มนวลอ่อนโยนและจริงใจ เมื่อคนรับใช้ได้ฟังแล้วก็รู้สึกประทับใจและซาบซึ้งยิ่ง ตั้งแต่นั้นมา.....ไม่ว่าการงานใด เขาจะสำรวมระมัดระวังและตั้งใจทำอย่างรอบคอบพิถีพิถันเป็นที่สุด
        ในบ้านของผู้ที่มีฐานะ ส่วนใหญ่มักจะว่าจ้างคนเข้ามาทำงานรับใช้ ผู้ที่มีฐานะยากจนต้องอาศัยแรงกายทำงาน เพื่อจะได้เงินไปจุนเจือเลี้ยงครอบครัว  ดังนั้น  ผู้ที่อยู่ในฐานะเจ้าบ้านหรือนายจ้าง  จึงต้องใช้ความเมตตาโอบอ้อมอารีในการปกครอง เมื่อผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาทำผิด  ก็จะต้องตักเตือนด้วยเหตุผล  มิใช่ดุด่าด้วยอารมณ์ ต้องรู้จักแยกแยะให้ดีว่า  "คำด่าไม่ใช่คำสอน"  มิเช่นนั้นจะประสบแต่ความเสียหาย เพราะผู้น้อยย่อมท้อแท้หมดกำลังใจ  ในขณะที่ผู้ใหญ่หรือเจ้านายก็สูญเสียคุณธรรมในตัว
หัวข้อ: คุณธรรมบรรพชน : คุณธรรม จริยธรรมในสังคม : เรื่องที่ 12 หลี่ซั่นปกป้องนายน้อย
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 7/05/2011, 14:06
                    คุณธรรมบรรพชน : คุณธรรม  จริยธรรมในสังคม   

                            เรื่องที่  12  :  หลี่ซั่นปกป้องนายน้อย

        หลี่ซั่น  เป็นคนรับใช้ในบ้านของเศรษฐี หลี่เอวี้ยน  เขาเป็นคนขยันขันแข็ง ทำงานด้วยความซื่อสัตย์และรอบคอบ  ท่านเศรษฐีผู้เป็นนายจึงไว้วางใจเขามาก   อนิจจา.....ปีหนึ่ง  เกิดโรคระบาดร้ายแรงขึ้นในหมู่บ้าน  คนในบ้านหลี่เอี้ยวต้องล้มตายไปมาก  แม้กระทั่งตัวท่านเศรษฐีเองก็ไม่อาจรอดพ้น สุดท้ายเหลือแต่บ่าวไพร่จำนวนหนึ่ง กับลูกของเศรษฐีหลี่เอวี้ยน ชื่อ  หลี่ซวี่  ซึ่งเวลานั้นยังเป็นทารกน้อยนอนแบเบาะอยู่  ด้วยความที่บ้านหลี่เอวี้ยน มีทรัพย์สมบัติอยู่จำนวนมาก เมื่อประสบภัยโรคระบาด จึงเป็นช่องทางให้พวกบ่าวไพร่ที่มีใจละโมบหวังจะยึดครองทรัพย์สมบัติ  แอบปรีกษากันว่าจะหาทางฆ่านายน้อย หลี่ซวี่  ทิ้งเสีย !   หวกบ่าวไพร่ใจทรามนำแผนการนี้ไปบอกแก่หลี่ซั่น ด้วยหวังจะให้เขาร่วมมือกับพวกตน  ครั้นหลี่ซั่นรู้เรื่อง แม้จะทั้งตกใจและคาดไม่ถึงกับแผนชัวครั้งนี้  แต่เขาก็พยายามสงบสติอารมณ์ และปกปิดความรู้สึกไว้อย่างมิดชิด  พร้อมกับแสร้งตอบตกลงไปแต่โดยดี  เมื่อสืบทราบความเคลื่อนไหวและล่วงรู้วันเวลาที่พวกบ่าวไพร่จะลงมือแล้ว  ในคืนนั้น...อาศัยช่วงเวลาที่ทุกคนเผลอ  หลี่ซั่นจึงแอบอุ้มเอาทารกเจ้านายน้อยของตนหลบหนีออกไปได้  หลี่ซั่นบ่าวผู้ซื่อสัตย์เดินย่ำเท้าตลอดทั้งคืน จนกระทั่งรุ่งเช้าจึงไปพบที่ซึ่งสามารถหลบซ่อนตัวได้ เป็นซอกหินเล็ก ๆ บนภูเขาร้าง แต่คงไม่ใช่เป็นเรื่องง่ายเลย เพราะเมื่อถึงคราวที่ทารกน้อยหิวนมก็จะส่งเสียงร้องไห้ทั้งกลางวันกลางคืน  ทั้งสงสารนายน้อยทั้งกลัวจะมีคนมาล่วงรู้ที่หลบซ่อน  เขาพยายามหลอกล่อปลอบโยนเท่าไหร่  ทารกน้อยก็ไม่ยอมหยุดร้อง  หลี่ซั่นไม่รู้จะทำอย่างไรดี จึงเปิดเสื้อคลุมของตนแล้วประคองทารกน้อยไว้แนบอก  โดยหวังจะให้เด็กเข้าใจไปว่ามีแม่กำลังป้อนนม  ชะรอยจะเป็นด้วยจ้าวป่าจ้าวเขาเทพยดาอารักษ์  มิอาจทนนิ่งดูดายต่อความจงรักภักดีของบ่าวผู้ซื่อสัตย์ก็ว่าได้  เพราะเมื่อทารกน้อยดูดที่หัวนมของหลี่ซั่น  กลับปรากฏว่ามีน้ำนมไหลออกมาให้นายน้อยของเขาได้ดื่มกินจริง ๆ   หลี่ซั่นโอบอุ้มเลี้ยงดูและคอยปกป้องภัยนายน้อยทั้งกลางวันกลางคืน  สู้บากบั่นอดทนต่อความทุกข์ยากลำบากเป็นเวลาถึง 10 ปี  !   กระทั่งนายน้อยของเขาเติบโต  สามารถเข้าใจความเป็นมาทั้งหมด  หลี่ซั่นจึงออกจากที่หลบซ่อน แล้วนำพาเจ้านายน้อยไปร้องขอความยุติธรรม  ณ.ที่ว่าการอำเภอ  ทางการจึงสั่งเจ้าหน้าที่จับกุมพวกบ่าวไพร่ทรยศทั้งหมดไปลงโทษ และมอบทรัพย์สมบัติคืนแก่เด็กน้อยหลี่ซวี่   เมื่อฝันร้ายผ่านไป.....หลี่ซั่นก็ยังคอยปกป้องดูแลนายน้อยของตนเหมือนอย่างเคยกระทำมาในอดีต  ส่วนหลี่ซวี่เองก็สำนึกในพระคุณของหลี่ซั่นและปฏิบัติต่อเขาดุจพ่อแม่บังเกิดเกล้าของตน
        ต่อมาเมื่อเรื่องราวของบ่าวรับใช้กับนายน้อยคู่นี้ ทราบถึงพระเนตรพระกรรณขององค์ฮ่องเต้กวงฮั่น  พระองค์จึงทรงมีพระราชโองการให้ทั้งสองเดินทางเข้าวังและรับตำแหน่งราชองค์รักษ์ประจำพระองค์   จากนั้นไม่นาน  หลี่ซั่นก็ได้รับพระราชทานตำแหน่งเป็นเจ้าเมืองปกครองเมืองยื่อหนัน  ตลอดช่วงชีวิตของเขาได้สร้างคุณความดีและฝากผลงานไว้มากมาย
        ในสมัยโบราณ  คำที่เรียกใช้  ขุนนางและบ่าวรับใช้ ใช้คำ ๆ เดียวกัน  พอมาถึงปัจจุบันเปลี่ยนจาก  "ขุนนาง"  มาเป็น  "ข้าราชการ"  แต่ความหมายก็คือ  ผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่รับใช้ส่วนรวม รับใช้ประชาชน   หากจะกล่าวโดยเนื้อแท้แล้ว  "บ่าวรับใช้"  คือคนรับใช้ส่วนตัว  "ข้าราชการ" คือ คนรับใช้ส่วนรวม  แต่ก็ยังเหมือนกันเพราะว่า กินข้าวของคนอื่น  ดังนั้นย่อมทำงานตอบแทนด้วยความซื่อสัตย์สุจริต  ไม่ฉ้อฉล โกงบ้านกินเมือง  จะแบ่งว่าข้าราชการ มีฐานะสูงส่ง บ่าวรับใช้นั้นต่ำต้อยหาได้ไม่  จะสูงส่งหรือต่ำต้อยไม่ได้อยู่ที่ชื่อเรียกแต่อยู่ที่คุณธรรมความดีต่างหาก  ดังนั้น  หลี่ซั่น  ผู้ดำรงไว้ซึ่งความซื่อสัตย์ จงรักภักดีมิเสื่อมคลาย เขาจะแตกต่างจาก ท่านจอมปราชญ์ขงเบ้ง ผู้ซึ่งอุทิศทั้งชีวิตรับใช้พระเจ้าเล่าปี่ได้อย่างไร ?
หัวข้อ: คุณธรรมบรรพชน : เรื่องที่ 13 : ไม่กล่าวลามิกล้ากลับ
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 29/06/2011, 01:26
            คุณธรรมบรรพชน : คุณธรรม  จริยธรรมในสังคม   

                    เรื่องที่ 13  : ไม่กล่าวลามิกล้ากลับ

        ในสมัยราชวงศ์ซ่ง มีนักศึกษาสองคนชื่อ อิ๋วจ้าวและหยางสือ  ทั้งสองได้มาฝากตัวเป็นศิษย์ เพื่อศึกษาเล่าเรียนกับท่านอาจารย์ผู้เฒ่าเฉิงอี พวกเขาต่างปรนนิบัติรับใช้อาจารย์อย่างเคารพนบนอบยิ่ง  ครั้งหนึ่งหลางฤดูหนาว อากาศหนาวจัด ขณะที่นักศึกษาทั้งสองนั่งฟังอาจารย์บรรยายหลักวิชาอยู่ แต่ด้วยความชราภาพากแล้ว เสียงของท่านอาจารย์เบาลง ๆ  พร้อมกับค่อย ๆ หรี่ตา ไม่นานท่านผู้เฒ่าก็ผล๊อยหลับไป ศิษย์ทั้งสองเห็นว่าท่านอาจารย์หลับจึงลุกขึ้นอย่างช้า ๆ  และเดินเข้าไปจัดผ้าห่มคลุมให้ร่างกายของท่านผู้เฒ่าอบอุ่นด้วยความระมัดระวัง จากนั้นทั้งสองก็หลบไปยืนอยู่ข้าง ๆ อย่างเงียบเชียบและสำรวม ขณะนั้นข้างนอกหิมะตกโปรยปรายอยู่ตลอดเวลา ยิ่งดึกอากาศบิ่งหนาวเย็นยะเยือก อิ๋วจ้าวและหยางสือ ก็ยังไม่ไปไหน เวลาผ่านไปนานเท่าไรไม่รู้ กระทั่งเมื่ออาจารย์ผู้ชราตื่นขึ้น เห็นลูกศิษย์ทั้งสองยืนอยู่ข้าง ๆ จึงเอ่ยถามว่า "พวกเธอยังไม่กลับอีกหรือ ?"  ลูกศิษย์ทั้งสองตอบว่า "ศิษย์เห็นท่านอาจารย์กำลังพักผ่อน พวกเรายังไม่ได้กราบลาจึงมิกล้าจะกลับก่อนขอรับ" ท่านอาจารย์ผู้เฒ่ายิ้มเล็กน้อย แล้วบอกให้ลูกศิษย์ทั้งสองกลับไปพักได้ หลังจากกราบลาเสร็จ พอเปิดประตูจะออกไป อิ๋วจ้าวและหยางสือก็พบว่า หิมะได้ตกท่วมสูงถึงเอวแล้ว !  ต่อมาหลังจากจบการศึกษา นักศึกษาทั้งสองต่างประสบความสำเร็จและได้กลายมาเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากในยุคนั้น
        เด็กนักเรียน นักศึกษา จะมีวิชาความรู้ ความสามารถติดตัว ย่อมต้องเป็นผู้ใฝ่ศึกษาเล่าเรียน และที่สำคัญคือการเป็นผู้รู้จักเคารพนบนอบต่อครูอาจารย์ผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้  พ่อแม่โอบอุ้มเลี้ยงดู ครูอาจารย์เฝ้าสอนสั่ง ทั้งสองท่านพระคุณยิ่งใหญ่ดุจเดียวกัน การให้ความเคารพนบนอบต่อผู้มีพระคุณ บ่งบอกถึงจิตใจที่เคารพเชิดชูคุณธรรม หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง ผู้ที่เคารพเชิดชูคุณธรรม ก็คือ ผู้ที่เคารพตนเอง
        ในยุคสมัยนี้ คนจำนวนไม่น้อยมีความคิดเห็นว่า คนเราต่างเสมอภาคกัน ครูอาจารย์ได้ค่าจ้างสอน ลูกศิษย์จ่ายค่าเล่าเรียนแล้วจะต้องไปเคารพทำไม ? คนที่คิดเช่นนี้ เป็นผู้ไม่รู้จักว่าอะไร "สูง" อะไร "ต่ำ"  คิดว่าหัวและเท้าควรอยู่ที่เดียวกัน นี่เป็นเพราะความคิดที่สบประมาทเหยียดหยามตนเอง คนเหล่านี้เป็นบุคคลที่ทำลายคุณธรรมของตนให้สูญสิ้นไป แม้จะเล่าเรียนสูงไปถึงขั้นไหน ก็ยังคงต้องเรียกว่า "ไร้การศึกษา"  ไม่ต่างอะไรกับ "คนสิ้นคิด สมองกลวง"
หัวข้อ: คุณธรรมบรรพชน : เรื่องที่ 14 อุดมการณ์ของครู
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 5/07/2011, 02:17
                  คุณธรรมบรรพชน  :  คุณธรรม  จริยธรรมในสังคม   

                         เรื่องที่ 14   :   อุดมการณ์ของครู

        ในสมัยราชวงศ์ซ่ง มีอาจารย์ท่านหนึ่งนามว่า เจิ้งจื้อ ท่านศึกษาและดำเนินชีวิตตามแนวทางคำสอนของท่านจอมปราชญ์ขงจื้อ โดยมีความเป็นอยู่ที่สมถะเรียบง่าย ไม่ใฝ่ชื่อเสียงลาภยศ บ้านที่ท่านอาจารย์เจิ้งจื้อพำนักอยู่ ท่านได้จัดแบ่งห้องเพื่อเป็นที่อบรมสั่งสอนลูกศิษย์ ขอเพียงมีนักศึกษาท่านไหนอยากเล่าเรียนท่านก็จะรับไว้และทุ่มเทอบรมสั่งสอน ด้วยความจริงใจ หลักในการสอนของท่านเจิ้งจื้อ อันดับแรกคือ เน้นหนักในคุณธรรม  รองลงมาคือ ถ่ายทอดศิลปะวิทยาการท่านย้ำอยู่เสมอถึงความกตัญญูกตเวทิตา ความรักใคร่ปรองดองระหว่างพี่น้อง  ความจงรักภักดีต่อชาติบ้านเมือง   ความมีสัจจะ  จริยธรรมอันดีงาม  ตลอดจนถึงความเป็นผู้มีมโนธรรมสำนึก  รู้สึกละอายและเกรงกลัวต่อบาป  ซึ่งทั้งหมดล้วนเป็นพื้นฐานสำคัญในการดำเนินชีวิต และอยู่ร่วมกันในสังคม  ท่านอาจารย์เจิ้งจื้อ มิใช่เพียงแค่พร่ำอบรมสั่งสอน ด้วยวาจา แต่ท่านยังปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างให้เห็นเป็นที่ประจักษ์ ดังน้นบรดาลูกศิษย์ทั้งหลาย ที่ได้รับการอบรมสั่งสอนจากท่าน จึงต่างมุมานะใฝ่ใจเล่าเรียนศึกษา และแน่นอนเหลือเกินว่าแต่ละคนเมื่อจบไปล้วนประสบความสำเร็จในชีวิต ด้วยว่ามีคุณสมบัติเพียบพร้อมทั้งทางด้านคุณธรรมความประพฤติ สติปัญญาและความรู้ความสามารถ  สำหรับบุตรหลานของท่านอาจารย์เจิ้งจื้อนั้นหรือ บุตรชายคนโตชื่อ "ก่วน"  คนรองชื่อ "ซวี่"และหลานอีก 2 คน  ทั้งหมดสามารถสอบได้เป็นบัณฑิตหลวง ในวันที่เข้าเฝ้าเพื่อรับพระราชทานโปรดเกล้า เจิ่งก่วน ถึงกับน้อมกราบถวายบังคมถึง 2  ครั้ง  2 ครา เนื่องด้วยสำนึกในพระคุณของบรรพชน และพระคุณของแผ่นดินพร้อม ๆ กัน เล่ากันว่าครั้งนั้นกษัตริย์เสินจง ทอดพระเนตรแล้วถึงกับเผลอพระองค์ทรงพระสรวลออกมา ส่วนท่านขวงกงกงผู้ถวายงานอยู่ข้าง ๆ พระเจ้าอยู่หัวก็รำพึงว่า "โอ้.....นี่นับเป็นบุญวาสนาของท่านเจิ้งจื้อผู้เป็นบิดาอย่างแท้จริง ที่ทุ่มเทอบรมสั่งสอนผู้คนด้วยความมุ่งมั่นจริงใจ" 
 
        อะไรคือ  บทบาทและหน้าที่ของความเป็นครู ?
บทบาทของครู คือ "เป็นแบบอย่างสำหรับคนข้างหน้า"
หน้าที่ของครู   คือ  "นำพาผู้มาทีหลัง"

       " เป็นแบบอย่างสำหรับคนข้างหน้าได้แก่ ผู้เป็นครูต้องบ่มเพาะ คุณธรรม  จริยธรรม  ให้บังเกิดมีขึ้นในตัวเอง เพื่อให้ลูกศิษย์รวมทั้งผู้ที่มีบทบาทหรือเป็นผู้นำในสังคมได้ยึดถือน้อมนำมาเป็นแบบอย่างประพฤติปฏิบัติ"     
       " นำพาผู้มาทีหลัง  ได้แก่ ครูที่มีหน้าที่ชื้แนะ สั่งสอน อบรมลูกศิษย์อนุชน เพื่อพร้อมที่จะสร้างสรรค์คุณงามความดี อันจะยังประโยชน์สุขให้เกิดขึ้นแก่สังคมประเทศชาติบ้านเมืิอง
        วัฒนธรรมที่เจริญรุ่งเรืองของมนุษยชาติ ล้วนอาศัยผู้ที่รู้ก่อนมาถ่ายทอดสั่งสอนให้แก่ผู้มาทีหลัง ให้รู้ตาม ครูนั้นจัดอยู่ในฐานะผู้ที่รู้ก่อน เข้าใจก่อน  ได้ศึกษาจนกระจ่างแจ้งทะลุปรุโปร่ง อีกทั้งปฏิบัติได้อย่างสมบูรณ์ดีงาม คุณธรรมดังกล่าวมา ผู้เป็นครูจักต้องมีอย่างเพียบพร้อม จึงจะยืนอยู่ในฐานะของความเป็นครูได้โดยไม่ละอายใจ  ในสมัยโบราณ ครู อาจารย์ทั้งหลาย มักแลกเปลี่ยนบุตรหลานกันในการอบรมสั่งสอน ดังนั้นศิษย์หรือลูกหลาน ก็ไม่มีความแตกต่างกัน การอบรมสั่งสอนศิษย์ ต้องใช้ความทุ่มเทขยันและจริงใจประกอบด้วยความเมตตากรุณาเป็นหลัก ท่านจอมปราชญ์ขงจื้อกล่าวอยู่เสมอว่า  "ร่ำเรียนโดยไม่เบื่อหน่าย  พร่ำสอนอย่างไม่รู้เหน็ดเหนื่อย"  จริยวัตรของท่านบรมขงจื้อ จึงเป็นแบบอย่างครู อาจารย์ ในโลก อันจะดำรงอยู่คู่ฟ้าหมื่นปี  ผู้เป็นครู อาจารย์ทั้งหลายในยุคปัจจุบัน ควรยึดถือแบบอย่างครูในสมัยโบราณให้มาก ๆ
หัวข้อ: คุณธรรมบรรพชน : เรื่องที่ 15 แบบอย่างจรรยาแพทย์
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 6/07/2011, 08:10
                     คุณธรรมบรรพชน  :  คุณธรรม  จริยธรรมในสังคม   
               
                   คุณธรรมบรรพชน    :   เรื่องที่ 15   แบบอย่างจรรยาแพทย์

        ในราชวงศ์หมิง มีนายแพทย์ท่านหนึ่งชื่อ พัน ขุย ท่านมีความมุ่งมั่นที่จะช่วยเหลือผู้ป่วยโดยไม่เห็นแก่เงินทอง ตลอดเวลานายแพทย์ท่านนี้จะดูแลเอาใจใส่อย่างทุ่มเทและใช้ยาดีที่สุดมารักษาคนไข้ โดยไม่คำนึงว่าจะถูกหรือแพงสักเพียงไร  ครั้งหนึ่งโรคเกิดระบาดหนัก ผู้คนล้มป่วยเป็นจำนวนมาก คุณหมอพันขุย ต้องเดินทางตระเวณรักษาคนป่วยไปทั่วตั้งแต่เช้าจรดค่ำ  ไม่ว่าจะยากดีมีจน ในสายตาของคุณหมอท่านนี้ล้วนเท่าเทียมกัน ด้วยความรู้ความชำนาญอันเยี่ยมยอด ทำให้จำนวนผู้ป่วยรอดตายถึง 9  ใน 10 ส่วน  ในเวลานั้น มีเพื่อนบ้านของคุณหมอคนหนึ่งแซ่เจ่า เคยมีเรื่องไม่พอใจคุณหมอ ถึงกับฟ้องร้องเป็นคดีความในศาล คราวนั้นเขาก็ล้มป่วยอาการหนักมาก จึงพูดกับลูกชายว่า "คนที่จะสามารถช่วยชีวิตพ่อได้ มีเพียงคุณหมอพันขุยเท่านั้น ลูกรีบไปเชิญท่านมาเร็วเถอะ" ลูกชายของเขายังคงลังเลใจและเอ่ยถามผู้เป็นพ่อว่า "พวกเราเคยมีเรื่องกับคุณหมอ... แล้วท่านจะยอมมารักษาให้รึ ?" แต่นายเจ่ายืนยันว่า "ถึงแม้พ่อจะเคยล่วงเกินเขาด้วยความใจแคบแต่สำหรับคุณหมอนั้นเป็นผู้มีจิตใจเมตตาสูงล้ำ ท่านคงไม่ทอดทิ้งพวกเราหรอก" ลูกชายของนายเจ่ารีบไปเชิญคุรหมอมาที่บ้าน ไม่เพียงท่านยินยอมตามมาทันที แต่ยังดูแลรักษาด้วยความเป็นห่วงเป็นใย ราวกับว่าในอดีตที่ผ่านมาไม่เคยมีเรื่องอะไรบาดหมางกันเลย ทั้งนายเจ่าและทุกคนในครอบครัว ต่างรู้สึกสำนึกและซาบซึ้งในความกรุณาของคุณหมอเป็นอย่างยิ่ง จากนั้นไม่นานอาการของนายเจ่าก็ค่อย ๆ ดีขึ้น และหายเป็นปกติในที่สุด  นายแพทย์พันขุยมีบุตรชาย 3 คน คือ ป๋อเซียง  จ้งไซ  จี้จวิ่น  และหลานชื่อ ต้าฟู่ อีก 1 คน ต่อมาทุกคนล้วนได้รับยศฐาบรรดาศักดิ์ มีความเจริญรุ่งเรืองและประสบความสำเร็จยิ่งในชีวิต ผู้คนทั้งหลายต่างพูดกันว่า "นี่เป็นเพราะบุญบารมีที่คุณหมอได้สร้างสมมาโดยตลอด"   หมอดีและข้าราชการดีนั้นเหมือนกัน คือ ทั้งสองหน้าที่นี้ ต่างสามารถพลิกผันชีวิตผู้คนได้ ฉะนั้นผู้ที่อยู่ในฐานะดังกล่าว ต้องไม่มีคำว่าเห็นแก่ตัว ต้องปฏิบัติหน้าที่โดยไม่มีอคติ ทำทุกอย่างเพื่อให้ปวงชนอยู่ดีมีสุข จึงจะได้ชื่อว่า ข้าราชการดีมีคุณธรรม หมอดีมีจรรยา  ดังเช่น นายแพทย์พันขุย ผู้ซึ่งถึงพร้อมด้วยคุณธรรมและเมตตา สมเป็นแบบอย่างของนายแพทย์ทั้งหลาย
     
หัวข้อ: คุณธรรมบรรพชน : เรื่องที่ 16 ไม่น่าให้เด็กต้องสอน
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 6/07/2011, 08:37
                     คุณธรรมบรรพชน  :  คุณธรรม  จริยธรรมในสังคม             

                   คุณธรรมบรรพชน    :   เรื่องที่ 16    ไม่น่าให้เด็กต้องสอน

        ในสมัยราชวงศ์ฮั่น บัณฑิตผู้มีชื่อเสียงท่านหนึ่งนามว่า "เฉินสือ" ผู้คนทั้งหลายให้ฉายาท่านว่า "เหวินฝั้นเซียนเซิง"  ด้วยความเป็นผู้ยึดมั่นในสัจจะ และมีมโนธรรมสูงส่ง  หากที่ใดมีเหตุทะเลาะวิวาทบาดหมางกัน ผู้คนก็มักจะเชิญท่านมาเป็นผู้ตัดสิน เวลานั้นคู่กรณีทั้งหลาย เมื่อรู้เข้าก็ต่างพูดว่า " ควรรีบไปรับโทษเสียเอง ดีกว่ารอให้ท่านเหวินฝั้นมาชี้ผิด" นี่ย่อมแสดงให้เห็นถึงความเคารพยกย่อง ที่ผู้คนมีต่อท่านอย่างมาก  คำกล่าวที่ว่า " หงส์ย่อมให้กำเนิดลูกหงส์" เปรียบได้กับ เหยียนฟัง บุตรชายของท่านเหวินฝั้น มีวันหนึ่งท่านเหวินฝั้นได้นัดหมายกับเพื่อนไว้ว่าจะเดินทางไปทำธุระด้วยกัน แต่พอถึงวันนั้น และเลยเวลานัดไปแล้ว เพื่อนก็ยังไม่มา ท่านจึงออกเดินทางไปก่อน  ขณะนั้นเด็กชายเหยียนฟัง ยังอายุ 7 ขวบ กำลังเล่นอยู่หน้าบ้าน เมื่อเพื่อนของท่านเหวินฝั้นมาถึง จึงถามว่า "ท่านเหวินฝั้นอยู่บ้านหรือไม่" เด็กชายเหยียนฟังตอบว่า "ก็รอท่านอยู่ตั้งนานไม่เห็นมา... จึงออกเดินทางไปแล้ว" เพื่อนคนนั้นโกรธมาก และบ่นว่า "มีอย่างที่ไหน ! นัดกันไว้แล้วกลับชิงออกไปเสียก่อน...คนอะไรใช้ไม่ได้ !"  เด็กน้อยเหยียนฟังได้ยินเช่นนั้น จึงแย้งว่า "เวลาที่คุณนัดกับท่านพ่อไว้คือ เที่ยงตรง  แต่เมื่อเลยเที่ยงไปแล้วตั้งนานคุณไม่มา ก็คือ ขาดสัจจะ  และการด่าพ่อต่อหน้าลูกของเขา เรียกว่า ไร้จริยะ" เพื่อนผู้นั้นถึงกับสะดุ้ง เพราะว่าตนผิด จึงกล่าวขออภัย แล้วรีบจากไปด้วยความละอาย 

     การไม่รักษาเวลา หรือไม่ตรงต่อเวลา เป็นเรื่องของคนที่ขาดความรับผิดชอบ หากไม่รักษาคำพูดแล้วยังต่อว่าคนอื่น คงต้องนำคำตอบของเด็กน้อยเหยียนฟังมาเตือนสติ เพราะคำตำหนิที่เด็ดขาด และ เที่ยงธรรมเพียงไม่กี่คำ ทำให้เห็นชัดว่า เด็กหรือผู้ใหญ่ ไม่ได้ดูกันที่อายุเท่านั้น แต่ดูจากการรู้จักคิดหรือไม่ต่างหากหากอายุยังน้อยแต่คิดเป็น เข้าใจหลักเหตุผล ก็เรียกว่ามีความเป็นผู้ใหญ่ ในทางกลับกัน ถ้าผู้ใหญ่คิดไม่เป็น ไม่เข้าใจหลักเหตุผล ก็เรียกว่า "โตแต่ตัว" ความคิดความอ่านสู้เด็กยังไม่ได้
หัวข้อ: คุณธรรมบรรพชน : เรื่องที่ 17 มารยาทส่อธาตุแท้ภูมิเดิม
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 7/07/2011, 09:59
                  คุณธรรมบรรพชน  :  คุณธรรม  จริยธรรมในสังคม   

                คุณธรรมบรรพชน    :   เรื่องที่ 17    มารยาทส่อธาตุแท้ภูมิเดิม

        ในสมัยตงฮั่น มีสุภาพบุรุษท่านหนึ่งชื่อ กัวหลินจง เป้นผู้มีอุปนิสัยชอบช่วยเหลือและส่งเสริมคนดีมีความสามารถ วันหนึ่ง ขณะอยู่ระหว่างเดินทางท่องเที่ยวได้เกิดฝนตกหนัก กัวหลินจงจึงรีบเดินเข้าไปหลบอยู่ใต้ต้นไม้ สักครู่มีกลุ่มชายชาวนา 3 - 4 คน ซึ่งกำลังทำนาอยู่ ต่างฉวยเครื่องไม้เครื่องมือของตน พากันวิ่งหนีฝนมาหลบที่ใต้ต้นไม้ด้วย ด้วยความที่พุ่มไม้มีขนาดไม่กว้างนัก ทำให้พื้นที่จะหลบฝนมีอยู่จำกัด แต่บรรดาชายชาวนา วางหมวก อย่างระเกะระกะมิหนำซ้ำเมื่อทรุดตัวนั่งที่โคนต้นไม้ พวกเขายังกางขา เหยียดเท้า โดยไม่คำนึงถึงกิริยามารยาทอันควรเลยแม้แต่น้อย แต่ทว่าในบรรดาชาวนาเหล่านั้น มีอยู่คนหนึ่งอายุราว 40 ปี ต่างไปจากคนอื่น ๆ โดยที่เขาพยายามเก็บแขน ขา ศอก และนั่งอยู่ในท่วงท่าที่สง่างาม เมื่อกัวหลินจงสังเกตุดูก็รู้สึกประหลาดใจ จึงได้เอ่ยปากขอถามชื่อแซ่ชาวนาผู้นี้ เขาบอกว่าแซ่ "เหมา" ชื่อว่า "หยง" อาศัยอยู่ไม่ไกลจากที่นี่มากนัก  เมื่อสนทนากันได้สักพัก พอฝนหยุดตกฟ้าก้เริ่มมืดลง กัวหลินจง เห็นว่าคงเดินทางลำบาก จึงขอค้างคืนที่บ้านของเหมาหยง เขาก็ตอบตกลง เมื่อไปถึงเหมาหยงก็ได้จัดเตียงที่พักให้อย่างเรียบร้อย  เช้าวันรุ่งขึ้น เมื่อกัวหลินจงตื่นขึ้นมา ก็เห็นเหมาหยงกำลังจัดเตรียมอาหารเลิศรสอย่างดีเรียงลงในถาด กัวหลินจงคาดคะเนว่า ต้องเป็นอาหารสำหรับแขกแน่นอน  สักครู่.....เมื่อเหมาหยงเจ้าบ้านเชิญแขกมาร่วมรับประทานอาหารเช้าที่โต๊ะ กัวหลินจงกลับพบว่าอาหารสำหรับเขาทั้งสอง มีเพียงผัดผักธรรมดา ๆ กับน้ำซุบคนละถ้วยเท่านั้น  ทั้งนี้เพราะ แท้ที่จริงแล้วอาหารเลิศรสชั้นดีนั้น เหมาหยง จัดไว้สำหรับแม่ผู้ชราของเขาต่างหาก ขณะนั้น กัวหลินจงรู้สึกเคารพยกย่องในความกตัญญูของเหมาหยงเป็นอย่างยิ่ง ถึงรีบคุกเข่าคารวะเขาพร้อมกับกล่าวว่า "ท่านนั้นเป็นดั่งเช่นปราชญ์เมธีจริง ๆ " เหมาหยงรีบประคองแขกให้ลุกขึ้น และกล่าวอย่างถ่อมตนว่า มิกล้ารับ ทั้งสองได้พูดคุยกันอย่างสนิทสนมเป็นมิตรไมตรี เมื่อถึงเวลาจะกลับ... กัวหลินจงจึงได้ย้ำเตือนให้เหมาหยงมุ่งมั่นเล่าเรียนศึกษาหาความรู้ หลังจากที่ลาจากกันไปแล้ว  กัวหลินจงเองไม่ว่าจะพบปะสนทนากับเหล่านักปราชญ์สุภาพชนที่ไหน เขาก็มักจะกล่าวยกย่องสหายกัลยาณชนชาวนาของเขาเสมอ ส่วนเหมาหยง...ต่อมาได้กลายเป็นบุคคลผู้มีชื่อเสียงท่านหนึ่งด้วยเช่นกัน
        มีสุภาษิตไทยกล่าวว่า  "สำเนียงส่อภาษา  กิริยาส่อสกุล"  หมายถึง น้ำเสียง สำเนียง ย่อมบ่งบอกได้ว่า เป็นคนกำเนิดจากถิ่นใด  ส่วนกิริยาท่าทาง ย่อมจะบอกถึงว่ามาจาก ชาติตระกูลที่ "ต่ำ" หรือ "สูง" เกิดในตระกูลสูง เรียกว่า "ผู้ดี" เทียบได้กับหงส์  เกิดในตระกูลต่ำ  เรียกว่า "ไพร่" เทียบได้กับอีกา
        "ผู้ดี"  หรือ "ไพร่ "  วัดจากอะไรหรือ ?   ความหมายที่แท้จริงของ "ผู้ดี" คือ บุคคลที่ดำเนินชีวิตอยู่ โดยยึดมั่นในคุณธรรม จริยธรรมอันดีงาม  ความหมายที่แท้จริงของ "ตระกูลสูง" ก็คือ เกิดมาในครอบครัวที่บุพพการี พ่อแม่ ให้อบรมสั่งสอน หล่อหลอมจนเป็นคนดี มีความเสียสละ บำเพ็ญตนเพื่อส่วนรวม บุคคลเหล่านี้จึงเทียบได้กับหงส์ 
        คำว่า "ไพร่"  ที่แท้ ใช่ว่าจะใช้เรียกคนที่ยากจน คนรับใช้ หรือคนฐานะต่ำต้อยด้อยความรู้ก็หาไม่ "ไพร่" ที่ใช้เป็นคำด่า หมายถึง คนที่มีความประพฤติต่ำช้าเลวทราม ไม่ตั้งอยู่ในศีลธรรม หมกหมุ่นมัวเมาอยู่กับอบายมุข ทั้งดื่มเหล้า เสพยา ลักขโมย ทำลายทรัพย์สินสิ่งของสาธารณะ ฯลฯ วัน ๆ ทำแต่เรื่องเดือดร้อนให้แก่ครอบครัวและสังคม ทำตัวไร้ค่าเหมือนเศษขยะที่ใช้การอะไรไม่ได้
        "ตระกูลต่ำ" มิใช่ ครอบครัวที่ยากไร้  หรือคนบ้านป่า บ้านดอย ที่ห่างไกลความเจริญ  ตระกูลต่ำ หมายถึง ครอบครัวที่บุพพการีพ่อแม่ ปล่อยปละละเลยหน้าที่่ ไม่เคยอบรมสั่งสอนให้ลูกหลานตั้งมั่นอยู่ในคุณธรรม ศีลธรรม หรือไม่ก็สอนแต่สิ่งที่ผิด ๆ  ทำให้ลูกหลานโตขึ้นมาพร้อมกับความคิดที่ผิด ๆ จนสร้างความหายนะ ให้แก่วงศ์ตระกูล ถ้าหนักมาก ๆ ก็ถึงขั้น ล้างผลาญชาติบ้านเมืองให้ย่อยยับ !
        ผู้ดีที่มั่งคั่งร่ำรวยด้วยความสุจริตธรรม มักไม่แสดงตนโอ้อวด กินใช้ด้วยความรู้จักประมาณ แต่งกายด้วยความพอดี ไม่เกินงาม กิริยาอ่อนน้อม วาจาไพเราะ มารยาทงดงาม ถ่อมตนแม้แต่ผู้ที่ด้อยกว่า  ส่วนผู้ดีที่ยากจน แม้ไม่มากด้วยวัตถุสิ่งของ แต่ก็จะดำเนินชีวิตอย่างสมถะเรียบง่าย ไม่ตีโพยตีพาย ขยันทำมาหาเลี้ยงชีพอย่างเงียบ ๆ เสื้อผ้าแม้จะเก่า แต่ก็ยังคงไว้ซึ่งความสะอาด ดูเจริญตาแก่ผู้พบเห็น  ไม่ว่าภายนอกจะร่ำรวยหรือยากจน แต่ภายในมั่นคงคุณธรรม บริบูรณ์ด้วยความดีก็ยังคงเป็น "ผู้ดีแท้"  แต่ทุกวันนี้ คนที่ร่ำรวยด้วยการทุจริต ประพฤติมิชอบ กอบโกย โกงกิน เอารัดเอาเปรียบ ข่มเหงรังแกผู้อื่น ฯลฯ เมื่อได้ครอบครองทรัพย์สินเงินทองอย่างมากมาย มักทำตัว โอ้อวด กินใช้อย่างฟุ่มเฟือย ยกตนข่มผู้อื่น ไม่รู้จักคำว่า "พอดี" แต่งกายประดับประดาจนเกินงาม ดูราวกับคนวิกลจริต กิริยาวาจาก้าวร้าว กระโชกโฮกฮาก หยาบคายไร้มารยาท มองแล้วอัปมงคลแก่สายตา สุภาพชนไม่อยากเข้าใกล้ คนมีปัญญาไม่อยากพบเห็น บุคคลเหล่านี้คือ "ผู้ดีจอมปลอม" มิใช่ของแท้  ในยุคนี้จึงเข้าเกณฑ์วาระตามพุทธทำนาย ที่ว่า "กระเบื้องหนักจะเฟื่องฟูลอย   น้ำเต้าน้อยจะถอยจม !" อันหมายถึง ผู้คนพากันยกย่องเชิดชูคนชั่วช้าสามานย์ เรื่องเลวทรามผิดศีลธรรมผู้คนนิยมชมชอบ ป่าวประกาศชักชวนให้ทำตามกัน  ในขณะที่คนดี ได้รับการสบประมาท ดูถูกเหยียดหยาม  อีกทั้งเรื่องที่ถูกต้องดีงาม จรรโลงศีลธรรม ถูกมองว่าล้าหลัง  ถูกทับถมไม่ให้เผยแผ่  ดังนั้น ผู้ดีทุกวันนี้ จึงต้อง "เดินตอก"  ส่วนพวก "ขี้คอก" คนที่น่าติดคุกติดตะราง กลับออกมาเดินเฉิดฉาย ๙ุหน้าชูตาอยู่ "บนถนน"  เรื่องเช่นนี้ บัณฑิตผู้มีปัญญา จึงต้องรู้จักแยกแยะแจกแจง ให้ลูกหลานเข้าใจให้ถูกต้อง จะได้ไม่โตขึ้นพร้อม ๆ กับความคิดที่ไม่อาจแยกแยะผิดชอบชั่วดี ! 
หัวข้อ: คุณธรรมบรรพชน : ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และเสียสละ เรื่องที่ 18 ภาพวาดสะท้านใจ
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 12/07/2011, 15:08
                     คุณธรรมบรรพชน  :  ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และเสียสละ

                             เรื่องที่ 18  :   ภาพวาดสะท้านใจ

        ในรัชสมัยของกษัตริย์ เสินจง แห่งราชวงศ์ซ่ง เป็นช่วงที่มหาอำมาตย์ ขวงอันสือ กุมอำนาจบริหารราชการแผ่นดินและบรรดาบริวารรอบข้าง ก็ล้วนแต่เป็นคนถ่อยไร้คุณธรรม จากการที่เขาไม่เข้าถึงแก่นแท้ของการปกครอง มหาอำมาตย์ขวงอันสือ ได้วางนโยบายโดยตั้งเป้าไว้ว่าจะต้องหาเงินเข้าคลังแผ่นดินให้ได้มากที่สุด เหตุฉะนี้ เขาจึงออกกฏหมายมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "กฏหมายเก็บภาษี ข้าว จากจำนวนต้นกล้าอ่อน" ด้วยกฏหมายดังกล่าวทำให้มีเสียงวิพากวิจารณ์เริ่มจากทั้งข้าราชการและประชาชขทั่วไป หนักที่สุดคือ เสียงสาปแช่งก่นด่าของราษฏรชาวนาที่ปกติมีชีวิตอยู่อย่างอัตคัดขัดสนอยู่แล้ว ทว่าเวลานั้น มีข้าราชการผู้น้อยคนหนึ่งชื่อ "เจิ้งเสีย" เคยได้รับการส่งเสริมจากมหาอำมาตย์ขวงอันสือในหน้าที่การงาน แต่ถึงกระนั้นเขาก็ไม่อาจเห็นด้วยกับกฏหมายใหม่ที่ประกาศใช้ เมื่อขวงอันสือสอบถามเจิ้งเสียว่า "เจ้าอยู่ระดับล่าง ได้ยินข่าวคราวอะไรบ้างไหม"? เขาตอบว่า  "กฏหมายภาษีต้นกล้าอ่อน ที่ข้าราชการฝ่ายปกครอง นำมาใช้ สร้างความเดือดร้อนแก่ประชาชนอย่างมาก ผู้น้อยกลัวแทนท่านจริง ๆ " ขวงอันสือไม่รู้สึกอะไรกับคำทักท้วง สีหน้าของเขาเฉยเมย ขณะเดินผ่านจากไป ราวกับผีซ้ำด้ามพลอย ทุกข์หนึ่งยังไม่ทันหาย ทุกข์ร้ายก็มาเพิ่ม เพราะระหว่างนั้นทางชายแดนเกิดสงคราม บ้านเมืองวุ่นวายมิหนำซ้ำอากาศเกิดวิปริตแปรปรวน ฝนฟ้าไม่ตก เกิดความแห้งแล้งครอบคลุมไปทั่ว ! เคราะห์ภัยใหญ่หลวงเช่นนี้ แม้ประชาชนที่เคยมั่งคั่งร่ำรวย ยังพลิกผันกลับยากจนค่นแค้น ถึงกัลต้องออกขุดคุ้ยหารากไม้ เปลือกไม้ มาประทังชีวิต เช่นนี้แล้วจะมีอะไรเหลือให้ไปชำระภาษีต้นกล้าอ่อนได้ แต่ทางการเวลานั้นกล่าวได้ว่า เป็นยุคคนชั่วเรืองอำนาจ ไม่เคยใส่ใจความทุกข์สุข ความเป็นความตายของราษฏร ซ้ำยังจ้องติดตามทวงหนี้ภาษีอย่างไม่ลดลาวาศอก รายไหนไม่มีเงินชำระก็จะถูกบังคับข่มขู่ หนัก ๆ เข้าถึงกับนำตัวไปกักขังทรมาน แต่บางรายพยายามดิ้นรนขายบ้านขายที่ดิน กระทั่งขายลูกของตนเอง เพื่อเอาเงินไปชำระหนี้ภาษีต่อทางการ เพราะกลัวต้องโทษ  สภาพการชีวิตของประชาชนเช่นนี้ไม่ต่างอะไรกับ ต้องเฉือนเนื้อไปปิดแผล เมื่อเจิ้งเสียได้พบเห็นความทุกข์ยากของพ่อแม่ พี่น้อง ลูกเล็กเด็กแดง คนเฒ่าชรา ฯลฯ มันช่างเจ็บปวดรวดร้าวใจ จนเขาไม่อาจกลั้นน้ำตาไว้ ได้แต่ก้มหน้ารำพึงว่า "ผู้มีอำนาจสิ้นคิด ! บริหารผิดพลาด ทางการมั่งคั่ง แต่ราษฏรตาดำ ๆ ต้องทุกข์สาหัส บ้านเมืองจะดีไปได้อย่างไร ?"   ดังนั้น เมื่อกลับถึงที่พัก ขณะเก็บตัวอยู่เพียงลำพัง เจิ้งเสียหยิบพู่กันขึ้นมาวาดภาพเหตุการณ์อันหฤโหดสุดแสนลำเค็ญที่ได้พบเห็นมาด้วยตาของตน ออกมาเป็นภาพบนผ้าฝืนหนึ่ง พร้อมกับเขียนฏีกาขึ้นกราบบังคมทูลถวายว่า "วิบัติภัยทุกข์เข็ญ ความอดอยากแร้นแค้น อันปรากฏอยุ่ในภาพ เกิดจากการใช้อำนาจในทางที่ผิด มาตรแม้นใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ยกเลิกกฏหมายใหม่แล้ว หากฝนยังไม่ตกภายใน 10 วัน ข้าพระพุทธเจ้าจะขอตัดศรีษะถวายพระเจ้าข้า ฯ !" เมื่อฮ่องเต้ได้ทรงทอดพระเนตรภาพวาดของเจิ้งเสีย ก็ทรงทอดถอนพระทัย พระพักตร์เศร้ารันทด พร้อมกับทรงมีพระราชโองการโปรดเกล้า ให้ยกเลิกกฏหมายต้นกล้าอ่อน และถอกถอนมหาอำมาตย์ขวงอันสือ  ออกจากตำแหน่งทันที ! ครั้นเหล่าอาณาประชาราษฏร์ ได้อ่านประกาศพระราชโองการ ทั่วแผ่นดินก็กึกก้องไปด้วยเสียงแซ่ซ้องสาธุการ และในวันเดียวกันนั้นเอง ฝนก็โปรยปรายประพรหมลงทั่วท้องนา ยังผลให้ต้นกล้าอ่อนที่เหี่ยวเฉากลับชุ่มชื่นฟื้นคืนชีวิตขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง 
หัวข้อ: คุณธรรมบรรพชน : เรื่องที่ 19 กฏระเบียบบ้านสกุลหลิว
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 13/07/2011, 01:17
                    คุณธรรมบรรพชน  :  ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และเสียสละ

                            เรื่องที่ 19  :  กฏระเบียบบ้านสกุลหลิว

        ในสมัยราชวงศ์ถัง มีเจ้าของบ้านสกุลหลิวท่านหนึ่งชื่อ หลิวกงซื่อ ท่านหลิวเป็นหัวหน้าครอบครัว ผู้ซึ่งวางกฏระเบียบให้สมาชิกทุกคนในบ้านยึดถือปฏิบัติได้อย่างยอดเยี่ยม เริ่มด้วย.....ตื่นนอนแต่เช้าตรู่ เด็ก ๆ และผู้น้อยทั้งหลายจะต้องแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่สุภาพเรียบร้อย แล้วเข้าไปพร้อมกันที่ห้องโถงกลางบ้าน เพื่อกล่าวคำทักทายต่อผู้มีอาวุโสมากกว่า จากนั้นจึงแยกย้ายกันไปปฏิบัติภาระกิจหน้าที่ของตน ในยามค่ำคืน หลังจากรับประทานอาหารเย็นเรียบร้อยแล้ว ท่านหลิวจะนำคัมภีร์ว่าด้วยหลักธรรมคำสอน ออกมาอ่านด้วยตนเองทีละบท ๆ พร้อมกับชี้แนะอบรมเด็ก ๆ ให้เกิดความเข้าใจและฝึกฝนปฏิบัติตาม มีเพียงเท่านี้ ท่านยังเน้นหลักธรรมในการดำเนินชีวิต อาทิ จะปกครองครอบครัวอย่างไร จะทำงานร่วมกับหมู่คณะอย่างไร ตลอดจนจะบำเพ็ญให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม ต่อประเทศชาติบ้านเมืองอย่างไร ? บางโอกาส ท่านหลิวจะให้ทุกคนทำงานศิลปะ วาดภาพ เล่นดนตรี ดีดพิณ และร้องเพลงร่วมกัน และก่อนจะแยกย้ายกันไปนอน เด็ก ๆ และผู้น้อยจะต้องไปที่ห้องโถงใหญ่กลางบ้าน เพื่อกล่าวเชิญให้อาวุโสพักผ่อน พร้อมกับอวยพรให้ท่านหลับอย่างเป็นสุข  สำหรับอาหารการกิน ท่านหลิวกำชับให้ลูก ๆ และสมาชิกในครัวเรือนทุกคน บริโภคผักผลไม้ให้มาก ท่านหลิวเล่าว่า "สมัยก่อน.....ตอนที่ฉันปฏิบัติหน้าที่ถวายงานอดีตฮ่องเต้ที่เมืองตันอยางเวลานั้นฉันยังไม่ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน พระองค์จึงทรงโปรดไม่ให้ฉันกินอาหารพวกเนื้อสัตว์ ทรงรับสั่งว่ามันจะทำให้ฉันเห็นแก่กินและติดรสชาด จนเกียจคร้านและไม่มีความมุ่งมั่นฟันฝ่าอุปสรรคทั้งหลาย ฉะนั้นให้พวกเธออาศัยช่วงเวลาในขณะนี้ ฝึกฝนตนเองให้มีความพร้อมสำหรับเผชิญชีวิตในวันข้างหน้า"ต่อมาไม่นาน เกิดทุพภิกภัยใหญ่ พืชพรรณธัญญาหารขาดแคลน ผู้คนที่ยากจนต้องหิวโหยจนล้มตายลงเป็นจำนวนมาก ท่านหลิวกำชับให้ในบ้านพยายามกินใช้อย่างประหยัด ดังนั้น  ทุกคนจึงกินข้าวเพียงวันละมื้อ แม้กระนั้นยังมีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรงดีทุกประการ ท่านหลิวได้บอกแก่สมาชิกทุกคนว่า "ปีนี้ประสบภัยแล้งจัด ถึงแม้ครอบครัวของเราจะไม่ค่อยกระทบกระเทือนมากนัก แต่ก็ควรจะประหยัด เพื่อจะได้แบ่งปันไปช่วยเหลือคนยากจนที่กำลังจะอดตาย หากวันนี้มีเพียงตัวเราที่ได้กินอย่างอิ่มหนำสำราญ ก็เท่ากับเป็นคนแล้งน้ำใจ ไร้เมตตานั่นเอง" ผลของการปฏิบัติตามกฏระเบียบของบ้าน และยึดถือคำสั่งสอนของหัวหน้าครอบครัวด้วยความเคารพและเคร่งครัด ไม่เพียงแต่ช่วยให้ทุกคนในบ้านสกุลหลิวผ่านพ้นเภทภัย
        ต่อมา จ่งอิ่ง บุตรชาย และผู่กุย ปี้ พี่ หลานทั้ง 4 ของท่านหลิวกงซื่อ ล้วนมีชีวิตที่เจริญรุ่งเรืองสืบต่อลงมาอีกหลายสมัย รากฐานของบ้านเมืองคือ ครอบครัว ครอบครัวดี...สังคมก็ต้องดีตาม สังคมดี...บ้านเมืองก็ร่มเย็นเป็นสุข ครอบครัวจะดีหรือไม่ดี จะรุ่งเรืองหรือตกต่ำ ก็ขึ้นอยู่กับสมาชิกในครอบครัวนั้น ๆ หากต้องการให้ลูกหลานเป็นคนดี หัวหน้าครอบครัวก็ต้องมีกฏระเบียบแบบแผนที่ดีสำหรับบ้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งตนเองจะต้องปฏิบัติให้เป็นแบบอย่างเสียก่อน ประเทศจีนในสมัยโบราณ ได้ให้ความสำคัญต่อการอบรมสั่งสอนสมาชิกในครอบครัวเป็นอย่างมาก ชาวจีนเชื่อว่าการอบรมสั่งสอนลูกหลานที่ดีภายในบ้านเสียแต่แรก จะบังเกิดความเปลี่ยนแปลงที่ดีต่อสังคม ต่อวัฒนธรรม ต่อประเพณี และต่อประเทศชาติโดยรวม ยุคสมัยนี้ พ่อแม่คิดแต่เพียงส่งลูกเข้าโรงเรียนแล้วก็หมดหน้าที่อบรมสั่งสอน แท้ที่จริงโรงเรียนให้ได้แต่เพียงความรู้และฝึกความสามารถเท่านั้น สำหรับหลักคุณธรรม จริยธรรม ลูกหลานต้องได้รับการปลูกฝังเพาะบ่มตั้งแต่ในบ้าน หากรอจนลูกโต เข้าโรงเรียนค่อยเริ่มสอน มันก็สายเสียแล้ว ! นี่คือ ต้นตอปัญหาเด็กขาดคุณธรรมไร้จริยธรรมในปัจจุบัน ผลก็คือ ในอนาคตสังคมประเทศชาติจะไร้ซึ่งศีลธรรมจรรยา มันเป็นเรื่องที่น่าตกใจ และไม่อาจนั่งดูดาย !
หัวข้อ: คุณธรรมบรรพชน : เรื่องที่ 20 อดออมเพื่อเผื่อแผ่
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 13/07/2011, 01:53
                  คุณธรรมบรรพชน  :  ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และเสียสละ

                          เรื่องที่ 20  :  อดออมเพื่อเผื่อแผ่

        ในสมัยราชวงศ์ฮั่น มีขุนนางท่านหนึ่งชื่อ ฝู่เฉิน ดำรงตำแหน่งประจำอำเภอผิงเอวี้ยน ท่านเป็นขุนนางที่สุจริต เที่ยงธรรมและมีเมตตายิ่งนัก มีอยู่ช่วงหนึ่งเกิดศึกชิงราชบัลลังก์ บ้านเมืองโกลาหลวุ่นวาย มิหนำซ้ำถัยแล้งยังคุกคาม บรรดาประชาราษฏร์พลัดถิ่นอาศัย ต้องระเหเร่ร่อนไปคนละทิศละทาง เมื่อขุนนางฝู่เฉินกลับจากการไปดูแแลให้ความช่วยเหลือราษฏรที่ประสบความเดือดร้อน ภรรยาของท่านได้ยกสำรับอาหารมาจัดวางตามปกติ แม้กระทั่งเหนื่อยและหิว แต่พอหยิบตะเกียบขึ้นมาแล้ว ท่านกลับทอดสายตามองดูอาหารบนโต๊ะอยู่เป็นนาน ครั้นรับประทานอาหารไปได้สักคำสองคำ ก็วางตะเกียบและชามข้าวลงราวกับต้องฝืนกิน "ท่านพี่.....ท่านมีเรื่องอะไรในใจรึ ถึงได้ดูระทมทุกข์เช่นนี้?" ท่านฝู่เฉินถอนหายใจยาวแล้วตอบว่า "ยามนี้เหล่าราษฏรที่อยู่ในความรับผิดชอบของพี่ ต้องอดอยากหิวโหย ถึงอาหารในบ้านเราจะไม่ได้ล้ำเลิศ แต่พี่ก็ยังรู้สึกว่า เราช่างอยู่ดีกินดีเสียเหลือเกิน พี่รู้สึกละอายใจจริง ๆ จึงไม่อาจฝืนกินให้อิ่มได้"  ภรรยาของท่านฟังแล้วก็พลอยรู้สึกสะเทือนใจไปด้วย ตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา ในบ้านของท่านขุนนางฝู่เฉิน ทุกคนล้วนรับประทานอาหารแต่ข้าวต้มเมล็ดหยาบและกับข้าวธรรมดา ๆ เพียงอย่างเดียว อีกทั้งเงินเดือนข้าราชการที่ได้ ขุนนางฝู่เฉินเก็บไว้เพียงเล็กน้อยเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในบ้าน จำนวนที่เหลือส่วนใหญ่ท่านจะนำไปช่วยเหลือราษฏรที่กำลังทุกข์ยากหิวโหยจนหมด ต่อมาเมื่อสถานการณ์เลวร้ายได้ผ่านพ้นไป พระเจ้ากวงอู่ตี้เสด็จขึ้นครองราชบัลลังก์ จึงพระราชทานโปรดเกล้าให้ท่านดำรงตำแหน่ง "ซือกู" อันเป็นตำแหน่งขุนนางชั้นสูง และหลังจากท่านที่ลาจากโลกนี้ไปแล้ว บุตรชายก็ได้รับสืบทอดตำแหน่งต่อ อีกทั้งลูกหลานทุกรุ่นล้วนสมบูรณ์พูนสุขและสูงส่งด้วยชื่อเสียงเกียรติยศ   คนที่มีฐานะมั่งคั่งร่ำรวยทั้งหลาย ในยามที่เกิดภัยพิบัติ ข้าวยากหมากแพง ก็มักจะไม่ค่อยเดือดร้อนกระทบกระเทือน ทั้งนี้ เพราะสามารถเก็บกักตุนเอาไว้ได้ก่อน แต่จะมีใครคิดบ้างว่า "เวลาทุกข์ยาก คือ เวลาทดสอบคุณธรรม" ช่วงเวลาที่วิกฤติสุด คือ
ช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของบุญวาสนาจะยืดยาว หรือจะสูญสิ้นไป ! ท่านฝู่เฉิน ขุนนางใจบุญแห่งผิงเอวี้ยน ท่านไม่อาจฝืนใจกินอิ่มเพียงลำพัง สู้อดออมเพื่อนำไปช่วยคนทุกข์ยาก จิตใจเช่นนี้ ก็คือ "ยินดีทุกข์เคียงคู่กับปวงชน มิอาจทนเสพสุขแต่เพียงผู้เดียว" แต่ผลลัพธ์ที่ได้กลับกลายเป็นบุญวาสนาเพิ่มพูน อีกทั้งอานิสงส์ส่งถึงลูกหลาน
หัวข้อ: คุณธรรมบรรพชน : เรื่องที่ 21 : ริเริ่มเพื่อรวมพลัง
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 14/07/2011, 22:38
                     คุณธรรมบรรพชน  :  ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และเสียสละ

                             เรื่องที่ 21  :  ริเริ่มเพื่อรวมพลัง

        ในสมัยราชวงศ์ซ่ง ข้าราชการชั้นผู้น้อยชื่อ เฉินเหยาลั่ว  ประจำอยู่ที่อำเภอโซ่วโจว มีอยู่ปีหนึ่งแห้งแล้งหนัก แต่ปริมาณข้าวที่แต่ละครัวเรือนสำรองไว้ยังมีอยู่มาก ช่วงเวลาเช่นนี้พิสูจน์ใจคนได้ดี เพราะจะมีทั้งพวกฉกฉวยโอกาสกักตุนสินค้า เพื่อโกยกำไร และผู้ใจบุญก้าวออกมาเสียสละเพื่อช่วยบรรเทาทุกข์ แต่เมื่อเวลาผ่านไป...สถานการณ์วิบัติภัยยิ่งเลวร้ายลง บรรดาคนหนุ่มที่มีกำลังวังชา ก็ตัดสินใจทิ้งบ้านเกิด ยอมเสี่ยงภัยหวังไปตายเอาดาบหน้า แต่สำหรับผู้เฒ่าชราก็จำเป็นต้องปล่อยชีวิตไว้กับโชคชะตา ถึงขั้นนี้แล้วคนใจบุญสุนทานซึ่งก็มีอยู่ไม่น้อย กลับยังไม่ปรากฏโฉมออกมา เพี่ะต่างจด ๆ จ้อง ๆ รอดูว่าใครจะเป็นคนเริ่มก่อน  เมื่อเฉินเหยาลั่ว เห็นสภาพการณ์เช่นนี้แล้ว จึงเตรียมข้าวที่ตนเก็บเอาไว้ออกมาต้มแจกจ่ายให้แก่ราษฎรผู้ประสบภัย ชาวบ้านที่อดอยากหิวโหย คนผลัดถิ่นซัดเซพเนจร พอได้กินข้าวก็มีแรงกลับบ้านไปอย่างอิ่มท้อง ดังนั้นเสียงแซ่ซ้องสดุดีท่านเฉินเหยาลั่ว ก็ดังก้องไปไกล แต่ด้วยฐานะข้าราชการที่ธรรมดา ๆ จะมีข้าวมากมายซักเท่าไหร่กัน ไม่นานข้าวต้มที่ทำแจกก็เริ่มจะร่อยหรอลง แต่ก็ยังนับว่าโชคดี ที่ประชาชนฐานะร่ำรวยในเมืองเป็นผู้มีรากบุญหยั่งลึก เมื่อเห็นท่านเฉินเหยาลั่วซึ่งเป็นข้าราชการธรรมดา ๆ ยังเสียสละนำข้าวออกแจก จึงต่างชักชวนกันทำตาม ไม่นานโรงแจกข้าวต้มก็ผุดขึ้นตามจุดต่าง ๆ ทั่วเมือง ทำให้สามารถช่วยเหลือบรรเทาทุกข์แก่ผู้ประสบภัยได้อย่างทั่วถึง  ในการนี้ เฉินเหยาลั่ว กล่าวกับชาวเมืองว่า " การที่ข้าพเจ้าเปิดบ้านแจกอาหารนั้น ทำไปด้วยหวังประโยชน์อันใดหรือ ? แท้จริงแล้ว.....ข้าพเจ้าริเริ่มก็เพื่อปลุกจิตสำนึกผู้มีกำลังทรัพย์มาก ให้ได้ออกมาร่วมภาระกิจแห่งการสร้างสมบุญวาสนาสำหรับตัวของทุกท่านเอง"  ต่อมา ท่านเฉินเหยาลั่ว ได้เลื่อนตำแหน่งเป็นถึง "ผิงจ่างซือ" หรือ ผู้ถวายคำปรึกษาต่อองค์ฮ่องเต้ ท่านลาจากโลกนี้เมื่ออายุ 82 ปี
หัวข้อ: คุณธรรมบรรพชน : เรื่องที่ 22 : สร้างบุญไม่หวังคนรู้
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 14/07/2011, 23:21
                     คุณธรรมบรรพชน  :  ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และเสียสละ

                              เรื่องที่ 22  :  สร้างบุญไม่หวังคนรู้

        หลี่เหลียน  เป็นคนที่มีจิตใจโอบอ้อมอารี ชอบทำบุญทำทานอยู่เสมอ  ครั้งหนึ่ง หมู่บ้านใกล้เคียงประสบพภิกขภัย ไร่นาเสียหายหมด เขาได้นำข้าวที่เก็บไว้ออกมาให้ชาวบ้านที่เดือดร้อน ยืมไปใช้บริโภคและเพาะปลูกใหม่ เป็นจะนวนถัง 1000 สื่อ เทียบเท่า 100,000 ลิตร แต่ทว่าเคราะห์ภัยยังไม่ยอมจากไปง่าย ๆ ในปีถัดมาทุพภิกขภัยก็เกิดซ้ำอีก ! บรรดาที่ยืมข้าวจากหลี่เลียนไป ล้วนไม่มีใครสามารถนำอะไรมาใช้หนี้คืน ไม่ว่าจะกี่รายต่างพากันมาระบายความทุกข์ในใจให้ฟัง หลี่เหลียนเองก็รู้ซึ้งถึงความลำเค็ญของพวกเขา ดังนั้น เขาไม่เพียงแต่ไม่ปริปากเอ่ยทวงถามข้าวที่ยืมไป แต่ยังนำเอาหนังสือสัญญาการกู้ยืมทั้งหมดออกมาเผาทิ้งต่อหน้า ! ทั้งนี้ก็เป็นเพื่อการปลดหนี้สินให้แก่พวกเขาโดยสิ้นเชิง จะได้ไม่ต้องมีห่วงกังวลให้ต้องทุกข์ใจอีก  ในปีต่อมา.....ฟ้าดินเมตตา รวงข้าวในนาตลอดจนพืชพรรณธัญญาหารเก็บเกี่ยวได้อย่างอุดมสมบูรณ์ บรรดาชาวไร่ชาวนา และลูกหนี้ทั้งหลายที่เคยได้รับการช่วยเหลือจากหลี่เหลียนผู้ใจบุญ พวกเขายังคงจดจำเรื่องที่หลี่เหลียนเผาใบกู้ยืมยกหนี้ให้ ต่างก็รู้สึกตะขิดตะขวงใจว่ายังติดค้างอยู่ จึงพร้อมใจกันนำข้าวเปลือกมาคืนให้ แต่หลี่เหลียนก็ไม่ยอมรับเพราะถือว่าสัญญาได้ถูกยกเลิกไปแล้ว โบราณกล่าวว่า.....เรื่องราวในโลกสุดจะคาดเดา ทุกอย่างไม่แน่นอน โชคดีโชคร้ายสลับสับเปลี่ยนไปไม่ยืนยง ปีแห่งความโชคดีผ่านไป อีกปีต่อมาภัยแล้งกลับยิ่งรุนแรงกว่าที่ผ่านมาหลายเท่านัก เวลานั้น ข้าวที่หลี่เหลียนเก็บเอาไว้ก็เหลืออยู่ไม่มากนักแล้ว แต่ถึงกระนั้น เขาก็ยังมีใจนำเอาข้าวทั้งหมดออกมาแจกจ่าย ยิ่งไปกว่านั้น ทรัพย์สินสิ่งของภายในบ้าน อันใดที่ขายไปได้ก็ขายหมด เพื่อนำเงินไปช่วยผู้กำลังตกทุกข์ได้ยาก แม้กระทั่งหากมีคนยากไร้อนาถาเสียชีวิต หลี่เหลียนก็จะจัดหาโลงมาใส่และทำพิธีฝังให้ ความเสียสละอุทิศตนเพื่ออนุเคราะห์ช่วยเหลือผู้อื่นเช่นนี้ ผู้คนทั้งหลายจึงต่างเคารพนับถือและเทิดทูนหลี่เหลียนประดุจพ่อแม่บังเกิดเกล้าของพวกเขา เมื่อมีคนพูดกับเขาว่า "ท่านหลี่...ท่านช่างมีบุญกุศลแฝงเร้นที่ยิ่งใหญ่มหาศาลจริง ๆ" ท่านหลี่เหลียนกลับตอบว่า "บุญกุศลแฝงเร้น เป็นเสมือนเสียงก้องภายในหู มีเพียงตัวเรานั้นที่รู้  เวลานี้ทุกท่านต่างยกย่องข้าพเจ้ามากมาย แล้วจะมีบุญกุศลเหลือไว้ให้แฝงเร้นได้อย่างไร ?"  คำว่า "บุญวาสนาแฝงเร้น" ก็คือ การปิดทองหลังพระ หมายถึงการทำความดีโดยไม่ต้องประกาศให้ใครรู้ จึงนับว่าเป็นบุญกุศลอันยิ่งใหญ่  หากปิดทองหลังพระแล้วชวนคนไปดู ก็ย่อมไม่นับว่าแอบทำความดี  ท่านหลี่เหลียนไม่เพียงแต่ไม่โอ้อวดคุณความดี ท่านถือว่าการสร้างคุณประโยชน์ด้วยจิตเมตตาอันบริสุทธิ์ เป็นหน้าที่โดยธรรมชาติของการเกิดมาเป็นมนุษย์ ความอ่อนน้อมถ่อมตนของท่านทำให้ผู้คนที่รู้จักยิ่งชื่นชมนับถือมากขึ้นเป็นทวีคูณ ท่านหลี่เหลียนมีอายุยืนอยู่สร้างคุณความดีถึง 100 ปีกว่า และบรรดาลูกหลานต่างสมบูรณ์พูนสุข เจริญด้วยยศฐาบรรดาศักดิ์โดยถ้วนหน้า
หัวข้อ: คุณธรรมบรรพชน : เรื่องที่ 23 : ยิ่งเอา ยิ่งหมด
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 17/07/2011, 13:41
                      คุณธรรมบรรพชน  :  ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และเสียสละ

                              เรื่องที่ 23  :   ยิ่งเอา  ยิ่งหมด

        ในอดีต พระอาจารย์ "สวีตั้ว" เป็นพระเถระสงฆ์ผู้ซึ่งประชาชนทั้งหลายเคารพนับถือมาก ท่านได้กล่าวว่า "คนเราที่เกิดมา...ผู้ใดอายุยืนหรือสั้น มิใช่กำหนดไว้ตายตัว แต่เมื่อใดหมดสิ้นบุญวาสนาก็ต้องตาย ตายคนเดียวเรียกว่า "ภัย" หากตายหมู่ เรียกว่า "ภัยพิบัติ" นี่ก็ย่อมบ่งชี้ได้ว่า ภัยพิบัติทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น ภัยสงคราม ภัยแล้ง น้ำท่วม ไฟไหม้ ภูเขาไฟระเบิด อดอยาก หนาวตาย ฯลฯ ซึ่งคร่าเอาชีวิจผู้คนไปคราวละมาก ๆ เป็นเพราะเหตุที่ฝูงชนคนเหล่านั้นสิ้นบุญวาสนาลงแล้ว !  แล้วเหตุใดบุญวาสนาจึงมีวันหมดไปเล่า ! ก็เพราะผู้คนเหล่านั้นเอาแต่เสพบุญวาสนา ไม่เคยคิดที่จะถนอมบุญวาสนา อีกทั้งไม่รู้จักเสริมสร้างบุญวาสนาให้แก่ตัวเอง  เพื่อให้เราเข้าใจคำกล่าวของพระอาจารย์ สวีตั้ว ได้กระจ่างชัดยิ่งขึ้น ก็ขอยกตัวอย่างเรื่องราวต่อไปนี้...ในราชวงศ์หมิง มีบุคคลผู้หนึ่งแซ่ "เฉิน" ชื่อว่า "เหลียงม๋อ" ท่านสามารถหยั่งรู้ความเป็นไปของฟ้าดินและดวงดาว เวลานั้นตรงกับปีเจิ๋งเต๋อที่ 3 ที่มณฑล เจ๋อเจียง อำเภอหูโจว เกิดความแห้งแล้งกันดารครั้งใหญ่แต่ละครัวเรือนไม่มีพืชผลอันใดให้เก็บเกี่ยว มีเพียงหมู่บ้านเจี่ยนถังที่ท่านเฉินเหลียงม๋อ พำนักอยู่เท่านั้น ที่อาศัยน้ำจากเขื่อนซึ่งเก็บกักไว้มาใช้เพาะปลูก ทำให้ได้ผลผลิตอุดมสมบูรณ์ แต่พอปีต่อมาเกิดอุทุกภัย ทั้งบ้านเรือนและเรือกสวนไร่นาถูกน้ำท่วมเสียหายยับเยิน แต่หมู่บ้านเจี่ยนถัง มีถูมิประเทศเป็นที่สูง จึงไม่ได้รับผลกระทบใด ๆ ดังนั้นผลผลิตทางการเกษตรก็ยังเก็บเกี่ยวได้อย่างเหลือเฟือ แต่ทว่าสองปีต่อมา เมื่อทางราชการนำสิ่งของบรรเทาทุกข์มามอบให้กับผู้ประสบภัย ผู้คนจากหมู่บ้านเจี่ยนถังก็ยังเดินทางไปรับด้วย 2 ครั้ง ดังนั้นคนในหมู่บ้านเจี่ยนถังจึงมีฐานะร่ำรวยขึ้นกว่าเดิมมาก  ในยามที่ผู้ประสบภัยทั้งหลาย ยังไม่สามารถฟื้นตัวได้ จำต้องขายบ้านและที่นา คนจากหมู่บ้านเจี่ยนถังก็พยายามกดราคาแล้วซื้อไปอย่างถูก ๆ  เดิมทีเดียวคนในหมู่บ้านเจี่ยนถังได้ชื่อว่าเป็ยคนประหยัดดำรงชีวิตด้วยความสมถะเรียบง่าย ไม่นึกเลยว่าเมื่อร่ำรวยขึ้น ผู้คนกลับพลิกผันกลายเป็นคนฟุ้งเฟ้อ แข่งขันกันแสดงความหรูหราโอ่อ่า ไม่ยอมให้น้อยหน้าใคร ! เมื่อท่านเฉินเหลียงม๋อเห็นสภาพเช่นนั้นแล้ว จึงพูดกับน้าของท่านว่า "อีกไม่นานหมู่บ้านของเรา...คงต้องประสบภัยพิบัติเป็นแน่ !" น้าของท่านจึงว่า "เพราะเหตุใดกันเล่า ?" ท่านเฉินเหลียงม๋อ ชี้แจงว่า "เป็นเพราะจะไม่เหลือบุญวาสนาให้ใช้กันอีกแล้ว ! บ้านของเรากับบ้านสกุลตูและบ้านสกุลจาง อาจจะเจอภัยเบาหน่อยแต่บ้านสกุล อวี้ ปี้ ลุ่ย หลี่ 4 ครอบครัวนี้ เดิมเป็นบ้านหลังเล็ก ๆ ก็ไม่เดือดร้อนอะไร กลับอยากได้มาก ไปรับเอาของบรรเทาทุกข์มาจนร่ำรวย แล้วพากันกินใช้อย่างฟุ่มเฟือยสุรุ่ยสุร่ายกว่าใครเห็นทีพวกเขาคงไม่พ้นภัยพิบัติรุนแรงเป็นแน่" น้าของท่านคิดว่าเป็นคำพูดที่เพ้อเจ้อ จนกระทั่งเวลาผ่านไปไม่ถึงเดือน ก็เกิดโรคระบาดร้ายแรงขึ้นในหมู่บ้านเจี่ยนถัง ผู้คนในบ้านสกุลอวี้ ปี้ ลุ่ย หลี่ 4 ครอบครัวนี้ไม่ว่าคนหนุ่มสาวคนเฒ่าชรา เด็กเล็ก ต่างล้มตายจนหมดสิ้น ไม่เหลือแม้แต่คนเดียว !  น้าของท่านเฉินเหลียงม๋อ เริ่มจะคิดได้และรู้สึกหวาดหวั่นใจจึงถามว่า "แล้วครอบครัวเราทั้ง 3 สกุล จะเป็นอย่างไรบ้าง ?" ท่านเฉินเหลียงม๋อตอบว่า "ผิดมาก...โทษหนัก  ผิดน้อย...โทษเบา  แม้จะไม่รุนแรงเท่ากับ 4 ครอบครัว แต่พวกเราก็ยังต้องสูญเสียบ้างเล็กน้อย"  จากนั้นไม่นาน 3ครอบครัวก็ประสบอัคคีภัย ไฟไหม้บ้านติดต่อกันหลายครั้ง !   "โชค" กับ "ภัย" กับ "วาสนา" นั้นอยู่คู่กัน บางคนคิดว่า ของได้มาง่าย ๆ อย่างไม่นึกไม่ฝันเป็นลาภลอย คงลืมนึกถึงคำว่า "ทุกขลาภ" อันหมายถึง ลาภอันเกิดจากทุกข์ และทุกข์เพราะได้ลาภ "ภัย" กับ "วาสนา" ก็มักมาพร้อม ๆ กันขึ้นอยู่กับว่าใครคิดถูก และใครคิดผิด คิดถูกสืบต่อบุญวาสนา คิดผิดภัยมาถึงตัว ขอให้ ใคร่ครวญสักนิดเถอะ...ว่าคนในหมู่บ้านเจี่ยนถังควรจะปฏิบัติตนเช่นไรจึงจะถูก ช่างน่ายกย่องเชิดชู ปู่ย่าตายาย เหล่าบรรพชนชาวไทย ที่ท่านหวั่นเกรงแม้กระทั่งกลัวว่า เม็ดทรายอันน้อยนิดจากวัดวาอาราม อันถือเป็นสมบัติแห่งพระศาสนาจะติดมากับฝ่าเท้า จึงต่างพากันหาโอกาสนำกลับไปมอบคืน จนกลายมาเป็น "ประเพณีขนทรายเข้าวัด" ในวันสงกรานต์ปีใหม่ นี่ย่อมแสดงให้เห็นถึง จิตใจอันปราณีตละเอียดอ่อน ที่รู้ซึ้งถึงการถนอมรักษาบุญวาสนาของตนโดยแท้
หัวข้อ: คุณธรรมบรรพชน : เรื่องที่ 24 : ช่วยผู้อื่น คือ ช่วยตน
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 17/07/2011, 16:57
                 คุณธรรมบรรพชน  :  ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และเสียสละ

                         เรื่องที่ 24  :  ช่วยผู้อื่น คือ ช่วยตน

        ในสมัยก่อน ความทุกข์ยากลำบากมีมาก บางคนอยู่ตัวคนเดียวพอสู้ไหว แต่บางคนต้องดูแลหลายชีวิตก็สุดปัญญาจะแบกรับ ดังนั้นจึงเป็นยุคที่ผู้คนต้องชัดเซพเนจรพลัดพราก ต้องดิ้นรนแม้กระทั่งขายภารรยา ขายลูกด้วยความจำใจ  อย่างเช่นชายแซ่ "จิ่ง" ที่ต้องพยายามดิ้นรน เพื่อหาเลี้ยงลูกชายและภรรยา จึงต้องจำใจจากครอบครัวโดยไปทำงานเป้นเสมียนอยู่ต่างเมือง ทิ้งให้ภรรยาดูแลลูกชายอยู่เพียงลำพัง แต่เมื่อเคราะห์กรรมมาถึง ไม่นึกเลยว่าลูกชายของนายจิ่งจะถูกพวกโจรขโมยเด็กจับตัวเอาไป ! ภรรยาของเขาโศกเศร้าตรอมใจเป็นที่สุด ซ้ำร้ายเรื่องราวทั้งหมดนี้ ตัวนายจิ่งเองก็ไม่มีโอกาสจะรู้ได้เลย เวลาผ่านไปหลายปี...นายจิ่งพอจะเก็บออมสะสมเงินไว้ได้ราว 2 - 3 ตำลึง แม้จะแทบไม่พอเป็นค่าเดินทาง กระนั้น เขาก็อยากจะกลับบ้านไปพบหน้าลูกเมีย แต่แล้ววันต่อมา ระหว่างเดินออกจากที่ทำงานเพื่อกลับไปยังที่พัก ขณะนั้นเขาเหลียบไปเห็นชายยากจนคนหนึ่ง พร้อมทั้งลูกและเมียยืนอยู่ริมถนน กำลังพร่ำพรรณาถึงความทุกข์ยากลำบากที่ครอบครัวประสบ ทั้งภัยแล้ง ภัยสงคราม บ้านเมืองจลาจลวุ่นวาย พวกโจรปล้นฆ่าไม่เว้นแต่ละวัน หันไปทางไหนมีแต่ภัยรอบด้าน จนไม่รู้จะมีชีวิตรอดกันได้อย่างไรแล้ว ท้ายที่สุด ชายยากจนก็ได้วิงวอนผู้คนที่เดินผ่านไปมาว่า ขอช่วยพาลูกและเมียของเขาไปอุปการะเอาบุญเถิด ส่วนตัวของเราเองขอเพียงเศษเงินสักเล็กน้อย สำหรับประทังชีวิตเพื่อไปตายเอาดาบหน้า นายจิ่งยืนฟังมาตั้งแต่ต้น  ทำให้เขาตระหนักในความจริงที่ว่า "ในโลกนี้ยังมีผู้ที่ทุกข์ระทมกว่าเราอีกมากมายหลายเท่า" ความรู้สึกเศ้าสลดรันทดใจต่อเรื่องราวของชายยากจนผู้นั้น และอยากจะช่วยเหลือเป็นที่สุด นายจิ่งจึงัดสินใจเอาเงินที่สะสมมาทั้งหมด 3 ตำลึงมอบให้ชายยากจนผู้นั้นเพื่อนำไปเป็นทุนประกอบอาชีพ และกำชับเขาว่าอย่าได้ทอดทิ้งลุกเมียเป็นอันขาด !  ชายยากจนพร้อมภรรยาและลูก พากันคุกเข่าโขกศรีษะ ขอบคุณครั้งแล้วครั้งเล่า ปากก็พร่ำสาบานว่าจะไม่ลืมพระคุณของนายจิ่งเลยจนชั่วชีวิต  เวลาผ่านไปปีกว่า.....ชายยากจนอาศัยเงิน  3 ตำลึงที่ได้ไปทำกิจการเล็ก ๆ จนสามารถเลี้ยงครอบครัวให้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ต่อมาไม่นานสองสามีภรรยา ก็พอจะเก็บรวบรวมเงินได้จำนวนหนึ่ง ด้วยความสำนึกในบุญคุณที่พ้นทุกข์ พวกเขาและลูกจึงเดินทางกลับมาหานายจิ่งเพื่อมอบเงินคืนให้บ้าง  ทว่า แม้นายจิ่งจะรู้สึกดีใจที่เห็นคนที่เคยช่วยเหลือพ้นจากความทุกข์ยากแล้ว แต่เขาก็ไม่ยอมรับเงินคืน เหตุฉะนี้ทั้งสองสามีภรรยาจึงต่างรู้สึกไม่สบายใจ ยิ่งเมื่อได้เหลียวมองไปรอบ ๆ เห็นสภาพที่พักของนายจิ่งแสนจะคับแคบซอมซ่อ ทุกวันต้องซักผ้า ตักน้ำ หุงข้าว ไม่ว่างานอะไรต้องทำด้วยตัวเองทั้งหมด เมื่อลากลับออกมา สองสามีภรรยารู้สึกทนไม่ได้ ที่เห็นผู้มีพระคุณต้องอยู่ในสภาพเช่นนั้น  พวกเขาจึงปรึกษาหารือแล้วตกลงกันว่าจะไปซื้อบ่าวไพร่สักคน ให้มาคอยรับใช้ดูแลความเป็นอยู่ของนายจิ่ง  ผ่านไปไม่กี่วัน มีชายพเนจรคนหนึ่งพาเด็กชายอายุราว 11 - 12 ขวบ ใบหน้าคมคายร่างกายสมบูรณ์ดี  เขาอ้างว่าเด็กคนนี้เป็นลูกชายของตน ซึ่งซักเซพเนจรพลัดพรากจากบ้านมาด้วยกันเพราะหวังจะหางานให้ทำ แต่ก็อับจนหนทางจึงยินดีที่จะขายลูกคนนี้ให้ไปเป็นบ่าวรับใช้ เพื่อภาระของตนจะได้เบาบางลง  สองสามีภรรยาก็ไม่ได้ติดใจภูมหลังความเป็นมาอะไรมากนัก จึงซื้อเด็กเอาไว้ รุ่งขึ้นอีกวัน ทั้งคู่พาเด็กน้อยมาหานายจิ่ง โดยให้ยืนรออยู่ข้างนอกก่อน ยังไม่ทันทีสองสามีภรรยาจะอธิบายถึงเจตนาดีของตน นายจิ่งก็ปฏิเสธเสียงขรมยืนกรานไม่ยอมรับเสียท่าเดียว ทั้งสองสามีภรรยารบเล้าอยู่เป็นนานสองนาน ว่าอยากน้อยก้อยากให้เห็นหน้าตาก่อนสักนิดก็ยังดี และแล้วใครบ้างจะคาดคิด.....ทันทีที่เด็กน้อยก้าวเข้าประตูมา นายจิ่งถึงกับตะลึงงัน ! ในขณะที่เด็กชายคนนั้นมองเขาด้วยน้ำตาคลอเบ้า ทั้งคู่โผเข้ากอดกันแน่น น้ำตาแห่งความยินดีพรั่งพรูออกมาไม่หยุด  ที่แท้.....เด็กคนนี้ ก็คือลูกชายของเขาที่ถูกโจรลักพาตัวไปนั่นเอง เมื่อได้ถามไถ่เหตุการณ์ลำดับความเป็นมาทั้งหมดแล้ว โดยไม่รอช้า นายจิ่งพาลูกชายกลับไปพบแม่ ทั้งสามจึงกลับคืนสู่ความเป็นครอบครัวอีกครั้ง นี่แหละหนาที่ว่า "เรื่องบางอย่างไม่อาจได้มาด้วยเงิน หนึ่งในนั้นก็คือ ความอบอุ่นในครอบครัว"
หัวข้อ: คุณธรรมบรรพชน : เรื่องที่ 25 : ด่าให้สำนึก
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 18/07/2011, 02:16
                    คุณธรรมบรรพชน  :  ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และเสียสละ

                            เรื่องที่ 25  :  ด่าให้สำนึก

        ในสมัยราชวงศ์หมิง มีขุนนางตำแหน่งผู้พิพากษาระดับสูง 2 คน ชื่อ หลูซง  กับ ขวงจั่ว ทั้งสองไม่เพียงเป็นเพื่อนสนืทกัน แต่ยังเป็นขุนนางชั่ว เหมือน ๆ กันภายหลังทั้งคู่ก็ตายตามกันไป !   ต่อมาลูกของหลูซงได้ตำแหน่งสืบต่อจากผู้เป็นพ่อ ก็ใช้อำนาจกอบโกยผลประโยชน์เข้าตัว  ส่วนลูกของขวงจั่วนั้นกลับเป็นคนโง่เขลา ไม่ได้ตำแหน่งอะไร วัน ๆ เอาแต่ดื่มกินเที่ยว เล่นการพนัน เรียกว่าอบายมุขเป็นทุกรูปแบบ เดิมทีครอบครัวของขวงจั่ว มีคฤหาสน์ซึ่งสร้างอย่างหรูหราโอ่อ่าเพื่อเอาไว้เป็นที่พักตากอากาศอยู่หลังหนึ่ง พอลูกของหลูซงไปพบเห็นก็อยากได้มาเป็นของตน  แรก ๆ ก็คิดจะใช้เงินซื้อโดยตกลงราคากับลูกของขวงจั่ว ถึงแม้ว่าลูกของขวงจั่วอยากจะขายเพื่อจะได้เอาเงินมากินมาเที่ยว แต่ก็ติดขัดอยู่ที่แม่เฒ่าขวงผู้ชรา ซึ่งยังตัดสินใจไม่ได้สักที เรื่องจึงค้างคากันอยู่ เมื่อลูกของหลูซงอยากได้คฤหาสน์หลังนั้นมาก แต่ไม่สมหวังจึงใช้อิทธิพลเถื่อนและเล่ห์เพทุบายวางแผนใส่ร้ายว่า ภรรยาและลูกของขวงจั่วสมคบกับพวกโจรทำความผิดต้องอาญาแผ่นดิน ! ดังนั้น ทั้งสองแม่ลูกจึงถูกจับตัวมาดำเนินคดี ระหว่างไต่สวนแม่เฒ่าภรรยาของขวงจั่ว ซึ่งฟุบหน้าร้องไห้ฟูมฟายได้คลานเข้าไปที่บัลลังก์พิพากษา ปากก็พร่ำพรรณาถึงความประพฤติของลูกชายว่ากระทำความผิดความชั่วอะไรบ้าง ! ลูกชายของขวงจั่วซึ่งคุกเข่าอยู่ด้านหลัง เห็นแม่พูดไม่หยุดจึงโวยวายว่า  "นี่แม่ !.....ลูกถูกคนใส่ร้าย จนจะเอาชีวิตไม่รอดอยู่แล้ว ! แม่ยังจะมาพูดขุดคุ้ยความผิดของลูกอีกทำไม ! " แม่เฒ่าขวงหันขวับกลับมาตะคอกว่า"ไอ้ลูกสารเลว !.....ไอ้ชิงมาเกิด.....ตายก็ตายซิวะ แกนั่นแหล่ะพูดมาก..... !  ด่าพลางนางก็ชี้ไปยังเก้าอี้บนบัลลังก์ผู้พิพากษา ซึ่งลูกของหลูซงผู้เป็นเพื่อนสนิทของสามีกำลังนั่งอยู่ พร้อมกับพูดว่า "พ่อของแก.....เมื่อก่อนก็เคยนั่งเก้าอี้ตัวนั้นอยู่นาน ตลอดเวลาทำแต่เรื่องอัปยศ เที่ยวใช้อำนาจข่มเหงรังแกผู้คนไว้มากมาย ลูกชั่วอย่างแกถึงได้มาเกิด เวลานี้กรรมมันตามมาสนองแล้ว แกยังอยากจะมีชีวิตอยู่อีกหรือ ! " แม่เฒ่าขวงด่าคำก็สัตว์.....อีกคำก็เดรัจฉาน !  นาง.....ด่า!  ด่า.....! จนลูกชายได้แต่ก้มหน้านิ่งไม่กล้าจะพูดอะไร  ข้างฝ่ายลูกของหลูซง ซึ่งนั่งเก้าอี้สืบต่อจากพ่อ ไม่ผิดอะไรกับ "วัวสันหลังหวะ" ใบหน้าของเขาแดงขึ้น.....แดงขึ้น เหงื่อเม็ดโต ๆ ผุดออกมาจนหลังเปียกโชกไปหมด เขาทนฟังคำด่าต่อไม่ไหว จึงตบโต๊ะเสียงดังปังใหญ่ ปากก็พูดอ้ำ ๆ อึ้ง ๆ ว่า "เจ้า.!....เจ้า.!....พวกเจ้า.....ออกไปได้แล้ว ! ไป๊ !  เรื่องราวคดีความจึงเป็นอันยุติลงเพียงแค่นี้ คนที่มีอำนาจอยู่ในมือ เมื่อถูกกิเลสตัณหาความโลภเข้าครอบงำ ก็ทำให้ปัญญาเลอะเลือน และนำอำนาจหน้าที่ไปใช้ในทางมิชอบ ทำลายล้างผู้อื่น ช่วงชิงเอาผลประโยชน์ ฉ้อฉล โกงกิน  คนพวกนี้ไม่ค่อยเชื่อเรื่องบาป - บุญ ไม่ใส่ใจเรื่องกฏแห่งกรรม บางครั้ง กรรมชั่วที่ตนเคยก่อยังมาไม่ถึงตอนยังอยู่เป็นคน แต่ตายแล้วคิดหรือว่าจะไปสู่สุคติ มิหนำซ้ำผลของกรรมชั่วที่ทำไว้ ยังตามสนองถึงลูกถึงหลาน !  มองย้อนเอาเถิด.....จากอดีตคนมีอำนาจมากมายต่างแก่งแย่งช่วงชิงอำนาจกัน หวังครอบครองแผ่นดินทั่วหล้า แต่ก็ไม่เห็นมีใครเหลืออยู่ค้ำฟ้า สุดท้ายทิ้งเรื่องราวให้คนรุ่นหลังได้สาปแช่งด่านับพัน ๆ ปี บางทีคำด่าของแม่เฒ่าขวงคงพอมีประโยชน์ตรงที่ช่วยเคาะกระโหลกคนชั่ว ให้รู้จักตื่นขึ้นมาบ้างก็เป็นได้
หัวข้อ: คุณธรรมบรรพชน : เรื่องที่ 26 : ค้าขายอย่างเป็นธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 18/07/2011, 03:21
                    คุณธรรมบรรพชน  :  ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และเสียสละ

                            เรื่องที่ 26  :   ค้าขายอย่างเป็นธรรม

        ในสมัยราชวงศ์ซ่ง มีชายผู้หนึ่งชื่อ เวยจิ้ง เป็นชาวอำเภอหนันเฉิง เขาประกอบอาชีพพ่อค้าขายของชำ รายย่อยอยู่ในเมือง  ดังนั้น ทุก ๆ วัน เวยจิ้ง จึงต้องเดินทางไปซื้อสินค้าจากพ่อค้าคนกลางที่ท่าเรือ  การทำธุรกิจค้าขายในอดีต ก็ไม่ค่อยจะแตกต่างจากปัจจุบันนี้เท่าใดนัก นั่นก็คือผลผลิตจากชาวไร่ชาวนา จะขายผ่านพ่อค้าคนกลาง โดยมีพ่อค้าปลีกมาซื้อ เพื่อนำไปขายให้ลูกค้าบริโภคต่ออีกที ครั้งหนึ่ง ขณะที่เวยจิ้งกำลังติดต่อซื้อผลไม้เพื่อนำกลับไปขาย ประจวบเหมาะกับเวลานั้น ชาวไร่กำลังนำผลผลิตจากสวนของตนเองมาลงพอดี สักครู่ เมื่อชาวไร่นับเงินเสร็จเรียบร้อยและเดินออกไปได้ไม่นาน พ่อค้าคนกลางซึ่งเตรียมจะส่งมอบสินค้าให้กับเวยจิ้ง ได้พูดขึ้นว่า "นี่เห็นว่า...เราเป็นคนกันเองหรอกน่ะ เมื่อกี้ตอนที่ชาวไร่เอาผลไม้มาส่ง ข้าแอบปรับตาชั่ง ทำให้ข้าได้ของเพิ่มมาอีกเกือบเท่าตัวเชียวนา บริการพิเศษแบบนี้ ข้าไม่เอาอะไรมากหรอก ขอแค่เย็นนี้ท่านเลี้ยงเหล้าข้าสักไหก็พอ" พ่อค้าคนกลางกล่าวด้วยความกระหยิ่มยิ้มย่อง เพราะคิดไปเองว่าการกระทำของตนจะเป็นที่พึงพอใจแก่ลูกค้า แต่สำหรับเวยจิ้งรู้สึกตกใจมาก เขารีบผลุนผลันวิ่งออกจากร้าน เพื่อไปตามหาชาวไร่ผู้นั้นทันที กระทั่งตามมาทันที่ริมท่าน้ำ ขณะที่ชาวไร่กำลังจะลงเรือกลับ เวยจิ้งรีบเข้าไปบอกว่า "ช้าก่อน ! ท่านลุง.....เมื่อกี้พ่อค้าคนกลางที่ท่านลุงเพิ่งเอาผลไม้ไปส่ง เขาคิดเงินผิดพลาดไปจึงให้ผู้น้อยนำมามอบคืนให้ ต้องขอโทษท่านลุงเป็นอย่างมากที่ทำงานสะเพร่าเช่นนี้ขอรับ" กล่าวจบ เวยจิ้งก็มอบเงินอีกหนึ่งเท่าตามจำนวนสินค้าคืนแก่ท่านลุงชาวไร่ จากนั้นจึงกลับไปหาพ่อค้าคนกลางเพื่อชำระเงินให้โดยมิพูดอะไร ครั้นตกถึงเย็น เขาก็ยังพาพ่อค้าคนกลางผู้นั้นไปเลี้ยงเหล้าตามคำขอ แต่ในระหว่างที่กำลังดื่มกินและรับประทานอาหารอยู่นั้น เวยจิ้งได้พูดกับพ่อค้าคนกลางว่า "การที่ท่านจัดสินค้าให้ข้าพเจ้าเกินมาเป็นพิเศษนั้น จุดประสงค์ของท่นก็เพีบงอยากดื่มเหล้า แต่สำหรับชาวสวนชาวไร่ที่ลำบาก แสนเหน็ดเหนื่อยและยากจน พวกเขาคงจะขาดทุนไปไม่ไหวจริง ๆ  อย่างไรเสียของให้ท่านช่วยพวกเขาบ้างก็แล้วกันน่ะ" พ่อค้าคนกลาง รู้สึกทราบซึ้งใจในคำสอนของเวยจิ้งยิ่งนัก นับจากนั้นมา พ่อค้าคนกลางก็ไม่แอบโกงตาชั่งเพื่อเอาใจลูกค้าของตนอีก พูดถึงเรื่องการค้าขาย สมัยโบราณของจีนมีการจัดอาชีพในสังคม 4 ประเภท โดยเรียงลำดับดังนี้ ข้าราชการ  ชาวไร่ชาวนา  กรรมกร  พ่อค้า  เหตุใดพ่อค้าจึงถูกจัดให้อยู่ในอันดับท้ายสุดของอาชีพในสังคม นั่นเป็นเพราะผู้คนในสมัยนั้นเห็นว่า  อาชีพพ่อค้ามักทำให้กลายเป็นคนเห็นแก่ผลประโยชน์ส่วนตนเป็นที่ตั้ง โดยเฉพาะพ่อค้าคนกลาง ซึ่งในสมัยนั้น คงจะมากด้วยเล่ห์เพทุบายในการติดต่อค้าขาย จึงทำให้ประชาชนทั่วไป พากันตั้งฉายาให้ว่า "คนถ่อยกลางตลาด"  แต่ทุกวันนี้ สถานะภาพและอันดับของพ่อค้ามีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง ? สำหรับผู้ฝึกฝนปฏิบัติบำเพ็ญธรรม มักมีคำถามว่า อาชีพพ่อค้าทำงานค้าขายได้มาซึ่งผลกำไร เป็นการผิดบาปไหม? "ผลกำไรที่ได้มาอย่างไร้คุณธรรม ย่อมเป็นบาป"  แต่ผลกำไรที่ได้มาอย่างเที่ยงธรรม ย่อมไม่เป็นบาป" แท้จริงแล้ว.....ความหมายของกำไรก็คือ ผลตอบแทนที่ได้รับเมื่อหักต้นทุนแล้ว พ่อค้าลงทุนซื้อสินค้ามาราคาหนึ่ง ต้องบวกราคาเพิ่มขึ้น ก็เพราะมีค่าใช้จ่ายมากมาย เริ่มต้นจากค่าขนส่ง ค่ากรรมกรยกของ  ค่าหีบห่อบรรจุ ค่าจ้างพนักงานขาย ค่าเช่าร้าน ค่าภาษี ฯลฯ หากคิดรวบยอด กำไรที่เป็นเงินซึ่งหักค่าใช้จ่ายทั้งหมดแล้ว ก็คือ ค่าแรงที่พ่อค้าหรือเจ้าของกิจการต้องเหน็ดเหนื่อยนั่นเอง  ดังนั้น  ผลกำไรที่ได้จากการคิดคำนวณต้นทุน ค่าใช้จ่ายอย่างยุติธรรม โดยคิดตามความเป็นจริง ถูกต้องเที่ยงธรรม ก็เรียกได้ว่าเป็นผลกำไรที่ได้มาอย่างมีคุณธรรม แต่หากเมื่อใดผลกำไรที่ได้ เกิดจากการคิดคำนวนที่เกินความเป็นจริง ไม่ถูกต้อง ไม่ยุติธรรมต่อลูกค้า ก็ได้ชื่อว่าเป็นกำไรที่ได้มาอย่างไร้คุณธรรม พ่อค้าผู้มีคุณธรรม ย่อมจะทำการค้าขายด้วยความรู้สึกยินดี และมีความสุขที่ได้นำสินค้าดี มีคุณภาพ ราคายุติธรรม มาบริการให้แก่ลูกค้า  เหตุฉะนี้พ่อค้าผู้มีคุณธรรม จึงเกิดความภาคภูมิใจในอาชีพของตน ที่มีส่วนช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้บริโภคในสังคมให้ดีขึ้น จะเห็นได้ว่า พ่อค้าผู้มีคุณธรรมในใจ ล้วนประสบความสำเร็จและมีความเจริญรุ่งเรืองในงานของตน  แต่สำหรับพ่อค้าที่ไร้คุณธรรม คือพวกที่เห็นแก่เงินเป็นใหญ่ ค้าขายของคุณภาพต่ำ แต่คิดราคาสูงเกินจริง บ้างก็ขายสินค้าปลอมคุณภาพเลว บ้างก็โกงตาชั่ง บ้างปลอมปนของไม่ดีลงในสินค้า พฤติกรรมเหล่านี้ เรียกว่า ฉ้อโกง เจ้าเล่ห์ ยักยอก หลอกลวง มักพบเห็นในพ่อค้าที่ไร้คุณธรรม  ไม่ว่าจะเป็นอดีตหรือปัจจุบัน ก็ยังคงมีพ่อค้าดี และ พ่อค้าเลว มิใช่เฉพาะพ่อค้าคนกลางเท่านั้นที่ในอดีตถูกเรียกว่า "คนถ่อยกลางตลาด" แต่ทุกอาชีพ ไม่ว่าข้าราชการ หมอ ครู ตำรวจ ฯลฯ ล้วนมีดีชั่วปะปนกันอยู่ ทำให้เราพบเห็น คนถ่อยในชุดข้าราชการ คนถ่อยในโรงพยาบาล คนถ่อยในโรงเรียน ฯลฯ ปัญหาเหล่านี้ล้วนเกืดจากสังคมขาดการเพาะบ่มอบรมสั่งสอนคุณธรรม ดังนั้น ทุกคนที่เป็นส่วนหนึ่งของสังคม จะต้องร่วมแรงร่วมใจกัน กอบกู้สถานการณ์ ไม่นิ่งดูดาย ปล่อยให้คนถ่อยสร้างความเดิอดร้อนและทำลายทุกสิ่ง มิเช่นนั้น สังคมต้องถึงกาลวิบัติเป็นแน่ !
หัวข้อ: คุณธรรมบรรพชน : เรื่องที่ 27 : เพชรงามกลางโคลนตรม
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 19/07/2011, 02:45
                     คุณธรรมบรรพชน  :  ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และเสียสละ

                             เรื่องที่ 27  :   เพชรงามกลางโคลนตรม

        ผู้ที่ศึกษาประวัติศาสตร์จีน คงต้องทราบดีว่า ในชั่วระยะสมัยที่ 5 นับเป็นช่วงเวลาที่คุณธรรมในใจผู้คนตกต่ำลงจนถึงขีดสุด ที่เป็นเช่นนั้ก็เพราะเหตุจากการทำสงคราม สังคมผันผวน ทุกอย่างดูสับสนวุ่นวายไปหมดการจะดำรงชีวิตให้อยู่รอดเป็นปกติทำได้ยาก จะกล่าวไปไยกับความมีคุณธรรม ยิ่งมิใช่เรื่องที่ผู้คนจะใส่ใจ อย่างไรก็ตามสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีตก็ใช่ว่าจะไม่เกิดขึ้นในเวลานี้ ไม่ว่าจะในยุคใดสมัยใด คนชั่วก็คือคนชั่ว โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่สังคมวุ่นวายระส่ำระสาย คนชั่วก็จะฉวยโอกาสก่อความเลวร้ายกระหน่ำซ้ำให้สาหัสลงไปอีก นี่คงเป็นเพราะคิดว่า ชาติที่แล้วตัวเองยังสร้างกรรมชั่วไม่พอ ถึงได้เสาะหาหนทางให้ลวสู่นรกอเวจีเร็ว ๆ แต่สำหรับคนดีก็คือ คนดีอยู่วันยังค่ำ คนดีเหมือนเกลือคู่โลก ไม่ว่าจะกี่ร้อยกี่พันปี เกลือก็ยังมีรสเค็มเช่นเดิมไม่เคยเปลี่ยนหรือหมดรสเค็ม คนดีผู้มีรากฐานบุญเดิม ต่อให้ฟ้าดินจะพลิกผันแปรเปลี่ยนไปอย่างไร เขาก็ยังคงยึดมั่นในคุณธรรมความดี โดยไม่คล้อยตามหรือแปรเปลี่ยนไปเป็นอื่น จะขอยกตัวอย่างผู้กล้าท่านหนึ่ง นั่นก็คือ เซี่ยเหยินเหลียง ท่านเป็นขุนนางราชสำนักในสมัยฮ่องเต้จวงจงแห่งราชวงศ์ถังตอนปลาย ขณะที่กษัตริย์จวงจงกรีฑาทัพไปทำศึกกับกษัตริย์ราชวงศ์  เหลียง  ซึ่งได้เข้ายึดเมือง เหลืองจู่ซื่อเอาไว้เป็นราชธานี ตลอดเส้นทางเดินทัพสามารถรบชนะมีชัยมาโดยตลอดตราบจนกระทั่งกองทัพของฮ่องเต้จวงจงเข้าตีเปี้ยนโจวได้ ราชวงศ์เหลียงก็ถึงกาลอวสาน ประชาชนชาวเหลียงต่างละทิ้งบ้านเรือนอพยพไปอยู่ที่อื่น ในเวลานั้น ที่ดินข้าวของสมบัติทรัพย์สิน ทุกอย่างต้องตกเป็นของชาวถังซึ่งบางคนก็เข้ามากอบโกยและฉวยโอกาสยึดครองโดยมิชอบ  แต่ทว่า สำหรับท่านขันนาง เซี่ย หาเป็นเช่นนั้นไม่ด้วยว่าเดิมทีท่านมีกระท่อมหลังเก่าหลังหนึ่งเป็นที่พักอาศัยอยู่แถบชนบทของเมืองเปี้ยนโจวนี้ ต่อมาถูกหลี่ปินผู้เป็นแม่ทัพใหญ่ชาวเหลียงยึดเอาไป มาบัดนี้ เมื่อทหารถังมายึดเมืองเปี้ยนโจวคืน แม่ทัพหลี่ปิน หลบหนีออกจากเมืองไปก่อนแล้ว ดังนั้น ท่านเซี่ยเหยินเหลียง จึงได้กระท่อมกลับคืน แต่ขณะกำลังจะก้าวเข้าในกระท่อมของตนมีคนบอกกับท่านว่า ที่ผ่านมา.....แม่ทัพหลี่ปินได้ใช้กระท่อมเก่าหลังนี้ เป็นที่เก็บซ่อนเพชรนิลจินดาและสมบัติอื่น ๆ ของครอบครัวไว้มากมาย ครั้นท่านขุนนางเซี่ยรับทราบเช่นนั้น จึงได้สั่งการให้ผู้ใต้บังคับบัญชาไปติดตามหาญาติของแม่ทัพหลี่ปินมาพบ และในระหว่างนี้ห้ามมิให้ผู้ใดเข้าไปในกระท่อมโดยเด็ดขาด เมื่อครอบครัวของแม่ทัพหลี่ปินมาถึง  ท่านจึงสั่งทหารให้ขนย้ายสมบัติที่อยู่ภายในกระท่อมออกมาส่งมอบให้พวกเขารับไปทั้งหมด เมื่อทุกอย่างเสร็จสิ้นลงเป็นที่เรียบร้อย ท่านเซี่ยจึงเข้าไปพักในกระท่อม ในเวลานั้น ผู้คนได้พบเห็นและรู้เรื่องราว ต่างชื่นชมในคุณธรรมอันสูงส่งของท่าน ด้วยจริยวัตรที่งดงามเสมอด้วยบรรพกษัตริย์แต่ครั้งโบราณ ท่านเซี่ยเหยินเหลียง ได้ปฏิบัติหน้าที่รับใช้แผ่นดินด้วยความจงรักภักดีจวบจนสิ้นรัชกาล เมื่อถึงราชวงศ์ซ่ง เซี่ยจวีเจิ้น บุตรชายของท่านก็ได้ดำรงตำแหน่งเสนาบดี รับใช้ประเทศสืบต่อมา
หัวข้อ: คุณธรรมบรรพชน : เรื่องที่ 28 : ดีแท้ คือ ไม่อยากได้
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 19/07/2011, 03:21
                       คุณธรรมบรรพชน  :  ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และเสียสละ
                             
                               เรื่องที่ 28  :    ดีแท้ คือ ไม่อยากได้

        หู ซู่  เป็นบุคคลผู้มีชีวิตอยู่ในราชวงศ์ซ่ง แต่ไหนแต่ไรมาเขาเป็นคนที่ซื่อสัตย์สุจริต และเหนือสิ่งอื่นใดเขาเฝ้าดูแลปรนนิบัติแม่ด้วยความกตัญญูกตเวทีิยิ่งตั้งแต่ตอนที่เป็นวัยรุ่น หูซู่ ให้ความเคารพนับถือพระภิกษุสงฆ์รูปหนึ่ง อีกทั้งยังปวารณาตนเป็นโยมอุปฐาก คอยอนุเคราะห์ช่วยเหลือท่านเสมอมา เป็นที่รู้ดีกันว่าหลวงจีนท่านนี้มีวิชาที่เร้นลับแปลกประหลาดมากมาย นับสิบ ๆ ปีที่หูซู่ ไปมาหาสู่ดูแลท่าน จะเรียกว่าเป็นศิษย์ก้นกุฏิเลยก็ว่าได้ ต่อมา หลวงจีนท่านนี้ได้อาพาธด้วยโรคชรา ครั้งสุดท้ายที่หูซู่ มาเยี่ยม ขณะที่ใกล้จะมรณะภาพท่านได้เอามือของหูซู่มากุมไว้พร้อมกับกล่าวว่า  "คุณโยมหูซู่.....สังขารอันเน่าเหม็นหมดสภาพเช่นนี้ คงต้องรบกวนคุณโยมเป็นธุระจัดการให้ออีกแล้ว ตลอดหลายสิบปีมานี้คุณโยมคอยอุปฐากด้วยดีเสมอมา อาตมภาพก็ไม่มีอะไรจะตอบแทนความมีน้ำใตของคุณโยม นอกเสียจากจะถ่ายทอดวิชาแปรเปลี่ยนหินให้เป็นทองแก่คุณโยมแล้วกันนะ่" หูซู่กราบเรียนหลวงจีนไปว่า "เรื่องงานฌาปณกิจ.....ขอพระคุณเจ้าอย่าได้เป็นห่วงไปเลย กระผมจะรับเอาเป็นธุระจัดการให้ทั้งหมด แต่สำหรับวิชาเปลี่ยนหินให้เป็นทองที่พระคุณเจ้าจะเมตตาถ่ายทอดให้นั้น กระผมคงไม่กล้าจะรับไว้ดอกขอรับ" หลวงจีนผู้ชราถอนหายใจยาว พร้อมกับกล่าวว่า "เฮ้อ.....ตลอดเวลาที่ผ่านมา ศรัทธาญาติโยมลูกศิษย์ลูกหา ต่างร่ำร้องรบเร้าอยากได้วิชานี้กันทั้งนั้น นี่แหละน่ะเขาว่า คนไร้คุณสมบัติ หวังแต่จะได้อยู่ร่ำไป แต่ผู้เปี่ยมด้วยคุณสมบัติ กลับไม่เคยแม้แต่จะหวัง" และแล้วหลวงจีนพระภิกษุผู้มีวิชาล้ำเลิศก็มรณะภาพ ! หูซู่ได้จัดการงานฌาปนกิจให้ท่านอย่างเรียบร้อยสมบูรณ์ ต่อมาเขาได้ไปดำรงตำแหน่งผู้ตรวจการแห่งเมือง หยางโจว ช่วงเวลานั้นเกิดอุทกภัยใหญ่บ้านเรือนถูกน้ำท่วมเสียหายหมด ท่านได้ระดมทั้งเรือหลวง และเรือส่วนตัวออกไปช่วยเหลือทันที ทำให้ราษฏรหลายพันชีวิตรอดตาย เมื่อหมดวาระ ท่านหูซู่ได้ย้ายไปรับตำแหน่งข้าหลวงใหญ่แห่งหูโจว ที่นั่น ท่านได้สร้างอ่างเก็บน้ำด้วยหิน เพื่อป้องกันน้ำท่วม และยังนำน้ำที่เก็บกักไว้ไปใช้ในการเกษตร ประชาชนชาวเมืองทั้งหลายได้รูสึกสำนึกในพระคุณท่าน ถึงกับสร้าง "หอระลึกคุณ" เพื่อเป็นเกียรติ  ท่านหูซู่ ปฏิบัติหน้าที่ราชการเรื่อยมา จนตำแหน่งสูงสุดของท่านคือ "ราชครู" พระอาจารย์ผู้ถวายงานการศึกษาแก่พระราชโอรสของฮ่องเต้ แต่แม้จะอยู่ในตำแหน่งมราสูงศักดิ์ เพียบพร้อมด้วยศฐาบารมี ถึงกระนั้นแล้วไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้าและของใช้ ตลอดจนที่พักอาศัยของท่านก็ยังคงเป็นเหมือนอย่างประชาชนคนธรรมดาทั่วไป  นี่ย่อมบ่งบอกถึงจิตใจของผู้มีความสมถะอย่างแท้จริง ยามหนุ่ม.....แม้วิชาเสกหินให้เป็นทองก้ไม่ขอรับ จิตใจของท่านหูซู่เหนือคนธรรมดาจริง ๆ  ลูกชายของท่าน จงเยี่ยน ตลอดจนถึงหลาน "จงอวี้และจงหุย" ก็ยึดถือความสมถะไม่เห็นแก่ได้ ทุกคนล้วนมุ่งมั่นสร้างสรรค์สังคม หนุนส่งใต้หล้า ร่วมใจเจริญปณิธานบรรพชนให้สำเร็จสมบูรณ์
หัวข้อ: คุณธรรมบรรพชน : เรื่องที่ 29 : ยอมตายพร้อมคู่
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 19/07/2011, 03:48
                       คุณธรรมบรรพชน  :  ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และเสียสละ

                               เรื่องที่ 29  :    ยอมตายพร้อมคู่

        ท่าน เฉินต้าเจี้ย เป็นอาจารย์ผู้เล่าเรียนจากสำนักของท่านจอมปราชญ์ขงจื้อ วันหนึ่งขณะที่ท่านกำลังสอนหนังสือศิษย์อยู่หน้าบ้าน พอมองออกไปก็เห็นนายพรานคนหนึ่ง เล็งปืนไปที่ต้นไม้ใหญ่ เสียงปืนระเบิดดังปังใหญ๋ ! ทันใดนั้น.....มีนกพิราบตัวหนึ่งร่วงลงมาอยู่บนพื้น ยังไม่ทันที่นายพรานจะเข้าไปเก็บ ก็มีนกพิราบอีกตัวหนึ่งบินลงมาอยู่ข้าง ๆ เมื่อเห็นคู่ของมันแน่นิ่ง มันจึงตรงไปยังริมน้ำและใช้ปีกจุ่มน้ำโดยไม่รอช้านกพิราบตัวนั้นรีบกลับมา แล้วเอาปีกที่เปียกชุ่มคลุมไว้ที่ปากแผลไฟไหม้บนร่างของนกที่นอนอยู่ พร้อมกับพยายามเอาลูกไม้ผลเล็ก ๆ ที่คาบอยู่ป้อนให้ แต่ไม่ว่าจะพยายามสักเท่าไหร่ คู่ของมันก็ไม่อาจจะฟื้น นกพิราบตัวนั้นส่งเสียงร้องด้วยความเศร้าโศกเสียใจอยู่หลายครั้ง แล้วบินผละไปบนท้องฟ้า  ขณะที่นายพรานกำลังจะก้มลงไปเก็บนกที่ตายแล้วนั้น โดยไม่คาดคิด.....ทันใดนั้นนกพิราบที่คิดว่าบินจากไปแล้วนั้น มันพุ่งตัวลงมาจากบนอากาศด้วยความเร็ว กระแทกตัวกับพื้นดินอย่างแรงจนสิ้นใจตาย ! ในเวลานั้น นายพรานต้องชะงักด้วยความตกตะลึงยืนงงทำอะไรไม่ถูกอยุ่พักใหญ่ เหตุการณ์?ั้งหมดล้วนอยู่ในสายตาของท่านเฉินต้าเจี้ยโดยตลอด ท่านจึงออกไปพูดกับนายพรานว่าเธอรู้ไหมว่า ทำไมนกพิราบอีกตัวจึงพุ่งลงมาตาย นั่นเป็นเพราะมันเสียใจที่ไม่สามารถช่วยชีวิตคู่ได้ เธอยิงคู่ของมันตาย อีกตัวก็ยอมตายพร้อมกัน แม้แต่นกยังเปี่ยมด้วยพลังแห่งรักและซื่อสัตย์ต่อกัน แล้วจิตใจของเธอยังจะทนทำเรื่องเลวร้ายได้อีกหรือ" นายพรานผู้นั้นฟังคำตักเตือนชี้แนะแล้ว ได้แต่ก้มหน้าทอดถอนใจ เขารู้สึกสำนึกในความผิดอันใหญ่หลวงของตน จึงหักปืนไฟทิ้งทันที ตั้งแต่นั้นมาเขาก็หันไปประกอบอาชีพที่สุจริตแทน
หัวข้อ: คุณธรรมบรรพชน : เรื่องที่ 30 : พลังรักของแม่นก
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 19/07/2011, 04:16
                   คุณธรรมบรรพชน  :  ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และเสียสละ

                           เรื่องที่ 30  :    พลังรักของแม่นก

        ในสมัยสามก๊ก ขุนพลแห่งแคว้นเว่ย ชื่อ เจิ้งอาย ได้ยกกองทัพออกไปรบ ระหว่างทางจึงหยุดพักตั้งค่ายที่อำเภอฝู่หลิง ครั้นยามว่าง เขาก็ออกท่องเที่ยวไปบนเนินเขา วันนั้น ขุนพลเจิ้งอาย เห็นแม่นกตัวหนึ่งกำลังป้อนอาหารให้แก่ลูก ๆ เขาจึงง้าวธนูยิง เพราะเห็นว่าเป็นเป้านิ่งอยู่ดี ทว่า เสียงดีดสายธนู ทำให้แม่นกตกใจจึงบินหนีไป แต่เพราะไม่อาจทนพรากจากลูก ๆ ได้แม่นกจึงบินกลับมาที่รังอีก เจิ้งอายซึ่งเงื้อธนูคอยท่าเอาไว้แล้ว ยิงออกไปอีกครั้ง คราวนี้ไม่พลาด เสียงดังฉึก ! ลูกธนูพุ่งเสียบเข้าที่ลำคอ แต่แม่นกตัวนั้นไม่ตาย มันยังคงพยายามป้อนอาหารให้แก่ลูก ๆ จนหมด จากนั้นมันจึงตะเกียกตะกายไปคาบอาหารที่อยู่ข้าง ๆ มาวางไว้ในรังหลายชิ้น พร้อมกับทำกริยาประหนึ่งจะสอนให้ลูก ๆ ของมันรู้ว่าต่อไปต้องจิกอาหารกินเอง และแล้วมันก็ส่งเสียงร้องคร่ำครวญติดต่อกันด้วยความอาลัยอาวรณ์จนสิ้นใจ !  ร่างของแม่นกร่วงตกจากกิ่งไม้ ในขณะที่บรรดาลูกนกต่างพากันยื่นหน้าออกจากรังมาดู พร้อม ๆ กับส่งเสียงร้องเรียกเพรียกหาแม่อยู่ไม่หยุด เจิ้งอาย มองดูด้วยความสลดหดหู่ใจ เขาเหวี่ยงคันธนูทิ้งลงพร้อมกับรำพึงกับตัวเองว่า "เราได้บั่นทอนบุญวาสนาของตัวเอง ด้วยการทำลายชีวิตผู้อื่นเห็นทีคงจะอยู่ในโลกนี้ได้อีกไม่นานเป็นแน่ ! " สัญชาติของผู้เป็นแม่ไม่ว่าจะคนหรือสัตว์ แม่นั้น ยินดีไม่ว่าจะเหนื่อยยากหรือตายเพื่อลูก คนกล่าวว่าตนเป็นสัตวืประเสริฐจะไม่สะเทือนใจเลหรือ ?  ขุนพลเจิ้งอายก่อกรรมหนัก ฆ่าแม่นกเสียแล้ว ลูกนกก็ไม่รู้ว่าจะอยู่รอดหรือไม่ ถ้าไม่ตายก็กลายเป็นกำพร้า ต้องถูกพรากจากอกแม่ ! เหตุฉะนี้ แม้ว่าภายหลังต่อมา ขุนพลเจิ้งอายจะกรีฑาทัพออกรบได้ชัยชนะมีผลงานยิ่งใหญ่ แต่ก็ถูกคนอิจฉาใส่ร้ายว่าเขาวางแผนก่อกบฏ ซือหม่าเจา จึงสั่งประหารชีวิตเขาเสีย ! นี่ก็เป็นไปตามที่ตัวเขาพูดไว้ว่า "จะอยู่ในโลกนี้ได้ไม่นาน"
หัวข้อ: คุณธรรมบรรพชน : เรื่องที่ 31 : นกกระจอกตอบแทนพระคุณ
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 20/07/2011, 08:31
                       คุณธรรมบรรพชน  :  ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และเสียสละ

                               เรื่องที่ 31  :    นกกระจอกตอบแทนพระคุณ

        ในสมัยราชวงศ์ซ่ง มีบุคคลท่านหนึ่งชื่อ เหอจิง เป็นชาวกว่างซัง ท่านดำรงตำแหน่ง เซี่ยนเว่ย แห่ง จิ่งเซี่ยน โดยรับผิดชอบดูแลพื้นที่  1000 หลังคาเรือน ท่านเหอจิง มีอุปนิสัยรักและเมตตาสัตว์มาแต่เกิด ดังน้น ทุกครั้งที่ออกตรวจราชการรอบชานเมือง หากพบเห็นคนจับนกกระจอกไปขาย ท่านจะเรียกคนเหล่านั้นมาตักเตือนว่า "มีอาชีพให้เลือกทำตั้งมากมาย  ไยพวกเจ้าต้องหากินด้วยการเบียดเบียนชีวิตสัตว์ด้วยเล่า?" แล้วท่านก็สั่งให้เจ้าหน้าที่ปล่อยนกกระจอกทั้งหมดให้เป็นอิสระ และทำลายแหที่ใช้ดักจับนกของพวกเขาเสีย จากนั้นจึงมอบเงินให้ตามราคาของจำนวนนกที่ปล่อยและแหที่ถูกทำลาย พร้อมกับแนะนำให้เปลี่ยนอาชีพใหม่คนเรานั้นใช่ว่าจะสิ้นคิดไร้จิตไร้ใจเสียทั้งหมด บรรดาคนจับนกกระจอกขายเมื่อถูกตักเตือนด้วยหลักธรรมความจริง ก็ไม่มีใครไม่ปฏิบัติตาม ท่านเหอจิงปฏิบัติเช่นนี้ตลอดมา จนกระทั่งใกล้หมดวาระกำลังจะพ้นจากตำแหน่ง ตอนนั้นในพื้นที่ที่ท่านดูแลรับผิดชอบ มีคดีกลุ่มโจรปล้นฆ่าอุกฉกรรจ์เกิดขึ้น ทางศาลได้กำหนดเวลาสืบสวนและให้ตามจับผู้ร้ายมาโดยเร็ว ท่านเหอจิงเป็นถึง เซี่ยนเว่ย ซึ่งเป็นตำแหน่งผู้รักษาความสงบเรียบร้อย จับโจรผู้ร้ายและตรวจตราการกระทำผิดต่าง ๆ ดังนั้น งานนี้จึงตกเป็นหน้าที่ของท่านโดยตรง แต่ไม่ว่าท่านจะพยายามอย่างหนักและใช้วิธีการอย่างไร ก็ไม่พบร่องรอยของคนร้ายเลยจนกระทั่งใกล้หมดเวลาที่ศาลกำหนดไว้ ท่านจึงยิ่งวิตกกังวลมากขึ้น และแล้ววันต่อมา ขณะที่ท่านเหอจิงกำลังนำลูกน้องออกลาดตระเวนเพื่อสืบหาเบาะแสของพวกโจรไปไกลถึงนอกเมือง ทันใดนั้นมีนกกระจอกฝูงใหญ่จำนวนนับร้อยตัว บินวนเวียนไปมาพร้อมกับส่งเสียงร้องกันดังเซ็งแซ่อยู่เหนือศรีษะของท่าน ครั้นท่านเหอจิงหยุดม้าดูด้วยความประหลาดใจ พวกนกกระจอกก็บินนำหน้าไป ท่านจึงควบม้าติดตามไปทันที พวกนกกระจอกนั้นบินนำทางไปไกลหลายสิยลี้ จนกระทั่งมาถึงกระท่อมเล็ก ๆ หลังหนึ่ง มันจึงพากันร่อนลงเกาะ ท่านเหอจิงเห็นเช่นนั้นจึงหยุดม้า พร้อมกับสั่งกองกำลังเข้าไปตรวจค้น พอเปิดประตูเข้าไปเจ้าหน้าที่ก็พบชายฉกรรจ์จำนวน 7 คน ทั้งหมดนอนหลับไหลไม่ได้สติ ข้าง ๆ มีไหเหล้าทิ้งระเกะระกะอยู่หลายใบ อีกทั้งข้างฝากระท่อมยังพบหีบและห่อผ้าขนาดใหญ่จำนวนมากกองอยู่ จากพยานวัตถุที่พบเห็น อีกทั้งลักษณะท่าทางของชายฉกรรจ์เหล่านั้นเข้าข่ายผู้ต้องสงสัย ท่านเหอจิงจึงออกคำสั่งให้เจ้าหน้าที่นำตัวพวกเขาทั้งหมดไปที่อำเภอ เมื่อถูกสอบสวน ชายฉกรรจ์ทั้ง 7 คน จึงยอมรับสารภาพว่า พวกตนคือกลุ่มโจรที่ปล้นและฆ่าเจ้าทรัพย์ตายหลายรายนั่นเอง !  โจรทั้งหมดถูกส่งไปรับโทษ ด้วยความดีความชอบครั้งนี้ ทำให้ท่านเหอจิงได้เลื่อนตำแหน่งเป็น เซี่ยนหลิง ไปปฏิบัติหน้าที่ปกครองประชาชนหมื่นหลังคาเรือน ณ เมืองตงหยาง
หัวข้อ: คุณธรรมบรรพชน : เรื่องที่ 32 : ลูกวัวคิดถึงแม่
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 20/07/2011, 09:00
                      คุณธรรมบรรพชน  :  ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และเสียสละ

                              เรื่องที่ 32  :    ลูกวัวคิดถึงแม่

        ชายคนหนึ่งชื่อ ท่งลู่ เขาเลี้ยงวัวไว้คู่หนึ่ง เป็นแม่วัวแก่กัลลูกของมัน ต่อมาเขานำวัวทั้งสองไปขายที่ตลาดในหมู่บ้าน มีคนฆ่าสัตว์ซื้อแม่วัวไป ส่วนลูกวัวมีชาวนาคนหนึ่งซื้อเอาไปเลี้ยงไว้ใช้งาน ในเวลาไล่เลี่ยกัน ทั้งคนฆ่าสัตว์และชาวนาต่างจูงวัวที่ตนซื้อแล้วกลับบ้านพร้อม ๆ กัน กระทั่งเดินมาถึงลำธารสายหนึ่ง คนฆ่าสัตว์กำลังจูงแม่วัวข้ามน้ำ ส่วนชาวนาเตรียมแยกไปอีกทาง ราวกับจะรู้ว่าต้องพลัดพรากจากกัน ลูกวัวส่งเสียงร้อง มอ... มอ...และพยายามจะข้ามลำธารไปด้วยชาวนาต้องทั้งตีทั้งดึงให้มันกลับมา แต่มันเพียงเินไป 2 - 3 ก้าว แล้วก็วกกลับมาร้องเรียกที่ริมลำธารด้วยเสียงทอดยาวน่าสงสาร ชาวนาต้องออกแรงฉุดกระชากรากถูอย่างหนักกว่าจะเอาลูกวัวกลับไปได้ พอถึงบ้านเขาก็จัดการรีบนำไปขังไว้ในคอก ส่วนคนฆ่าสัตว์ เมื่อกลับถึงบ้านก็จัดการมัดแม่วัวไว้ในโรงฆ่าแล้วต้มน้ำร้อนกระทะใหญ่ เตรียมไว้สำหรับการฆ่าวันพรุ่งนี้ ขณะที่กำลังจะเข้านอน เขาก็ได้ยินเสียงร้องดังอย่างร้อนรนอยู่ที่หน้าประตูบ้าน สักครู่แม่วัวที่ถูกมัดไว้ในโรงฆ่าก็ส่งเสียงร้องตอบรับกลับไป เมื่อคนฆ่าสัตว์ไปเปิดประูหน้าบ้าน โดยยังไม่ทันจะตั้งตัว ลูกวัวจากไหนไม่รู้มันเบียดประูตูพุ่งทะยานเข้ามาอย่างรวดเร็ว แล้ววิ่งตรงรี่เข้าไปในโรงฆ่าสัตว์ เขารีบเดินเข้าไปดูก็เห็นลูกวัวของชาวนากำลังเอาหัวของมันถูไถคลอเคลียอยู่ที่หน้าอกของแม่ ส่วนแม่วัวก็ตะกุยเท้าจนกีบเล็บฉีก แสดงความดีใจอย่างที่สุด ! คนฆ่าสัตว์แม้จะเป็นคนมุทะลุดุดัน แต่ก็ใจไม่กระด้างเป็นหิน พอพบเห็นภาพที่ปรากฏต่อหน้า เขาก็รู้สึกมือไม้อ่อนและสะเทือนใจอย่างบอกไม่ถูก สักครู่ใหญ่ คนฆ่าสัตว์จึงไปดึงฟืนออกจากเตาเพื่อดับไฟ นั่นเท่ากับเขาตัดสินใจยกเลิกการฆ่าเสียเลย  ข้างฝ่ายชาวนา.....พอตื่นขึ้นตอนเช้าตรู่ไปดูที่คอกไม่พบลูกวัวที่เพิ่งซื้อมา ก็ออกตามหาไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งมาถึงบ้านคนฆ่าสัตว์ ครั้นได้ฟังเรื่องราวที่เกิดขึ้นเมื่อคืนวาน ทั้งคู่จึงได้แต่นั่งทอดถอนใจอยู่ด้วยกัน  สุดท้ายจึงตกลงกันว่า ชาวนาจะขอซื้อแม่วัวไปเอง ส่วนคนฆ่าสัตว์ก็ยินดีขายลดราคาให้ ดังนั้น วัวสองแม่ลูกจึงได้กลับไปอยู่ร่วมกันอีกครั้ง
หัวข้อ: คุณธรรมบรรพชน : เรื่องที่ 33 : คำวิงวอนของแม่แพะ
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 21/07/2011, 05:56
                    คุณธรรมบรรพชน  :  ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และเสียสละ

                            เรื่องที่ 33  :    คำวิงวอนของแม่แพะ

        สมัยโบราณมักมีเรื่องราวแปลก ๆ ที่คนยุคนี้คิดไม่ถึงว่าจะเป็นไปได้ อย่างเช่น ชายทีชื่อ ไป๋กุยเหนียน เล่ากันว่าเขาได้รับคัมภีร์วิเศษมาเล่มหนึ่ง เมื่อศึกษาสำเร็จสามารถเข้าใจภาษาสัตว์ทั้งหลายได้ ดังนั้นผู้คนจึงเคารพนับถือเขาประดุจดั่งเทพเซียน วันหนึ่งระหว่างที่ ไป๋กุยเหนียน เดินทางผ่านเมืองลู่ ท่านเจ้าเมืองได้ยินกิตติศัพท์เรื่องคุณวิเศษของเขา จึงเชื้อเชิญให้ไปพักที่จวน พร้อมทั้งต้อนรับอย่างดีเลิศ ขณะที่กำลังสนทนากันอยู่ มีคนงานไล่ต้อนแพะฝูงหนึ่งไปไว้ที่หน้าโรงครัวเพื่อเตรียมจะฆ่าสำหรับอาหารค่ำ ทว่าในฝูงนั้นมีแม่แพะตัวหนึ่งอยู่รั้งท้าย มันหยุดเิดินแล้วหันมาร้องพร้อมทำปากขมุบขมิบ ท่านเจ้าเมืองซึ่งนั่งอยู่ในห้องรับแขกสังเกตุเห็น จึงได้กระซิบถามไป๋กุยเหนียนว่า "ท่านเซียน.....ร่ำลือกันว่าท่านสามารถสื่อภาษาเข้าใจสัตว์ เจ้าแพะตัวนั้นพูดอะไรหรือ?" ท่านไป๋กุยเหนียนจึงตอบว่า"แพะตัวนั้นพูดวิงวอนว่า ในท้องของเธอมีลูกน้อยอยู่ ขอให้ท่านเจ้าเมืองเมตตารอจนเธอคลอดลูกแล้ว เมื่อนั้นเธอก็ยินดีตายโดยจะไม่ขออะไรอีก" ท่านเจ้าเมืองได้ฟังเช่นนั้น ก็รู้สึกสงสารจึงสั่งให้เลี้ยงแม่แพะตัวนี้ไว้ก่อน ไม่นานต่อมามันก็กำเนิดลูกแพะ 2 ตัว พอโตขึ้นสักนิดพวกมันทั้งกระโดดโลดเต้น และวิ่งเล่นอยู่ข้าง ๆ แม่อย่างน่ารักน่าชังทีเดียว นับแต่นั้นเป็นต้นมา ท่านเจ้าเมืองจึงมีบัญชาสั่งการห้ามมิให้มีการฆ่าแพะอีกต่อไป ด้วยอานิสงส์แห่งความมีเมตตาจิต ละเว้นชีวิตสัตว์ท่านเจ้าเมืองลู่จึงมีสุขภาพพลามัยที่แข็งแรงและอายุยืนถึง 90 ปี ว่ากันว่า คนสมัยโบราณที่สามารถเข้าใจภาษาและพูดคุยกับสัตว์ได้มีอยู่มากมายไม่ใช่เฉพาะท่าน ไป๋กุยเหนียน เท่านั้น เรื่องราวเช่นนี้ ดูลี้ลับอัศจรรย์ยากจะเชื่อ แต่หากจะคิดพิจารณาให้ถี่ถ้วน คนเราก็คือ หนึ่งในจำนวนสัตว์โลกทั้งหลาย แล้วสัตว์อื่น ๆ อีกมากมายหลายหมื่นหลายแสนชนิด จะไม่มีภาษาพูดคุยกันเลยหรือไร ? ถึงเวลานี้พวกเราจะไม่มีคัมภีร์วิเศษให้เรียน ขอเพียงแต่เอาใจของตัวเองออกมาคิดถึงใจของสัตว์ เช่นนี้.....ความปรารถนา.....ความรู้สึกของสัตว์ทั้งหลาย ก็ไม่ใช่เรื่องยากที่จะรู้ได้ !
หัวข้อ: คุณธรรมบรรพชน : เรื่องที่ 34 : มโนธรรมของวานร
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 21/07/2011, 07:01
                       คุณธรรมบรรพชน  :  ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และเสียสละ

                               เรื่องที่ 34  :    มโนธรรมของวานร

        ในรัชกาลคังซีปีที่ 9 สมัยราชวงศ์ซิง ฤดูหนาวปีนั้นอากาศหนาวที่สุด ขณะที่พ่อค้า 3 คน กำลังเดินทางผ่านเทือกเขาผาโถ่ว ทันใดนั้นเองลิงใหญ่ตัวหนึ่ง ทะเล่อทะล่าออกมาจากไหนไม่รู้มันกางแขนยกขึ้นยกลงราวกับพยายามหน่วงเหนี่ยวพวกเขาไว้ สักครู่เมื่อพ่อค้าทั้งสามหายตกใจ และสังเกตุดูอากัปกิริยาแปลก ๆ ที่เจ้าลิงใหญ่แสดง พ่อค้าคนหนึ่งจึงร้องถามมันว่า "เจ้าจะขออะไรหรือ" ลิงตัวนั้นรีบคุกเข่าก้มศรีษะโขกกับพื้น 2-3 ครั้ง แล้วลุกขึ้นออกเดินนำ เหมือนอยากจะให้ตามไป จนกระทั่งมาถึงกลางเทือกเขา ณ ที่นั้น พวกพ่อค้าก็พบเห็นร่างชายวัยชรา นอนตัวแข็งที่อยู่ใต้หิมะ !  ข้าง ๆ มีตระกร้า 2 ใบกับไม้คานวางอยู่ ภายในตระกร้าบรรจุเครื่องแต่งตัวหน้ากาก อันเป้นของใช้สำหรับการแสดงที่แท้...ร่างชายชราที่พบ เป็นเจ้าของคณะละครลิงเร่ร่อนซึ่งหนาวตายกลางทางนั่นเอง ! ด้วยเหตุที่กลัวจะถูกเข้าใจผิดและอาจต้องคดีความ พ่อค้าทั้งสามตั้งท่าจะวิ่งหนี แต่ทว่าลิงใหญ่ตัวนั้นก็ยืนขวางพวกเขาไว้ ขณะเีดียวกันมันก็ส่งเสียงร้องคร่ำครวญขอความเห็นใจ พร้อมกับรีบเปิดตระกร้าเอาห่อผ้าซึ่งมีเงินอยู่ราว 3 ตำลึงทองอกมายื่นให้พวกเขา พ่อค้าคนหนึ่งจึงถามว่า "จะให้พวกเรานำไปซื้อโลงมาใส่ร่างเจ้านายของเจ้าใช่ไหม ?" แต่ลิงตัวนั้นกลับส่ายหัวไปมา พ่อค้าจึงถามใหม่ว่า "เจ้ามอบเงินจำนวนนี้ให้ เพื่อขอพวกเราช่วยฝังร่างเจ้านายของเจ้าใช่มั้ย ?" คราวนี้มันรีบผงกหัวพ่อค้าทั้งสามอดสงสารไม่ได้ จึงน่วมแรงช่วยกันขุดหลุม เมื่อขุดได้ลึกพอแล้ว ขณะที่พวกเขากำลังจะยกร่างชายเจ้าของละครลิงลงฝังลิงใหญ่ตัวนั้นหันไปหยิบเอาเสื่อจากตระกร้ามาแล้วฉีกแบ่งครึ่ง แค่นั้นไม่พอ...มันยังดึงเอาปุยนุ่นจากหมอนออกมากองไว้ 2 กองโดยหยิบส่วนหนึ่งยื่นให้พ่อค้าและแสดงท่าทางจะให้ห่อศพเจ้านายของมันเอาไว้กันหนาว ถึงตอนนี้เหล่าพ่อค้าต่างซาบซึ้งตื้นตันใจจนไม่อาจกลั้นน้ำตาไว้อยู่ พวกเขาทำตามความประสงค์ของวานรผู้ซื่อสัตย์ ด้วยใบหน้าที่เปียกชุ่มทั้งน้ำตา และเสียงสะอื้นไห้ เมื่อฝังศพเรียบร้อยลง ขณะที่พ่อค้าทั้งสามกำลังปรึกษากันเรื่องที่จะพาเจ้าลิงใหญ่นั้นกลับไปด้วย ครั้นเหลียวกลับไปมองท่ามกลางหิมะโปรยปรายสายน้ำตาพรั่งพรู พวกเขาก็เห็นมันเดินวนอยู่รอบ ๆ หลุมศพ ประหนึ่งอาลัยอาวรณ์ผู้มีพระคุณ วานรใหญ่ร้องไห้ไม่หยุด และแล้วอย่างที่ไม่มีใครคาดคิด...มันวิ่งเอาหัวพุ่งชนกับโขดหินอย่างแรงจนขาดใจตาย ! ท่ามกลางความตกตะลึงต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น พ่อค้าทั้งสามยืนตัวแข็งอ้าปากค้างทำอะไรไม่ถูก กว่าจะรู้ตัวว่ายังมีอีกศพที่ต้องฝัง...เมื่อนั้นจึงได้รู้ว่า ทั้งเสื่อและปุยนุ่นที่เจ้าลิงใหญ่เหลือไว้อีกครึ่งหนึ่งนั้น ก็เพื่อใช้ฝังร่างของมันไว้ให้อยู่ร่วมกับเจ้านายผู้มีพระคุณนั่นเอง ภายหลังเมื่อลงจากเทือกเขา พ่อค้าทั้งสามได้เล่าเรื่องราวที่ตนประสบมาจนเป็นที่ร่ำลือแผ่ขยายออกไปอย่างกว้างขวาง แม่แต่ กัวอวี้คุ่ย กวีแห่งเซียงถัน ก้เคยนำเรื่องนี้มาเขียนเป็นลำนำชื่อ "วานรผู้เลิศล้ำมโนธรรม"
หัวข้อ: คุณธรรมบรรพชน : เรื่องที่ 35 : โชคดีที่พระมาโปรด
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 21/07/2011, 07:52
                     คุณธรรมบรรพชน  :  ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และเสียสละ

                             เรื่องที่ 35  :   โชคดีที่พระมาโปรด

        ในสมัยราชวงศ์ซ่ง ตรงกับรัชกาลเส้าชิง ที่อำเภอชิงอวี่ บ้านของคนแซ่ จาง เป็นครอบครัวที่ประกอบอาชีพฆ่าหมูขาย ! บ้านสกุลจางอญุ่ติดกับวัด ทุก ๆ วันตอนเช้าตรู่พอได้ยินเสียงระฆัง นายจางก็จะตื่นขึ้นมาฆ่าหมูเพื่อเอาเนื้อไปขาย นี่เป็นกิจวัตรที่เขาปฏิบัติมานานแล้ว อยู่มาวันหนึ่ง พระภิกษุชรารูปหนึ่งในวัดได้ฝันเห็นเด็กชายและหญิงรวม 5 คน ทั้งหมดสวมใส่เสื้อผ้าสีดำได้พากันมาคุกเข่าและขอร้องท่านว่า เช้าตรู่ในวันนี้ขออย่าได้ตีระฆัง เมื่อหลวงจีนชราสะดุ้งตื่นท้องฟ้ายังมืดอยู่ อีกทั้งท่านก็มิได้ใส่ใจเรื่องที่ฝันแต่อย่างใด ครั้นล้มตัวลงจำวัตรต่อ ท่านก็ฝันเห็นเด็ก ๆ ในชุดสีดำทั้ง 5 คนมาคุกเข่ากราบวิงวอนอีกว่า "ขอพระอาจารย์โปรดเมตตาเราด้วยเถิด ! นี่เป็นเรื่องความเป็นความตาย !...ขอท่านได้โปรดรีบสั่งการเถิด !" หลวงจีนผู้ชราต้องสะดุ้งตื่นเป็นครั้งที่สองด้วยความรู้สึกประหลาดใจ คราวนี้ท่านไม่อาจจะจำวัดต่อได้อีก เหตุเพราะใกล้ฟ้าสางแล้ว ท่านรีบออกไปสั่งพระผู้มีหน้าที่ตีระฆังว่า เช้านี้ให้งดตีระฆังเสียหนึ่งวัน พอรุ่งเช้า...ตะวันขึ้นแล้ว ขณะที่หลวงจีนผู้ชรากำลังกวาดใบไม้ที่กำแพงหน้าวัด นายจางคนฆ่าหมูจึงออกมาถามไถ่ว่า "ทำไมวันนี้ทางวัดไม่เคาะระฆังสวดมนต์หรือไร? กระผมเลยพลอยเสียการเสียงานไปด้วย ! " เมื่อพระผู้ชราเล่าถึงสาเหตุให้ฟัง นายจางจึงพูดอย่างติดตลกว่า "ท่านอาจารย์ฝันเห็นเด็ก 5 คนจึงงดตีระฆัง แม่หมูของกระผมก็เลยออกลูกมาให้ 5 ตัว เพราะเช้านี้กระผมตื่นไม่ทันฆ่า !" เมื่อหลวงจีนผู้เฒ่าได้ยินเช่นนั้น จึงยกมือขึ้นพนมและสวดภาวนา "พระอมิตาภพุทธทรงเมตตา พระกวนอิมทรงเมตตา" จากนั้น ท่านได้อธิบายเรื่องของเหตุต้นและผลกรรม พร้อมกับชี้แนะเปลี่ยนให้เขาไปทำอาชีพอื่นก่อนที่จะสายเกินไป คงเป็นเพราะมีรากบุญเดิมที่เคยสร้างสมเอาไว้ พอนายจางได้ฟังหลวงจีนผู้ชราเทศนาชี้แนะแล้ว ก็ได้สติรู้บาปบุญคุณโทษ เขาจึงตัดสินใขเลิกอาชีพฆ่าหมูทันที และหันไปประกอบสัมมาอาชีพแทน เดิมทีนายจางไม่มีลูก แต่หลังจากเลิกฆ่าหมูได้ไม่นาน เขาก็ได้ลูกชายคนหนึ่งไว้เป็นผู้สืบสกุล ลูกชายของนายจางเป็นเด็กที่เฉลียวฉลาดและศึกษาเล่าเรียนได้อย่างก้าวหน้า เมื่อโตขึ้นก็็ประสบผลสำเร็จในชีวิต ในยุคนี้ คนทั่วไปมักคิดว่า คนฆ่าสัตว์ ค้ายาเสพติด ตัดไม้ทำลายป่า ฯลฯ บรดาผู้ทำอาชีพทุจริตมิจฉาเหล่านี้ ทำไมจึงได้ร่ำรวย ! แต่ผู้ศึกษาหลักธรรม กลับกล่าวว่า "ร่ำรวยจากคมมีด ล้วนอยู่ได้ไม่นาน" หนี้สินบาปเคราะห์ เวรกรรมตามสนองจะมีสักกี่คนที่มีโอกาสติดตามดูผลลัพธ์ในตอนสุดท้ายได้ ท่านนักปราชญ์เมิ่งจื้อกล่าวว่า "คนทำหอกดาบหรือจะมีเมตตาเทียบคนสร้างโล่ห์ คนทำหอกทำดาบ กลัวว่าคนจะไม่ถูกทำร้าย แต่คนสร้างโล่ห์ กลัวคนจะถูกทำร้าย" ในพุทธศาสนาได้กล่าวถึง "สัมมาอาชีวะ" คือการเลี้ยงชีพชอบ หมายถึง การทำมาหากินด้วยอาชีพที่สุจริต เว้นจากมิจฉาชีพ 5 ประการ อันถือเป็นอาชีพที่ต้องห้ามสำหรับชาวพุทธ ได้แก่ 1 สัตถวณิชชา ห้ามค้าขายอาวุธ เครื่องมือเข่นฆ่าประหัตประหาร  2 สัตตวณิชา ห้ามค้าขายมนุษย์ ค้าชีวิตคน ค้าทาส  3 มังสวณิชชา ห้ามค้าขายเนื้อสัตว์ ค้าชีวิตเลือดเนื้อสัตว์ทั้งหลาย  4 มัชชวณิชชา ห้ามค้าน้ำเมา และ สิ่งเสพติดอันมอมเมาทำลายสติ  5 วิสวณิชชา ห้ามค้าขายยาพิษ เครื่องอุปโภคบริโภคเป็นพิษ  (จากปัญจกนิบาต  อังคุตตรนิกาย  สุตันตปิฏก  พระไตรปิฏกเล่มที่ 22 ) ดังนั้น การจะทำมาหาเลี้ยงชีวิตด้วยอาศัยอาชีพอะไร สมควรที่ต้องใคร่ครวญดูให้ดี จะได้ไม่สร้างกรรมก่อเวร ! 
หัวข้อ: คุณธรรมบรรพชน : เรื่องที่ 36 : สวนสวรรค์บนแดนดิน
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 21/07/2011, 08:22
                        คุณธรรมบรรพชน  :  ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และเสียสละ

                                เรื่องที่ 36  :   สวนสวรรค์บนแดนดิน

        ในสมัยราชวงศ์ซ่ง มารดาของ ตงพอจวีซวี่ ซึ่งได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นท่านผู้หญิง อู่หยางจวิน  ท่นเป็นสตรีผู้มีใจเมตตากรุณาสูงยิ่ง ทุก ๆวันท่านคอยดูแลให้ความรักและปกป้องสรรพชีวิตเสมอมา ที่สำคัญท่านผู้หญิงหมั่นอบรมปลูกฝังลูกหลานทุกคนให้มีนิสัยโอบอ้อมอารีและหนีห่างจากการฆ่าหรือเบียดเบียนสัตว์ตลอดจนกำชับบ่าวไพร่คนรับใช้ในบ้าน ไม่ให้ทำอันตรายใด ๆต่อสัตว์ทุกชนิด ณ ลานหน้าบ้านของท่านผู้หญิงมีสวนขนาดใหญ่ที่เขียวชะอุ่มไปด้วยต้นไม้ใหญ่น้อยหลายหลากชนิด ทั้งประเภทที่มีผลให้รับประทานอย่างดกดื่น และประเภทออกดอกบานสะพรั่งซึ่งส่งกลิ่นหอมสดชื่น กระจายไปทั่วอาณาบริเวณโดยรอบ เหตุฉะนี้จึงมีนกนา ๆ ชนิดมาอาศัยทำรังอยู่ตามกิ่งไม้แทบทุกต้น ในฤดูใบไม้ผลิ...แม่นกทั้งหลายจะพากันบินมาที่สวนแห่งนี้เพื่อให้กำเนิดลูกนก ไม่นานลูกนกตัวน้อย ๆ ก็ส่งเสียงร้องจิ๊บ ๆ จ๊าบ ๆ อยู่ในรังทุกตังต่างอ้าปากน้อย ๆ ไว้คอยแม่นกที่คาบอาหารมาป้อนให้ ยามใดที่คนในบ้าน...ทั้งเด็กเล็กและผู้ใหญ่เดินมา ก็มักจะก้มลงมองดูลูกนกในรังซึ่งอยู่ต่ำมาก โดยที่พวกเขาไม่แตะต้องหรือรบกวนมัน ส่วนพวกนกก็ไม่ตกใจกลัวเลยแม้แต่น้อย แม้กระทั่งนกหงส์ตัวใหญ่ ที่มักจะบินมาพำนักอยู่บ่อย ๆ เมื่อเห็นคนเดินมาใกล้ก็ไม่หลบหนี ทั้งคนเอย นกเอย ปลา เต่า กระทั่งหนอนตัวกระจ่อยร่อยบนต้นไม้ใบหญ้า ยามนั้นสายลมโบกโบยพัดพากลีบดอกไม้ ล่องลอยโชยกลิ่นหอมกระจาย บรรยายกาสอันเปี่ยมไปด้วยความสุขของสรรพชีวิตเช่นนี้ สวนในบ้านของท่านผู้หญิง อู่หยางจวินจึงเป็นประดุจ "สวรรค์บนแดนดิน" ตงพอจวีซื่อ บุตรชายของท่านผู้หญิง ชั่วชีวิตของเขาชอบทานแต่อาหารเจ และ รักการปล่อยสัตว์ นี่ย่อมแสดงให้เห็นถึงพลังแห่งความรักและเมตตาที่ได้รับการถ่ายทอดจากผู้เป็นแม่โดยแท้ เขาเคยกล่าวว่า "ในบ้านเรือนของผู้มีเมตตา นกกระจอกจะสร้างรังอยู่ใกล้คน ด้วยหวังให้คนช่วยปกป้อง จะได้ปลอดภัยจากงูและสัตว์ร้าย แต่ที่ใด นกกระจอกสร้างรังไว้สูงและไกลลิบ นั่นก็เพราะไม่อยากให้คนเข้าใกล้ ด้วยว่า คนนั้นโหดเหี้ยมกว่างู และ สัตว์ร้ายใด ๆ เสียอีก"
หัวข้อ: คุณธรรมบรรพชน : บทสรุป
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 21/07/2011, 08:51
                     คุณธรรมบรรพชน  :  ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และเสียสละ

                              บทสรุป

        พระคัมภีร์ในพุทธศาสนากล่าวว่า เมื่อครั้งที่องค์สมด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าบรมศาสดา ประทับ ณ.เวฬุวันมหาวิหาร ใกล้กรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ เช้าวันหนึ่ง พระองค์ได้เสด็จสู่กรุงราชคฤห์เพื่อบิณฑบาต ได้ทอดพระเนตรเห็นเด็กหนุ่มคนหนึ่ง ชื่อ ลิงคาลกะ อาบน้ำทั้งเสื้อผ้าจนเปียก กำลังยกมือไหว้ทิศทางต่าง ๆ อยู่ พระองค์จึงตรัสถามเขาว่า ทำอะไร เขาตอบว่า ก่อนที่บิดาของตนจะถึงแก่กรรม ได้สั่งไว้ว่า ให้ไหว้ทิศทั้งหลาย  พระองค์จึงตรัสว่า "ในพระธรรมวินัยของพุทธศาสนาก็สอนให้ไหว้ทิศด้วย" หากแต่ไม่ได้มีลักษณะอย่างที่ ลิงคาลกะ ทำอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงแสดงธรรม เรื่อง ทิศหก  ว่าเปรียบเสมอด้วยบุคคล  6 ประเภทดังต่อไปนี้

1. ทิศเบื้องหน้า หรือ ทิศตะวันออก  ได้แก่ มารดา บิดา เพราะเป็นผู้มีพระคุณยิ่งใหญ่แก่เรา มาเป็นอันดับแรก
2. ทิศเบื้องขวา หรือ ทิศใต้ ได้แก่ ครูอาจารย์ เพราะเป็นผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ เป้นผู้ควรแก่การบูชา
3. ทิศเบื้องหลัง หรือ ทิศตะวันตก  ได้แก่ บุตรภรรยา เพราะเป็นผู้ติดตามให้กำลังสนับสนุนอยู่ข้างหลัง
4. ทิศเบื้องซ้าย หรือ ทิศเหนือ ได้แก่  มิตรสหาย  เพราะเป็นผู้ช่วยให้ข้ามพ้นอุปสรรค และเป้นกำลังสนับสนุนให้บรรลุความสำเร็จ
5 . ทิศเบื้องล่าง  ได้แก่ คนรับใช้  เพราะเป็นผู้ช่วยทำงานต่าง ๆ  เสมือนเป็นฐานกำลังสำรอง
6. ทิศเบื้องบน  ได้แก่ บรรพชิต  นักบวช  สมณะพราหมณ์ เพราะเป็นผู้สูงด้วยคุณธรรม

        ครั้นแล้วพระองค์ทรงแสดง ข้อปฏิบัติต่อบุคคลทั้ง 6 ประเถท อันเป็นรากฐานของสังคม ได้แก่ หลักปฏิบัติของมารดา  บิดากับบุตรธิดา  ครูอาจารย์กับศิษย์สามีกับภรรยา  มิตรกับมิตร  นายจ้างกับลูกจ้าง  และบรรพชิตนักบวชกับฆราวาสผู้ครองเรือน  จะเห็นได้ว่า หลักธรรมที่องค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเมตตาประทานแก่ชาวโลก เพื่อผู้ปฏิบัติจะได้ก้าวสู่ความหลุดพ้นนั้น พระองค์มิได้ทรงละเลยหรือข้ามขั้นตอน หากแต่ทรงแสดงไว้อย่างงดงาม นับแต่เบื้องบน สู่ท่ามกลาง ตลอดถึงเบื้องปลายอย่างเพียบพร้อมสมบูรณ์ยิ่ง
                                                                         จบเล่ม
หัวข้อ: Re: คุณธรรมบรรพชน : คำนำ
เริ่มหัวข้อโดย: tik ที่ 21/07/2011, 16:52
นักธรรมเว็บบอร์ดยินดีครับ ข้อมูลไหนที่มีประโยชน์ สามารนำไปใช้ได้เลยค๊าปปผม

:)