นักธรรม
ห้องสมุด "นักธรรม" => หนังสือ => คัมภีร์ => ข้อความที่เริ่มโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 6/03/2011, 20:31
-
คำนำแห่งพระจี้กงพุทธเจ้า
ด้วยอนุตตรปัญญาแยบยลแห่งพระพุทธะที่ส่องพินิจเวไนยสัตว์ทั้งหลายในใต้โลกหล้า ก็จะสามารถทราบถึงความตื้นลึกและความแตกต่างแห่งพื้นฐานของแต่ละปัจจเจกเวไนย์ได้ ฉะนั้น พระพุทธะจึงทรงใช้อุปายโกศลมาตรัสสอนอุปายวิธี อันเป็น 84,000 พระธรรมขันธ์ที่จะมาเยียวยารักษา 84,000 กิเลส จึงทราบได้ว่า พระธรรมเทศนาที่พระตถาคตตรัสจะเป็นการตรัสที่สนองต่อเหตุปัจจัยนั้น ๆ ซึ่งถึงว่าเป็นการเจียดยารักษาที่ตรงต่ออาการของโลก โดยไม่มีการตรัสสอนพระธรรมที่ตัวตายแต่อย่างใดเลย แต่โดยแท้จริงแล้ว ธรรมะแต่เดิมมิอาจกล่าวก็ไม่อาจแสดงธรรมะให้ปรากฏได้ และหากการกล่าวนี้ไม่แจ่มชัดธรรมะก็มิอาจแแจ่มแจ้งได้ด้วยเช่นกัน
การที่พระพุทธองค์ทรงเทศนาวัชรสูตรฉบับนี้นั้น จะเป็นการเทศนาในวิถีแห่งจิตแห่งพระตถาคต โดยมีเจตนาที่จะขจัดความสงสัยให้เกิดความมั่นใจเป็นหลัก ห่างลักษณะเป็นแก่น ไร้ดำรงเป็นฐาน แต่ความแยบยลแห่งความว่างแท้นี้จะมิใช่แฝงอยู่ในวาจารูปลักษณ์แต่อย่างใดเลย นั่นก็ด้วยเหตุอันจำเป็นจึงได้นำกล่าวเป็นวาจาให้รู้จักเกิดขึ้น ฉะนั้น ความหมายแห่งพระสูตรจึงมีความลึกซึ้งแยบยลจนเป็นสิ่งที่ยากจะเข้าใจได้แล้ว แต่หากยังมีบุคคลที่ได้แต่บริกรรมพระสูตรโดยไม่เข้าในถึงความหมาย ได้แต่อ่านในพระสูตรโดยไม่ถ่องแท้ในพุทธคำสอน ซึ่งแม้พระสูตรจะถูกอ่านท่องจนขาดวิ่นไปแล้วก็ตาม แต่มันก็ยังคงมิได้เกิดประโยชน์อะไรขึ้นกับเขาอยู่ดี และเมื่อเป็นเช่นนี้ ก็ยิ่งมิต้องกล่าวไปถึงเรื่อง "ใจประทับใจ แจ้งในธรรมญาณสำเร็จเป็นพระพุทธะ" ได้เลย
นับแต่บรรพกาลมา หนังสือที่ได้อธิบายความหมายของวัชรสูตรก็มีจำนวนไม่ต่ำกว่าพันเล่ม แต่ก็ช่างเป็นเรื่องที่น่าเสียดายว่า หนังสือเหล่านั้นล้วนแต่ใช้คำศัพท์แสงที่ยากจะเข้าใจมาเขียน จนได้ส่งผลให้สาธุชนชายหญิงโดยทั่วไปที่ไม่มีความรู้มากมายต่อศัพท์แสงเหล่านั้นไม่อาจเข้าใจในความหมายของพระสูตรเช่นเดิม ฉะนั้น หลายคนจึงไม่รู้ว่าจะจับต้นชนปลายอย่างไรดี และเมื่อได้เป็นเช่นนี้แล้ว จะมิใช่เป็นการทำให้วิถีแห่งจิตอันแยบยลแห่งพระตถาคตมิอาจเป็นที่ประจักษ์แจ้งแก่เวไนยนิกรหรอกหรือ ? ด้วยเหตุผลประการเหล่านี้ ข้าพเจ้าจึงมีประสงค์จะใช้คำอธิบายที่อ่านเข้าใจได้ง่ายที่สุดมาถ่ายทอดวัชรสูตรฉบับนี้เพื่อที่จะให้เป็นอีกทางเลือกหนึ่งแก่ผู้ที่อ่อนความรู้ในด้านคำศัพท์อักษรได้อ่านเข้าใจและเกิดความแจ่มแจ้งได้ แต่ก็ยังไม่ทันที่จะได้ลงมือเขียน ศิษย์ทั้งสองที่มีสกุลว่า กัว และ จาง ก็ได้นำวัชรสูตรฉบับอธิบายมาให้ดูสามเล่ม (ฉบับสือซื่อ ฉบับทงสูจี๋อี้ ฉบับซุนซื่อ) เพื่อให้ข้าพเจ้าดูว่าเล่มไหนจะมีความเหมาะสมมากกว่า ซึ่งหากเห็นว่าเล่มไหนมีความเหมาะสมและสมควรแก่การแล้ว ก็จะขออนุญาตทำการจัดพิมพ์เพื่อเผยแพร่สู่สาธารณะต่อไป และเมื่อข้าพเจ้าได้เปิดอ่านดูแล้ว ก็รู้สึกว่าทั้งสามเล่มนี้จะใช้คำศัพท์ที่อ่านเข้าใจง่าย ซึ่งแม้จะมีอยู่บางจุดที่ยังไม่สมบูรณ์อยู่บ้างก็ตาม แต่คำอธิบายที่ได้นำใช้ในหนังสือทั้ง 3 เล่มนี้จะไม่มีปัญหาของการอ่านเข้าใจยากแต่อย่างใดเลย โดยเฉพาะฉบับทงสูจี๋อี้จะมีความกระชับและเรียบง่าย ซึ่งก็มีความต้องใจของข้าพเจ้ามากที่สุด ฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงได้ยึดเอาเล่มนี้เป็นหลัก และนำฉบับของสือซื่อและซุนซื่อเป็นส่วนประกอบ โดยได้นำจุดเด่นของแต่ละเล่มมารวบรวม อีกทั้งยังได้บวกทั้งความคิดเห็นของข้าพเจ้าเอง ซึ่งก็ถือได้ว่าสำเร็จปณิธานของข้าพเจ้าที่ได้ตั้งไว้แต่เริ่มต้น และก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ผู้ที่ได้รับหนังสือเล่มนี้ในอนาคตกาลจะสามารถรู้ลึกได้คำตื้น แจ้งไกลด้วยจากใกล้ เนื่องด้วยคำกล่าวฉบับนี้และส่งผลให้รู้ซึ้งซึ่งความหมายของบทอรรถา เนื่องด้วยความหมายในบทอรรถาและส่งผลให้รู้แจ้งซึ่งพุทธะคำสอน และเมื่อยามที่ได้รู้แจ้งซึ่งพุทธะคำสอนแล้ว ก็จะบังเกิดศรัทธาเชื่อมั่นเป็นจริง กระทั่งบังเกิดปณิธานอันแรงกล้า พร้อมทั้งเจริญปฏิบัติอย่างพากเพียร ด้วยอำนาจแห่งพระสูตรนี้ ก็จะทำให้ละหลงคลายเขลา แจ้งธรรมมุ่งบำเพ็ญ แจ่มแจ้งในธรรมญาณ พิศเห็นนิจจังแท้ สำรวมใจบำเพ็ญกาย กลมใสดั่งตถตา พ้นจากทะเลทุกข์และก้าวสู่ทิพยสถาน ละมายาสู่สัจจา ให้พ้วงร่วมบรรลุสู่ความแยบยลแห่งอนุตตร แลทั้งร่วมเสวยเกียรติภูมิแห่งอนันตแดนกันสืบไป สิ่งเหล่านี้ ก็คือความหวังที่ข้าพเจ้าได้คาดหวังแล
จารึก
วันที่ 9 เดือน 3 (จันทรปฏิทิน) ปีหมินกั๋วที่ 72 (1938)
สงฆ์วิปราศแห่งหนันผิน ณ พุทธสถานของจางซื่อ
-
คำนิยมของพระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงแห่งเฉาซี
อันวัชรสูตรนั้น ได้ถือเอาไร้ลักษณะเป็นแก่น ไร้ดำรงเป็นฐาน แยบยลมีเป็นศักยะ ฉะนั้น ในสมัยที่พระโพธิธรรมตั๊กม๊อได้เดินทางจารึกจากชมพูทวีปมาเผยแผ่เจตนาแห่งพระสูตรฉบับนี้ ก็เพื่อต้องการให้ชาวโลกได้แจ้งในแก่นและเห็นจริงในธรรมญาณ เพียงแต่ชาวโลกไม่อาจเห็นในธรรมญาณตน ดังนั้นจึงได้บัญญัติธรรมให้เป็นแนวทางในการเห็นแจ้งในธรรมญาณนี้ขึ้น ครั้นชาวโลกได้เห็นแจ้งในองค์เดิมแห่งตถตาแท้แล้ว ยามนั้นก็ไม่จำเป็นต้องอาศัยธรรมบัญญัตินี้อีกต่อไป
พระสูตรเล่มนี้ได้มีผู้สวดบริกรรมอย่างมากมาย อีกทั้งผู้ที่ประกาศสรรเสริญก็มีจำนวนมากอย่างนับไม่ถ้วน ส่วนผู้ที่ได้ทำการอรรถานั้นก็มีมากจนถึง 800 สำนักเศษ แต่เหตุผลที่แต่ละสำนักได้นำแสดงก็จะมีความแตกต่างกันไปตามความเข้าใจของแต่ละฝ่าย และถึงแม้จะมีความเข้าใจที่แตกต่างกันอย่างไรก็ตาม ธรรมนี้ก็มิอาจผิดแผกจนเป็นสองได้ สำหรับจุดนี้ หากผู้ใดได้มีพื้นฐานที่แน่นหนามาแต่อดีต ยามเมื่อได้ฟังก็จะสามารถรู้แจ้งในบัดดล แต่สำหรับผู้ที่ไม่มีรากปัญญามาแต่ก่อน แม้จะสวดบริกรรมอย่างมากสักเพียงใด ก็ยังคงไม่สามารถเข้าใจในพุทธเจตนาได้อยู่ดี ฉะนั้น จึงได้ทำการอธิบายในอริยความเพื่อที่จะเป็นแนวทางในการขจัดความสงสัยของผู้ศึกษา และหากได้เข้าใจในแก่นแท้ของพระสูตรนี้จนสิ้นความสงสัยแล้ว เวลานั้น ก็มิจำเป็นต้องพึ่งคำกล่าวอธิบายอีกต่อไป
สำหรับกุศลธรรมทั้งปวงที่พระตถาคตทรงแสดงมาแต่ต้น ก็เป็นเพราะต้องการขจัดอกุศลจิตของเวไนยสัตว์เท่านั้น ซึ่งพระสูตรก็คือวจนะแห่งพระอริยเจ้า อันเป็นวจนะที่จะนำพาผู้สดับให้ดับจิตลุ่มหลงและพาให้พ้นจากสามัญบถไปสู่อริบถ แต่ในความเป็นจริงแล้ว พระสูตรฉบับนี้ได้มีพร้อมอยู่แล้วในธรรมของเวไนยสัตว์ เพียงแต่เวไนยสัตว์ไม่ได้เห็นถึงความคงอยู่เท่านั้นเอง อนึ่ง แม้ว่าจะเป็นการสวดบริกรรมพระสูตร แต่หากรู้แจ้งในจิตเดิมหละก็ ในยามนั้นก็จะได้รู้ว่า แก่นของพระสูตรฉบับนี้ไม่ได้อยู่ที่ตัวบทอักษรแต่อย่างใดเลย ซึ่งหากยิ่งสามารถแจ่มแจ้งในธรรมญาณของตนด้วยแล้ว ในยามนั้นก็จะมีความเชื่อมั่นได้ว่า โดยแท้แล้วพระพุทธทั้งปวงล้วนได้ถือกำเนิดขึ้นจากพระสูตรนี้ทั้งสิ้น เกรงแต่เพียงผู้คนจะไปค้นหากันแต่พระพุทธะและพระสูตรจากภายนอก โดยที่ไม่รู้จักเปิดใจศรัทธาและถือพระสูตรแห่งภายใน ด้วยเหตุผลประการนี้จึงได้ทำงานบัญญัติวิชานี้ขึ้นมาเพื่อให้เป็นแนวทางในการให้ผู้ศึกษาได้ถือพระสูตรแห่งใจภายในและได้เห็นแจ้งด้วยตนเอง จนในที่สุดได้ค้นพบพระพุทธะอันบริสุทธิ์แห่งตน กระทั่งเป็นสิ่งที่มิอาจคิดจินตนาการได้ด้วยปริมาณใด ๆ อีกต่อไปนั่นเอง
หากผู้ศึกษาในรุ่นหลังที่ได้ถือพระสูตรนี้แล้วยังเกิดความสงสัย ก็ขอให้อ่านบทอรรถาเล่มนี้ ยามนั้นก็จะสามารถคลายความสงสัยโดยมิต้องใช้เคล็ดใช้วิชาใด ๆ อีก ซึ่งจะขอตั้งความหวังกับผู้ศึกษาเช่นนี้ว่า เปรียบดั่งทองที่ฝังอยู่ในแร่ ที่สามารถใช้ไฟแห่งปัญญามาหล่อหลอมจนเกิดความสุขสกาวแห่งเนื้อทองคำบริสุทธิ์ขึ้นนั่นเอง
อาจารย์แห่งเรา พระศากยมุณีพุทธเจ้าได้ตรัสพระสูตรฉบับนี้ ณ มณฑลอารามแห่งเมืองสาวัตถี ด้วยเหตุจากการที่สุภูติได้ทูลถามในการครั้งนั้น ซึ่งพระองค์ก็ตรัสแสดงด้วยพระเมตตาจนเป็นที่กระจ่าง และเมื่อสุภูติได้สดับจนบังเกิดความรู้แจ้งแล้ว ก็ได้กราบขอให้พระพุทธองค์ทรงประทานนามให้แก่พระสูตรนี้ขึ้น เพื่อใช้สำหรับเป็นบรรทัดฐานของการปฏิบัติแก่ชนรุ่นหลังต่อไป ฉะนั้น ในพระสูตรจึงกล่าวไว้ว่า "พระพุทธองค์ทรงตรัสต่อสุภูติว่า พระสูตรนี้มีนามว่า วัชรปรัชญาปารมิตาสูตราศัยชื่อนามนี้ เธอพึงรับไปปฏิบัติ"
เหตุที่พระตถาคตได้นำเอาวัชรมาเป็นนามแห่งพระสูตรนี้นั้น ก็เป็นเพราะญาณแห่งมนุษย์เราไร้ความแข็งแกร่ง กล่าวคือ แม้ปากได้ท่องพระสูตรแต่ก็ไม่มีอันได้บังเกิดความสกาวแห่งใจขึ้นมาเลย แต่หากได้ท่องสาธยายพระสูตรจากภายนอก อีกทั้งยังได้ปฏิบัติที่ภายในด้วยแล้ว ยามนั้นความสว่างแห่งจิตใจก็จะปรากฏ อนึ่ง ถ้าหากภายในไร้ความแข็งแกร่ง สมาธิปัญญาก็จะสูญมลาย แต่เมื่อยามใดที่ปากได้ท่องใจได้ปฏิบัติแล้ว ยามนั้นสมาธิปัญญาก็จะพรั่งพร้อม และเช่นนี้จึงจะเรียกได้ว่าเป็นที่สุดได้จริงแล
แร่วัชรอยู่บนหุบเขาโดยที่หุบเขาไม่รู้ว่าเป็นสมบัติฉันใด สมบัติก็ไม่รู้จักหุบเขานี้ด้วยฉันนั้น เพราะคนเรามีญาณจิตที่จะสามารถขุดสมบัตินี้ขึ้นมาใช้โดยไม่มีนายช่างคอยสกัดทำลายหุบเขา และนำแร่นี้ไปหล่อหลอมจนได้วัชรสมบัติอันบริสุทธิ์ ตลอดจนสามารถนำวัชรนี้ไปใช้เพื่อป้องกันความยากได้ตามใจประสงค์ เราจึงทราบได้ว่า วัชรและหุบเขาเป็นฉันใด พุทธญาณที่เป็นสมบัติภายในร่างกายที่ประกอบขึ้นด้วยธาตุทั้ง 4 ก็เป็นฉันนั้น โดยร่างกายให้อุปมาเป็นโลกธาตุ อาตมะบุคคละให้อุปมาเป็นหุบเขา กิเลสคือแร่ วัชรคือพุทธญาณ ปัญญาคือนายช่าง ความวิริยะอันเฉียบขาดคือการสกัด โดยในกายที่เป็นโลกธาตุนี้ได้มีเขาอาตมะบุคคละ และในเขาอาตมะบุคคละเช่นนี้ก็ได้มีแร่แห่งกิเลส ภายในแร่ชนิดนี้ได้มีพุทธญาณสมบัติ ในสมบัติแห่งพุทธญาณนี้ก็ได้มีนายช่างปัญญาโดยได้ใช้นายช่างปัญญานี้มาสกัดทำลายเขาอาตมะบุคคละ และเมื่อได้เห็นแร่กิเลสแล้วก็ใช้ไฟแห่งรู้แจ้งมาเผาหลอม จนกระทั่งได้เห็นพุทธวัชรญาณที่ยังคงจรัสอำไพปรากฏอยู่ ด้วยเหตุฉะนี้ พระพุทธองค์จึงทรงนำเอาวัชรนี้มาเป็นนามและอุปมานั่นเองแล สำหรับผู้ที่ได้แต่เข้าใจโดยไม่นำไปปฏิบัติ ก็เปรียบดั่งการมีแต่นามโดยไร้แก่นสาร แต่สำหรับผู้ที่ได้มีทั้งความเข้าใจและนำไปปฏิบัติได้นั้น จึงจะถือได้ว่ามีพร้อมทั้งนามและแก่นสารเคียงคู่กัน ซึ่งหากไม่บำเพ็ญก็คือปุถุชน และเมื่อยามที่ได้บำเพ็ญก็จะเทียบเท่าพระอริยะผู้ทรงปัญญา ฉะนั้น จึงได้นามว่าวัชรนั่นเองแล.
-
เพื่อให้สะดวกแก่การอธิบาย จึงขอนำวัชรปรัชญาปารมิตาสูตรคำนี้มาแยกอธิบายเป็น 4 ตอนด้วยกันคือ
1. วัชร : คำว่าวัชรนี้ ในหนังสือหลายเล่มได้อธิบายว่าเป็นเหล็กเหนือเหล็กที่มีความแกร่งคมและสามารถตัดทุกสิ่งได้ แต่โดยความจริงแล้ว ที่ประเทศอินเดียและดินอดนเขตชายน้ำหลายแห่งก็ได้มีหินวัชรนี้อยู่จริง ซึ่งถือว่าเป็นอัญมณีอันมีค่าที่หาได้ยากชนิดหนึ่ง โดยวัชรจะเป็นแร่ชนิดหนึ่ง ที่มีลักษณะโปร่งแสงและมีโครงสร้างรูปปิรามิดทรงแปดเหลี่ยม เมื่อยามที่แร่ชนิดนี้ได้ต้องกับแสงแดดหรือแสงไฟ ก็จะสามารถเปร่งประกายสีทองอันสดใส คุณสมบัติของแร่ชนิดนี้จะมีความคมแกร่งมาก ซึ่งสามารถนำมาตัดกระจกแกะสลักหิน หรือใช้สำหรับทะลวงชั้นหินได้ดิน อีกทั้งยังใช้เป็นเครื่องขัดอัญมณีทุกชนิดได้ ฉะนั้นจึงถือได้ว่า แร่วัชรมีความคมแกร่งที่สุดในบรรดาแร่หินทั้งปวง ด้วยเหตุผลดังนี้จึงได้ตั้งชื่อให้แก่แร่ชนิดนี้ว่าวัชรนั่นเอง อันว่าความแกร่งของวัชรก็คือ แม้จะหมุนเวียนอยู่ใน 6 วิถีอันเป็นเวลานานถึงร้อยกัปพันกัลป์ก็ตาม แต่ธรรมชาตติแห่งความรู้แจ้งนี้ก็ไม่มีวันบุบสลาย อันว่าความคมของวัชรนี้ก็คือ มีความสามารถที่จะส่องเห็นซึ่งความว่างแห่งสรรพธรรมและทลายสิ้นซึ่งเครื่องกั้นแห่งอวิชชา โดยไม่อาจมีแห่งใดที่จะรอดพ้นจากการฉายส่องนี้ได้ หรือจะกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ อันความแกร่งแห่งวัชรนี้ อุปมาได้ดั่งองค์แห่งปรัชญา อันความคมแห่งวัชรนี้ อุปมาได้ดั่งศักยะแห่งปรัชญานั่นเอง
2 . ปรัชญา : คำ ๆ นี้ได้ถอดมาจากบาษาสันสกฤต ซึ่งหนังสือหลายเล่มจะแปลเป็นคำว่าปัญญา แต่หากลำพังจะใช้แค่คำว่าปัญญาอย่างเดียวแล้ว ก็จะทำให้เกิดความสับสนกับความหมายของปัญญาที่หลายคนได้ใช้กันอย่างสามัญทั่วไป ฉะนั้น จึงได้เติมคำว่าแยบยลลงไปด้วย ซึ่งเช่นนี้ก็จะสามารถป้องกันการเข้าใจผิดด้วยเหตุนี้ไปได้ จุดนี้จะขอยกตัวอย่างสมมุติให้เห็นด้วยคำว่าหลักกล่าวคือ หากเราจะทำการแจกแจงคำว่า หลัก ออกดูแล้วก็จะสามารถแบ่งออกเป็นหลักระดับหยาบ ระดับละเอียด ระดับจุล ระดับลึกซึ้งและระดับแยบยลได้ อันหลักอย่างหยาบนั้นเป็นเรื่องทีุ่คุยกันได้ง่าย ส่วนหลักละเอียดนั้นต้องใช้เวลาในการอธิบาย ด้านหลักจุลนั้นก็ถือว่าเป็นเรื่องที่พูดกันให้เข้าใจได้ยาก ด้านหลักลึกซึ้งแม้จะยากแต่ก็ยังพอคุยกันได้ แต่หากต้องถึงระดับแยบยลแล้วจุดนี้ก็มิอาจกล่าวอะไรได้อีก ด้วยเหตุฉะนี้ จึงขอนำคำว่าแยบยลผนวกเข้ากับคำว่าปัญญาด้วย เช่นนี้ก็จะทำให้มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้นแล
3 . ปารมิต : คำ ๆ นี้เป็นคำที่ถอดเสียงมาจากภาษาสันสกฤต เมื่อแปลจากภาษาจีนแล้วจะมีความหมายว่าไปสู่ฝั่งโน้น และสำหรับสาเหตุที่ต้องกล่าวว่าไปสู่ฝั่งโน้นนั้น ก็เป็นเพราะเวไนยสัตว์มักจะถูกคำว่า "อัตตา" มามอมเมาจนทำให้ต้องจมปลักอยู่ในทะเลทุกข์กังวลแห่งการเกิดตายและไปสู่ดินแดนอันสงบสุขสันต์ที่ไม่เกิดไม่ดับแล้ว เช่นนี้ก็คือการข้ามสู่ฝั่งโน้นก็จะมีความแตกต่างระหว่างความฉับพลันและคงามเชื่อช้าเกิดขึ้น กล่าวคือ เมื่อยามที่ได้สดับมหาธรรมแล้วสามารถรู้แจ้งว่าขันธ์ 5 เดิมนั้นว่างเปล่า อายตนะมิได้มีจริง ซึ่งเป็นการรู้แจ้งโดยพลันทั้งกายและใจต่อมหาธรม สิ่งนี้คือความฉับพลัน ส่วนความเชื่อช้านั้นจะเนื่องด้วยความศรัทธาและนำไปสู่ความเข้าใจ จากความเข้าใจนำไปสู่การปฏิบัติ จากการนำปฏิบัตินำไปสู่การบรรลุ ซึ่งเป็นการบำเพ็ญก้าวหน้าอย่างเป็นลำดับขั้นตอน และสุดท้ายก็ลุสู่การรู้แจ้ง ได้เช่นเดียวกัน โดยจุดนี้ แม้ความฉับพลันและเชื่องช้าจะมีความแตกต่าง แต่ฝั่งโน้นที่ได้ไปสู่จะมิได้มีความผิดเพี้ยนกันเลยแล
4 . สูตร : คำว่าสูตรนี้สามารถอธิบายว่าหนทาง ซึ่งก็คือหนทางสายหนึ่งของการบำเพ็ญธรรมนั่นเองแล
สรุปความแล้วก็คือ สำหรับจุดประสงค์ของการบำเพ็ญธรรมนั้นก็เพื่อฉุดช่วยตนและฉุดช่วยคน และสำหรับญาณแท้แห่งเรานั้น แต่เดิมก็เป็นความว่างเปล่าที่ปราศจากมลทิน เป็นสิ่งที่ดำรงอยู่อย่างนิรันดร์ด้วยแม้นกาลนทีจะล่วงเลยไปเป็นกัปเป็นกัลป์ แต่ก็น่าเสียดายที่ได้ถูกความทะยานอยากกลบบัง จนกระทั่งได้จมปลักอยู่ในทะเลทุกข์แห่งการเกิดตายจนมิอาจหลุดพ้นออกมาได้ แต่พระพุทธองค์แห่งเราผู้เมตตาก็ได้ตรัสสอนพระสูตรฉบับนี้ขึ้นด้วยมีเจตนาที่จะตัดความกลัดกลุ้มแห่งเวไนยสัตว์ให้หลุดพ้นจากทะเลทุกข์จนได้ก้าวสู่ฝั่งโน้น (ฝั่งนิรวัณ) อันเป็นดินแดนของที่สุดแห่งการหลุดพ้น แต่การที่จะให้ถึงระดับนี้ได้นั้น หากมิใช่ได้บำเพ็ญจนมีปัญญาแยบยลแล้ว การหลุดพ้นก็มิอาจที่จะเป็นจริงขึ้นมาได้เลย และการที่จะให้ได้มาซึ่งปัญญาแยบยลนั้น หากมิใช่มีความคมแกร่งและรัศมีอันประกายดุจวัชรแล้ว ปัญญาแยบยลก็มิอาจที่จะเป็นจริงได้ด้วยดุจกัน และหากได้ปราศจากมลทินแห่งโลกีย์และไปตัดสิ้นซึ่งความเพ้อฝันทั้งหลายแล้ว เช่นนี้ก็จะสามารถตัดมิจฉามารให้สิ้นพันธ์ไปจากตน สังหารภูติผีให้มวดม้วยไปไกลสุดตา ทั้งมีความวิริยะที่กล้าแกร่ง แจ่มแจ้งในธรรมญาณตน จนกระทั่งได้ก้าวสู่ฝั่งโน้น (ฝั่งนิรวัณ) และร่วมเสวยสุขกับปวงพระพุทธะโพธิสัตว์เป็นที่สุดแล
-
วัชรสูตรฉบับนี้ แต่เดิมได้รวมอยู่ในผูกที่ 577 ของมหาปรัญาสูตร ซึ่งนักปราชน์ในอดีตต่างวิจารณ์พระสูตรเล่มนี้ว่ามีค่าดั่งคัมภีร์หลุนหยวี่ของสำนักขงจื่อ ซึ่งแม้ตัวอักษรจะมีจำกัด แต่ก็มีนัยอันมหัศจรรย์ที่มิอาจกล่าวให้สิ้นได้ด้วยอักษรเหล่านั้นเลย พระตถาคตทรงเทศนามหาปรัชญาสูตรเป็นจำนวนทั้งสิ้น 600 ผูก โดยได้แบ่งวาระการเทศนาเป็นจำนวน 16 ครั้งใน 4 สถานที่ และวัชรสูตรฉบับนี้พระพุทธองค์ได้ทรงเทศนาไว้เมื่อครั้งประชุมธรรมครั้งที่ 9 ที่ได้จัดขึ้น ณ เชตวันมหาวิหาร อันเป็นวิหารธรรมที่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของเมืองสาวัตถีที่อยู่ทางภาคกลางในประเทศอินเดียนั่นเอง
ประชุมธรรม 16 วาระใน 4 สถานที่ มีรายละเอียดดังนี้
ประชุมธรรม ณ คิชกูฏบรรพตแห่งเมืองราชคฤห์ 6 ครั้ง
ประชุมธรรม ณ พระเชตวันมหาวิหารแห่งเมืองสาวัตถี 3 ครั้ง
ประชุมธรรม ณ ปรนิมตวสวัสดีแห่งสวรรค์ชั้นที่ 6 1 ครั้ง
ประชุมธรรม ณ พระเชตวันมหาวิหารแห่งเมืองสาวัตถี 4 ครั้ง
ประชุมธรรม ณ คิชกูฏบรรพตแห่งเมืองราชคฤห์ 1 ครั้ง
ประชุมธรรม ณ เวฬุวันแห่งเมืองราชคฤห์ 1 ครั้ง
-
ประวัติของท่านพระกุมารชีพ (ผู้ถ่ายทอดพระสูตรเป็นภาษาจีน)
พระกุมารชีพเป็นชาวอินเดีย บิดาของท่านมีนามว่า กุมารยณะ มารดาของท่านเป็นพระขนิษฐาแห่งกษัตริย์แคว้นกุฉา มีพระนามว่า ชีพะ (แคว้นกุฉาก็คือ คู่เชอของมณฑลซินเกียงในปัจจุบัน) พระกุมารชีพได้กำเนิดที่แคว้นกุฉา นามของท่านได้รวมเอาชื่อของบิดาและมารดารวมเข้าด้วยกัน คือคำว่ากุมารและชีพ ในสมัยที่ท่านกุมารชีพอายุได้ 7 ขวบ กุมารชีพก็ออกติดตามมารดาเดินทางท่องเที่ยวไปทั่ว โดยท่านได้ไปศึกษาพระธรรมหิมยานกับท่านผันโถวต๋าตัว ที่แคว้นโกเผนแห่งดินแดนทางตอนเหนือของอินเดีย จากนั้นได้ไปศึกษาพระธรรมมหายานที่แคว้นกาษคารกับท่านซีลี่เหยียสั่วหมอ ครั้นได้สำเร็จในวิชาก็ได้เดินทางกลับมายังแคว้นกุฉาและศึกษาพระธรรมวินัยต่อที่นั่นกับท่านเปยหมอหลัวอี้อีก และนับจากนั้นก็ออกประกาศมหายานธรรมที่แคว้นกุฉาเรื่อยมา
ครั้นถึงสมัยราชฉินสมัยที่หนึ่ง พระมหากษัตริย์ที่มีพระนามว่าฝูเจียน (ค.ศ. 338 - 385) ได้มีพระราชโองการให้นายพลทหารม้าที่มีนามว่าหลวี่กวงออกไปปราบแคว้นกุฉา ซึ่งในเวลานั้น นายพลหลวี่กวงได้รับชัยชนะทั้งยังได้นิมนต์เชิญท่านพระกุมารชีพมาด้วย จากนั้นจึงได้ลี้พลกลับไปที่เมืองเหลียงโจว แต่ก็ได้ทราบข่าวมาว่ากษัตริย์ฝูเจียนทรงพ่ายแพ้แก่ข้าศึก แม่ทัพหลวี่กวงจึงได้ครองกำลังพลและตั้งตัวเป็นเอกราชที่เหลียงโจวเสียเอง ในกาลครั้งนั้น พระมหากษัตริย์เหยาซิง ผู้ซึ่งเป็นราชโอรสของเหยาฉางแห่งราชวงศ์ฉินสมัยที่สองก็ทรงกรีฑาทัพออกปราบแม่ทัพหลวี่กวงจนแพ้พ่าย ทั้งยังได้นิมนต์เชิญพระกุมารชีพกลับสู่ฉางอัน พร้อมทั้งทรงประทานการต้อนรับราชพิธีระดับสูง และนิมนต์ให้ท่านอยู่แปลพระคัมภีร์ที่สวนปัจฉิมไสว (ซีหมิงเอวี๋ยน) และสวนหรรษา (เซียวเหยาเอวี๋ยน) ซึ่งพระกุมารชีพก็ได้แปลพระไตรปิฏกจนสำเร็จลุล่วง รวมทั้งสิ้น 74 หมวด 380 ผูกเศษ
พระกุมารชีพได้มรณะที่มหาวิหารฉางอัน เมื่อสมัยปีศักราชหงสื่อที่ 15 เดือน 8 แห่งราชวงศ์ฉินสมัยที่สอง รวมสิริอายุได้ 74 ปี พระกุมารชีพมีฉายานามว่า ซันจั้ง (ซำจั๋ง) คำว่าซันจั้งนี้มีความหมายว่าพระไตรปิฏกที่ประกอบด้วย พระสุตตันตปิฏก พระวินัยปิฏกและพระอภิธรรมปิฏกนั่นเอง เนื่องด้วยท่านเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญรอบรู้ในพระไตรปิฏก ดังนั้นท่านจึงมีฉายานามว่า พระธรรมาจารย์ซันจั้ง (ซำจั๋ง) ในกาลครั้งนั้น
-
ความเป็นมาของการแบ่งหมวดหมู่พระสูตร
สำหรับวัชรปรัชญาปารมิตาสูตรฉบับนี้จะมีด้วยกันทั้งสิ้น 32 บรรพ ซึ่งได้ถูกแบ่งเป็นหมวดหมู่โดยราชบุตรเจาหมิง แห่งราชวงศ์เหลียง แต่สำหรับต้นฉบับดั้งเดิมของวัชรสูตรนี้จะไม่มีการแบ่งเป็นหมวดหมู่เหมือนอย่างที่เราได้เห็นกันในปัจจุบัน 32 บรรพแห่งวัชรสูตรฉบับนี้จะสามารถแบ่งทำการแบ่งให้เป็นหมวดหมู่ใหญ่ ๆ ได้ 3 ส่วน คือ ส่วนของบทนำ ส่วนของบทสาระ และส่วนของบทเผยแพร่
ในส่วนของบทนำนี้ จะครอบคลุมเฉพาะบรรพที่ 1 ซึ่งเป็นบรรพที่ได้บรรยายถึงเหตุการณ์ความเป็นมาของการประชุมธรรมนั่นเอง แต่ทั้งนี้ยังสามารถแบ่งย่อยออกเป็นบทนำสามัญและบทนำริเริ่มสองประเภท โดยในส่วนของบทนำสามัญนี้จะเริ่มตั้งแต่ดั่งที่เราได้สดับกระทั่งถึง 1250 รูป ซึ่งในส่วนนี้จะยังคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ที่เหมือน ๆ กับพระสูตรเล่มอื่น ๆ อยู่ แต่ในส่วนของบทนำริเริ่มนี้จะเริ่มตั้งแต่ ในเวลานั้นเป็นเวลาฉันภัตตาหารของพระผู้มีพระภาคเจ้ากระทั่งถึงจัดแต่งอาสนะแล้วประทับนั่ง สำหรับจุดนี้ จะเป็นเอกลักษณ์ของพระสูตรที่ไม่มีเหมือนกับพระสูตรเล่มอื่น ๆ เลย
ส่วนของบทสาระนั้น จะครอบคลุมเนื้อหาตั้งแต่บรรพที่ 2 จนถึงบรรพที่ 31 ซึ่งในส่วนนี้ทั้งหมดจะเป็นส่วนที่ทำการอรรถาถึงแก่นสาระของพระสูตรทั้งเล่ม
ในส่วนของบทเผยแพร่นี้ จะมีเฉพาะแต่บรรพที่ 32 ซึ่งมีนัยแห่งการประกาศเผยแพร่ให้เป็นที่รับรู้กันอย่างกว้างขวางในอนาคตกาลนั่นเอง
-
ความเป็นมาของการประชุมธรรม
สำหรับความเป็นมาของการประชุมธรรมนั้น จะเริ่มตั้งแต่เวลาที่พระอานนท์ได้ทำการจดจำพระสูตรเล่มนี้นั่นเอง พระอานนท์ก็คือหนึ่งในสิบอัครสาวกของพระพุทธเจ้า ซึ่งคำว่า อานนท์ นี้ จะมีความหมายว่า ไร้มลทิน ความเพลิดเพลิน ความยินดี พระอานนท์จะเป็นศิษย์สาวกที่คอยถวายอุปัฏฐากพระพุทธเจ้าอย่างใกล้ชิดเป็นประจำ และในช่วงปัจฉิมวัยแห่งพระพุทธเจ้า อันเป็นสมัยที่พระพุทธเจ้าทรงประทับอยู่ ณ เมืองกุสุนารา ในเวลานั้นเป็นกาลที่พระพุทธองค์ใกล้สู่ปรินิพพาน ซึ่งเมื่อพระอานนท์ได้ทราบดังนี้ ก็เกิดอาการเศร้าโศกสะอื้นไห้อย่างมิอาจระงับ ในขณะนั้นได้มีพระสงฆ์รูปหนึ่งนามว่า สุภัททะ มาถึงเมื่อได้เห็นพระอานนท์มีความทุกข์ระทมจนถึงเพียงนี้ จึงได้ให้คำเตือนแก่พระอานนท์ว่า "เมื่อสมัยที่พระอาจารย์ยังทรงอยุ่ พวกเรายังสามารถถามปัญหาให้เป็นที่คลายความข้องใจได้ แต่หากพระอาจารย์ได้จากพวกเราไปแล้ว เวลานั้นเราจะไปถามใครที่ไหนได้อีก การร้องไห้ไม่เกิดประโยชน์อะไรขึ้นหรอก มิสู้อาศัยตอนนี้ที่พระอาจารย์ยังทรงอยู่ มีคำถามอยู่ 4 ข้อที่เธอสามารถกราบทูลพระอาจารย์ได้
ข้อที่หนึ่ง เมื่อพระอาจารย์ได้เสด็จปรินิพพานแล้ว เราควรถือใครเป็นครู
ข้อที่สอง เมื่อพระอาจารย์ได้เสด็จปรินิพพานแล้ว เราควรถือสิ่งใดเป็นสรณะ
ข้อที่สาม เมื่อพระอาจารย์ได้เสด็จปรินิพพานแล้ว เราควรถือสิ่งใดเป็นธรรม
ข้อที่สี่ สำหรับคำเริ่มต้นของพระสูตรนี้ ควรใช้คำพูดใดดี
สำหรับคำถามข้อที่หนึ่ง พระตถาคตทรงตอบว่า พวกเธอพึงถือศีลวินัยเป็นครู
สำหรับคำถามข้อที่สอง พระตถาคตทรงตอบว่า ควรถือสติปัฏฐาน 4 เป็นสรณะ
(สติปัฏฐาน 4 มีรายละเอียดดังนี้ คือ
1. กายานุปัสสนา ประกอบด้วย ชาติพันธุ์คืออศุภา ถิ่นอาศัยคืออศุภา ยามอยู่คืออศุภา ยามตายคืออศุภา ที่สุดคืออศุภา
2. เวทนานุปัสสา หมายถึงการเสพทั้งปวงในโลกนี้ล้วนแต่เป็นความทุกข์ทั้งสิ้น
3. จิตตานุปัสสนา จิตที่อนิจจังแห่งมนุษย์เราจะมิใช่จิตเดิมแท้แห่งเรานั่นก็เพราะมีความฟุ้งซ่านสับสนนั่นเอง ฉะนั้น จิตมโนธรรมแท้จึงมิอาจปรากฏได้
4. ธัมมานุปัสสนา ความทุกข์ยากทั้งปวงแห่งมนุษย์ล้วนได้เกิดขึ้นเพราะถูกคำว่าอัตตานี้มามอมรัดทั้งสิ้น ซึ่งโดยความจริงแล้วทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ล้วนไม่มีตัวตนแล)
สำหรับข้อที่สาม พระตถาคตทรงตอบว่า จงเมินเฉย ที่แท้แล้วเมื่อสมัยที่พระอานนท์ได้ถามว่าควรถือสิ่งใดเป็นธรรมนั้นก็เป็นเพราะศิษยานุศิษย์ที่อยู่ในมณฑลพิธีแห่งการประชุมธรรมนั้นต่างก็มีระดับพื้นฐานและความมั่นใจที่ไม่สม่ำเสมอ และหากได้เกิดมีศิษย์ที่เจริญออกนอกลู่นอกทางไปแล้ว ควรจะทำการอบรมสั่งสอนเขาอย่างไร ด้วยเหตุนี้ พระตถาคตจึงตรัสว่า จงเมินเฉย ซึ่งคำว่า จงเมินเฉย นี้ จะมีความหมายว่า ไม่สนใจ ไม่ร่วมมือ นั่นเอง
สำหรับข้อที่สี่ พระตถาคตทรงตอบว่า ดั่งที่เราได้สดับ สำหรับคำ ๆ นี้ ที่แท้ก็คือคำรับรองที่ใช้พิสูจน์ว่า พระสูตรนี้ไม่มีความผิดพลาดอย่างแน่นอน ซึ่งคำ ๆ นี้จะปราฏกในทุก ๆ พระสูตร เพื่อเป็นสิ่งประกันให้เกิดความมั่นใจแก่เวไนยสัตว์ในอนาคตกาลนั่นเอง
-
1.ความเป็นมาของการประชุมธรรม
ดั่งที่เราได้สดับ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ เมืองสาวัตถีที่เชตวนารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ 1.250 รูป เวลานั้นเป็นเวลาฉันภัตตาหารพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงครองจีวร ทรงบาตร และเสด็จสู่มหานครสาวัตถีบิณฑบาต อยู่ในเมืองนี้ บิณฑบาตโดยบำดับจนครบจำนวน ครั้นแล้วเสด็จกลับมายังเชตวนาราม ฉันภัตกิจเสร็จ เก็บบาตรจีวรชำระพระบาท จัดแต่งอาสนะแล้วประทับนั่ง
2. สุภะ ประกาศอัญเชิญ
ขณะนั้น อาวุโสสุภูติที่อยู่ท่ามกลางประชุมสงฆ์ ได้ลุกจากอาสนะเฉวียงจีวรเปลือยแขนไหล่ขวา คุกเข่าขวาลงพื้น ประคองอัญขลีพลางกราบทูลถามพระองค์ว่า "หาได้ยากนักหนา ข้าแต่ผู้มีพระภาคเจ้า ! ตถาคตทรงคุ้มครองห่วงใยอันดีต่อเหล่าพระโพธิสัตว์ ทรงอบรมสั่งสอนอันดีต่อเหล่าพระโพธิสัตว์ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! เมื่อกุลบุตร กุลธิดาบังเกิดอนุตรสัมมาสัมโพธิจิตแล้ว ควรดำรงให้คงอยู่อย่างไร ? และควรสงบจิตนี้อย่างไร ? " พระพุทธองค์ตรัสว่า "เจริญพร เจริญพร สุภูติ ! ดังที่เธอกล่าว ตถาคตทรงคุ้มครองห่วงใยอันดีต่อเหล่าพระโพธิสัตว์ และอบรมสั่งสอนอันดีต่อเหล่าพระโพธิสัตว์ เธอจงตั้งใจฟัง เราจักแสดงแก่เธอ" "กุลบุตร กุลธิดา เมื่อบังเกิดสัมมาสัมโพธิจิตแล้ว ควรดำรงจิตของตนให้คงอยู่เช่นนั้น ควรสงบจิตของตนเช่นนั้น " สาธุ พระสุคต ! ขัาพระองค์มีความปลาบปลื้มยินดีเฝ้าคอยสดับอยู่"
3. มหายาน ศาสตร์แท้
พระพุทธองค์ตรัสแก่สุภูติว่า "เหล่าเวไนยสัตว์ มหาสัตว์ ควรสยบใจเช่นนี้ สรรพสัตว์ทั้งหลาย ไม่ว่าจะเกิดจากอัณฑชะก็ดี เกิดจากชลาพุชะก็ดี เกิดจากสังเสทชะก็ดี เกิดจากอุปปติกะก็ดี หรือจักมีรูปก็ดี ไม่มีรูปก็ดี มีสัญญาหรือไ้ร้ (สิ้น) สัญญาก็ดี หรือจักมิมีสัญญาหรือมิไร้ (สิ้น) สัญญาก็ดี เราล้วนชักนำเข้าสู่อนุปาทิเสสนิพพานและขจัดฉุดฃ่วย ด้วยการขจัดฉุดช่วยสรรพสัตว์ที่จำนวนมิอาจประมาณนับได้นี้ ความจริงแล้วหาได้มีสรรพสัตว์ใด ๆ ได้รับการขจัดฉุดช่วยเลย เพราะเหตุใด ? สุภูติ ! หากพระโพธิสัตว์มีอาตมะลักษณะ บุคคละลักษณะ สัตวะลักษณะ ชีวะลักษณะแล้ว ก็จะมิใช่พระโพธิสัตว์ ?
-
4. สังขาร (ดำเนิน) แยบยล ไร้ดำรง
"อนึ่ง สุภูติ ! ในธรรมนั้น พระโพธิสัตว์ควรบริจากทานโดยไร้ดำรงกล่าวคือ จักบริจาคทานโดยไร้ดำรงในรูป ไร้ดำรงในเสียง กลิ่น รส สัมผัส และธรรมารมณ์ สุภูติ ! พระโพธิสัตว์ควรบริจาคทานเช่นนี้ โดยไร้ดำรงในลักษณะ เพราะเหตุใด ? หากพระโพธิสัตว์ไร้ดำรงในลักษณะบริจาคทาน บุญวาสนาที่ได้รับก้จักมิอาจคิดคำนวนได้เลย สุภูติ ! ในความหมายนี้เป็นเช่นไร ? ทิศบูรพาอันว่างเปล่าสามารถคะเนได้หรือไม่ ?" "ไม่แล ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ! " "สุภูติ ! ทิศทักษิณ ปัจฉิม อุดร ตลอดจนความว่างเปล่าในบนล่างสารทิศสามารถคะเนได้หรือไม่ ?" "ไม่แล ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า !" "สุภูติ ! พระโพธิสัตว์ไร้ดำรงในลักษณะบริจาคทาน บุญวาสนาที่ได้ย่อมไม่อาจคะเนได้ดุจกัน สุภูติ ! พระโพธิสัตว์พึงดำรงตามคำสอนเช่นนี้แล"
5. ดั่งแท้ เห็นจริง
"สุภูติ ! ในความหมายนี้เป็นเช่นไร ? สามารถอาศัยกายลักษณะเห็นตถาคตได้หรือไม่ ? "ไม่แล ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ! ไม่สามารถอาศัยกายลักษณะเห็นตถาคตได้ เพราะเหตุใด ? กายลักษณะที่พระตถาคตได้ตรัส มิใช่กายลักษณะ" พระสุคตตรัสแก่สุภูติว่า "ลักษณะที่มีอยู่ทั้งหลายล้วนเป็นมายา หากเห็นเหล่าลักษณะมิใช่ลักษณะ ก็จะเห็นตถาคต"
6. ศรัทธาเที่ยงตรง ยากจะมี
สุภูติทูลถามพระพุทธองค์ว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ยังจักจะมีเหล่าเวไนยสัตว์ที่ได้สดับพระธรรมบรรยายฉะนี้ แล้วบังเกิดศรัทธาอันเที่ยงแท้หรือไม่ ?" พระพุทธองค์ตรัสตอบสุภูติว่า "อย่าได้กล่าวเช่นนั้น หลังจากตถาคตดับขันธ์ปรินิพพาน หลัง 500 ปี มีผู้ถือศีลบำเพ็ญบุญที่อาศัยพระธรรมนี้ จนสามารถเกิดใจศรัทธา และถือสิ่งนี้เป็นจริง ควรรู้ว่าคน ๆ นี้ ไม่เพียงแต่ปลูกฝังกุศลมูลเฉพาะ 1 พุทธะ 2 พุทธะ, 3,4,5 พระพุทธะเท่านั้น หากแต่เขาได้ปลูกฝังกุศลมูลต่อพระำพุทธะอันมิอาจประมาณได้เลย และเมื่อเขาได้สดับพระธรรมดังกล่าว กระทั่งเกิดศรัทธาบริสุทธิ์ สุภูติ ! ตถาคตนั้นรู้หมด เห็นหมด คือ เหล่าเวไนยสัตว์ที่ยึดธรรมฉันนี้ จักได้รับบุญวาสนาอันไร้ขอบเขต เพราะเหตุใด ? เป็นเพราะเหล่าเวไนยสัตว์ฉันนี้จะไม่กลับไปมี อาตมะลักษณะ บุคคละลักษณะ สัตวะลักษณะ ชีวะลักษณะ ไร้ธรรมลักษณะ อีกทั้งไร้อธรรมลักษณะ เพราะเหตุใด ? เพราะเหล่าเวไนยสัตว์ฉันนี้ หากใจเกิดติดในลัดษณะ ก็คือติดยึดใน อาตมะ บุคคละ สัตวะ และชีวะลักษณะ หากติดในธรรมลักษณะ ก็คือ ติดยึดใน อาตมะ บุคคละ สัตวะ และชีวะลักษณะ เพราะเหตุใด หากติดในอธรรมลักษณะ ก็คือ ติดยึดในอาตมะ บุคคละ สัตวะ และชีวะลักษณะ ฉะนั้นจึงไม่ควรติคยึดในธรรม ไม่ควรติดยึดในอธรรม ด้วยความหมายเช่นนี้ ตถาคตมักกล่าวเป็นเสมอว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พึงรู้ว่าธรรมที่เราแดสง อุปมาดั่งแพ แม้แต่ธรรมยังต้องละ นับประสาอะไรกับอธรรมเล่า"
7. ไร้รับ ไร้วาจา
"สุภูติ ! ในความหมายนี้เป็นเช่นไร ? ตถาคตได้อนุตตรสัมมาสัมโพธิฤา ? ตถาคตได้แสดงธรรมฤา ?" สุภูติตอบว่า "ตามความเข้าใจในความหมายที่พระองค์ตรัสของข้าพระองค์นั้นคือ ไม่มีธรรมที่แน่นอน ที่ชื่อว่าอนุตตรสัมมาสัมโพธิ และไม่มีธรรมที่แน่นอนที่ตถาคตได้แสดง เพราะเหตุใด ? ธรรมที่ตถาคตได้แสดงเทศนา ล้วนมิอาจยึด มิควรกล่าว ไม่ใช่ธรรม ไม่ใช่อธรรม ทั้งนี้เพราะเหตุใด ? เมธีอริยะทั้งหลาย ล้วนเนื่องด้วยอสังขตธรรมและเกิดความแตกต่าง"
-
8. อาศัยธรรม ก่อเกิด
"สุภูติ ! ในความหมายนี้เป็นเช่นไร ? ถ้าหากบุคคลนำสัปตรัตนะปูทั่วมหาตรีสหัสโลกธาตุ เพื่อใช้บริจาคทาน บุญวาสนาที่ได้รับของบุคคลนี้นับว่ามากมายหรือไม่ ? " สุภูติทูลตอบว่า "มากมายยิ่งนัก ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ! เพราะเหตุใด ? บุญวาสนานี้ แท้จริงไร้แก่นแท้ของบุญวาสนา ดังนั้นตถาคตตรัสว่า บุญวาสนามากมาย" "แต่หากได้มีบุคคลสนองรับตามในพระสูตรนี้ ที่สุดแม้เพียงโศลกแค่ 4 บาท และประกาศสาธยายกับคนอื่น บุญนี้ยังมากมายเหนือกว่าบุญชนิดแรก เพราะเหตุใด ? สุภูติ ! พระพุทธะทั้งปวง อีกทั้งเหล่าพระพุทธอนุตตรสัมมาสัมโพธิธรรมทั้งหลาย ล้วนเกิดจากพระสูตรนี้ สุภูติ ! สิ่งที่เรียกว่าพุทธธรรมนั้น แท้จริงมิใช่พุทธธรรม"
9. ไร้แม้หนึ่งลักษณะ
"สุภูติ ! ในความหมายนี้เป็นเช่นไร ? พระโสดาบันจะสามารถมนสิการว่า ตนได้บรรลุโสดาปัตติผลได้ฤา ?" สุภูติทูลตอบว่า "ไม่แล ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ! เพราะเหตุใด ? พระโสดาบันนามว่าเข้าสู่กระแส แต่ไม่ได้มีการเข้า การไม่เข้าสู่ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ธรรมารมณ์ จึงได้ชื่อว่าพระโสดาบัน" "สุภูติ ! ในความหมายนี้เป็นเช่นไร ? พระสกทาคามีจะสามารถมนสิการว่า ตนได้บรรลุสกทาคามิผลได้ฤา ?" สุภูติตอบว่า "ไม่แล ขัาแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ! เพราะเหตุใด ? พระสกทาคสมีมีนามว่าไปมาหนึ่งครั้ง แต่โดยความจริงไม่มีการไปมาหนึ่งครั้ง จึงได้ชื่อว่าพระสกทาคามี" "สุภูติ ! ในความหมายนี้เป็นเช่นไร ? พระอนาคามีจะสามารถมนสิการว่า ตนได้บรรลุอนาคามิผลได้ฤา ?" สุภูติทูลตอบว่า "ไม่แล ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ! เพราะเหตุใด ? พระอนาคามีนามว่าไม่มา แต่โดยความจริงไม่มีการไม่มา จึงได้ชื่อว่าพระอนาคามี" "สุภูติ ! ในความหมายนี้เป็นเช่นไร ? พระอรหันต์จะสามารถมนสิการว่า ตนได้บรรลุอรหัตตมรรคได้ฤา ?" สุภูติตอบว่า "ไม่แล ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ! เพราะเหตุใด ? โดยความจริงแล้วไม่มีธรรมที่เรียกว่าพระอรหันต์ ขัาแต่พระสุคต ! หากพระอรหันต์ได้มนสิการว่า ตนได้บรรลุอรหัตตมรรค ก็คือติดใน อาตมะ บุคคละ สัตวะ ชีวะลักษณะ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! พระองค์ตรัสว่า ข้าพระองค์ได้บรรลุอารัณยิกในสมาธิ เป็นที่หนึ่งในกลุ่มคน เป็นพระอรหันต์องค์แรกที่ได้พ้นจากกิเลส ข้าแต่พระองค์ผู้ควรบูชา ! ข้าพระองค์ไม่นมสิการเช่นนี้ว่า ข้าพระองค์ก็คือพระอรหันต์ผู้พ้นจากกิเลส ข้าแต่พระสุคต ! หากข้าพระองค์ได้มนสิการเช่นนี้ว่า ข้าพระองค์ได้บรรลุอรหัตตมรรค พระองค์ก็จะไม่ตรัสว่า สุภูติคือผู้ยินดีในอารัณยิกปฏิปทา แต่เนื่องด้วยความจริงแล้วสุภูติไร้ซึ่งปฏิปทาจึงได้ชื่อว่า สุภูติคือผู้ยินดีในอารัณยิกปฏิปทา"
-
10 อลังการ วิสุทธิเกษร
พระพุทธองค์ตรัสแก่สุภูติว่า "ในความหมายนี้เป็นเช่นไร ? ตถาคต ประทับอยู่ในสำนักพระทีปังกรพุทธเจ้าเมื่อครั้งอดีต มีธรรมที่ได้อันใดฤา ?" "ไม่แล ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ! ตถาคตประทับอยู่ในสำนักของพระทีปังกรพุทธเจ้า ความจริงไร้ธรรมที่ได้" "สุภูติ ! ในความหมายนี้เป็นเช่นไร ? พระโพธิสัตว์ได้ตบแต่งอลังการพุทธเกษรหรือไม่ ?" "ไม่แล ข้าแต่พระสุคต ! เพราะเหตุใด ? อันว่าตบแต่งอลังการพุทธเกษร คือมิใช่อลังการ เป็นเพียงว่านามอลังการ" "เพราะฉะนั้นแล สุภูติ ! ปวงพระโพธิสัตว์ มหาสัตว์ พึงยังจิตให้สะอาดบริสุทธิ์เช่นนี้ ไม่ควรดำรงรูปบังเกิดจิต ไม่ควรดำรงเสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์บังเกิดจิต แต่ควรที่จะไร้สิ่งดำรงและบังเกิดจิตต่างหาก สุภูติ ! อุปมาว่ามีบุคคล กายดุจเจ้าแห่งขุนเขาพระสุเมรุ ในความหมายนี้เป็นเช่นไร ? กายนี้ถือว่ามโหฬารหรือไม่ ? " สุภูติตอบว่า "ช่างมโหฬารยิ่งนัก ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ! เพราะเหตุใด ? พระพุทธองค์ตรัสว่ามิใช่กาย เป็นเพียงนามว่านามว่ากายมโหฬาร"
11 อสังขตะ บุญเหลือคณนา
"สุภูติ ! อุปมาดั่งจำนวนเม็ดทรายทั้งหมดในคงคานที จำนวนเม็ดทรายเหล่านี้ ให้เปรียบเป็นแม่น้ำคงคาอีกที ในความหมายนี้เป็นเช่นไร ? เหล่าเม็ดทรายในคงคานทีนี้ นับว่ามากมายหรือไม่ ?" สุภูติตอบว่า "มากมายยิ่งนัก ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ! เพียงแค่คงคานทีเหล่านี้ ก็เป็นจำนวนที่มิอาจนับได้แล้ว จึงนับประสาอะไรกับเม็ดทรายที่ได้เทียบเท่า" "สุภูติ ! วันนี้เราขอกล่าวถึงความจริงต่อเธอ หากมีกุลบุตร กุลธิดา อาศัยสัปตรัตนะเต็มจำนวนมหาตรีสหัสโลกธาตุ อันได้มีจำนวนเทียบเท่าเม็ดทรายในคงคานทีที่เปรียบดังกล่าวเพื่อใช้บริจาคทาน บุคคลนี้จะได้รับบุญมากมายหรือไม่ ?" สุภูติทูลตอบว่า "มากมายยิ่งนัก ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า !" พระพุทธองค์ตรัสแก่สุภูติว่า "หากกุลบุตร กุลธิดา รับสนองปฏิบัติตามพระสูตรนี้ แม้ที่สุดจะเป็นเพียงแค่คำโฉลก 4 บท และประกาศกล่าวแก่บุคคลอื่น บุญวาสนานี้ ยังจะเหนือยิ่งกว่าบุญวาสนาอย่างแรก"
12 บูชา ศาสตร์แท้
"อนึ่ง สุภูติ ! ณ ที่ใดที่ได้กล่าวพระสูตรนี้ แม้จะเป็นเพียงแค่คำโฉลก 4 บท ควรรู้ว่า ณ สถานที่นี้ เหล่าเมพ มนุษย์ อสูรทั้งหลายในโลกนี้ล้วนจะกระทำสักการะดุจพระพุทธสถูปวิหาร จึงนับประสาอะไรกับการที่มีบุคคลล้วนสามารถรับสนองปฏิบัติสวดท่อง สุภูติ ! ควรรู้ว่าบุคคลนี้ได้ยังความสำเร็จแล้วในอนุตตรธรรมอันเป็นยอดสูงสุดที่หาได้โดยยาก หากว่าพระสูตรนี้ประดิษฐานอยู่ ณ สถานที่ใด ที่นั้นก็จะมีพระพุทธเจ้าและอัครสาวกพำนักอยู่
-
13 ดั่งธรรมวิธี ยึดถือปฏิบัติ
สมัยนั้นแล สุภูติได้กราบทูลถามพระพุทธองค์ว่า "ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ! อันพระสูตรนี้ควรมีนามว่าอะไร ? ข้าพระองค์ทั้งหลายพึงสนองปฏิบัติอย่างไร ?" พระพุทธองค์ตรัสแก่สุภูติว่า "พระสูตรนี้มีนามว่าวัชรปรัชญาปารมิตาสูตร อาศัยชื่อนามนี้ เธอพึงรับไปปฏิบัติ ทั้งนี้เพราะเหตุใด ? สุภูติ ! พระพุทธเจ้าตรัสว่าปรัชญาปารมิตา มิใช่ปรัชญาปารมิตา เป็นเพียงนามว่าปรัชญาปารมิตา สุภูติ ! ในความหมายนี้เป็นเช่นไร ? ตถาคตได้แสดงพระธรรมฤา ?" สุภูติทูลตอบว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ! ตถาคตมิได้แสดงพระธรรมอันใดเลย" "สุภูติ ! ในความหมายนี้เป็นเช่นไร ? ฝุ่นละอองทั้งหมดในมหาตรีสหัสโลกธาตุ จำนวนถือว่ามากหรือไม่ ? " สุภูติทูลตอบว่า "มากมายยิ่งนัก ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า !" "สุภูติ ! ฝุ่นละอองทั้งหลายเหล่านี้ ตถาคตกล่าวว่ามิใช่ฝุ่นละออง เป็นเพียงนามว่าฝุ่นละออง ตถาคตกล่าวว่าโลกธาตุ มิใช่โลกธาตุ เป็นเพียงนามว่าโลกธาตุ" "สุภูติ ! ในความหมายนี้เป็นเช่นไร ? สามารถอาศัยมหาปุริสลักษณะ 32 เห็นตถาคตหรือไม่ ?" "ไม่แล ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ! ไม่สามารถอาศัยมหาปุริสลักษณะ 32 เห็นตถาคตได้ เพราะเหตุใด ? ตถาคตตรัสว่า มหาปริสลักษณะ 32 มิใช่ลักษณะ เป็นเพียงนามว่ามหาปุริสลักษณะ 32" "สุภูติ ! หากมีกุลบุตร กุลธิดา ได้ใช้ชีวิตเปรียบเท่าจำนวนเม็ดทรายในคงคานทีบริจาคทาน แต่หากไม่มีบุคคล รับสนองปฏิบัติตามพระสูตรนี้ ที่สุดแม้เพียงแค่โฉลก 4 บทมาประกาศสาธยายแก่ผู้อื่น บุญวาสนาดังกล่าวจะมากมายยิ่งกว่านัก" !
-
14 ห่างลักษณ์ นิโรธ
ครั้งนั้นแล สุภูติได้สดับพระสูตรนี้ จนได้เกิดความซาบซึ้งแจ่มชัดในธรรมอรรถ และเกิดอาการสะอื้นไห้ จึงกราบทูลพระสุคตว่า "หาได้ยากหนักหนา ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ! พระพุทธเจ้าทรงได้ตรัสพระสูตรอันลึกซึ้งลุ่มลึกเช่นนี้ ตั้งแต่อดีตที่ข้าพระองค์ได้ปัญญาจักษุมา ยังมิเคยสดับฟังพระสูตรเช่นนี้เลย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! หากได้มีบุคคลสดับพระสูตรนี้ จนเกิดจิตศรัทธาอันบริสุทธิ์ เช่นนี้ก็จะบังเกิดลักษณ์แท้ ควรรู้ว่าบุคคลนี้ ได้บรรลุในบุญกุศลอันยอดเยี่ยมที่หาได้ยากหนักหนา" ข้าแต่พระสุคต ! อันว่าลักษณ์แท้ มิใช่ลักษณะ ฉะนั้นพระตถาคตจึงจตรัสนามว่าลักษณ์แท้ ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ! วันนี้ข้าพระองค์ได้สดับพระสูตรนี้ เกิดกระจ่างเชื่อถือและนำปฏิบัติ ยังไม่นับว่ายาก แต่ในอนาคตกาลหลัง 500 ปี ได้มีเวไนยสัตว์ที่ได้สดับฟังพระสูตรฉบับนี้จนเกิดความกระจ่างและนำปฏิบัติ บุคคลนี้นับว่ายอดเยี่ยมชนิดหาได้โดยยากทีเดียว เพราะเหตุใด ? บุคคลนี้ไร้อาตมะลักษณะ บุคคละลักษณะ สัตวะลักษณะ ชีวะลักษณะ ทั้งนี้เพราะเหตุใด ? อาตมะลักษณะก็คือมิใช่ลักษณะ บุคคละลักษณะ สัตวะลักษณะ ชีวะลักษณะ ก็มิใช่ลักษณะ เพราะเหตุใด ? ห่างจากเหล่าลักษณะ จึงจะได้ชื่อว่าพระพุทธะทั้งหลายแล" พระสัมพุทธเจ้าตรัสแก่สุภูติว่า "อย่างนั้น อย่างนั้น หากมีบุคคลได้สดับฟังพระสูตรนี้ โดยไม่วิตก ไม่หวั่น ไม่กลัว ควรรู้ว่าบุคคลนี้ หาได้ยากนักหนา เพราะเหตุใด ? สุภูติ ! ตถาคตกล่าวว่า บารมีอันยอดเยี่ยม มิใช่บารมีอันยอดเยี่ยม เป็นเพียงนามว่าบารมีอันยอดเยี่ยม" "สุภูติ ! ขันติบารมี ตถาคตกล่าวว่ามิใช่ขันติบารมี เป็นเพียงนามว่าขันติบารมี เพราะเหตุใด ? สุภูติ ! ดั่งที่เราในอดีตถูกกลิราชาห้ำหั่นกายา เราในขณะนั้น ไร้อาตมะลักษณะ บุคคละลักษณะ สัตวะลักษณะ ชีวะลักษณะ เพราะเหตุใด ? ขณะที่เราในอดีตได้ถูกห้ำหั่นเป็นชิ้น ๆ หากได้มีอาตมลักษณะ บุคคละลักษณะ สัตวะลักษณะ ชีวะลักษณะแล้ว ควรเกิดความโกรธพยาบาท สุภูติ ! หวนระลึกกลับไปเมื่อ 500 ชาติก่อน สมัยที่เราเป็นกษานติวาทีดาบส ขณะอยู่ในชาตินั้น ไร้อาตมะลักษณะ บุคคละลักษณะ สัตวะลักษณะ ชีวะลักษณะ " "ด้วยเหตุนี้ สุภูติ ! พระโพธิสัตว์ควรห่างจากลักษณะทั้งปวง และบังเกิดอนุตตรสัมมาสัมโพธิจิต ไม่ควรดำรงรูปบังเกิดจิต ไม่ควรดำรงเสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์บังเกิดจิต แต่ควรบังเกิดจิตที่ไร้สิ่งดำรง หากใจมีการดำรง ก็คือมิใช่ดำรง ดังนั้น พระสัมพุทธเจ้ากล่าวว่าจิตของพระโพธิสัตว์ไม่ควรดำรงรูปบริจาคทาน สุภูติ ! พระโพธิสัตว์เพื่อยังประโยชน์สุขแก่เวไนยสัตว์ พึงบริจาคทานด้วยประการเช่นนี้" "ตถาคตกล่าวว่าลักษณะทั้งปวง มิใช่ลักษณะ และกล่าวว่าเวไนยสัตว์ทั้งปวง มิใช่เวไนยสัตว์ สุภูติ ! ตถาคตคือผู้กล่าว สัจจวาจา ภูตวาจา ตถาวาจา อวิตถาวาจา อนัญญถวาจา สุภูติ ! ธรรมที่ตถาคตได้รับ ธรรมนี้ไร้การเต็มเปี่ยม ไร้การว่างสูญ" "สุภูติ ! หากใจของพระโพธิสัตว์ดำรงในธรรมและบริจาคทาน ก็จะเปรียบดั่งคนสู่ที่มืดที่จะไร้การมองเห็นอย่างสิ้นเชิง แต่หากใจของพระโพธิสัตว์ไม่ดำรงในธรรมและบริจาคทาน เปรียบดั่งคนที่มีดวงตาที่ยามแสงสุรีย์สาดส่อง ก็จะเห็นสรรพสีสันนานา สุภูติ ! ในอนาคตกาล หากได้มีกุลบุตร กุลธิดา สามารถอาศัยพระสูตรนี้ปฏิบัติสวดท่อง ก็คือพระตถาคต ด้วยพุทธปัญญา เราล้วนเห็นบุคคลนี้ ต่างจักได้บรรลุในบุญกุศลอันไร้ขอบเขตที่มิอาจประเมินปริมาณได้ "
-
15 บุญกุศลของการถือสูตร
"สุภูติ ! หากได้มีกุลบุตร กุลธิดา
ยามเช้า ได้ใช้กายชีวิตเปรียบดั่งจำนวนเม็ดทรายในคงคานทีบริจาคทาน
ยามเที่ยง ได้ใช้กายชีวิตเปรียบดั่งจำนวนเม็ดทรายในคงคานทีบริจาคทาน
ยามเย็น ได้ใช้กายชีวิตเปรียบดั่งจำนวนเม็ดทรายในคงคานทีบริจากทาน และได้กระทำเช่นนี้นับร้อยพันหมื่น กระทั่งร้อยล้านกัลป์ จนไม่อาจประมาณได้ แต่หากได้มีบุคคลรับสดับพระสูตรนี้ จนบังเกิดจิตศรัทธาไม่คัดค้าน บุญที่ได้ยังเหนือยิ่งกว่าบุญแรก จึงยิ่งไม่ต้องกล่าวถึงได้มีการคัดเขียนและถือปฏิบัติสวดท่อง ทั้งประกาศสาธยายแก่บุคคลอื่นเลย สุภูติ ! โดยสรุปความสำคัญแล้ว พระสูตรนี้เป็นบุญกุศลอันไร้ขอบเขตและมิอาจคาดคะเนได้ ซึ่งตถาคตจะกล่าวแก่ผู้มุ่งในมหายาน และจะกล่าวแก่ผู้มุ่งต่ออนุตตรยาน และหากมีบุคคลที่รับสนองปฏิบัติสวดท่อง ทั้งประกาศสาธยายแก่ผู้คนอย่างกว้างขวาง ตถาคตล้วนรู้บุคคลนี้ ล้วนเห็นบุคคลนี้ ต่างได้ประสพความสำเร็จในบุญกุศลที่มิอาจคะเน มิอาจประมาณ ไร้ขอบเขตและมิอาจจินตนาการ บุคคลดังนี้เป็นต้น ก็จะเป็นผู้แบกรับอนุตตรสัมมาสัมโพธิของพระตถาคต เพราะเหตุใด ? สุภูติ ! หากบุคคลใดเป็นผู้ยินดีในธรรมวิธีอันคับแคบยึดติดในอาตมะทัศนะ บุคคละทัศนะ สัตวะทัศนะ ชีวะทัศนะ ก็จะมิอาจจะสนองรับสดับสวดท่องในพระสูตรนี้ เหล่าเทพมนุษย์อสสูรในโลก ล้วนต้องบูชาสักการะ ควรรู้ว่าสถานที่นี้ ก็คือสถูปเจดีย์ ล้วนควรเคารพนบไหว้ กระทำประทักษิณ และนำบุปผชาตินานาพรรณมาเกลี่ยบูชา"
16 สามารถบริสุทธิ์ผลกรรม
อนึ่ง สุภูติ ! หากมีกุลบุตร กุลธิดา รับสนองปฏิบัติสวดสาธยายพระสูตรนี้ และยังได้ถูกบุคคลอื่นหมิ่นประมาท อันบาปกรรมบุคคลนี้แต่อดีตชาติ ควรต้องตกสู่ทุคติภูมิ แต่ด้วยเหตุที่ถูกดูหมิ่นย่ำยีจากผู้คนในชาตินี้ อันบาปกรรมในอดีตชาติ ก็จะดับสูญไป และจะได้รับอนุตตรสัมมาสัมโธิ" "สุภูติ ! เราได้ย้อนระลึกไปในอดีตนับด้วยอสงไขยกัปอันจักประมาณมิได้ ที่เป็นกาลก่อนสมัยพระทีปังกรพุทธเจ้า เราได้เฝ้าปฏิบัติบูชาต่อจำนวนพระพุทธเจ้านับแปดร้อยสี่พันร้อยล้านโกฏิอายุตะองค์โดยมิเคยละเลยว่างเว้น แต่หากมีบุคคลอื่น ในยุคปลายแห่งอนาคต ที่สามารถรับสนองสวดท่องพระสูตรนี้ บุญกุศลที่ได้รับ จักมากมายยิ่งกว่าบุญกุศลที่เราได้บูชาพระพุทธเจ้า แม้เป็นหนึ่งในร้อยก็มิอาจได้ หรือกระทั่งหนึ่งในพันหมื่นร้อยล้านก็ยังมิอาจเทียม จนกระทั่งเป็นสิ่งที่จำนวนตัวเลขมิอาจกล่าวบรรยายได้เลย" "สุภูติ ! หากมีกลุบุตร กุลธิดาในยุคปลายแห่งอนาคต ได้มีการสดับสนองสวดท่องพระสูตรนี้ บุญกุศลที่ได้รับ หากเราจะกล่าวให้ชัดเจน และมีบุคคลใดที่ได้รับฟัง ก็จะเกิดความวุ่นวายแก่จิต มีวิจิกิจฉาไม่เชื่อถือเลย สุภูติ ! ควรรู้ความหมายของพระสูตรนี้มิอาจจินตนาการ ผลานิสงส์ก็มิอาจจินตนาการด้วยเช่นกัน"
-
17 ที่สุดคือไร้อาตมะ
โดยสมัยนั้นแล สุภูติได้ทูลถามพระพุทธองค์ว่า "ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ! กุลบุตร กุลธิดา เมื่อได้บังเกิดอนุตตรสัมมาสัมโพธิจิตแล้ว ควรดำรงจิตอย่างไร ? และควรสยบจิตอย่างไร ? พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสแก้สุภูติว่า "กุลบุตร กุลธิดา เมื่อได้บังเกิดอนุตตรสัมมาสัมโพธิจิต ควรบังเกิดจิตใจดั่งนี้ว่า เราจะขจัดฉุดช่วยเวไนยสัตว์ทั้งปวง เมื่อได้ขจัดฉุดช่วยเวไนยสัตว์ทั้งปวงเสร็จสิ้นแล้ว แต่ก็ไม่มีเวไนยสัตว์แม้นเพียงหนึ่งที่ได้รับการขจัดฉุดช่วย เพราะเหตุใด ? สุภูติ ! หากพระโพธิสัตว์มีอาตมะลักษณะ บุคคละลักษณะ สัตวะลักษณะ ชีวะลักษณะ ก็ไม่ใช่พระโพธิสัตว์ ทั้งนี้เพราะเหตุใด ? สุภูติ ! ความจริงไม่มีธรรมที่ได้บังเกิดอนุตตรสัมมาสัมโพธิจิตเลย" "สุภูติ ! ในความหมายนี้เป็นเช่นใด ? ตถาคตประทับอยู่ ณ สำนักพระทีปังกรพุทธเจ้า ได้มีธรรมที่ได้รับอนุตตรสัมมาสัมโพธิฤา ?" "ไม่แล ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ! ตามที่ข้าพระองค์เข้าใจในความหมายแห่งธรรมอรรถของพระพุทธองค์ ขณะพระองค์ประทับอยู่ ณ สำนักพระทีปังกรพุทธเจ้า ไม่มีธรรมที่ได้รับอนุตตรสัมมาสัมโพธิเลย " พระพุทธองค์ตรัสแก่สุภูติว่า "อย่างนั้น อย่างนั้น สุภูติ ! ความจริงไม่มีธรรมที่ตถาคตได้รับอนุตตรสัมมาสัมโพธิ สุภูติ ! หากมีธรรมที่ตถาคตได้รับอนุตตรสัมมาสัมโพธิแล้วไซร์ พระทีปังกรพุทธเจ้าก็จะไม่ทรงประทานจุดแก่เรา และตรัสพยากรณ์ว่าเราในอนาคตกาล จักสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า มีพระนามว่า พระศากยมุนี ก็เพราะว่าไม่มีธรรมที่ได้รับอนุตตรสัมมาสัมโพธิ ฉะนั้น พระทีปังกรพุทธเจ้าจึงได้ประทานจุดแก่เรา และพยากรณ์ว่าเราในอนาคตกาลจักสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า มีพระนามว่า พระศากยมุนี เพราะเหตุใด ? อันว่าตถาคตนั้น ก็คือสหธรรมทั้งปวงดั่งความหมายแห่งตถตา หากมีบุคคลกล่าวว่า ตถาคตได้รับอนุตตรสัมมาสัมโพธิ สุภูติ ! อนุตตรสัมมาสัมโพธิที่ตถาคตได้รับ ในความจริงไร้ความเต็มเปี่ยม ไร้ความว่างสูญ ด้วยเช่นนี้ ธรรมทั้งปวงที่ตถาคตกล่าว ล้วนเป็นพุทธธรรม สุภูติ ! ธรรมทั้งปวงที่ได้กล่าวมิใช่ธรรมทั้งปวงเป็นเพียงนามว่าธรรมทั้งปวงเท่านั้น"
สุภูติ ! พระโพธิสัตว์ก็ควรเป็นเช่นนี้ หากกล่าวกันเช่นนี้ว่า เราจักขจัดฉุดช่วยเวไนยสัตว์อันไม่อาจคะเนนี้ได้ ก็จะไม่มีนามว่าพระโพธิสัตว์ เพราะเหตุใด ? สุภูติ ! แท้จริงไม่มีธรรมเรียกพระโพธิสัตว์ ดังนั้น พระพุทธเจ้าจึงกล่าวว่า ธรรมทั้งปวง ไร้อาตมะ ไร้บุคคละ ไร้สัตวะ ไร้ชีวะ" สุภูติ ! หากพระโพธิสัตว์มีวาทะกล่าวเช่นนี้ว่า เราจักตบแต่งอลังการพุทธเกษร ก็จะไม่มีนามว่าพระโพธิสัตว์ เพราะเหตุใด ? ตถาคตกล่าวว่า ตบแต่งอลังการพุทธเกษร มิใช่อลังการ เป็นเพียงนามว่าอลังการเท่านั้น สุภูติ ! หากพระโพธิสัตว์แจ่มแจ้งแทงตลอดในธรรมอันไร้อาตมะแล้ว ตถาคตจึงจะกล่าวว่า เป็นนามพระโพธิสัตว์จริง"
-
18 กายเดียวร่วมทัศนะ "สุภูติ ! ในความหมายนี้เป็นเช่นไร ? ตถาคตมีมังสจักษุฤา ?" "อย่างนั้น ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ! ตถาคตมีมังสจักษุ" "สุภูติ ! ในความหมายนี้เป็นเช่นไร ? ตถาคตมีทิพยจักษุฤา ? " "ถ้าอย่างนั้น ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ! ตถาคตมีทิพย์จักษุ" "สุภูติ ! ในความหมายนี้เป็นเช่นไร ตถาคตมีปัญญาจุกษุฤา ?" "อย่างนั้น ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ! ตถาคตมีปัญญาจักษุ" "สุภูติ ! ในความหมายน้เป็นเช่นไร ? ตถาคตมีธรรมจักษุฤา ?" "อย่างนั้น ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ! ตถาคตมีธรรมจักษุ" "สุภูติ ! ในความหมายนี้เป็นเช่นไร ? ตถาคตมีพุทธจักษุฤา ?" "ถ้าอย่างนั้น ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ! ตถาคตมีพุทธจักษุ"
"สุภูติ ! ในความหมายนี้เป็นเช่นไร ? อุปมาดั่งเม็ดทรายทั้งหมดในคงคานที ตถาคตกล่าวว่าคือทรายฤา ?" "อย่างนั้น ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ! ตถาคตตรัสว่าเป็นทราย " "สุภูติิ ! ในความหมายนี้เป็นเช่นไร ? อุปมาให้เม็ดทรายทั้งหมดในหนึ่งสายคงคานที เปรียบให้เป็นคงคานทีอีก และให้จำนวนเม็ดทรายในคงคานทีเหล่านี้ คือะพุทธโลกธาตุ ด้วยจำนวนนี้ถือว่ามากหรือไม่ ? " "มากยิ่งนักข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ! พระพุทธองค์ตรัสแก่สุภูติว่า "ในอาณาดินแดนของเธอ ปวงเวไนยสัตว์ทั้งหลายมีใจในประเทศต่าง ๆ กันตถาคตล้วนแจ่มแจ้งภายในใจต่าง ๆ เหล่านั้น เพราะเหตุใด ? ตถาคตกล่าวว่าใจเหล่านี้ล้วนมิใช่ใจ เป็นเพียงนามว่าใจ ทั้งนี้เป็นเพราะเหตุใด ? "สุภูติ ! ใจอดีตไม่ควรมีใจปัจจุบันไม่ควรมี ใจอนาคตไม่ควรมี "
19 แจ้งในความแปรแห่งธรรมชาติ "สุภูติ ! ในความหมายนี้เป็นเช่นไร ? หากมีบุคคลนำสัปตรัตนะที่มีปริมาณเปี่ยมมหาตรีสหัสโลกธาตุมาบริจาดทาน บุคคลนี้ ด้วยเหตุปัจจัยเช่นนี้ ได้รับผลบุญมากมายหรือไม่ ?" "อย่างนั้น ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ! บุคลนี้ด้วยเหตุปัจจับเช่นนี้ ได้รับบุญมากมายยิ่ง " "สุภูติ ! หากบุญวาสนามีจริงตถาคตจะไม่กล่าวว่า ได้รับบุญวาสนามากมาย แต่เนื่องด้วยบุญวาสนาไม่มี ตถาคตจึงกล่าวว่า ได้รับบุญวาสนามากมาย"
-
20 ห่างรูป ห่างลักษณ์
"สุภูติ ! ในความหมายนี้เป็นเช่นไร ? ตถาคตสามารถเห็นได้ด้วยเหล่าลักษณะลักษณะที่พร้อมมูลหรือไม่ ?" "ไม่แล ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ! ตถาคตไม่ควรเห็นได้ด้วยเหล่าลักษณะที่พร้อมมูล เพราะเหตุใด ? ตถาคตตรัสว่า เหล่าลักษณะพร้อมมูล มิใช่เหล่าลักษณะพร้อมมูล เป็นเพียงนามว่าเหล่าลักษณะพร้อมมูล
21 มิได้กล่าวในสิ่งที่กล่าว
"สุภูติ ! เธออย่ากล่าวว่า ตถาคตได้มนสิการว่า เราได้มีการแสดงธรรม อย่าได้นมสิการเช่นนั้น เพราะเหตุใด ? หากมีคนกล่าวว่าตถาคตได้มีการแสดงธรรม ก็จะเป็นการกล่าวหาพระพุทธเจ้า เพราะเขาผู้นั้นคือผู้ที่ไม่เข้าใจในพระวจนะของเรา สุภูติ ! อันว่าแสดงธรรมนั้น ไม่มีธรรมที่จะแสดง เป็นเพียงนามว่าแสดงธรรมเท่านั้น" ก็โดยสมัยนั้นแล สุภูติผู้มีปัญญาชีพได้ทูลถามพระสุคตว่า "ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ! ยังจักจะมีเวไนยสัตว์ในอนาคตกาลที่ได้สดับฟังพระสูตรนี้แล้วบังเกิดศรัทธาจิตหรือไม่ ?" พระพุทธเจ้าตรัสว่า "สุภูติ ! ที่กล่าวนั้นไม่ใช่เวไนยสัตว์ มิไม่ใช่เวไนยสัตว์ เพราะเหตุใด ? สุภูติ ! อันว่าเวไนยสัตว์นั้นตถาคตกล่าวว่ามิใช่เวไนยสัตว์ เป็นเพียงนามว่าเวไนยสัตว์"
22 ไร้ธรรมที่จะรับได้
สุภูติได้ทูลถามพระพุทธโลกนาถว่า "ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ! พระพุทธเจ้าได้อนุตตรสัมมาสัมโพธิเป็นการไร้การได้อย่างนั้นหรือ ?" พระพุทธองค์ตรัสว่า "อย่างนั้น อย่างนั้น สุภูติ ! สำหรับเราในอนุตตรสัมมาสัมโพธิ แม้ธรรมเพียงน้อยนิดก็ไม่มีได้ เป็นเพียงนามว่าอนุตตรสัมมาสัมโพธิ"
-
23 ชำระใจ ปฏิบัติความดี
"อนึ่ง สุภูติ ! ธรรมนั้นเสมอภาค ไม่มีสูงต่ำ จึงจะนามว่า อนุตตรสัมมาสัมโพธิ เนื่องด้วยไร้อาตมะ ไร้บุคคละ ไร้สัตวะ ไร้ชีวะมาบำเพ็ญกุศลธรรมทั้งปวง ก็จะได้อนุตตรสัมมาสัมโพธิ สุภูติ ! กุศลธรรมที่ได้กล่าว ตถาคตกล่าวว่า มิใช่กุศลธรรม เป็นเพียงนามว่ากุศลธรรม"
24 บุญปัญญา มิอาจเปรียบ
"สุภูติ ! ถ้ามีบุคคลนำเอากองแห่งสัปตรัตนะสูงเท่าเหล่าขุนเขาพระสุเมรุในมหาตรีสหัสโลกธาตุ มาบริจาคทาน แต่หากมีบุคคลอาศัยปรัชญาปารมิตาสูตรนี้ แม้จะเป็นเพียงแค่คำโฉลก 4 บท มารับสนองปฏิบัติสวดท่อง และกล่าวสาธยายแก่ผู้อื่น บุญวาสนาแรกเมื่อเทียบกับบุญหลังจะไม่ถึงแม้นหนึ่งส่วนร้อย ไม่ถึงแม้นหนึ่งในร้อยพันแสนโกฏิส่วน กระทั่งมิอาจใช้ตัวเลขอุปมาเปรียบเทียบได้"
25 แปร ไร้สิ่งที่ได้แปร
"สุภูติ ! ในความหมายนี้เป็นเช่นไร ? เธอทั้งหลายอย่าได้คิดว่าตถาคตมนสิการว่า เราเป็นผู้ฉุดช่วยเวไนยสัตว์ สุภูติ ! อย่าได้เข้าใจเช่นนั้น เพราะเหตุใด ? ความจริงไม่มีเวไนยสัตว์ที่ตถาคตฉุดช่วย หากมีเวไนยสัตว์ที่ตถาคตได้ฉุดช่วย ตถาคตก็จะมีอาตมะ บุคคละ สัตวะ ชีวะลักษณะ" "สุภูติ ! ตถาคตมักกล่าวว่า มีเรา ! มีเรา ! แท้จริงมิใช่มีเรา แต่ปุถุชนกลับคิดว่ามีเรา สุภูติ ! อันปุถุชนนั้น ตถาคตกล่าวว่ามิใช่ปุถุชน เป็นเพียงนามว่าปุถุชน""
26 ธรรมกาย มิใช่ลักษณะ
"สุภูติ ! ในความหมายนี้เป็นเช่นไร ? สามารถอาศัยมหาปุริสลักษณะ32 เห็นตถาคตหรือไม่ ?" สุถูติทูลตอบว่า "อย่างนั้น อย่างนั้น สามารถอาศัยมหาปุริสลักษณะ 32 เห็นตถาคตได้" พระพุทธเจ้าตรัสว่า "สุภูติ ! หากสามารถเห็นตถาคตด้วยมหาปุริสลักษณะ 32 แล้ว พระเจ้าจักรพรรดิก็คือพระตถาคตซิ" สุภูติทูลตอบพระพุทธองค์ว่า "ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ! ตามที่ข้าพระองค์ได้เข้าใจในความหมายที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไปนั้น ไม่ควรที่จะเห็นตถาคตได้ด้วยมหาปุริสลักษณะ 32 เลย" โดยสมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเป็นโศลกว่า
หากอาศัยรูปเห็นเรา อาศัยเสียงวอนเรา
บุคคลนี้คือผู้เจริญมิจฉาธรรม ไม่อาจเห็นตถาคตได้
-
26 ธรรมกาย มิใช่ลักษณะ
"สุภูติ ! ในความหมายนี้เป็นเช่นไร ? สามารถอาศัยมหาปุริสลักษณะ 32 เห็นตถาคตหรือไม่ ?" สุภูติทูลตอบว่า "อย่างนั้น อย่างนั้น สามารถอาศัยมหาปุริสลักษณะ 32 เห็นตถาคตได้" พระพุทธเจ้าตรัสว่า "สุภูติ ! หากสามารถเห็นตถาคตด้วยมหาปุริสลักษณะ 32 แล้ว พระเจ้าจักรพรรดิก็คือตถาคตซิ" สุภูติทูลตอบพระพุทธองค์ว่า "ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ! ตามที่ข้าพระองค์ได้เข้าใจในความหมายที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไปนั้น ไม่ควรที่จะเห็นตถาคตได้ด้วยมหาปุริสลักษณะ 32 เลย"
โดยสมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเป็นโศลกว่า
หากอาศัยรูปเห็นเรา อาศัยเสียงวอนเรา
บุคคลนี้คือผู้เจริญมิจฉาธรรม ไม่อาจเห็นตถาคตได้
27 ไร้การตัด ไร้การดับ
"สุภูติ ! หากเธอมีความคิดเช่นนี้ว่า ตถาคตไม่อาศัยลักษณะพร้อมมูลเป็นเหตุ ให้ได้รับอนุตตรสัมมาสัมโพธิ สุภูติ ! หากเธอมีความคิดเช่นนี้ ผู้ที่บังเกิดอนุตตรสัมมาสัมโพธิจิต ก็จักกล่าวว่า ธรรมทั้งปวงขาดสูญ อย่าได้คิดเป็นเช่นนั้นเพราะเหตุใด ? ผู้ที่บังเกิดอนุตตรสัมมาสัมโพธิจิตนั้น ในธรรมจักไม่คิดว่ามีลักษณะแห่งการขาดสูญ"
28 ไม่เวทนา (ไม่รับ) ไม่โลภ
"สุภูติ ! หากพระโพธิสัตว์ได้นำสัปตรัตนะปูเต็มทั่วจำนวนโลกธาตุที่มีปริมาณเท่าจำนวนเม็ดทรายในคงคานที เพื่อบริจาคทาน หากแต่ได้มีบุคคลแจ่มแจ้งในธรรมทั้งปวงว่าไร้อััตตา จนได้สำเร็จในขันติ พระโพธิสัตว์องค์นี้จะได้รับบุญกุศลมากยิ่งกว่าพระโพธิสัตว์องค์แรก เพราะเหตุใด ? สุภูติ ! นั่นเป็นเพราะปวงพระโพธิสัตว์ไม่รับ (เวทนา) ในบุญวาสนานั่นเอง" สุภูติทูลถามพระพุทธองค์ว่า "ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ! เหตุไฉนพระโพธิสัตว์ไม่รับ (เวทนา) ในบุญวาสนา ?" "สุภูติ ! พระโพธิสัตว์ไม่ควรมีความโลภยึดต่อบุญวาสนาที่ได้สร้าง ดังนั้นจึงกล่าวว่าพระโพธิสัตว์ไม่รับ (เวทนา) ในบุญวาสนา"
29 อิริยาบทสง่า เงียบสงบ
"สุภูติ ! หากมีบุคคลกล่าวว่า ตถาคตบ้างมาบ้างไป บ้างนั่งบ้างนอน บุคคลนี้คือผู้ที่ไม่เข้าใจในความหมายของเรากล่าว เพราะเหตุใด ? อันตถาคตนั้นคือ ไร้การมา ทั้งไร้การไป จึงจะนามว่าตถาคต"
-
30 หลักการเอกฆนลักษณะ
"สุภูติ ! หากกุลบุตร กุลธิดา นำมหาตรีสหัสโลกธาตุมาป่นเป็นฝุ่นละออง ในความหมายนี้เป็นเช่นไร ? เหล่าฝุ่นละอองนี้นับว่ามากมายหรือไม่ ? " สุภูติกราบทูลว่า "มากยิ่งนัก ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ! เพราะเหตุใด ? หากเหล่าฝุ่นละอองนี้มีอยู่จริง พระสุคตจักไม่ตรัสว่า คือเหล่าฝุ่นละออง ทั้งนี้เพราะเหตุใด ? พระสัมพุทธเจ้าตรัสว่า เหล่าฝุ่นละออง มิใช่เหล่าฝุ่นละออง เป็นเพียงนามว่าเหล่าฝุ่นละออง ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ! มหาตรีสหัสโลกธาตุที่ตถาคตตรัสถึงมิใช่โลกธาตุ เป็นเพียงนามว่าโลกธาตุ เพราะเหตุใด ? หากโลกธาตุมีอยู่จริง ก็คือเอกฆนลักษณะ มิใช่เอกฆนลักษณะเป็นเพียงนามว่าเอกฆนลักษณะ"
"สุภูติ ! เอกฆนลักษณะนั้น คือสิ่งที่มิอาจกล่าว แต่ผู้ที่เป็นปุถุชนมักโลภยึดในเรื่องราวดังกล่าว"
31 รู้เห็น ไม่เกิด
"สุภูติ ! หากมีบุคคลกล่าวว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้ากล่าวอาตมะทัศนะ บุคคละทัศนะ สัตวะทัศนะ ชีวะทัศนะ สุภูติ ! ในความหมายนี้เป็นเช่นไร ? บุคคลนี้ถือว่าเข้าใจในความหมายที่เรากล่าวหรือไม่ ?" "ไม่แล ! ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ! บุคคลนี้ถือว่าไม่เข้าใจในความหมายที่พระตถาคตตรัส เพราะเหตุใด ? พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอาตมะทัศนะ บุคคลทัศนะ สัตวะทัศนะชีวะทัศนะ มิใช่ อาตมะทัศนะ บุคคลทัศนะ สัตวะทัศนะ ชีวะทัศนะ" "สุภูติ ! ผู้บังเกิดอนุตตรสัมมาสัมโพธิจิตนั้น ในธรรมทั้งปวง ควรที่จะรู้เช่นนี้ ควรที่จะเห็นเช่นนี้ ด้วยการเชื่อมั่นเข้าใจเช่นนี้ ก็จะไม่บังเกิดธรรมะลักษณะ สุภูติ ! ธรรมลักษณะที่ได้กล่าว ตถาคตกล่าวว่า มิใช่ธรรมลักษณะ เป็นเพียงนามว่าธรรมลักษณะ"
32 สนองแปลง มิใช่จริง
"สุภูติ ! หากมีบุคคลได้นำสัปตรัตนะมาเติมเต็มอสงไขยโลกธาตุอันไร้จำกัด ใช้ในการบริจาคทาน แต่หากมีกุลบุตร กุลธิดาได้บังเกิดในโพธิจิต ปฏิบัติในพระสูตรนี้ แม้ที่สุดจะเป็นเพียงแค่โศลก 4 บาท มารับสนองปฏิบัติสวดท่องกล่าวสาธยายแก่ผู้อื่น บุญนี้ยังจะมากยิ่งกว่าอย่างแรก แต่ควรกล่าวสาธยายแก่บุคคลอื่นอย่างไร ? ไม่ยึดในลักษณะ ตั้งมั่นอยู่ในตถตาภาพโดยไม่หวั่นไหวเพราะเหตุใด ?
สังขธรรมทั้งปวง ดุจฝันมายาฟองน้ำรูปเงา
ดุจนิศาชลและอสนี ควรพินิจด้วยอาการเช่นนี้
เมื่อพระสัมพุทธเจ้าตรัสพระสูตรนี้จบ ผู้อาวุโสสุภูติ รวมทั้งเหล่าภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ตลอดจนปวงเทพ มนุษย์ อสูรในโลกทั้งหลาย ได้สดับซึ่งพระพุทธพจน์นี้แล้ว ก็พากันอนุโมทนาชื่นชมยินดี มีความศรัทธาน้อมรับไปปฏิบัติด้วยประการฉะนี้แล
จบพระสูตร
-
วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร ฉบับ พระพุทธจี้กงอรรถาธิบาย
บรรพที่ ๑
ความเป็นมาของการประชุมธรรม
อธิบายบท :
การที่พระตถาคตจะสนองมหาเหตุปัจจัยในการเทศนาโปรดสรรพสัตว์ จำเป็นต้องเหมาะสมด้วยปัจจัยจากสถานที่ เวลาและผู้ฟังหากมิเช่นนั้นแล้ว พระองค์ก็จะไม่ตรัสเทศนาโดยง่าย ฉะนั้น หากไม่มีบุญวาระอันเหมาะสมก็จะไม่ตรัสเทศนานั่นเองแล ที่ว่าอันปัจจัยจากสถานที่นั้น หมายถึงต้องมีธรรมอาณาจักรที่สง่า ที่ว่าอันปัจจัยจากผู้ฟังนั้น หมายถึงผู้ฟังต้องมีปัญญาเข้าถึงในการฟังธรรม และที่ว่าอันปัจจัยจากเวลานั้น หมายถึงต้องมีบุญวาระที่เหมาะสมนั่นเอง และเมื่อยามที่มีปัจจัยทั้ง 3 นี้แล้ว พระองค์จึงจะสามารถเทศนาธรรมได้ สรุปแล้วก็คือ การที่จะมีการเปิดประชุมธรรมนั้นไม่ใช่เป็นเรื่องที่ง่ายดายเลย
เนื้อหา :
ดั่งที่เรา (หมายถึงอันธรรมนี้ ผู้ที่สดับและถ่ายทอดพระสูตรนี้ ซึ่งก็คือพระอานนท์) สมัยหนึ่ง (เป็นเวลาที่พระพุทธเจ้าตรัสเทศนาพระสูตร) พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ เมืองสาวัตถี (เป็นเมืองหลวงของแคว้นโกศลที่พระเจ้าปแสนทิโกศลทรงปกครองอยู่ ) ที่เชตวนาราม (เชตเป็นพระนามของเจ้าชายเชตะ ซึ่งเป็นผู้บริจาคพืชพันธุ์ต้นไม้ในเขตอารามถวายแด่พระพุทธเจ้า) ของท่านอนาถบัณฑิกเศรษฐี ( เป็นขุนางผู้ใหญ่ของพระเจ้าปแสนทิโกศล ซึ่งมีนามว่าสุทัตตะ ท่านเป็นคนชอบทำบุญสุนทานและช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยากที่สวนดอกไม้ของเจ้าชายเชตะเป็นประจำ ดังนั้นผู้คนจึงเรียกท่านว่า อนาถบิณฑิกเศรษฐี และด้วยประการนี้ อารามเชตะจึงมีชื่อว่าอนาถบิณฑิก - วนาราม ท่านสุทัตตะเป็นผู้ซื้อที่ดินของเจ้าชายเชตะถวายแด่พระพุทธเจ้า ด้วยการนำทองคำแท่งมาปูจนเต็มทั่วบริเวณนั้น ฉะนั้น เชตวนารามจึงมีอีกชื่อหนึ่งว่า อนาถบิณฑิกวนาราม (ผู้แปล) ในขณะเดียวกัน ) พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ( หมายถึงผู้ปฏิบัติธรรมที่ทรงคุณธรรม หากจะแปลตามความหมายอักษร ก็จะมีความหมายว่า ผู้ขอทาน ซึ่งก็คือต่อบนจะขอแสวงธรรมเพื่อเลี้ยงชีพปัญญา ต่อล่างจะขอทานอาหารเพื่อเลี้ยงชีพกาย) หมู่ใหญ่ 1,250 รูป เวลานั้นเป็นเวลาฉันภัตตา (พระพุทธเจ้าจะมีเวลาฉันภัตตาที่แน่นอน ซึ่งหากไม่ถูกต้องต่อเวลาแล้ว พระองค์จะไม่ทรงฉัน กล่าวคือเวลา 03 .00 - 09.00 เป็นเวลาฉันอาหารของเหล่าเทพ ช่วงเวลา 09.00 - 15.00 เป็นเวลากินอาหารของเหล่ามนุษย์ ช่วงเวลา 15.00 - 21 .00เป็นช่วงเวลากินอาหารของสัตว์เดรัจฉาน ซึ่งเวลาฉันภัตตาที่ได้กล่าวถึงในที่นี้ จะหมายถึงเวลากินอาหารของมนุษย์ ) พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงครองจีวร ทรงบาตร และเสด็จสู่มหานครสาวัตถีบิณฑบาต อยู่ในเมืองนี้ บิณฑบาตโดยลำดับจนครบถ้วน ครั้นแล้วเสด็จกลับมายังเชตวนาราม ฉันภัตกิจเสร็จ เก็บบาตรจีวร ชำระพระบาท จัดแต่งอาสนะแล้วประทับนั่ง
-
วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร ฉบับ พระพุทธจี้กงอรรถาธิบาย
บรรพที่ ๑
ความเป็นมาของการประชุมธรรม
ความสังเขป :
สำหรับบรรพนี้ ถือว่าเป็นบทนำของพระสูตร โดยเป็นการประกาศให้สาะุชนได้ทราบว่า งานประชุมธรรมที่เชตวนารามได้เริ่มต้นขึ้นจากจุดนี้ จากคำดังที่เราได้สดับ จนกระทั่งถึงพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ 1,250 รูปนี้ ถือว่าเป็นบทนำสามัญ ซึ่งได้กล่าวถึงพิธีการตรัสเทศนาธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้า ส่วนตอนตั้งแต่เวลานั้น จนถึง จัดแต่งอาสนะแล้วประทับนั่ง นี้ ถือว่าเป็นบทนำริเริ่ม ซึ่งหมายถึงว่า การที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงได้ริเริ่มการประชุมธรรมในครั้งนี้ ก็เป็นเพราะพระองค์มีพระประสงค์จะให้เวไนยสัตว์ได้กระจ่างในใจจริงที่เป็นองค์แท้ ดังนั้น พระองค์จึงได้อาศัยออกบิณฑบาตเป็นการริเริ่มพระสูตร เพื่อให้เวไนยสัตว์ได้มีความเข้าใจว่า โดยแท้จริงแล้ว เวไนยสัตว์ก็ไม่ได้มีความแตกต่างกับพระพุทธะเลย ซึ่งเราจะสามารถเห็นได้จาก พระอริยาบทในชีวิตประจำวัน คือ เดิน ยืน นั่ง นอน การกิน การสวมใส่ ที่พระองค์ได้แสดงออกในพระสูตรนี้นั่นเอง
หากเราตั้งใจในการพินิจสักนิด ก็จะสามารถเข้าใจว่า การที่พระพุทธองค์ได้ทรงจีวรและทรงบาตรเช่นนี้ คือการแสดงให้เห็นถึงความเคร่งครัดของการถือศีลของพระองค์เอง การที่พระพุทธองค์ทรงออกบิณฑบาต ก็คือการสอนให้เวไนยสัตว์รู้จักการบริจาคทาน การที่พระพุทธองค์ทรงออกบิณฑบาตโดยลำดับจนครบจำนวน ก็คือการแสดงถึงขันติโดยไม่มีการแบ่งแยกยากดีมีจน ซึ่งก็คือการเมตตาต่อทุกสิ่งด้วยความเสมอภาค การที่พระพุทธองค์ทรงเก็บบาตรจีวรอย่างเรียบร้อย ก็คือการหยุดไขว่คว้าต่อแสงสีสัมพันธ์ภายนอก เพื่อไม่ให้ใจเกิดความกลัดกลุ้มทุกข์กังวล การที่พระพุทธองค์ทรงชำระพระบาท ก็เป็นการแสดงให้เห็นถึงการละทิ้งจากฝุ่นโลกีย์และชำระกายกรรมให้หมดไป การที่พระพุทธองค์ทรงจัดแต่งอาสนะนั้น หมายถึงฌานสมาธิ คือดำรงด้วยสัมมาทิฏฐิโดยไม่หวั่นไหว และจากนั้นก็ถือว่าได้เตรียมพร้อมสู่การประกาศพระธรรมแล้วนั่นเอง
จากตรงนี้ก็ทำให้เราเข้าใจได้อีกประการหนึ่งว่า โลกุตรธรรม (ธรรมอันมิใช่วิสัยของโลก...(พ.ป.) ) ไม่อาจที่จะห่างออกจากโลกียธรรมได้ ดังนั้น สำหรับพวกเราที่เป็นศิษย์ภายใต้ร่มกาสาวพัสตร์ทั้งหลาย จะต้องศึกษาในศีลวินัยที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้อย่างเคร่งครัด โดยห้ามกินดีอยู่สบาย และปล่อยปละอารมณ์กิเลสของตนเองอย่างเด็ดขาด
อธิบายพระสูตร :
พระอานนท์ได้กล่าวขึ้นว่า "สำหรับวัชรปรัชญาปารมิตาสูตรฉบับนี้ คือ พระสูตรที่เราได้ฟังพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเทศนามาด้วยตนเอง สำหรับช่วงเวลาที่พระพุทธองค์ตรัสเทศนาพระสูตรฉบับนี้ ก็เป็นช่วงที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับอยู่ ณ เชตวนารามแห่งเมืองสาวัตถี ซึ่งในเวลานั้นมีองค์ประชุม ที่ประกอบด้วยพระโพธิสัตว์ อรหันต์ และเหล่าสาวก เป็นจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,250 ท่าน และในขณะนั้นก็เป็นช่วงที่ใกล้เวลาฉันภัตตา พระพุทธองค์จึงทรงครองจีวร ทรงบาตร และเสด็จออกจากเชตวนารามเข้าสู่มหานครสาวัตถีเพื่อออกบิณฑบาต หลังจากที่ได้บิณฑบาตโดยลำดับจนครบจำนวนแล้ว พระองค์ก็ได้เสด็จกลับสู่อารามเพื่อฉันภัตตา หลังจากฉันภัตตาเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็ทรงเก็บบาตร จีวร ชำระพระบาท จัดแต่งอาสนะให้เรียบร้อยแล้วจึงประทับนั่ง
คำศัพท์ :
เวลาฉันภัตตา : พระพุทธเจ้าจะมีเวลาฉันภัตตาที่แน่นอน ซึ่งหากไม่ถูกต้องต่อเวลาแล้ว พระองค์จะไม่ทรงฉัน กล่าวคือ เวลาจาก 03.00 - 09.00 เป็นเวลาฉันอาหารของเหล่าเทพ
ช่วงเวลา 09.00 - 15.00 เป็นเวลากินอาหารของเหล่ามนุษย์
ช่วงเวลา 15.00 - 21.00 เป็นเวลากินอาหารของเหล่าภูตผี
ช่วงเวลา 21.00 - 03.00 เป็นช่วงเวลากินอาหารของสัตว์เดรัจฉาน
พระผู้มีพระภาคเจ้า : เป็นคำสรรเสริญพระพุทธเจ้า ซึ่งคำสรรเสริญพระนามของพระพุทะเจ้าจะมีอยู่ 10 พระนามด้วยกันคือ
1. ตถาคต : ผู้เสด็จไปแล้วอย่างนั้น
2. อรหันต์ : ผู้ห่างไกลจากกิเลสและควรแก่บูชา
3. สัมมาสัมพุทโธ : ผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ
4. วิชชาจรณสัมปันโน : ผู้สมบูรณ์ด้วยความรู้ และความประพฤติ
5. สุคต : ผู้เสด็จไปดีแล้ว
6. โลกวิทู : ผู้รู้แจ้งโลก
7. อนุตตร : ผู้ยอดเยี่ยมหาผู้อื่นเสมอเหมือนมิได้
8. ปุริสธัมสารถิ : ผู้ฝึกบุคคลที่ควรฝึก
9. เทวามนุษย์สาสน์ : ผู้เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
10. พุทธโลกนาถติ : ผู้ตื่นแล้วและเป็นที่พึ่งแห่งโลก
บาตร : จะมีอยู่ 3 ลักษณะใหญ่ ๆ คือ
1. ด้านสีสัน : บาตรจะมีลักษณะสีเทาดำ ซึ่งเป็นการเตือนคนเราไม่ให้เกิดอาการแห่งความรักนั่นเอง
2. ด้านเนื้อสัมผัส : บาตรจะมีเนื้อหยาบ ซึ่งเป็นการเตื่อนคนเราไม่ให้เกิดอาการแห่งความโลภนั่นเอง
3. ด้านขนาดบรรจุ : บาตรจะมีขนาดพอเหมาะ ซึ่งหมายถึงอย่าฉันจนเกินกำลัง
นอกจากนี้ การออกบิณฑบาตในแต่ละครั้งจะไม่สามารถเกิน 7 ครัวเรือนได้ ซึ่งถือว่าเป็นการเตือนระงับไม่ให้เกิดจิตละโมภเพื่อปากท้องนั่นเองแล
คำอธิบายแห่งพระนามของพระพุทธเจ้าทั้ง 10 ข้อนี้ ได้อ้างจาก พ.จ. หมายถึง พจนานุกรมพุทธศาสนา จีน สันสกฤต อังกฤษ ไทย จัดพิมพ์โดย คณะสงฆ์จีนนิกายแห่งประเทศไทย 2519 ชาญพัฒนาการพิมพ์ กรุงเทพ ฯ ...(ผู้แปล)
พ.ป. หมายถึง พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุต.โต) 2538 โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.กรุงเทพ ฯ
-
วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร ฉบับ พระพุทธจี้กงอรรถาธิบาย
บรรพที่ ๒
สุภะ ประกาศอันเชิญ
อธิบายบท :
สุภะ ก็คือนามของสุภูตินั่นเองแล เนื่องจากสุภูติได้ทราบว่าพระผู้มีพระภาคเจ้ากำลังจะตรัสสอนปรัชญาธรรม ดังนั้น สุภูติจึงได้สนองต่อโอกาสและทำการประกาศอันเชิญพระสูตรนี้ขึ้น เราจะเห็นได้ว่า ทุกครั้งที่พระพุทธเจ้าจะทำการเทศนาธรรม ก็จะต้องเป็นรูปแบบของการตั้งปุจฉาวิสัชนา กับเหล่าสาวก ทั้งนี้ ก็เพื่อให้เกิดเป็นแนวทางมาไขความกระจ่างต่อสัจธรรมจนเป็นที่เข้าใจได้ และก็เนื่องด้วยวัชรสูตรฉบับนี้มีความว่างเป็นธรรมประสงค์ อีกทั้งสุภูติยังเป็นเอกในด้านศูนยตา ฉะนั้น สุภูติ จึงได้สนองต่อบุญวาระนี้มาประกาศอันเชิญพระสูตรนั่นเองแล
เนื้อหา :
ขณะนั้น อาวุโสสุภูติที่อยู่ท่ามกลางประชุมสงฆ์ ได้ลุกขึ้นจากอาสนะ เฉวียงจีวรเปลือยแขนบนไหล่ขวา คุกเข่าขวาลงพื้น ประคองอัญชลีพลางกราบทูลถามพระพุทธองค์ว่า "หาได้ยากหนักหนา ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ! ตถาคตทรงคุ้มครองห่วงใยอันดีต่อเหล่าพระโพธิสัตว์ ทรงอบรมสั่งสอนอันดีต่อเหล่าพระโพธิสัตว์ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! เมื่อกุลบุตร กุลธิดาบังเกิดอนุตตรสัมมาสัมโพธิจิตแล้ว ควรดำรงให้คงอยู่อย่างไร ? และควรสยบจิตนี้อย่างไร ?" พระพุทธองค์ตรัสว่า "เจริญพร เจริญพร สุภูติ ! ดังที่เธอกล่าว ตถาคตทรงค้มครองห่วงใยอันดีต่อเหล่าพระโพธิสัตว์ และอบรมสั่งสอนอันดีต่อเหล่าพระโพธิสัตว์ เธอจงตั้งใจฟัง เราจักแสดงแก่เธอ" "กุลบุตร กุลธิดา เมื่อบังเกิดอนุตตรสัมมาสัมโพธิจิตแล้ว ควรดำรงจิตของตนให้คงอยู่เช่นนั้น ควรสยบจิตของตนเช่นนั้น" "สาธุ พระสุคต ! ข้าพระองค์ก็จะปลาบปลื้มยินดีเฝ้าคอยสดับอยู่"
คำศัพท์ :
1. หาได้ยากหนักหนา : เป็นคำอุทานสรรเสริญพระพุทะเจ้า ซึ่ง ณ ที่นี้จะมีอยู่ 4 ความหมายด้วยกัน
เวลายากจะมี : ยากที่จะมีเวลาเช่นนี้ในการเทศนาธรรม
สถานที่ยากจะมี : ยากที่จะมีอาณาจักรธรรมอันสง่าโอฬารเช่นนี้
บุญบารมียากจะมี : ไม่เพียงแต่พระพุทธองค์เท่านั้นที่มีพระบารมีอันสูงส่ง แม้แต่ผู้ฟังก็ล้วนแต่เป็นผู้มีคุณธรรมบารมีอันสูงส่งด้วยเช่นกัน
เหตุการณ์ยากจะมี : เหตุการณ์ที่ว่าี้นี้หมายถึง มหาเหตุปัจจัยที่ได้มาเทศนาโปรดสัตว์นั่นเอง
2. พระโพธิสัตว์ : หากลำพังบำเพ็ญแต่ปัญญาเรียกว่า โพธิ และหากลำพังบำเพ็ญแต่บุญวาสนาเรียกว่าสัตว์ แต่สำหรับผู้ที่บำเพ็ญพร้อมด้วยบุญและปัญญา ก็จะเรียกว่าพระโพธิสัตว์ คำว่าพระโพธิสัตว์ ยังมีอีกความหมายหนึ่งคือ เป็นผู้ที่โปรดสัตว์โดยให้ทั้งตนและผู้อื่นรู้แจ้งด้วยดุจกัน
3. อนุตตรสัมมาสัมโพธิ : " อ " มีความหมายว่า ไร้ "นุตตร" มีความหมายว่า สูงส่ง "สัม" มีความหมายว่า เที่ยง "มา" มีความหมายว่า เสมอ "สัม" คือเที่ยง "โพธิ"มีความหมายว่า แจ้ง หากรวมอักษรทั้งหมดก็มีความหมายว่า เป็นความรู้แจ้งและความเสมอยุติธรรมที่เที่ยงตรง โดยไม่มีสิ่งใดจะสู่ส่งเทียบเท่าได้อีกแล้ว หรือก็คือธรรมญาณของเรานั่นเอง ซึ่งธรรมญาณของเรานี้สามารถครองคลุมทั่วทั้งสากล หากใครรับรู้ก็คือผู้สูงส่ง ฉะนั้น จึงเรียกว่าอนุตตร แต่ทั้งนี้นั้น เริ่มตั้งแต่ปวงพระพุทธะ ตลอดจนถึงเหล่าหนอนที่ชอนไชทั้งหลาย ทั้งหมดก็ล้วนได้มีธรรมญาณที่เสมอเหมือนกันทั้งสิ้น ดังนั้นจึงเรียกว่าสัมมา และก็เนื่องด้วยเป็นความกลมใสอำไพ ไม่บกพร่อง ไม่ลำเอียง ดังนั้นจึงเรียกว่าสัมโพธิ
ความสังเขป :
ในบรรพนี้ เป็นจุดเริ่มต้นของการเข้าสู่ส่วนของบทสาระแห่งพระสูตรโดยได้กล่าวถึงอาวุโสสุภูติที่ได้กราบบังคมทูลถามคำถาม 2 ข้อต่อพระพุทธองค์ คือข้อที่หนึ่งได้ถามว่า ควรทำอย่างไรจึงจะดำรงโพธิจิตไม่ให้เสื่อมถอย ? ส่วนอีกข้อหนึ่งได้ถามว่า ควรจะทำอย่างไรจึงจะสยบอกุศลจิตได้ ? (โพธิจิต ก็คือจิตอันรู้แจ้งที่ได้เป็นมาแต่เดิม) สำหรับเหตุปัจจัยที่สุภูติได้ทูลถามคำถาม 2 ข้อนี้นั้นก็เป็นเพราะภาพแห่งอริยาบทของการทรงจีวร ฉันภัตตา ชำระพระบาท และ ปูอาสนะ อันเป็นพระอริยาบทอันธรรมดาของพระพุทธองค์นี้นั้น ได้ทำให้สุภูติเกิดความแจ่มแจ้งในศักยะอันแยบยลแห่ง ใจที่ไร้ยึดดำรง นี้ว่า ไม่สามารถที่จะขาดหายออกจาก องค์แท้แห่งปรัชญา (อันปรัชญาก็คือปัญญาแยบยลนั่นเอง...ผู้แปล) ลักษณ์แท้ ได้เลย ดังนั้น จึงได้เกิดความปลายปลื้มและกล่าวอุทานสรรเสริญว่่า "หาได้ยากหนักหนา ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า !" และก็เนื่องจากได้มาบรรจบกับเหตุปัจจัยที่ได้สุกงอมเช่นนี้ี่เองสุภูติจึงได้ทูลถามคำถาม 2 ข้อนี้ขึ้นมา
โดยที่จริงแล้ว พระพุทธองค์ทรงร่วมอยู่กับศิษย์สาวกทั้งหลายเป็นเวลาถึง 30 ปี ซึ่งศิษย์สาวกทุกคนล้วนแต่ยังไม่ทราบถึงพระเจตนาของพระองค์ได้โดยตลอด โดยต่างยังมีใจคิดว่าพระองค์ก็เหมือนกับคนทั่ว ๆ ไป ดังนั้น จึงยังคงมีความสงสัยในพุทธคำสอนของพระองค์อยู่ แต่ในเวลานั้น สุภูติได้มีความแจ่มแจ้งเข้าใจโดยตลอด จึงทำให้สุภูติได้เกิดอาการปลาบปลื้มปิติอย่างมิอาจระงับ และนี่จึงเป็นเหตุที่สุภูติได้กราบทูลคำถาม 2 ข้อนี้ขึน ด้วยเหตุผลประการนี้ คำว่า "หาได้ยากหนักหนา" ที่สุภูตอได้กล่าวสรรเสริญพระพุทธองค์นั้น จะมิใช่แค่คำสรรเสริญแบบผิวเผินแต่อย่างใด หากแต่เป็นการสรรเสริญแบบปิติในการรู้แจ้ง ฉะนั้น แก่นสาระแห่งพระสูตรนี้ทั้งฉบับ ก็คือคำ ๆ นี้นี่เอง
-
วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร ฉบับ พระพุทธจี้กงอรรถาธิบาย
บรรพที่ ๒
สุภะ ประกาศอันเชิญ
อธิบายพระสูตร :
ในขณะที่พระตถาคตกำลังจะประทับนั่งนั้น สุภูติผู้ซึ่งเป็นผู้อาวุโสที่สุด ทั้งด้านวัยวุฒิและคุณวุฒิในหมู่พุทธสาวกทั้งหลาย ก็ได้ลุกขึ้นจากที่นั่งซึ่งอยู่ท่ามกลางที่ประชุมสงฆ์หมู่มาก สุภูติได้เปลือยไหล่ขวา (เป็นการแสดงถึงการไม่กล้าลบหลู่อาจารย์) คุกเข่าขวาลงกับพื้น (เป็นการแสดงถึงการไม่กล้าผันแปรไปสู่พวกนอกรีต) มือประคองอัญชลี (เป็นการแสดงถึงสรณะ) และได้กราบต่อพระผู้มีพระภาคเจ้า (เป็นการแสดงถึงความสำรวม) พร้อมทั้งกล่าวสรรเสริญพระพุทะองค์ว่า "ช่างหาได้ยากหนักหนา ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ! พระพุทธเจ้าทรงคุ้มครองห่วงใยอันดีต่อเหล่าศิษย์ที่ยังไม่บรรลุธรรม และก็ยังทรงมีความทะนุถนอมบ่มสอนต่อเหล่าศิษย์ที่ได้บรรลุธรรมแล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! หาก กุลบุตร กุลธิดา ได้บังเกิดโพธิจิตแล้ว ควรทำอย่างไรจึงจะทำให้โพธิจิตดำรงอย่างมั่นคงไม่เสื่อมถอย ? และหากยามที่เขาเหล่านั้นได้บังเกิดอกุศลจิตแล้ว ควรทำอย่างไรจึงจะสยบจิตใจของเขาได้ ?"
พระพุทะเจ้าตรัสตอบไปว่า "สำหรับคำถาม 2 ข้อที่เธอได้ถามมา ช่างตรงใจของเราเสียจริง ๆ " (ที่แท้แล้ว การที่พระพุทะเจ้าทรงอุบัติขึ้นในโลก ก็เพื่อที่จะชี้ทางสว่างให้สัตว์โลกสามารถรู้ถึงจิตเดิมแห่งตน แต่ก็ช่างน่าเสียดายที่ยังไม่สามารถประสบโอกาสเหมาะเสียที แธนั้น นับตั้งแต่ได้ตรัสรู้ธรรมจวบจนถึงบัดนี้ ก็มีอยู่หลายสิ่งที่อยากจะกล่าว แต่ก็ยังมิอาจสบโอกาสที่เหมาะสมได้เลย และ ณ บัดนี้ที่มณฑลพิธีแห่งเชตวนาราม ก้เนื่องด้วยคำถาม 2 ข้อของสุภุูตินี้นี่เอง ที่ได้ทำให้พระพุทะองค์ทรงมีพระหฤทัยที่ปลาบปลื้มปิติเพราะได้คนที่รู้ใจ ดังนั้น พระพุทธองค์จึงตรัสชมสุภูติว่า "ถามได้ดียิ่งนัก" ) พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแก่สุภูติต่อไปอีกว่า "ดังที่เธอได้กล่าวไว้นั้นว่า "ตถาคตทรงคุ้มครองห่วงใยต่อปวงศิษย์ที่ยังไม่บรรลุธรรม และยังคงคอยอบรมสั่งสอนแก่บรรดาศิษย์ที่ได้บรรลุธรรม" แล้วนั้น ช่างเป็นคำกล่าวที่ได้กล่าวในสิ่งที่เราอยากจะพูดมานานแล้วหนักหนา ในเมื่อเธอได้เข้าใจเช่นนี้แล้ว เราก็จะกล่าวแก่พวกเธอเอง แต่ก่อนอื่นก็ต้องขอเตือนทุกท่านก่อนว่า จะต้องมีความตั้งใจอย่างยิ่งยวดในการฟัง แล้วเราจึงจะแสดงแก่พวกเธอได้"
"สำหรับกุลบุตร กุลธิดา ที่ได้บังเกิดโพธิจิตแล้วนั้น ก็เท่ากับว่าเขาได้เผยธรรมชาติเดิมแห่งตถาคตออกมาแล้ว เมื่อเป็นเช่นนี้ เขาก็ควรที่จะดำรงจิตเช่นนี้ไว้ และก็ควรที่จะสยบอกุศลจิตทั้งปวงด้วยประการนี้ด้วยเช่นกัน" ( ดั่งที่ว่าจิตธรรมเกิดจิตมนุษย์ถอย แสงตะวันฉายมืดมิดหาย ก็คือฉะนี้เองแล) พอกล่าวจบถึงตอนนี้ พระพุทธองค์ยังมีคำที่จะตรัสต่อไปอีก ซึ่งสุภูติได้เข้าใจจุดนี้ดี จึงได้รับคำว่า "สาธุ" พร้อมทั้งยังเป็นตัวแทนของที่ประชุมสงฆ์กล่าวอันเชิญให้พระองค์ตรัสเทศนาต่อ ซึ่งก็คือไม่ต้องคอยให้พระพุทธองค์ได้ตรัสจบเสียก่อน ก็รีบรับคำว่ายินดีที่จะสดับฟังพระอาจารย์ตรัสต่อไปอีกนั่นเอง
-
วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร ฉบับ พระพุทธจี้กงอรรถาธิบาย
บรรพที่ ๓
มหายาน ศาสตร์แท้
อธิบายบท :
สาวกโพธิสัตว์คือหีนยาี ปัจเจกโพธิสัตว์คือมัชฌิมยาน แต่สำหรับมหายานที่ได้กล่าวถึงในที่นี้ หมายถึงธรรมแห่งพระโพธิสัตว์มหายาน โดยที่สาวกยานคือผู้ที่รู้แจ้งในอริยสัจ 4 ปัจเจกพุทธยานคือผู้ที่รู้แจ้งในปฏิจจสมุปบาท 12 มหายานโพธิสัตว์ คือผู้ที่รู้แจ้งในปารมิตา 6 ซึ่งแม้จะมีความแตกต่างเป็นหลายแขนงสาขา แต่ความหมายของศาสตร์แท้ที่ได้กล่าวถึง ณ ที่นี้จะหมายถึงธรรมอันแยบยลยิ่งแห่งปรัชญา โดยปรัชญาถือว่าเป็นมารดาของปวง
เนื้อหา :
พระพุทธองค์ตรัสแก่สุภูติว่า "เหล่าพระโพธิสัตว์ มหาสัตว์ ควรสยบใจเช่นนี้ สรรสัตว์ทั้งปวง ไม่ว่าจะเกิดจากอัณฑชะ ก็ดีเกิดจากชลาพุชะ ก็ดี เกิดจากสังเสทชะ ก็ดี เกิดจากอุปปติกะ ก็ดี หรือ จักมีรูปก้ดี ไม่มีรูปก้ดี มีสัญญาหรือไร้ (สิ้น) สัญญาก็ดีหรือจักมิมีสัญญาหรือมิไร้ (สิ้น) สัญญาก็ดี เราล้วนชักนำเข้าสู่อนุปาทิเสลนิพพาน และขจัดฉุดช่วย ด้วยการขจัดฉุดช่วยสรรพสัตว์ที่จำนวนมิอาจประมาณนับได้นี้ ความจริงแล้วหาได้มีสรรพสัตว์ใด ๆ ได้รับการขจัดฉุดช่วยเลย เพราะเหตุใด ? สุภูติ ! หากพระโพธิสัตว์มีอาตมะลักษณะ บุคคละลักษณะ สัตวะลักษณะ ชีวะลักษณะ แล้วก็จะมิใช่พระโพธิสัตว์"
ความสังเขป :
สำหรับบรรพนี้ จะเป็นการกล่าวถึงวิธีสยบใจ ซึ่งพระพุทธองค์ทรงมีพระประสงค์จะสานต่อคำถามที่สุภูติได้ถามเอาไว้ในบรรพที่แล้ว คือ จะดำรงจิตนี้อย่างไร ? และจะสยบจิตนี้อย่างไร ? แต่ในบรรพนี้จะกล่าวเฉพาะเรื่องของการสยบใจ โดยไม่กล่าวถึงเรื่องของการดำรงใจเลย ทั้งนี้ก็เป็นเพราะการสยบใจด้วยเช่นกัน ก็คือการดำรงใจด้วยเช่นนี้ดุจกัน ซึ่งก็คือเมื่อสามารถสยบอกุศลจิตนี้ได้แล้ว เรื่องของการดำรง ก็คือการดำรงที่ใจนี้นี่เอง ดังนั้น พระตถาคตจึงทรงตักเตือนผู้บำเพ็ญเสมอว่า ยามเมื่อได้บังเกิดอกุศลจิตขึ้นแล้ว ก็จะไม่สามารถดำรงโพธิจิตให้เป็นนิจได้ แต่ถ้าหากประสงค์ที่ดำรงโพธิจิตนี้ไว้เป็นนิจละก็ ก็ควรที่จะหลีกพ้นจากลักษณะ หากประสงค์จะหลีกพ้นออกจากลักษณะ ก็ควรที่จะแยกแยะลักษณะต่าง ๆ ในแวดล้อมของเราได้
ในบรรพนี้ ถึงแม้จะเป็นการกล่าวถึงวิธีการสยบใจก็จริง แต่ก็ยังคงเน้นถึงความสำคัญในการแยกแยะปวงลักษณะ อีกทั้งการออกห่างจากลักษณะทั้ง 4 คือ อาตมะ บุคคละ สัตวะ และชีวะลักษณะ นอกจากนี้ ในบรรพนี้มิได้กล่าวถึงกุลบุตร กุลธิดา แต่กลับกล่าวถึงพระโพธิสัตว์ มหาสัตว์ ทั้งนี้ก็เป็นเพราะพระโพธิสัตว์คือผู้ที่มีใจกว้างใหญ่ อีกทั้งที่ยังเป็นศิษย์ที่ได้บรรลุธรมแล้วนั่นเอง อนึ่ง การที่พระพุทะองค์ทรงแสดง วิธีการสยบใจแก่พระโพธิสัตว์นั้น ก็เป็นสิ่งที่แน่นอนว่า กุลบุตร กุลธิดาก็สามารภที่จะปฏิบัติตามวิธีการสยบใจเช่นนี้มาสยบใจของตนเองได้ และด้วยวิธีการปฏิบัติเช่นนี้นี่เอง ก็สามารถที่จะดำรงโพธิจิตให้เป็นนิจได้แล้วแล
อธิบายพระสูตร :
พระพุทะองค์ตรัสแก่สุภูติว่า "พระโพธิสัตว์ มหาสัตว์ทุกพระองค์ควรที่จะปฏิบัติตามวิธีที่เราได้กล่าวดังต่อไปนี้มาสยบอกุศลจิต เช่นนี้จึงจะสามารถดำรงโพธิจิตเอาไว้ได้ ส่วนวิธีการสยบจิตใจก็คือต้องหลีกพ้นจาก 4 ลักษณะ หากจะหลีกพ้นจากลักษณะ ก็ควรที่จะแยกแยะลักษณะทั้งปวงได้ และตอนนี้เราจะขอสรุปลักษณะของเวไนยสัตว์ ซึ่งมีอยู่ 10 ประการด้วยกันคือ มีแบบเกิดจากอัณฑชะ เกิดจากชลาพุชะ เกิดจากสังเสทชะ เกิดจากอุปปติกะ แบบมีรูป แบบไม่มีรูป แบบมีสัญญา แบบไร้ (สิ้น)สัญญา แบบมิมีสัญญา แบบมิไร้(สิ้น)สัญญา ทั้งหมดที่ได้กล่าวไปนี้ล้วนแต่เป็นอกุศลจิตของเวไนยสัตว์ที่ไม่ใช่ใจจริงแห่งพระโพธิสัตว์ และเราก็จักทำการขจัดซึ่งกรรมของพวกเขา อีกทั้งยังจะฉุดช่วยพวกเขาให้พ้นจากการเวียนว่ายในคติทั้ง 6 โดยมิต้องมีการเกิดการตายและเข้าสู่ดินแดนอันวิสุทธิ์ที่อสังขตะไป และถึงแม้เราจะได้ขจัดฉุดช่วยเวไนยสัตว์อันเหนือคณานับเช่นนี้ก็ตาม แต่โดยความจริงแล้วไม่มีเวไนยสัตว์ใดเลยที่ได้รับการขจัดฉุดช่วยจากเรา นี่เป็นเพราะสาเหตุใดหละ ? นั่นเป็นเพราะเวไนยสัตว์กับพระโพธิสัตว์ต่างก็มีจิตโพธินี้ดุจกัน แต่สำหรับการขจัดอกุศลจิตและฉุดช่วยเขาให้ย้อนสู่ความวิสุทธิ์ของเขาในตอนนี้นั้น แท้จริงก็คือการย้อนกลับสู่โฉมเดิมที่เคยมี ควรรู้ไว้ว่า ธรรมญาณตนเท่านั้นที่ฉุดช่วยตน มิใช่ตถาคตเราเป็นผู้ฉุดช่วยแต่อย่างใดเลย และ้ช่นนี้จึงจะทำให้ได้รับในสิ่งอื่นได้"
พระพุทธองค์ตรัสต่อไปว่า "สุภูติ ! หากพวกเขาได้มีความคิดว่าได้รับการขจัดฉุดช่วยจากเราแล้ว เช่นนี้ก้เท่ากับว่ายังมีความยึดติดในอาตมะ บุคคละ สัตวะ ชีวะ อันเป็นลักษณะทั้ง 4 นี้อยู่ ซึ่งนั่นก็หมายความว่ายังคงเป็นเวไนยสัตว์แห่งธรรมญาณตนที่ยังไม่ได้ขจัดฉุดช่วยสู่อนุปาทิเลสนิพพานอยู่ดี และก้แน่นอนว่ายังไม่ใช่พระโพธิสัตว์ สำหรับเหตุผลเช่นนี้ หากพระโพธิสัตว์ยังไม่สามารถเข้าใจได้ ก็ยังคงเป็นเวไนยสัตวือยู่ดี แต่สำหรับพระโพธิสัตว์ที่ได้รู้แจ้งเข้าใจเช่นนี้แล้ว จึงจะเป็นพระโพธิสัตว์ได้ กล่าวคือ โดยแท้จริงแล้วธรรมญาณตนเท่านั้นที่แฉุดช่วยตน โดยที่พระตถาคตไม่ได้มีคุณงามความดีอะไรกับเขาเลย และพวกเขาก็ไม่ควรที่จะมีความคิดว่าได้รับการขจัดฉุดช่วยจากพระตถาคต ซึ่งหากพวกเขายังมีความคิดเช่นนี้อยู่ ก็คือยังมีความยึดติดใน 4 ลักษณะ และเช่นนี้ก็จะยังมิใช่พระโพธิสัตว์นั่นเองแล
-
วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร ฉบับ พระพุทธจี้กงอรรถาธิบาย
บรรพที่ ๓
มหายาน ศาสตร์แท้
คำศัพท์ :
๑ อริยสัจ 4 : ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค (พ.จ.)
๒ ปฏิจจสมุปบาท 12 มีรายละเอียดดังนี้
1 อวิชชา (เป็นปัจจัยที่เกิดสังขาร) 2 สังขาร (เป็นปัจจัยที่เกิดวิญญาณ)
3 วิญญาณ (เป็นปัจจัยให้เกิดนามรูป) 4 นามรูป (เป็นปัจจัยให้เกิดอายตนะ)
5 อายตนะ 6 (เป็นปัจจัยให้เกิดผัสสะ) 6 ผัสสะ (เป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา)
7 เวทนา (เป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา) 8 ตัณหา (เป็นปัจจัยให้เกิดอุปาทาน)
9 อุปาทาน (เป็นปัจจัยให้เกิดภพ) 10 ภพ (เป็นปัจจัยให้เกิดชาติ)
11 ชาติ (เป็นปัจจัยให้เกิดชรามรณะ) 12 ชรามรณะ (เป็นปัจจัยให้เกิดอวิชชา)---(พ.จ.)
ปารมิตา 6 : ทานบารมี ศีลบารมี ขันติบารมี วิริยบารมี ฌานบารมี ปัญาบารมี ----(พ.จ.)
อัณฑชะ : เกิดจากครรภ์ ----(พ.จ.)
ชลาพุชะ : เกิดจากฟองไข่ ----(พ.จ.)
สังเสทชะ : เกิดจากเถ้าไคลความชื้นแฉะ ----(พ.จ.)
อุปปติกะ : เกิดแบบผุดขึ้น (ไม่ว่าจะเป็นเทวดาก็ดี สัตวนรกก็ดี เมื่อเกิดผุดขึ้นก็ใหญ่โตในทันที โดยไม่ต้องผ่านช่วงของทารกเลย และก้เมื่อถึงคราวจุติก็หายวับไปโดยไม่ทิ้งซากไว้ ----(พ.จ.)
1 มหาสัตว์ : มหา มีความหมายว่าใหญ่หลวง หมาสัตว์ก็คือพระโพธิสัตว์ที่เปี่ยมด้วยฌานแห่งการรู้แจ้งที่ยิ่งใหญ่
2 อนุปาทิเลสนิพพาน : หมายถึงการไม่หลงเหลือลักษณะมายาแห่งการเกิดดับแม้แต่น้อย นิพพาน ก็คือญาณแห่งการรู้แจ้ง ซึ่งแต่เดิมนั้นก็ไร้การเกิดการดับ ฉะนั้น อนุปาทิเลสนิพพานก็คือ มหานิพพานนั่นเอง
3 ขจัดฉุดช่วย : ขจัดก็คือการขจัดแห่งลักษณะมายา ฉุดช่วยก็คือการฟื้นฟูญาณแห่งการรู้แจ้ง ความหมายของการขจัดฉุดช่วยก็คือ การอาศัยปัญญาอันอำไพมาขจัดความลุ่มหลงอันเป็นความมืดมิดให้หมดไป ( ขออุปมาดังเช่น การรักษาโรคสายตาของผู้ป่วยหลังจากที่ผู้ป่วยได้ผ่านการรักษาบำบัดจนได้หายขาดจากโรคตานี้แล้ว สายตาของเขาก็ได้ย้อนกลับสู่ความแจ่มชัดใหม่อีกครั้ง ซึ่งคุณหมอก็คือผู้รักษาสายตาโรคของเขา แต่คุณหมอไม่ได้เป็นผู้ที่ให้ความแจ่มชัดของสายตาแก่เขา ดังนั้นเราจึงทราบได้ว่า ความแจ่มชัดคือสิ่งที่สายตาได้มีอยู่แต่เดิม ส่วนโรคสายตานั้นคือสิ่งที่แต่เดิมไม่เคยได้มีมาก่อน ก็เพราะแต่เดิมไม่เคยมีมาก่อน ฉะนั้นจึงสามารถขจัดได้ และก็เนื่องด้วยเป็นสิ่งที่มีมาแต่เดิมแล้ว ฉะนั้นจึงสามารถฉุดช่วยได้แล)
4 อาตมะลักษณะ : ลักษณะก็คือรูปลักษณ์ และเมื่อได้ยึดติดในรูปลักษณ์ ใจก็จะไม่ว่างเปล่า ซึ่งจะเกิดเป็นความติดข้องและไม่สามารถสลาย เช่นนี้เรียกว่าลักษณะ สำหรับอาตมะลักษณะนั้น ก็คือสิ่งใดก็แล้วแต่ที่รักแต่ตัวและเอาแต่ดิ้นรนขวนขวายกับมันตลอดทั้งวัน มีความอยากในทางแก่งแย่งชื่อเสียงฐานะและผลประโยชน์เพื่ออนาคตของตัวเอง อีกทั้งเพื่ออนาคตของลูกหลาน ทั้งหมดนี้ล้วนแต่เป็นอาตมะลักษณะทั้งสิ้น
5 บุคคละลักษณะ : หมายถึงทุกสิ่งที่เป็นการแบ่งแยกเขาเรา เช่นเมื่อเห็นอำนาจทรัพย์สินของผู้อื่นก็จะประจบไขว่คว้าเสียไม่หยุด และเมื่อยามที่เห็นคนอื่นเขาอ่อนแอกว่าก็จะเกิดความรังเกลียดดูแคลนอยู่ตลอดเวลา อิจฉาในสิ่งที่เขามี ตระหนี่ในสิ่งที่เขาขอ ทั้งหมดนี้ล้วนแต่เป็นบุคคละลักษณะทั้งสิ้น
6 สัตวะลักษณะ : อันสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดจากรูป เวทนา สัญญา สังขารมาผสมและเกาะกุมกัน หรือเป็นรัก โลภ โกรธ หลง ที่ได้กลบฝังความประภัสสรแห่งญาณเดิม ทั้งหมดนี้ล้วนแต่เป็นสัตวะลักษณะทั้งสิ้น
7 ชีวะลักษณะ : อันสิ่งต่าง ๆ ที่ได้แก่การปักธูปภาวนาวอนขอเพื่อให้ได้บุญวาสนา หรือการปรุงยาเสกฤทธิ์เพื่อให้มีอายุที่วัฒนะ ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นชีวะลักษณะทั้งสิ้น
-
วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร ฉบับ พระพุทธจี้กงอรรถาธิบาย
บรรพที่ ๔
สังขาร (ดำเนิน) แยบยล ไร้ดำรง
อธิบายบท :
อันว่าดำเนิน (สังขาร) แยบยลนั้นก็คือ ไร้สิ่งที่สามารถดำเนิน และไร้สิ่งที่ได้ดำเนิน สำหรับความหมายของการดำเนินโดยไร้สิ่งที่ได้ดำเนินนั้นนั้นก็คือ แม้จะดำเนินแต่ก็ไร้การยึดติดดำเนิน ซึ่งโดยแท้แล้ว วิญญาณที่ 7 ของเราก็คือคำว่า ดำเนิน หากยังมีสิ่งที่ได้ดำเนิน เช่นนี้ก็มิอาจไร้ดำรงได้ และหากยังมีการดำรง เช่นนี้ก็จะไม่มีการย้อนกลับสู่ความเดิมที่บริสุทธิ์ และแผ่ซ่านไปทั่วทั้งธรรมธาตุได้นั่นเอง ฉะนั้น สำหรับหลักอันแยบยลของการ ดำเนินโดยไร้ดำเนิน ดำรงโดยไร้ดำรง เช่นนี้ หากมิใช่เป็นโพธิสัตว์ระดับ 9 ระดับ 10 แล้วหละก็ ก็มิอาจที่จะเข้าใจความแยบยลเช่นนี้ได้เลย ด้วยเหตุนี้ สำหรับผู้ที่บำเพ็ญอยู่ในฌาน 4 สมาธิ 4 นั้น ก็ยังเป็นผู้ที่ไม่สามารถพ้นออกจากภาวะแห่งความทุกข์ของการติดอยู่ในขันธ์ 5 ได้อยู่ดี สำหรับการดำเนินแยบยลไร้ดำรง ที่ได้กล่าวถึงในบรรพนี้นั้น จะหมายถึงการบริจาคทานโดยไม่ยึดติดในลักษณะ เพราะลักษณะทั้งปวงล้วนแต่เป็นมายา การที่ยึดติดในลักษณะก็คือการยึดติดในมายา หากไม่ยึดติดในลักษณะ ก็จะไม่ถูกสภาวะแห่งมายาจากภายนอกสั่นคลอนเราได้ เมื่อไม่ถูกสภาวะแห่งมายามาสั่นคลอน เช่นนี้ก็จะไม่เกิดไม่ดับ ซึ่งก็คือร่างเดิมแท้ที่วิสุทธิ์อันเป็นการย้อนกลับสู่โฉมเดิมที่เด่นสง่านั่นเอง และด้วยการดำรงที่ไร้ดำรงเช่นนี้ จึงจะเป็นการดำรงอันแยบยลที่แท้จริงแล
เนื้อหา :
"อนึ่ง สุภูติ ! ในธรรมนั้น พระโพธิสัตว์ควรบริจาคทาน โดยไร้ดำรงกล่าวคือ จักบริจาคทานโดยไร้ดำรงในรูป ไร้ดำรงในเสียงกลิ่น รส สัมผัส และ ธรรมารมณ์ สุภูติ ! พระโพธิสัตว์ควรบริจาคทานเช่นนี้ โดยไร้ดำรงในลักษณะ เพราะเหตุใด ? หากพระโพธิสัตว์ไร้ดำรงในลักษณะบริจาคทาน บุญวาสนาที่ได้รับก็จักมิอาจคิดคำนวนได้เลย สุภูติ ! "ไม่แล ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ! " "สุภูติ ! ทิศทักษิณ ปัจฉิม อุดร ตลอดจนความว่างเปล่าในบนล่างสารทิศสามารถคะเนได้หรือไม่ ?" "ไม่แล ข้าแต่พระผุ้มีพระภาคเจ้า ! " "สุ๓ุติ ! พระโพธิสัตว์ไร้ดำรงในลักษณะบริจาคทาน บุญวาสนาที่ได้ย่อมไม่อาจคะเนได้ดุจกัน สุภูติ ! พระโพธิสัตว์พึงดำรงตามคำสอนเช่นนี้แล"
ความสังเขป :
สำหรับบรรพนี้ จะเป็นบรรพที่ได้กล่าวถึงวิธีการดำรงจิตนั่นเองแล อันว่าไร้ดำรงที่ได้กล่าวถึงในที่นี้นั้น หมายถึงภายในไม่ดำรงในอาตมะ ภายนอกไม่ดำรงในบุคคละ ท่ามกลางไม่ดำรงในสิ่งที่บริจาค ซึ่งจะสามารถอุปมาได้ดั่งกระจกที่ฉายส่องวัตถุ กล่าวคือ ยามที่วัตถุมาก็ปรากฏภาพ ยามที่วัตถุไปก็ละวางเฉย ซึ่งหมายถึงต้องหลีกพ้นจากอายตนะลักษณะแห่งเวไนยสัตว์ที่มีอยู่ 6 ประการด้วยกันคือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ นั่นเอง แต่เหตุใดจึงได้กล่าวเฉพาะบริจาคทานที่ไม่ได้ยึดติดในลักษณะก่อนหละ ? นั่นก็เป็นเพราะในพุทธธรรมนั้นจะมีอยู่ 6 บารมี คือ ทานบารมี ศีลบารมี ขันติบารมี วิริยะบารมี ฌานบารมี ปัญญาบารมี โดยที่ทานบารมีจะขจัดความโลภ ตระหนี่ ศีลบารมีจะขจัดความราคะ ขันติบารมีจะขจัดความโกรธแค้น วิริยะบารมีจะขจัดความเกียจคร้าน ฌานบารมีจะขจัดความฟุ้งซ่าน ปัญญาบารมีจะขจัดความโง่เขลา และเป็นที่ยอมรับกันทุกคนว่า งานที่ดีที่สุดในโลกก็คืองานการกุศล และ การบริจาคทาน ก็ยังเป็นสิ่งที่ไม่สามารถแยกออกจากงานการกุศลได้อีกด้วย ดังนั้น การบริจาคทานจึงถือว่าเป็นที่หนึ่งของบารมี 6 อย่างไม่มีข้อสงสัยใด ๆ และด้วยการมีทัศนะต่อการบริจาคทานเช่นนี้ ประการหนึ่งคือสามารถให้ความสุขแก่ผู้อื่นได้ ส่วนอีกประการหนึ่งคือสามารถขจัดความตระหนี่ของตนเองให้หมดไปได้นั่นเอง แต่ทว่า การที่พระโพธิสัตว์เจริญทานนั้น
ก็ควรที่จะไม่ยึดในลักษณะ เพราะหากได้ยึดในลักษณะก็เท่ากับได้ตกสู่สภาวะแห่งอายตนะที่ตาหลงในรูป หูหลงในเสียง จมูกชอบในกลิ่น ปากติดในรส กายใคร่ในสัมผัส อีกทั้งใจที่เกิดการแยกแยะเปรียบเทียบได้ ซึ่งหากยังเป็นเช่นนี้อยู่ ก็เท่ากับว่ายังคงเป็นเวไนยสัตว์แห่งธรรมญาณอยู่ดี และก็ด้วยการที่มีความโลภเช่นนี้นี่เอง ที่ได้เป็นเหตุให้หลงลืมไปจากโพธิอันเป็นความแจ้งเดิมแท้ของตนไป แล้วเหตุใดจึงต้องกล่าวถึงรูปก่อนหละ ? นั่นก็เป็นเพราะกรรมของรูปแห่งจักษุอินทรีย์จะมีความหนักหนาเป็นพิเศษ ซึ่งพระตถาคตก็ทรงเป็นห่วงผู้บำเพ็ญในอนาคตกาลจะเกิดใจระแวงที่คิดว่า "แท้จริงแล้ว ก็เพราะต้องการบุญจึงให้บริจาคทาน และหากบอกว่าไม่ให้ดำรงในลักษณะบริจาคทานหละก็ เช่นนี้ก็ต้องเป็นความว่าง ก็ในเมื่อเป็นความว่างแล้วจะให้มีบุญอย่างไรได้ ?" ด้วยเหตุผลดังนี้ พระพุทธองค์จึงตรัสเทศนาต่อไปว่า "หากพระโพธิสัตว์ได้บริจาคทานโดยไม่ดำรงในลักษณะแล้ว บุญที่ได้ก็จะมีความมหาศาลกว่าอย่างมากมายนัก"
โดยสรุปแล้วก็คือ มาตรว่าการบริจาคทานของพระโพธิสัตว์จะเป็นการทำโดยมุ่งหวังในบุญวาสนาก็จริง แต่หากจิตใจที่มุ่งหวังในบุญวาสนานี้ได้เกิดยึดติดในลักษณะแล้ว แม้นว่าจะได้รับบุญวาสนาอย่างไร ๆ ก็ตาม แต่บุญวาสนานี้ก็จะมีไม่มากนัก ในทางตรงกันข้าม หากพระโพธิสัตว์ท่านนี้ได้บริจาคทานโดยหลีกพ้นจากลักษณะ บุญวาสนาที่ได้รับก็จะมีความยิ่งใหญ่อย่างสุดคณาได้นั่นเอง นอกจากนี้ พระพุทธองค์ยังได้ตรัสถึงบุญวาสนาที่ยิ่งใหญ่มโหฬารแบบนี้ว่า มีความมโหฬารดุจความว่างเปล่าในสากลทิศที่มิอาจคะเนได้ดุจกัน (หากเราได้มองจากทิศบูรพาก็จะมีแต่ทิศปัจฉิม หากเรามองจากทิศทักษิณก็จะมีแต่ทิศอุดร หากเรามองจากบนก็จะเห็นแต่ล่าง หากเรามองล่างก็จะเห็นแต่บน จากตรงนี้ก็ทำให้เราทราบได้ว่า ทิศทั้ง 4 ล้วนเป็นเพียงแค่นามบัญญัติที่มนุษย์ได้กำหนดขึ้นเท่านั้น ซึ่งแต่เดิมนั้นก็ไม่ได้มีขอบเขต ไม่ได้มีท่ามกลางอย่างที่ได้บัญญัติขึ้นแต่อย่างใด และเช่นนี้ก็คือความหมายของ"อินทรีย์ 6 ที่กลมกระจ่าง 4 ทิศโปร่งไร้ขวางกั้น" นั่นเอง)
อธิบายพระสูตร :
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเทศนาต่อไปว่า "สุภูติ ! สำหรับธรรมแห่งอนุตตรสัมมาสัมโพธินั้น พระโพธิสัตว์ไม่ควรที่จะยึดติดลักษณะบริจาคทาน และการที่จะไม่ยึดติดในลักษณะที่บริจาคทานได้นั้น ก็จักต้องมีอินทรีย์ 6 มีความวิสุทธิ์ ให้หลีกพ้นออกจากอายตนะลักษณะ คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส กามารมณ์" (ผู้ให้ลืมการให้ ผู้รับลืมการรับ อีกทั้งยังต้องลืมถึงสิ่งของที่ได้ให้ไป ด้วยการที่การให้ว่าง การรับว่าง สิ่งที่ให้ว่างเช่นกัน จึงจะเรียกได้ว่าเป็น " 3ปัจจัยจักรว่าง") พระพุทธองค์ได้ตรัสต่อไปว่า "สุภูติ !พระโพธิสัตว์ควรจะไม่ดำรงลักษณะบริจาคทาน ทั้งนี้เป็นเพราะเหตุใดหละ ? นั่นก็เป็นเพราะการดำรงบริจาคทาน ก็จะกลายเป็นกรอบที่ได้ถูกผุกมัดจากการมีัลักษณะเท่านัน เพราะโดยแท้จริงแล้ว อันลักษณะต่าง ๆ ของเวไนย์สัตว์นั้นก็เป็นเหมือนเช่นฝุ่นธุลีซึ่งแม้จะได้รับบุญก็จริง แต๋ก็มิอาจที่จะยั่งยืนได้ และถ้าหากพระโพธิสัตว์ไม่ยึดในลักษณะบริจาคทาน อีกทั้งยังสามารถปฏิบัติใน 3 ปัจจัยจักรว่างนี้ได้แล้ว เช่นนี้ก็จะไม่มีลักษณะที่จะดำรงได้อีกต่อไป และด้วยบุญที่ไร้ดำรงในลักษณะเช่นนี้ก็จะไม่มีลักษณะที่จะดำรงได้อีกต่อไป และด้วยบุญที่ไร้ดำรงในลักษณะเช่นนี้ จึงจะเป็นบุญที่มิอาจประเมิณปริมาณได้นั่นเองแล" พระพุทะองค์ทรงแสดงต่อไปว่า "สุภูติ ! เธอคิดว่าความว่างเปล่าของทิศบูรพาอันไพศาลนี้สามารถคะเนได้หรือไม่ ?" สุภูติทูลตอบว่า "ไม่สามารถที่จะคะเนได้เลย ข้าแต่พระผุ้มีพระภาคเจ้า !" พระพุทธองค์ทรงถามต่อไปว่า " สุภูติ ! สำหรับทิศปัจฉิม อุดร ทักษิณ ตลอดจนทั้งบนล่างทุกสารทิศนี้สามารถที่จะคะเนได้หรือไม่ ?" สุภูติทูลตอบว่า " ไม่สามารถที่จะคะเนได้เลย ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ! " พระพุทธองค์ทรงแสดงต่อไปว่า "สุภูติ ! พระโพธิสัตว์ควรที่จะปฏิบัติตามคำสอนแห่งความคุ้มครองห่วงใยอันดี อบรมสั่งสอนอันดีของเราในการสยบจิตใจเช่นนี้ ในการดำรงเป็นนิจในจิตใจเช่นนี้ โดยมิต้องไปไขว่คว้าการดำรงจิตใจในแบบอื่นอีกเลย"
-
วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร ฉบับ พระพุทธจี้กงอรรถาธิบาย
บรรพที่ ๔
สังขาร (ดำเนิน) แยบยล ไร้ดำรง
คำศัพท์
สังขาร : หนึ่งในขันธ์ 5 ...(ผู้แปล)
วิญญาณ 7 (กลิสตมนวิญาณ) : คือหนึ่งใน 8 วิญญาณ โดย 8 วิญญาณมีรายละเอียดดังนี้ 1.จักษุวิญญาณ 2.โสตวิญญาณ 3.ฆานวิญญาณ 4. ชิวหาวิญญาณ 5. กายวิญญาณ 6.มโนวิญญาณ 7.กลิสตมนวิญญาณ 8.อาลยวิญญาณ ...(พ.จ.)
ฌาน 4 : ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน
การบำเพ็ญฌานสมาธิ 4 จะส่งผลให้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นรูปธาตุ คือ ปฐมฌานภูมิ ทุติยฌานภูมิ ตติยฌานภูมิ จตุตถฌานภูมิ...(พ.พ.จ.)
พ.พ.จ. หมายถึง พจนานุกรมพุทธศาสนาฉบับภาษาจีน (ฝอเสวียฉางเจี้ยนฉือฮุ่ย) เฉินอี้เซี่ยว .สำนักพิมพ์ ฝอเจี้ยวซูปั่นเซ่อ.พิมพ์ที่ฝูฟงพลิ้นติ้ง (ไต้หวัน)
ขันธ์ 5 คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ...(พ.จ.)
บริจาคทาน : เป็นหนึ่งในบารมี 6 แห่งพุทธธรรม ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภทคือ 1.ทรัพย์เป็นทาน 2.ธรรมเป็นทาน คือการแสดงธรรมโดยมีความวิริยะไม่เหนื่อยหน่าย อยู่ในฌานสมาธิโดยไม่ฟุ้งซ่าน ดำรงในปัญญาโดยไม่ตาลปัตร 3.แรงกายเป็นทาน คือ หากได้มีคนตกอยู่ท่ามกลางความวิตกเดือดร้อน อีกทั้งอยู่ในขอบเขตความสามารถที่เราช่วยเหลือได้ สิ่งที่เราได้ทำลงไปในการคลายความวิตกเดือดร้อนโดยไม่ย่อท้อต่อความยากนั้น เรียกว่าแรงกายเป็นทาน
ความว่างเปล่า : ดุจดั่งมิติอันเคว้งคว้างว่างเปล่าในสากลจักรวาลที่ไร้แม้สิ่งขวางกั้นอย่างอณูผง โดยจะเป็นความปรุโปร่งแจ่มชัด ที่มิใช่สิ่งที่ความคิดจะสามารถคาดเดาเอาได้เลย
-
วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร ฉบับ พระพุทธจี้กงอรรถาธิบาย
บรรพที่ ๕
ดั่งแท้เห็นจริง
อธิบายบท :
อันว่า "ดั่ง" นั้น คือดั่งตถตาแล ในทั่วทั้งทศภูมิ ไม่ได้มีธรรมใดที่เที่ยงแท้แม้แต่นิดเดียว เพราะหากว่ามีธรรมที่เที่ยงแท้หละก็ทั้งหมดก็ล้วนเป็นเพียงแค่มายาลักษณะทั้งสิ้น อันว่าดั่งแท้นั้น หมายถึงอย่าได้มีลักษณะแห่งมายามาเห็นตถาคต แต่ควรที่จะเห็นตถาคตโดยไร้ลักษณะ มิไร้ลักษณะต่างหาก (อะไรคือ ไร้ลักษณะ ? กล่าวคือ ลักษณะทั้งปวงในโลกนี้ล้วนแต่เป็นภาวะแห่งมายา ซึ่งเดิมทีก็ไม่ได้มีอยู่แล้ว ฉะนั้น จึงเรียกว่าไร้ลักษณะ และอะไรคือมิไร้ลักษณะ ? กล่าวคือ ธรรมทั้งหลายแห่งทศภูมิ ก็สามารถที่จะนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างไร้ขอบเขตและมีความเสรีโดยไร้ความขัดข้องได้เช่นกัน ฉะนั้นจึงเรียกว่า มิไร้ลักษณะ) สำหรับการเห็นจริงนั้นคือ เห็นตถาคตแห่งธรรมญาณ ซึ่งได้มีความแจ้งในธรรมญาณแล้วว่า แท้จริงแล้ว ธรรมญาณมีความว่างเป็นธรรมชาติฉะนั้นจึงไม่ควรที่จะเห็นตถาคตด้วยลักษณะ สำหรับคำว่า ดั่งแท้เห็นจริง ก็คือ ไม่ควรที่จะยึดติดลักษณะ อีกทั้งไม่ควรที่จะหลีกพ้นจากลักษณะ เพราะการยึดติดลักษณะนั้น โดยแท้แล้วก็ล้วนแต่เป็นมายา แต่ถ้าหากคิดจะหลีกพ้นจากลักษณะ การปฏิบัติเช่นนี้ก็จะตกสู่การดับสูญอีก ฉะนั้น จึงควรที่จะไม่ยึดและไม่ละ กล่าวคือ ถึงแม้จะมีลักษณะ แต่ไม่เกิดอาการของการดำรงในลักษณะ เช่นนี้ก็จะเห็นปวงลักษณะ ซึ่งก็จะพบเห็นตถาคตได้เองแล
เนื้อหา :
"สุภูติ ! ในความหมายนี้เป็นเช่นไร ? สามารถอาศัยกายลักษณะเห็นตถาคตได้หรือไม่ ?" "ไม่แล ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ! ไม่สามารถอาศัยกายลักษณะเห็นตถาคตได้ เพราะเหตุใด ? กายลักษณะที่พระตถาคตได้ตรัส มิใช่กายลักษณะ" พระสุคตตรัสแก่สุภูติว่า "ลักษณะที่มีอยู่ทั้งหลายล้วนเป็นมายาหากเห็นเหล่าลักษณะมิใช่ลักษณะ ก็จะเห็นตถาคต
ความสังเขป :
ในบรรพนี้ จะกล่าวถึงการทำลายลักษณะแห่งมายา ซึ่งในบรรพก่อน ๆ ก็ได้กล่าวถึงวิธีการสยบใจไปแล้ว ทั้งนี้ ก็เพราะต้องการให้พระโพธิสัตว์บังเกิดโพธิจิตเช่นนี้นั่นเอง ส่วนกุลบุตร กุลธิดา โดยทั่ว ๆ ไป ก็ควรที่จะบังเกิดโพธิจิตเช่นนี้ด้วยดุจกัน และถึงแม้พระตถาคตจะทรงสอนไว้เช่นนี้แล้วก็ตาม แต่พระองค์ก็ยังทรงเป็นห่วงศิษย์สาวกทั้งหลายอยู่ กล่าวคือ ในขณะที่พูดนั้นดูเหมือนจะเข้าใจแจ่มแจ้ง แต่ภายในใจก็ยังคงมีความหลงใหลต่อสภาวะภายนอกอยู่ ดังนั้น จึงลองถามสุภูติว่า "สามารถที่จะอาศัยกายลักษณะเห็นตถาคตได้หรือไม่ ?" ทั้งนี้ก็เพื่อต้องการทดสอบสุภูติว่าจะมีความเข้าใจ "การสยบใจหลีกพ้นลักษณะ" แล้วหรือยัง ครั้งสุภูติถูกถามเช่นนี้ สุภูติก็สามารถเข้าในทันทีได้ว่า นี่คือการลองถามความเข้าใจของสุภูติเอง ดังนั้นจึงกราบทูลพระตถาคตว่า "ไม่สามารถที่จะใช้กายลักษณะ (รูปกาย) เห็นตถาคตได้" แท้จริงแล้ว พุทธกายมิได้หมายถึงรูปกายเลย ซึ่งโดยความจริงนั้นคือ ธรรมกายที่เป็นความว่างแท้อันไร้ลักษณะต่างหาก และเมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ไหนเลยที่จะใช้มังสะจักษุมาเป็นรูปกายแห่งพระตถาคตได้ ? และไม่เพียงแต่ปุถุชนที่ไม่สามารถเห็นได้เท่านั้น แม้แต่พระโพธิสัตว์แห่งหีนยานก็ไม่อาจเห็นตถาคตได้ด้วยเช่นกัน ในบันทึกแห่งฌานได้กล่าวไว้ว่า "ไผ่หยกเขียวขจี มิต่างไยกับธรรมกายมาลีเหลืองอันเสียดแน่น แท้ก็คือปรัชญาบาน" ในประโยคได้หมายถึงว่าธรรมกายสามารถแผ่ซ่านไปทั่วทั้งความว่างเปล่าในสากล ซึ่งทุกต้นไม่หย่อมหญ้าล้วนอยู่ในทะเลญาณแห่งตถาคต สำหรับข้อความประโยคนี้ ได้นำเอาไผ่หยกที่เขียวขจีมาอุปมาให้เกิดความเข้าใจถึง องค์ ที่เป็นธรรมกาย แต่มิใช่หมายความว่าไผ่หยกนั้นคือธรรมกาย นอกจากนี้ ก็ยังได้เปรียบมาลีเหลืองอันเสียดแน่นมาแสดงให้เห็นถึง ศักยะ ของปรัชญา แต่มิใช่หมายความว่ามาลีสีเหลืองก็คือปรัชญา สำหรับการตอบคำถามสุภูติในขณะนั้น ก็ได้ทำให้พระตถาคตทรงเข้าพระทัยแล้วว่า สุภูติได้มีความเข้าใจ การสยบใจหลีกพ้นลักษณะ แล้ว จึงทำให้พระองค์ทรงรู้สึกว่า สุภูติได้มีความคิดที่ตรงกับพระองค์ดีแล้ว ดังนั้น พระพุทธองค์ทรงตรัสแก่สุภูติต่อไปว่า "ไม่เพียงแต่ลักษณะแห่งพระพุทธะที่เป็นเช่นนี้เท่านั้น แม้กระทั่งลักษณะทั้งปวงในโลกนี้ทั้งหมดก็ล้วนแต่เกิดจากการผสมและการแปรผันจากปัจจัยต่าง ๆ ซึ่งเป็นมายาเฉกเช่นกัน แต่หากสามารถเห็นเหล่าลักษณะ ดุจดั่งการเห็นแจ้งในโฉมเดิมแท้อันมิใช่อัตตาทัศน์แล้ว เช่นนี้ก็จักไม่เกิดความบกพร่องแห่งการยึดในลักษณะและหลงจากโฉมเดิมได้ และหากยิ่งได้ย้อนมองส่องตนด้วยแล้ว ก็จักรู้ได้ว่าในรูปกายของเราเองนั้น ก็ยังมีกายแห่งธรรมญาณที่ยังคงเปล่งปรากฏในทุกเวลาได้"
ในบันทึกแห่งคันติ้งได้กล่าวไว้ว่า "ยึดลักษณะหลงจากจริงแท้ ดุจดั่งไกลพันลี้แม้เพียงแค่เอื้อม แต่หากถ่อมใจสัมผัสสรรพสิ่ง ก็จักรู้ว่าทั่วหล้าล้วนชายคาเดียวกัน" เราจึงทราบได้ว่า ตถาคตมิใช่สิ่งที่ได้มาจากภายนอกเลย อนึ่ง ในบรรพนี้ได้ใช้คำว่าเหล่าลักษณะจะมีทั้งมี มีทั้งไร้ มีทั้งมิมี มีทั้งมิไร้ต่าง ๆ นานา ซึ่งหากจะนับกันแล้วก็จะมีจำนวนเป็นนับร้อย ดังนั้น เหล่าลักษณะในที่นี้จึงหมายถึงลักษณะอันมากมายนั่นเองแล
อธิบายพระสูตร :
พระสุคตตรัสต่อไปว่า "สุภูติ ! เธอมีความเห็นเป็นเช่นไร ? คือผู้บำเพ็ญนั้น สามารถที่จะเห็นรุปกายของตถาคตได้หรือไม่ ?"สุภูติทูลตอบว่า "ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ! ไม่สามารถที่จะเห็นรูปกายของตถาคตได้เลย ทั้งนี้เป็นเพราะเหตุผลใดหละ ? นั่นก็เป็นเพราะกายลักษณะที่พระองค์ตรัสนั้นจะมิใช่กายลักษณะ หากแต่เป็นธรรมกาย ฉะนั้นจึงไม่สามารถที่จะเห็นได้" พระพุทธองค์ตรัสต่อไปว่า "ไม่เพียงแค่นี้เท่านั้น สำหรับลักษณะทั้งหลายทั้งปวงในโลกนี้ล้วนแต่เป็นมายาแล้ว เช่นนี้ก็จะสามารถพบลักษณะธรรม (ธรรมสัณฐาน) แห่งตถาคตได้นั่นเองแล"
คำศัพท์ :
กายลักษณะ : หมายถึงรูปกายสังขาร
มิใช่กายลักษณะ : หมายถึง ธรรมกาย
ตถาคต : ก็คือพุทธญาณของเราเอง
ทศภูมิ : พระพุทธภูมิ พระโพธิสัตว์ภูมิ พระปัจเจกพุทธภูมิ พระสาวกภูมิ เทวภูมิ มนุษยภูมิ อสูรภูมิ นรกภูมิ เปรตภูมิ เดรัจฉานภูมิ ......(พ.จ.)
-
วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร ฉบับ พระพุทธจี้กงอรรถาธิบาย
บรรพที่ ๖
ศรัทธาเที่ยงตรงยากจะมี
อธิบายบท :
ในบรรพก่อนได้กล่าวถึงการไม่ควรเห็นตถาคตด้วยกายลักษณะ ซึ่งกถาธรรมข้อนี้เป็นสิ่งที่ยากจะเข้าใจยิ่งนัก ดังนั้น พระพุทธองค์จึงทรงเป็นห่วงเวไนยสัตว์ว่าจะเกิดความสงสัย และสรุปความคิดไปเองว่า "แท้จริงแล้วไม่ได้มีพระพุทธะเลย" ด้วยเหตุฉะนี้ พระองค์จึงใช้ปรัชญาอันแยบยลที่ไม่ดำรงในลักษณะมาตรัสสอนซ้ำอีกครั้งหนึ่ง เพื่อที่จะให้เวไนย์สัตว์ได้ขจัดความสงสัยและเกิดความศรัทธาเที่ยงตรงขึ้นมา ซึ่งความสงสัยนี้จะเกิดจากสองบรรพที่่แล้ว และการ มิใช่ลักษณะมาเห็นตถาคต นั่นเอง สำหรับสาเหตุแห่งปัญญาที่ได้ก่อให้เกิดความสงสัยเหล่านี้ ก็ล้วนเป็นเพราะปุถุชนมักบริจาคโดยดำรงในลักษณะ หรือแม้กระทั่งการอยากพบพระพุทธะก็ยังเป็นการดำรงในลักษณะมาพบพระพุทธะเลย ซึ่งปุถุชนไม่เข้าใจว่าการไม่ใช่ดำรงลักษณะบริจาคทานนั้น ปัญญาจะมีความลุ่มลึกมากยิ่งกว่า ดังนั้น พระพุทธองค์จึงทรงสอนผู้คนด้วยเหตุ แห่งการไร้ลักษณะเพื่อให้ซึมซาบเข้าสู่ผลแห่งการไร้ลักษณะ และด้วย เหตุ ที่ลึกซึ้ง และผล ที่ลึกซึ้งเช่นนี้ ก็เป็นสิ่งที่ยากจะเชื่อและยากจะเข้าใจยิ่ง ดังนั้นจึงกล่าวว่า "ศรัทธาเที่ยงตรงยากจะมี" แล
เนื้อหา :
สุภูติทูลถามพระพุทธองค์ว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ยังจะมีเวไนยสัตว์ที่ได้สดับพระธรรมบรรยายฉะนี้ แลัวบังเกิดศรัทธาอันเที่ยงแท้หรือไม่ ?" พระพุทธองค์ตรัสตอบสุภูติว่า "อย่าได้กล่าวเช่นนั้น หลังจากตถาคตดับขันธ์ปรินิพพาน หลัง 500 ปี มีผู้ถือศีลบำเพ็ญบุญที่อาศัยพระธรรมนี้ จนสามารถเกิดใจศรัทธา และถือสิ่งนี้เป็นจริง ควรรู้ว่าคนนี้ ไม่เพียงแต่ปลูกฝังกุศลมูลเฉพาะ 1 พุทธะ 2 พุทธะ, 3, 4, 5 พระพุทธะเท่านั้น หากแต่เขาได้ปลูกฝังกุศลมูลต่อพระพุทธะอันมิอาจประมาณได้เลย และเมื่อเขาได้สดับฟังพระธรรมดังกล่าว กระทั่งเกิดศรัทธาบริสุทธิ์ สุภูติ ! ตถาคตนั้นรู้หมด เห็นหมด คือ เหล่าเวไนยสัตว์ที่ยึดธรรมฉันนี้ จักได้รับบุญวาสนา อันไร้ขอบเขต เพราะเหตุใด ? เป็นเพราะเหล่าเวไนยสัตว์ฉันนี้จะไม่กลับไปมี อาตมะลักษณะ บุคคละลักษณะ สัตวะลักษณะ ชีวะลักษณะ ไร้ธรรมลักษณะ อีกทั้งไร้อธรรมลักษณะ เพราะเหตุใด ? เพราะเหล่าเวไนยสัตว์ฉันนี้ หากมีใจเกิดติดในลักษณะ ก็คือติดยึดใน อาตมะลักษณะ บุคคละ สัตวะ และชีวะลักษณะ หากติดในธรรมลักษณะ ก็คือ ยึดติดในอาตมะ บุคคละ สัตวะ และชีวะลักษณะ เพราะเหตุใด ? หากติดในอธรรมลักษณะ ก็คือติดในอาตมะ บุคคละ สัตวะ และชีวะลักษณะ ฉะนั้น จึงไม่ควรติดยึดในธรรม ไม่ควรติดยึดในอธรรม ด้วยความหมายเช่นนี้ ตถาคตมักกล่าวเป็นเสมอว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พึงรู้ว่าธรรมที่เราแสดง อุปมาดั่งแพ
แม้แต่ธรรมยังต้องละ นับประสาอะไรกับอธรรมเล่า"
-
วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร ฉบับ พระพุทธจี้กงอรรถาธิบาย
บรรพที่ ๖
ศรัทธาเที่ยงตรงยากจะมี
ความสังเขป :
สำหรับเหตุปัจจัยของบรรพนี้ ก็เป็นเพราะสุภูติได้ฟังพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า "หากเห็นปวงลักษณะมิใช่ลักษณะ ก็จะเห็นตถาคต" ซึ่งประโยคนี้ได้ทำให้สุภูติเกิดความเข้าใจว่า "จักไม่มีพระโพธิสัตว์องค์ใดที่จะสนองรับปฏิบัติโดยไม่มีความศรัทธาได้เลย" และเมื่อสุภูติคิดได้เช่นนี้ ก็ทำให้เกิดความห่วงใยเวไนยสัตว์ในยุคท้ายว่า "หากได้ฟังหลักธรรมอันแยบยลเช่นนี้แล้ว อาจจะทำให้เกิดความคลางแคลงใจและไม่เชื่อถือเอาได้" ที่กล่าวเช่นนี้หมายความว่าอย่างไรหละ ? นั่นเป็นเพราะในบรรพที่ 4 พระพุทธองค์ได้ตรัสถึง "พระโพธิสัตว์ควรที่จะไม่ดำรงลักษณะบริจาคทาน" และในบรรพที่ 5 ก็ยังตรัสว่า "พระพุทธะมิใช่รูปลักษณะ" อีก เมื่อเป็นเช่นนี้ก็จะทำให้เวไนยสัตว์ในยุคท้ายเกิดความสงสัยว่า "ทั้งพระพุทธะและธรรมล้วนไร้รูปลักษณะ ซึ่งหากพระพุทธะและธรรม ล้วนไม่ได้มีอยู่แล้ว นั่นมิใช่หมายความว่าทั้งบุคคละและธรรมล้วนได้ดับสิ้น กฏแห่งกรรมล้วนว่างเปล่าหรอกหรือ ?" ด้วยเหตุผลดังนี้ จึงทำให้สุภูติเกิดความห่วงใยเวไนยสัตว์ในยุคท้ายว่า หลังจากได้สดับหลักธรรมอันว่างแท้และไร้ลักษณะนี้แล้ว อาจจะทำให้ยากแก่การเกิดศรัทธาได้ ดังนั้น สุภูติจึงเจาะจงต่อปัญหานี้มากราบทูลพระผู้มีพระภาค ซึ่งพระผู้มีพระภาคก็ทรงตอบสุภูติไปว่า "ไฉนจะไม่มีคนประเภทนี้ไปได้ เพียงแต่ผู้ทีบังเกิดจิตใจศรัทธาแน่วแน่ฉันนี้จะมิใช่เป็นบุคคลธรรมดาเลย เพราะบุคคลเหล่านี้ต้องเป็นผู้ที่ "บาปทั้งปวงมิยอมทำ (ถือศีล) บุญทั้งปวงเร่งสร้างสรรค์" ด้วยประการเช่นนี้ จึงจะทำให้เกิดความศรัทธาแน่วแน่ได้ แต่ทั้งนี้เป็นเพราะเหตุใดหละ ?" "นั่นก็เป็นเพราะความคิดของคนเรานั้น ในทุกห้วงความคิดจะมีอยู่ 4 รูปแบบคือ เกิด ดำรง แปรผัน ดับสิ้น โดยที่ความคิดเหล่านี้จะไม่มีการหยุดนิ่งได้เลย หรือก็คือในหนึ่งการดีดนิ้วจะมีอยู่ 90 ขณะ และสำหรับความคิดในหนึ่งขณะจะมีการเกิดดับ 900 ครั้ง ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่ละเอียดอ่อนมาก แต่เวไนยสัตว์ไม่เพียงแต่จะไม่เข้าใจในจุดนี้ได้เท่านั้น มิหนำซ้ำยังกลับไปหันหลังให้กลับความแจ้งและคลุกอยู่กับโลกีย์ โดยในทุกห้วงความคิดล้วนแต่เป็นลักษณะแห่งโลกีย์พันธะ จึงได้ทำให้ถูก 18 ธาตุ ซึ่งเป็นอินทรีย์อายตนะและวิญญาณนี้มามอมเมา และเกิดความหลงใหลอยู่ในความสุขแห่ง 5 ตัณหา ซ้ำยังได้ถูกขันธ์ 5 มาบดบังจนอับแสงอีก ฉะนั้น การที่จะหวังให้เกิดความศรัทธาบริสุทธิ์ได้ ก็ช่างเป็นเรื่องที่ยากเสียเหลือเกิน แต่สำหรับผู้ที่ได้สดับพระสูตรนี้จนสามารถเกิดความศรัทธาบริสุทธิ์ได้นั้น บุคคลนี้จักต้องเป็นผู้มีพื้นฐานแน่นลึกที่เปี่ยมด้วยบุญญาธิการอันสูงส่ง จึงจะทำให้เกิดความศรัทธามั่นคงในธรรมะนี้ได้ ทั้งนี้ก็เป็นเพราะเมล็ดกุศลพันธุ์ ได้ปลูกกุศลมูลในอาลยวิญญาณซึ่งเป็นวิญญาณที่ 8 แล้ว ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นเวลาใดก็ตาม เมล็ดพันธุ์นี้ก็ยังต้องเจริญงอกบงามอยู่ดี" ฉะนั้น ดังคำโบราณที่ได้ว่าไว้คือ "บาปที่ยิ่งใหญ่เทียมฟ้า ช่างหายากยิ่งที่จะมีคำว่าศรัทธานี้ได้" ก็เพราะว่าศรัทธาเป็นมารดาแห่งบุญกุศล ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นปวงพระพุทธะหรือพระโพธิสัตว์องค์ใดก็ตาม นับตั้งแต่สมัยที่เริ่มบำเพ็ญจนกระทั่งมาถึงสมัยแห่งการสำเร็จธรรมนี้ ก็ล้วนแต่ต้องมีความศรัทธาเป็นที่ตั้งเสียก่อน และเมื่อยามที่เวไนยสัตว์ได้เกิดหนึ่งความคิดที่ศรัทธาแล้วก้เท่ากับได้ปลูกกุศลผลที่จะได้งอกงามขึ้นมาในอนาคตกาลนั่นเอง ดังนัน ด้วยหนึ่งความคิดที่เกิดความศรัทธานี้ จึงนับได้ว่าเป็นบุญวาสนาที่ยากจะคะเนเอาได้ ด้วยเหตุฉะนี้พระตถาคตจึงทรงแสดงโดยตรงว่า "แม้เวไนยสัตว์จะมีมากมายก็จริง แต่พระองค์ก็ทรงรู้หมดและเห็นหมด นั่นก็เป็นเพราะเวไนยสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้ล้วนได้อยู่ในทะเลญาณแห่งพระตถาคต โดยที่ทุกกิริยาการเคลื่อนไหว ล้วนแต่อยู่ในการรู้การเห็นของพระตถาคตทั้งสิ้น" นอกจากนี้ พระพุทธองค์ยังได้ตรัสประทานแก่เวไนยสัตว์อีกว่า "ยามที่บุคคลใดได้เกิดจิตศรัทธาบริสุทธิ์ขึ้นแล้ว 4 ลักษณะ ( อาตมะ บุคคละ สัตวะ ชีวะ) ธรรมลักษณะ (คือการยึดติดในบทอักษรของพระสูตรนี้) อธรรมลักษณะ (ผูกติดอยู่กับความว่างจนเป็นเหมือนกับสิ่งที่ได้ตายและไปปิดกั้นการรู้การเห็น) ก็จะไม่เกิดขึ้นในใจของเขาอีกต่อไป นั่นก็เป็นเพราะลักษณะต่าง ๆ ที่เขาได้เห็นเหล่านี้ล้วนแต่เป็นสิ่งที่ไม่ได้มีอยู่ในญาณอันรู้แจ้งในตัวของเขาเลย และหากเวไนยสัตว์ฉันนี้ได้มีใจที่ยึดเกาะในลักษณะแล้ว ก็เท่ากับว่าเขายังมีความผูกพันธ์ต่อลักษณะทัง 4 นี้อยู่ และหากเวไนยสัตว์ได้ยึดอยู่ในธรรมลักษณะแล้ว นั่นก็ยังคงเป็นการยึดติดอยู่ใน 4 ลักษณะนี้เช่นกัน หรือหากเขาได้ยึดอยู่ในอธรรมลักษณะ นั่นก็ยังเป็นความลำเอียงไปในความว่างเสียเกินไป จนกระทั่งได้ตกสู่สภาวะแห่งการดับ การรู้ การเห็น ไปแล้วนั่นเอง โดยสรุปแล้วก็คือ การที่จะแจ่มแจ้งในหลักแห่งความว่างแท้อันไร้ลักษณะได้นั้น จะต้องมิเกิดการยึดในธรรม อีกทั้งมิเกิดการยึดในอธรรม ทั้งสองสุดขั้วล้วนไม่ควรเกิดการยึกติด นั่นเป็นเพราะการยึดติดในธรรมก็จะเป็นการตรึงติดในธรรม เพราะธรรมญาณของเราแต่เดิมก็ไร้ธรรมอันใดอยู่แล้ว แต่หากจะยึดในอธรรม ก็จะเป็นการยึดติดในความว่างไปเสียอีก เพราะโดยความจริงเราก็ไม่ควรที่จะละจากการอาศัยธรรมให้เกิดความรู้แจ้งในธรรมญาณได้ ดังนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงใช้แพรมาทำการอุปมาให้เราเข้าใจ กล่าวคือ หลังจากที่เราได้อาศัยแพข้ามไปถึงฝั่งแล้ว ก็ควรที่จะสละแพและขึ้นสู่ฝั่งไป นั่นหมายความว่า หลังจากที่เราได้รู้แจ้งในธรรมญาณแล้ว ก็จะไม่มีสิ่งใดที่เป็นธรรมได้อีกต่อไป แต่หากยังไม่ได้รู้แจ้งในธรรมญาณ และลำพังเอาแต่ยึดติดในการเห็นแห่งอธรรม (ความว่างแท้ที่ไร้ลักษณะ) นี้หละก็ เช่นนี้ก็ยังคงไม่สามารถพ้นออกจากการเวียนว่ายตายเกิดได้อยู่ดี
ในบันทึกแห่งฌานได้กล่าวถึงว่า " เธอไม่มีไม้เท้า ฉันก็ให้ไม้เท้าแก่เธอ แต่ยามที่เธอมีไม้เท้าแล้ว ฉันก็จะชิงไม้เท้าจากเธอไป" ซึ่งสิ่งนี้ก็คือ การสอนเราให้ละจากธรรมเพื่อทำลายธรรมทิฐินั่นเอง ท่านฟู่ต้าซื่อ (พระภาคหนึ่งของพระศรีอริย์ที่ทรงอุบัติในประเทศจีน....(ผู้แปล) ) ก็เคยกล่าวไว้ว่า "การข้ามน้ำจำเป็นต้องอาศัยแพ แม่เมื่อยามที่ได้ถึงฝั่งแล้วก็ไม่จำเป็นต้องใช้มันอีก" สำหรับจุดนี้ ก็เป็นคำสอนที่สอนเราให้อาศัยธรรมในการแจ้งในธรรมญาณนั่นเองแล
-
วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร ฉบับ พระพุทธจี้กงอรรถาธิบาย
บรรพที่ ๖
ศรัทธาเที่ยงตรงยากจะมี
อธิบายพระสูตร :
สุภูติได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! สิ่งที่พระองค์ตรัสสอนเกี่ยวกับการ "ไม่ดำรงในลักษณะบริจาคทาน" อีกทั้งยังตรัสถึงเรื่องของการ "หากเห็นปวงลักษณะมิใช่ลักษณะ ก็จะพบตถาคตได้" นั้น ทั้งสองประเด็นนี้ช่างเป็นหลักธรรมอันแยบยลที่ว่างแท้และไร้ลักษณะเสียจริง ๆ และ เมื่อผู้ที่มีพื้นฐานแห่งมหายานได้สดับพระธรรมฉันนี้แล้ว ก็จักต้องมีความศรัทธาและสนองรับปฏิบัติเป็นแน่ แต่สำหรับเวไนยสัตว์อีกมากมายที่จะได้สดับฟังพระสูตรนี้ มิทราบว่าจะเกิดความศรัทธาแท้ได้หรือไม่ ?" พระผู้มีพระภาคทรงตอบคำถามสุภูติว่า "เธออย่าได้กล่าวเช่นนั้น สำหรับพระธรรมที่เราได้แสดงไปนั้น ถึงแม้จะมีความแยบยลลึกซึ้งก็จริง แต่ไฉนจะไม่มีผู้ที่เชื่อศรัทธาอย่างเต็มที่ไปได้ ? เพราะไม่เพียงแต่ในปัจจุบันเท่านั้นที่จะมี แม้แต่ในอนาคตกาล หรือกระทั่งหลัง 500 ปี อันเป็นเวลาหลังจากที่เราได้ดับขันธ์ปรินิพพานแล้ว ก็ยังคงมีผู้บำเพ็ญศีลและปลูกเนื้อนาบุญที่ยังสามารถเกิดความศรัทธามั่นคงต่อพระสูตรนี้ได้ ด้วยมาตรว่าจะเป็นแค่เพียงหนึ่งประโยคหรือหนึ่งถ้อยคำก็ตาม ซึ่งก็จะรู้ได้ว่าบุคคลฉันนี้คือ บุคคลที่มีรากบุญอันแน่นลึก โดยไม่เพียงแต่เป็นรากบุญที่เคยปลูกฝังกับ 1, 2, 3, 4, 5 พระพุทธะเท่านั้น หากแต่เป็นรากบุญที่เคยปลูกฝังกับพระพุทธะอันเป็นจำนวนที่มิอาจนับได้เลย และหากเขาซึ่งเป็นผู้ที่มีรากบุญอันฝังลึกเช่นนี้ได้สดับพระสูตร มาตรว่าจะเป็นแค่เพียงหนึ่งประโยคหรือหนึ่งถ้อยคำก็ตาม ก็จะสามารถทำให้จิตใจเขาบังเกิดความสงบไม่ฟุ้งซ่าน และมีความมั่นคงในศรัทธาอย่างไม่เสื่อมถอยได้ สุภูติ ! ด้วยพุทธปัญญาและปัญญาจักษุจองเราก็สามารถที่จะรู้ได้ว่า บุคคลที่มีความศรัทธาอันบริสุทธิ์ประเภทนี้จักมีความแจ่มแจ้งในพุทธญาณ ซึ่งจะสามารถได้รับบุญวาสนาอันเหลือคณนาที่เป็นดั่งความว่างเปล่าแห่งสากลทิศ ทั้งนี้เป็นเพราะเหตุใดหละ ?" พระพุทธองค์ตรัสต่อไปว่า "นี่ก็เป็นเพราะเวไนยสัตว์ที่มีรากบุญอันสุกงอมฉันนี้จักได้รู้แจ้งหลักธรรมอันแยบยลที่เป็นสิ่งว่างแท้และไร้ลักษณะ และเขาไม่เพียงแต่จะได้พ้นจากอาตมะ บุคคละ สัตวะ ชีวะ อันเป็น 4 ลักษณะนี้ได้เท่านั้น หากแต่เขายังไม่มีธรรมลักษณะ (ยึดติดในอักษรของพระสูตรนี้ โดยเชื่อถือในข้อความของอักษรนี้อย่างหัวปักหัวปำ จนตกสู่สภาวะของการ ได้เห็น นี่ก็คือธรรมลักษณะ) อธรรมลักษณะ (ยึดติดอยู่ในความว่างที่ขาดสูญ และ จมปลักอยู่ในภาวะของการ ไร้การเห็น เช่นนี้คืออธรรมลักษณะ) และก็เวไนยสัตว์ประเภทนี้นี่เอง ที่หากยังมีใจยึดมั่นถือมั่นอยู่ ก็เท่ากับว่าเขาได้เกิดความยึดติดในอาตมะ บุคคละ สัตวะ ชีวะลักษณะ และหากได้ยึดอยู่ในวาจาอักษรของพระสูตรนี้ ก็ยังคงเป็นการติดอยู่ใน 4 ลักษณะ หรือหากเขายังมีใจที่ยึดมั่นลำเอียงอยู่ในความว่างก็เท่ากับว่าเขามีความคิดที่ดื้อรั้นเกี่ยวกับการตายว่า คือกายและใจล้วนได้ดับสูญ โดยคิดว่าความว่างคือไร้แม้สิ่งเดียว ซึ่งถือว่าเป็นทัศนะที่ผิดพลาดอย่างฉกรรจ์ยิ่ง เพราะความคิดทัศนะเช่นนี้ก็ไม่แตกต่างอะไรกับการยึดติดอยู่ใน 4 ลักษณะนั่นเอง ดังนั้นจึงต้องปล่อยวางความคิดอันเป็นแบบสุดขั้วทั้งสอง ไม่ควรยึดติดการมี อีกทั้งไม่ควรยึดติดการไร้ เช่นนี้ก็จะสามารถแจ่มแจ้งในความว่างแห่งธรรมญาณ และห่างละออกจากธรรมไปได้ ก็เนื่องด้วยมันเป็นหลักอันแยบยลเช่นนี้นี่เอง เราจึงจำใจตรัสเทศนาธรรม ก็เพื่อต้องการให้เธอทั้งหลายห่างลักษณะแจ้งในธรรมญาณกระทั่งข้ามพ้นสู่ฝั่งโน้นไป ด้วยเหตุผลประการนี้ จึงจำเป็นต้องอาศัยธรรมนี้มาช่วยให้เธอได้พ้นจากทะเลทุกข์แห่งการเวียนว่ายตายเกิด แต่ถ้าหากเธอทั้งหลายได้แจ่มแจ้งในธรรมญาณของตน และได้บรรลุสู่ความสุขอันนิรันดร์แห่งนิพพานแล้ว ธรรมของเราก็สามารถที่จะละไปได้ เพราะมันไม่มีความจำเป็นอีกต่อไป สำหรับการอุปมานั้น ก็อุปมาได้ดั่งสานไม้ไผ่ให้เป็นแพที่ได้พาคนให้ข้ามแม่น้ำไปสู่ฝั่ง หลังจากที่ได้ถึงฝั่งแล้ว แพนี้ก็จะไม่มีประโยชน์อีกต่อไป และในเมื่อแม้แต่สัทธรรมแห่งพระพุทธะยังสามารถที่จะละไปได้ แล้วพวกสิ่งที่ไม่ใช่พุทธวจนะอันเป็นอักษรโวหารแห่งทัศนะของชาวโลกนั้น ทำไมจึงจะไม่สามารถละได้หละ ?"
-
วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร ฉบับ พระพุทธจี้กงอรรถาธิบาย
บรรพที่ ๖
ศรัทธาเที่ยงตรงยากจะมี
คำศัพท์ :
หลัง 500 ปี : ในสูตรมหาสังฆาตได้แบ่งยุคสมัยออกเป็น 5 ยุค โดยเริ่มนับจากเวลาที่พระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพาน ซึ่งในแต่ละยุคจะเป็นเวลา 500 ปี รวมทั้งสิ้น 2,500 ปี ด้วยกัน ซึ่งแต่ละยุคจะมีรายละเอียดดังนี้คือ 1.ยุคหลุดพ้นมั่นคง 2. ยุคฌานสมาธิมั่นคง 3.ยุคพหูสูตรมั่นคง 4. ยุควัดอารามมั่นคง 5. ยุคแก่งแย่งชิงดีมั่นคง สำหรับหลัง 500 ปี ที่ได้กล่าวถึงในพระสูตรนี้จะหมายถึง 500 ปี ในยุคที่ 5 นั่นเอง (หมายเหตุ : อ้างอิงจาก หลี่อี้หยู 2536 วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร ฉบับภาษาจีนกลาง ฉางหงพลิ้นติ้ง(ไต้หวัน)
ถือศีลบำเพ็ญบุญ : ถือศีลมีอยู่ 3 ประเภทคือ (คำอธิบายของศีลทั้ง 3 ข้อ ได้อ้างอิงจาก พ.จ....ผู้แปล)
1. สังวรศีล : ศีลคือการสำรวมระวัง คือไม่ว่าจะเป็นการเดิน ยืน นั่ง นอน การไปหรือการกลับ ก็ล้วนแต่ต้องมีการสำรวมกาย ใจ อย่างเคร่งครัด
2. กุศลธรรมสงเคราะห์ศีล : ศีลที่ประพฤติเพื่อสงเคราะห์แก่กุศลธรรม หรือหมายความว่า ต้องรู้จักปฏิบัติในกุศลกรรมทั้งปวง
3. สัตวารถกิริยาศีล : ศีลที่ประพฤติเพื่อประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวง
บุญวาสนา : ผู้ที่ศรัทธาเชื่อมั่นในพระสูตรนี้จึงจะถือว่ามีบุญวาสนา แต่สิ่งที่เสพกันแต่เฉพาะในโลกนี้เรียกว่า บุญสนอง
ไร้อธรรมลักษณะ : อธรรมหมายถึงการตัดสิ้นในธรรม ซึ่งเป็นการยึดรั้นอยู่ในความว่าง
อาตมะ บุคคละ สัตวะ ชีวะลักษณะ : สำหรับรูปแบบอารมณ์ของเวไนยสัตว์ในโลกนี้ ล้วนแต่อยู่ในขอบเขตของ 4 ลักษณะนี้ทั้งสิ้น และนอกจาก 4 ลักษณะนี้แล้ว ก็ยังมีธรรมลักษณะ อธรรมลักษณะ ลักษณะที่ดับสูญ ซึ่งลักษณะต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนแต่เป็นลักษณะทางใจ นอกจากนี้แล้วยังมีกายลักษณะ มหาปุริสลักษณะ 32 เอกฆนลักษณะ ทั้งหมดนี้ล้วนแต่เป็นลักษณะทางรูปลักษณ์ซึ่งก็เิกิดจากใจเช่นเดียวกัน อนึ่ง หากใจไม่มีลักษณะ แล้วไยจะมีรูปลักษณ์ได้ และถ้าหากเราสามารถขยายขอบเขตจากจุดนี้และเข้าใจในลักษณ์แท้ได้แล้ว เช่นนี้ก็คือ ความรู้แจ้งนั่นเองแล
18 ธาตุ : อายตนะภายนอก 6 อายตนะภายใน 6 วิญญาณ 6 ...(ผู้แปล)
5 ตัณหา : รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส....(ผู้แปล)
-
วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร ฉบับ พระพุทธจี้กงอรรถาธิบาย
บรรพที่ ๗
ไร้รับ ไร้วาจา
อธิบายบท :
ในบรรพก่อนได้กล่าวถึงในประเด็นที่ว่าด้วย "พระพุทธะไม่อาจที่จะเห็นได้" "ธรรมะไม่อาจที่จะยึดได้" สำหรับ 2 ประเด็นนี้ ก็อาจจะทำใหเวไนยสัตว์เกิดคำถามขึ้นว่า "ในเมื่อพระพุทธะไม่อาจที่จะเห็นได้ แล้วพระสูตรนี้ใครเป็นผู้ตรัสหละ ? อีกทั้งหากธรรมเป็นสิ่งที่ไม่อาจยึดได้แล้ว เช่นนี้ผู้ที่ได้ธรรมก็จะเป็นใครอีกหละ ?" สำหรับปํญหาเหล่านี้ล้วนเป็นปัญหาของปุถุชนที่คิดว่า "ต้องมีสิ่งที่ได้จึงจะเรียกว่าได้ ต้องมีธรรมที่สามารถรับจึงจะเรียกว่าธรรม" แต่เขาหารู้ไม่ว่า อันธรรมนั้น คือธรรมที่ไม่อาจเปรียบและไม่อาจเห็น ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่อาจใช้วัตถุรูปลักษณ์มาประมาณเอาได้เลย และในเมื่อเป็นสิ่งที่ไม่อาจเปรียบไม่อาจเห็นได้แล้ว ไยยังมีสิ่งใดให้ได้กันอีก ?แต่ก็จะมีคนฉลาดอีกประเภทหนึ่งที่จะบอกว่าได้ด้วยใจ แต่การที่ได้ด้วยใจนั้น แท้จริงก็ยังเป็นอัตตาทิฐิอีกรูปแบบหนึ่งที่เราไม่อาจเห็นได้เช่นกัน ซึ่งเราจะเรียกว่า "เครื่องกั้นแห่งการสามารถรู้" หรือเรียกว่า "เครื่องกั้นแห่งธรรม" ซึ่งก็คือ เครื่องกั้นแห่งเรื่องราวปุถุชน เครื่องกั้นแห่งธรรมกั้นพระโพธิสัตว์นั่นเอง ดังนั้น สำหรับ ไร้รับ ที่ได้กล่าวถึงในบรรพนี้ก็จะหมายถึงการขจัดเครื่องกั้นแห่ง เรื่องราว และ ธรรม นั่นเองแล ในตอนที่ยังไม่แจ้งก้ควรที่จะอาศัยวาจาอักษรเป็นเครื่องชี้ทางให้เกิดความเข้าใจ แต่หลังจากที่ได้แจ้งแล้ว วาจาอักษรล้วนแต่ไม่ถูกต้องทั้งสิ้น สำหรับการเทศนาธรรมแห่งพระตถาคตนั้น บางครั้งก็บอกว่ามีการเทศนา บางครั้งก็บอกว่าไร้การเทศนา ซึ่งโดยความจริงแล้วก็เป็นเพียงแค่จัดยาบำบัดรักษาตามอาการของโรคเท่านั้น โดยพระตถาคตจะไม่มีการตรัสสอนที่แน่นอนตายตัวเลย แต่หากผู้สดับได้เกิดความเข้าใจกันตามวาจาอักษรแล้ว ก็จะเกิดเป็นการยึดอยู่ในการมีและการรับ และทั้งหมดนี้ก็ยังคงเป็นอาการป่วยแห่งธรรมทิฐิอยู่ดี หรือก็คือการที่สามารถมีวาจาพูดกล่าวได้นั้น ล้วนยังคงไร้แก่นสารที่แท้จริงนั่นเอง ส่วน "ไร้วาจา" ที่ได้กล่าวถึงในที่นี้ก็คือ การทำลายเครื่องกั้นอันเกิดจากวาจาและอักษร ฉะนั้น ในพระสูตรจึงมีการสดุดีกันเช่นนี้ว่า "หากมีใจล้วนเป็นมายา ไร้ยึดติดจริงเป็นจริงแท้ หากแจ่มแจ้งในธรรมไม่ใช่อธรรม จึงจะเสรีพ้น 6 อินทรีย์"
เนื้อหา :
"สุภูติ ! ในความหมายนี้เป็นเช่นไร ? ตถาคตได้อนุตตรสัมมาสัมโพธิฤา ? ตถาคตได้แสดงธรรมฤา ? สุภูติทูลตอบว่า "ตามความเข้าใจในความหมายที่พระองค์ตรัสของข้าพระองค์นั้นคือ ไม่มีธรรมที่แน่นอน ที่ชื่อว่า อนุตตรสัมมาสัมโพธิ และไม่มีธรรมที่แน่นอนที่ตถาคตได้แสดง เพราะเหตุใด ? ธรรมที่ตถาคตได้แสดงเทศนา ล้วนมิอาจยึด มิควรกล่าว ไม่ใช่ธรรม ไม่ใช่อธรรม ทั้งนี้เพราะเหตุใด ? เมธีอริยะทั้งหลาย ล้วนเนื่องด้วยอสังขตธรรม และเกิดความแตกต่าง"
ความสังเขป :
ในบรรพนี้ ก็ยังคงเป็นบรรพต่อเนื่องจากบรรพที่แล้วที่ได้กล่าวถึงการห่างพ้นจากลักษณะนั่นเอง ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะให้สานุศิษย์ทั้งหลายได้เข้าใจในความหมายของพระสูตรว่า "ในธรรมนั้น ควรที่จะบริจาคโดยไร้การดำรงแล" ในญาณแจ้งเดิมนั้น แต่เดิมก็ได้มี 4 ลักษณะ ธรรมลักษณะ และอธรรมลักษณะอยู่แล้ว ดังนั้น พระตถาคตจึงทรงอธิบายความหมายระหว่างธรรมและอธรรมในบรรพที่ 6 โดยได้ใช้แพเป็นเครื่องอุปมาเพื่อให้เรารู้ว่า ทั้งธรรมและอธรรมล้วนไม่ควรมีการยึดถือ แต่พระพุทะองค์ก็ทรงเป็นห่วงศิษย์ทั้งหลายจะเกิดความสงสัยว่า " ในเมื่อทั้งธรรมและอธรรมล้วนไม่ควรที่จะยึดถือแล้ว ไฉนพระพุทธเจ้าเองยังต้องฝึกฝนบำเพ็ญเหตุ เพื่อที่จะให้ได้ผลแห่งสัมโพธิด้วยหละ ? และไยต้องจัดประชุมสนทนาปรัชญาธรรมอีก 16 ครั้ง ที่มีสมาชิกผู้ร่วมฟังอันประกอบด้วยเทวามนุษย์นี้อีกทำไมหละ ? สำหรับจุดนี้ พระพุทธองค์ทรงเกรงว่าจะเกิดความเข้าใจผิดได้ง่าย ดังนั้น พระพุทธองค์จึงทรงตรัสถามสุภูติเพื่อทดสอบดูว่า สุภูติได้มีความเข้าใจในความหมายของการไม่ยึดถือแล้วหรือยัง โดยคำถามคือ "พระตถาคตได้รับอนุตตรสัมมาสัมโพธิหรือไม่แล ? (ตถาคตมีการได้รับโพธิหรือไม่ ?) พระตถาคตได้มีการเทศนาธรรมหรือไม่แล ? (ตถาคตได้มีการตรัสสอนธรรมะที่แน่นอนหรือไม่ ?) ครั้งสุภูติ ได้ถูกซักเช่นนี้ก็ได้เข้าใจในพระเจตนา จึงได้กราบทูลว่า "ในสิ่งที่ท่านพระอาจารย์ทรงอุปมาเกี่ยวกับแพนั้น ข้าพระองค์ได้มีความเข้าใจดีแล้ว คือ ในยามที่ยังไม่ได้ข้ามก็จำเป็นต้องยึดถืออาศัยแพ แต่หลังจากที่ได้ข้ามไปแล้วก็จำเป็นต้องสละทิ้งเสีย" หากได้ขยายความตามจุดนี้ก็จะทราบได้ว่า ประเด็นในด้านการยึดและการละนั้น ไหนเลยที่จะมีธรรม (วิธี) ที่แน่นอนได้ ดังนั้นเราจึงทราบได้ว่า ไม่มีธรรมที่แน่นอนเลยที่เรียกว่าโพธิ และขณะเดียวกัน ก็ไม่มีธรรมที่แน่นอนที่จะสามารถกล่าวได้ เพราะธรรมแห่งอนุตตรโพธินั้น ล้วนแต่เป็นธรรมชาติของญาณแจ้งของเรา ซึ่งไม่สามารถที่จะได้เนื่องจากการกระทำปรุงแต่งแห่งมนุษย์ได้เลย และไม่เป็นเพียงพระตถาคตที่เป็นเช่นนี้เท่านั้น แมักระทั่งเมธีอริยะแห่งไตรยานก็เช่นเดียวกัน ด้วยเหตุนี้จึงทำให้มีความแจ้งที่แตกต่าง นั่นก็มีสามเหตุมาจาก การมีพื้นฐานที่ตื้นและลึก และส่งผลให้เกิดความแตกต่างของการบรรลุช้าหรือเร็วนั่นเอง ดังนั้น พระโพธิสัตว์มัญชุศรีจึงได้ชมพระโพธิสัตววิมลเกียรติว่า "ก็ด้วยการไร้วาจาอักษรนี้เอง ที่เป็นธรรมอันไม่เป็นสองแล" เราจึงทราบได้ว่า สำหรับธรรมอันแยบยลที่ไร้ดำรงแห่งพระตถาคตนั้นจะเป็นสิ่งที่พ้นออกจากขอบเขตของวาจาอักษร ซึ่งก็คือไร้การได้แม้แต่สิ่งเดียว แต่เนื่องด้วยสาเหตุที่ต้องสร้างสรรค์ประโยชน์แก่เวไนยสัตว์แล้ว จึงจำต้องสร้างเป๋นรูปลักษณะและวจนะต่าง ๆ เพื่อให้เวไนยสัตวได้สบลักษณะและเกิดความเคารพ สดับพระธรรมและเกิดความแจ่มแจ้งได้ แต่หากเขาได้มีปัญญาแล้ว แม้เขาจะอยู่ในวจนะแต่ก็ห่างออกจากวจนะ อยู่ในนามลักษณะ แต่ก็ห่างออกจากนามลักษณะ รู้ว่าการได้ก็คือการไม่รู้ รู้ว่าการพูดก็คือการไม่ได้พูด ฉันนี้แล้ว จึงจะเรียกได้ว่าเป็นผู้รู้แจ้งในปรมัตถ์แห่งทางสายกลางแล
อธิบายพระสูตร :
พระพุทะองค์ทรงถามสุภูติว่า "สุภูติ ! เธอมีความเห็นอย่างไรบ้าง ? ตถาคตได้มีการรับโพธิหรือไม่ ? ตถาคตได้มีการสอนธรรมที่แน่นอนหรือไม่ ? " สุภูตอทูลตอบว่า " ตามที่ข้าพระองค์ได้เข้าใจในความหมายที่พระองค์ทรงสอนมาแต่ต้นนั้น ข้าพระองค์ได้เข้าใจแล้วว่าไม่มีธรรมที่แน่นอนที่เรียกว่าโพธิ และก็ไม่มีธรรมที่แน่นอนที่พระตถาคตตรัสสอนได้เลย ทั้งนี้เป็นเพราะเหตุใด ?นั่นก็เป็นเพราะธรรมที่พระองค์ตรัสสอนนั้น จะเป็นธรรมแห่งอนุตตรโพธิที่สามารถแจ้งได้ด้วยใจ แต่ไม่สามารถที่จะยึดเอาได้ในรูปแบบของรูปลักษณะ สามารถที่จะใช้ใจสัมผัสได้ แต่ไม่สามารถที่จะพูดออกมาด้วยวาจาได้ สิ่งที่พระตถาคตตรัสนั้นคืออธรรม (แม้จะมีแต่กลับไร้) ไม่ใช่อธรรม (แม้จะไร้แต่กลับมี) ก็เนื่องด้วยสาเหตุนี้นี่เอง ที่ไม่เฉพาะแต่พระตถาคตเท่านั้นที่เป็นเช่นนี้ แม้แต่เมธีอริยะทั้งปวงก็ล้วนแต่ต้องอาศัยอสังขตธรรมนี้มาบำเพ็ญตนด้วยกันทั้งสิ้น แต่ทว่าสำหรับผู้คนที่แจ้งในธรรมได้อย่างตื้นนั้น (หมายถึงเมธี) อาจจักต้องอาศัยถ้อยคำอักษรแล้วค่อย ๆ นำสู่การแจ้งด้วยตน แต่สำหรับคนที่แจ้งในธรรมได้อย่างลึกนั้น (หมายถึงอริยะ) ก็สามารถที่จะแจ้งฉับพลันและบำเพ็ญฉับพลันได้ ถึงแม้ว่าจะมีเป้าหมายแห่งความสำเร็จเช่นกัน แต่ก็เนื่องจากมีพื้นฐานลึกบ้างตื้นบ้างจึงงได้ทำให้เกิดความแตกต่างระหว่างการแจ้งลึกและแจ้งตื้น ดังนั้นความสำเร็จจึงมีช้าและเร็วเป็นความแตกต่างแล
-
วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร ฉบับ พระพุทธจี้กงอรรถาธิบาย
บรรพที่ ๗
ไร้รับ ไร้วาจา
คำศัพท์ :
เมธีอริยะทั้งหลาย : อันว่าเมธีก็คือตั้งแต่พระโสดาบันกระทั่งพระอรหันต์ ส่วนอริยะก็คือพระพุทธะ และสำหรับคำว่าเมธีอริยะทั้งหลายในที่นี้จะหมายถึงเมธีอริยะแห่งไตรยาน ซึ่งก็คือ...
สาวกยาน : ก็คือผู้ที่อิงตามอริยสัจ 4 หรือได้พินิจสดับพระสุรเสียงแห่งพระพุทธะและบำเพ็ญจนได้หลุดพ้นนั่นเอง
ปัจเจกพุทธยาน : คือผู้ที่ไม่มีอาจารย์ และมีความแจ่มแจ้งในหลักแห่งปฏิจจสมุปบาท 12 ด้วยตนเอง
พระโพธิสัตว์ยาน : คือผู้ปฏิบัติตามปารมิตา 6 จนกระทั่งได้หลุดพ้นนั่นเอง
อสังขตธรรม : คือธรรมชาติแห่งญาณที่รู้แจ้ง โดยไม่อาจอาศัยความสามารถของคนกระทำเอาได้ ดังนั้น อสังขตธรรมคือ อนุตรโพธินั่นเอง ดังเช่น นิพพาน ตถาคต ไร้ลักษณะ ไร้ยึดติด ตลอดจนปรัชญาปารมิตาต่าง ๆ ซึ่งแม้จะมีชื่อเรียกอยู่มากมาย แต่ก็ล้วนเป็นความหมายของอสังขตธรรมทั้งสิ้น สังขตธรรมเป็นโลกียธรรม อสังขตธรรมเป็นโลกุตรธรรม แต่ก็มักมีผู้บำเพ็ญที่เข้าใจอสังขตธรรมว่าเป็นการว่างสูญ ตนกระทั่งทำให้ใจเหี่ยวตัวแห้ง โดยที่ตัวเองยังมีทิฏฐิที่ผิดและคิดเข้าใจว่าเป็นการฝึกฝนอย่างพุท
ธะอยู่เสียอีก ซึ่งแท้จริงแล้วก็เป็นแค่การคว้าลมจับเงา (ลม ๆ แล้ง ๆ ) ลุ่มหลงดื้อรั้นและขาดไหวพริบเท่านั้นเอง
แตกต่าง : หมายถึงมีความสูงต่ำ และไม่มีความเสมอกันนั่นเอง เปรียบดั่งเช่นการข้ามคลองของช้าง ม้า และกระต่าย สำหรับช้างนั้นสามารถที่จะข้ามไปได้อย่างง่ายดาย ม้าก็จำเป็นต้องชะเง้อคอข้ามไป ส่วนกระต่ายนั้นต้องลอยว่ายข้ามไป นอกจากนี้ยังสามารถเปรียบได้ดั่งนก 3 ตัวที่บินบนท้องฟ้า ซึ่งอย่างไรก็ต้องมีก่อนมีหลังอยู่ดี สำหรับคลองนั้นก็ไม่มีตื้นลึกอย่างอยุติธรรม สำหรับท้องฟ้าก็ไม่มีก่อนหลังอย่างไม่เสมอภาค แต่ที่ได้เกิดความแตกต่างเช่นนั้นก็เป็นเพราะขามีสั้นยาว ปีกมีความอ่อนและแกร่งที่แตกต่าง ก็เช่นเดียวกันกับอสังขตฑรรมไม่มีผิด โดยความแตกต่างเหล่านี้ล้วนเป็นเพราะผู้บำเพ็ญธรรมมีพื้นฐานแบบลึกและตื้นฉะนั้น จึงได้เกิดความแตกต่างระหว่างเมธีอริยะแห่งไตรยานนั่นเอง
ธรรม : คำว่า ธรรม นี้ จะมีความหมายครอบคลุมไปหลายด้าน ในบางครั้งจะมีความหมายว่า พระธรรม ในบางครั้งก็มีความหมายว่า วิธี ฯลฯ ซึ่งผู้อ่านจะต้องใช้ดุลพินิจในการอ่านด้วย....(ผู้แปล)
-
วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร ฉบับ พระพุทธจี้กงอรรถาธิบาย
บรรพที่ ๘
อาศัยธรรมก่อเกิด
อธิบายบท :
สังขตธรรมทั้งปวงในโลกนี้ ล้วนแต่เกิดขึ้นจากใจทั้งสิ้น ดังที่ว่าอาการใจเกิดธรรมก็เกิด อาการใจดับธรรมก็ดับนั่นเอง อันใจนั้น ก็คือองค์แท้แห่งใจ ส่วนธรรมนั้นแท้ก็คือลักษณะแห่งใจมีการเกิดดับ แต่สำหรับองค์แท้แห่งใจนั้นจะไม่มีการเกิดดับได้เลย องค์แท้แห่งใจนั้นคือสิ่งที่สงบศานติอยู่เป็นนิจโดยไม่เคลื่อนไหว แต่เมื่อยามที่ใจจริงอันเป็นนิจนี้ได้เกิดอกุศลทิฏฐิขึ้นทันใดหละก็ เวลานั้นก็จะเคลื่อนหายไปจากองค์เดิม และได้กลายเป็นกรรมที่แฝงไว้ในวิญญาณ จากความเป็นอกุศลก็ทบเกิดอกุศลซ้ำอีก จนสุดท้ายก็ทำให้ความสามารถอันวิสุทธิ์ซ่านหายไปสู่ภายนอก กระทั่งเกิดการยึดติดในรูปในเสียง และได้สร้างกรรมแบกทุกข์ขึ้นนั่นเอง สำหรับความลุ่มหลงของเวไนยสัตว์นั้น จะเริ่มจากการยึดในธรรมอัตตาเป็นอันดับแรก จากนั้นจึงได้เกิดการยึกในบุคคละอัตตาและเมื่อเกิดความยึดติดใน 2 ประการนี้แล้ว ถึงแม้จะมีการสอนด้วยเหตุแห่งการไร้ลักษณะไปไยได้ ? สำหรับปรัชญาอันลึกซึ้งเช่นนี้ แม้แต่พระโพธิสัตว์ที่ยึดในธรรมอัตตาก็ยังไม่อาจเข้าใจได้เลย แล้วปุถุชนที่ยังติดอยู่ในบุคคละอัตตาจะเข้าถึงอย่างไรได้ ? ในอนันตกัปที่ผ่านมา เวไนยสัตว์ต่างได้มีรากอนุสัยที่ฝังจนแน่นลึก จนในทุกขณะล้วนแต่ถูกกรรมก่อกวนอย่างไม่หยุดยั้ง กรรมเก่ายังไม่ทันสิ้น กรรมใหม่ก็ได้สร้างขึ้นมาอีก จนกระทั่งนานวันยิ่งเกรอะกรัง ซึ่งแม้จะมีปัญญาเดิมอยู่ก็จริง แต่หากไม่อาศัยอานุภาพแห่งปรัชญาแล้วก็ไม่อาจที่จะพ้นจากอุปสรรคกีดกั้นแห่งความกลัดกลุ้มนี้ได้เลย ด้วยเหตุผลเช่นนี้ พระตถาคตจึงทรงพร่ำเตือนบ่มสอนและตรัสเทศนาสูตรปรัชญาฉบับนี้ขึ้น ซึ่งก็ได้มีอานุภาพที่เหนือความคาดหมายเป็นอย่างดี เพื่อที่จะทำลายอุปสรรคนา ๆ ประการแห่งเวไนยสัตว์แล้ว และยังทรงสอนในบทธรรมแบบลึกเพื่อปลุกแจ้งพระโพธิสัตว์ ซึ่งหากเวไนยสัตว์ท่านใดในอนาคตกาลสามารถบำเพ็ญตามคำสอน และสนองรับปฏิบัติในพระสูตรนี้ได้ เวไนยสัตว์ท่านนั้นก็จักสามารถหลุดพ้นและตระหง่านสู่หนทางที่สว่างชัชวาลย์ได้นั่นเอง เนื่องจากปรัชญาเป็นอนุตตรธรรมวิถี ด ังนั้น การที่สากลพุทธะจะสามารถบรรลุในอนุตตรสัมมาสัมโพธิ์ได้นั้น ก็ล้วนเป็นเพราะพลานุภาพแห่งปรัชญานี้ ฉะนั้น จึงกลาวว่า "อาศัยธรรมก่อเกิดแล"
-
วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร ฉบับ พระพุทธจี้กงอรรถาธิบาย
บรรพที่ ๘
อาศัยธรรมก่อเกิด
เนื้อหา :
"สุภูติ ! ในความหมายนี้เป็นเช่นไร ? ถ้าหากบุคคลนำสัปรัตนะปูทั่วมหาตรีสหัสโลกธาตุ เพื่อใช้บริจาคทาน บุญวาสนาที่ได้รับของบุคคลนี้ นับว่ามากมายหรือไม่ ? สุภูติทูลตอบว่า "มากมายยิ่งนัก ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ! เพราะเหตุใด ? บุญวาสนานี้ แท้จริงไร้แก่นแท้ของบุญวาสนา ดังนั้น ตถาคตตรัสว่า บุญวาสนามากมาย" "แต่หากได้มีบุคคลสนองรับตามในพระสูตรนี้ ที่สุดแม้เพียงโฉลกแค่ 4 บท และประกาศสาธยายแก่บุคคลอื่น บุญนี้ยังมากมายเหนือกว่าบุญชนิดแรก เพราะเหตุใด ? สุภูติ ! พระพุทธะทั้งปวง อีกทั้งเหล่าพระพุทธอนุตตรสัมมาสัมโพธิธรรมทั้งหลาย ล้วนเกิดจากพระสูตรนี้ สุภูติ ! สิ่งที่เรียกว่าพุทธธรรมนั้น แท้จริงมิใช่พุทธธรรม
ความสังเขป :
สำหรับบรรพนี้ จะเป็นการชี้ตรงสู่แก่นแท้ของพระสูตรอย่างชัดเจน โดยได้กล่าวถึงโพธิธรรมแห่งปวงพระพุทธะล้วนถือกำเนิดมาจากพระสูตรนี้ ซึ่งจุดนี้ถือว่าเป็นการชี้ให้เกิดความกระจ่างเกี่ยวกับประโยคที่ว่า "พุทธธรรมมิใช่พุทธธรรม" ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะแสดงให้เราเข้าใจว่า แท้จริงกลางใจตนก็ได้มีพระพุทธะแท้อยู่นั่นเอง ส่วนวิธีที่จะทำให้เกิดความกระจ่างนั้น ก็เริ่มจากการเปรียบเทียบบุญวาสนา (วาสนาบารมี) ที่เป็นแบบสังขตะก่อน จากนั้นก็ค่อย ๆ ชักนำให้เห็นความจริงเป็นขั้นตอนไป ทั้งนี้ ก็เพื่อเกรงจะมีคนสงสัยว่า "ในเมื่อธรรมแห่งอนุตตรโพธิ (อสังขตธรรม) ไม่สามารถที่จะยึดได้โดยรูปลักษณะ อีกทั้งไม่สามารถที่จะกล่าวเป็นวจนะคำพูดได้ ซึ่งดูเหมือนธรรมไม่มีอะไรจะกล่าว และไม่มีพระพุทธะที่จะให้สำเร็จได้ ดังนั้น ผู้ที่บำเพ็ญปฏิบัติทั้งหลายจะมิใช่กลายเป็นผู้ถูกฝังอยู่ในก้นบึ้งแห่งอสังขตะ โดยไม่มีประโยชน์อันใดหรอกหรือ ?" ก้เนื่องด้วยสาเหตุนี้ จึงทำให้พระตถาคตทรงริเริ่มอธิบายจากปฐมปฏิปทาคือ การบริจาคทานโดยพระองค์ทรงนำบุญวาสนาที่ได้จากการบริจาคทานแบบมีลักษณะมาตรัสก่อน (หากบุคคลใช้สัปรัตนะปูทั่วมหาตรีสหัสโลกธาตุเพื่อใช้บริจาคทาน) จากนั้นพระองค์ทรงค่อย ๆ เปรียบให้เห็นว่าบุญวาสนาแบบมีลักษณะเช่นนี้ก็ยังมิอาจเทียบได้กับบุญวาสนาที่ไร้ลักษณะแห่งการสนองปฏิบัติในโศลก 4 บทได้เลย นั่นก็เป็นเพราะการบริจาคทานแบบติดในลักษณะก็ยังเป็นเพียงแค่บุญแบบสังขตะเท่านั้น ซึ่งแม้จะมีอานิสงค์บุญที่ได้รับจากการบริจาคทานมากปานใดก็ตาม แต่เมื่อบุญนี้หมดแล้วก็ยังคงตกต่ำเหมือนเช่นเดิม อนึ่ง หากได้บำเพ็ญในปรัชญาธรรม หรือได้แจ่มแจ้งในโศลก 4 บทนี้ หรือได้อธิบายในพระธรรมอันลึกซึ้งแห่งปรัชญาให้ผู้อื่นฟัง อันอานิสงค์บุญที่ได้ฉันนี้ก็จะเป็นบุญที่ไร้ขอบเขต ดังนั้นแล้ว ทรัพย์เป็นทานก็ยังมิอาจสู้ธรรมเป็นทานได้เลย เพราะทรัพย์เป็นทานมีวันสิ้น แต่ธรรมเป็นทานไม่มีวันสุด ด้วยเหตุฉะนี้ ปวงพระพุทธะจึงได้ถือกำเนิดออกมาจากปรัชญานี้ (ปัญญาแยบยล) ด้วยกันทั้งสิ้น และจากจุดนี้นี่เองที่เป็นจุดเริ่มต้นให้พระพุทธองค์ทรงขยายความคำว่า "พุทธธรรมมิใช่พุทธรรม" ขึ้น ทั้งนี้ก็เพราะปรัชญาเป็นมารดาแห่งปวงพระพุทธะ โดยที่ปรัชญาสามารถเกิดพระธรรม ดังนั้น พระพุทธองค์จึงได้ตรัสอย่างแจ่มแจ้งว่า "พุทธธรรมมิใช่พุทธธรรม" นั่นเอง ซึ่งจุดนี้ก็มีความหมายเดียวกับวาทะที่เหลาจื้อได้กล่าวไว้คือ "มหาธรรมนั้นไร้นาม แต่ขอจำใจกำหนดเป็นนามว่าธรรมะ" ดังนั้นเราจึงทราบได้ว่า แต่เดิมนั้นไร้พุทธธรรม เป็นเพียงแต่จำใจขนานนามให้ว่าพุทธธรรมเท่านั้นเอง สำหรับการเปรียบเทียบระหว่างบุญวาสนาที่เป็นแบบมีลักษณะและไร้ลักษณะนั้น ในทั้งหมดของพระสูตรได้มีการเปรียบเทียบถึง 9 ครั้งในลักษณะของการปุจฉาวิสัชนา และสำหรับบรรพนี้ก็เป็นครั้งที่หนึ่งของการเปรียบประลองนั่นเองแล
อธิบายพระสูตร :
พระผู้มีพระภาคทรงถามว่า "สุภูติ ! เธอมีความเห็นเป็นเช่นใด ? สมมุติว่ามีคนนำสัปรัตนะที่ปูจนทั่วมหาตรีสหัสโลกธาตุมาบริจาคทาน บุญวาสนาที่คนนี้ได้รับถือว่ามากหรือไม่ ?" สุภูติทูลตอบว่า "ข้าแต่พระสุคต ! ช่างเป็นบุญที่มากอย่างแน่นอน นี่เป็นเพราะสาเหตุใดหละ ? นั่นก็เป็นเพราะบุญวาสนาเช่นนี้จะเป็นบุญวาสนาของการบริจาคทานแบบติดในลักษณะ ซึ่งไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับบุญวาสนาแห่งปัญญาอันเสมอภาคของเราแม้แต่น้อย เพราะที่สุดแล้วก็ไร้แก่นสารของบุญวาสนา แต่สำหรับบุญที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไปเมื่อสักครู่นั้น จะเป็นการตรัสในแง่ของบุญแบบที่ทางโลกมองกัน ฉะนั้น จึงกล่าวได้ว่าเป็นจำนวนมากมาย" พระพุทธองค์ตรัสต่อไปอีกว่า "หากได้มีคนสนองรับปฏิบัติในสูตรปรัชญาฉบับนี้ ไม่ว่าจะเป็นทั้งเล่มหรือครึ่งเล่มก็ดี หรือจะเป็นทั้งบทหรือครึ่งบทก็ดี หรือที่สุดจะเป็นเพียงแค่โศลก 4 บาทก็ดี หรือว่านำไปถ่ายทอดความหมายให้แก่ผู้อื่นได้รับรู้ก็ดี สำหรับบุญวาสนาที่เขาจักได้รับนั้น ยังจะมากมายมหาศาลยิ่งกว่าการนำสัปรัตนะทั่วสหัสโลกธาตุมาบริจาคทานเสียอีก" พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสต่อไปอีกว่า "สุภูติ ! ก็เนื่องด้วยสาเหตุนี้นี่เอง ปวงพระพุทธะอีกทั้งธรรมแห่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิที่ตรัสรู้เป็นพระพุทธะทั้งหลายล้วนได้ถือกำเนิดออกมาจากพระสูตรนี้ทั้งสิ้น ดังนั้นจึงมีการกล่าวว่า ปรัชญาเป็นมารดาแห่งปวงพระพุทธะนั่นเอง สุภูติ ! ถึงแม้จะเป็นเช่นนี้ก็ตาม แต่ปรัชญามิใช่หมายถึงพุทธธรรม กล่าวคือ เดิมนั้นก็ไม่มีพุทธธรรมอยู่แล้ว เป็นเพียงแต่ต้องการให้เวไนยสัตว์เกิดความแจ้งเข้าใจ จึงได้บัญญัติเป็นนามว่าพุทธธรรมขึ้นเท่านั้นเอง ด้วยเหตุเช่นนี้ จึงได้กล่าวว่า "พุทธธรรมมิใช่พุทธธรรม"นั่นเองแล
-
วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร ฉบับ พระพุทธจี้กงอรรถาธิบาย
บรรพที่ ๘
อาศัยธรรมก่อเกิด
คำศัพท์ :
1. สัปรัตนะ : ทอง เงิน ไพทูรย์ แก้วผลึก ปะการัง โมลา ไข่มุก
2. มหาตรีสหัสโลกธาตุ : ทั่วทั้งหล้านี้เรียกว่าโลกธาตุ
หนึ่งพันโลกธาตุ เรียกว่า หนึ่งปฐมสหัสโลกธาตุ
หนึ่งพันปฐมสหัสโลกธาตุ เรียกว่า หนึ่งมัชฌิมสหัสโลกธาตุ
หนึ่งพันมัชฌิมสหัสโลกธาตุ เรียกว่า หนึ่งมหาสหัสโลกธาตุ
สามพันมหาสหัสโลกธาตุ เรียกว่า มหาตรีสหัสโลกธาตุ
3. โศลก 4 บาท : หมายถึง 4 บาทในบรรพที่ 26 (หากอาศัยรูปเห็นเรา อาศัยเสียงวอนเรา บุคคลนี้คือผู้เจริญมิจฉาธรรม ไม่อาจเห็นตถาคตได้) และโศลก 4 นาทในบรรพที่ 32 (สังขตะธรรมทั้งปวงดุจฝันมายาฟองน้ำรูปเงา ดุจนิศาชลอสนี ควรพินิจด้วยอาการเช่นนี้แล)
4. อันว่าพุทธธรรม แท้มิใช่พุทธธรรม : คำว่าพุทธธรรมในประโยคแรก หมายถึงอสังขตธรรม ส่วนพุทธธรรมในประโยคหลังนั้นจะหมายถึงไม่มีธรรมที่จะหกล่าวได้ หรือก็คือ ใจที่ผสมกลมกลืนกันเป็นหนึ่ง มิใช่ทั้งพุทธะและมิใช่ทั้งธรรม ซึ่งก็คือการบริจาคทานโดยไม่ดำรงลักษณะนั่นเองแล
-
วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร ฉบับ พระพุทธจี้กงอรรถาธิบาย
บรรพที่ ๙
ไร้แม้หนึ่งลักษณะ
อธิบายบท :
ในบรรพก่อนได้กล่าวถึงประเด็นที่ว่าด้วย "ไม่ควรมีความยึดติดพุทธธรรม" แต่สำหรับบรรพนี้จะกล่าวถึงประเด็นที่ว่าด้วย "ในพุทธมรรค ก็มิควรมีความยึดติดลักษณะ" แล เนื่องจากในอดีต สุภูติมักได้ยินพระผู้เปป็นอาจารย์ตรัสเทศอริยสัจ 4 ให้แก่เหล่าสาวกอยู่เป็นประจำ จึงทำให้เกิดความเข้าใจต่อพุทธโอวาทว่า จักต้องมีธรรมที่จะได้รับ จากนั้นก็ให้บำเพ็ญตามธรรมนั้น และสุดท้ายก็จะมีมรรคผลที่จะได้รับนั่นเอง ซึ่งทัศนะเช่นนี้ก็ยังถือว่าผิดอยู่ โดยสาเหตุของปัญหาก็เป็นเพราะเขาได้คิดไปตามวจนะและเกิดใจแบ่งแยก จากนั้นก็ไปตีความและเข้าใจไปตามอักษรนั้น ๆ จนกระทั่งได้ตกสู่ท่ามกลางทัศนะแห่งการ สามารถรู้ และ สิ่งที่ได้รู้ โดยเขาไม่ได้รู้อย่างแท้จริงว่า อันว่าปรัชญาแท้นั้น มิใช่ลักษณะที่เป็นเอก มิใช่ลักษณะที่แตกต่าง มิใช่มีลักษณะ มิใช่ไร้ลักษณะ มิใช่มิไร้ลักษณะ มิใช่มิมีลักษณะ มิมิใช่ลักษณะที่เป็นเอก มิมิใช่ลักษณะที่แตกต่าง มิใช่มีหรือไร้ปวงลักษณะ มิใช่ความเป็นเอกหรือต่างแห่งปวงลักษณะ มิใช่ความเป็นเอกหรือต่างแห่งปวงลักษณะ ห่างพ้นจากลักษณะทั้งปวงก็คือธรรมทั้งปวง เพราะลักษณะทั้งปวงล้วนเป็นมายานั่นเอง และหากสามารถทลายลักษณะได้จนถึงทีสุดแล้ว เช่นนี้ มายาทั้งปวงก็จะสูญไป และยามที่มายาทั้งปวงได้สูญไปแล้ว เมื่อนั้นหากยังไม่เป็นจริงแล้วจะรอให้จริงอีกเมื่อไหร่ได้ ?
เนื้อหา :
"สุภูติ ! ในความหมายนี้เป็นเช่นไร ? พระโสดาบันจะสามารถมนสิการว่า คนได้บรรลุโสดาปัตติผลได้ฤา ?" สุภูติทูลตอบว่า "ไม่แล ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ! เพราะเหตุใด ? พระโสดานามว่าเข้าสู่กระแสแต่ไม่ได้มีการเข้า การไม่เข้าสู่ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ธรรมารมณ์ จึงเป็นชื่อว่าพระโสดาบัน" "สุภูติ ! ในความหมายนี้เป็นเช่นไร ? พระสกทาคามิ จะสามารถมนสิการว่า ตนได้บรรลุสกทามีผลได้ฤา ?" สุภูติทูลตอบว่า "ไม่แล ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ! เพราะเหตุใด ? พระสกทาคามิมีนามว่าไปมาหนึ่งครั้ง แต่โดยความจริงไม่มีการไปมาหนึ่งครั้ง จึงได้ชื่อว่าพระสกทาคามิ" "สุภูติ ! ในความหมายนี้เป็นเช่นไร ? พระอนาคามิจะสามารถมนสิการว่า ตนได้บรรลุอนาคามิผลได้ฤา ?" สุภูติทูลตอบว่า "ไม่แล ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ! เพราะเหตุใด ? โดยความจริงแล้วไม่มีธรรมที่เรียกว่าพระอรหันต์ ข้าแต่พระสุคต ! หากพระอรหันต์ได้มนสิการว่า จนได้บรรลุอรหัตตมรรค ก็คือ ติดในอาตมะ บุคคละ สัตวะ ชีวะลักษณะ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! พระองค์ตรัสว่า ข้าพระองค์ได้บรรลุอารัณยิกสมาธิ เป็นที่หนึ่งในกลุ่มคน เป็นพระอรหันต์องค์แรก ที่ได้พ้นจากกิเลส ข้าแต่พระองค์ผู้ควรบูชา ! ข้าพระองค์ไม่มนสิการเช่นนี้ว่า ข้าพระองค์ก็คือพระอรหันต์ผู้พ้นจากกิเลส ข้าแต่พระสุคต ! หากข้าพระองค์ได้มนสิการเช่นนี้ว่า ข้าพระองค์ได้บรรลุอรหัตตมรรค พระองค์ก็จะไม่ตรัสว่า สุภูติคือผู้ยินดีในอารัณยิกปฏิปทา แต่เนื่องด้วยความจริงแล้ว สุภูติไร้ซึ่งปฏิปทา จึงได้ชื่อว่า สุภูติผู้ยินดีในอารัณยิกปฏิปทา"
-
วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร ฉบับ พระพุทธจี้กงอรรถาธิบาย
บรรพที่ ๙
ไร้แม้หนึ่งลักษณะ
ความสังเขป :
ในบรรพนี้จะเป็นบรรพที่ขยายความต่อเนื่องจากบรรพก่อน ที่ได้กล่าวถึงเรื่อง "อันพุทธธรรมมิใช่พุทธธรรม" โดยพระพุทธองค์ทรงเกรงว่าสานุศิษย์ทั้งหลายจะยังสามารถไม่เข้าใจในความหมายที่ตรัสไว้ ฉะนั้น พระองค์จึงมีพระประสงค์ที่จะนำเหล่าสานุศิษย์ให้แจ้งเข้าใจในหลักของการดำรงใจโดยไร้ดำรงในโอกาสนั้นขึ้น ซึ่งพระองค์ก็ทรงเข้าพระทัยดีว่าผู้ที่บำเพ็ญในทางหีนยาน ธรรมจะมีความผูกยึดอยู่กับความเคยชินของวาจาอักขระจนเกินไป อีกทั้งยังมีความยึดติดว่าจักต้องมีธรรมแท้อีก ดังนั้น ในด้านหนึ่งก็ทรงต้องการนำพาเหล่าสานุศิษย์ให้เกิดความรู้แจ้งเข้าใจจากหีนยานธรรม และในอีกด้านหนึ่ง ก็เป็นเพราะพระองค์ทรงทราบดีว่า สุภูติคือผู้ที่ได้บรรลุในมรรคของหีนยาน ดังนั้น พระองค์จึงทรงต้องการอาศัยคำพูดของสุภูติมาเป็นเครื่องพิสูจน์ในผลที่ตนได้บรรลุให้ทุกคนได้ฟัง แท้จริงแล้ว มหายานธรรมจะเป็นธรรมแห่งการบำเพ็ญปฏิบัติที่มีความขวนขวายกระตือรือร้นเป็นอย่างมาก ซึ่งจะเป็นการเจริญในโพธิสัตว์มรรคด้วยการสร้างสรรค์ประโยชน์ต่อทั้งตัวเองและผู้อื่น ทั้งยังได้ดำรงด้วยใจที่เมตตา ไม่แบ่งแยก มีความกรุณาโดยไร้ขอบเขต และด้วยจิตใจฉะนี้ จึงเป็นจิตใจที่มีมหาเมตตากรุณาต่อสรรพสัตว์มิอาจประมาณได้ แต่สำหรับหีนยานธรรม นั้นจำต้องเป็นวิธีปฏิบัติที่คับแคบ โดยเป็นเพียงแค่พาตัวเองให้หลุดพ้นเท่านั้นเอง
สำหรับประเทศอินเดียในอดีตกาลนั้นจะเป็นประเทศที่มีความอยู่เย็นเป็นสุข โดยประชาชนส่วนใหญ่ก็หวังแต่เพียงให้ความเป็นอยู่ที่สุขสบายเท่านั้นและเมื่อพระพุทธองค์ได้ทรงประสูติในยุคสมัยเช่นนี้ เพื่อให้สอดคล้องและเหมาะสมกับสถานการณ์ พระองค์จึงทรงสอนให้รู้จักหลักธรรมแห่งหีนยาน ฉะนั้นในบรรพนี้จึงเป็นบรรพต่อเนื่องจากบรรพก่อนที่ได้ปฏิเสธทั้งธรรมและพุทธะเพราะพระองค์ทรงเป็นห่วงศิษย์ทั้งหลายจะเกิดความเข้าใจผิดจะเป็นเช่นนี้คือ "พระพุทธะเป็นสิ่งที่ไม่อาจได้ อีกทั้งธรรมเป็นสิ่งที่มิอาจถือ และเช่นนี้ก็คือการไม่ยึดถือในการได้" ด้วยเหตุนี้ พระองค์จึงทรงใช้ความเข้าใจในทางหีนยานของสุภูติมาชี้ความสว่างให้แก่ผู้อื่น ทั้งนี้ ก็เพื่อจะให้เหล่าสาวกทั้งหลายเกิดความรู้แจ้งนั่นเอง
นอกจากนี้แล้ว สำหรับผลทั้ง 4 ที่ได้กล่าวถึงในเนื้อนหา ล้วนมีแต่คำว่า "ไร้" นำหน้าด้วยกันทั้งนั้น (ไร้การเข้า ไร้การไปมา ไร้การไม่มา ไร้การมีธรรม) ซึ่งจุดนี้ก็มีสาเหตุมาจากอสังขตธรรมนั่นเอง ดังที่ได้กล่าวว่า "เมธีอริยะทั้งปวงล้วนเนื่องด้วยอสังขตธรรม และเกิดความแตกต่าง" จากจุดนี้ก็สามารถทราบได้ว่า การที่พุทธศาสนามีผล 4 ระดับ ก็ดุจดั่งขงจื่อที่มี 4 คำสอนแต่ผล 4 ระดับที่พระพุทธองค์ตรัสไว้นั้น จะมีการแบ่งเป็นระดับชั้น คือ ชั้นที่หนึ่ง จะไม่เข้าสู่รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ธรรมารมณ์ โดยเมื่อสัมผัสต่อกิเลสก็จะรีบเลี่ยงออกไป ซึ่งถือว่าเป็นการเริ่มต้นเกิดผลนั่นเอง ชั้นที่สอง ไปมาหนึ่งครั้ง คือจะไม่มีการย่างเข้าสู่สภาวะแห่งกิเลสอีก ซึ่งก็คือการเติบโตของผลนั่นเอง ชั้นที่สาม ไม่มีการมา ซึ่งเป็นการพ้นออกจากชั้นกามธาตุ หรือก็คือการสุกแห่งผลนั่นเอง โดยถือว่าเป็นการพ้นจากกิเลสไปอย่างสมบูรณ์ หรือก็คือการเก็บเกี่ยวของผลนั่นเองแล
อธิบายพระสูตร :
พระพุทธองค์ตรัสถามว่า "สุภูติ ! เธอมีความเห็นเป็นเช่นใด ? ในขณะที่โสดาบันได้บำเพ็ญอยู่นั้น ตัวเขาสามารถมีความคิดกำหนดล่วงหน้าได้หรือไม่ว่า เขาได้บรรลุปฐมผลแห่งสาวกยานแล้ว ?" สุภูติทูลตอบว่า "ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ! ไม่ควรมีความคิดว่าได้สำเร็จในปฐมผลได้เลย สาเหตุนี้เป็นเพราะว่า ถึงแม้โสดาบันก็ยังไม่สามารถรู้แจ้งฉับพลันในความว่างที่แท้จริงก็ตาม แต่โสดาบันนั้นก็มีความสามารถฝึกทนบังคับกิเลสจนพ้นออกจากพันธนาการของอายตนะภายนอกและซึมเข้าสู่ประตูหนทางของการไร้ลักษณะได้ ซึ่งก็คือการเริ่มเข้าสู่กระแสแห่งอริยะ ดังนั้น โสดาบันจึงมีชื่อเรียกอีกแบบหนึ่งว่าเข้าสู่กระแส
พระพุทธองค์ทรงซักต่อไปว่า "สุภูติ ! เธอมีความเห็นเป็นเช่นไร ? ในขณะที่สกทาคามีบำเพ็ญอยู่นั้น ตัวเขาสามารถมีความคิดกำหนดล่วงหน้าได้หรือไม่ว่า เขาได้สำเร็จในผลที่สองแห่งสาวกยานแล้ว ?" สุภุติทูลตอบว่า "ข้าแต่พระสุคต ! ไม่ควรมีความคิดว่าได้บรรลุในผลที่สองได้เลย สาเหตุนี้ก็เป็นเพราะในสภาวะจิตใจของสกทาคามีนั้น ถึงแม้จะได้ปฏิบัติจนเข้าสู่ความสงบอย่างที่สุดแล้วก็จริง แต่เมื่อยามที่เขาได้ส่องมองในสภาวะต่าง ๆ แล้ว ภายในใจก็ยังมีการเกิดการดับอยู่ ฉะนั้น จึงเรียกว่าไปมาหนึ่งครั้ง แต่โดยแท้จริงแล้วไม่มีครั้งที่สองของการเกิดดับเลย กล่าวคือ ความคิดก่อนเพิ่งจะยึดอยู่ แต่ความคิดหลังก็พ้นไปเสียแล้ว โดยภายในใจของเขาไม่ได้เกิดการยึดติดในลักษณะของการเกิดดับ ดังนั้น โดยแท้จริงแล้วไม่มีการไปมาเลย"
พระพุทธองค์ได้ตรัสถามต่อไปว่า "สุภูติ ! เธอมีความเห็นเป็นเช่นใด ? ในขณะที่อนาคามีบำเพ็ญอยู่นั้น ตัวเขาสามารถคิดกำหนดล่วงหน้าได้หรือไม่ว่า เขาจักได้บรรลุผลที่ 3 แห่งสาวกยาน ?" สุภูติทูลตอบว่า "ข้าแต่พระสุคต ! เขาไม่ควรทำอย่างนั้น สำหรับสาเหตุนั้น ก็เป็นเพราะภายในใจของอนาคามีเป็นความว่างที่ไร้อัตตาอันได้ตัดสิ้นแล้วซึ่งความสับสนแห่งดำริซึ่งเป็นอายตนะวิญญาณ โดยภายในใจไร้ความอยาก ส่วนภายนอกก็ไร้สภาวะแห่งความอยากเหล่านั้น อีกทั้งยังมีความคุ้นเคยอยู่กับความสงบอย่างลึกซึ้ง โดยอายตนะภายนอก 6 และลักษณะ 4 ล้วนได้ว่างสลาย ทั้งยังไร้ลักษณะแห่งการไปมา ฉะนั้น ถึงแม้จะมีนามว่าไม่มา แต่ความจริงเขาได้เป็นผู้ที่ไม่มาเกิดอยู่ในชั้นกามธาตุอีกต่อไป"
พระพุทธองค์ตรัสถามต่อไปว่า "สุภูติ ! ในขณะที่อรหันต์บำเพ็ญอยู่นั้นสามารถมีความคิดล่วงหน้าได้หรือไม่ว่า ตัวเองจักได้บรรลุผลที่ 4 ของสาวกยาน ?" สุภูติทูลตอบว่า "ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ! ไม่ควรมีความคิดว่าได้บรรลุผลที่ 4 เลย สำหรับสาเหตุนี้ก็เป็นเพราะภายในใจของอรหันต์ได้ว่างสงบและสิ้นลักษณะ โดยไม่มีความคิดว่าได้รับธรรม แล้วไฉนจะมีความคิดว่าได้บรรลุผลที่ 4 นี้ได้ ซึ่งแท้จริงแล้วก็ไม่มีธรรมที่เรียกว่าพระอรหันต์ แต่หากพระอรหันต์ได้มีความคิดว่าได้รับธรรมแล้วหละก็ ก็เท่ากับว่าเขาได้ยึดอยู่ใน 4 ลักษณะ ซึ่งเช่นนี้ก็จะมิใช่พระอรหันต์แล" สุภูติกราบทูลต่อไปว่า "ข้าแต่พระผุ้มีพระภาคเจ้า ! พระองค์เคยได้ตรัสไว้ว่า ในตลอดทั้งวันที่ข้าพระองค์ได้เจริญในธรรมทั้งปวงนั้น ข้าพระองค์ไม่เคยเกิดความกลัดกลุ้มแม้แต่น้อย อีกทั้งยังไม่เคยเคืองเวไนยสัตว์เลยแม้แต่ผู้เดียว ซึ่งภายในใจของข้าพระองค์ไร้ความแก่งแย่งชิงดี (อารัณยิก) อีกทั้งยังได้เป็นเช่นนี้จนถึงที่สุดอย่างลึกซึ้ง (สมาธิ) ซึ่งในหมู่ศิษย์ทั้งหลาย พระพุทธองค์ได้ตรัสชมขัาพระองค์ว่าเป็นผู้เลิศในทางศูนยตา เป็นอรหันต์องค์แรกที่ได้สลัดทิ้งแล้วซึ่งอาตมะและบุคคละ นั่นเป็นเพราะความคิดต่าง ๆ เหล่านี้ของข้าพระองค์ได้ถูกดับหมดแล้วอย่างสิ้นเชิง" สุภูติทูลต่อไปอีกว่า "ข้าแต่พระผู้เป็นอาจารย์ ! ถึงแม้ข้าพระองค์จะได้รับการตรัสชมจากพระองค์เช่นนี้ก็ตาม แต่โดยแท้จริงแล้วข้าพระองค์ไม่ได้มีความคิดว่าได้บรรลุในมรรคแห่งอรหันต์เลยแม้แต่น้อย หากข้าพระองค์ได้เกิดความคิดว่า ได้บรรลุในมรรคแห่งอรหันต์แล้ว ก็เท่ากับว่าข้าพระองค์ได้เกิดความคิดแห่งอกุศล และหากได้เป็นเช่นนี้จริงหละก็ ความว่างสงบจากอินทรีย์ 6 ก็มิอาจเป็นความจริงได้เลย และเมื่อได้เป็นเช่นนี้แล้วพระพุทธองค์ก็จะไม่ตรัสชมสุภูติว่า คือผู้ที่ยินดีในอารัณยิกปฏิปทา ก็เนื่องจากใจข้าพระองค์เดิมทีก็ไร้สิ่งจะได้อีกทั้งยังไร้ปฏิปทาที่ได้ปฏิบัติ โดยไม่ได้มีโลกียมลทินเลยแม้แต่น้อยก็เพราะสาเหตุนี้นี่เอง จึงทำให้ได้เป็นสุภูติเหมือนอย่างที่ได้เป็น ดังนั้น พระองค์จึงได้ตรัสชมข้าพระองค์ว่า คือผู้บำเพ็ญที่ยินดีในอารัณยิกปฏิปทานั่นเองแล"
-
วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร ฉบับ พระพุทธจี้กงอรรถาธิบาย
บรรพที่ ๑๐ : อลังการ วิสุทธิเกษตร
อธิบายบท :
ในบรรพที่แล้วได้กล่าวถึงประเด็นของ ผลทั้ง 4 ว่ามิอาจได้ แต่สำหรับบรรพนี้ จะเป็นการกล่าวถึงประเด็นของ อริยมรรค ว่ามีความมิอาจได้เช่นเดียวกัน เพราะหากว่ามีสิ่งที่จะได้ สิ่งเหล่านั้นก็ล้วนถือว่าเป็นการยึดอยู่ในลักษณะทั้งสิ้น แต่ก็อาจจะมีปุถุชนเกิดความสงสัยว่า "ในเมื่อผลทั้ง 4 มิอาจได้ แล้วไฉนต้องมีการบัญญัตินามเป็นอักษรของผลทั้ง 4 นี้ด้วยหล่ะ ? และหากอริยมรรคมิอาจได้ แล้วไฉนยังต้องมีการได้บรรลุอนุตปาทธรรมกษานติ (คือการสงบจิตดำรงใจ ณ หลักแห่งการไร้เกิดไร้ดับนั่นเอง)ด้วยหล่ะ ?"
ความระแวงสงสัยของเวไนยสัตว์เหล่านี้ ล้วนเป็นอาการป่วยของเวไนยสัตว์ที่ได้เกิดขึ้นเพราะยึดในลักษณะทั้งสิ้น เราพึงทราบว่า สำหรับนามที่ได้บัญญัติขึ้นเป็นอักษรแห่งเมธีอริยะนั้น ล้วนเป็นนามสมมุติที่ได้จากการปรุงแต่งขึ้น ด้วยเป็นเจตนาที่จะอาศัยสังขตธรรมให้ปรากฏ เพราะสำหรับตัวปรัชญาเองแล้ว จะมีจุดมุ่งหมายที่จะทลายความยึดมั่นในทุก ๆ ที่ให้หมดไป เกรงแต่เพียงเวไนยสัตว์จะกลับไปยึดติดในสังขตธรรมที่ได้สร้างขึ้นมาเสียเอง ซึ่งหากเวไนยสัตว์สามารถเข้าใจเช่นนี้ได้แล้ว ก็จะทราบได้ว่า วิสุทธิเกษตรที่อลังการ มันมิใช่ความอลังการที่เป็นแบบลักษณะอย่างที่เวไนยสัตว์เข้าใจและเห็นกัน (ยกตัวอย่างเช่น ความสง่าโอฬารของวัดที่ประดับประดาอย่างวิจิตรตระการตาอย่างที่เวไนยสัตว์เข้าใจ) หากแต่เป็นสัจจะเกษตรแท้ืที่ไร้รูปลักษณ์ ซึ่งก็คือธรรมกาย อันไม่มีรูปพรรณที่จะจับต้อง ทั้งไม่มีรูปลักษณ์ที่จักจับมอง ซึ่งก็คือความสง่าอลังการของธรรมญาณนั่งเองแล
-
วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร ฉบับ พระพุทธจี้กงอรรถาธิบาย
บรรพที่ ๑๐ : อลังการ วิสุทธิเกษตร
เนื้อหา :
พระพุทธองค์ทรงตรัสแก่สุภูติว่า "ในความหมายนี้เป็นเช่นไร ! ตถาคตประทับอยู่ในสำนักพระทีปังกรพุทธเจ้า เมื่อครั้งอดีต มีธรรมที่ได้อันใดฤา ?" "ไม่แล ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ! ตถาคตประทับอยู่ในสำนักพระทีปังกรพุทธเจ้า ความจริงไร้ธรรมที่ได้" "สุภูติ ! ในความหมายนี้เป็นเช่าไร ? พระโพธิสัตว์ได้ตบแต่งอลังการพุทธเกษตรหรือไม่ ?" "ไม่แล ข้าแต่พระสุคต ! เพราะเหตุใด ? อันว่าตบแต่งอลังการพุทธเกษตร คือมิใช่อลังการ เป็นเพียงนามว่าอลังการ" "เพราะฉะนั้นแล สุภูติ ! ปวงพระโพธิสัตว์ มหาสัตว์ พึงยังจิตให้บริสุทธิ์สะอาดเช่นนี้ ไม่ควรดำรงรูปบังเกิดจิต ไม่ควรดำรงเสียง กลิ่น รส สัมผัสธรรมารมณ์บังเกิดจิต แต่ควรที่จะไร้สิ่งดำรง และบังเกิดจิตต่างหาก สุภูติ ! อุปมาว่ามีบุคคล กายดุจเจ้าขุนเขาแห่งพระสุเมรุ ในความหมายนี้เป็นเช่นไร ? กายนี้ถือว่ามโหฬารหรือไม่ ?" สุภูติทูลตอบว่า "ช่างมโหฬารยิ่งนัก ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ! เพราะเหตุใด ? พระพุทธองค์ตรัสว่ามิใช่กาย เป็นเพียงนามว่ากายมโหฬาร"
-
วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร ฉบับ พระพุทธจี้กงอรรถาธิบาย
บรรพที่ ๑๐ : อลังการ วิสุทธิเกษตร
ความสังเขป :
สำหรับเหตุปัจจัยของบรรพนี้ ก็เนื่องด้วยพระพุทธองค์ทรงเกรงว่า จิตแห่งการได้ ของเหล่าพระโพธิสัตว์ยังไม่ได้ละออกไปสิ้น จนเป็นเหตุให้ดำรงอยู่ในความมีธรรมและไม่สามารถบังเกิดจิตอันวิสุทธิ์ขึ้นได้ ดังนั้น พระพุทธองค์จึงทรงตั้งคำถามว่า "ในอดีตสมัยที่พระตถาคตประทับอยู่ที่สำนักพระทีปังกร - พุทธเจ้านั้น แม้นว่าได้บรรลุในผลแห่งอนุตตรโพธิก็จริง แต่กระนั้นมิทราบว่าได้รับธรรมจากพระอาจารย์ทีปังกรพระพุทธเจ้าหรือไม่แล ?" สำหรับคำถามในข้อนี้ ก็เป็นคำถามที่พระพุทธองค์มีพระเจตนาจะนำเรื่องในอดีตมาพิสูจน์ตัวพระตถาคตว่า สำหรับธรรมนั้น โดยแท้แล้วพระองค์มิได้รับเลย นั่นก็เป็นเพราะในสมัยนั้น มาตรว่าพระตถาคตจะได้สดับธรรมจากพระอาจารย์ทีปังกรพุทะเจ้าก็จริง แต่ก็เป็นเพียงการชี้แนะเท่านั้น ซึ่งในความจริงนั้นเป็นการรู้แจ้งด้วยตน บำเพ็ญด้วยตน โดยที่ไม่มีการได้รับในธรรมเลย สำหรับการตั้งข้อปุจฉาของพระพุทธองค์ในข้อนี้นั้น ก็เป็นเพราะพระองค์มีพระประสงค์ชี้ให้เห็นว่า "ในธรรมนั้นไม่มีอันได้รับเลย" ซึ่งจุดนี้ก็คือการว่างในธรรมลักษณะ ด้วยเหตุฉะนี้ พระองค์จึงทรงถามสุภูติต่อจากนั้นว่า "พระโพธิสัตว์ได้มีการตบแต่งอลังการพุทธเกษตรหรือไม่แล ?" สำหรับปุจฉาธรรมในข้อนี้ก็เป็นคำถามที่พระองค์มีพระประสงค์ชี้ให้เห็นถึงความหมายของอลังการมิใช่อลังการ ซึ่งก็คือการว่างในพุทธลักษณะนั่นเอง และด้วยการว่างทั้งพุทธะและธรรมฉันนี้ จึงทำให้เกิดจิตบริสุทธิ์ได้ โดยพระพุทะองค์ได้ตรัสต่อจากนั้นว่า "พึงยังจิตให้บริสุทธิ์สะอาดเช่นนี้" ซึ่งการเกิดจิตสะอาดบริสุทธิ์เช่นนี้ ก็คือการเกิดโพธิจิตนั่นเอง แต่เราก็ควรตระหนักเป็นสำคัญว่า อันโพธิสัทธรรมนั้น แท้จริงแล้วมิอาจได้ มิอาจกล่าว ดังนั้น สำหรับผุ้ที่เกิดโพธิจิตจะเป็นเพียงแค่บังเกิดจิตสะอาดอันบริสุทธิ์โดยตรงเท่านั้น เพราะความจริงใจเดิมของเราก็สะอาดบริสุทธิ์อยู่แล้ว ฉะนั้น จึงไม่ถือว่าเป็นการเบ่งบานโพธิจิตหรอก เป็นเพียงแค่การเกิดโดยตรงเท่านั้นเอง
การมีจิตอันสงบบริสุทธิ์เราจะเรียกว่าเกิด ส่วนการมีจิตอายตนะภายนอกทั้ง 6 เราก็เรียกว่าเกิด ดังนั้นพึงเข้าใจว่า ไม่ว่าจะเป็นใจจริงและใจอกุศล ก็ยังเป็นใจดวงนี้ที่เกิดขึ้นมา ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่โพธิสัทธรรมจะมาทำการเปิดแจ้งเราได้ ยิ่งไม่ใช่สิ่งที่เป็นรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสธรรมารมณ์จะมาทำการมอมหลงเราได้เลย เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงตรงนี้ ก็เป็นที่ชัดเจนแล้วว่า อันพุทธมรรคนั้น ควรที่จะไปหาจากใจเวไนยสัตว์ แต่พระองค์ก็ยังทรงห่วงใยเวไนยชนว่าจะมองพุทธธรรมไกลเสียจนเกินเอื้อม ดังนั้น พระองค์จึงทรงนำกายอันมโหฬารมาทำการเปรียบเทียบให้รู้ว่า มาตรว่าเขาพระสุเมรุจะมีความไพศาลเพียงใด แต่มันก็ยังเป็นเพียงความใหญ่โตแบบรูปลักษณะอยู่นั่นเอง และหากได้เทียบกับความว่างเปล่าในทศทิศแล้ว ก็จะทราบได้ว่า ความมโหฬารของเขาพระสุเมรุนั้น แท้จริงแล้วไม่มโหฬารเลย และสำหรับมูลเหตุที่พระองค์ทรงทำการเปรียบเทียบเช่นนี้ ก็เพื่อไม่ให้เวไนยสัตว์ได้เห็นในพุทธธรรม โดยให้เห็นแต่เพียงหนึ่งใจเท่านั้น อนึ่ง เมื่อยามที่เวไนยสัตว์สามารถเกิดความวิสุทธิ์จนถึงที่สุดแล้ว เวลานั้นจึงจะถือได้ว่าเขาได้เริ่มเข้าสู่โพธิสมาธิแล้วนั่นเอง แต่ก็อาจจะมีผู้ถามว่า "ในบรรพที่ 7 พระตถาคตมีพระประสงค์จะีชี้ให้เกิดความกระจ่างในเรื่องของผลและธรรมว่าควรห่างลักษณะ ซึ่งพระองค์ก็ทรงถามแล้วมิใช่หรือว่า "พระตถาคตได้รับอนุตตรสัมมาสัมโพธิฤา?" พระตถาคตได้มีการเทศธรรมฤา ?" ในเมื่อพระองค์ทรงถามเช่นนี้แล้ว ไฉนจึงทรงถามซ้ำในบรรพนี้อีกหละว่า "ในธรรมนั้นมีการได้รับหรือไม่ ?" สำหรับจุดนี้เราควรที่จะตระหนักให้ดีว่า เจตนาคำถามของบรรพก่อนคือ "แม้แต่ธรรมยังควรละ แล้วอธรรมยังจะเป็นไยไปได้ " ซึ่งเจตนานี้ ก็เป็นเจตนาที่ต้องการให้เราเข้าใจการโปรดสัตว์ให้ห่างลักษณะ หรือจะกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ คำถามของบรรพก่อน จะเป็นการถามในเรื่องของการ ได้หรือไม่ได้ในพุทะผล แต่สำหรับคำถามของบรรพนี้ จะเป็นคำถามที่ต้องการชี้แจงในเรื่องของพุทธธรรมว่า มิใช่พุทธธรรม ทั้งนี้ก็เพราะต้องการให้เกิดความเข้าใจการดำรงจิตโดยไร้ดำรงนั่นเอง หรือก็คือ คำถามสำหรับบรรพนี้ก็จะเป็นคำถามที่ว่าด้วย ในเหตุแห่งการเป็นพระพุทธนั้น มีการได้รับธรรมนั่นเอง โดยสรุปแล้วก็คือ ในบรรพก่อนจะเป็นการถามในเรื่องของการบรรลุโพธิด้วยตนในพุทธะผล แต่บรรพนี้จะเป็นการถามในเรื่องของการแสวงหาโพะฺในพุทธเหตุ ซึ่งถือว่าเป็นความหมายที่แตกต่างกัน โดยมิใช่การถามคำถามที่ซ้ำกันแต่อย่างใดเลย
-
วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร ฉบับ พระพุทธจี้กงอรรถาธิบาย
บรรพที่ ๑๐ : อลังการ วิสุทธิเกษตร
อธิบายพระสูตร :
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถาม "สุภูติ ! เธอมีความเห็นเป็นเช่นไร ? ในอดีต สมัยที่พระตถาคตประทับอยู่ ณ สำนักพระทีปังกรพุทะเจ้านั้น ได้รับธรรมอันใดหรือไม่ ?" สุภูติทูลตอบว่า "ข้าแต่พระสุคต ! ในสมัยที่พระองค์ประทับอยู่ ณ สำนักพระทีปังกรพุทะเจ้านั้น เป็นการบำเพ็ญเอง รู้แจ้งเอง โดยในธรรมนั้น มิได้รับอันใดเลย" พระพุทธองค์ทรงถามต่อไปว่า "สุภูติ ! เธอมีความเห็นเป็นเช่นไร ? สำหรับพระโพธิสัตว์ ได้ชื่อว่าเป็นผู้สร้างวาสนาปลูกบุญสัมพันธ์ในพุทธเกษตร มิทราบว่าพุทธเกษตรอลังการหรือไม่ ?" สุภูติทูลตอบว่า "มิอลังการเลย สำหรับสาเหตุนั้น ก็เป็นเพราะสิ่งที่พระองค์ตรัสว่าอลังการ จะมิใช่อลังการแบบรูปลักษณ์ที่เป็นการนำทองคำปูพื้น หรือเป็นการนำสัปตรัตนะมาตบแต่งเป็นขั้นชั้นต่าง ๆ เหล่านี้เลย โดยมันเป็นเพียงแค่นามอลังการเท่านั้น" พระพุทธองค์ตรัสว่า"สภูติ ! ฉะนี้แล้ว พระโพธิสัตว์ มหาสัตว์ ควรที่จะใจเดียวไม่ฟุ้งซ่านเช่นนี้มาบังเกิดจิตอันวิสุทธิ์ คือ ไม่ควรดำรง รูป รส กล่น เสียง สัมผัสธรรมารมณ์บังเกิดจิต มิเช่นนั้น ก็จะทำให้ยึดอยู่ในอายตนะภายนอกทั้ง 6 กระทั่งมีความฟุ้งซ่านอกุศลจิตเกิดวนเวียนไม่รู้จบ หากได้เป็นเช่นนี้แล้ว ความวิสุทธิ์จะสามารถเกิดขึ้นอย่างไรได้ ? เพราะความจริงแห่งจิตเดิมอันวิสุทธิ์นั้น จะเป็นความแยบยลที่สงบศานติ โดยแต่เดิมก็ไร้สิ่งดำรงอยู่แล้ว ซึ่งจุดนี้จะสามารถอุปมาได้ดั่งวัตถุเคลื่อนมาก็เกิดภาพ เมื่อยามวัตถุเคลื่อนจากไปภาพก็หาย (ว่าง) ดังนั้น จึงควรที่จะไร้สิ่งดำรง เช่นนี้ก็จะมีความวิสุทธิ์อย่างที่สุดได้" พระพุทธองค์ทรงถามต่อไปว่า "สุภูติ ! อุปมาดั่งคนที่ร่างใหญ่โตเท่าเขาพระสุเมรุ เธอมีความเห็นเป็นเช่นไร ? กายนี้ถือว่ามโหฬารหรือไม่แล ?" สุภูติทูลตอบว่า "ข้าแต่พระสุคต ! ช่างมโหฬารยิ่งนัก สำหรับสาเหตุนั้นก็คือแม้กายนี้จะมโหฬารปานใด แต่อย่างไรก็ยังคงมีการเกิดการดับ ซึ่งที่สุดแล้วก็ยังต้องเวียนว่ายตายเกิดไปอยู่ดี ฉะนั้น จึงไม่ควรเรียกว่ากายมโหฬาร แต่สำหรับคำสอนที่พระผู้มีพระภาคได้เคยตรัสในเรื่องธรรมกายมิใช่ลักษณะนั้น นั่นจึงจะเป็นใจเดิมอันวิสุทธิ์ และเป็นธรรมกายที่แท้จริง ซึ่งใจเช่นนี้ที่ได้กล่าว จึงจะเป็นใจที่ครอบคลุมไปทั่วทั้งความว่างเปล่าในสากล และแผ่ขยายไปทั่วทั้งธรรมธาตุโดยที่ไร้ลักษณะ ไร้ดำรง ซึ่งในฉับพลันก็สามารถเข้าสู่ความประภัสสรที่สมบูรณ์ ด้วยเหตุนี้ ขุนเขาพระสุเมรุที่มีความใหญ่โตแบบจำกัดฉันนั้นจะมาเทียบเคียงกับความมโหฬารฉันนี้อย่างไรได้ ?" และเช่นนี้นี่เอง จึงจะเรียกว่ากายมโหฬารจริง "
-
วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร ฉบับ พระพุทธจี้กงอรรถาธิบาย
บรรพที่ ๑๑ : อสังขตะ บุญเหลือคณนา
อธิบายบท :
สำหรับการบริจาคทานทั้งปวงที่ได้กระทำโดยสังขตธรรม (สิ่งที่เกิดขึ้นโดยมีปัจจัยปรุงแต่ง) นั้น อานิสงส์บุญที่ได้รับย่อมมีวันสิ้นสุดได้ แต่ถ้าหากได้บริจาคทานโดยอสังขตธรรม (สิ่งที่เกิดขึ้นโดยไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง) แล้ว อานิสงส์บุญที่ได้รับก็จะเป็นบุญเหลือคณานับและไร้ขอบเขต ทั้งอสังขตะและสังขตะ นี้ล้วนเป็นสิ่งที่ตรงกันข้าม โดยอสังขตะไม่อาจห่างจากสังขตะ หากห่างจากสังขตะไป อสังขตะก็จะไม่ปรากฏ ซึ่งโดยความจริงแล้ว สังขตะจะอยู่ที่อสังขตะ ส่วนอสังขตะที่แท้จริงก็คือการไม่ดำรงในสังขตะ ฉะนั้น มหาสัตว์ก็คือผู้ที่ไม่ดำรงแต่ในอสังขตะ และไม่สิ้นจากสังขตะ เช่นนี้ จึงจะสามารถแสดงบุญอันเหลือคณาแห่งอสังขตะให้ปรากฏได้ อะไรคือการไม่ดำรงในอสังขตะ ? ก็คือยามที่พระโพธิสัตว์ได้ส่องพินิจในสังขตธรรรมทั้งปวง จะเป็นดั่งความฝันมายาฟองน้ำรูปเงา ดั่งนิสาชลและอสนีมาบำเพ็ญในอสังขตธรม กล่าวคือ หลังจากที่พระโพธิสัตว์ได้สดับธรรมจนเกิดปัญญาแล้ว พระ
โพธิสัตว์์จะผันปัญญาสู่ความกรุณา โดยจะไม่ยอมหยุดยึดแต่ความสงบแห่งอสังขตะและบังเกิดมหากรุณาจิตเพื่อโปรดสรรพสัตว์นานา ด้วยการดำเนินใช้พร้อมทั้งปัญญาและกรุณา และอาศัยบารมี 6 ออกกล่อมเกลาเวไนยสัตว์ ด้วยมาตรว่าจะได้โปรดเหล่าเวไนยสัตว์มากมายอย่างเหลือคณานับก็จริงแต่พระโพธิสัตว์ก็ไม่มีจิตใจที่คิดว่าสามารถช่วยได้ และ ผู้ที่ได้ช่วย เหลืออยู่เลย นี่คือการไม่ดำรงในอสังขตะและเจริญในพระโพธิสัตว์มรรคนั่นเอง อะไรคือการไม่สิ้นจากสังขตะ ? ก็คือเมื่อยามที่พระโพธิสัตว์ได้ทำลายสิ้นแล้วซึ่งความสับสนทางโลกีย์ และแม้นจะได้เห็นเวไนยสัตว์ อันเหลือคณานับก็ตาม แต่พระโพธิสัตว์ก็จะไม่มีความคิดว่ายากจะฉุดช่วย หรือจิตใจอันแหนนเหนื่อยหน่ายล้าหลงเหลืออยู่เลย โดยพระโพธิสัตว์ยังคลุกคลีปะปนอยู่ในโลกโลกีย์และแสดงนิรมานกายอันไพศาลมาเจริญในกิจแห่งการฉุดช่วยเวไนยสัตว์อย่างเป็นนิตย์ ซึ่งหากเวไนยสัตว์ยังฉุดช่วยไม่สิ้น แรงปณิทานก็จะไม่มีวันสุด นี่ก็คือการไม่สิ้นจากสังขตะ และเจริญในพระโพธิสัตว์มรรคนั่นเองแล
สรุปแล้วก็คือ อยู่ในสังขตะแต่ไม่ดำรงในสังขตะ อยู่ในอสังขตะ แต่แท้แล้วก็มิใช่ไร้สังขตะ นั่นก็เป็นเพราะพระโพธิสัตว์สามารถเจริญอสังขตะให้เกิดอานุภาพขึ้นนั่นเอง ดังนั้นจึงกล่าวว่า หลักแห่งอสังขตะนั้น ช่างเป็นบุญอันไร้ขอบเขตจำกัดและเหนือคณานับแล
-
วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร ฉบับ พระพุทธจี้กงอรรถาธิบาย
บรรพที่ ๑๑ : อสังขตะ บุญเหลือคณนา
เนื้อหา :
สุภูติ ! อุปมาดั่งจำนวนเม็ดทรายในคงคานที จำนวนเม็ดทรายเหล่านี้ ให้เปรียบเป็นแม่น้ำคงคาอีกที ในความหมายนี้เป็นเช่นไร ? เหล่าเม็ดทรายในคงคานทีนี้ นับว่ามากมายหรือไม่ ?" สุภูติทูลตอบว่า "มากมายยิ่งนัก ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ! เพียงแค่คงคานทีเหล่านี้ ก็เป็นจำนวนที่มิอาจนับได้แล้ว จึงนับประสาอะไรกับเม็ดทรายที่ได้เทียบเท่า" "สุภูติ ! วันนี้เราขอกล่าวความจริงต่อเธอ หากมีกุลบุตร กุลธิดา อาศัยสัปตรัตนะปูเต็มจำนวนมหาตรสหัสโลกธาตุ อันได้มีจำนวนเทียบเท่าเม็ดทรายในคงคานทีที่เปรียบดังกล่าวเพื่อใช้บริจาคทาน บุคคลนี้จะได้รับบุญมากมายหรือไม่ ?" สุภูติทูลตอบว่า "มากมายยิ่งนัก ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า !" พระพุทธองค์ตรัสแก่สุภูติว่า "หากกุลบุตร กุลธิดา รับสนองปฏิบัติตามพระสูตรนี้ แม้ที่สุดจะเป็นเพียงคำโศลก 4 บาท และประกาศกล่าวแก่บุคคลอื่น บุญวาสนานี้ ยังจะเหนือยิ่งกว่าบุญวาสนาอย่างแรก"
-
วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร ฉบับ พระพุทธจี้กงอรรถาธิบาย
บรรพที่ ๑๑ : อสังขตะ บุญเหลือคณนา
ความสังเขป :
ในบรรพนี้ พระตถาคตทรงอยู่บนหลักแห่งมนุษยฐานเทศนาธรรม ซึ่งก็เป็นครั้งที่สองของการนำบุญและปัญญามาเปรียบประลองกัน โดยพระองค์ทรงเริ่มจากการเปรียบเทียบในเรื่องของบุญ จากนั้นค่อย ๆ นำเข้าสู่การทำลายลักษณะ และ ณ จุดนี้นี่เอง ที่ได้เป็นจุดที่แสดงออกถึงอุตสาหะในการบ่มเพาะสั่งสอนอย่างอดทนของพระองค์ กล่าวคือ ในบรรพทีี่ 8 ของพระสูตรก้ได้กล่าวถึงเรืองของการบริจาคทาน โดยได้การนำสัปตรัตนะทั่วมหาตรีสหัสโลกธาตุมาทำการอุปมา ซึ่งก็เป็นการแสดงให้เห็นถึงความมากมายของการบริจาคทานแบบติดในลักษณะแล้วครั้งหนึ่ง แต่สำหรับการบริจาคทานที่ได้กล่าวถึงในบรรพนี้ จะเป็นการบริจาคทานโดยนำหนึ่งเม็ดทรายมาเปรียบให้เป็นหนึ่งโลกธาตุ และใช้สัปตรัตนะที่ปูทั่วมหาตรีสหัสโลกธาตุอันมีจำนวนเท่าเม็ดทรายในคงคานทีเหล่านี้มาบริจาคทาน ด้วยการบริจาคทานเช่นนี้ ยังจะเป็นการบริจาคทานที่มีความมหาศาลมากยิ่งกว่าการบริจาคทานในบรรพที่ 8 เป็นหมื่น ๆ เท่าเสียอีก แต่อย่างไรก็ตาม ถึงแม้การบริจาคทานโดยยึดในลักษณะเช่นนี้จะได้รับบุญวาสนามากมายก็จริง แต่บุญวาสนาเช่นนี้ก็ยังจะเป็นบุญที่ติดอยู่ในลักษณะ ซึ่งก็ยังมิใช่บุญวาสนาแห่งอานุภาพของธรรมญาณอยู่ดี ในทางกลับกัน หากเขาได้ลงมือสนองปฏิบัติในพระสูตรนี้แล้ว เขาก็จะสามารถแจ่มแจ้งในอานุภาพแห่งธรรมญาณได้ ดังนั้น พระพุทธองค์จึงทรงเรียกร้องกุลบุตร กุลธิดา ได้สนองปฏิบัติตามพระสูตรนี้เข้าไปสู่ใจจนตราบนานแสนนาน หรือกระทำโดยนำโศลก 4 บาทมากล่าวสาธยายให้ผู้อื่นได้ฟังและด้วยการที่เขาได้รู้แจ้ง และให้ผู้อื่นได้รู้แจ้ง อีกทั้งยังประโยชน์ต่อตนเองปและต่อผู้อื่นเช่นนี้นั้น จึงจะถือว่าเป็นการได้รับบุญวาสนาแห่งธรรมญาณ อันเป็นบุญวาสนาที่มากมายมหาศาลยิ่งกว่าการนำสัปตรัตนะปูทั่วมหาตรีสหัสโลกธาตุที่มีจำนวนเท่าเม็ดทรายในคงคานทีมาบริจาคทานเสียอีก จึงรู้ได้ว่า ถึงแม้บุญวาสนาที่ได้จากกการบริจาคทานโดยยึดลักษณะจะมีมากมายก็จริง แต่บุญวาสนาเช่นนี้ก็ยังคงมีความจำกัดอยู่ดี ส่วนในด้านธรรมเป็นทานถึงแม้จะมีบุญวาสนาน้อย แต่ก็กลับเป็นจำนวนที่เหลือคณานับอย่างมิอาจประมาณได้ ฝ่ายหนึ่งด้อยแต่อีกฝ่านหนึ่งเด่น แม้ไม่อธิบายก็สามารถที่จะเห็นถึงความแตกต่างอย่างชัดเจนได้อยู่แล้ว
อนึ่ง การสนองปฏิบัติในพระสูตรก็จำเป็นต้องมีความแจ่มแจ้งเข้าใจต่อสัจธรรมประกอบด้วย หากมิเช่นนั้น ก็จะง่ายแก่การหลงผิดและยึดติดในลักษณะเอาได้ กล่าวคือ ในอดีตได้มีคน ๆ หนึ่ง เดิมทีก็เป็นคนที่มีความตระหนี่เป็นอย่างมาก แต่เพราะเขาต้องการได้บุญวาสนา ดังนั้นเขาจึงเกิดความมานะต่อการบริจาคทานมากยิ่งขึ้น อยู่มาวันหนึ่ง อันเป็นเวลาหลังจากที่เขาได้อ่านวัชรสูตรฉบับนี้แล้ว เขาก็ได้สรุปและคิดไปเองว่า "ในพระสูตรนี้ได้กล่าวอย่างชัดแจนแล้วคือ หากกุลบุตร กุลธิดา ได้สนองในพระสูตรนี้ แม้จะเป็นเพียงแค่โศลก 4 บาท มาทำการกล่าวเปิดเผยแก่ผู้คนด้วยการปฏิบัติเช่นนี้ก็จะเป็นบุญที่มากยิ่งกว่าจากบริจาคทาน จากเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ได้อุปมาก่อนหน้านี้อย่างมากมาย" ดังนั้นเขาจึงคิดว่า "ที่แท้การทำบุญก็ง่ายดายเพียงนี้เอง ก็แค่ทำการสนองในโศลก 4 บาทเท่านั้นก็เพียงพอ ฉะนั้น ฉันไยต้องไปเหนื่อยยากกับการบริจาคทานอักทำไมหละ ?" และนับแต่นั้นมา เขาจึงไม่ยอมที่จะบริจาคทานเลยแม้แต่แดงเดียว และนี่แหละ คือความยึดติดที่ยังไม่เข้าใจในสุจธรรมแท้และเกิดความเข้าใจที่บิดเบือนไปนั่นเองแล
-
วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร ฉบับ พระพุทธจี้กงอรรถาธิบาย
บรรพที่ ๑๑ : อสังขตะ บุญเหลือคณนา
อธิบายพระสูตร :
พระพุทะเจ้าตรัสถามว่า "สุภูติ ! จำนวนเม็ดทรายอันมหาศาลในคงคานทีนี้ หากจะเปรียบเม็ดทรายแต่ละเม็ดในคงคานทีอีกทีหนึ่ง เธอมีความเห็นเป็นเช่นไร ? จำนวนเม็ดทรายทั้งหมดที่ได้จากการเปรียบนั้นมีจำนวนมากหรือไม่ ?" สุภูติทูลตอบว่า "มากมายยิ่งนัก ข้าแต่พระสุคต ! จำนวนสายแม่น้ำคงคาที่ได้เปรียบจากเม็ดทรายเหล่านี้ ก็เป็นจำนวนที่มากมายเสียจนมิอาจประมาณได้แล้ว ยังนับประสาอะไรกับเม็ดทรายทั้งหมดในเหล่าแม่น้ำคงคานี้อีก" พระพุทธองค์ได้ตรัสต่อไปอีกว่า "สุภูติ ! วันนี้เราขอกล่าวความจริงแก่เธอ หากได้มีกุลบุตร กุลธิดานำสัปตรัตนะปูทั่วมหาตรีสหัสโลกธาตุที่มีเท่าจำนวนเม็ดทรายเหล่านี้มาบริจาคทาน บุญวาสนาที่ได้รับนี้มีมากหรือไม่ ?" สุภูติทูลตอบว่า "มากมายยิ่งนัก ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า !" พระพุทธองค์ตรัสแก่สุภูติ ว่า "หากกุลบุตร กุลธิดาได้ทำการเผยแพร่อบรมเนื้อความในพระสูตรนี้ แม้จะเป็นเพียงแค่การสนองรับปฏิบัติในโศลก 4 บามก็ตามแต่ อันบุญวาสนาจากธรรมเป็นทานฉันนี้ที่ได้ก่อ ยังจะมากมายมหาศาลยิ่งกว่าบุญวาสนาที่เกิดจากการบริจาคทานด้วยรัตนะก่อนนี้เสียอีก"
-
วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร ฉบับ พระพุทธจี้กงอรรถาธิบาย
บรรพที่ ๑๒ : บูชา ศาสตร์แท้
อธิบายบท :
อัน ศาสตร์ นั้นหมายถึงคำสอนแห่งพระตถาคตนั่นเอง กล่าวคือ ในช่วงเวลา 80 พรรษาที่พระตถาคตทรงมีพระชนม์ชีพอยู่ พระองค์ทรงใช้เวลาถึง 49 พรรษาในการเทศนาธรรม โดยสามารถแบ่งช่วงเวลาของการเทศนาธรรมออกเป็น 5 ยุคด้วยกันคือ
ยุคที่ 1 ทรงถ่ายทอดอวตัมสกมหายานธรรม
ยุคที่ 2 ทรงถ่ายทอดอริยสัจสี่แห่งหีนยานธรรม
ยุคที่ 3 ทรงถ่ายทอดสุรางคมสูตร
ยุคที่ 4 ทรงถ่ายทอดปรัชญาสูตร
ยุคที่ 5 ทรงถ่ายทอดสัทธรรมปุณฑริกสูตร
แม้คำสอนของตถาคตจะมีมากมาย แต่สำหรับศาสตร์แท้ที่ได้กล่าวถึงในที่นี้จะหมายถึงศาสตร์แท้ที่พระพุทธองค์ทรงถ่ายทอดในยุคปรัชญานั่นเองแล การบูชาศาสตร์แท้นั้น หมายถึงพระพุทธะและพระโพธิสัตว์ทั้งปวงล้วนสำเร็จมาจากพระสูตรนี้ทั้งสิ้น แต่การที่จะให้เวไนยสัตว์ในยุคท้ายมาสดับพระสูตรเช่นนี้ได้นั้น ก็ช่างเป็นสิ่งที่ยากเย็นแสนเข็ญเสียยิ่งนัก ฉะนั้น ทั้งอรรถาจารย์และผู้สดับจึงควรมีจิตใจที่เคารพบูชาต่อธรรมอันแยบยลแห่งปรัชญาอย่างที่สุด อันเป็นดังสุภาษิตที่ได้กล่าวไว้ว่า "ธรรมแยบยลอันแสนลึกซึ้ง แม้นกาลนทีล่วงร้อยพันหมื่นกัปก็ยากจะพบพาน" นั่นเอง
เนื้อหา :
"อนึ่ง สุภูติ ! ณ ที่ใดที่ได้กล่าวพระสูตรนี้ แม้จะเป็นเพียงแค่คำโศลก 4 บาท ควรรู้ว่า ณ สถานที่นี้ เหล่าเทพ มนุษย์ อสูรทั้งหลายในโลกนี้ล้วนจะกระทำสักการะดุจพระพุทธสถูปวิหาร จึงนับประสาอะไรกับการที่มีบุคคลล้วนสามารถรับสนองปฏิบัติสวดท่อง สุภูติ ! ควรรู้ว่าบุคคลนี้ได้ยังความสำเร็จแล้วในอนุตตรธรรมอันเป็นยอดสูงสุดที่หาได้โดยยาก หากว่าพระสูตรนี้ประดิาฐานอยู่ ณ สถานที่ใด ที่นั้นก็จะมีพระพุทธเจ้าและอัครสาวกพำนักอยู่"
-
วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร ฉบับ พระพุทธจี้กงอรรถาธิบาย
บรรพที่ ๑๒ : บูชา ศาสตร์แท้
ความสังเขป :
สำหรับบรรพนี้จะเป็นบรรพที่ต่อเนื่องจากบรรพก่อน อันได้กล่าวถึงเรื่องบุญวาสนาแห่งอานุภาพธรรมญาณว่า ยังจะมีความสูงส่งล้ำค่ายิ่งกว่าบุญวาสนาที่ได้รับจากการยึดติดอยู่ในลักษณะเสียอีก เพียงแต่บรรพนี้จะเป็นบรรพที่มีการแจกแจงลึกซึ้งมากยิ่งกว่า ซึ่งก็คือ บุญวาสนาที่ได้จากการใช้สิ่งของมีค่าบริจาคทาน ก็ยังมิอาจเทียบได้กับบุญวาสนาที่ได้จากการสนองปฏิบัติในพระสูตรนี้ได้เลย นั่นเอง นอกจากนี้ พระพุทธองค์ก็ยังทรงสนับสนุนให้มีการเคารพบูชาต่อการสนองปฏิบัติพระสูตร หรือจะกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ การที่ได้เข้าใจในพระสูตรและบริจาคทานโดยไม่ยึดติดจักได้มีบุญเป็นฉันนี้ คุณค่าที่ควรแก่การเคารพบูชาก็ควรเป็นฉันนี้ดุจเดียวกัน ดังนั้นในตอนที่หนึ่งจึงได้แสดงให้เห็นถึงความควรค่าแก่การเคารพบูชา ณ ที่ ๆ มีการสาธยายพระสูตรฉบับนี้ เพราะ ณ สถานที่ ๆ มีการสาธยายพระสูตรนี้ ในนั้นก็จะมีพระตถาคตประทับอยู่ ซึ่งเหล่าเทพ มนุษย์ อสูรแห่งปวงภูมิทั้งหลาย ล้วนต้องกระทำสักการะ โดยเปรียบเช่นมีพระพุทธองค์ประทับอยู่ในพระวิหารเช่นนั้น นอกจากนี้ ก็ยังจะมีเทพมังกรฟ้า ทั้ง 8 ฝ่าย มาเป็นธรรมอารักษ์ในที่ ๆ มีการสาธยายพระสูตรนี้อีกด้วย
ในตอนที่สอง จะเป็นการแสดงให้เห็นถึงความควรค่าแก่การเคารพบูชาต่อการสนองปฏิบัติสวดท่องพระสูตรนี้ นั่นก็เป็นเพราะอนุตรโพธิธรรมทั้งหลายล้วนเกิดมาจากพระสูตรนี้ทั้งสิ้น ซึ่งหากมีคนที่ได้สนองปฏิบัติสวดท่องตามพระสูตรนี้ ก็จะบังเกิดจิตอันวิสุทธิ์ และในจิตอันวิสุทธิ์เช่นนี้ก็จะำไร้ลักษณะและไร้การดำรง ซึ่งถือว่าเป็นการสำเร็จในอนุตตรธรรมที่หาเปรียบได้โดยยากอย่างแท้จริง อนึ่ง หากจิตใจของบุคคลฉันนี้ได้มีทัศนะว่า ณ ที่ ๆ พระสูตรนี้ประดิษฐานอยู่ ก็คือที่ ๆ พระพุทธะสถืตอยู่แล้วละก็ ฉันนี้ ณ สถานที่ ๆ ได้สนองปฏิบัติพระสูตรนี้ ก็จะเป็นไตรรัตน์แห่งพุทธสาวก (พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์) และนี่จึงเป็นเหตุผลที่เราควรกระทำการสักการะบูชานั่นเองแล
เทพมังกรฟ้าทั้ง 8 ฝ่าย : เทวดา นาค ยักษ์ คนธรรพ์ อสูร ครุฑ กินนร มโหรกา
-
วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร ฉบับ พระพุทธจี้กงอรรถาธิบาย
บรรพที่ ๑๒ : บูชา ศาสตร์แท้
อธิบายพระสูตร :
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอนต่อไปว่า "สุภูติ ! ไม่ว่าจะเป็นที่แห่งหนใดก็ตาม หากมีบุคคลได้ประกาศสาธยายพระสูตรนี้ ซึ่งแม้จะเป็นเพียงแค่โศลก 4 บาทก็ดี ด้วยการประกาศสาธยายของบุคคลนี้ ได้ส่งผลให้ผู้ที่ได้รับฟังสามารถจัดอกุศลจิตจนลุล่วงไปได้ด้วยประการนี้แล้ว ควรที่จะรู้ว่า พระสูตรเล่มนี้ได้สถิตอยู่ ณ ที่แห่งนี้ในร่างกาย ซึ่งเช่นนี้ก็จะสามารถบังเกิดความประทับใจให้แก่ปวงเทพโพธิสัตว์แห่งอนุตตรภูมิ เหล่าเวไนยสัตว์แห่งมนุษยภูมิ อีกทั้งมวลมารอสูรแห่งอสูรภูมิ ซึ่งเขาเหล่านั้นล้วนจะมากระทำสักการะ โปรยดอกไม้หอมอันเป็นดั่งการบูชาเคารพพระพุทธรูปและสถูปอาราม ฉันนี้แล้ว จึงยิ่งไม่ต้องพูดไกลถึงบุคคลที่ได้บังเกิดศรัทธาและรับสนองปฏิบัติสวดท่องในพระสูตรเพื่อหวังให้เกิดญาณที่รู้แจ้งเลย"
พระพุทธองค์ทรงเมตตาต่อไปว่า "สุภูติ ! พึงทราบว่าบุคคลประเภทนี้จักสามารถสำเร็จในอนุตตรโพธิธรรม (อนุตตรสัมมาสัมโพธิธรรม) อย่างแน่นอน และนอกจากนี้แล้ว ก็ไม่อาจมีธรรมใดที่จะสูงส่งเหนือยิ่งกว่านี้ได้อีก เราควรมีความตระหนักเป็นสำคัญว่า แท้จริงแล้วใจตนก็คือพระพุทธะ ซึ่งไม่ใช่ได้พระพุทธะมาจากภายนอกแต่อย่างใดเลย ดังนั้น สถานที่ ๆ พระสูตรนี้อยู่ ก็คือ สถานที่ ๆ พระพุทธะประทับอยู่นั่นเอง อนึ่ง ด้วยการปฏิบัติเช่นนี้ ก็จะเป็นดั่งได้อยู่ร่วมอาศัยกับไตรรัตน์แห่งพุทธสาวก เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ไหนเลยที่จะไม่สามารถสำเร็จได้ และไหนเลยที่จะไม่ควรค่าแก่การบูชาได้ ?"
-
วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร ฉบับ พระพุทธจี้กงอรรถาธิบาย
บรรพที่ ๑๓ : ดั่งธรรมวิธี ยึดถือปฏิบัติ
อธิบายบท :
อันธรรมนั้น จะหมายถึงธรรมอันแยบยลแห่งปรัชญานั่นเอง แต่สำหรับพระวินัยปิฏก พระสุตันตะปิฏก และ พระอภิธรรมปิฏก ที่เรารู้จักกันในนามว่า พระไตรปิฏกนั้น ก็จะเป็นเพียงแค่ศาสตร์คำสอน ซึ่งจะแตกต่างกับธรรมอันแยบยลแห่งปรัชญาอย่างสิ้นเชิง ฉะนั้น คำว่า ดั่งธรรมวิธียึดถือปฏิบัติ ที่ได้กล่าวถึงในบรรพนี้จึงมีความหมายว่า "การอิงตามธรรมและนำมาปฏิบัติ" แล แต่ก่อนอื่นควรต้องเริ่มจากพหูสูตรเพื่อสร้างความเข้าใจอันดีเสียก่อน ครั้นได้มีความเข้าใจเป็นอันดีแล้วค่อยนำไปสู่การปฏิบัติ หลังจากได้ปฏิบัติก็ค่อยนำไปสู่การบรรลุ แต่หากจะตีแผ่ขยายความให้กว้างยิ่งขึ้น ก็จะเป็น 84,000 ความกลัดกลุ้มของเวไนย์ โดยธรรมต่าง ๆ ที่ใช้ในการรักษาอาการ ล้วนต้องเป็นการเจียดยาที่ให้ตรงกับโลกของเวไนยสัตว์ทั้งสิ้น อย่างเช่น อาการราคะ โทสะ และโมหะของเวไนยสัตว์ ก็จักต้องใช้ศีล สมาธิ ปัญญามารักษากำราบ แต่ นอกจากศีล สมาธิ ปัญญาแล้ว ยังมีอินทรีย์ 5 พละ 5 ความเพียร4 อิทธิบาท4 โพธิ7 มรรค8 โพธิปักขิยธรรม37 ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนเป็นธรรมอันวิเศษของผู้บำเพ็ญธรรมได้ทั้งสิ้น แต่สำหรับการ ยึดถือ ปฏิบัติ ที่ได้กล่าวถึงในบรรพนี้ จะหมายถึงการยึดถือปฏิบัติในธรรมอันแยบยลแห่งปรัชญา เพราะว่าการยึดถือปฏิบัติในปรัชญา ก็เท่ากับได้มีความเพียบพร้อมซึ่งธรรมทั้งปวงแล้วนั่นเอง สำหรับประเด็นของ ธรรมกายมิใช่ลักษณะ ที่ได้กล่าวถึงในตอนก่อน ๆ อันเป็นการทำลายทิฐิออกไปอย่างเป็นลำดับนั้น ก็ถือว่าได้ค่อย ๆ แสดงหลักอันแยบยลแห่งปรัชญานี้ออกมาอย่างกระจ่างชัดมากยิ่งขึ้นในบรรพแม้ไร้หนึ่งลักษณะแล้ว จวบถึงบัดนี้ ความสงสัยทั้งปวงก็ได้รับการคลี่คลายออกไปจนหมดสิ้น ด้วยคำสอนและหลักธรรมที่ลึกซึ้งฉันนี้ จึงทำให้สุภูติแจ่มแจ้งเข้าใจในแก่นธรรม ฉะนั้น สุภูติจึงได้กราบทูลให้พระตถาคตทรงประทานนามให้แก่พระสูตรนี้ขึ้นนั่นเองแล
-
วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร ฉบับ พระพุทธจี้กงอรรถาธิบาย
บรรพที่ ๑๓ : ดั่งธรรมวิธี ยึดถือปฏิบัติ
เนื้อหา :
สมัยนั้นแล สุภูติได้กราบทูลถามพระพุทธองค์ว่า "ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ! อันพระสูตรนี้ควรมีนามว่าอะไร ? ข้าพระองค์ทั้งหลายพึงสนองปฏิบัติอย่างไร ?" พระพุทธองค์ตรัสแก่สุภูติว่า "พระสูตรนี้มีนามว่าวัชรปรัชญาปารมิตาสูตร อาศัยชื่อนามนี้ เธอพึงรับไปปฏิบัติ ทั้งนี้เพราะเหตุใด ? สุภูติ ! พระพุทะเจ้ากล่าวว่าปรัชญาปารมิตา มิใช่ปรัชญาปารมิตา เป็นเพียงนามว่า ปรัชญาปารมิตา สุภูติ ! ในความหมายนี้เป็นเช่นไร ์ ตถาคตได้แสดงพระธรรมฤา ?" สุภูติทูลว่า "ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ! ตถาคตมิได้แสดงพระธรรมอันใดเลย" "สุภูติ ! ในความหมายนี้เป็นเช่นไร ? ฝุ่นละอองทั้งหมดในมหาตรีสหัสโลกธาตุ จำนวนถือว่ามากหรือไม่ ?" สุภูติทูลตอบว่า "มากมายยิ่งนัก ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ! " "สุภูติ ! ฝุ่นละอองทั้งหลายเหล่านี้ ตถาคตว่ามิใช่ฝุ่นละออง เป็นเพียงนามว่าฝุ่นละออง ตถาคตกล่าวว่าโลกธาตุ มิใช่โลกธาตุ เป็นเพียงนามว่าโลกธาตุ" "สุภูติ ! ในความหมายนี้เป็นเช่นไร ? สามารถอาศัยมหาปุริสลักษณะ 32 เห็นตถาคตหรือไม่ ?" "ไม่แล ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ! ไม่สามารถอาศัยมหาปุริสลักษณะ 32เห็นตถาคตได้ เพราะเหตุใด ? ตถาคตตรัสว่า มหาปุริสลักษณะ32 มิใช่ลักษณะ เป็นเพียงนามว่ามหาปุริสลักษณะ32" "สุภูติ ! หากกุลบุตร กุลธิดา ได้ใช้ชีวิตเปรียบเท่าจำนวนเม็ดทรายในคงคานทีบริจาคทาน แต่หากได้มีบุคคล รับสนองปฏิบัติตามพระสูตรนี้ ที่สุดแม้เพียงแค่โศลก 4 บาทมาประกาศสาธยายแก่ผู้อื่น บุญวาสนาดังกล่าวจะมากมายยิ่งกว่านัก"
-
วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร ฉบับ พระพุทธจี้กงอรรถาธิบาย
บรรพที่ ๑๓ : ดั่งธรรมวิธี ยึดถือปฏิบัติ
ความสังเขป
สำหรับเหตุปัจจัยของบรรพนี้ ก็เป็นเพราะในบรรพก่อนสุภูติได้สดับว่า "การสนองและสาธยายพระสูตรนี้ จักสามารถสำเร็จในธรรมอันหายากยิ่ง" ซึ่งก็คือ ณ ที่ ๆ พระสูตรนี้อยู่ก็จักมีพระพุทธะประทับอยู่นั่นเอง และเนื่องจากความเคารพที่มีต่่อพระสูตรเป็นเช่นนี้ ดังนั้น สุภูติจึงกราบทูลถามถึงนามและหลักของการสนองปฏิบัติพระสูตร เพื่อใช้สำหรับเป็นแนวทางในการยึดถือปฏิบัติ ซึ่งพระตถาคตก็ทรงประทานนามพระสูตรนี้ว่า "วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร และพวกเธอพึงรับไปปฏิบัติกันเช่นนี้" สาเหตุที่พระพุทธองค์ตรัสเช่นนี้ได้แฝงไว้ด้วยอนุตตรโพธิธรรม ซึ่งหากบุคคลใดได้บังเกิดจิตศรัทธาจริงใจในการสนองปฏิบัติแล้ว ก็จักสามารถแจ้งในหลักธรรมแห่งการไร้ลักษณ์ไร้ดำรง จนที่สุดได้บังเกิดปรัชญา (ปัญญาแยบยล) อันสุกสกาวที่มีความแกร่งคมดุจวัชร จนได้ก้าวขึ้นสู่ฝั่งแห่งพุทธแดน ณ ฟากโน้นได้ และนี่นี้เองที่เป็นอนุตตรธรรม อันเป็นสุดยอดเยี่ยมที่พระพุทะองค์ทรงมีพระประสงค์จะตักเตือนศิษย์สาวกทั้งหลายได้สนองปฏิบัติตามธรรมฉะนี้แล การที่พระพุทธองค์ทรงประทานนามให้แก่พระสูตรเช่นนี้ แม้ว่าจะเป็นพระเจตนาในการแสดงธรรมให้กระจ่างชัดมากยิ่งขึ้นก็จริง แต่ในอีกด้านหนึ่ง พระองค์ก็ทรงเกรงว่าศิษย์ทั้งหลายจะเกิดการยึดติดต่อนามของพระสูตรนี้ จนกระทั่งได้ลืมซึ่งความจริงไปว่า "อันว่าปรัชญานั้น ก็คือปรัชญาแห่งธรรมญาณตนนั่นเอง" ฉะนั้น พระองค์จึงตรัสต่อจากนั้นเพื่อทำลายความยึดติดลักษณะแห่งนามของพระสูตรนี้ โดยพระองค์ตรัสว่า "ปรัชญาปารมิตา มิใช่ปรัชญาปารมิตาเป็นเพียงแค่อาศัยนามว่าปรัชญาปารมิตามาใช้เท่านั้นเอง ณ ตรงนี้ได้ทำให้เราทราบว่า แม้แต่ชื่อของพระสูตรก็ยังไม่ควรยึดติดลักษณะด้วยฉะนี้แล ยังจะมีธรรมใดกล่าวสอนกันได้อีก ? เพราะว่าภายในใจจริงที่วิสุทธิ์แต่เดิมก็ไร้ลักษณะอยู่แล้ว โดยสูตรปารมิตานี้ ก็เป็นเพียงแค่พระสูตรที่ทำให้คนแจ้งในธรรมญาณตนด้วยตนเท่านั้นเอง แต่ทว่า ภายในใจจริงที่วิสุทธิ์นี้แต่เดิมก็ไร้ธรรมอันใดอยู่แล้วเช่นกัน อนึ่ง ในเมื่อไร้ธรรม แล้วจะมีพระสูตรไปใยได้ ? และในเมื่อไร้พระสูตรแล้ว ไฉนจะมีการเทศนากันได้อีก ? พึงทราบว่าในสิ่งทั้งปวงที่เป็นการกล่าวอธิบายนั้น ก็เป็นเพียงแค่ยาขนานต่าง ๆ ที่ใช้สำหรับยารักษาโรคนั่นเอง ในคัมภีร์ฉวนซินฝ่าเย่าได้กล่าวไว้ว่า "ปวงธรรมที่พระตถาคตตรัส เป็นเพียงเพื่อขจัดใจทั้งปวง หากไร้ใจทั้งปวงแล้ว ไฉนต้องมีธรรมเหล่านั้นอีก" กล่าวคือก็เพราะว่ายังไม่แจ้ง จึงจำเป็นต้องอาศัยคำพูดมาอธิบาย หากได้แจ้งแล้ว คำอธิบายทั้งปวงล้วนผิดทั้งสิ้น หรือก็คือ หากมีโรคแต่ไม่ทานยา ยานั่นแหละกลับกลายเป็นตัวก่อโรคเสียเอง นอกจากนี้ พระองค์ก็ยังทรงยกตัวอย่างให้ทราบว่า ไม่ว่าจะเป็นความจุลละเอียดดั่งผงธุลี หรือจะเป็นความมหาศาลที่เปรียบดั่งโลกธาตุ หรือกระทั่งมหาปุริสลักษณะ 32 ประการก็ตาม ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นนามบัญญัติของความว่างทั้งสิ้น การที่พระตถาคตทรงค่อย ๆ นำพาเหล่าสาวกให้เกิดความเข้าใจ แท้จริงแล้ว ก็เป็นเพราะพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ที่ทรงต้องการให้เหล่าสาวกสามารถทำลายลักษณะและพบตถาคตแห่งธรรมญาณตนได้นั่นเอง ฉะนั้น พระองค์จึงทรงทำการเปรียบเทียบบุญและปัญญาให้เห็น เป็นครั้งที่ 3 ของการเปรียบประลองเพื่อให้สาวกทั้งหลายเกิดความกระจ่างในความหมายของศักยะแห่งการพ้นลักษณะ ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการแสดงให้เห็นถึงอานุภาพของพระสูตรนี้ ในอีกทางหนึ่งด้วย โดยพระองค์ตรัสว่า "มาตรว่าจะบริจาคทานด้วยทรัพย์สมบัติที่เป็นจำนวนเท่าเม็ดทรายในคงคานที หรือจะบริจาคทานด้วยชีวิตที่มีจำนวนเทียบเท่าเม็ดทรายในคงคานทีก็ตามแต่ ที่สุดแล้วก็ยังคงเป็นเพียงลักษณะภายนอกที่ยังมิอาจเทียบได้กับการสนองพระสูตรและแจ้งในธรรมญาณได้เลย และอันบุญที่เขาจักได้รับการตอบสนองปฏิบัติพระสูตรนั้น ก็ยังเป็นบุญที่มากยิ่งกว่าการบริจาคทานที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นอย่างมากมายเสียอีก"
-
วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร ฉบับ พระพุทธจี้กงอรรถาธิบาย
บรรพที่ ๑๓ : ดั่งธรรมวิธี ยึดถือปฏิบัติ
อธิบายพระสูตร :
หลังจากที่สุภูติได้สดับพระธรรมที่พระพุทธองค์ได้ตรัสรู้ในบรรพที่แล้วก็ได้ถือโอกาสทูลถามพระพุทธองค์ว่า "ข้าแแต่พระสุคต !พระสูตรนี้ควรจะมีชื่อเรียกว่าอะไรดี ? และเราควรที่จะสนองปฏิบัติพระสูตรนี้อย่างไร ?" พระพุทธองค์ทรงตรัสแก่สุภูติว่า "ด้วยปัญญาแยบยลอันเฉียบคมเช่นนี้ ก็จะสามารถพาไปสู่ฝั่งโน้น(ฝั่งนิรวัณ) ได้ ฉะนี้ พระสูตรนี้จึงควรเรียกว่า วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร และพวกเธออาจอิงตามธรรมนี้ไปปฏิบัติ นี่ก็คือเหตุผลที่เราใช้นามว่า วัชรปรัชญาปารมิตา แต่ทั้งนี้เป็นเพราะเหตุใดหล่ะ ?" พระพุทธองค์ตรัสต่อไปว่า "สุภูติ ! สำหรับปรัชญาปารมิตาที่พระตถาคตกล่าวนั้น ก็คือความแจ้งอันแยบยลแห่งธรมญาณ ซึ่งเป็นความว่างเปล่าที่ปราศจากสิ่งใด ๆ ทั้งสิ้น และในเมื่อเป็นองค์เดิมที่ไร้สิ่งใด ๆ แล้ว ไฉนจะมีชื่อนามอีกหล่ะ ? เป็นเพียงแต่เกรงว่าจะมีคนเกิดความคิดดับสูญ จึงได้บัญญัติเป็นนามว่าปรัชญาปารมิตาสูตรด้วยความจำใจ ทั้งนี้ ก็เพื่อเป็นความสะดวกในการให้ศิษย์ทั้งหลายได้สนองปฏิบัติเท่านั้นเอง" พระพุทธองค์ตรัสต่อไปว่า "สุภูติ ! เธอมีความเห็นเป็นเช่นไร ? พระตถาคตได้กล่าวสอนพระธรรมหรือไม่ ? สุภูติทูลตอบว่า "ข้าแต่พระสุคต ! อันปรัชญาก็คือธรรมญาณตนที่ต้องแจ้งด้วยตน ก็ในเมื่อยังไร้นามที่จะปฏิบัติได้แล้ว ฉะนั้น พระองค์จึงไร้การตรัสสอนพระธรรมด้วยเฉกเช่นกัน " พระพุทธองค์ทรงถามต่อไปว่า "สุภูติ ! เธอมีความเห็นเป็นเช่นไร ? ฝุ่นละอองทั้งหมดทั่วมหาตรีสหัสโลกธาตุนี้ ถือว่ามากหรือไม่ ?" สุภูติทูลตอบว่า "ข้าแต่พระสุคต ! ช่างมากมายยิ่งนัก" พระพุทธองค์ตรัสว่า "สุภูติ ! แม้ฝุ่นละอองนี้จะมาก แต่ถึงอย่างไรมันก็เป็นเพียงมายาที่ไม่มีรูปลักษณ์ตายตัวที่ได้ถูกบัญญัติให้เป็นนามว่าฝุ่นละอองเท่านั้นเอง และถึงแม้พระตถาคตจะกล่าวว่า โลกธาตุนี้มโหฬารอย่างไร แต่เมื่อถึงเวลาสิ้นกัปแล้ว โลกธาตุนี้ก็ยังคงต้องสูญสิ้นไปอยู่ดี ซึ่งที่สุดแล้วก็ยังคงเป็นสิ่งที่ไม่มีความจริงแท้ โดยมันก็เป็นเพียงแค่นามว่าโลกธาตุเท่านั้นเอง พระสัพพัญญตรัสต่อไปว่า "สุภูติ ! เธอมีความเห็นเป็นเช่นไร ? สามารถที่จะอาศัยมหาปุริสลักษณะ 32 ที่พระองค์ได้ตรัส จะมิใช่ลักษณะแห่งธรรมกายที่ได้พ้นจากลักษณะแต่อย่างใด หากแต่เป็นลักษณะแบบรูปลักษณ์ที่ได้สนองเกิดต่างหาก ซึ่งโดยแท้แล้วก็ยังคงเป็นเพียงนามสมมุติเท่านั้นเอง" พระพุทธองค์ทรงถามต่อไปว่า "สุภูติ ! หากได้มีกุลบุตร กุลธิดาสละอุทิศชีวิตของตนเอง อันเป็นปริมาณเท่าเม็ดทรายในคงคานทีมาบริจาคทานเพื่อหวังบุญ และหากได้มีอีกบุคคลหนึ่ง ที่ได้สนองปฏิบัติในพระสูตรนี้ อีกทั้งยังได้นำไปกล่าวสอนให้ผู้อื่นได้ฟังอีก ด้วยแม้นเขาจะได้กระทำไปเพียงแค่โศลก 4 บาทก็ตาม แต่สำหรับบุญที่เขาได้จากการสนองปฏิบัติในพระสูตรนี้นั้น ยังจะมีความมหาศาลยิ่งกว่าการใช้ชีวิตอุทิศสละทานไปเสียอีก"
-
วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร ฉบับ พระพุทธจี้กงอรรถาธิบาย
บรรพที่ 14 ห่างลักษณ์ นิโรธ
อธิบายบท :
อันว่าห่างลักษณ์นั้น ก็คือการห่างออกจากรูปลักษณะแห่งมายาทั้งหลาย ซึ่งลักษณะทั้งหลายในโลกนี้ ล้วนคือลักษณะที่เป็นมายาผกผัน โดยปุถุชนยังจะไม่รู้แจ้งเข้าใจซึ่งมายาอันไม่จริงแท้เหล่านี้ จึงก่อให้เกิดความยึดติดในการยึดการละ และได้ถูกความเป็นมายาเหล่านี้มามอมรัดอยู่ทุกขณะซึ่งภาวะแห่งมายาได้คลุ้งซ่านอยู่ภายในใจเป็นเช่นนี้เสมอ กระทั่งญาณแท้แห่งตนได้ถูกอายตนะลักษณะภายนอกบดบัง จนส่งผลให้ถูกแวดล้อมภายนอกมาพลิกหมุนอยู่ทุกเมื่อ เนื่องด้วยถูกพลิกหมุนจึงเกิดความฟุ้งซ่าน เนื่องด้วยความฟุ้งซ่านจึงเกิดการสร้างกรรม เนื่องด้วยการสร้างกรรมจึงเกิดทุกขเวทนา จนในที่สุดจึงเวียนว่ายชั่วกัปชั่วกัลป์อย่างไม่มีวันหมดสิ้นได้เลย แต่หกเขาสามารถห่างพ้นจากลักษณะ เช่นนี้ก็จะไม่ถูกลักษณะมอมเมา ซึ่งเขาก็จะไร้การยึดติด ในการยึดการละ ครั้นไร้การยึดติดในการยึดการละแล้ว อายตนะลักษณะก็จะว่างเปล่า ใจภายในก็จะไม่เลื่อยลอยออกไป อายตนะภายนอกก็ไม่อาจเข้าจู่โจมได้ ถ้าเช่นนี้แล้ว ทั้งนิ่งและไหวก็จะไม่บังเกิดครั้นทั้งนิ่งและไหวไม่บังเกิดแล้ว ความสงบศาติก็จะปรากฏเช่นนั้นเองแล สำหรับความสงบศานติที่ได้กล่าวถึงนั้น ในเริ่มแรกจะสยบอายตนะภายนอก จากนั้นจะขจัดอินทรีย์ภายใน แต่ก่อนที่ทั้งอายตนะและอินทรีย์จะสิ้นซากไปนั้น จักต้องทำลายบุคคละอัตตา แล้วค่อยทำลายธรรมอัตตา จนในที่สุด แม้แต่ลักษณะแห่งการแจ้งในสิ่งที่แจ้งก็ต้องหลีกพ้น เมื่อขึ้นไปอีกขั้นหนึ่งก็คือ ความว่างทั้งหลายไม่มีบังเกิด และในที่สุด แม้แต่ลักษณะแห่งการว่างในสิ่งที่ว่างก็ต้องสูญ ด้วยการเกิดดับที่ได้ดับด้วยประการเช่นนี้แล้ว ความสงบศานติก็จักปรากฏนั่นเองแล
-
วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร ฉบับ พระพุทธจี้กงอรรถาธิบาย
บรรพที่ 14 ห่างลักษณ์ นิโรธ
เนื้อหา :
ครั้งนั้นแล สุภูติได้สดับพระสูตรนี้ จนได้เกิดความซาบซึ้งแจ่มชัดในธรรมอรรถ และเกิดอาการสะอื้นไห้ จึงกราบทูลพระสุคตว่า "หาได้ยากหนักหนา ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ! พระพุทธเจ้าได้ตรัสพระสูตรอันลุ่มลึกเช่นนี้ ตั้งแต่อดีตที่ข้าพระองค์ได้ปัญญาจักษุมา ยังมิเคยได้สดับฟังพระสูตรเช่นนี้เลย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! หากได้มีบุคคลสดับฟังพระสูตรนี้ จนเกิดจิตศรัทธาอันบริสุทธิ์ เช่นนี้ก็กบังเกิดลักษณ์แท้ ควรรู้ว่าบุคคลนี้ ได้บรรลุในบุญกุศลอันยอดเยี่ยมที่หาได้ยากหนักหนา "ข้าแต่พระสุคต ! อันว่าลักษณ์แท้มิใช่ลักษณะ ฉะนั้นพระตถาคตจึงตรัสนามว่าลักษณ์แท้ ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ! วันนี้ข้าพระองค์ได้สดับพระสูตรนี้ เกิดกระจ่างเชื่อถือและนำปฏิบัติ บุคคลนี้นับวายอดเยี่ยมชนิดหาได้โดยยากทีเดียว เพราะเหใด ! บุคคลนี้ไร้อาตมะลักษณะ บุคคละลักษณะ สัตวลักษณะ ชีวลักษณะ ทั้งนี้พราะเหตุใด ! อาตมะลักษณะก็คือมิใช่ลักษณะ บุคคละลักษณะ สัตวะลักษณะ ชีวลักษณะ ก็คือมิใช่ลักษณะ เพราะเหตุใด ! ห่างจากเหล่าลักษณะจึงจะได้ชื่อว่าพระพุทธทั้งหลายแล" พระสัมพุทธเจ้าตรัสแก่สุภูติว่า "อย่างนั้น อย่างนั้น" หากมีบุคคลได้สดับฟังพระสูตรนี้ โดยไม่วิตก ไม่หวั่น ไม่กลัว ควรรู้ว่บุคคลนี้หาได้ยากหนักหนา เพราะเหตุใด ? สุภูติ ! ตถาคตกล่าวว่า บารมีอันยอดเยี่ยม มิใช่บารมีอันยอดเยี่ยม เป็นเพียงนามว่าบารมีอันยอดเยี่ยม" "สุภูติ ! ขันติบารมี ตถาคตกล่าวว่ามิใช่ขันติบารมี เป็นเพียงนามว่าขันติบารมี เพราะเหตุใด ? สุภูติ ! ดั่งที่เราในอดีตถูกกลิราชาห้ำหั่นกายา เราในขณะนั้น ไร้อาตมะลักษณะ บุคคละลักษณะ สัตวะลักษณะ ชีวะลักษณะ เพราะเหตุใด ? ขณะที่เราในอดีตได้ถูกห้ำหั่นเป็นชิ้น ๆ หากได้มีอาตมะลักษณะ บุคคละลักษณะ สัตวะลักษณะชีวะลักษณะแล้ว ควรเกิดความโกรธพยาบาทสุภูติ ! หวนระลึกกลับไป 500 ชาติก่อน สมัยเมื่อเราเป็นกษานติวาทีดาบส ขณะอยู่ในชาตินั้น ไร้ตมะลักษณะ บุคคละลักษณะ สัตวะลักษณะ ชีวะลักษณะ" ด้วยเหตุนี้สุภูติ ! พระโพธิสัตว์ควรต่างจากลักษณทั้งปวง และบังเกิอนุตตรสัมมาสัมโพธิจิต ไม่ควรดำรงรูปบังเกิดจิต ไม่ควรดำรงเสียง กลิ่น รสสัมผัส ธรรมารมณ์บังเกิดจิต แต่ควรบังเกิดจิตที่ไร้สิ่งดำรง หากใจมีการดำรง ก็คือมิใช่ดำรง ดังนั้น พระสัมพุทธเจ้ากล่าวว่าจิตของพระโพธิสัตว์ไม่ควรดำรงรูปบริจาคทาน สุภูติ ! พระโพธิสัตว์เพื่อยังประโยชน์สุขแก่เวไนยสัตว์ พงบริจาคทานด้วยประการเช่นนี้" "ตถาคตกล่าว่าลักษณะทั้งปวง มิใช่ลักษณะและกล่าวว่าเวไนยสัตว์ทั้งปวงมใช่เวไนยสัตว์สุภูติ ! ตถาคตคือผู้กล่าว สัจจวาจา ภูตวาจา ตถาวาจา อวิตถวาจา อนัญญะถวาจา สุภูติ ! ธรรมที่ตถาคธรรมนี้ไร้การเต็มเปี่ยมไร้การว่างสูญ" สุภูติ ! หากใจของพระโพธิสัตว์ดำรงในพระธรรมและบริจาคทานก็จะเปรียบดั่งคนสู่ที่มืดที่จะไร้การมองเห็นอย่างสิ้นเชิง แต่หากใจของพระโพธิสัตว์ไม่ดำรงในธรรมและบริจาคทาน เปรียบดั่งคนมีดวงตาที่ยามสงสุรีย์สาดส่อง ก็เห็นสรรพสีสันนานา สุภูติ ! ในอนาคตกาล หากได้มีกุลบุตร กุลธิดา สามารถอาศัยพระสูตรนี้ปฏิบัติสวดท่อง ก็คือพระตถาคตด้วยพุทธปัญญา เราล้วนเห็นบุคคลนี้ ต่างจักได้บรรลุในบุญกุศลอันไร้ขอบเขตที่มิอาจประเมินปริมาณได้"
-
วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร ฉบับ พระพุทธจี้กงอรรถาธิบาย
บรรพที่ 14 : ห่างลักษณ์ นิโรธ
ความสังเขป : ในบรรพนี้ได้กล่าวถึงสุภูติ ที่หลังจากได้สดับพระสูตรนี้แล้ว ก็ทำให้เกิดความสว่างไสวขึ้นภายในใจ คือสุภูติได้เข้าใจในความหมายของคำว่า "หากเห็นเหล่าลักษณะมิใช่ลักษณะ ก็จะเห็ยตถาคต" อันเป็นเหตุทำให้สุภูติเกิดความปลาบปลื้มร่ำไห้ และอุทานสรรเสริญออกมาว่า "หาได้ยากนักหนา ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า !"นั่นเอง ถึงแม้ในบรรพที่ 2 ก็มีการสรรเสริญพระเกัยรติคุณในกรณีเช่นนี้แล้วก็จริง แต่กรณีการสรรเสริญพระเกียรติคุณในบรรพที่ 2 จะมีนัยที่แตกต่างบรรพนี้กล่าวคือ ในบรรพที่ 2 จะเป็นการอุทานสรรเสริญเพราะได้เข้าใจในเจตนาของพระพุทธองค์ โดยพระพุทธองค์ทรงแสดงให้เราเข้าใจในใจจริงแห่งปรัชญาซึ่งสามารถเห็นได้จากพระจริยวัตรในชีวิตประจำวันของพระองค์เอง แต่สำหรับกรณีการอุทานสรรเสริญพระเกียรติคุณครั้งที่สอง ที่ได้เกิดขึ้นในบรรพนี้นั้น จะเป็นการสรรเสริญอุทานพระเกียรติคุณแห่งตถาคต ที่ได้แสดงให้เห็นในศักยะอันแยบยลแห่งปรัชญา ซึ่งสามารถอุปมาให้เข้าใจได้ด้วยการชมคฤหาสน์หลังหนึ่ง ที่ในอดีตจะเห็นเฉพาะความสง่างามภายนอกของตัวอาคารเท่านั้น แต่ ณ บัดนี้ ได้ก้าวเข้าไปสู่ภายในตัวอาคาร และสามารถยลความอลังการของคฤหาสน์หลังนี้ได้อย่างหมดสิ้นนั่นเอง เนื่องจากพระพุทธองค์ทรงทราบว่า สุภูติได้เข้าใจความหมายอันแยบยลของคำว่า "อันสิ่งที่เป็นลักษณะทั้งหลายล้วนแต่เป็นมายา และหากไร้ลักษณะแล้วไซร์ จึงจะสามารถเห็นตถาคตได้" ดังนั้น พระองค์จึงทรงให้กำลังใจเพื่อเป็นการสนับสนุนให้เกิดความเพียรปฏิบัติ แต่สำหรับการเพียรปฏิบัติก็ไม่อาจพ้นจาก 6 ปารมิตาได้ และใน 6 ปารมิตานี้ ก้ต้องยกเอาปัญญาบารมีว่าเป็นสิ่งหาได้ยากที่สุด ดังนั้น พระองค์จึงทรงนำเอาบารมีอันยอดเยี่ยมขึ้น
มาตรัสก่อน ซึ่งก็มีนัยให้เราเกิดปัญญา เพราะเมื่อได้เกิดปัญญาแล้วก็จะสามารถเจริญในบารมีที่เหลือต่อไปได้อีก อนึ่ง พระพุทธองค์ยังทรงได้ตรัสถึงขันติบารมีโดยไม่ได้ตรัสถึงบารมีชนิดอื่น ทั้งนี้ก็เพราะขันติบารมีเจริญได้ยากที่สุด และพระองค์ก็ยังทรงยกเอาตัวอย่างของพระองค์เองมาพิสูจน์ให้เห็น เพื่อเป็นการแสดงให้เห็นชัดยิ่งขึ้นถึงการไร้อาตมะ บุคคละ สัตวะและชีวลักษณะ โดยมิใช่จะกล่าวเฉพาะแต่ด้านจิตใจอย่างเดียว กล่าวคือ ควรที่จะเป็นดั่งพระองค์ 500 ชาติก่อนที่แม้นจะถูกห้ำหั่นอย่างสาหัสปานใดก็ตาม แต่พระองค์ก็ยังคงสงบนิ่งไม่มีอาการหวั่นไหว ฉันนี้ จึงจะถึอว่าเป็นสัมมาสมาธิอย่างแท้จริง เพราะหากไม่มีขันติจนถึงระดับนี้หล่ะก็ ที่สุดแล้ว ลักษณะแห่งมายาก็ไไม่ได้ดับไปและหากขันติยังมิได้เจริญจนถึงระดับนี้และเกิดอาการวิตก หวั่น และกลัวแล้ว นั่นก็หมายความว่าความมั่นใจยังไม่แกร่งพอ ดังนั้น พระพุทธองค์จึงทรงยกเอาตัวอย่างของพระองค์ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้ก็เพื่อให้เป็นอุทาหรณ์และกำลังใจในการเจริญขันติโดยไร้ 4 ลักษณะนั่นเอง อนึ่ง พระพุทธองค์ยังทรงแสดงให้เห็นว่า าหกพระโพธิสัตว์ได้มีลักษณะแห่งอาตมะ บุคคละต่าง ๆ เหล่านี้แล้ว ก็มิใช่พระโพธิสัตว์ นอกจากในบรรพก่อน ๆ จะกล่าวถึงแต่เรื่องบุญวาสนา ก็จะมีแต่บรรพนี้เท่านั้นที่ได้กล่าวถึงบุญกุศล นั่นก็ป็นเพราะยามที่ผลพูนกุศลพร้อมแล้ว บุญวาสนาก็ไม่มีคุณค่าพอที่จะเอ่ยถึงอีกต่อไป