นักธรรม
ห้องสมุด "นักธรรม" => หมวด : รวมเกร็ดธรรม, บทความธรรมะ => ข้อความที่เริ่มโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 15/02/2011, 09:01
-
๑.
เหตุใดพวกเราจึงรับธรรมะ ? การรับธรรมะนั้นมีประโยชน์อย่างไร ? คุณวิเศษแห่งธรรมะมีอะไรบ้าง ? สิ่งเหล่านี้ล้วนต้องทำความเข้าใจให้ถ่องแท้ หากไม่รู้ว่าเหตุใดจึงต้องรับธรรมะ เห็นเขากราบเราก็กราบ ฉะนี้เรียกว่างมงาย
๒.
ไตรรัตน์ที่เธอได้รับ เป็นยันต์คุ้มภัยและสัจวัตถุที่สื่อถึงฟ้าของเธอเอง เพียงแต่ประสิทธิผลแห่งไตรรัตน์จะมีมากหรือน้อยนั้นก็ขึ้นอยู่กับบุญกุศลของผู้ใช้นั้นมีมากน้อยเพียงใด ? หากบุญกุศลยิ่งมาก ประสิทธิผลแห่งไตรรัตน์ก็ยิ่งมาก ซึงก็เปรียบเสมือนกับปากกาหนึ่งด้าม ที่สำหรับเด็กสองสามขวบแล้วก็เป็นได้แค่ขีดเขียนให้ระเกะระกะ แต่ถาหากเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัย ปากกานี้ไม่เพียงแต่สามารถเขียนการบ้านได้เท่านั้น หากยังสามารถเขียนบทความได้อีกด้วย แต่หากไปอยู่กับนักวรรณกรรมผู้ยิ่งใหญ่ ก้จะเป็นคุณากรที่ยิ่งใหญ่ (บ่อเกิดแห่งความดี) มากขึ้นอย่างไพศาล เพราะเขาสามารถประพันธ์หนังสือที่เป็นคุโณปการแก่ชาวโลก กระทั่งสามารถคงชื่อจารึกไว้บนโลกานี้ได้ ฉะนั้น เจ้าได้รับธรรมะแล้ว หากแม้นไม่ได้ประพฤติมิชอบ แต่ก็มิได้ประกอบกุศลความดี อย่างน้อยไตรรัตน์นี้ก็จะคุ้มภัยให้เจ้าสวัสดี แต่หากได้สร้างบุญกุศลไว้บ้างแล้ว ไตรรัตน์นี้ไม่เพียงแต่จะเปลี่ยนแปลงบุคลิกและราศีของเจ้าได้เท่านั้น หากยังสามารถปัดเป่าภัยร้ายให้กับเจ้าได้อีกด้วย แต่หากเจ้าได้สร้างมหากุศล ไตรรัตน์ไม่เพียงแต่จะช่วยให้เจ้าแคล้วคลาดปลอดภัย หากยังจะช่วยให้เจ้าพ้นจากเขตควบคุมแห่งพญายมและได้สำเร็จเป็นพระพุทธะอริยเจ้า ตราบจนชื่อเสียงกึกก้องขจรไกลเป็นนิรันดร์ จากจุดนี้จึงรุ้ได้ว่า บุญกุศลนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญมากไฉน !
๓.
อะไรเรียกว่าบุญกุศล ? คือไม่ว่าจะเป็นการสละแรงกาย แรงใจ แรงทรัพย์ มุ่งทำเพื่อผู้อื่น โดยมิใฝ่ทำเพื่อตน มุ่งทำความดีมิสร้างความชั่ว เช่นนี้เรียกว่าบุญกุศล แต่เนื่องด้วยเธอพึ่งรับธรรมะใหม่ ๆ ก้แน่นอนว่าจะยังไม่เข้าใจความสำคัญแห่งบุญกุศล ดังนั้น เหตุผลที่ต้องจ่ายเงินทำบุญเมื่อคราวที่เจ้ารับธรรมะก็อยู่ที่ตรงนี้นั่นเอง โดยอาวุโสจะนำเงินก้อนนี้ไปพิมพ์หนังสือธรรมะและประกอบกุศลจิต จุดประสงค์ก็เพื่อจะสร้างบุญให้แก่เจ้า เพื่อที่จะช่วยให้เจ้าได้ใช้ไตรรัตน์อย่างสัมฤทธิ์ผลมากยิ่งขึ้นนั่นเอง
-
๔
พระอริยเจ้าเคยกล่าวไว้ว่า "เช้าสดับธรรมะ เย็นตายก็ไม่เสียดาย" จึงรู้ได้ว่าธรรมะนั้นมีความวิเศษมากเพียงใดอันธรรมะนี้เป็นสิ่งวิเศษที่ไท่ถ่ายทอดโดยง่ายมาแต่บูรพกาล เป็นสุจธรรมที่มิกล่าวโดยง่ายมาแต่อนันตสมัย หากไม่ชอบด้วยเวลาก็จะไม่ประสาท หากไม่ชอบด้วยบุคคลก็จะไม่ถ่ายทอด ดังนั้น หลังจากที่ได้รับธรรมะแล้ว จะต้องครองมั่นด้วยศรัทธา มากล้นด้วยปฏิปทาแห่งการบำเพ็ญยิ่งยวด ด้วยเหตุนี้ จึงมิควรละเลยบกพร่องเป็นอันขาด หากเจ้าควรจะนำประทับไว้ในใจ ฉะนี้จึงเรียกได้ว่าเป็นผู้ที่ปราดเปรื่อง และจึงจะถือได้ว่ามิได้เสียทีที่ได้รับอนุตตรธรรมในชาตินี้ได้ โบราณว่าไว้ว่า "ตามฟ้าเกิด ขัดฟ้าม้วย" ดังนั้น หลังจากรับธรรมะแล้วจะต้องตั้งใจสร้างสมกุศลคุณความดี กล่อมเกลาชาวโลกฉุดช่วยผู้คน นี่ก็คือการตามฟ้า ปฏิบัติตามฟ้าก็จักเกิด และจะอยู่ต่อเป็นเผ่าพันธ์ต้นตระกูลแห่งชาวโลกสืบไปในภายภาคหน้า แต่สำหรับคนที่มิได้รับธรรมะ มีโลภะแลอุปาทาน ไม่ปฏิบัติกิจตามมโนธรรมสำนึก ฉะนี้คือการขัดฟ้า หากขัดฟ้าก็จักมอดม้วยและต้องผจญกับเภทภัย แลตกสู่ขุมอเวจีตราบนานแสนนาน
๕
เนื่องด้วยเผ่าพันธ์ ประเพณี ความเคยชิน ภาษา อักษรที่แตกต่างกัน พระแม่องค์ธรรม จึงทรงมีพระบัญชาให้พระอริยเจ้าแห่ง 5 ศาสนา ลงอุบัติในแต่ละแดนดินเพื่อปลุกตื่นชาวโลก และฟื้นฟูความวิสุทธิ์จากความลุ่มหลงตามแต่เวลา สถานที่ และบุคคล เพื่อไม่ให้เราหลงลืมมาตุภูมิทิพยสถาน ( ๐ ) ที่แท้จริง อันหลักเมตตาแห่งศาสนาพุทธ หลักอกรรม แห่งศาสนาเต๋า หลักภัคดีอภัยแห่งศาสนาปราชญ์ หลักความรักอันยิ่งใหญ่แห่งศาสนาคริสต์ หลักความบริสุทธิ์แห่งศาสนาอิสลาม แม้นต่างฝ่ายต่างมีคำสอนที่แตกต่าง แต่หลักนั้นก็เป็นหนึ่งมิได้ผิดเพี้ยน โดยทั้งหมดล้วนกำลังชี้ทางให้กลับสู่ชุณหบท (หนทางอันสว่างไสว) แห่งบ้านเดิมทั้งสิ้น แต่ทว่า สัจธรรมแก่นแท้แห่งอริยเจ้าของ 5 ศาสนาล้วนได้สูญหาย ในปัจจุบัน ศิษยานุศิษย์ของแต่ละศาสนาหากมิใช่เคาะเกราะสวดท่อง วอนเทพขอพระ หวังลาภขอบุญแล้ว ก็จะเป็นเทศนาสวดท่องพระคัมภีร์ อรรถาตีความตามตัวอักษรกันทั้งนั้น ฉะนี้แล้ว หลักเมตตาแห่งพระพุทธองค์ หลักอกรรมแห่งท่านเหลาจื้อ หลักภัคดีอภัยแห่งท่านขงจื่อ หลักความรักอันยิ่งใหญ่แห่งท่านเยซู หลักความบริสุทธิ์แห่งท่านมูฮัมหมัด จึงไม่มีใครไปใคร่ครวญอีก ฉะนั้น อันเรื่องของการกลับสู่เมืองเดิมอย่างไรก็ยิ่งไม่มีใครเอ่ยถึง โดยล้วนแต่หวังกันเพียงให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ปกปักรักษา แต่กลับมิเคยคิดที่จะเรียนรู้ซึ่งพระจริยวัตรแห่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์เสียเลยนับหลายพันปีที่ล่วงมา การที่ทวยเทพเท้าทั้งสากลสามารถเป็นที่เคารพบูชาจากหมู่นิกรนับแสนนับล้ายได้นั้น ก็เพราะท่านเหล่านั้นมีความเมตตา ความอกรรม ความภัคดีอภัย ความรักอันยิ่งใหญ่ และความบริสุทธิ์ผุดผ่อง นั่นเอง ฉะนั้น ก่อนที่จะหวังให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ประสาทพรคุ้มครอง เจ้าก็จงลองถามใจตนเองก่อนว่าเป็นเช่นใด ? หากเจ้าสามารถมีความเมตตา สามารถอกรรม สามารถภัคดีอภัย สามารถมีความรักอันยิ่งใหญ่ สามารถบริสุทธิ์ไร้ราคีได้แล้วมาตรว่าเจ้าจะมิเคยขอต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ก็จะทรงคุ้มครองอยู่เคียงข้างเจ้าเป็นเสมอ แต่หากเจ้ามิได้มีกตัญญุตาธรรม ภราดรธรรม ภักดีธรรม สัตยธรรม อีกยังไร้ จริยธรรม มโนธรรม สุจริตธรรม หิริธรรม ด้วยแล้วในใจเอาแต่หวังให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครองให้ราบรื่น หวังแต่ให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ประทานโชคลาภให้ร่ำรวย ฉะนี้ จะมิเป็นเรื่องที่น่าขันดอกหรือ ? ตัวเจ้าเต็มไปด้วยบาปเวรกรรมความคิดเจ้ามากด้วยมิจฉาดำริ มิจฉาความคิด ฟุ้งซ่านเพ้อฝันแล้วยังจะมายืนขอต่อหน้าพระมหิทธา (สิ่งศักดิ์สิทธิ์ผู้มีฤทธานุภาพที่ยิ่งใหญ่) อย่างมิรู้ละอายได้อีกหรือ ? ในปัจจุบันได้มีมหาธรรมปรกโปรด ทั้งหมดล้วนได้ชี้ตรงซึ่งพระหฤทัยแท้แห่ง 5 ศาสดาแลมรรควิถีอันแท้จริงแห่งการกลับสู่มาตุภูมิ นี่จึงเป็นศุภโอกาสที่ประสบหาพบได้ยากยิ่งนับแต่บรรพกาลเป็นต้นมา ดังนั้น หากไม่รับธรรมะนี้ ก็เป็นเรื่องที่น่าเสียดายนัก
คำว่าอกรรม ในภาษจีนนั้นคือคำว่าอู่เหวย (การไร้กระทำ) ตรงกับศัพย์อู๋เหว๋ยที่แปลมาจากคำว่าอสังขตะ อันเป็นศัพท์บาลีสันสกฤตที่ใช้ในพระพุทธศาสนา เนื่องจากในสำนวนการแปลคัมภีร์เต๋าเต๊กเกงของนักแปลบางท่านในประเทศไทยได้แปลไว้สองอย่างคือ อกรรมหนึ่ง และ การไร้กระทำหนึ่ง ผู้แปลจึงขอใช้คำว่าอกรรมไว้ในที่นี้ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความแตกต่างจากศัพท์ที่ว่าอสังขตะที่ใช้ในพุทธศาสนา แม้นว่าทั้งสองจะมีความหมายที่ใกล้เคียงกันมากก็ตาม
-
๖
เจ้าเคยคิดหรือไม่ว่า การที่ชาตินี้สามารถรับธรรมะได้นั้น ช่างเป็นเหตุปัจจัยอันแสนวิเศษที่หาพบได้ยากยิ่ง เพราะในช่วงเวลา 129,600 ปี จึงจะมีสักครั้งหนึ่งเท่านั้น ดังนั้น เจ้าจึงควรเร่งสร้างกุศลชำระปณิธาน เร่งทำความเข้าใจและเชื่อมั่นต่อวิถีธรรม มิฉะนั้น หากได้พลาดจากเหตุปัจจัยอันแสนวิเศษที่จักหาพบได้ยากในครั้งนี้ไป เจ้าก็จักต้องรอคอยไปอีก 129,600 ปีี ในกาลคราวหน้า แต่หากเจ้าต้องตกสู่ห้วงแห่งการเวียนว่ายตายเกิดอันแสนเนิ่นนาน ได้เปลี่ยนหน้าผลัดโฉมเป็นจำนวนนับครั้งมิถ้วนแล้ว ในอนาคต ใครจักกล้ารับรองได้ว่าเจ้ายังจักได้เกิดเป็นคนที่เมืองจีนและประสบพบพระวิสุทธิอาจารย์ในการปรกโปรดคราวหน้าได้อีกหละ ?
๗
คนเรามักอยู่ในกองบุญโดยไม่รู้ค่าของบุญ ดูอย่างการบำเพ็ญในอดีตนั้นช่างยากเย็นแสนเข็ญจนสุดจะพรรณาได้ เพราะไหนจะต้องลาบุพการี ห่างจากบ้านเกิดไปอาศัยอยู่ในป่าเขาลำเนาไพร ไหนจะต้องทำการเพาะปลูกหาเลี้ยงชีพ หรือจักต้องออกบิณฑบาตเพื่อประทังชีวิต กิจการน้อยใหญ่ล้วนต้องทำด้วยตัวเองทั้งสิ้น โดยเฉพาะในเรื่องการได้ประสบพบพระวิสุทธิอาจารย์และมหาธรรมก็ยังเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ต้องคอยกลัดกลุ้มกังวลอยู่เสมอ แต่ผู้บำเพ็ญในกาลปัจจุบันช่างสุขสบายเสียเหลือเกิน เพราะทุกคนล้วนมั่งมีในปัจจัยสี่ ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนสะดวกสบายไร้กังวล อีกไม่ต้องออกบวชเพื่อเข้าป่าอาศัย ทั้งยังสามารถสร้างบุญกุศลได้ทุกที่ ชำระปณิธานได้ทุกคราว โดยเฉพาะยังได้ประสบวาระมหาธรรมออกโปรด พระวิสุทธิอาจารย์ออกช่วยได้อีก จึงกล่าวได้ว่า หากได้รับธรรมะในชาตินี้แล้วยังมิรู้เจริญธรรม ก็ช่างเป็นคนเขลาหมายเลขหนึ่งแห่งโลกนี้จริง ๆ
๘
โลกนี้คือด่านมอมญาณสถานใหญ่ เวียนว่ายแล้วรู้กลับจักมีสักกี่คน ? เมื่อคราวเข้าวนคือคนเป็น เห็จเหเร่ออกมากลายเป็นกองกระดูกขาว โลกนี้คือเวิ้งสมุทรมอมญาณสถานใหญ่ ก้นสมุทรดิ่งลึกเคว้งคว้างว่างเปล่าสุดลูกตา ผู้ดิ่งธารายากหวนทวนคืนฝั่ง รังแต่ลอยล่องวนเวียนไร้วันคืน แต่บัดนี้ คือกาลเวลาแห่งยุคขาว ทุก ๆ ถิ่นแขวงล้วนมีมหาธรรมพรั่งพราว ครารับธรรมจงลุธรรมกุศลสร้าง มิต่างต้องผจญทุกข์สมุทรเหว แต่หากมิใฝ่ขึ้นธรรมนาวาอย่างรี่เร็ว ก็จักเหลวทุกขเวทนาในอเวจี
-
๙
ครั้นสิ้นลมหายใจ ร่างกายเรือนนี้ของเจ้ากฌป็นเพียงซากอันไร้ค่าที่ใครเห็นมีแต่ใจผวา ไม่กี่ทิวาก็เน่าเปื่อยสุดทน ลูก ๆ แลภรรยาที่ปกติสุดรักใคร่กันนักหนา บัดนี้ก็มิกล้าจะเข้าใกล้ อีกร่างเจ้าก็มิอาจไว้ในเรือนนิเวศอีกต่อไป ลองคิด ๆ ดู จวบจนบัดนี้ ยังมีอะไรที่เจ้าครองได้ ? ไม่เพียงแต่ภรรยา บุตรธิดาที่แสนรัก อีกสมบัติโภคทรัพย์เคหะฐานะที่สุดหวง ทั้งหมดล้วนมิใช่ของเจ้าอีกแล้ว หรือแม้แต่ร่างของเจ้าก็ยังมิใช่ของเจ้าอีกเลย เป็นเพียงซากศพที่ส่งกลิ่นเหม็นโขลงในกองดินเท่านั้น เจ้ายังจะมีอะไรอีกเล่า ? หากเจ้าคิดว่ายังมีอะไรในโลกนี้เป็นของเจ้า และยังคงหลงใหลหึงหวงมิปล่อยวาง ฉะนี้ก็ช่างน่าเวทนานัก
๑๐
กาลจวบจนบัดนี้ มหันตภัยรี่อยู่เบื้องหน้า เธอควรตื่นได้แล้วหนา และก้มหน้าบำเพ็ญธรรม ครั้นลองถามใจตน ก็สุกทนน่าละอาย รับธรรมแม้นนานหลาย ก็หาได้เจริญจริง ไร้การสร้างกุศล อีกไม่สนลุปณิธาน ปกติชอบเกียจคร้าน ปล่อยวารกาลหลุดลอยไป โลกีย์เหนี่ยวรัดไว้ มิสนใจวิริยา ผิดต่ออาวุโสนักหนา ที่นำพาคอยห่วงใย จงเร่งจิตสำนึก รู้ตรองตรึกเร่งกลับใจ ดุจทะยายอาชาไนย ยังมิสายพอตามทัน แต่หากมิรู้ตื่น ยังระรื่นมิแจ้งฝัน ทำเฉื่อยแฉะไปวันวัน มิบากปั่นปล่อยละเลย ครั้นภัยล้างม้วนชีวี ฝังอเวจีตราบแสนนาน
๑๑
ลองพิจารณาดูชาวโลกแล้ว มีใครบ้างที่ไม่ผ่อนผันอภัยตน ? มีใครบ้างที่ไม่ปล่อยตัวปล่อยใจตน ? มีใครบ้างที่ไม่โลภหลงใหลในความสุขสบาย ? มีใครบ้างที่ไม่คลั่งไคล้ในความสุขเพียงชั่วแล่น ? เจ้าพึงต้องระวังไว้เพราะการปล่อยกายใจแลผ่อนผันอภัยตนนั้น แท้จริงคือกำลังถูกเวรกรรมร้อยรัดเอาไว้ และการหลงไหลในความสบายและความสุขใจเพียงชั่วแล่นนั้น ก็คือสิ่งที่จะกัดกร่อนรากธรรมได้ง่ายดายที่สุด ดังนั้นจึงทำให้เจ้าต้องเร่ร่อนเวียนว่ายในส้งสารวัฎตราบนิรันดร์
-
๑๒
บนโลกนั้นมีผี แต่เห็นได้จากที่ใด ? พวกชอบดื่มเหล้าก็คือผีขี้เมา พวกบ้ากามก็คือผีลามก พวกโลภสมบัติก็คือผีหวงทรัพย์ พวกขี้โมโหก็คืออสูรร้าย ผีเหล่านี้ล้วนเป็นผีที่มีเปลือกนอกเป็นคนทั้งสิ้น ในเมื่อชาตินี้เป็นผี ไยชาติหน้าจะเกิดเป็นคนได้ ? ดังนั้นเจ้าจึงพึงระวังให้ดี อันกับดักใหญ่แห่งสุรา โลภะ โมหะ โทสะทั้งสี่นี้ ติดกับได้ง่าย แต่จะหลุดรอดได้นั้นแสนยากนัก
๑๓
ตลอดชีวิตของนกและไก่ในกรง ล้วนต้องใช้ชีวิตอยู่ในกรงที่คับแคบอับชื้นอย่างมิอาจเห็นเดือนเห็นตะวันได้ เมื่อเจ้าได้เห็นภาพอย่างนี้แล้วเจ้ามีความรู้สึกเช่นได ? ตามตรอกเล็กซอยน้อย เรามักจะได้เห็นสุนัขทั้งที่ผอมลีบ สกปรกและเหม็นเน่าอยู่ตากลมตากฝุ่น ตากแดดตากฝน หิวโหยทุกข์ทน หรือกระทั่งต้องเจ็บไข้ทรมานอย่างแสนสาหัส นี่ช่างเป็นภาพอันน่าเวทนา และชวนให้หดหู่ใจเสียยิ่งนัก แต่แท้จริงแล้ว ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นภาพนรก ฉะนั้น เจ้ายังต้องไปหาดูนรกที่ไหนอีก ? เพราะหากชาตินี้เจ้าได้ก่อกรรมทำเข็ญ ไม่เคารพฟ้าดิน ไม่ธำรงจิตมโนธรรมสำนึก มีแต่เอาเปรียบโลภมากฉะนี้แล้ว ในชาติหน้า เจ้าก็จะเป็นเช่นเหมือนพวกเขา ฉะนั้น เมื่อได้เห็นความน่าเวทนาของพวกเขา ก็จงสังวรณ์ถึงตัวเองเสียบ้าง เพราะภาพนรกก็ปรากฏอยู่เบื้องหน้าให้เห็นแล้ว อเวจีก็ฉายซ้ำแล้วซ้ำเล่าอยู่เสมอ หรือว่าเจ้าไม่กลัว ? เจ้าจงรีบเร่งพิจารณาตนเองจะดีกว่า !
๑๔
คนบ้าที่วิกลจริต หรือคนที่ต้องทุกขเวทนากับความเจ็บไข้ได้ป่วยตลอดทั้งวัน หรือคนที่ต้องยากจนเข็ญใจกับชีวิต อีกคนที่ลุ่มหลงงมงายอยู่กับการปลูกเหตุแห่งการเวียนว่ายตายเกิดไม่รู้หยุด.....เมื่อเจ้าได้เห็นภาพเหล่านี้แล้ว เจ้ามีความรู้สึกเช่นใดหละ ? พวกเขาก็เป็นเสมือนกระจกเงา เมื่อเห็นพวกเขา ก็ควรจะเข้าใจตัวเองให้ดีขึ้นบ้าง พระพุทธองค์ตรัสว่า "ประสงค์รู้เหตุแต่ปางก่อน ผลที่รับในปัจจุบันชาตินั่นแหละใช่ ประสงค์รู้ผลในอนาคตชาติ เหตุที่ก่อในปัจจุบันนี้นั่นแหละใช่" ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว หากหวังใจในนิพพาน เจ้าก็ต้องหมั่นทำความดีให้มาก ๆ ไว้
-
๑๕
ใครกันหละที่ใช้ให้เจ้าทำร้ายตนเองถึงเพียงนี้ ที่ยอมปล่อยให้โลภ โกรธ หลง อกุศลกรรมสิบบทมาบดบังความสงบแห่งธรรมญาณ ใครกันหละที่ใช้ให้เจ้าหยามย่ำตนถึงปานนี้ ที่ยอมปล่อยให้มิจฉาทิฎฐิ มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวาจา มิจฉากัมมันตะ มิจฉาอาชีวะ มิจฉาอุปาย มิจฉาสติ มิจฉาสมาธิ มากัดกร่อนรากธรรมจนฟอนเฟะ เจ้าจงอย่าได้ดูเบาตนเอง หากมิใช่เพราะเจ้าได้สะสมบำเพ็ญมาแต่อดีตชาติ ชาตินี้เจ้าไยมีส่วนได้รับธรรมะได้ ขอให้เจ้าจงถนอมรากบุญของเจ้าไว้ให้ดี เพราะหากชาตินี้เจ้าต้องตกหล่น ก็จักยากได้เกิดกายเป็นคนได้อีกต่อไป
๑๖
วางในสิ่งผู้อื่นมิอาจวาง ตัดในสิ่งที่ผู้อื่นมิอาจตัด สละในสิ่งที่ผู้อื่นมิอาจสละ ทำในสิ่งที่ผู้อื่นมิอาจทำ ผจญต่อทุกข์ที่ผู้อื่นมิอาจผจญ อดทนต่อสิ่งที่ผู้อื่นมิอาจอดทน ฉะนี้จึงจะนามว่าผู้บำเพ็ญธรรมได้ นับแต่จำเนียรกาลเป็นต้นมา มีพระมหิทธาองค์ใดบ้างที่มิได้ผจญสิ้นซ่งทุกข์ลำเค็ญแล้วสำเร็จธรรม ฉะนั้น หากเจ้ามิมีใจจะบำเพ็ญธรรมก็แล้วไป แต่หากจะบำเพ็ญธรรม ก็จำต้องมีการตื่นแจ้งอย่างเฉียบขาด เพราะเรื่องนี้มิใช่เรื่องว่าเล่น
๑๗
เจ้าบอกว่าการบำเพ็ญเป็นเรื่องยาก การบำเพ็ญเป็นเรื่องยาก ที่กล่าวเช่นนี้จะทำให้เกิดประโยชน์อันใดแก่เจ้าบ้างหละ ? การที่เจ้าสามารถปล่อยวาง ตักวาง สละ ทำและอดทนอดกลั้นต่อความทุกข์ยากได้ ชีวิตของเจ้าก็จะหมดไปวัน ๆ อยู่ดี หรือหากเจ้าจะไม่สามารถปล่อยวาง ตัดวาง สละ ทำและอดทนอดกลั้นต่อความทุกข์ลำเค็ญก็เถอะ ชีวิตของเจ้าก็จะหมดไปวัน ๆ เช่นกัน แต่ความเหนื่อยยากเพียงไม่กี่ปีแห่งการบำเพ็ญที่เห็น กลับต้องแลกมาซึ่งความทุกข์ทนและความอ้างว้างอีกนับหมื่นปี เจ้าลองชั่งใจดู แบบใดจึงจะคุ้มค่าหละ ?
-
๑๘
เจ้าไยต้องทำตัวเศร้าสร้อยชวนให้คนสงสาร แล้วรำพันอะไรทำนองว่ามีแต่เรื่องวุ่นวายใจจนแยกแยะไม่ถูก ยากตัดวาง เจ้าไยต้องตำหนิด่าว่าแต่ตนเอง แล้วรำพันอะไรทำนองว่ามีผิดบาปทับถมมหันต์ ผิดซ้ำแล้วซ้ำเล่าไม่รู้เลิกยากกลับตัว การที่เจ้าโอดครวญหวนโหยตำหนิโทษแต่ตัวเองอย่างนี้แล้วมันจะเกิดประโยชน์อะไรขึ้นได้ ? พญายมก็ไม่เห็นว่าจะสงสารเห็นใจเจ้าดอก จะโทษก็ต้องโทษตัวเองที่ไม่ยอมฮึดสู้มั่นหมายอย่างมิลดละต่างหาก เพราะเคราะห์ภัยอาเพศที่เกิดล้วนเพราะตนเองเป็นผู้เรียกหามาเองทั้งสิ้น
๑๙
การบำเพ็ญธรรมมีหรือที่จะสบาย ดังนั้นเจ้าจึงต้องบำเพ็ญปฏิบัติอย่างจริงจัง หากเจ้าเพียงแต่ทำรับหน้าไว้อย่างเสียมิได้ ไม่มีใจที่คิดจะจริงจังต่อการบำเพ็ญปฏิบัติเลยสักนิด สุดท้ายก็มีแต่จะทำให้ตนเองต้องเสียหายไปเท่านั้นเพราะเจ้าอาจจะทำรับหน้าต่ออาวุโสหรือต่อญาติธรรมได้ แต่เจ้าก็ไม่มีวันที่จะทำรับหน้าต่ออนิจจังและภัยพิบัติได้หรอก
๒๐
อย่าบอกว่ายาก อย่าบอกว่ายุ่ง ที่บอกว่ายากและยุ่งเสียมากมาย สุดท้ายก็ยากจะรอดพ้นอนิจจังได้อยู่ดี เมื่อรู้ว่าธรรมะนี้เป็นสิ่งวิเศษ ธรรมะนี้เป็นสิ่งประเสริฐ ก็จงเร่งรี่บำเพ็ญธรรม เพราะหากมิยอมเจริญธรรมบรรลุธรรมแล้ว เมื่อถึงคราวที่พญายมมาเรียกหา เวลานั้นจะมารนรานตื่นผวา เสียใจพร่ำร้องซมซานอย่างไรก็เถอะ มันก็สายเกินแก้เสียแล้ว
-
๒๑
หนึ่งวันผ่านไปคือหนึ่งวันหาย หนึ่งปีผ่านไปคือหนึ่งปีวาย คืนนี้หลับไหลสบายใจกาย รู้ไยจักได้ชมตะวันคืน ครานี้พบหน้ายังดีอยู่ ยากรู้คราหน้ายังได้เห็น อย่างไรจึงพ้นหัตถ์ยมเย็น รีบเร่งบำเพ็ญกาลปัจจุบัน กระหายแล้วขุดบ่อนั้นไร้ค่า หากนานมาพึงบุกบั่นวิริยา
๒๒
พลังใจหาญแกร่งขึ้นฝั่งธรรม หากใฝ่ต่ำจิตโลเลดิ่งทุกข์ธาร จะสำเร็จต้องครองมั่นทุกวารกาล หากซมซานเดี๋ยวเข้าออกทุกข์สามกาล (สามกาลคือ อดีต ปัจจุบัน อนาคต) เนื่องนานมาที่สำเร็จเพราะเกรงใจ ล้วนสำแดงปัญญาวุธแสงอำไพ มือเงื้อมฉับจิตสับสนมิห่วงใย เพียงว่าตัดก็ตัดไปไร้เยื่อใย จิตมานะจึงคือฐานธรรมสำเร็จ นี่คือเคล็ดที่โลดโผนทิศน้อยใหญ่ หากโลเลเดี๋ยวขึ้นลงตกเวียนตาย จงฟันใฝ่มุ่งเจริญบรรลุเอง
๒๓
อย่าได้คิดเชียวนะว่า เจ้ายังมีเวลาอีกนาน อย่าได้หลงเชียวนะว่า เจ้ายังมีสุขภาพที่แข็งแรง เจ้าต้องตระหนักให้ดีว่า พญายมนั้นไร้เยื้อใย อนิจจังนั้นช่างว่องไว การเกิดตายนั้นสุดจะคะเนได้ พลันแค่ลมหายใจนี้หยุด ทุกสิ่งก็จบสิ้นเท่านั้น และชาติหน้าก็ยังมิอาจรู้ได้ว่าเจ้าจะเปลี่ยนหน้าผลัดโฉมไปเป็นอย่างไร ? หากยังมีอีกหนึ่งวันที่ยังอยู่บนโลกนี้ได้ เจ้าก็ควรรู้ค่าถนอมรักษาหมั่นเร่งสร้างสมกุศลบุญญา รีบนำพาปฏิบัติสุดแรงใจ หากปกติทำตัวมิรู้ค่า ไม่รักษาคุณค่าแห่งเวลา พลันอนิจจังเคาะประตูเยือนฉุดคร่า จิตใจก็ฟั่นเฟือนวิปราสมือเท้าสับสนรนราน แล้วค่อยมาได้คิดว่าจะต้องสร้างบุญสร้างกุศลแต่นานมาแต่มันก็มิได้เกิดประโยชน์อันใดได้เสียแล้ว เพราะเพียงแค่เราพลาดจากการเป็นคน มาตรว่าเจ้าจะมีใจที่ตั้งมั่นต่อการบำเพ็ญธรรมอย่างไร แต่ขอถามว่าเป็นไปได้ไหม ?
-
๒๔
มโนธรรมแห่งเราได้มีพร้อมมาแล้วแต่กำเนิด และก็ยังเป็นสิ่งที่คงอยู่แต่เดิมแล้วในใจของทุก ๆ คน โดยมิจำต้องไปแสวงได้จากภายนอกแต่อย่างใด ขอเพียงแต่เราค้นหาด้วยตน บ่มเพาะบารมีแห่งตน ทำการแจ้ง ทำการเข้าใจ ก็เท่านั้น
๒๕
ในเวลาอันเนิ่นนานเมื่อครั้งอดีต ธรรมญาณแห่งมนุษย์นั้นแสนผ่องใสฟ้าคนรวมเป็นหนึ่งมิแยกฝ่าย จนมิอาจมีสิ่งมดจะมาพรรณาซึ่งความวิเศษได้ แต่นับจากที่ได้ถูกบดบังด้วยโลกียวัตถุ อีกอายตนวิญญาณที่มอมหลงไหล อีกอำนาจทรัพย์สินที่ยั่วยวนไป เพื่อคว้าไขว่ระบายกิเลสที่อัดอั้นใจนั้นแล้ว จึงทำให้ได้คลาดหายจากคุณธรรมดั้งเดิมที่เคยมี และการแย่งชิงดีจึงมีีเกิดทุกหย่อมหญ้า กิเลสตัณหาคลุ้งกระจายลอยสะพัด จนส่งผลให้โลกแห่งพระพุทธาแต่เดิมมาต้องสาบสูญมลายไร้ร่องรอย ระบอบธรรมจารีตล้วนมอดม้วน คุณธรรมแปดมิอาจได้คงมี จึงทำให้โลกแห่งพระพุทธาต้องกลับกลายเป็นโลกโสโครก เหล่านี้ช่างเป็นนรกบนดินโดยแท้ และด้วยฟ้าทรงประสงค์เตือนตักชนชาวโลก ด้วยความจนพระทัย จึงต้องประทานภัยให้ลำเค็ญ โดยจุดประสงค์ก็เพียงเพื่อให้ชาวโลกได้รู้ตื่น ด้วยการเตือนต่อทุรชน ก็หวังเพียงให้ผู้คนรู้ผิดเร่งกลับใจ โดยหาได้มีเป้าหมายเป็นอื่นใดไม่ ดังนั้น พระแม่เบื้องนิพพานจึงทรงบัญชาให้เหล่าอสูรลงจุติ จนเกิดก่อเก้าเก้ามหันตภัย อีกอาศัยเหล่ามารร้ายมาสอบเพื่อดูความจริงเท็จ ทั้งนี้ก็เพื่อกำหนดมรรคผลฐานะในเบื้องหน้า ทว่า การคุกคามแห่งมหันตภัยนี้นั้น ก็ยังผลให้สุรชนอีกมากมายต้องมอดม้วยตามไปด้วย เพื่อจะช่วยบุตรคนดีเหล่านี้ จึงได้มีมหาธรรมออกโปรดอย่างกว้างขวาง ให้พระวิสุทธิอาจารย์ลงอุบัติ ให้ธรรมะออกถ่ายทอดอย่างทั่วถึง ทั้งนี้ก็เพื่อฉุดช่วยเหล่ากุลบุตรกุลธิดา ให้กลับคืนสู่อนันตภูมิตราบชั่วนิรันดร์
-
๒๖
บำเพ็ญธรรมบำเพ็ญจิตนำพิชิตเสมอต้นปลาย ไม่ว่าจะเป็นเพศฆราวาสหรือเพศบรรพชิต หากได้มีปณิธานที่มาดหมายในทางบำเพ็ญธรรม และดำรงค์จิตคิดช่วยเพื่อนมนุษย์แล้ว เจ้าก็จำต้องฝึกฝนบำเพ็ญด้วยความเหนื่อยยากด้วยมาตรว่าจะเป็นงานหยาบอย่างการตัดฟืนหาบน้ำก็ตาม ทั้งหมดนี้ก็ล้วนเป็นการปฏิบัติฌานขั้นสูงแห่งมหายานธรรมทั้งสิ้นในทางการงานจะใช้เพียงมือและกาย แต่ในทางบำเพ็ญจะใช้ใจและปาก หากเจ้าดำรงจิตโพธิสัตว์ เจ้าก็คือพระดพธิสัตว์ ซึ่งเจ้าจำต้องทำอย่างเป็นหนึ่งเดียวทั้งปากและใจอย่างสม่ำเสมอทุกเวลากาล แต่หากเจ้าพากเพียรเมื่อตอนเริ่มและเกียจคร้านเมื่อตอนปลายละทิ้งเอาตอนกลางคัน ฉะนี้ก็หาได้มีการสำเร็จไม่ ในการบำเพ็ญธรรม เจ้าต้องถือเอาธรรมะมาเป็นแก่น ถือเอาคุณธรรมมาเป็ยคุณานุภาพ อันธรรมะและคุณธรรมที่พึงมีแห่งชีวิต ไม่ว่าจะเป็นความเคารพนบนอบ ความศรัทธามุ่งมั่น ความแข็งเกร่งเที่ยงตรง ความทะนงศักดิ์หาญกล้า ความอุทิศเสียสละ ความอบอุ่นเป็นกันเอง ความเมตตากรุณา ความอ่อนน้อมถ่อมตน ความสุภาพเรียบร้อย อีกความอ่อนโยนเป็นมิตร ความขยันหมั่นเพียร ความประหยัดมัธยัสถ์ ความถือสัตย์เคร่งวาจา อีกทั้งการมีจิตใจอันสูงส่ง การมีกำลังใจอันกล้าแกร่ง การมีจิตใจอันอารี การเคารพอาชีพ การทำดีแก่ฝูงชน การปิดทองหลังพระอย่างไม่ตัดพ้อต่อว่าต่าง ๆ อันเป็นคุณธรรมที่สามารถกระทำให้เป็นจริงได้เหล่านี้ ล้วนเป็นสิ่งที่ชีวิตพึงมีอีกเป็นสิ่งที่มวลมนุษย์พึงครอง ซึ่งเหล่านี้ล้วนเป็นกฏคุณธรรมของการไปมาหาสู่แห่งสังคมมนุษย์ที่มิควรขาด ทั้งนี้ก็เพื่อจะได้ชำระจิตใจแห่งเราให้บริสุทธิ์ ตราบจนส่งผลให้เราได้หยุดสงบอยู่ ณ ที่สุดแห่งความดี แล้วค่อย ๆ ขยายอาณาบริเวณไปสู่สังคมโลก เหล่านี้ก็คือภาระกิจของเรา ซึ่งหากเรามิมีพลังใจอันกล้าแกร่งและไปคล้อยตามกระแสธารแห่งสามัญโลกแล้ว ก็มิไยต้องเอ่ยถึงเรื่องการบำเพ็ญธรรมเลย
-
๒๗
การบำเพ็ญธรรมต้องอาศัยกายปลอมบำเพ็ญกายจริง ต้องอาศัยรูปลักษณ์ให้ประจักษ์ในหลักธรรม ครั้นได้แจ่มชัดในหลักธรรมแล้ว ก็จำต้องกวาดล้างเหล่ารูปลักษณ์ที่มี และยึดหลักบำเพ็ญมั่น ทำลายเหล่ารูปลักษณ์ โดยมิควรอาศัยต่อรูปลักษณ์ใด ๆ ทั้งสิ้น การบำเพ็ญธรรมจะมิใช่บำเพ็ญโดยยึดน้ำใจไมตรี ต้องดูว่าหากชอบด้วยธรรมก็จงรุดหน้า หากมิชอบด้วยธรรมก็จงลดถอย อย่าได้เฉื่อยแฉะเชื่องช้าอย่างเด็ดขาด การบำเพ็ญธรรมต้องเจริญแบบอย่างอริยวัตรแห่งพระพุทธะอริยะ หากมีผิดก็จงแก้ หากมิมีก็จงมานะพากเพียร ธรรมะนั้นก็อยู่เพียงที่ตน มิอาจค้นพบได้ที่ภายนอก ยามตนได้ดีก็จงดำริให้ผู้อื่นได้ดี ยามตนได้จำเริญก็พึงตระหนักให้ปวงชนได้จำเริญ และสิ่งที่ตนไม่ปรารถนา ก็จงอย่าไปก่อให้ผู้อื่นได้รำคาญ จงรู้ไว้ว่า ชีวิตกำหนดได้จากตน บุญวาสนาขอได้จากตน คุณธรรมบำเพ็ญได้จากตน อริยภาพปฏิบัติได้จากตน เมิ่งจื่อกล่าวว่า "ขอก็จักได้ ละก็จักคลาด" ซึ่งทั้งหมดล้วนได้จากตัวเราเองทั้งสิ้น บำเพ็ญธรรมบำเพ็ญกาย เคร่งครัดที่ตนแต่อย่าตำหนิที่คน หากรู้สำรวมตนโดยมิหวังให้ได้คืนสนองแล้ว เราก็จักมิมีการตัดพ้อท้อพร่ำ ต่อบนจะไม่โทษฟ้า ต่อล่างจะไม่โทษปวงประชา ฉะนั้น วิญญูชนจะธำรงตนให้อยู่อย่างสมถะเพื่อรอรับพระโองการฟ้า โดยทั้งหมดทั้งปวงนี้ล้วนต้องวอนขอจากตน เมื่อนั้นก็จักได้ที่ตนนั่นเอง
๒๘
โบราณว่าไว้ "หากเข้าโดยมิรู้ประตู ไยสามารถเข้าโถงอยู่เรือนได้" ฉะนั้นจึงกล่าวว่า "อ่านท่องหมื่นพันปกรณ์จนขาดวิ่น ยังมิสู้หนึ่งจุดแห่งพระวิสุทธิอาจารย์" หากผองเราประสงค์จะศึกษาธรรม ก็พึงได้รู้หนึ่งจุดวิเศษนี้เสียก่อน หากรู้ไม่แตกฉาน การกล่าวความก็จักไม่แจ่มชัด จึงมิไยต้องเอ่ยถึงเรื่องการปฏิบัติเลย และนั่นก็จะไม่สามารถฉุดช่วยทั้งตนเองและผู้อื่นได้ ในบัดนี้ พระวิสุทธิอาจารยฺทรงลงอุบัติ การปรกโปรดอย่างกว้างขวางได้เริ่มขึ้นแล้ว ผองเราได้ประสบพบพระวิสุ?ธิอาจารย์และได้รับสัจธรรมถ่ายทอดแท้ ได้รู้ซึ่งทวารวิเศษและรู้ประตูเข้าแย้มยลแล้ว แต่การจะเข้าโถงอยู่อาศัยในเรือนอย่างไรก็ต้องขึ้นอยู่กับปณิธานและการปฏิบัติของเจ้าเอง
-
๒๘
โบราณว่าไว้ "หากเข้าโดยมิรู้ประตู ไยสามารถเข้าโถงอยู่เรือนได้" ฉะนั้นจึวกล่าวว่า "อ่านท่องหมื่นพันปกราณ์จนขาดวิ่น ยังมิสู้หนึ่งจุดแห่งพระวิสุทธิอาจารย์" หากผองเราประสงค์จะศึกษาธรรม ก็พึงได้รู้หนึ่งจุดวิเศษนี้เสียก่อน หากรู้ไม่แตกฉาน การกล่าวความก็จักไม่แจ่มชัด จึงมิไยต้องเอ่ยถึงการปฏิบัติเลย และนั่นก็จะไม่สามารถฉุดช่วยทั้งตนเองและผู้อื่นด้วย ในบัดนี้ พระวิสุทธิอาจารย์ทรงลงอุบัติ การปรกโปรดอย่างกว้างขวางได้เริ่มขึ้นแล้ว ผองเราได้ประสบพบพระวิสุทธิอาจารย์และได้รับสัจธรรมถ่ายทอดแท้ ได้รู้ซึ่งทวารวิเศษและรู้ประตูเข้าแยบยลแล้ว แต่การจะเข้าโถงอยู่อาศัยในเรือนอย่างไรก็ต้องขึ้นอยู่กับปณิธานและการปฏิบัติของเจ้าเอง
๒๙
เราเกิดเป็นคนต้องมีศักดิ์ศรี โดยเฉพาะต้องมีศักดิ์ศรีอันประเสริฐ หากศักดิ์ศรีแห่งคนเรายิ่งมัวหมอง คุณค่าแห่งคนเราก็จักยิ่งต่ำต้อย หากศักดิ์ศรีแห่งคนเรายิ่งสูงค่า คุณค่าแห่งคนเราก็จักยิ่งไพสิฐ แต่พึงทำประการใดจึงจะทำให้ศักดิ์ศรีของเราสูงค่าหล่ะ ? คือเราต้องมีปณิธานอันยาวไกล ความคิดอันก้าวล้ำ ความใฝ่ดีอันกล้าแกร่ง ฉะนี้ก็จะทำให้เป็นจริงขึ้นมาได้โดยปริยาย แต่หากเราไม่รักตัวเอง ยอมต่ำต้อยไปกับกระแส ยอมจมปลักไปกับกระแส ซึ่งหากเป็นเช่นนี้จริงก็มิต้องป่ายการเอ่ยถึงเรื่องของศักดิ์ศรีเลย
-
๓๐
กตัญญูกตเวทิตาต่อบุพการีนั้น จุดหมายอันสำคัญคือ ต้องทำให้บุพการีได้พ้นทุกข์ประสบสุข ต้องฉุดช่วยบุพการีให้พ้นจากหุบเหวแห่งทุกข์ทรมาน ตราบจนหลุดพ้นจากวัฎฎะสงสารสู่แดนนิพพาน อย่างนี้จึงจะถือว่าเป็นมหากตัญญูได้ หากแมันในยามที่บุพการียังอยู่เราได้เชื่อฟังโอวาทมิให้ท่านต้องหม่นหมอง ช่วยให้ท่านมีกินมีใช้มิให้ต้องอนาทร อีกทั้งยังมีความพรั่งพร้อมด้วยความเคารพนับถือ กตัญญูแลโดยมิขาดตกบกพร่อง แต่เรากลับมิได้นำท่านไปสู่วิมุติสุข มิได้นำท่านให้พ้นจากวังวนแห่งการเกิดตาย ฉะนี้ก็ยังมิอาจถือว่าเป็นมหากตัญญูได้
๓๑
การสำรวมตนเพื่อฟื้นฟูจริยธรรมนั้น แท้ก็คือการระงับกิเลสของตน จะทำการใด ๆ ก็ล้วนอิงตามหลักแห่งฟ้าเป็นสรณะอยู่ทุกเวลา และด้วยการไม่มองต่อทุกสิ่งที่ไม่สอดคล้องต่อจริยธรรม ก็จะไม่ทำให้ถูกเย้ายวนใจจากวัตถุภายนอก และด้วยการไม่ฟังต่อทุกสิ่งที่ไม่สอดคล้องต่อจริยธรรม ก็จะไม่ทำให้ถูกก่อกวนใจจากมธุรวาทที่รุมเร้า และด้วยการไม่พูดต่อทุกสิ่งที่ไม่สอดคล้องต่อจริยธรรม ก็จะทำให้ไม่ถูกแผ้วผลาญด้วยภัยทางวาจา และด้วยการไม่ทำต่อทุกสิ่งที่ไม่สอดคล้องต่อจริยธรรม การประกอบกิจใด ๆ ก็จะเที่ยงตรงไร้ลำเอียง หากล้วนสามารถทำได้ทุกประการดังนี้แล้ว อย่างน้อยก็จะทำให้ไม่เกิดภัยผลาญชั่วชีวิต อย่างมากก็จะเป็นที่แซ่ซ้องของชนทั้งหล้าตราบนานเท่านาน
-
๓๒
อันการรู้สำนึกเสียใจนั้น คือ มูลรากแห่งความดีแล คือ การฟื้นคืนแห่งความศรัทธาแล วิญญูชนจะมุ่งในความดีได้ด้วยอำนาจแห่งการสำนึก ส่วนทุรชนก็จำมิทำชั่วอย่างอหังการด้วยเดชแห่งการรู้สำนึกเช่นกัน และบาปอันใหญ่มหันต์ยิ่งเทียมฟ้า ก็ยากนักที่จะมีคำว่าสำนึกเสียใจ อันการสำนึกนั้น คือตัวแบ่งขอบเขตแห่งความดีความชั่วแล คือจุดพลิกผันแห่งความจริงใจและเสแสร้งแล คือเหตุปัจจัยแห่งเคราะภัยวาสนาแล
๓๓
ชะตาของคนเรานั้นได้ถูกกำหนดอยู่ในเงื้อมมือของตนเองทั้งสิ้น ดังนั้นจึงมีเพียงผู้ที่มีความมุ่งมั่นจึงจะบรรลุผลสู่ความสำเร็จนั้นได้ อย่างอริยชนเมธีเจ้าแต่อดีตที่มีความเป็นอยู่อันแร้นแค้นแสนลำเค็ญ จำนวนก็มีมากมายจนสุดพรรณาได้สิ้น แต่สุดท้ายก็ปรากฏชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วทั้งปฐพีได้ ส่วนผู้ที่ร่ำรวยมีสกุลรุนชาติดีมาแต่กำเนิดนั้นเล่า ก็ใช่ว่าจะมีจำนวนน้อยเสียเมื่อไหร่ แต่สุดท้ายก็ต้องตกอับคับที่ ชื่อเสียงปี้ป่นหม่นไหม้ก็ใข่น้อย ฤาหรือเหล่านี้ล้วนเพราะความดีชั่วแห่งชะตากำหนดอย่างนั้นหรือ ? มิใช่เลย หากเป็นเพราะการกระทำของตนเองต่างหาก ด้วยการบำเพ็ญสร้างสมคุณธรรมบารมีแห่งวิญญูชนนั้น ทั้งหมดล้วนมุ่งอยู่เพียงการอุทิศ โดยมิคิดฝันใฝ่มองหาผลลัพธ์ที่ได้ มีเพียงธำรงสายตาอันยาวไกลพินิจใคร่ครวญการแต่อดีตตราบจนปัจจุบัน ดำรงรักษาปณิธานอันมุ่งมั่น เจริญแบบอย่างอริยปราชญ์เมธา นำพาอุทิศเพื่อประชา จนมิมีสิ่งใดที่จะเป็นที่ละอายแก่ใจเกิดขึ้นได้อีก ท่านเหล่านั้นเพียงทุ่มเทอุทิศตามแต่หน้าที่แห่งมนุษย์ เชื่อฟังสดับพระเจตนาแห่งฟ้านภา โดยมิได้สนใจถามไถ่เรื่องชะตาแต่อย่างใด
๓๔
การบำเพ็ญธรรมพึงมีความคิดเป็นของตนเองบ้าง อย่างเป็นประเภทอยู่กันอย่างสนุกสนานครึกครื้นที่เอาแต่กิน ๆ คุย ๆ ไหว้ ๆ แล้วก็เข้าใจว่านี่แหละคือการบำเพ็ญธรรม หากเป็นเช่นนี้ก็ช่างเป็นการหลอกทั้งตัวเองและหลอกทั้งผู้อื่นแล้ว ในวันหนึ่ง ๆ มี 24 ชั่วโมง นอกจากเวลาหลับนอนแล้ว กิริยา วาจา ห้วงคิดของเจ้านั้นได้สอดคล้องต่อธรรมะหรือไม่ ? สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ เจ้าเองจะต้องมีความเข้าใจอย่างถ่องแท้ มิเช่นนั้น ที่เจ้าได้ชื่อว่าผู้บำเพ็ญธรรม ก็ช่างเป็นการหลอกลวงผู้คนโดยแท้
-
๓๕
การบำเพ็ญธรรมพึงเป็นตัวของตัวเอง อันว่าเป็นตัวของตัวเองนั้นก็คือมิให้เจ้าต้องถูกยวยเย้าจากกาเมสิ่งสิน ความรัก ความใคร่ มิถูกจิกใช้จากยศศักดื์อำนาจ มิถูกดึงดูดจากโภคทรัพย์ฐานะ มิถูกกุมขังจากวังวนปัญหา สินทรัพย์น้ำใจ มิยอมดูถูกคนที่ยากจนอ่อนแอ ไม่ริษยาคนที่มากด้วยสติปัญญาความรู้ (เมื่อเห็นดี พึงเอาอย่าง) ไม่เยาะเย้ยถากถางคนที่โง่เขลาด้อยปัญญา มิฝังใจต่อความมากน้อยแห่งพระคุณหรือความแค้น ไม่ยึดมั่นในวาจาพาทีของผู้คน ไม่ตระหนกตกใจต่อการได้การเสีย ไม่หวาดกลัวใจหายต่อการเป็นการตายอันเป็นวิญญูชนนั้น จะครองมั่นในกุศลธรมตราบชีพวายแต่หากเจ้าไม่เคารพอาจารย์ ไม่เทิดทูนธรรมะ ไม่บูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ไม่เกรงใจต่ออาวุโส ดูถูกต่อคุณธรรม หยิ่งผยองต่อทุกสิ่ง แบ่งฝักแบ่งฝ่าย แล้วเข้าใจว่านี่คือการเป็นตัวของตัวเองแล้ว ฉะนี้คือการตกต่ำแล
๓๖
การบำเพ็ญธรรมหากมีความเป็นตัวของตัวเอง จึงจะมีหลักยืนของตนเองได้ หากอาวุโสหรือญาติธรรมมีอะไรที่ยังมิชอบ เจ้าก็อย่าได้สนใจ หากไปสนใจที่ความมิชอบของอาวุโสและญาติธรรมนั้นแล้ว เจ้าเองก็จะมีความมิชอบตามไป กระทั่งทำให้จิตใจเจ้าต้องห่อเหี่ยวไร้กำลังใจ และมิอยากฟันใฝ่ต่อเรื่องบำเพ็ญการก้าวหน้า ซึ่งนี่ก็คือการกลบฝังขวางตนชัด ๆ เจ้าพึงเข้าใจว่า หากวันหน้าอาวุโสและญาติธรรมต้องตกนรก เขาก็มิอาจดึงยุดเจ้าลงไปได้ หรือหากวันหน้าอาวุโสและญาตฺธรรมได้กลับคืนขึ้นนิพพาน เขาก็มิอาจดึงฉุดเจ้าได้เฉกเช่นเดียวกัน การที่อาวุโสและญาติธรรมมิอาจบรรลุได้ นั่นก็คือกรรมของเขา แล้วจะมีอะไรที่เกี่ยวกับเจ้าด้วยเล่า ? และการที่อาวุโสและญาติธรรมสามารถบรรลุได้ นั่นก็คือกฤดาธิการ (บารมีอันยิ่งที่ได้สร้างไว้แล้ว) ที่เขาได้สร้างสมไว้ แล้วจะมีอะไรที่เกี่ยวข้องกับเจ้าอีกด้วยหรือ ? การเกิดการตายของตน ตนต้องไปจัดการด้วยตน เจ้ามิต้องไปยุ่งกับเรื่องราวของผู้อื่นหรอก ซึ่งตรงนี้ก็เข้าทำนองสุภาษิตที่ว่าไว้ว่า ใครทำใครได้ ใครมิทำใครก็ไร้ ไงหละ
-
๓๗
พระพุทธอริยเจ้าแต่ละรุ่นเป็นต้นมา ล้วนทรงเทศนาบรรยายธรรมนับหลายสิบปี อีกยังทรงฉุดช่วยเหล่าเวไนย์สัตว์เป็นจำนวนอีกนับไม่ถ้วน แต่พระองค์ก็มิทรงเคยอวดพระองค์เลยว่ามีบุญกุศลแม้เพียงน้อยนิด แล้วเจ้าจะมีบุญกุศลอะไรอีกหรือ ? ท่านซือจุนซือหมู่ทรงรับผิดชอบเป็นธรรมโฆษกแทนฟ้า ทรงรับงานปรกโปรดทั้งสามโลก ทรงงานแห่งการเก็บสมบูรณ์ ก็ยังมิเคยตรัสว่าตนเองได้มีบุญกุศลสักนิด แล้วเจ้ายังจะมีบุญกุศลอะไรอีกหรือ ? ฟ้าดินทรงประธานหิตานุหิต (ประโยชน์เกื้อกูลน้อยใหญ่) ประโยชน์ต่อสรรพสิ่งใต้หล้า ทรงชุบเลี้ยงสรรพสิ่งทั่วผืนพสุธา ก็ยังมิเคยได้ตรัสว่ามีบุญกุศลอย่างไรเลย แล้วเจ้าัยังจะมีบุญกุศลอะไรอีกหรือ ? หากเจ้าหลงตัวเองว่ามีบุญกุศล จะมิเป็นการละอายต่อพระบรรพจารย์ดอกหรือ ?
๓๘
ในคัมภีร์อี้จิงบันทึกไว้ว่า "บุญมิสร้างมิเลื่องลือ บาปมิก่อมิม้วยมรณา" หากได้สร้างสมกุศลปฏิปทาได้อย่างมิหยุดหย่อน ความเกรียงไกรก็จักอุโฆษปรากฏโดยปริยาย แต่หากความทรามมิรู้แก้ไข ทำโดยมิสนใจจะแก้ตัว ก็จักมีสักวันที่ต้องมีภัยแก่ตัวเป็นมั่นคง หากมองในแง่การประศาสนะแห่งประเพณีแล้ว อันว่าบุญคือ มิมีสิ่งใดดีเท่าการแก้ไขทุราจาร (ความประพฤติชั่วช้าเลวทรามในที่ซึ่งมิควร) เป็นประเสริฐ อันว่าบาปคือ มิมีสิ่งใดร้ายเท่ากับการปัดทิ้งคุณาวัตร (วัตรปฏิบัติที่ดีงาม) เป็นชั่ว ดังนั้น วิญญูชนจะดีต่อความดีและชังต่อความเลว ส่วนการสร้างกุศลคุณความดีพึงกุศลานุวัต (คือการอนุวัตต่อกุศล หรือ ก้คือการน้อมนำปฏิบัติต่อสิ่งที่เป็นกุศลคุณความดี) อย่างรวดเร็วปานลมกรด คือเห็นโอกาสกุศลก็จงเร่งกระทำ มิพึงมีดำริคิดเพียงหยั่งดูท่าที ส่วนการขจัดสิ่งเลวร้าย ก็พึงธำรงอารมณ์เด็ดขาดประหนึ่งเคียดแค้นความชั่ว ที่จะมิยอมผ่อนผันกระทำผิดลงไปอย่างเด็ดขาด ดังสุภาษิตที่ว่าไว้ ครั้นสดับหนึ่งกุศลพจน์ ทัษนาหนึ่งกุศลวัตร ก็รีบรับนำปฏิบัติประหนึ่งเกรงว่าจะทำมิทัน หากสดับหนึ่งทรพจน์ ทัศนาหนึ่งทรวัตร ก็รีบหลีกห่างประหนึ่งว่าจะช้าเกินไป ดังนั้น มาตรว่าความดีนั้นจะเป็นเพียงเล็กน้อยอย่างไร แต่ก็จะน้อมปฏิบัติมิบิดพริ้ว แต่ความชั่วนั้นมาตรว่าจะใหญ่หรือเล็ก ก็จะมิหลวมตัวกระทำลงไปอย่างเด็ดขาด ในหนังสือสู่ฮั่น (สู่ หมายถึงดินแดนแถบมณฑลเสฉวน ฮั่น ราชวงศ์ฮั่น ที่พระเจ้าเล่าปี่ทรงสถาปนานับแต่ได้ราชาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์ เนื่องจากอาณาบริเวณแห่งราชวงศ์ฮั่นตั้งอยู่ในมณฑลเสฉวน ชนภายหลังจึงเรียกรัชกาลของพระเจ้าเล่าปี่ว่า สู่ฮั่น) เจ้าเลี่ยตี้ (พระเกียรติประวัติแห่งพระมหากษัตริยาธิราชเจ้าแห่งราชวงศ์สู่ฮั่น) บันทึกไว้ว่า "อย่าเพราะความดีนั้นเล็กน้อยแล้วมิยอมทำ อย่าเพราะความชั่วนั้นเล็กน้อยแล้วกระทำลงไป" ความหมายก็คือเช่นนี้นั่นเองแล
-
๓๙
บุญ ณ ปัจจุบัน สะสมมาแต่บรรพบุรุษ จะมิถนอมนั้นมิควร ส่วนบุญในอนาคต จักตกทอดสู่ลูกหลานพงษ์พันธุ์ในภาคหน้า จะมิหล่อเลี้ยงนั้นมิเหมาะสม อัน บุญ ณ ปัจจุบัน ก็ประหนึ่งการจุดตะเกียง ที่จุดเมื่อไหร่ก็จะเหือดแห้งลงเมื่อนั้น อันบุญในอนาคต ก็เป็นประดุจการเติมน้ำมัน ที่ยิ่งเติมก็จักยิ่งอำไพ ฉะนั้น การทำความดีจึงเป็นสิ่งล้ำค่าที่สุดประเสริฐ ชั่วชีวิตจักบรรเจิดใช้ไปมิรู้สิ้น โดยมีจิตใจเป็นนาบุญ ที่หากหมั่นเพาะปลูกเกี่ยวตุนก็คงเหลือ
๔๐
ชีวิตนี้ชาตินี้พึงบำเพ็ญ จะมั่งมีหรือยากเข็ญอย่าพ้อพร่ำ จงพากเพียรบุกบั่นจึงอิ่มหนำ รู้มัธยัสถ์เตือนจำคู่ชีวา อย่าใจหยิ่งอีกประจบนิจสุขี รู้ทำดีทั้งเขาเรารางวัลใจ ครองตนไว้ไร้บาปชื่นฤทัย พลังใจนิจจรรโลงสุขสถาพร
๔๑
ยอมก่อดีทำดีสร้างกุศล มิขอทนทำงานสร้างทรัพย์สิน ทำความดีมีกุศลเป็นฐานดิน สร้างทรัพย์สินเภทภัยภินท์ (แตก ทำลาย) น่าเวทนา อันสือโฉง ( สือฉง (ค.ศ.249 - ค.ศ.300) บุคคลในสมัยซีจิ้น รับราชการเป็นผุ้ว่าเมืองจิงโจว แต่กลับอาศัยอำนาจบาตรใหญ่ทำการรีดไถเงินทองจากพ่อค้าวาณิชย์จนร่ำรวยมหาศาล มีอุปนิสัยสิ้นเปลืองอย่างอัประมาณ เคยอวดตัวแข่งความรวยกับหวังไข่ โดยใช้เทียนแทนฟืน กั้นฉากผ้าแพรไกลถึง 50 ลี้ มาตรว่าหวังไข่จะได้รับการสนับสนุนกำลังทรัพย์จากกษัตริย์อู่ตี้อย่างไร แต่ก็ยังคงต้องพ่ายแพ้ต่อสือฉงไปในที่สุด ในสมัยการกบฏ 8 อ๋อง สือฉงได้ก่อการสมรู้ร่วมคิดกับอ๋องฉี สุดท้ายจึงถูกฆ่าตายด้วยอ๋องเจ้า สินล้นฟ้า กลับได้มาซึ่งวิบัติตัดชีวี อีกเติ้งทง (เป็นบุคคลในสมัยซีฮั้น เมื่อครั้งฮั้นเหวินตี้ขึ้นครองราช เติ้งตงได้เป็นที่โปรดปราณของพระองค์มากเป็นพิเศษ ดังนั้นในไม่นานนักก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นถึงมหาอำมาตย์ อีกยังได้พระราชทานภูเขาเหมืองทองแดง และยังทรงมีพระราชานุญาตให้หลอมเหรียญกษาปณ์ได้อีกด้วย ดังนั้นจึงทำให้เติ้งทงมีสินทรัพย์อันล้นฟ้า ผู้คนในสมัยนั้นต่างนำชื่อของเติ้งทงมาใช้เป็นสัญลักษณ์ของความร่ำรวย แต่ครั้นฮั้นจิ่งตี้ขึ้นครองราช เติ้งทงก็ถูกปลดออกจากตำแหน่ง และถูกริบทรัพย์สินจนสิ้นในเวลาต่อมา ดังนั้นในบั้นปลายจึงต้องอาศัยคนอื่นประทังชีวิต และลำเค็ญข้นแค้นจนตัวตาย) ต้องอดตายวายชีพมี ทั้งหมดนี้ล้วนเคราะห์ต่อจากถงซัน (ภูเขาเหมืองทองแดง) น่าหดหู่พวกคนรวยยศศักดิ์ใหญ่ ทัศน์วิสัยกลับไม่เปิดมองกว้างไกล มีแต่เงินเป็นวิเศษทุกหายใจ แต่กลับไปเย้ยความดีเป้นเรื่องเขลา พวกทาสเงินเฝ้าแต่หวงห่วงทรัพย์สิน แต่ยามสิ้นไร้โลงศพก็มากมาย
-
๔๒
ยามผู้เฒ่าปีแปดสิบผมขาวหงอก ต้องจนตรอกรำพึงถึงเรื่องอดีต ที่ยามเด็กขี่ม้าไผ่สุขชีวิน ปต่บัดนี้ผมขาวสิ้นเพียงพฤฒา ชีวิตนี้เพียงพริบตาคร่าผ่านไป จบสิ้นแล้วพึ่งตื่นใจเป็นแค่ฝัน คู่ชีวิตสุดท้ายต้องแยกจากกัน อีกลูกหลานก็ต่างคนต่างทางไป ทรัพย์ศฤงคารไม่มีใครจักครองได้ เพียงสิ้นใจปิดตาลงก็ว่างสิ้น จะไปไหนอยู่ที่ใดยามชีพกิน ? หรือตายดิ้นเป็นวิญญาณพเนจร ยามวายปราณก็แยกจากสองภพโลก สุดเศร้าโศกคนต่างทางมิอาจพบ จงสร้างบุญสู่วิมานฟ้าพิภพ หากบัดซบก่อกรรมเข็ญตกโลกันตร์ จึงขอเตือนเพื่อนชาวโลกเร่งบำเพ็ญ เร่งบำเพ็ญ
๔๓
เรื่องสุขใจเพียงชั่วเล่นอย่าหลงใหล เรื่องมักง่ายได้มิชอบอย่าได้ฝัน ความฉลาดจำเดิมนั้นบุญหนุนยัน เพราะบุญนั้นจึงพาเราให้หัวไว ไม่สร้างบุญแต่มักง่ายใช้ไหวพริบ จักเจ็บชิบด้วยฉลาดแว้งกัดเอา ทำเลดีฮวงจุ้ยเด่นขาดมิได้ แต่ต้องใช้บุญที่ก่อช่วยส่งไส หากทรัพย์สินเสกสรรค์ได้จากฮวงจุ้ยไซร์ แม้นกัวผู่ (กัวผู่ (ค.ศ.276-324) เป็นนักวรรณกรรม นักอรรถภาษา ในสมัยตงจิ้น เป็นบุคคลที่มีความรู้กว้างขวาง อีกทั้งเชี่ยวชาญในวิชาโหราทุกแขนง) ได้เกิดใหม่ยังยากเลย
๔๔
ด้วยขงจื่อเชื่อมั่นในตนว่าสามารถสำเร็จเป็นอริยะ ดังนั้นจึงใฝ่ศึกษาโดยมิระอาล้าใจ และด้วยเห็นว่าชาวโลกสามารถสำเร็จเป็นอริยะได้ ดังนั้นจึงประศาสน์วิชาไว้โดยมิเหนื่อยท้อรำพัน อีกด้วยจำนงประสิทธิ์โลกหล้าให้สัมฤทธิ์ด้วยอริยมรรคแห่วธีรเจ้า ดังนั้นจึงสัญจรท่องจรัลทั่วทุกรัฐใต้นภา ทั้งด้วยหวังให้อริยมรรคแห่งธีรเจ้าได้สถิจสู่อนุชนภายหน้า ดังนั้นจึงเรียบเรียงถ่ายทอดหกคัมภีร์ ( ซือ ซู หลี่ เยวี่ย อี้ ซุนซิว)
-
๔๕
ใช้ใจที่ไปตำหนิเขามาตำหนิเรา ความผิดก็จักน้อย ใช้ใจที่อภัยตนมาอภัยผู้คน มิตรสหายก็จักร่วมคบหา เคร่งครัดกวดขัน ณ จุดที่บำเพ็ญตน ฉะนี้ควรทำ เคร่งครัดกวดขัน ณ จุดที่เอาชนะผู้คน ฉะนี้มิควรทำ จงเคารพต่อคนที่เจ้าไม่ให้ความเคารพมากที่สุด จงรักใคร่ต่อคนที่เจ้าไม่ให้ความรักใคร่มากที่สุด ฉะนี้ก็จักมีความสุขสำราญอย่างสุดคณา
๔๖
ในคัมภีร์กตัญญู ขงจื่อได้กล่าวไว้ว่า "อันร่างกาย ผม หนัง ได้รับจากบุพการี มิกล้าให้เกิดเสียหาย นี่คือจุดเริ่มต้นของการกตัญญูแล ครองตนมั่นเจริญในธรรม ประกาศเกียรติศักดิ์สู่ชนรุ่นหลัง เพื่อเป็นเกียรติคุณแห่งบิดามารดร นี่คือจุดมุ่งหมายแห่งกตัญญูแล" อันกตัญญู เป็นที่หนึ่งแห่งกุศลกรรมทั้งปวง และการบำเพ็ญตนสร้างสมบุญญาบารมี ก็ยังเป็นที่หนึ่งแห่งการกตัญญูอีกด้วย ฉะนั้น พระมหาราชซุ่น จึงได้เป็นที่สรรเสริญสดุดีว่าทรงเพียบพร้อมด้วยพระมหากตัญญูญุตปฏิปทา และพระบุญญาบารมีของพระองค์ทรงเป็นถึงอริยเจ้า จึงได้เห็นว่า การที่บุตรธิดาจะคำนึงถึงเรื่องกตัญญูต่อบุพการีผู้บังเกิดเกล้าแล้ว จะมิสร้างสมบุญญาบารมีให้ไพศิฐนั้นมิได้เลย หากมีบุญญาบารมีเป็นพระอริยเจ้า บุพการีก็เป็นพระชนกชนนีแห่งพระอริเจ้านั่นเอง หากมีบุญญาบารมีเป็นพระเมธาเจ้า ฉะนี้แล้วบุพการีก็เป็นพระชนกชนนีแห่งพระเมธาเจ้า แต่หากเราเอาแต่สิ้นเปลืองเวลา ไม่เอาใจต่อกิจธุระแห่งการบำเพ็ญคุณธรรมบารมีนั้นแล้วไซร์ เราก็จะมีศักดิ์เป็นเพียงปุถุชน บุพการีของเราก็เป็นเพียงบิดามารดาแห่งปุถุชนเท่านั้น หรือหากยิ่งทำตัวเหลวไหลไร้ยางอาย เป็นเพียงแค่คนทรามที่สังคมรังเกียจ ฉะนี้ บุพการีแห่งเราก็เป็นบิดามารดรแห่งทรชนนั่นเอง หรือกระทั่งเราได้ทำเรื่องเสื่อมเสียชื่อเสียงเกียรติยศจนเป็นที่อับอายแก่บุพการี จนมิอาจมีสิ่งใด ๆ จะมาพรรณนาซึ่งความชั่วร้ายของเราได้แล้ว มาตรว่าเราจะปรนนิบัติเลี้ยงดูทั้งวันด้วยเกียรติบรรดาศักดิ์แห่งขุนนางอย่างไร ก็ยังคงเป็นยอดอกตัญญูอยู่ดี ในวันนี้ เราต่างได้รับอนุตตรธรรม จึงจำเป็นต้องศึกษาค้นคว้าซึ่งความวิเศษแห่งอนุตตรธรรมนี้ว่าเป็นเช่นใด ในเวลาปัจจุบัน เราต่างได้เกิดกายเป็นคนจึงจำเป็นต้องทำความเข้าใจเรื่องคุณธรรมแห่งการเป็นคน (มนุษยธรรม) ที่ดีก่อน หากคุณธรรมแห่งการเป็นคนที่ดีได้ปฏิบัติได้ไม่ดีแล้ว มาตรว่าธรรมะนี้จะวิเศษมากเพียงใด สำหรับเราแล้วก็ถือว่าหาได้มีวาสนาต่อธรรมะอันวิเศษนี้ไม่ และหากได้ทำเช่นนี้จริง เราก็ลองรำลึกถึงพระคุณแห่งบุพการีดูซิว่า เราจะหาทางทดแทนพระคุณอันยิ่งใหญ่ของท่านได้อย่างไร ?
-
๔๗.
การประศาสน์วิชาต่อผู้คนด้วยมรรควิถีแห่งอริยเมธาเจ้านั้นง่ายนัก แต่จะปกครองตนด้วยมรรควิถีแห่งอริยเมธาเจ้านั้นช่างยากนักแล อนึ่ง การเจรจาด้วยมรรควิถีแห่งอริยาเมธาเจ้านั้นก็ง่ายนัก แต่จะให้น้อมนำปฏิบัติซึ่งมรรควิถีแห่งอริยเมธาเจ้านั้นช่างยากนักแล อีกประการหนึ่ง การบุกบั่นพากเพียรด้วยมรรควิถีแห่งอริยเมธาเจ้าแต่เริ่มต้นนั้นช่างง่ายนัก แต่จะให้ประคองความมานะซึ่งมรรควิถีแห่งอริยเมธาเจ้าจนเบื้องปลายนั้นแสนยากนักแล
๔๘.
สงบอดทน คือปรมัตถ์ (ประโยชน์อันดียิ่ง) แห่งการใคร่ครวญ รื่นรมย์ คือปรมัตถ์แห่งการปฏิบัติกิจ อ่อนน้อม คือปรมัตถ์แห่งการคุ้มกาย รู้อภัย คือปรมัตถ์แห่งการคบหา ปลงสิ้นซึ่งลาภยศสรรเสริญ จำเริญขัดสน วนเวียนนิ่งงัน และการเกิดการตายให้พ้นจากห้วงชีวิน คือปรมัตถ์แห่งการบำเพ็ญจิต
๔๙.
ได้บำเพ็ญธรรมแลสร้างสมบุญญาบารมีแล้ว เพราะเหตุใดจึงได้เลิกล้มกลางคัน ? นั่นก็เพราะจิตใฝ่เงินทองราคะได้บังเกิด เกิดเป็นคนแลดำรงตนในสังคมนั้นแล้ว เพราะเหตุใดจึงไม่สนใจธำรงไว้ซึ่งชื่อเสียงเกียรติยศ ? นั่นก็เพราะจิตปรารถนารัญจวนใจ
-
๕๐.
มนุษย์ ฟ้าทรงก่อกำเนิด จิตญาณ ฟ้าทรงประทานให้ ยามที่คนเราปฏิบัติกิจธุระโดยถือจิตฟ้าเป็นประธาน มีความยุติธรรมไร้ลำเอียง ฉะนี้จึงจะถือว่าสอดคล้องต่อธรรมะได้ และเมื่อไปยังที่แห่งหนใด ก็จักมีแต่ความสว่างไสวอำไพในทุกสถาน แต่หากใช้นิสัยอารมณ์ ใช้จิตมนุษย์เป็นประธานต่อการปฏิบัติกิจธุระทั้งปวง มีแต่ความเห็นแก่ตัวมิรู้พอ กิเลสตัณหาถั่งเกิดมิรู้ยั้ง โลภมากไขว่คว้ามิรู้หน่าย ฉะนี้มิใช่มหาธรรม และทุกที่ทุกทางก็จักมืดมน อนธการเสมอไป
๕๑.
พระโพธิธรรมตั๊กม๊อได้เดินทางจาริกถ่ายทอดธรรม ณ ประเทศจีน จนได้กลายเป็นพระปฐมบรรพจารย์ในประเทศจีน ส่วนพระสัทธรรมที่พระองค์ทรงถ่ายทอดนั้น ก็หาได้มีบัญญัติเป็นอักขรภาษาไม่ หากชี้ตรงลงสู่กลางพื็นนากมล แจ้งยลธรรมญาณสำเร็จเป็นพระพุทธา หนึ่งจุดพาหลุดพ้น และได้กลายเป็นการถ่ายทอดโดยอำพรางแห่งสำนักฌาน (เมื่อสำนักฌานแพร่หลายไปในญี่ปุ่น คำว่าฌานก็ออกเสียงแปร่งเป็นเซ็นตามที่เรารู้จักกันได้ในปัจจุบัน) ในกาลต่อมา มีวาทะหนึ่งได้กล่าวไว้ว่า "มีคำหนึ่งที่ยิ่งใหญ่ มีคำหนึ่งที่ยิ่งใหญ่ แม้นภูวดลทั้งสี่ทวีปก็ยังมิอาจรองรับได้ ผู้ใดได้รับหนึ่งคำนี้ ก็จักร่วมวิถีโอภาบนเขาคิชกูฏ"
-
๕๒.
ดัชนีชี้จันทร์ นั่นมิหมายว่านิ้วคือจันทร์ มิใช่ม้าพรรณนาม้า (เนื่องจากมิเคยรู้จักม้ามาก่อน จึงได้อาศัยสิ่งอื่น ๆ ที่มิใช่ม้ามาอุปมาให้เข้าใจ แต่สิ่ง ๆ นั้น อย่างไรเสียก็ยังมิใช่ม้าอยู่ดี แต่หากยังมิถึงฝั่ง ยังมิได้รับธรรมะ อักขรภาษานี้ ที่สุดแล้วก็มิควรที่จะไม่ทำความเข้าใจให้ถ่องแท้ เพราะนี่คือสัตบถ (ทางที่ถูก) ที่นำพาคนเราสู่ธรรมะนั่นเอง ทุกพระพุทธะล้วนประทับด้วยใจ หากมิได้ประสบพบพระวิสุทธิอาจารย์แล้ว ก็เสมือนหนึ่งคนบอดได้ม้าบอด แม้นได้ประชันอยู่เพียงหน้าก็ยังมิอาจรู้จักได้
๕๓.
หยวี่หลิน (เหล่าเฉียนเหยิน แซ่หัน นามกรว่าหยวี่หลิน) กล่าวว่า "พวกเราได้ประสพบพยุคสามปลายกัป ได้ประจักษ์พบพระวิสุทธิอาจารย์และได้ออกประกาศพระสัทธรรม ดังนั้น เราจึงจำต้องยึดมั่นในพระโองการและบำเพ็ญธรรมจริง หากได้มีจิตละโมบเพ้อฝัน ไม่เคารพพระโองการสวรรค์ ไม่สร้างกุศลบุญญาบารมี มาตรว่าจะได้รับธรรมะก็เท่านั้น" พระบรรพจารย์รุ่นที่สิบห้ากล่าวไว้ว่า "ธีรชนเจริญมิจฉาธรรม มิจฉาธรรมล้วนสัมมา ทุรชนเจริญสัมมาธรรม สัมมาธรรมล้วนมิจฉา" จงรู้ไว้ว่า พระวิสุทธิอาจารย์ลงอุบัติ เพียงพริบตาก็ผ่านไปแล้ว ดังนั้น ผู้มีความมุ่งมั่นพึงรีบถนอมโอกาส ปัญญาชนจะปฏิบัติเมื่อสบโอกาส หากคนโฉดเขลาจะมีแต่พร่ำเสียใจเมื่อพลาดโอกาส"
๕๔.
สิ่งสำคัญที่สุดแห่งการบำเพ็ญธรรมนั้นคือกุศลปฏิปทา กุศลปฏิปทาก็คือการแสดงออกปห่งการบำเพ็ญธรรม และการรู้ขมาสำนึกจากการทำชั่ว ก็คือจุดเริ่มต้นแห่งกุศลปฏิปทา ดังนั้นเมื่อละบาปบำเพ็ญบุญ ก็คืออริยเมธีเจ้า หากได้ละวางศัสตราที่ประหัต ก็จะสำเร็จเป็นพระพุทธะในทันใด
-
๕๕.
พวกเราบำเพ็ญธรรม พึงให้ปัญญาจิตสามารถควบคุมสังขารได้ ให้พลังใจสามารถควบคุมกิเลสได้ ผู้ที่นิยมในจริง ยินดีในการกุศล ชมชอบในความงาม สละตนเพื่อปวงชน ฉะนี้จึงคู่ควรการเป็นมนุษย์ที่แท้จริงได้ แต่อันจุดบกพร่องที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งมนุษย์นั้นก็คือ ธรรมชาติเดิม นั้นมีจำกัด หากกิเลสขจรจัดไร้ขอบเขต ดังนั้น หากมิอาจควบคุมกิเลสแห่งสังขาร แล้วการบำเพ็ญธรรมจะมีประโยชน์อันใดเล่า ?
๕๖.
คนเราเมื่อเกิดกายบนโลก ก็ต้องผจญต่อภยันตรายแห่งคลื่นลมมหันต์ที่ซัดสาด จนเป็นที่รู้สึกว่าชีวิตเรานั้นช่างเล็กเพียงนิด ส่วนลาภยศสรรเสริญนั้นเล่า เพียงพริบตาก็สูญมลาย ซูตงพอจึงกล่าวไว้ว่า
ฝากร่างจ้อย ๆ ไว้ใต้ดินฟ้า
เห็นกายาเพียงเม็ดข้าวในมหาธารา
สุดเศร้าชีวาแสนสั้นเพียงพริบตา
ช่างน่าอิจฉาความสุดคณาแห่งฉางเจียง
ลาภสักการะบนโลกาดุจเพียงนิศาชลบนพฤกษา
ยศฐาศักดาก็ประหนึ่งฟองน้ำบนผิวธารา
เพียงแค่อนิจจังเยือน
จึงพึ่งเตือนว่าเป็นฝัน
ทุกสิ่งมิอาจครองกัน
เพียงกรรมนั้นที่ตามติดตัว
ผองเราพึงตระหนักให้จงดีว่า ชีวิตในหนึ่งชาติ ก็คือความฝันแค่หนึ่งฉาก ได้ประจักษ์พบธรรมะ ก็พึงมานะเร่งตื่นพลัน
แม่น้ำฉางเจียง เป็นแม่น้ำอันดับหนึ่งของเมืองจีน มีความยาว 6,300 กิโลเมตร พื้นที่แม่น้ำกินอาณาบริเวณ 180.71ตารางกิโลเมตร ค่าเฉลี่ยอัตราน้ำไหล ณ ปากแม่น้ำเท่ากับ 32,4000 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที
๕๗.
ธรรมะนั้นแสนวิเศษแยบยลจนสุกพรรณา มิเพียงตนนำพาจิตรู้แจ้งจึงสำราญในธรรมชาติ ไร้กิเลสจิตสะอาดจึงนิจศานติ (ความสงบ) ขจัดผิดถูกอคติ ธรรมญาณก็จักกลมใสเอง
-
๕๘.
อริยเมธา คุณขจรทั่วหล้า วิเศษสุดพรรณา โชลมทั่วเหล่ากล้าชาวประชา แปรโลกาเป็นสันติหล้า สนับสนุนกุศลปฏิปทา ประสิทธิ์ชาวเมธาให้เจริญมุ่งมานะ ใฝ่วิถีแห่งธรรมา อันใจนี้นั้นหนา สุขเกษมเริงร่า ต่อประการนี้ทั้งปวงเอย
๕๙.
เพียงครึ่งถ้อยน้อยคำก็ประจักษ์ในความวิเศษแยบคายได้ ไฉนต้องใช้ถึงหมื่นพันปกรณ์เสียมากมาย ? หากชาวเรามิถูกพันธนาการจากลักษณ์วัตถุรูปกาย เพียงเบื้องหน้าตาเห็นก็จักปรากฏเทพวิมานพรรณราย
๖๐.
บาปมหันต์ยิ่งเทียมฟ้า หายากยิ่งที่จะมีคำว่า สำนึกได้ ธรรมวิเศษสุดคณนา หายากนักที่จักมีคำว่า เชื่อมั่นได้ เชื่อมั่น สามารถซุบตายให้ฟื้นคืน สำนึก คือโอสถช่วยชีวา
๖๑.
ยอมรับความผิดของตน คือโอสถชำระจิต คำนึงคิดความดีของผู้อื่น คือเภสัชรื่นลมปราณ หากตรงกันข้าม ก็คือทะเลทุกข์
๖๒.
หวังให้สิ้นเรื่องกลุ้มอก ก็จงปลงตกลืมสิ้นซึ่งอัตตา ต่างคนต่างมีปัจจัยที่ทำมา อย่าอิจฉารื่นชื่นชม
๖๓.
ประสงค์ทราบเหตุเมื่อปางก่อน ผลปางนี้นั่นแหละใช่ ประสงค์รู้ผลเมื่อปางหน้า เหตุชาตินี้นั่นแหละใช่ มีเหตุต้องมีผล มีผลต้องมีเหตุ ปลูกเหตุทุกข์ได้ผลทุกข์ ปลูกเหตุสุขก็จักได้รับผลสุข
๖๔.
อ่านทั่วทุกศาสน์คัมภีร์ เมื่อกล่าวถึงประเด็นสำคัญแห่งการประจักษ์ธรรมทั้งหมดนั่นแล้ว ก็ล้วนกล่าวว่าต้องได้รับการถ่ายทอดจากพระวิสุทธิอาจารย์ก่อนทั้งสิ้น สุภาษิตโบราณกล่าวว่า "มาตรว่าคุณจะมีปฏิภาณไหวพริบที่ภิญโญเลิศล้ำยิ่งกว่าเหยียนฮุยอย่างไร หากไม่ประสบพบพระวิสุทธิอาจารย์ก็จงอย่าฝืนคิดทายทำนาย" อีกยังกล่าวว่า "เจนจบพันหมื่นศาสตร์ ยังมิอาจทัดเทียมพระวิสุทธิอาจารย์ประทานหนึ่งจุด" จึงรู้ได้ว่า เราจำต้องได้รับหนึ่งจุดประทานและถ่ายทอดสัจคาถาจากพระวิสุทธิอาจารย์ด้วยพระองค์เองเท่านั้นจึงจะเรียกได้ว่า เป็นการประจักษ์แจ้งในธรรมะได้ ฉะนัน ผู้บำเพ็ญแต่จิรกาลเป็นต้นมา จึงต้องพันลี้แสวงหาพระวิสุทธิอาจารย์ หมืนลี้แสวงหาสัจคาถา จึงดั่งคำที่ว่า พระวิสุทธิอาจารย์ยากพานพบ ธรรมะแท้ยากได้ประสบ นั่นเองแล
จบเล่ม