นักธรรม

ห้องสมุด "นักธรรม" => หนังสือ => ข้อความที่เริ่มโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 20/10/2010, 05:14

หัวข้อ: ธรรมธาดาคู่โลกา : ปฏิปทาองค์สมเด็จพระกตธิการบรมอริยธรรมราชเจ้าผู้เฒ่าน้ำใส
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 20/10/2010, 05:14

          คำนำ

       รพินทรนาถ  ฐากูล นักกวีผู้ยิ่งใหญ่แห่งอินเดีย ได้กล่าวไว้ว่า "" ให้ยามตายได้มีกิตติศัพท์อันยืนยง แต่ตอนอยู่ต้องมีความรักอันยั่งยืน "" และในโลกใบนี้ ก็ได้มีบุคคลท่านหนึ่งที่ได้อุทิศเสียสละเวลาเกือบทั้งชีวิตให้แก่มวลเวไนยสัตว์โดยมิได้สงวนไว้ และมิได้ตัดพ้อท้อถอยเลยแม้แต่น้อย โดยในช่วงธารเวลา้เกือบจะ ๖๐ ปี ของท่านผู้นี้ ก็ได้อุทิศทุ่มเทอย่างเสมอต้นเสมอปลาย ปฏิบัติภาระกิจอย่างเงียบ ๆ มิเปิดเผย ตราบจนวินาทีสุดท้าย และหมดสิ้นทุกหยาดแรงกาย...
       ท่านได้อุบัติขึ้นบนโลกในปีค.ศ.๑๙๐๑ และได้อำลาจากทุกคนไปในปีค.ศ.๑๙๙๕  ท่านได้ใช้เวลาทั้งเกือบศตวรรษที่ ๒๐ ในการร่วมเดินทางชีวิตกับมนุษยชาติ
       ท่านเพียงคนเดียว ได้ส่งผลอันไพศิฐ (ประเสริฐ วิเศษ) ต่อโลกทั้งใบ
       ท่านเพียงคนเดียว ได้สร้างสรรค์ปวงชนอันมากมาย
       และท่านเพียงคนเดียว  ที่ไม่เพียงแต่ได้คงชื่อยืนยงคู่โลกาเท่านั้น อีกทั้งยังได้จุดประกายอนาคตอันสว่างไสวให้มนุษยชาติอย่างมิอาจลบเลือน
       วันที่ ๒๕ เดือน ๒ ค.ศ.๑๙๙๕ ตอนเที่ยงยามในคืนสงัด ท่านได้จากโลกนี้ไปอย่างเงียบ ๆ ผู้คนจำนวนมากต่างพิลาปหวนไห้ผู้คนมากมายต่างรำลึกคะนึงหา  มาตรว่า เราจะรอนแรมค้นหาท่านจนสุดหล้าฟ้าเขียว เราก็มิอาจพบเห็นรอยบทมาลย์ของท่านได้อีกและมาตรว่า  เราจะเพรียกหาจนสนั่นลั่นปฐพี เราก็มิอาจจะได้ฟังโอวาทอันเปี่ยมล้นด้วยความเมตตาของท่านได้อีกแล้ว
      แต่ในทุก ๆ ร่องรอยที่ท่านได้เคยปลูกฝังลงสู่ความจำของพวกเราล้วนเป็นสิ่งที่สุดล้ำค่า เป็นสิ่งที่สุดประเสริฐอย่างมิอาจมีสิ่งใดจะทดแทนได้
      ท่าน คือ ธรรมธาดาที่พึงสรรเสริญเทิดทูนให้เป็นปรมาจารย์แห่งยุคพระพุทธะบนแดนดิน เพราะท่านได้ใช้ชีวิตทั้งชีวิตของท่านแสดงให้เห็นถึงเกียรติภูมิอันยิ่งใหญ่แห่งอริยาให้ปรากฏ อีกทั้งยังได้บุกเบิกเส้นทางแห่งการบำเพ็ญที่แสนจะเรียบง่าย ปฏิบัติง่ายและตรงที่สุดแห่งกาลเวลานับแต่อดีตตราบจนปัจจุบัน
     ท่านผู้นั้น ก็คือ  ท่านผู้เฒ่าหันอวี่หลิน  ท่านเหล่าเฉียนเหริน แห่งอนุตตรธรรม ผู้ซึ่งเป็นมหาบุรุษผู้โดดเด่นแห่งศตวรรษที่ ๒๐ในหนังสือเล่มนี้ จึงได้ทำการถ่ายทอดปฏิปทาอันน่านับถือของท่านที่ได้แสดงออก จริยวัตรอันน่าสรรเสริญเทิดทูนของท่านที่ได้ปฏิบัติอยู่ทุกลมหายใจออกมาอย่างเงียบ ๆ ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการถ่ายทอดความรู้สึกที่เคารพรัก เทิดทูนบูชา และสำนึกคุณที่มีต่อท่านเหล่าเฉียนเหรินอย่างสุดบรรยาย
       
หัวข้อ: Re: ธรรมธาดาคู่โลกา : ปฏิปทาองค์สมเด็จพระกตธิการบรมอริยธรรมราชเจ้าผู้เฒ่าน้ำใส
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 20/10/2010, 11:38

               ประวัติสังเขป :  องค์สมเด็จพระกตธิการ บรมอริยธรรมราชเจ้า  ผู้เฒ่าน้ำใส

        ปีหมินกั๋วที่ ๒๗ (ค.ศ.๑๙๓๘) เดือน ๗ ท่านเหล่าเฉียนเหริน มีอายุได้ ๓๘ ปี เหตุด้วยท่านมีกิจการที่รุ่งเรืองและมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่การงานสูง จึงทำให้ท่านต้องเจ็บป่วย ด้วยเพราะท่นตรากตรำกรำงานหนักมาเป็นเวลานาน ท่านป่วยเป็นวัณโรคระยะที่ ๓ อีกทั้งยังสูญเสียเลือดเป็นจำนวนมาก อาการจึงยิ่งทรุดหนักลงทุกวัน ๆ  จนแพทย์ทั้งแผนโบราณและแผนปัจจุบันต่างต้องจนด้วยปัญญา  แต่ในขณะที่กำลังจะสิ้นหวัง  บังเอิญได้รับการเชิญชวนให้รับธรรมะจากหมอจีนนามว่า "ซุนหลันฟัง" ซึ่งได้กล่าวว่ามีสิ่งศักดิ์สิทธิ์เมตตา บางทีอาจจะดีขึ้นก็ได้
        ท่านเหล่าเฉียนเหริน จึงบังเกิดความมั่นใจ และมีความหวังขึ้นมาในทันใด ดังนั้นในวันที่ ๒๗ เดือน ๗  ท่านเหล่าเฉียนเหรินจึงได้รับธรรมะ  ณ หอประชุมแห่งหนึ่งในเทียนจิน ซึ่งเป็นเขตเช่าของฝรั่งเศสในตอนนั้น  หลังจากได้รับธรรมะ และได้รับการส่งเสริมจากเฉียนเหรินว่าสามารถมาศึกษาในสถานธรรมได้แล้ว ท่านก็มาศึกษาธรรมะอยู่ระยะเวลาหนึ่ง เพียงแต่ยังมิได้เกิดความสนใจมากเป็นพิเศษ อีกทั้งอาการป่วยก็ยังมิได้ดีขึ้นอย่างที่เข้าใจแต่อย่างใด ขณะนั้นคุณซุนและญาติมิตรทั้งหลายต่างชักชวนให้ลองไปรักษาตัวที่เป่ยผิง  ดังนั้นท่านจึงเดินทางไปที่เป่ยผิง แต่หลังจากที่ท่านได้รับการตรวจวินิจฉัยจากโรงพยาบาลว่า เป็นวัณโรคในระยะที่มิอาจรักษาให้หายได้แล้ว ท่านจึงได้เดินทางไปรักษาตัวที่ซีซัน
        ในขณะที่ท่านกำลังกลุ้มใจกับอาการป่วยอยู่นั้น ท่านก็ได้พบกับคุณ กงเผิงหลิง ที่ปฏิบัติงานธรรมที่เป่ยหลิง  คุณกงเผิงหลิงเป็นอิ๋นเป่าซือ (อาจารย์แนะนำรับรอง) ของท่านเหล่าเฉียนเหริน
        ดังนั้นจึงได้แนะนำท่านเหล่าเฉียนเหรินพักอยู่ในสถานธรรมที่พึ่งสร้างเสร็จในทางทิศตะวันตกของตัวเมือง และได้เชิญอาจารย์มวยไท้เก๊กมาสอนท่านเหล่าเฉียนเหรินรำมวยในเวลา ๖ โมงเช้าทุกวันหลังจากผ่านไป ๑๐วันท่านก็ได้พบกับ กงเฉียนเหริน
ที่ส่งเสริมด้วยความเมตตาว่า ""พอดีวันนี้เป็นวันครบหลักสูตร ๑ เดือนของชั้นศึกษาธรรม เธอลองไปฟังดูหากว่ามีใจซาบซึ้งถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ บางทีอาการป่วยก็อาจจะหายได้"" ครั้นท่านเหล่าเฉียนเหรินได้รับฟังจึงเดินทางไปร่วมชั้นเรียน และในวันนั้นก็ได้รับความเมตตาส่งเสริมจากพระพุทธจี้กงจนแจ่มแจ้งตื่นฝัน และในเวลาที่จะปิดชั้นเรียน ทุกคนได้จัดทำอาหารถวายพระแม่องค์ธรรม  พระอาจารย์ทรงเมตตาว่า ""วันนี้ทุกคนทำได้ดีมาก ต่างมีใจศรัทธาตั้งปณิธาน พระแม่องค์ธรรมทรงดีพระทัย พวกเจ้าไม่ว่าจะป่วยเป็นโรคอะไร ขอเพียงมาทานอาหารที่จัดถวายพระแม่องค์ธรรมแค่นิดเดียว โรคภัยก็จะหายสิ้น"" ครั้นท่านเหล่าเฉียนเหรินได้ฟังก็รีบเดินเข้าไปทานหนึ่งคำ แต่ในขณะที่กลืนลงไปนอกจากจะรู้ว่าเย็น ๆ แล้วนอกนั้นก็หาได้รู้สึกพิเศษไม่ และในวันนั้นพระพุทธจี้กงก็ยังได้ทรงมอบหมายหน้าที่ต่าง ๆ ให้แก่ท่านเหล่าเฉียนเหรินอีกด้วย
        ผ่านไปอีก ๒ วัน ท่านได้ย้ายไปสถานธรรมอีกแห่งหนึ่ง พระอาจารย์จี้กงทรงเมตตาว่า""หากเจ้าทำงานธรรมแทนฟ้า โรคภัยเพียงแค่นี้ จะนับประสาอะไร"" เมื่อท่านเหล่าเฉียนเหรินได้สดับพระโอวาทของพระอาจารย์ภายในใจก็แอบตั้งปณิธานว่า""หากโรคหาย การงานก็จะไม่ทำแล้ว บ้านก็ไม่เอาแล้ว จะมุ่งทำงานธรรมแทนฟ้าอย่างเดียว"" นับแต่นั้นท่านก็มิได้ไปโรงพยาบาลอีก ยาหมอก็มิได้ทานอีก  ผ่านไประยะหนึ่ง อาการป่วยก็เริ่มทุเลาดีขึ้น ท่านจึงยิ่งบังเกิดความมั่นใจมากขึ้นเป็นทวี แท้จริงแล้วในตอนนั้น พระอาจารย์ทรงประทานพระโอวาททั้งหมด ๑๖ ประโยค แต่มีอยู่ ๒ ประโยคที่มีเนื้อหาดังนี้คือ """หากมิใช่แรงหัตถ์อาจารย์หนุน ต้องร่วงผลุนตกสู่นรการต์"""
       สองเดือนผ่านไป  วัณโรคระยะ ๓  ของท่านก็หายเป็นปลิดทิ้ง ในเวลานั้นท่านเหล่าเฉียนเหรินได้เดินทางกลับไปยังเทียนจิน และได้รับทราบข่าวอ้นน่าสะพรึงกลัวที่เกิดขึ้นภายในโรงงานย้อมผ้าเต๋อหลง คือ ๗ วัน หลังจากท่านเหล่าเฉียนเหรินได้เดินทางไปเป่ยผิง ในคืนวันหนึ่งมีโจรเรียกค่าไถ่ ๕ คน แอบแฝงเข้าไปจับคน ๓ คนภายในโรงงาน ซึ่งความจริงแล้วพวกเขาต้องการจับท่านเหล่าเฉียนเหรินแต่เพียงผู้เดียว แต่เนื่องจากท่านเหล่าเฉียนเหรินไม่ได้อยู่ในโรงงาน ดังนั้นจึงได้จับคนอื่น ๓ คนไปแทน ซึ่งก็ใช้เวลานานถึง ๓ เดือน จึงสามารถไถ่ตัวคืนมาด้วยเงินถึง ๑๒,๐๐๐ หยวน ในเวลานั้นท่านเหล่าเฉียนเหรินจึงพลันนึกถึงพระโอวาทของพระอาจารย์ขึ้นมา หากเพราะไม่ใช่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทรงช่วยปัดเป่านำพาในขณะนั้นท่านก็คงจะไม่ได้ไปเป่ยผิง และจะต้องประสบชะตากรรมการถูกจับเรียกค่าไถ่ ซึ่งท่านก็คงสิ้นชีวิตไปแล้วอย่างแน่นอน ด้วยความสำนึกในพระคุณ ท่านเหล่าเฉียนเหรินจึงปฏิญาณตนอย่างเด็ดเดี่ยวว่า ""นับแต่นี้จะมุ่งมั่นทดแทนคุณชำระปณิธาน อุทิศตนเพื่องานธรรม แลศึกษาบำเพ็ญเพื่อช่วยโลกและผู้คนให้จงได้""" และนับแต่นั้นมาท่านก็ฝึกเป็นสามคุณ และออกทำงานธรรมยังแต่ละสถานธรรมโดยมิเคยย่อท้อ
        ฟ้าเบื้องบนทรงอนุเคราะห์ส่งเสริมผู้คนด้วยความยากลำบาก ด้วยพระเมตตากรุณาอันไร้ขอบเขตของฟ้าเบื้องบน จึงชำระจิตใจของชาวโลกอันหยาบกร้านให้ตื่นแจ้งขึ้นอีกครั้ง และท่านเหล่าเฉียนเหรินจึงได้พ้นจากเคราะห์ภัยไปอีกเปราะหนึ่ง นับแต่นี้ท่านก็ทดแทนคุณด้วยใจอันกล้าแกร่งและมั่นคงมิเสื่อมคลายเสมอมา
        ปีหมินกั๋วที่  ๒๘  (ค.ศ. ๑๙๓๙) หลังจากท่านเหล่าเฉียนเหรินได้เดินทางกลับเทียนจินแล้ว ท่านได้รับผิดชอบเป็นเหรินฉายและออกกรำงานธรรมอยู่ทุกวัน ในเวลานั้นเป็นช่วงสงครามต่อต้านการรุกรานของญี่ปุ่นกอปรกับเกิดอุทกภัยครั้งยิ่งใหญ่ ที่นำหายนะภัยมาสู่ภาคเหนือของประเทศจีน จนทำให้ผืนแผ่นดินต้องกลายเป็นเวิ้งมหาสมุทรสุกลูกหูลูกตา 
        พระโอวาทสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เมตตาว่า""หายนะวินาศภัย ทวยเวไนย์ประสบเคราะห์กรรม"" ล้วนได้ประจักษ์จริงแล้วทั้งสิ้น เนื่องด้วยท่านเหล่าเฉียนเหรินได้เห็นสถานการณ์อันแลวร้ายจนสรรพเวไนย์ต้องลำเค็ญทุกข์เข็ญ กอปรกับย้อนรำลึกถึงคำพยากรณ์ของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ที่ล้วนได้ประจักษ์จริงเหล่านี้ด้วยแล้ว ท่านจึงตัดสินใจจะอุทิศทุกสิ่งและมุ่งทำงานธรรมอย่างไม่ลดละ ดังนั้นในปีหมินกั๋วที่ ๒๙  (ค.ศ. ๑๙๔๐) วสันตฤดู  ท่านได้ตัดสินใจปิดกิจการโรงงาน และในช่วงเดือน ๔ ของปีเดียวกันทั้งครอบครัวก็ได้ย้ายกลับไปยังบ้านเกิด ณ อำเภอหนิงเหอ ท่านรำพันอยู่เสมอว่า""ใจหนึ่งมิแปรสอง มุ่งทำงานธรรมอย่างเดียว"" และนับแต่นั้นท่านก็รับผิดชอบหน้าที่ภายในสถานธรรม ดูแลนำพางานธรรม อุทิศแรงกายแรงใจ ตราบจนสิ้นอายุขัยของท่าน
        ปีหมินกั๋วที่  ๓๐  (ค.ศ.๑๙๔๑) เดือน ๓  วันที่ ๓  ท่านเหล่าเฉียนเหรินได้รับโองการสวรรค์เป็นอาจารย์ถ่ายทอดเบิกธรรม  ปีหมินกั๋วที่  ๓๗  (ค.ศ.๑๙๔๘)  เดือน ๗  ขึ้น ๘ ค่ำ  ได้รับบัญชาจากท่านซือหมู่ให้ไปบุกเบิกงานธรรมที่ไต้หวัน
       ในช่วงเวลา  ๖๐ ปี  อันยาวนาน ทุกวีรกรรมที่ท่านได้ปฏิบัติ ทุกธรรมจริยาที่ท่านได้สำแดง ก็ล้วนได้เผยให้เห็นซึ่งธรรมะอันประเสริฐล้ำค่าอย่างสุดประมาณ   
หัวข้อ: Re: ธรรมธาดาคู่โลกา : พระคุณฟ้าบารมีอาจารย์ขอฝังจำทุกเวลากาล
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 21/10/2010, 06:26

                    ๓.    ปฏิปทาองค์สมเด็จพระกตธิการ บรมอริยธรรมราชเจ้า ผู้เฒ่าน้ำใส

         แม้ประวัติการรับธรรมะ และความศรัทธาของท่านจะเป็นไปอย่างพิศดาร ส่วนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ก็ประหนึ่งว่าจะทรงเมตตาส่งเสริมท่านเป็นกรณีเฉพาะ แต่ในบรรดาญาติธรรมมากมายนั้น ก็น้อยนักที่จะมีบุคคลที่สามารถธำรงการสำนึกพระคุณฟ้าบารมีอาจารย์อีกคิดหาทุกวิถีทางเพื่อทดแทนพระคุณ นำพาซึ่งจิตที่ซาบซึ้งในบุญคุณแปรเป็นการกตเวทิตา  และแสดงออกซึ่งจริยาอันยิ่งใหญ่แห่งมวลมนุษย์ให้ขจร  ด้วยการอุทิศเทิดทูนและการเผยแพร่ธรรมะแทนเบื้องฟ้าในทุกขณะเวลาอย่างท่านได้
        และที่น่าประทีบใจอย่างยิ่งนั้นก็คือ ไม่ว่าท่านจะดำรงอยู่ในสถานการณ์อันราบรื่นหรือเลวร้ายเช่นไร  ท่านก็หาได้ลืมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณแห่งเบื้องฟ้า และพระบารมีอันยิ่งใหญ่แห่งพระอาจารย์ไม่ อีกท่านยังตระหนักถึงพระปกาศิตแห่งพระโองการสวรรค์ และสัมพันธภาพอันแน่นแฟ้นระหว่างฟ้า และชาวโลกที่มิอาจห่างจากแม้เพียงชั่วครู่ได้เป็นอย่างดี ดังนั้น มาตรว่าจะเป็นเพียงเรื่องเล็กน้อยอันด้อยค่า ท่านก็ยังสามารถแสดงออกซึ่งความกตัญญูกตเวทิตาจากหัวใจ แลกราบกรานสำนึกด้วยใจอันรู้คุณอย่างน่ายกย่อง
        ในสมุดอนุทินเพียง  ๒๐  กว่าหน้าที่สลับปกว่า "" เกร็ตอัตประวัติชั่วชีวิตของข้าพเจ้า "" เล่มหนึ่งของท่านนั้น ก็ได้บันทึกถึงการขอบพระคุณต่อฟ้าเบื้องบนถึง  ๒๐  กว่าครั้ง 
         เราจึงขอคัดลอกอ่านท่องลายลิขิตของท่าน เพื่อที่จะเป็นสื่อให้พวกเรา ได้เพิ่มความเข้าใจและความถวิลหาที่มีต่อท่านได้มากยิ่งขึ้นอีกทางหนึ่ง
    -- ปี ๕๖  (ค.ศ.๑๙๖๗)  บุตรชาย -- วั่นเหนียน  ได้รับพระเมตตาจากเบื้องบน ณ เดือน ๕ ๕ ค่ำ ได้บุตรชายคนหนึ่ง 
   --- ปี ๕๗  (ค.ศ.๑๙๖๘)  เบื้องบนทรงพระเมตตา งานธรรมล้วนลุดหน้า ทุกคนล้วนสวัสดี
   --- ปี ๕๘  (ค.ศ.๑๙๖๙)...ถึงช่วงเดือน ๙ เดือน ๑๐ สุขภาพไม่สู้ดี อาจเพราะเกี่ยวกับอายุขัย จึงได้แต่ปล่อยไปตามยถากรรมแต่ที่โชคดียิ่งนัก ก็คือ นับแต่ปี  ๔๘ (ค.ศ.๑๙๕๙) ถึงปี ๕๘ (ค.ศ.๑๙๖๙)  ผู้ศรัทธาของแต่ละแห่งล้วนเพิ่มมากขึ้น พุทธบุตรผู้มีบุญล้วนทยอยขึ้นฝั่งเป็นจำนวนมาก ด้วยพระเมตตาของฟ้าเบื้องบน ประชุมธรรมจึงได้เปิดถึง  ๒๐  กว่าครั้ง สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทรงพระเมตตาอนุเคราะห์ ทรงแสดงบุญฤทธิ์ประสิทธิ์พิทยาให้ตื่นหลง ให้เกิดจิตจำนงค์กลับตังมุ่งมั่นในทางธรรม และตั้งปณิธานมุ่งบำเพ็ญมีเป็นจำนวนมาก สถานธรรมในแต่ละที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นอย่างมากมาย แต่น่าเสียดายที่ผู้บำเพ็ญต่างมีระดับพื้นฐานที่ไม่สม่ำเสมอผู้ระแวงและถดถอยก็มีปรากฏให้เห็นอยู่เนือง ๆ  แต่ด้วยพระกรุณาของเบื้องบน งานธรรมยังคงรุดหน้าไปด้วยดี
   ---ปี ๖๐ (ค.ศ.๑๙๗๑) เดือน ๓  ได้เริ่มงานก่อสร้างอนุสรณ์พระบรรพจารย์ที่ฝูซัน  นับแต่ท่านซือหมู่เดินทางมายังไต้หวันตราบจนมีงานธรรมอันกว้างใหญ่เช่นวันนี้ ต่อบนก็ล้วนเพราะได้รับพระคุณฟ้าบารมีอาจารย์โดยแท้  ต่อล่างก็ล้วนเพราะการร่วมแรงร่วมใจของเหล่าศิษย์พี่น้อง  อีกด้วยการบำบัดทุกข์บำรุงสุขของทางการที่อภิบาลดูแลบ้านเมืองจนอุดมสมบูรณ์  ประชาราษฏรต่างอยู่เย็นเป็นสุข และด้วยพระบุญญาบารมีแห่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ทรงโปรดเมตตายังทุกสถาน งานธรรมจึงได้เจริญมาตลอด
   ---ปี ๖๐ (๑๙๗๑)  หลีฉยงฮว๋า ที่ไทเป ได้ฉุดช่วยนางเกาซุน ชาวญี่ปุ่น และผู้ช่วยของเขามารับธรรมะ จึงได้เปิดชั้นเรียนให้แก่ทั้งสองขึ้นโดยเฉพาะ อีกสิ่งศักดิ์สิทธิ์เมตตาส่งเสริม พวกเขาจึงได้ศรัทธาและกลับไปฉุดช่วยคน จวบกระทั่งถึงเดือน ๙ หงเจินและซิวเหมย ทั้งหมด ๑๐ กว่าคน ไปปฏิบัติงานธรรมที่นั่นได้เดือนกว่า ผู้มีบุญได้ขึ้นฝั่งเป็นจำนวนมาก งานธรรมของแต่ละที่เริ่มเจริญรุ่งเรือง ในช่วงเวลาเพียง ๑ ปีนี้ การเปิดประชุมธรรมก็มีมากถึง ๔๐ - ๕๐ ครั้ง ทั้งหมดนี้ล้วนมิอาจเป็นไปด้วยลำพังกำลังแห่งมนุษย์เลยแล
       
หัวข้อ: Re: ธรรมธาดาคู่โลกา : ๔. พระคุณฟ้าบารมีอาจารย์ขอฝังจำทุกเวลากาล
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 21/10/2010, 08:25

    ---ปี ๖๗ (ค.ศ.๑๙๗๘) ตึกอนุสรณ์พระบรรพจารย์ได้สร้างตึกบริวารสองข้าง งานธรรมยังคงมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์เมตตาแสดงพุทธานุภาพ ผู้มีจิตศรัทธาของแต่ละแห่งล้วนเพิ่มจำนวน ที่ญี่ปุ่นก็มีเพิ่มขึ้น นางเกาชุน ชาวญี่ปุ่น พร้อมด้วยคณะประมาณ ๒๐ คนเศษได้มาศึกษาชั้นประชุมธรรมของแต่ละสถานธรรมที่ไต้หวัน ทุกคนต่างกลับไปโดยสวัสดิภาพ เมื่อเดือน ๙ หงเจิน ได้เดินทางไปญี่ปุ่นอีกครั้ง และยังได้เดินทางต่อไปยังเอเซียอาคเนย์ สิงคโปร์ มาเลเซีย ไทย  ล้วนมีผู้มีพุทธสัมพันธ์อันดีเป็นจำนวนมาก ผู้มารับธรรมะมีจำนวนนับร้อย ในช่วงเวลาหนึ่งปีมานี้ ชั้นเรียนได้เปิดถึง ๔๐ - ๕๐ ครั้ง พระโอวาทสิ่งศักดิ?สิทธิ์ก็แยบยลสุดคณา นับแต่อดีตไม่เคยมีปรากฏการมาก่อน ในปีนี้สถานธรรมที่ก่อสร้างแล้วเสร็จก็เพิ่มขึ้นอีกหลายแห่ง เบื้องบนทรงพระเมตตา ก็ได้ผ่านพ้นไปโดยสวัสดีอีกปีหนึ่ง
   ---ปี ๗๑ (ค.ศ.๑๙๘๒)  เดือน ๙ วันที่ ๖  ข้าพเจ้าได้พา หวังฉีหวง  เฉินเหม่ยจู  และสามคุณ โดยสารเครื่องบินไปญี่ปุ่น และต่อไปยัง ลอสแองเจลิส   บอสตัน   วอชิงตัน  นิวยอร์ก  ซานดิเอโก้  มอริเชียส  ไปพักแรมที่ญี่ปุ่นหนึ่งคืน แล้วจากนั้นค่อยเดินทางกลับไต้หวัน ด้วยเพราะเบื้องบนทรงพระเมตตา ทุกสิ่งจึงราบรื่นไปด้วยดี การที่อนุตตรธรรมสามารถปกแผ่ได้อย่างกว้างไกลนั้นหาใช่พลังแห่งมนุษย์เราจะสามารถทำได้ไม่ แต่การที่คนเราสามารถทำงานเผยแพร่ธรรมได้นั้น หากไร้คนก็มิอาจมีผลสำเร็จได้แล
   ---ปี ๗๒ (ค.ส.๑๙๘๓)  เดือน ๑๑ วันที่ ๒  บ้านเมตตาสว่างอำไพแห่งผูหลี่ (กวงหมิงเหรินอ้ายจือเจีย) ได้ทำพิธีเบิกหน้าดินโดยมีอธิบดีกรมสวัสดิการสังคม ซึ่งเป็นตัวแทนประธานมณฑล อีกเหล่าญาติธรรมและผู้คนจากทั่วทุกสารทิศที่มาร่วมชุมนุม  จำนวนคนก็มีมากถึง ๑,๖๐๐ - ๑,๗๐๐ ชีวิต เรียกได้ว่ายิ่งใหญ่อย่างมิเคยมี จำเดิมแต่ปี ๓๗ (ค.ศ.๑๙๔๘) ที่มายังไต้หวัน ตราบจนปี ๗๒ (ค.ศ.๑๙๘๓) ก็เป็นเวลานานถึง ๓๕ ปี  งานธรรมแต่ละแห่งหนล้วนมีความรุดหน้า สถานธรรมก็มีจำนวนมากมานอย่างสุดคณาส่วนสถานธรรมใหญ่ก็มีจำนวนมากถึง ๓๗ แห่ง ด้านญี่ปุ่นและแถบเอเซียอาคเนย์ต่างมีความก้าวหน้า จะมีเพียงแต่อเมริกาเท่านั้นที่ยังขาดบุคลากร จึงยังมิได้พัฒนา  ความประกาศิตของพระโองการสวรรค์แห่งพระวิสุทธิอาจารย์ช่างยากที่จะคาดคะเนยิ่งนัก
  ---ปี (ค.ศ.๑๙๘๔)  ปี ๗๓  เริ่มตั้งแต่เดือน ๑  วันที่ ๑๘ เป็นต้นไป อาจารย์ถ่ายทอดธรรมทั้งหมด ๒๖๐ คน ได้มาเข้าชั้นขมาสำนึกบาป พระพุทธาจารย์เทียนหรัน และ พระอริยมาตาจงฮว๋า ต่างประทับญาณเมตตา ทุกคนต่างซาบซึ้งจนร่ำไห้ ต่อจากนั้นก็เปิดชั้นขมาสำนึกบาปของถันจู่และเจี่ยงซือ อีก  ๔๐ กว่าชั้น การช่วยเหลือแห่งสากลสิ่งศักดิ์สิทธิ์ล้วนประสบผลสำเร็จ พระอาจารย์ทรงประทานพระโอวาทบทหนึ่ง และให้นำบทโอวาททั้งหมดในชั้นขมาสำนึกบาปมารวบรวมเป็นเล่ม และให้ชื่อว่า "" เทียนอวิ้นซูจี ""
( อัศจรรย์วิถีฟ้า ) ตกทอดสู่ชนรุ่นหลังสืบไป
  ---ปี ๗๔ (ค.ศ.๑๙๘๕)  เดือน ๑  หลายปีมานี้ การปัสสาวะขัดข้องความเจ็บปวดเพิ่มมากขึ้นเป็นทวี จึงทำการผ่าตัดที่โรงพยาบาลฉางเกิง ตราบจนเดือน ๕  จึงหายเป็นปกติ ทั้งหมดล้วนเพราะได้รับพระมหากรุณาธิคุณเบื้องบนโดยแท้ ดูจากเหตุการณ์แล้ว คงจะอยู่ต่อได้อีกหลายปี
  ---ปี ๗๔ (ค.ศ. ๑๙๘๕)  เดือน ๖  บุตรชาย - วั่นฮว๋า  ได้ส่งจดหมายมา ทุกคนล้วนปลอดภัยสวัสดี อีกทั้งได้ส่งรูปถ่ายของเหลนหญิงมาคนละใบ  ทั้งหมดนี้ก็ด้วยเพราะพระมหากรุณาธิคุณของเบื้องบน พระกฤดาธิการของพระอาจารย์โดยแท้
  ---ปี ๗๔ (ค.ศ. ๑๙๗๕)  ได้ทำการสรุปผลงานประจำปี พบว่า สถานธรรมมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น งานธรรมที่เอเซียอาคเนย์ล้วนมีความก้าวหน้า ช่างวิเศษสุดประมาณนักแล
  ---ปี ๗๕ (ค.ศ. ๑๙๘๖)  เดือน ๕ วันที่ ๒๐ ต้นปรง สองต้นที่ฝูซันหรงเยวี้ยน ต่างออกดอกพร้อม ๆ กัน โบราณกล่าวว่า""ยากได้เห็นปรงพันปีผลิดอกบาน "" แต่ต้นปรงสองต้นที่ฝูซัน ซึ่งเป็นที่พักของท่านเหล่าเฉียนเหริน กลับออกดอกบานพร้อมกันทั้งสองต้น จึงเห็นได้ว่าบารมีของท่านเหล่าเฉียนเหรินยิ่งใหญ่นักแล  งานธรรมของแต่ละแห่งล้วนก้าวหน้า บุคลากรมีเพิ่มมากขึ้นเป็นทวี อาจารย์ที่มารับโองการสวรรค์ในแต่ละแห่งก็มีมากถึง ๔๐๐ กว่าท่าน พระคุณฟ้าบารมีอาจารย์ยากทดแทนให้สิ้นได้แลส่วนงานธรรมที่เมืองไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ต่างมีความก้าวหน้า สถานธรรมทั้งในและต่างประเทศล้วนมีจำนวนมากมายอย่างมิอาจประมาณ
  ---ปี ๗๖ (ค.ศ. ๑๙๘๗) เดือน ๕ วันที่ ๑๕  ได้เดินทางไปยังเอเซียอาคเนย์ โดยผ่านไปยังสิงคโปร์ มาเลเซีย ไทย  และจากนั้นได้เดินทางต่อไปยังฮ่องกง เพื่อพบลูกหลานที่ไม่เคยได้พบหน้ามาเป็นเวลานานถึง  ๔๐ ปี  ได้ทราบว่าสุสานที่บ้านได้ถูกดันราบปัายบรรพชนได้สูญมลาย  ยิ่งคิดก็ยิ่งปวดร้าวใจยิ่งนัก แต่บุตร ธิดา ต่างปลอดภัยกันทุกคน นี่ก็เพราะได้รับการปกป้องรักษาจากฟ้าเบื้องบนพระบารมีแห่งพระอาจารย์โดยแท้  เดือน ๖  วันที่  ๒๐  ได้เดินทางจากฮ่องกงกลับไต้หวัน ทุกสิ่งล้วนราบรื่นปลอดภัย  """ ตอนที่อยู่เมืองไทย ได้เดินทางจากหาดใหญ่ ไป สุราษฏร์ธานี โดยรถยนต์เป็นเวลา ๖ ชั่วโมง ระหว่างทางได้เกิดอุบัติเหตุ รถเสียหายเพียงเล็กน้อย ทุกคนล้วนปลอดภัยหมด การที่เคราะห์ภัยล้วนแคล้วคลาด ก็ด้วยเพราะเบื้องบนทรงพิทักษ์คุ้มครองนั่นเอง
   ---ปี ๗๖ (ค.ศ.๑๙๘๗) เดือน  ๘  วันที่ ๑๕ เป็นวันรำลึกการสำเร็จธรรมครบรอบ  ๔๐ ปี ของท่านซือจุน ทุกคนต่างทำพิธีบูชาแซ่ซ้อง ด้วยเพราะซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณเบื้องบน พระบารมีแห่งพระอาจารย์โดยแท้ ดังนั้น  แม้ชีพจะม้วยมรณาก็ยากจะทดแทนให้สิ้นได้แล
หัวข้อ: ธรรมธาดาคู่โลกา : ๕. ปฏิปทาองค์สมเด็จพระกตธิการบรมอริยธรรมราชเจ้าผู้เฒ่าน้ำใส
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 25/11/2010, 13:44

      --ปี ๗๖ (ค.ศ.๑๙๘๗) เดือน ๘ วันที่ ๑๕ เป้นวันรำลึกการสำเร็จธรรมครบรอบ ๔๐ ปี ของท่านซือจุน ทุกคนต่างทำพิธีบูชาแซ่ซ้อง ด้วยเพราะซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณเบื้องบน พระบารมีแห่งพระอาจารย์โดยแท้ ดังนั้น แม้นชีพจะม้วนมรณาก็ยากจะทดแทนให้สิ้นได้แล
    --ปี ๗๖ (ค.ศ.๑๙๘๗) นับแต่ปี ๓๗ (ค.ศ.๑๙๔๘) ที่มายังไต้หวัน ตราบบัดนี้ก็เป็นเวลานานถึง ๔๐ ปีแล้ว ด้วยพระมหาเมตตาพระมหากรุณาแห่งฟ้าเบื้องบน ผู้คนที่ขึ้นสู่ฝั่งก็มีจำนวนมากมายอย่างสุดคณนา แถบเอเซียอาคเนย์ มีเมืองไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ เป็นอาทิ อีกประเทศออสเตรเลีย แอฟริกาใต้ ป่รากวัย เกาหลี ญี่ปุ่น อเมริกา ต่างมีคนออกไปบุกเบิกเผยแพร่ จึงเห็นได้ว่าพระโองการณ์สวรรค์ช่างวิเศษสุดยิ่งนักแล
     ปี ค.ศ. ๑๙๘๙ (ปีหมินกั๋วที่ ๗๘) ท่านเหล่าเฉียนเหรินได้อำลาจากบ้านเกิดเป็นเวลาได้ ๔๐ ปี และปีนี้ก็เป็นครั้งแรกที่ท่านได้เดินทางกลับบ้านเกิด ใช้เวลาไปกลับทั้งสิ้น ๗ วัน ท่านได้กล่าวไว้ว่า
   --เดือน ๔ วันที่ ๑๖ (วันที่ ๑๙ เดือน ๓ ตามจันทรคติ) ได้ไปยังปักกิ่ง วั่นเหนียน (บุตรชายคนที่สอง) จงซิ่ว (หลานหญิง) ได้ร่วมเดินทางไปด้วย...ครั้นเอ่ยถึงเหตุการณ์ที่บ้านเกิดแล้ว ก็เนื่องด้วยจำเดิมครอบครัวที่มีทรัพย์สินจัดอยู่ในชั้นพิเศษ ได้ถูกกวาดล้างขับไล่ออกจากเรือนอาศัยจนต้องสิ้นเนื้อประดาตัว... มีเพียงแต่ครอบครัวข้าพเจ้าที่มิได้ประสบภยันตราย ทั้งหมดล้วนเพราะเบื้องบนทรงคุ้มครองและไม่ทอดทิ้งดูดายแล
     ไปกลับใช้เวลาหนึ่งสัปดาห์ ได้แต่โศกาอาดูรเท่านั้น ปีนี้ ปีนี้ข้าพเจ้าอายุ ๘๙ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณเบื้องบน พระบารมีแห่งพระอาจารย์ที่ทรงอภิบาล จึงทำให้มีวันนี้ได้ หากว่ามิได้บำเพ็ญและยังคงอยู่ที่เมืองจีน ตอนนี้ก็คงไร้แม้แต่ซากกระดูกไปเสียแล้ว ปีนี้ข้าพเจ้ามีอายุได้ ๘๙ ได้ผ่านความทุกข์ยากลำบากมานับไม่ถ้วน หากมิใช่เพราะบำเพ็ญ และได้รับพระพุทธบริบาลจากฟ้าเบื้องบนแล้วไยจะมีความสุขไพบูลย์อย่างทุกวันนี้ได้   ---ปี ๗๙ (ค.ศ.๑๙๙๐) ๑๐ ค่ำ เดือน ๒ ได้เดินทางไปทำพิธีประดิษฐานสถานธรรมข่งเมี่ยวที่เมืองไทย พร้อมกับ  วั่นเหนียน ต่งเจาเสียน เฉินเหม่ยจู เป็นอาทิ หลังจากได้กราบอัญเชิญประดิษฐานพระแม่องค์ธรรมแล้ว ก็เปิดชั้นขมาสำนึกบาป อีกยังทำพิธีเปิดอริยวิหารแห่งยุคขาว (ไป๋หยังเซิ่งกง) และทำพิธีเบิกหน้าดินสถานที่ก่อสร้างวิทยาลัยอนุตตรธรรมกวงหมิง ความอลังการแห่งพิธีมิเคยมีปรากฏมาก่อน พระโองการณ์สวรรค์แห่งพระวิสุทธิอาจารย์แห่งอนุตตรธรรมนี้ช่างวิเศษสุดประมาณได้ ในวันที่ ๒๓ ได้เดินทางกลับทั้งหมดล้วนปลอดภัยสวัสดี
หัวข้อ: ธรรมธาดาคู่โลกา ๖ : ปฏิปทาองค์สมเด็จพระกตธิการบรมอริยธรรมราชเจ้าผู้เฒ่าน้ำใส
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 25/11/2010, 15:24

   ---ปี ๗๙ (ค.ศ. ๑๙๙๐)  เดือน ๓ วันที่ ๒๕ หลานชายเสี่ยวเฉียง ได้เดินทางไปเรียนภาษาญี่ปุ่นยังแดนอาทิตย์อุทัย โดยมีคุณเกาชุนเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบ ต้องขอขอบพระคุณพระมหากรุณาธิคุณอันไพศาลของฟ้าเบื้องบนโดยแท้
---ปี ๘๑ (ค.ศ.๑๙๙๒) เดือน ๑๒ วันที่ ๓ ได้เดินทางไปเมืองไทย...ได้พบปะกับบรรดาญาติธรรมที่มีจิตศรัทธาจำนวน ๖๐๐ กว่าคนที่กรุงเทพฯ จากนั้นได้เดินทางไปทำพิธีเปิดสถานธรรมข่งเมี่ยว ที่ สุราษฏร์ธานี  ผู้คนที่มาร่วมในพิธีมีจำนวนมากถึง ๔,๐๐๐ คน ผู้มีจิตศรัทธาของแต่ละประเทศมีจำนวนมากมายสุดคณานับ จากนั้นก็ทำพิธีเบิกหน้าดินสถานพักเลี้ยงคนชรา โดยกำหนดจะก่อสร้างแล้วเสร็จในฤดูหนาวของปีหน้า สถานการณ์งานธรรมที่เมืองไทยได้พัฒนาไปอย่างไม่น่าเชื่อ เปิดชั้นขมาสำนึกบาป ๒ วัน ผู้คนที่มาร่วมชุมนุมก็มีมากถึง ๒,๗๐๐ คน ต่อมาได้ทำพิธีเบิกพระเนตรพระมหาพุทธปฏิมาพระศรีอริยเมตไตรย...
  ---ปี ๘๒ (ค.ศ. ๑๙๙๓)  เดือน ๑ ขึ้น ๙ ค่ำ ได้จัดประชุมอาจารย์ถ่ายทอดเบิกธรรมจากทุกสารทิศที่เทียนเอวี๋ยนฝอเยวี่ยน เมื่อเดือน ๑ ของปีที่แล้ว มีอาจารย์มาร่วมประชุมไม่ถึง ๕๐๐ ท่าน หากปีนี้มีจำนวนมากถึง ๖๐๐ กว่าท่าน การพัฒนางานธรรมของแต่ละแห่งล้วนขจรไกลไปยังแต่ละประเทศทั่วโลก จุดนี้ก็พิสูจน์ได้แล้วว่า พระโองการณ์สวรรค์แห่งพระวิสุทธิอาจารย์มิได้หลอกลวงแต่อย่างใด บัดนี้ ท่านซือจุน ซือหมู่ มิได้อยู่แล้วพระแม่องค์ธรรมทรงมีพระโอวาทบัญชา พระอาจารย์ก็ทรงมีพระโอวาทเช่นกันว่า ให้ข้าพเจ้ารับผิดชอบแทน บัดนี้ ผู้ที่รับโองการสวรรค์ต่างก็ออกเผยแพร่ธรรมกันไปแล้ว จะถูกหรือไม่ถูกอย่างไร ข้าพเจ้าก็มิทราบเหมือนกัน ก็หวังเพียงให้เบื้องบนทรงพระเมตตา ให้คนดีได้ขึ้นฝั่ง ปีนี้ ข้าพเจ้าอายุได้ ๙๓ ยังมิทราบว่าเมื่อใดจะต้องลาจาก จึงได้แต่ใช้ช่วงเวลาที่ยังคงอยู่ ทุ่มเทอุทิศเท่านั้น 
 ---ปี ๘๒ (ค.ศ.๑๙๙๓)  เดือน ๗ ขึ้น ๘ ค่ำ วันที่ ๒๕ เดือน ๘  เฉินต้ากูเดินทางไปอเมริกา ข้าพเจ้าได้เดินทางไปอเมริกาเมื่อปีที่แล้ว งานธรรมในทุกสถานธรรมล้วนเจริญไพบูลย์...ปีนี้ เนื่องจากข้าพเจ้าหัวใจเต้นไม่เป็นปกติ จึงไม่สามารถเดินทางไปได้ แต่เิดิมสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทรงเมตตาว่า "ในอนาคตงานธรรมจักจำเริญทั่วโลกา" แต่ลำพังแค่ของพวกเราในตอนนี้ก็ขจรไปกว่าครึ่งโลกแล้ว พระโองการสวรรค์ช่างวิเศษสุดคณนายิ่งนักแล ปลายปี ๘๒ (ค.ศ.๑๙๙๓) ลูกหลานของท่านเหล่าเฉียนเหรินได้เิดินทางมาเมืองจีนมายังไต้หวัน ท่านได้บันทึกไว้ว่า...
หัวข้อ: ธรรมธาดาคู่โลกา ๗ : ปฏิปทาองค์สมเด็จพระกตธิการบรมอริยธรรมราชเจ้าผู้เฒ่าน้ำใส
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 26/11/2010, 01:53

   ---เดือน ๑๒ วันที่ ๒๐ บุตรชาย - วั่นฮว๋า วั่นจัง บุตรสาวอีกสองคน หลานชาย ๒ คน หลานสาว ๑ คน ต่างได้เดินทางมาเยี่ยมข้าพเจ้าที่ไต้หวัน แต่เนื่องด้วยข้าพเจ้ามีสุขภาพไม่ค่อยดี เกรงว่าจะมิอาจพบหน้ากันได้อีก ทุกคนจึงอยู่ร่วมเทศกาลตรุษจีนที่ไต้หวันกับข้าพเจ้า  ปี ๘๓ (ค.ศ.๑๙๙๔) เดือน ๑ วันที่ ๒๙ ลูกหลานทั้งคณะได้เดินทางไปฮ่องกงโดยเที่ยวบินตอนบ่ายสองโมงครึ่ง พักอยู่ในสถานธรรมที่นั่น แล้วค่อยต่อเครื่องบินไปยังปักกิ่ง ด้วยเพราะได้รับพระมหากรุณาธิคุณของเบื้องบน พระคุณพระอาจารย์โดยแท้ ญาติธรรมจากทุกสารทิศ ล้วนให้การต้อนรับ ข้าพเจ้าปีนี้อายุ ๙๔ ปี จ้าพเจ้าได้กราบขอบพระคุณต่อการดูแลของทุก ๆ คนอยู่ทุกวัน ส่วนอาจารย์หวังปี้อวี้ที่ฮ่องกงที่ต้องลำบากเสียเงินเสียทอง ก็ยิ่งต้องขอบพระคุณมากเป็นพิเศษ แม้ท่านเหล่าเฉียนเหรินจะมีบารมีอันสูงส่งในอาณาจักรธรรม อีกด้วยวัยวุติที่อาวุโสถึงขนาดนี้แล้ว นอกจากท่านจะสำนึกในพระคุณฟ้าบารมีอาจารย์ ท่านยังกราบขอบพระคุณทุกคนที่ให้การดูแลต้อนรับลูกหลานของท่านทุก ๆ วันอีกด้วย ครั้นโฮ่วเสวีย ได้เขียนถึงจุดนี้ นอกจากจะรู้สึกซาบซึ้งตรึงใจแล้ว ในขณะเดียวกันก็รู้สึกละอายใจเป็นอย่างยิ่ง และสำหรับบารมีอันสุขุมลุ่มลึกของท่าน จากจุดนี้ทำให้เราสามารถเข้าใจในปฏิปทาของท่านได้เป็นอย่างดี
  ---ปี ๘๓ (ค.ศ.๑๙๙๔) เดือน ๘ วันที่ ๒๘ (จันทรคติ) วันนี้เป็นวันศุภฤกษ์ และประจวบกับเป็นวันประสูติครบรอบร้อยปีของท่านซือหมู่ ที่ผูหลี่ได้จัดงานไว้อาลัยเป็นเวลา ๓ วัน สาธุชนที่มาชุมนุมก็มีจำนวนมากถึงหมื่นกว่าคน ด้วยพระบารมีอันเกรียงไกรที่ปกแผ่ของท่านซือจุนซือหมู่ ในบัดนี้ก็มีจำนวนอาจารย์ถ่ายทอดเบิกธรรมมากถึง ๑,๓๐๐ กว่าท่าน งานธรรมในแต่ละแห่งหนล้วนเจริญรุดหน้า สถานธรรมใหญ่ที่ก่อสร้างแล้วเสร็จ ก็มีจำนวนมากถึง ๗๐ กว่าแห่ง ที่ต่างแดนก็มีจำนวนถึง ๑๐ กว่าแห่ง  ส่วนประเทศที่มีธรรมะบุกเบิกเผยแพร่ก็มี ญี่ปุ่น เกาหลี มาเลเซีย สิงคโปร์ ไทย ฟิลิปินส์ อินโดนีเซีย เวียดนาม ฮ่องกง มาเก๊า เนปาล กัมพูชา อเมริกา แคนาดา เม็กซิโก นิวซีแลนด์ ออสเตรีย ฝรั่งเศส แอฟริกาใต้ ...มหาธรรม ณ บัดนี้ถือว่าได้กำจายไปยังทั่วทุกมุมโลกแล้ว
หัวข้อ: ธรรมธาดาคู่โลกา ๘ : ปฏิปทาองค์สมเด็จพระกตธิการบรมอริยธรรมราชเจ้าผู้เฒ่าน้ำใส
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 26/11/2010, 02:43
     การคัดตอนในเบื้องต้น มาตรว่าจะดูฟั่นเฝือ แต่เกร็ดเล็กน้อยเหล่านี้ก็ล้วนมีความล้ำค่าอย่างสุดประมาณได้ จึงอาศัยข้อมูลอันแท้จริงกับบุญวาระอันหายากเหล่านี้  หนึ่งคือสามารถให้เราได้เข้าใจการบุกเบิกธรรมของท่านเหล่าเฉียนเหริน ประวัติการทำงานของท่านเหล่าเฉียนเหริน  ส่วนอีกหนึ่งคือ ช่วยให้เราได้เข้าใจถึงความจริงใจอันพิศุทธิ์ และบารมีอันสุขุมของท่านจากบันทึกอันเรียบง่ายแลจริงใจได้อีกระดับหนึ่ง และระยะเวลาหลายสิบปีมานี้ ในใจของท่านมีแต่พะวงห่วงใยถึงงานธรรมว่าจะเจริญรุดหน้าหรือไม่ พุทธบุตรคนเดิมได้ขึ้นฝั่งเป็นจำนวนมากเท่าไร กิจทั้งหมดที่ชอบด้วยพระเจตนาของฟ้าหรือไม่ ได้ผิดต่อพระเมตตาของสิ่งศักดฺ์สิทธิ์หรือไม่ และจากเกร็ดบันทึกอันทรงคุณค่าเหล่านี้ พวกเราก็สามารถเข้าใจได้อย่างถ่องแท้ว่า ฟ้าเบื้องบนได้ทรงฝังรากหยั่งลึกลงไปในจิตใจของท่านเหล่าเฉียนเหรินอย่างแน่นหนา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็กหรือเรื่องน้อย ทางธรรมหรือทางโลก ในทุกขณะเวลา ท่านจะสำนึกถึงความวิเศษสุดพรรณนาของพระโองการสวรรค์แห่งพระวิสุทธิอาจารย์อยู่เสมอ อีกยังสำนึกในพระคุณแห่งการพิทักษ์รักษาของเบื้องบนอยู่มิเคยขาดรอน
    ด้วยใจฟ้าที่ประทับเบื้องนภา จิตศรัทธาที่นิตย์แทนคุณฉะนี้ ไม่เพียงแต่ ได้สะท้อนถึงสัมพันธภาพอันแน่นแฟ้นระหว่างท่านกับเบื้องบนเท่านั้น หากยังมีความกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวจนมิอาจแยกออกจากกันได้ หากไม่มีความศรัทธาจริงใจเต็มเปี่ยมย่อมมิอาจสัมผัสรับรู้ได้ และสิ่งนี้ก็เป็นสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับศิษย์อนุตตรธรรมที่ได้บำเพ็ญปฏิบัติในงานยุคท้าย โดยจริยวัตรของท่านก็เป็นแบบอย่างแห่งธรรมจริยาอันดีที่สุดของเรา
    อันว่า "หนึ่งจุดแห่งพระวิสุทธิอาจารย์ ในบัดดลนั้นแลใช่"  และขณะจิตบัดดลที่ว่านี้ ก็คือห้วงดำริแห่งฟ้า หัวใจของพระพุทธจริยาของท่านเหล่าเฉียนเหรินหรือก็คือ มโนธรรมสำนึกอันวิสุทธิ์อสังขตา  ที่ปราศจากมลภาวะแห่งจิตมนุษย์ หรือก็คือ ความยำเกรง ความเชื่อมั่น ความมั่นคงของท่านที่มีต่อพระโองการสวรรค์แห่งพระวิสุทธิอาจารย์อย่างบริบูรณ์  อีกเป็นความสำนึกตรึกแทนคุณต่อพระคุณฟ้าบารมีอาจารย์อย่างไร้สิ่งใดที่จะพรรณนา ซึ่งได้ฝังรากหยั่งลึกในทุกอณูวิญญาณ ซึมซาบกลมกลืนอยู่ในทุกหน่วยชีวิต แลแปรเป็นพลังชีวา พลังผลักดัน พลังความรับผิดชอบ แลพลังใจอันเหนียวแน่น จนส่งผลให้ท่านมีความเป็นประหนึ่งพระพุทธา ที่ยินยอมแบกคอนภาระแห่งความทุกข์ยากของมวลมนุษย์ แลภาระความรับผิดชอบที่มีต่อเวไนยนิกร จนประสานเป็นหนึ่งเดียวกับฟ้าอย่างบริบูรณ์ ให้พุทธะประยูรทั้งเก้าหกได้มีประทีปใจอันสว่างไสว จนบรรลุงานสามโลก ที่มิเคยมีปรากฏแต่บุพกาลเป็นต้นมาในขั้นไพบูลย์ได้ และด้วยเช่นนี้ ที่ท่านได้อาศัยจริยวัตรอันยิ่งใหญ่ จิตแทนคุณอันแกร่งกล้า ปฏิปทาที่มุ่งเสียสละอย่างเต็มแรง ท่านจึงได้ตัดสินใจเผาผลาญตน ทุ่มเทอุทิศทุกสิ่ง และมุ่งทำทุกอย่างที่ท่านเห็นว่าจะเกิดคุณูปการต่อมวลเวไนย์ ด้วยเวลาแห่งการตรากตรำหนักถึง ๕๐ - ๖๐ ปี ด้วยแรงปณิธานที่ไม่เคยลดละตราบจนพลังชีวิตของท่านได้เผาผลาญจนริบหรี่และดับวูบลงในที่สุด
หัวข้อ: ธรรมธาดาคู่โลกา ๙ : ปฏิปทาองค์สมเด็จพระกตธิการบรมอริยธรรมราชเจ้าผู้เฒ่าน้ำใส
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 27/11/2010, 04:31

       และก็ด้วยหนึ่งจิตที่กลมกลืนต่อฟ้าเช่นนี้ ดังนั้นในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นชั้นเรียน ธรรมกิจ หรืองานธุระต่าง ๆ เราก็มักจะได้ยินท่านกล่าวอยู่เสมอว่า "ทั้งหมดล้วนเพราะพระมหากรุณาธิคุณแห่งเบื้องฟ้าพระบารมีแห่งพระวิสุทธิ์อาจารย์ทั้งสิ้น"  "นี่ไม่ใช่สิ่งที่มนุษย์จักทำได้เลยนะ" "ข้าพเจ้าล้วนฟังแต่ฟ้าเบื้องบนทั้งสิ้น"  "ที่พูดนี้ล้วนเป็นพระโอวาทของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งสิ้น"  "คำเหล่านี้ล้วนเป็นพระดอวาทของพระอาจารย์จี้กงทั้งสิ้น"  พระโองการสวรรค์แห่งพระวิสุทธิอาจารย์นั้นวิเศษสุดคณนาจริง ๆ "  สิ่งศักดิ์สิทธิ์ได้กล่าวไว้ก่อนแล้วว่า ไม่นานธรรมะจะแพร่หลายไปทั่วโลก โดยมากจะอุบัติเป็นเพศหญิง บัดนี้ล้วนเป็นจริงทั้งสิ้น หากไม่เชื่อ พวกเธอก็ลองไปดู ๆ ยังทุกที่ก็ได้"...
     คำพูดในลักษณะนี้ล้วนมีปรากฏอย่างมิอาจยกมาได้หมด และที่ประเสริฐที่สุดก็คือ ในใจของท่านได้ตระหนักอยู่เสมอว่า "งานใหญ่แห่งสหัสโลกธาตุ มีพระแม่องค์ธรรมทรงเป็นประธาน" มนุษย์มิอาจกำหนดและก็มีเพียงเทพคนได้ร่วมกันเป็นหนึ่งใจ จึงจะสามารถเก็บงานขั้นสมบูรณ์และจึงจะถือว่าเป็นลิขิตของสวรรค์ได้  นอกจากการละลืมอัตตา และการเทิดคุณความดีให้แด่ฟ้าอยู่เสมออันเป็นมหาบารมีของท่านอยู่แล้ว สำหรับความสำนึกพระคุณ ความเคารพนบนอบที่มีต่อฟ้าเบื้องบนนั้นก็ถือว่าเป็นปัญญาอันสุขุมบารมีอันเกรียงไกรอย่างแท้จริง โดยท่านได้ตระหนักชัดซึ่งความจริงแห่งฟ้าและคนเดิมคือหนึ่งได้เป็นอย่างดี จึงเห็นได้ว่าท่านเหล่าเฉียนเหริน ได้มีทัศนคติที่มีต่อธรรมอันลึกซึ้งแยบคลายเป็นอย่างยิ่ง สำหรับท่านที่มีฐานะเป็นผู้นำแห่งธรรมแล้วจุดนี้ก็ถือว่าเป็นสิ่งอันสำคัญยิ่ง มิเช่นนั้นหากพลาดที่ต้นแม้เพียงนิดเดียวปลายจะพลาดผิดไปอย่างใหญ่หลวง ซึ่งที่สุดก็จะกลายเป็นเพียงคนตาบอดที่พาคนให้เดินหลงทางจนทำให้เป้าหมายของทุกคนต้องพลาดจากหนทางแห่งนิพพาน ส่งผลให้พลาดจากการตื่นแจ้งกลับคืนสู่มโนธรรมจิตพุทธะได้ หากเป็นเช่นนี้จะมิเป็นการน่าเสียดายและน่าเสียใจดอกหรือ
      ฉะนั้น ท่านเหล่าเฉียนเหริน จึงให้ความสำคัญต่อบทพระโอวาทเป็นอย่างยิ่ง พระโอวาทที่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ประทานให้ในแต่ละปี ที่ฝูซันก็จะทำการรวบรวม เข้าเล่ม หรือกระทั่งจัดทำเป็นชุดสะสมอย่างปราณีตบรรจง ดังนั้ ชุดพระโอวาท ปกรณ์คัมภีร์ และหนังสือต่าง ๆ ที่ได้ถูกเก็บสะสมในหอบรรณาคารก็มีจำนวนมากเป็นอันดับหนึ่ง และเมื่อใดที่ท่านว่าง ท่านก็มักจะน้อมอ่านและทำความเข้าใจในบทพระโอวาทอยู่เสมอ นั่นก็เพราะพระโอวาทนั้นเป็นข่าวสารที่ฟ้าเบื้องบนทรงประทานให้โดยพระโอวาทเหล่านี้ล้วนเป็นเครื่องชี้ทางอันอำไพที่จะนำพาปวงเวไนยฯให้บำเพ็ญกลับคืนสู่เบื้องบน ถ่ายทอดสัจธรรมอันยืนยงแห่งดินฟ้า และเป็นบันไดสวรรค์ที่จะนำพาสรรพสัตว์พ้นจากความลุ่มหลงสู่ความรู้แจ้งทั้งสิ้น
      ดังนั้นในการศึกษาธรรมะโดยทั่วไป ท่านจึงยังยืนกรานอย่างเด็ดเดี่ยวว่าจะต้องใช้พระโอวาทของสิ่งศักดิ์สิทธิ์เป็นเนื้อหา อย่างเช่นพระโอวาทพระอนุตตรธรรมมารดาสิบบัญญัติ สัตบถ (ทางที่ถูก) นำสู่มาตุภูมิ สายทองเส้นหนึ่ง บทธรรมวิวรณ์แห่งพระบรรพจารย์จินกง แจ้งจริงวิถีเซียน วิสัชนาธรรมไขกังขาต่าง ๆ ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนเป็นพระโอวาทที่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทรงประทานเพื่อเผยสัจธรรมแห่งจักรวาล และโฉมแท้แห่งฟ้าดินทั้งสิ้น ส่วนในด้านพุทธระเบียบ ท่านให้ยึดเฉพาะพุทธระเบียบเฉพาะกาลที่ท่านซือจุนทรงบัญญัติไว้เป็นสรณะ แต่เหตุใดจึงเป็นเช่นนี้ล่ะ แท้ที่จริงท่านเป็นผู้หนักแน่นและยึดมั่นในหลักการ เพราะท่านได้ตระหนักถึงปัญญาอันเมตตาของสิ่งศักดิ์สิทธิ์เป็นอย่างดีว่าทั้งหมดล้วนต้องเริ่มจากรากฐานเพื่อให้ทุกคนได้เข้าใจถึงข่าวสารอันจริงแท้ของจักรวาล แลให้รู้จักนำพาตนให้หลุดพ้นจากความทุกข์แห่งชีวิต และก็มีเพียงให้ทุก ๆ คน ได้หยั่งรากลึกสู่ปัญญาบารมีภายในเท่านั้น จึงทำให้รากฐานแข็งแกร่งและหยัดยืนในธรรมะได้อย่างมั่นคง จนที่สุดคือได้กลับคืนสู่เบื้องบน แลฉุดช่วยโลกหล้าได้อย่างแท้จริง แต่สำหรับความรู้สมัยใหม่แห่งวิทยาการตะวันตกหลายอย่างก็มักจะเลื่อนลอยไร้แก่นสาร อีกมิใช่เป็นศาสตร์แท้ที่ใช้ปลดปล่อยแก้ไขปัญหาชีวิต ยกระดับจิตวิญญาณแห่งมวลมนุษย์ นำพาชาวโลกสู่มหาวิถีแห่งนิพพานได้อย่างแท้จริง
หัวข้อ: ธรรมธาดาคู่โลกา ๑๐ : ปฏิปทาองค์สมเด็จพระกตธิการบรมอริยธรรมราชเจ้าผู้เฒ่าน้ำใส
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 27/11/2010, 05:40
        ดังนั้นความร้อนใจและความห่วงใยของท่านคือ เกรงเพียงแต่ว่าเราจะเดินผิดทางจนมิอาจกลับคืนสู่เบื้องบน มิอาจรู้ตื่นเพื่อหยั่งรากธรรม มิอาจถ่องแท้ในมหาวิถีแห่งนิพพานว่าโดยแท้จริงแล้วก็คือเพียง ตรงนี้ (หนึ่งจุดแห่งพระวิสุทธิ์อาจารย์)  ผู้บำเพ็ญธรรมนับแต่จำเนียรกาลเป็นต้นมา สามารถสำเร็จบรรลุได้ก็ด้วยเอกธรรมที่ตรงนี้ และด้วยท่านได้เห็นวัยรุ่นในสมัยนี้ต่างหลงใหลแต่ความสนุกสนาน ไขว่คว้าอยู่แต่เพียงลาถยศสรรเสริญจนมิอาจรู้ถึงความจริงแท้แห่งตน และเอาแต่เทิดทูนความรู้วิทยาศาสตร์สมัยใหม่ โดยไม่เข้าใจซึ่งพิทยาความรู้แต่โบราณที่มีมา ฉะนั้น ท่านจึงมิอาจอดใจและป่าวร้องอย่างเมตตาอยู่เสมอว่า "เปิดชั้นศึกษาธรรมอะไรกัน ! เอาแต่ตั้งหัวข้อประหลาด ๆ กันทั้งนั้น" หากคนที่ไม่เข้าใจก็มักจะเข้าใจว่าท่านเป็นคนอนุรักษ์นิยม ไม่ยอมเข้าใจเหตุผล คนหนุ่มคนสาวในสมัยนี้ไม่เหมือนคนในอดีตหรอก หากจะส่งเสริมโดยมิใช้กุศโลบายที่แปลกใหม่บ้าง ผู้คนจะเกิดความเบื่อหน่ายโดยง่าย
      แต่แท้จริงพวกเขาหารู้ไม่ว่า มโนธรรมสำนึกแลจิตธรรมแต่เดิมของทุกคนต่างมีอยู่พร้อม หากว่าได้รู้แจ้งถ่องแท้ในมหาธรรม แล้วนำซึมซาบกำจายสู่ห้วงหัวใจ นำเจียระไนชี้ทางอย่างชำนาญ ฉะนี้แล้ว พระโอวาททุกถ้อยคำของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ก็ล้วนเป็นสัจธรรมที่ประเสริฐสุด ทุกถ้อยกถาก็ล้วนเป็นเครื่องชี้ทางกลับรากเิดิมอันดีเลิศ ดังนั้น หากนำสิ่งเหล่านี้มาปลุกตื่นมโนธรรมแห่งปวงชนความจริงก็เพียงพออย่างเหลือล้นแล้ว และถ้ายิ่งบวกกับการนำปฏิบัติด้วยตัวเองอย่างกระตือรือร้น สำแดงธรรมด้วยตนเองอย่างตั้งอกตั้งใจ อีกทั้งประทับดวงกมลด้วยความศรัทธาจริงด้วยแล้ว ใจฟ้าก็จะประทับตรึงตรา มโนธรรมก็จะตื่นฟื้นคืนจากความหลงใหล หนึ่งจุดสว่างไสวอำไพ ในบัดดลนั้นก็คือพระพุทธา หากเป็นเช่นนี้แล้ว ไยยังต้องกังวลว่าจะมิอาจสำเร็จกลับคืนสู่เบื้องบนด้วยเล่าเพียงจิตหนึ่งนั้นบัดดลก็อยู่นิพพานแล ! สัจธรรมแห่งอนุตตรวิถีจักมีนอกเหนือไปจากนี้ได้ฤา
     วิธีการบำเพ็ญอันล้ำเลิศเรียบง่ายเช่นนี้ยังจะมีแบบอื่นใดเหนือกว่านี้ไหม ทั้งหมดนี้เป็นจักษุปัญญาอันแจ่มพินิจล่วงรู้ด้วยลึกซึ้งของท่านโดยแท้ โดยเฉพาะการผ่านความลำเค็ญในชีวิต จึงจะทำให้เข้าใจในความหมายของสัจธรรมแห่งชีวิตและยังผลให้เกิดความวิริยะในการบำเพ็ญ ออกฉุดช่วยผู้คนให้พ้นจากความทุกข์เข็ญ ให้ต่างตระหนักถึงความสำคัญของอริยภาพภายใน ศักดานุภาพภายนอก อันเป็นเอกธรรมแห่งการกลับคืนสู่เบื้องบน
     อนึ่ง วิธีการของท่านเหล่าเฉียนเหรินนั้นเป็นการเริ่มต้นทำจากรากฐาน ซึ่งเป็นวิธีการที่ทั้งถูกต้องแลเจิดจรัส นั่นเพราะฟ้าเป็นผู้ทรงปัญญาอย่างที่สุดเป็นผู้ทรงพระเมตตากรุณาอย่างยิ่งใหญ่ เป็นผู้ทรงถ่องแท้แจ้งชัดต่อทุกสิ่งอย่างยากมีผู้ใดเสมอเหมือน จึงมิไยต้องกล่าวถึงสุภาษิตโบราณที่กล่าวว่า"ตามฟ้าเกิด ขัดฟ้าม้วย" อีกแต่อย่างใดเลย
     ทุก ๆ คนมุ่งแต่ไขว่คว้าอยู่ในความสุข ความสมใจ โดยหาได้รู้ซึ่งสัจธรรมข้อนี้เลย ไม่ว่า ดั่งใจ ดั้งใจ คนต่างมีใจ เราก็มีใจ สอดคล้องใจเขา หาใช่ใจเรา สอดคล้องใจเรา หาใช่ใจเขา ใจเขาใจเรา หาใช่ใจฟ้า สอดคล้องใจฟ้า แน่นอน สมหวังดั่งใจ
     ทุกคนไม่เพียงแต่ไม่เข้าใจ หากยังไปผูกมัดตัวเองอย่างแน่นหนา จนที่สุดก็มีแต่กลวงโหว่ไร้แก่นสาร ลุ่มหลง มอมเมาจนต้องผูกตนติดอยู่กับกับดับของตนไปในที่สุด แต่สำหรับท่านเหล่าเฉียนเหรินนั้น ท่านเป็นธรรมธาดาที่ผสานเป็นหนึ่งเดียวกับเผ่นฟ้า ท่านได้ประจักษ์ถึงศาสตร์แท้เพียงหนึ่งเดียวในโลกนี้ดีว่า โดยแท้แล้วก็คือการผสานกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวระหว่างคนกับฟ้า ซึ่งเป็นวรปัญญาที่สูงสุดในสากลจักรวาล
หัวข้อ: ธรรมธาดาคู่โลกา ๑๑ : ปฏิปทาองค์สมเด็จพระกตธิการบรมอริยธรรมราชเจ้าผู้เฒ่าน้ำใส
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 28/11/2010, 12:45

     นอกจากนี้แล้ว จิตใจอันเคารพนบนอบต่อฟ้าของท่านก็สามารถประจักษ์เห็นได้จากสิ่งก่อสร้างที่ท่านออกแบบ ไม่ว่าจะเป็นเทียนเอวี๋ยนฝอเยวี่ยน หรือฝูซันหรงเยวี่ยน ก็มิมีสถานที่ใดที่มิใช่เมืองแมนแดนสวรรค์เลย ภายในอาคารมิเพียงได้ประดิษฐานบูชาพระแม่องค์ธรรม พระบรรพจารย์จินกง พระพุทธาจารย์เทียนหรัน พระอริยมาตาจงฮว๋า เท่านั้น หากชื่ออาคาร สวนสนามที่ท่านตั้ง ก็ล้วนบ่งบอกถึงความระลึกตรึกพระคุณฟ้าบารมีอาจารย์ทั้งสิ้น อย่างเช่น ที่ฝูซันก็มี ตำหนักเทียนเอวี๋ยน อนุสรณ์บรรพจารย์ ห้องสมุดศิลปวิทยาคารกวงหมิง ฯลฯ  ที่เทียนเอวี๋ยนฝอเยวี่ยนก็เป็นดังนี้คือ...ภายในนอกจากจะบูชาพระศรีอาริย์ พระพุทธบรรพจารย์เทียนหรัน พระโพธิสัตว์จันทรปัญญา ท่านยังได้ก่อสร้างอนุสรณ์ไตรอริยาแห่งยุคขาว และยังได้ก่อสร้างเจดีย์ตะวัน เจดีย์จันทรา ไว้สำหรับบรรจุพัตราภรณ์ของท่านซือจุน ซือหมู่  ส่วนที่พักของท่านก็ตั้งชื่อว่าตึกเทิดคุณ  อาคารกวงหมิงที่เพิ่งก่อสร้างแล้วเสร็จใหม่ ๆ ก็จะใช้เป็นสำหรับอนุสรณ์รำลึกพระบรรพจารย์ยุคขาว โดยเจตนาของท่านนั้นก็เพื่อให้ญาติธรรมที่ครั้นได้เข้าสู่เทียนเอวี๋ยนฝอเยวี่ยน ก็จะได้พระบารมีอาบทจากท่านซือจุน ซือหมู่ อีกทั้งให้พุทธรัศมีบริราชสาดแสงแก่หนทางอนาคตของลูกศิษย์ทุกคนให้สว่างเฉิดฉาย ตั้งแต่เริ่มต้น อีกทั้งให้เราได้มีโอกาสนบไหว้ใฝ่สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณแห่งพระอนุตตรธรรมมารดา พระพุทธบุพพจารย์ พระธรรมาจารย์ และ พระธรรมจาริณี ในวิหารอันสงบและศักดิ์สิทธิ์นี้ได้ตลอดไป แต่ก็มิใช่เพียงเท่านี้ เพราะอักษรคำว่า "ดื่นน้ำรู้ตรึกคุณต้นธาร" ตัวใหญ่ที่อยู่ทางฝั่งซ้ายของวิหารธรรมนั้น ก็เป็นประจักษ์แล้วของจิตสำนึกคุณที่ท่านมีต่อฟ้า และต่อท่านซือจุนซือหมู่ ได้เป็นอย่างดี และสำหรับคุณธรรมบารมีในด้านการสำนึกพระคุณของท่านนั้น ก็เป็นจริยวัตรที่เราควรจะถือเป็นแบบอย่างยิ่งนัก
      และในช่วงหลายสิบปีมานี้ ไม่ว่าท่านจะมีงานธรรมที่รัดตัวและเหนื่อยยากปานใด หลังจากท่านได้ท่องคัมภีร์หมิงเซิ่งจิงจบ ท่านก็จะถวายธูปเช้าโดยมิเคยละเว้นเลยในแต่ละวัน ในปีหมินกั๋วที่ ๗๓ (ค.ศ.๑๙๘๔) หลังจากทั่วทั้งไต้หวันได้เปิดชั้นขมาสำนึกบาปแล้ว ด้วยเหตุที่ท่านเหล่าเฉียนเหรินได้รับเคราะห์กรรมแทนเวไนย์ ในปีหมินกั๋วที่ ๗๕ (ค.ศ.๑๙๘๖) เดือน ๓ วันที่ ๒๐  ท่านเหล่าเฉียนเหรินได้หกล้มจนขาหักและต้องผ่าตัดดามเหล็กที่โรงพยาบาลฉางเกิง ๒ อาทิตย์ผ่านไป ท่านก็เริ่มกายภาพบำบัดอย่างขยันขันแข็ง และเมื่อท่านพอจะเริ่มคกเข่าได้ ท่านก็รีบคุกเข่าประณตบูชาธูปหอม และกราบกรานอยู่เบื้องพระแท่นพระแม่องค์ธรรมในทันที โดยมิได้ไยดีต่อความเจ็บปวดของบาดแผลแต่อย่างใด และเมื่อโฮ่วเสวียทุกคนได้เห็นซึ่งความจริงใจความเคารพนบนอบต่อฟ้าของท่านเช่นนี้ ก็ให้รู้สึกละอายใจเป็นยิ่งนัก
หัวข้อ: ธรรมธาดาคู่โลกา๑๒ : ปฏิปทาองค์สมเด็จพระกตธิการบรมอริยธรรมราชเจ้าผู้เฒ่าน้ำใส
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 28/11/2010, 13:41

      สำหรับจิตใจที่เคารพเทิดทูนต่อฟ้าของท่านดวงนี้ ก็มิเคยได้ว่างเว้นและมิเคยห่างหายเลยแม้แต่นิดเดียว อย่างเช่น เมื่อมีคนมาขอเรียนถามจากท่านว่า"ในวันที่ ๑ ขึ้น ๑๕ ค่ำ หรือ วันเฉลิมฉลองพระแม่องค์ธรรม วันสำคัญของสิ่งศักดิ์สิทธิ์นั้น จะมีญาติธรรมคนทำงานบางส่วนที่ไม่สะดวกในการถวายผลาหารในตอนเช้า มิทราบว่าจะเปลี่ยนเวลามาถวายในตอนเที่ยงคืนที่ย่ำวันใหม่ได้หรือไม่" ท่านเหล่าเฉียนเหรินก็ตอบว่า "อย่างนี้ใช้ได้ที่ไหนกัน ก็เหมือนกับคุณพ่อคุณแม่ที่เข้านอนแล้ว  พวกเจ้ายังจะปลุกให้ท่านทั้งสองขึ้นมาทานข้าวไหม" คำตอบอันเรียบง่ายอย่างนี้ ก็ไม่เพียงแต่เตือนให้สติให้รู้ถึงความหมายที่แท้จริงแห่งพุทธระเบียบเท่านั้น หากแต่ท่านยังได้แสดงออกซึ่งความเคารพนบนอบที่มีต่อฟ้าเบื้องบนออกมาอย่างหมดสิ้น
     และก็ด้วยความจริงใจที่พิศุทธิ์ที่มีต่อฟ้าดวงนี้ของท่าน หากมีงานสำคัญ ๆ ท่านก็มักจะเลือกมงคลฤกษ์ในวันรำลึกสิ่งศักดิ์สิทธิ์อยู่เสมอ อย่างเช่น วันประดิษฐานอนุสรณ์บรรพจารย์ของเทียนเอวี๋ยนฝอเยวี่ยน ท่านก็จะเลือกวันสำเร็จธรรมของท่านซือจุน ซึ่งตรงกับปีหมินกั๋วที่ ๗๙ (๕.ศ.๑๙๙๐) เดือน ๘ ขึ้น ๑๕ ค่ำ ส่วนวันบรรจุอาภรณ์ในอนุสรณ์เจดีย์ของท่านซือหมู่ ก็ย่อมเลือกวันประสูติของท่านซือหมู่ ในปีหมินกั๋ซที่ ๘๐ (ค.ศ.๑๙๙๑) เดือน ๘ วันที่ ๒๒ ตามจันทรคติ ส่วนวันประดิษฐานอนุสรณ์เจดีย์ตะว้นจันทรานั้น ก็เลือกลักคนาฤกษ์ในวันเฉลิมฉลองพระแม่องค์ธรรม ฤดูสารท ซึ่งตรงกับเดือน ๙ วันที่ ๑๕ ของปีเดียวกัน สาราณียกรรมต่าง ๆ เหล่านี้ นักธรรมอาวุโสทุกท่านล้วนสามารเห็นประจักษ์ได้ทั้งสิ้น
    และในส่วนงานเฉลิมฉลองพระแม่องค์ธรรม วันรำลึกจู่ซือ ซือจุน และ ซือหมู่ เหล่านี้ ท่านก็ยิ่งมีความระมัดระวังในการอภิวันท์สำนึกพระคุณและสำรวจตรวจตราว่าตนได้ผิดต่อฟ้าหรือไม่เคยขาด
    เราทุกคนต่างรู้สึกสำนึกในตัวท่าน ต่างประสงค์เรียนรู้เอาอย่างท่าน แต่ก็หาควรเอาอย่างเฉพาะอิริยาภายนอก หรือเอาอย่างเพียงแค่สาราณียวัตรภายนอกของท่านไม่ หากควรจะทำความเข้าใจ ในใจจริงแท้ของท่านและเอาอย่างห้วงชีวิตจิตใจของท่าน ฉะนี้ จึงจะถือเป็นการสืบสานเจตนารมณ์ของท่านให้โชติช่วงนิรันดรได้  เมื่อเราลองตรองดูว่า เหตุใดท่านเหล่าเฉียนเหรินจึงได้รับความโปรดปราน เอ็นดู และเกียรติภูมิจากเบื้องฟ้า จนได้รับการยกย่องเทิดทูนให้เป็นพระพุทธะเดินดิน ปรมาจารย์แห่งยุคสมัย ขงจื่อบนแดนดินไวโรจนอุดรดารา อริยเจ้าแห่งยุค หรือกระทั่งในชั้นขอขมาสำนึกบาป ในปีหมินกั๋วที่ ๗๓ (ค.ศ.๑๙๘๔) ๔ ค่ำ เดือน ๔ ท่านเทียนหรันซือจุนยังทรงประทานเป็นพระโอวาทตรัสชมท่านในบทโอวาทเปิ่นเอวี๋ยน (ต้นสายเดิม) ว่า หนึ่งสายโยงใยเทียนเอินถัง เสาหลักค้ำฟ้าแบกคลอนงาน ด้วยเพราะเบื้องฟ้า คือ ผู้ที่ทรงโรจนปัญญาที่สุด ซึ่งหากท่านเหล่าเฉียนเหรินมิได้มีใจจริงแลคุณธรรมบารมีจริงฉะนี้แล้ว ไยจึงสามารถเป็นถึงเพียงนี้ได้
     ฉะนี้ สำหรับสายสัมพันธ์อันแนบแน่นระหว่างฟ้าและคนของท่าน ก็เป็นแบบอย่างที่ดีที่สุดของศิษย์อนุตตรธรรม และเป็นสิ่งที่ผองเราควรจะศึกษาและนำพา เพราะอานุภาพแห่งมนุษย์นั้นมีจำกัด  หากพระเมตตาแห่งฟ้านั้นไร้ขอบเขตนั่นเอง ""มีคุณธรรมจักสื่อถึงฟ้า"" ""ผู้ตามเจตน์ฟ้าจักจำเริญ"" ดังนั้นตลอดชีวิตของท่านจึงได้ทุ่มเทสุดใจถวายฟ้าโดยไร้ซึ่งอัตตาตัวตน อีกยังหมั่นระลึำกในพระมหากรุณาธิคุณเบื้องบน และถวิลหาพระคุณอาจารย์อยู่มิเคยเลือน จนที่สุดได้ซาบซึ้งถึงดวงฤทัยแห่งฟ้า และได้กลายเป็นดาวเหนืออันแจ่มจรัสในท่ามกลางมหาจักรวาล ที่ได้สืบสานต่อจากตะวันจันทรา แห่ง ซือจุนซือหมู่ นั่นเอง
หัวข้อ: ธรรมธาดาคู่โลกา : พระคุณบุพการียิ่งใหญ่สุดพรรณา ชั่วชีวาถวิลหามิลาเลือน
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 28/11/2010, 15:29

       ท่านเหล่าเฉียนเหรินมีนามว่า เอินหรง  นามรองเจี๋ยชิง (เกียรติพิศุทธิ์) สมญานามว่า อวี่หลิน อีกนามว่า เจี๋ยชิง (สะอาดบริสุทธิ์) ในช่วงปัจฉิมวัยได้เรียกตนว่า "ผู้เฒ่าน้ำใส" อีกสมญาว่า "เจ้านิเวศตึกเทิดคุณ" ท่านเป็นคนมณฑลเหอเป่ย อำเภอเหนิงเหอ ตำบลพันจวง  ได้กำเนิดเมื่อปีศักราชชิงกวงซวี่ที่ ๒๗ เดือน ๓ วันที่ ๒๒ ตกฟากยามวอก
       สถานการณ์แผ่นดินในตอนนั้นกำลังวิกฤตอย่างหนัก เหล่ามหาอำนาจต่างคอยจ้องเขมือบดุจสัตว์ร้าย คิดแต่จะหาเรื่องระรานแผ่นดินจีนอยู่เนือง ๆ ดังนั้นจึงเป็นที่แค้นเคืองของชาวประชายิ่งนัก ต่อมาจึงได้เกิดเหตุการณ์เผาโบสถ์จากฝีมือของสมัชชาอี้เหอถวน ที่มีความเคียดแค้นชาวต่างชาติเป็นอย่างมากในปีค.ศ.๑๙๐๐ ซึ่งก็ส่งผลให้ ๘ ชาติพันธมิตรรวมกำลังพลบุกเข้าสู่เมืองหลวง จนทำให้สถานการณ์บ้านเมืองตกต่ำถึงขั้นระส่ำระสาย
       กระทั่งปี ค.ศ.๑๙๐๑  เดือน ๓ ทั้งแผ่นดินยังคงมีทหารต่างชาติเข้ารุกรานอยู่อย่างต่อเนื่อง จนทำให้ประชาราษฏร์ต่างอกสั่นขวัญแขวน ต้องคอยระวังระวัยตื่นตระหนกไปทั่วทุกหัวระแหง    ดังนั้น  หลังจากท่านเหล่าเฉียนเหรินเกิดได้เพียง ๑ วัน คุณแม่และคุณยายของท่าน จึงต้องอุ้มท่านหนีภัยไปหลบซ่อนในหมู่บ้านที่คุณตาอาศัยอยู่ โชคดีที่เบื้องบนทรงคุ้มครอง ในระหว่างการหนีภัยสงคราม ทั้งสามจึงมิได้เจ็บไข้ได้ป่วยแต่อย่างใด
      เวลานั้น คุณพ่อของท่านเหล่าเฉียนเหรินกำลังทำธุรกิจอยู่ที่เทียนจิน เวลากลับบ้านในแต่ละปี ก็ไม่สามารถอยู่เกินหนึ่งเดือนได้ ด้วยเหตุนี้  สองแม่ลูกจึงต้องอยู่ประจำที่บ้านของคุณตา จนกระทั่งท่านเหล่าเฉียนเหรินได้เจริญวัยจนครบ ๘ ขวบ ซึ่งเข้าสู่วัยเรียนแล้ว ท่านจึงได้ย้ายกลับมาพักที่หมู่บ้านพันจวงดังเดิม   ดังนั้นในระยะเวลาแห่งการเจริญเติบโต นับแต่วัยเด็กจนถึงวัยรุ่นของท่านนั้น ท่านได้รับการอบรมบ่มสอนจากคุณตา คุณยาย และคุณแม่มาอย่างลึกซึ้ง จึงได้ส่งอิทธิพลมาตลอดชีวิตของท่าน และก็เนื่องด้วยคุณตา คุณยาย และคุณแม่ต่างเป็นคนที่สมถะเรียบง่าย มึความมัธยัสถ์หมั่นเพียร มีศีลธรรมจรรยา มีอัธยาศัยไมตรีต่อเพื่อนบ้าน อีกมีการอบรมสั่งสอนอย่างเคร่งครัด  ดังนั้น  ท่านเหล่าเฉียนเหรินจึงได้ถูกปลูกฝังคุณธรรมจรรยามาแต่เยาว์วัย บวกกับคุณตา คุณยาย และคุณแม่ของท่านต่างสามารถปฏิบัติเป็นแบบอย่างให้เห็น และประสิทธิ์ประสาทวิชาแห่งอริยเมธีให้กระจ่าง โดยเฉพาะในด้านสัตถคัมภีร์โบราณด้วยแล้ว ก็ยิ่งได้รับการอบรมถ่ายทอดอยู่มิเคยขาด ด้วยเหตุนี้ท่านเหล่าเฉียนเหรินจึงถูกปลูกฝังให้เป็นคนที่ประหยัดมัธยัสถ์ รักเรียนใฝ่ศึกษา นำพาในงานสาธารณกุศลมาแต่ยังเยาว์ ซึ่งท่านก็ได้สืบสานมั่นคงในคำสอน มุ่งเจริญในมรรคาแห่งอริยเมธาเจ้า ตราบจนถึงปัจฉิมกาลของท่านมิเคยขาด ในสายธารแห่งวันเวลาหลายสิบปีนี้ คนที่อยู่ใกล้ชิดท่านก็จะรู้ดีว่า ท่านมักจะรำพันถึงคำสอนและความรักของคุณตาคุณยาย และคุณแม่เมื่อครั้งยังเยาว์วัยอยู่มิเคยขาด โดยในทุกห้วงแห่งความทรงจำนั้น ท่านก็ยังคงฝังจำรำลึกอยู่เสมอ จนบางครั้งถึงกับน้ำตาไหลริน และจากตรงนี้ก็ทำให้เราได้ประจักษ์เห็นถึงจิตใจอันกตัญญูของท่านได้จนหมดสิ้น
        และที่หาได้ยากยิ่งก็คือ ความกตัญญูของท่านยังสามารถธำรงคงไว้เช่นนี้มาตลอดหลายสิบปี โดยหาได้เลือนหายไปกับการเปลี่ยนแปลงแห่งกาลเวลาแม้แต่น้อยไม่  จากการที่ท่านยืนยันไม่ยอมจัดงานวันเกิดเลยแม้สักครั้งเดียว ก็เป็นหลักฐานที่สามารถพิสูจน์ได้เป็นอย่างดี ในประเพณีของชาวจีนโดยทั่วไป หากถึง ๖๐ ก็ถือว่าเป็นมงคล ซึ่งควรจะจัดงานฉลองวันเกิด แต่ท่านเหล่าเฉียนเหรินที่สิริอายุจนถึง ๙๐ กว่า ก็ยังมิยอมจัดงานฉลองวันเกิดเลยแม้สักครั้ง ทั้งนี้เพราะเหตุใดหรือ?
หัวข้อ: ธรรมธาดาคู่โลกา : ๑. พระคุณบุพการียิ่งใหญ่สุดพรรณา ชั่วชีวาถวิลหามิลาเลือน
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 29/11/2010, 04:01

  ท่านเหล่าเฉียนเหรินเคยกล่าวว่า "ในสมัยที่ท่านซือจุน ซือหมู่ ยังอยู่ ยังไม่เคยมีศัพท์คำว่าฉลองวันเกิดเลย และพระอาจารย์มักกล่าวอยู่เสมอว่า "ในวันเทศกาลและวันเกิดห้ามจัดพิธีฉลองอย่างเด็ดขาด" เพราะเหตุเมื่อคนเราสนุกสนานในวันเทศกาล ก็มักจะมีการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต จนทำให้สรรพสัตว์ต้องเดือดร้อนไปทั่วทุกหัวระแหง เราทุกคนต่างมีจิตเมตตามาแต่กำเนิด แล้วจะเข่นฆ่าล้างผลาญกันเช่นนี้ทำไม อีกอย่างคนโบราณก็มักกล่าวอยู่เสมอว่า "วันเกิดของลูก คือ วันทุกข์ของแม่" ในวันที่แม่ได้ให้กำเนิดเรา ท่านก็ต้องประสบภยันตรายเสมือนหนึ่งได้เข้าสู่ประตูผีปานนั้น ส่วนคุณพ่อก็ต้องคอยห่วงใยกระสับกระส่าย กระทั่งเราได้เกิดมาแล้วนั่นแหละ และไม่ว่าจะเป็นชายหรือหญิงขอเพียงแต่แม่ลูกปลอดภัย ทุกคนก็จะดีใจกันทั้งครอบครัว
     พวกเราลองคิด ๆ ดูถึงความทุกข์ยากลำบากของคุณพ่อคุณแม่ที่ต้องเลี้ยงดูเรา ในเมื่อเป็นเช่นนี้ เรายังจะสนุกสนานในวันเกิดได้ลงคอเชียวหรือ ในสมัยที่พระอาจารย์ยังอยู่ ทุกครั้งที่ถึงวันเกิดของท่าน ทุกคนจะมิกล้าเอ่ยถึงเรื่องวันเกิด  และมิกล้าผัดหมี่สั่วเพื่อฉลองวันเกิดให้ท่านแต่อย่างใด ที่ทุกคนพอจะทำได้ก็เพียงแค่กราบอวยพร ๓ กราบให้ท่านซือจุนเมื่อตอนถวายธูปเท่านั้น
    ในด้านหนึ่งนั้น ก็เพราะท่านเหล่าเฉียนเหรินสำนึกในพระทัยของพระอาจารย์ เคารพในโอวาทของพระอาจารย์ มีความจงรักภัคดีต่อพระอาจารย์ จนแม้นท่านจะจากไปแล้วก็มิได้ทำตัวแตกต่างจากเดิมแต่อย่างใด ส่วนในอีกด้านหนึ่งนั้น เพราะท่านเหล่าเฉียนเหรินได้รู้ซึ้งถึงความเจ็บปวดของมารดา ตระหนักในความเหนื่อยยากแห่งการเลี้ยงดูของมารดา โดยเฉพาะในวันที่มารดาให้กำเนิดท่านเสมือนหนึ่งได้ผ่านประตูผีมา ดุจผจญผ่านแดนนรก ด้วยจิตแห่งความกตัญญูกตเวทิตาของท่านเหล่าเฉียนเหรินนี้ ท่านเคยกล่าวไว้ดังนี้ว่า "ทุกครั้งที่นึกถึงตรงนี้ จิตใจก็มีความรู้สึกละอายและสำนึกในพระคุณของมารดาอยู่มิขาด เพราะในวันที่เราเกิด เราก็เกือบจำทำให้คุณแม่ต้องตาย แล้วเรายังจะมีอารมณ์จัดงานวันเกิดได้อีกหรือ
หัวข้อ: ธรรมธาดาคู่โลกา : ๒. พระคุณบุพการียิ่งใหญ่สุดพรรณา ชั่วชีวาถวิลหามิลาเลือน
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 29/11/2010, 04:48

       ดังนั้น ในวันที่ ๒๒ เดือน ๓ ของทุกปี ท่านเหล่าเฉียนเหรินจะกำชับให้นักธรรมที่อยู่ใกล้ชิดไปปิดประตูฝูซันตั้งแต่เช้าตรู่ และจากนั้นท่านก็จะเก็บตัวสำนึกในพระคุณ สำนึกในความผิดบาป และสำนึกในความรักของบิดามารดาในห้องอย่างเงียบงันแต่เพียงผู้เดียว
      ท่านไม่เพียงไม่มีใจที่ยึดติดในรสชาดอาหาร และความสนุกสนานในวันเกิดอย่างที่ชาวโลกทำกัน หากท่านยังมักสำนึกในพระคุณของบิดามารดา พระคุณของคุณตาคุณยายอย่างเงียบสงบ โดยท่านจะดื่มเพียงน้ำเปล่าและทานหมั่นโถเพียงลูกเดียวในวันเกิดของท่านเท่านั้น
     ด้วยเกียรติฐานะ กิตติคุณ ความสำเร็จ และมนุษย์สัมพันธ์ของท่านเหล่าเฉียนเหรินในอาณาจักรธรรมแล้ว การที่จะจัดงานวันเกิดก็หาใช่เรื่องยากไม่ แต่ด้วยเพราะท่านมีจิตกตัญญูอันผุดผ่อง มีความถวิลหามารดาอย่างอาลัย มีความกวดขันหมั่นเพียรอย่างเคร่งครัด ท่านจึงยึดมั่นในจริยวัตรโดยมิยอมแปรเปลี่ยนไปตามกระแสชาวโลกแต่อย่างใด หรือแม้แต่ท่านสิริอายุครบ ๙๐ ปี แล้วก็เช่นกัน ในปีนั้น เฉินเฉียนเหริน หรืออาวุโสอีกจำนวนหลายท่านได้ร่วมเดินทางไปอวยพรวันเกิดของท่านเหล่าเฉียนเหรินที่ฝูซัน แต่คาดไม่ถึงว่าเรื่องนี้กลับทำให้ท่านเหล่าเฉียนเหรินต้องโกรธ และปิดประตูห้องนั่งเสียใจว่า "ในวันทุกข์วันยากของแม่จะให้จัดงานฉลองวันเกิดได้อย่างไร" ในภายหลัง อาวุโสต่างช่วยกันอธิบายว่า "คนเราเกิดมาหายากนักที่จะมีอายุถึง ๙๐ ได้ จึงขอให้ท่านเหล่าเฉียนเหรินเมตตาให้โอกาสพวกเราได้จัดงานฉลองให้ด้วยเถิด"
     ด้วยเหตุที่ท่านเห็นทุกคนต่างมีความจริงใจ ท่านเหล่าเฉียนเหรินจึงเดินออกจากประตูห้อง แต่แล้วทุกคนต่างก็ต้องตกใจกันไปหมด เพราะท่านเหล่าเฉียนเหรินได้คุกเข่าโขกศรีษะขอบคุณน้ำใจทุกคนในทันทีที่เดินออกมา สำหรับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นฉับพลันเช่นนี้ ก็ทำให้ทุกคนต่างตกใจจนต้องรีบคุกเข่าสำนึกเสียใจ และมิกล้าทำเช่นนี้อีกต่อไป
     ปีหมินกั๋วที่ ๘๓  (ค.ศ.๑๙๙๔) เดือน ๓ วันที่ ๒๒ อันเป็นปีสุดท้ายของท่าน และก็เป็นวันเกิดสุดท้ายของท่าน ท่านก็ยังคงทำเหมือนเช่นอดีตคือ ท่านจะไม่รบกวนผู้อื่นและนั่งเขียนบันทึกอย่างเรียบง่ายและจริงใจว่า เดือน ๓ วันที่ ๒๒ วันนี้เป็นวันอัปยศของข้าพเจ้า เมื่อคิดถึงคุณแม่ที่ให้กำเนิดข้าพเจ้า เวลายามวอกที่ข้าพเจ้าได้ถือกำเนิดในวันนี้ คุณยายต้องคอยดูแลอย่างใกล้ชิด และตอนรุ่งสางของวันที่ ๒๓ ทุกคนจะต้องข้ามแม่น้ำและต่อรถหนีภัยไปยังหมู่บ้านของคุณตา เพราะ ๘ ประเทศพันธมิตรได้บุกโจมตีประเทศจีน ตอนนั้นจึงเต็มไปด้วยความชุลมุนวุ่นวาย ด้วยความรักความเอ็นดูของแม่ที่มีต่อลูก จึงทำให้ท่านต้องลำบากเพิ่มมากขึ้นเป็นเท่าทวี ท่านต้องคอยเลี้ยงดูฟูมฟักจนลูกเติบใหญ่ วันนี้เมื่อคิดถึงคราใดก็ให้รู้สึกปวดร้าวใจยิ่งนัก บัดนี้ลูกอยากเลี้ยงดูแต่ท่านก็จากไปเสียแล้ว ตอนนี้ข้าพเจ้าก็เป็นเหมือนไม้ที่ใกล้ฝั่ง ที่ทำได้ก็มีเพียงตั้งปณิธานและบรรลุในปณิธาน เพื่อทดแทนพระมหากรุณาธิคุณของแผ่นฟ้าพระบารมีแห่งพระอาจารย์ให้เต็มที่เท่านั้น ไฮ ! ไฮ !
หัวข้อ: ธรรมธาดาคู่โลกา : ๓ พระคุณบุพการียิ่งใหญ่สุดคณา ชั่วชีวาถวิลหามิลาเลือน
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 29/11/2010, 05:58

       เพียงหนึ่งบทบันทึกที่แสนสั้น ทว่าก็ได้พรรณนาถึงใจอันระลึกตรึกคุณของท่านเหล่าเฉียนเหรินออกมาจนหมดสิ้น ในช่วงเวลาอันเนิ่นนานถึง ๘๐-๙๐ ปีก็มิเคยได้ลบเลือนซึ่งความทรงจำและความอาลัยรักที่มีต่อมารดาของท่านเลยแม้แต่น้อย ด้วยวัย ๙๐ อย่างท่านเช่นนี้ ในยามที่ท่านได้ถวิลหาอาลัยต่อมารดาแล้ว ก็ยังคงมีความบริสุทธิ์ไร้เรียงสาที่ห่วงหาอาวรณ์อยู่มิขาดถึงเพียงนี้ได้ ดังนั้นในช่วงเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมา ขอเพียงท่านได้ทานอาหารที่เอร็ดอร่อย ท่านก็มักจะรำพันอย่างเสียใจอยู่เสมอว่า " ของอร่อยอย่างนี้ ตอนที่คุณแม่ยังอยู่ไม่เคยได้ทานเลย"  เมิ่งจื่อกล่าวว่า " มหากตัญญูนั้น ชั่วชีวีจักถวิลหาอาวรณ์บุพการี" และท่านเหล่าเฉียนเหรินก็สามารถทำเช่นนี้ได้จริง ๆ
      มาตรแม้นประเทศชาติจะมีภัย อีกความพลัดพรากต่าง ๆ จะสร้างความเจ็บปวดรวดร้าวให้แก่ท่านอย่างมากมายก็จริง แต่ความเด็ดเดี่ยวในปณิธานที่มุ่งมาดแทนพระคุณฟ้าบารมีอาจารย์ของท่านเช่นนี้ ก็เป็นเพราะความปรารถนาอย่างแรงกล้าในความกตัญญูที่มุ่งครองตนมั่น และเจริญในธรรม ประกาศเกียรติศักดิ์สู่ชนรุ่นหลัง เพื่อเป็นเกียรติคุณแห่งบิดามารดรด้วยเช่นนี้ ท่านจึงมุ่งมั่นหาญทะยานตนให้เป็นมหาบุรุษสำเร็จในมหากิจ เพื่อเป็นการทดแทนพระคุณฟ้า ตอบแทนพระคุณบิดามารดา ตราบจนสิ้นอายุขัยนั่นแล้วจะถือว่าไม่เสียชาติเกิดนั่นเอง
     นอกจากความอาลัยรักที่มีต่อมารดาอย่างประมาณมิได้แล้ว ท่านยังมีใจที่เคารพรักต่อบิดาอย่างมากมาย แม้ว่าท่านทั้งสองจะมีเวลาที่อยู่ด้วยกันน้อยมากก็ตาม แต่จิตรู้คุณแห่งบุตรกตัญญูอย่างท่านนี้ ก็มิได้มีความแตกต่างผันแปรไปเป็นอื่นเลย
     ในปีหมินกั๋วที่ ๓๖ (ค.ศ.๑๙๔๗) เดือน ๘ วันที่ ๑๕ อันเป็นวันที่ท่านซือจุนได้สำเร็จธรรม ท่านเหล่าเฉียนเหรินพร้อมด้วยเต้าจั่ง (ธรรมปรินายก)และเฉียนเหรินจำนวนหนึ่ง ได้ร่วมเดินทางไปจัดพิธีศพให้ท่านซือจุนที่หังโจว หลังจากเสร็จสิ้นพิธีก็เดินทางกลับเทียนจินในกลางเดือน ๑๐  แต่คาดไม่ถึงว่าบิดาของท่านได้ถึงแก่กรรมตั้งแต่วันที่ ๑๓ เดือน ๙ เสียแล้ว และครั้นท่านเหล่าเฉียนเหรินได้ทราบข่าว ท่านก็มีความโทมนัสเสียใจอย่างที่สุด และได้เขียนบันทึกอย่างสุดเศร้าเสียใจดังนี้ว่า "มิได้อยู่ดูใจครั้งสุดท้าย คือ เรื่องสุดเสียใจชั่วชีวี พ่อแก้วแม่แก้วจากไปลับแล้ว ในฟ้าดินนี้ได้ลาคลาดแคล้ว แม้นแว่วถามก็สิ้นทาง" ด้วยความเจ็บปวดรวดร้าวที่ได้สูญเสียบิดาผู้บังเกิดเกล้าเช่นนี้ หากมิได้ประสบด้วยตน ก็มิอาจที่จะรับรู้ซึ่งความระทมทุกข์ได้อย่างแน่นอน    พ่อนั้นแลให้กำเนิด
         แม่นั้นแลฟูมฟักชูเชิด
         แม้ดวงใจอยากทูนเทิด
         ก็หาเกิดโอกาสมี
         ความรักแสนลึกซึ้ง
         ตรึงดวงจิตชั่วชีวี
         บุตรกตัญญูอย่างท่านนี้
         ยิ่งไม่มีทางลืมเลือน
     
      ในปีหมินกั๋วที่ ๗๖ (ค.ศ.๑๙๘๗) เดือน ๕ วันที่ ๑๕ อันเป็นวันที่ท่านเหล่าเฉียนเหริน ได้เดินทางไปพบบุตรหลานที่ไม่ได้พบหน้ากันมามากกว่า ๔๐ ปีที่ฮ่องกงเป็นครั้งแรก ครั้งนั้นท่านได้ข่าวว่าสุสานบรรพชนได้ถูกดันจนราบเรียบ อีกป้ายบรรพชนได้ถูกทำลายจนหมดสิ้น ท่านมีความเศร้าโศกเสียใจและคอยห่วงใยในเรื่องนี้อยู่มิขาด และทุกครั้งที่ท่านคิดถึงตัวเองที่ต้องจากลาบ้านเกิดจนมิอาจทำหน้าที่แห่งบุตรที่ควรทำได้แล้ว ก็ทำให้ท่านรู้สึกเศร้าโศกจาบัลย์จนน้ำตาคลอเบ้าอยู่เสมอ ดังนั้นท่านจึงตัดสินใจทุ่มเทสุดความสามารถและวิริยะพากเพียรต่อไป
      ในปีหมินกั๋วที่ ๗๘ (ค.ศ.๑๙๘๙) แม้นในตอนนั้นท่านเหล่าเฉียนเหรินจะสิริอายุสูงถึง ๘๙ ปีแล้วก็ตาม แต่ท่านก็ยังคงออกเดินทางไกลโดยมิได้ระย่อต่อหนทางอันทุรกันดาร ทั้งนี้ก็เพื่อจัดการเรื่องสุสานบรรพชนของท่านโดยเฉพาะ แม้นว่าการกลับไปในครั้งนี้ ผู้คนบ้านช่องและตำแหน่งที่ตั้งสุสานจะเปลี่ยนไปจนมิอาจบรรลุในความตั้งใจที่มุ่งหวังไว้ก็ตาม แต่ด้วยจิตกตัญญูที่ไม่เคยเหือดหายไปไหนดวงนี้ ก็ได้ฝังรากหยั่งลึกสู่ห้วงดวงใจของท่านจนมิอาจสั่นคลอนได้ หลังจากท่านได้เดินทางกลับมาแล้ว ท่านได้บันทึกเรื่องราวการเดินทางของท่านโดยสังเขป ซึ่งก็มีอยู่บางประโยคที่ท่านได้ระบายความรู้สึกออกมาอย่างปวดร้าวเมื่อได้รู้ว่ามิอาจบรรลุความตั้งใจดังหมายเช่นนี้ว่า "ได้แต่กล้ำกลืนความปวดร้าว เมื่อเรื่องราวมิได้สมใจหมาย ได้แต่กลืนน้ำตาลงทรวงใน" เป็นต้น...    โลกหล้าแตกแยกเลือนหาย
                     จิตรักใจหมายยากสมหวัง
                     เก้าสิบน้ำตาไหลหลั่ง
                     ประดังถั่งโถมน่าเศร้าใจ
    ไม่ว่ากาลเวลาจะผันผ่านไปเช่นไร ก็มิอาจจะพัดพาจิตคะนึงหาด้วยความกตัญญุตาอันนิจนิรันดร์ของท่าน ให้เลือนหายตามไปด้วยได้     
หัวข้อ: ธรรมธาดาคู่โลกา : มหาปัญญา มหาวีระ มหากตัญญุตา มหาใจภักดิ์
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 30/11/2010, 01:08

        ใจภักดีกตัญญูของท่านเหล่าเฉียนเหรินที่มีต่อพระแม่องค์ธรรม จู่ซือ ซือจุน ซือหมู่ นั้นในบทก่อน ๆ ก้ได้เกริ่นนำบ้างพอสมควร ซึ่งสำหรับมหาบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ท่านหนึ่งนั้น จักต้องมีบุคลิกภาพและทัศนะความคิดอันยิ่งใหญ่เป็นแน่ แม้นว่าจะเป็นเรื่องเล็ก ๆน้อย ๆ  ก็ยังสามารถบำเพ็ญได้อย่างสุขุมคัมภีรภาพ โดยมิได้ปล่อยให้ห้วงคิดอันไม่ดีได้เล็ดรอดออกไปเลยแม้แต่น้อย  อีกยังสามารถดำรงเอกลักษณ์อันประเสริฐงดงาม จนได้เป็นแบบอย่างที่มั่นคงตราบนิรันดร์กาล และท่านเหล่าเฉียนเหรินของเราก้เป็นเช่นนี้ ดังนั้นจึงขอยกตัวอย่างคุณธรรมของท่านเหล่าเฉียนเหริน เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้ใคร่ครวญศึกษา
       หลังจากเทียนเอวี๋ยนฝอเยวี่ยนสร้างเสร็จ ทางด้านเรือนรับรองฝั่งซ้ายก็ได้ตกแต่งห้องพักรับรองไว้ให้ท่านเหล่าเฉียนเหรินอย่างวิจิตร ซึ่งเป็นห้องชุดที่สามารถรับรองอาคันตุกะได้อย่างสบาย หลังจากที่ได้ทำพิธีเปิดสถานธรรมแล้ว อาวุโสก็ได้เชิญท่านเหล่าเฉียนเหรินเข้าพักที่นั่น แต่ใครจะทราบว่า ท่านไม่เพียงแต่มิได้ยินดีเท่านั้น หากท่านยังปฏิเสธอย่างหนักแน่นว่า "ในอดีต เมื่อครั้งที่ท่านซือจุน ซือหมู่ ยังมีชีวิตอยู่ ท่านยังไม่เคยพักในที่สวยงามขนาดนี้เลย แล้วจะให้ศิษย์อย่างเราทำใจอยู่อย่างสุขสบายในที่นี้ได้อย่างไร"
      สำหรับใจที่เลิศด้วยคุณธรรม หาใช่สิ่งที่จะเข้าถึงได้ด้วยใจสามัญของคนธรรมดาเช่นเราได้ และนับแต่นั้นตราบจนตลอดอายุขัยของท่าน ทุกครั้งที่ท่านไปที่เทียนเอวี๋ยนฝอเยวี่ยน ก็หาได้เคยเข้าพักที่ห้องรับรองนั้นแม้แต่ครั้งเดียว ท่านจะพักอยู่แต่ในห้องพักที่ตบแต่งอย่างเรียบง่ายในตึกเทิดคุณเท่านั้น  ครั้นโฮว่เสวียทุก ๆ คนได้รับรู้เรื่องนี้ ก็ไม่มีใครเลยที่จะไม่รู้สึกละอายใจและซาบซึ้งใจเป็นล้นพ้น เพราะใจที่โลภในความสุขสบายอย่างพวกเรานั้น คงมิอาจจะบำเพ็ญให้สุขุมลุ่มลึกจนไร้มิจฉาดำริเล็ดลอดในห้วงความคิดเช่นท่านได้ และที่น่านับถือยิ่งอีกประการหนึ่งก็คือ มหาภักดีจิตของท่านที่มีต่อท่านซือจุนซือหมู่ก็มีความหนักแน่นดุจเขาไท่ซัน เที่ยงตรงดุจดาวเหนือ ที่มิอาจจะสั่นคลอนอย่างแน่นอน
      ท่านไม่เพียงแต่มีใจจงรักภักดีต่อท่านซือจุนซือหมู่เท่านั้น หากยังมีจิตใจที่ห่วงใยอาทรต่ออนุชนของท่านซือจุนอีกด้วย ในอดีต หลังจากท่านเหล่าเฉียนเหริน ได้ให้คนช่วยสืบข่าวทายาทของท่านซือจุนมาเป็นเวลานาน จนได้ทราบเบาะแสในที่สุดแล้วนั้น ความรู้สึกเสณ้าสลดระคนความดีใจที่ปรากฏบนใบหน้าของท่าน ก็ประหนึ่งว่าท่านซือจุนยังมีชีวิตอยู่ สิ่งนี้ก็เป็นความรู้สึกที่เรามิอาจจะพรรณาให้ชัดเจนได้เลย
หัวข้อ: ธรรมธาดาคู่โลกา : ๑. มหาปัญญา มหาวีระ มหากตัญญุตา มหาใจภักดิ์
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 30/11/2010, 01:38

          และหลังจากนั้น ท่านก็ได้อาศัยเหตุปัจจัยต่าง ๆมาปฏิบัติต่อทายาทของท่านซือจุนอย่างไม่ขาดตกบกพร่อง เมื่อหลายปีก่อนอาวุโสจำนวนหนึ่งได้เข้าคารวะท่านเหล่าเฉียนเหริน เพื่อรายงานความคืบหน้าของงานธรรม ครั้งนั้น ท่านเหล่าเฉียนเหรินได้เมตตาให้ทุกคน อยู่รับประทานอาหารกลางวัน หลังจากรับประทานอาหารเสร็จ ท่านก็พูดทำนองเหมือนทราบว่าเหลือเวลาอีกไม่นาน ท่านได้เปรยถึงเรื่องทายาทของท่านซือจุนอยู่หลายครั้ง ซึ่งเหมือนกับกำลังบอกให้ทุกคน ต้องคอยดูแลทายาทของท่านซือจุนให้มาก ๆ เพื่อเป็นการปลอบประโลมฤทัย และตอบแทนพระคุณอันยิ่งใหญ่ไพศาลของท่านซือจุน ณ แดนเบื้องบนนั่นเอง
       โอ้ ! อันจิตใจของอริยชนนั้น ก็ประภัสร์ดุจตะวันจันทราที่จะสาดแสงโดยไร้ความลำเอียง จนทุกแห่งหนล้วนเปล่งประกายด้วยบารมีคุณอันยิ่งใหญ่อย่างมิอาจอำพราง นับแต่อดีตเป็นต้นมา คุณธรรมด้านมหาภักดีและมหากตัญญูก้ประสานเป็นหนึ่งเดียวอย่างมิอาจแบ่งแยกเสมอมา ขุนนางผู้ภักดีล้วนเป็นบุตรกตัญญูแห่งบุพการี ผู้มีธรรมย่อมมีความรักความเมตตาอันไพศาลไร้ซึ่งคงามเห็นแก่ตัว สำหรับจิตใจของท่านเหล่าเฉียนเหรินที่มีแต่มุ่งทดแทนคุณอยู่ทุกขณะเวลาเช่นนี้ ก็เพราะท่านได้ตระหนักเป็นอย่างดีว่า การปรกโปรดสามโลกไม่เคยมีปรากฏมาแต่อดีต ซึ่งเป็นวาระสุดท้ายในปลายยุค ดังนั้น ผู้ทรงมหาเมตตา มหาปัญญา จึงพึงเร่งปฏิบัติซึ่งมหากตัญญู  ฉะนี้ ไม่เพียงจะสามารถฉุดช่วยบรรพชนลูกหลานของตนให้พ้นจากสังสารวัฏได้เท่านั้น หากยังสามารถโปรดพ่อแม่แห่งปวงชนได้อีกนับพันนับหมื่น ให้พ้นจากห้วงเหวได้อีกด้วย สำหรับเหตุปัจจัยอันแสนวิเศษในวาระนี้ก็เป็นวาระที่ประสบหาพบได้ยากยิ่ง ดังนั้นท่านจึงมุ่งเจริญมหาภักดี มหากตัญญู ด้วยจิตเมตตาแห่งพุทธาโดยแท้จริง
หัวข้อ: ธรรมธาดาคู่โลกา : ๒ มหาปัญญา มหาวีระ มหากตัญญู มหาใจภักดิ์
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 30/11/2010, 02:46

         พระทีปังกรพระพุทธเจ้าตรัสว่า "เรามีมหาธรรม อินหยางอยู่ในกรหมื่นมณีเกิดกายา ดำรงอยู่คู่โลกาเป็นวัชระที่มิเสื่อมสลาย.....โดยเฉพาะกตัญญูเป็นต้นสายแห่งสรรพปฏิปทา ผองเราผู้บำเพ็ญ จึงถือกตัญญูเป็นสำคัญ และในความกตัญญูนี้ก็พึงรู้ซึ้งซึ่งความใหญ่ ความกว้าง ความหนัก และความไกล ผองเรานับแต่ได้แยกย้ายที่คิชกูฏบรรพตเป็นต้น ก็ลอยล่องวนเวียนอยู่ท่ามกลางสาคร เกิดแล้วตาย ตายแล้วเกิด เกิด ๆ ตาย ๆ ตาย ๆ เกิด ๆ กองกระดูกสุมกองดุจภูเขา นมมารดาที่ดูดดื่มก็ประดุจมหาสาครอันว่ายามอยู่ อันว่ายามวาย และอันว่าบรรพต ๗ ชั้น ลูกหลาน ๙ ชั้วคนนั้น ยังถือเป็นการกล่าวในขอบเขตที่ยังแคบยิ่งนัก แต่สำหรับพระโพธิสัตว์มาตรว่าจะเป็นเพียงแค่มดแมลง พระองค์ก็จะทรงถือว่าเคยได้เป็นบุพการีมาในชาติอดีต และก็จะทรงถือว่าเป็นพระพุทธาในอนาคตเบื้องหน้า
         ดังนั้นหากเป็นสัตว์โลกที่นอกเหนือจากขอบเขตของมดแมลงแล้ว ท่านคิดว่าิจิตใจแห่งพระโพธิสัตว์จะเป็นอย่างไร  และพึงทำอย่างไรจึงจะถือว่าเป็นการกตัญญูก็มีเพียงเจริญในพุทธมรรคเป็นเนืองนิจ ชั่วร้อยกัปพันชาติออกโปรดเวไนยสัตว์ทั้งทศทิศสามกาล เพื่อหนุนส่งปวงพระพุทธาให้บรรลุในมหาปณิธานตราบจนมรรคผลพูนพร้อมเพื่อให้โลกาได้แปรเปลี่ยนเป็นแดนบัวบานโดยมิได้กำจัดอยู่เพียงให้บุพการีในชาติหนึ่งชาติใดให้พ้นเวียนว่ายเท่านั้น หากคือบุพการีในทุกภพทุกชาติ และไม่เพียงแต่มิให้บุพการีของตนต้องหมุนวนจมปลักเท่านั้น หากคือ บุพการีแห่งผองชนอันไร้ขอบเขตได้ขึ้นสู่แดนวิมานจนหมดสิ้นอีกด้วย และหากเป็นฉะนี้ได้ จึงจะถือว่าเป็นความกตัญญูที่ใหญ่ กว้าง หนัก และไกล แล แต่หากลำพังถือการเลี้ยงดูด้านโภชนาอาภรณ์ในยามท่านอยู่ว่าเป็นกตัญญูแล้วไซร์ ความแตกต่างจะมีมากเป็นไฉน และสำหรับผู้ที่คิดว่าการสืบสายทายาทเป็นความกตัญญูนั้น ก็มิไยต้องกล่าวถึงอีกเลย
        ท่านเหล่าเฉียนเหรินจะมีความแจ่มแจ้งในหลักธรรมอย่างสุขุม อีกยังตระหนักถึงภาระกิจที่ฟ้าทรงประทานให้เป็นสำคัญ ทั้งเห็นชัดว่าสรรพสิ่งที่ปรากฏบนโลกเหมือนภาพลวงตาที่เกิดขึ้นเพียงชั่วขณะ มิอาจอยู่ยืนนาน ดังนั้นท่านจึงมุ่งมั่นบำเพ็ญปฏิบัติธรรม ตั้งปณิธานและบรรลุในปณิธาน เพื่อเป็นการทดแทนพระคุณและเจริญในความกตัญญูจนถึงที่สุดให้จงได้ สมดั่งพระโอวาทของพระแม่องค์ธรรมที่ตรัสว่า "บำเพ็ญธรรมจริงแท้ในโลกา ทั้งครัวเรือนสิริศรีสุดคณา ที่สุดได้เปรมปรีด์กลับเบื้องบนกันถ้วนหน้า"
        ดังนั้น ท่านจึงมักให้กำลังใจแก่ทุกคนว่าจะต้องมองให้ไกล ต้องบำเพ็ญจริง ปฏิบัติแท้ ต้องรักษาบุญวาระ เพื่อเป็นการทดแทนพระคุณฟ้าและพระคุณแห่งบุพการีให้จงได้ ทั้งนี้ ท่านยังปฏิบัติตนให้เป็นแบบอย่าง ท่านได้เปี่ยมล้นด้วยมหาปัญญา มหาวีระ มหาภักดี มหากตัญญู และได้ปฏิญาณว่า จะต้านภัยกู้โลก ไร้เริ่มไร้สุด เพื่อเป็นการฉุดช่วยชาวประชาให้หมดสิ้น ท่านเคยกล่าวว่า "พวกเธอต่างคิดจะกลับแต่เบื้องบน แต่เรากลับยังอยากจะลงมาบนโลกมนุษย์อีก ตราบจนได้ช่วยเวไนยสัตว์คนสุดท้ายจนสิ้นแล้ว เราจึงค่อยกลับขึ้นไป"
หัวข้อ: ธรรมธาดาคู่โลกา : ๓ มหาปัญญา มหาวีระ มหากตัญญู มหาใจภักดิ์
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 1/12/2010, 06:32

        ดังนั้นภายในชีวิตประจำวัน หรือภายในชั้นเรียนประชุมธรรม ท่านก็มักจะรณรงค์เรื่องกตัญญูอยู่เสมอ โดยท่านมักจะส่งเสริมให้ทุกคนเร่งเจริญกตัญญูต่อบิดามารดา อีกทั้งเร่งภาคเพียรในการปฏิบัติธรรม รีบรักษาโอกาสที่มีอยู่ เพื่อจะได้มิต้องมาเสียใจในภายภาคหน้า  สำหรับผลงานการประพันธ์ในตลอดชีวิตของท่าน ไม่ว่าจะเป็นคติพจน์ของผู้เฒ่าน้ำใส  เกร็ดบันทึกอวี่หลิน  ประชุมคติพจน์  คัมภีร์ร้อยกตัญญูของผู้เฒ่าน้ำใส ต่าง ๆ เหล่านี้ ก็ล้วนได้ยกกตัญญุตาธรรมเป็นที่ตั้งทั้งสิ้น และการที่ท่านได้เผยแผ่กตัญญุตาธรรม อบรมให้ผู้คนได้ตั้งตนอยู่ในกตัญญุตาธรรมเหล่านี้ โดยส่วนตัวท่านเองก็พากเพียรในกตัญญุตาธรรม และทุ่มเทชีวิตจิตใจต่อการปฏิบัติบำเพ็ญธรรม ออกฉุดช่วยเหล่าผู้มีบุญสัมพันธ์ เพื่อเจริญในมหากตัญญู มหาภักดี โดยในทุกห้วงชีวีล้วนตั้งมั้นอยู่อย่างนี้ด้วยใจอันพิศุทธิ์ และหมายมั่นปฏิบัติอย่างไม่เคยเหนื่อยหน่ายย่อท้อ ผู้ที่มีใจภักดิ์ที่ยิ่งใหญ่และผู้ที่ทรงความกตัญญูที่ยิ่งใหญ่นั้นก็เป็นเฉกเช่นนี้แล
       สำหรับท่านพอที่จะรู้จักท่านเหล่าเฉียนเหรินก็จะรู้ว่า ท่านเหล่าเฉียนเหรินเป็นผู้ที่มีความจำเหนือคนธรรมดา ท่านมีความสามารถในทุก ๆ ด้าน หลายสิ่งหลายอย่างเพียงแค่ได้ผ่านสายตา ท่านก็สามารถจดจำและเข้าใจในความหมายได้อย่างแม่นยำ ฟังเพียงครั้งเดียว ก็ไม่สามารถลืมเลือนไปตลอดชีวิต ครั้นท่านได้ปฏิบัติในภาระกิจน้อยใหญ่ ก็ยิ่งมีความคล่องแคล่วแม่นยำ มีสติปัญญาเฉียบแหลมเหนือคนธรรมดา อีกยังมีทั้งพระเดชพระคุณอย่างพรักพร้อม จนเป็นที่เคารพยำเกรงของคนทั่วไป ซึ่งในทุก ๆรายละเอียดก็ล้วนแสดงออกซึ่งอัจฉริยภาพแห่งการเป็นผู้นำโดยแท้ หลายคนล้วนรู้สึกชื่นชมในความสามารถเหล่านี้ของท่าน แต่ความสำเร็จในด้านการนำพาอาณาจักธรรมจนเป็นที่เคารพนับถือของผู้คนนั้น ก็หาได้อยู่ที่อัจฉริยภาพของท่านแต่อย่างใดไม่ หากแต่อยู่ที่เกียรติภูมิศักดิ์ศรี อยู่ที่คุณธรรมบารมีอันยิ่งใหญ่ที่สามารถค้ำจุนดินฟ้านั่นต่างหาก
     นอกจากคุณธรรมอันงดงามด้านมหาภักดี มหากตัญญูที่ได้เอ่ยถึงในเบื้องต้นนี้แล้ว ในช่วงการทดสอบหลายสิบปีืัที่่ผ่านมา อันมหาปัญญามหาเมตตาที่ท่านได้แสดงออก อีกมหาบารมีที่เหล่าชนสามัญมิอาจจะทำได้ง่ายของท่านนั้น ก็เป็นประหนึ่งปฏิปทาที่ภักดีบริสุทธิ์ดุจตะวันจันทรา เกียรติศักดาคู่ฟ้าดินยืนยง ของท่านจอมเทพกวนอู ที่ได้บรรสานกลมกลืนคู้ฟ้าดิน เป็นสดมภ์ที่ค้ำชูอยู่ใต้นภา และเป็นชายชาติวีระที่ยืนสง่าอยู่ท่ามกลางกระแสธารแห่งกลียุคนี้นั้นเอง  อย่างเมื่อครั้งที่ท่านได้รับความเมตตาจนหายจากวัณโรคระยะ ๓ อีกยังสามารถแคล้วคลาดจากโจรผู้ร้าย ที่จะจับตัวท่านเรียกค่าไถ่ในอดีตนั้นก็ได้ทำให้ท่านทุ่มเทสุดใจเพื่อทดแทนพระคุณ ชำระปณิธาน อุทิศตนเพื่องานธรรม จิตใจหมายมั่นเพื่อช่วยชาวโลกเสมอมา ด้วยที่ว่าปฏิปทาสละเป็นสละ ด้วยปฏิปทาอันมุ่งมั่นที่ท่านได้ถือครองมาตลอดชีวิตของท่านเช่นนี้ ไหนเลยที่คนสามัญอย่างเราจะสามารถกระทำได้ หากมิใช่เพราะท่านมีรากบุญอันลุ่มลึก มีสติปัญญาอันยิ่งใหญ่ มีกำลังใจอันกล้าแกร่งที่สามารถตระหนักดีถึงวาระการโปรด ๓ โลก อีกสามารถกระจ่างเข้าใจว่า "โลกีย์แสงสี คือ ภาพลวง พริบตาเลยล่วงเพียงหมอกควัน ร้อยปีผันผ่านเพียงภาพฝัน อวสานจบสิ้นแค่อนิจจัง" แล้ว ไหนเลยจะสามารถตัดวางและอุทิศเสียสละมาตลอดชีวิตของท่านถึงเพียงนี้ ด้วยเพราะประการนี้ เบื้องบนจึงทรงประทานการทดสอบอย่างใหญ่หลวง ด้วยเพราะท่านเป็นสดมภ์เอกนั่นเอง พึงรู้ว่า "ธรรมจริงสอบจริงยากเปลี่ยนแต่นานมา โหดร้ายมาทั้งสอบความรู้สึกวัดรากฐาน" ครั้นฟ้าจะประทานงานใหญ่ให้แก่ผู้ใด ก็จักต้องให้จิตใจได้เคี่ยวกรำ ร่างกายได้ทรมาน สังขารได้อดอยาก เนื้อตัวได้จนยาก และการกระทำได้ถูกก่อกวนเสียก่อน ฉะนั้นจึงต้องอดทนอดกลั้น เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในส่วนที่ไม่เคยมีมาก่อนฉะนั้น นับแต่รับธรรมะเป็นต้นมา ท่านเหล่าเฉียนเหรินจึงต้องประสบกับมารผจญความทุกข์ยาก จนแทบจะไม่เคยว่างเว้นในตลอดชีวิตของท่าน แต่ก็ยังโชคดีที่ท่านมีมหาปัญญามหาวีระ ซึ่งท่านได้เข้าใจอยู่ก่อนแล้วว่า ฟ้าเบื้องบนทรงมหาเมตตามหาการุณย์ และทรงห่วงใยในทุกข์สุขของเวไนยสัตว์อยู่มิเลือน ดังคำที่ว่า "ที่กดเรานั้น ก็ด้วยเพราะจะให้เราได้เติบใหญ่ ที่ขวางเรานั้นก็ด้วยเพราะจะให้เราได้สำเร็จ ที่ร้ายต่อเรานั้น ก็ด้วยเพราะจะให้เราได้ดี ที่ให้ชีพสิ้นในครานั้น ก็ด้วยเพราะจะให้เราได้เกิดความนิรันดร์ จึงมิไยต้องกล่าวถึงพระโอวาท ที่พระอาจารย์เคยทรงเมตตาว่า "ฟ้าดับโชคเรา เราก็จะเจริญธรรมเพื่อให้โชคได้จำเริญ ฟ้าตัดบูญเรา เราก็จะสร้างสมคุณธรรมเพื่อให้บุญได้เข้าหา ฟ้าเคี่ยวกรำสถานะเรา เราก็จะบำเพ็ญจิตใจเพื่อให้ได้สำราญ กสิกรผู้ปรีชาจะไม่เลือกทำนาเพราะเหตุภัยแล้ง ส่วนบัณฑิตชนจะไม่ทำลายซึ่งเกียรติยศแห่งตนเพราะเหตุลำเค็ญ"
     
หัวข้อ: ธรรมธาดาคู่โลกา : ๔ มหาปัญญา มหาวีระ มหากตัญญู มหาใจภักดิ์
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 1/12/2010, 07:39

        ดังนั้น  ตลอดระยะเวลา ๖๐ ปีที่ผ่านมา ถึงแม้ท่านจะมีมารผจญการทดสอบอย่างมากมายเพียงใด ท่านก็ยังสามารถคงความสง่ามิสั่นคลอนมาโดยตลอด และมิเคยสอบตกไปเลยแม้แต่ครั้งเดียว หากแต่กลับยิ่งทุกข์ยิ่งแกร่ง ยิ่งยากยิ่งมีปัญญาอันเจิดจรัส อีกยิ่งสามารถเข้าใจในพระเจตนาแห่งฟ้าได้ดียิ่งขึ้น สำหรับมหาปัญญามหาคุณธรรม มหาเมธินมหาวีระ อย่างท่านนั้น พวกเราก็สามารถพิสูจน์และเข้าใจได้จากเหตุการณ์บางอย่าง โดยอาศัยสมุดอนุทินที่ท่านได้เขียนเอาไว้ดังต่อไปนี้
     ---ปี ๓๘ (ค.ศ.๑๙๔๙) วสันตฤดู แผ่นดินใหญ่ได้ถูกยึดครองไปจนหมดสิ้น ข่าวสารมิอาจติดต่อ ระบบปริวรรตเงินตราได้ถูกปรับเปลี่ยน ความเป็นอยู่ของทุกคนจึงประสบภาวะฝืดเคือง จนกระทั่งเดือน ๖ มีญาติธรรมมาจากอำเภอโต่วลิ่ว ชื่อหลี่ชิงเฮ่อ ข้าพเจ้าบอกกับเขาว่าจะไปฉุดช่วยคนที่นั่น ดังนั้นจึงขายบ้านที่ไทเปและไปซื้อบ้านหลังใหม่ที่โต่วลิ่ว จากนั้นได้เปิดเป็นสถานธรรม (ห้องถ่ายภาพชิงเหนียน) และทำการฉุดช่วยคนบุกเบิกเผยแพร่ธรรม แต่ในขณะที่ดำเนินกิจการไปอย่างราบรื่นนั้น  หลิวเฉวียนเสียง  ฉีอวี้ยง  หลี่อวี้หมิง  จางรุ่ยชิง  และ อวี้จวิ้นเต๋อ  ที่ไถหนันต่างประสบกับการทดสอบ ถูกตำรวจเรียกตัวไปสอบปากคำ และถูกส่งตัวไปยังสถานกักกันคนเร่ร่อนที่ไทเป  ข้าพเจ้าจึงเดินทางไปถามไถ่เหตุการณ์ที่ไถนัน จากนั้นจึงเดินทางไปไทเปเพื่อหาทางแก้ไขแต่ก็ไร้ผลใด ๆ ซ้ำยังถูกจับกุมโดยไม่รู้เรื่องรู้ราวเสียอีก จนถูกขังเป็นเวลานาน ๓ เดือน จึงได้รับการปล่อยตัว พวกเขาต่างประสบต่อความทุกข์ลำเค็ญอย่างมิอาจบรรยาย ช่วงระหว่างที่ข้าพเจ้าอยู่ไทเป ดูจากเหตุการณ์แล้วความเป็นอยู่จะต้องอัตคัดขัดสนเป็นแน่ จำเป็นต้องหาวิธีแก้ไขปัญหาปากท้องของทุกคน ดังนั้นจึงย้ายบ้านมาเปิดเป็นร้านค้าถงเต๋อโดยมีน้อง ๆ จำนวนหนึ่งช่วยกันดำเนินกิจการ แต่เนื่องด้วยข้าพเจ้าเป็นคนใจร้อน อีกเนื่องด้วยเหน็ดเหนื่อยจนเกินกำลัง จึงได้ป่วยเป็นโรคกระบังลมอักเสบ อาการอยู่ในขั้นอันตราย ดังนั้นจึงกลับไปรักษาตัวที่ไถจง ผ่านไปหลายเดือน เพราะทุกคนต่างกราบขอพระแม่องค์ธรรมเมตตาเพิ่มอายุขัย อีกด้วยเพราะกราบขอท่านจอมเทพกวนอูเมตตา และพิมพ์คัมภีร์หมิงเซิ่งจิง อาการจึงทุเลาดีขึ้น
   ---ปี ๓๙ (ค.ศ. ๑๙๕๐)  ฉีอวี้ยง และน้อง ๆ ทั้งหลายที่ดำเนินกิจการร้านค้าถงเต๋อที่ไทเปเริ่มดีขึ้น ส่วนข้าพเจ้า  คุณนายเฉา  เฉินหงเจิน   เจ้าต้ากู ห่าวจิ้นเต๋อ  และเหล่าน้อง ๆ ที่ไถจงก็นวดแป้งทำบะหมี่ โดยส่วนหนึ่งก็ทำการหาเลี้ยงชีพ อีกส่วนหนึ่งก็ทำการเผยแพร่ธรรม ทุกคนต่างบากบั่นรวมใจอุทิศเผยแพร่ธรรม แต่ก็ด้วยภาษาที่มิอาจสื่อสาร จึงทำให้เป็นอุปสรรคอย่างใหญ่หลวง ทุกหนทุกแห่งยังคงตกอยู่ในภาวะมารทดสอบ บุคลากรจึงขาดแคลนเป็นยิ่งนัก
   ---จนปีหมินกั๋วที่ ๔๐ (ค.ศ. ๑๙๕๑)  ก็ต้องประสบการทดสอบครั้งใหญอีก เนื่องจากงานธรรมที่โต่วลิ่วถูกคนใส่ร้าย จึงทำให้ ห่าวจิ้นเต๋อ  เฉินต้ากู  เจ้าต้ากู  คุณนายเฉา  หลิวเหยียนปิน  ต้องถูกทางการเรียกตัวและตัดสินจำคุกเป็นเวลา ๓ เดือน ในตอนนั้น ข้าพเจ้าออกไปทำธุระจึงมิได้ถูกจับกุม แต่เมื่อลองตรึกตรองดูแล้วหากปล่อยให้เป็นเช่นนี้ต่อไป คดีก็ยังจะค้างคาอยู่ ข้าพเจ้าจึงขอให้คนพาไปมอบตัว เรียกตัวเมื่อไหร่ก็ไปรายงานตัวเมื่อนั้น จากนั้น จึงให้คนมาประกันตัว  ดังนั้นจึงมิได้ถูกกุมขัง ผ่านไปอีกหลายเดือน เหตุการณ์คดีเก่าที่สถานีตำรวจที่ไถจงยังค้างอยู่ ข้าพเจ้าจึงถูกเรียกตัวและส่งตัวไปที่สำนักงานวินัยทหาร ถูกกุมขังอยู่ ๑๒ วันจึงถือได้ว่าชำระเสร็จสิ้น โดยข้าพเจ้าได้รู้อยู่ก่อนแล้วว่า "การทดสอบของเบื้องบนนั้นมิอาจหลีกเลี่ยง" ด้วยเหตุนี้งานธรรมจึงต้องชะงักงัน
หัวข้อ: ธรรมธาดาคู่โลกา : ๕ มหาปัญญา มหาวีระ มหากตัญญู มหาใจภักดิ์
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 2/12/2010, 05:17
    ---ปี  ๔๔  (ค.ศ.๑๙๕๕)  ได้ฉุดช่วยคุณลุง เจิงปิ่งเยวี๋ยน บุกเบิกอาณาจักรธรรมที่จงฮว่า ตราบจนปี ๔๕  ทั้งธุรกิจ และงานธรรมต่างดำเนินไปด้วยความราบรื่น แต่มักมีการกล่าวกันว่า "เจริญจนที่สุดก็จักเสื่อม ดีจนที่สุดก็จักถอย" ดังนั้นในภายหลังจึงได้บังเกิดการทดสอบภายในขึ้นอีกมากมาย ปัญหาบุคคลในร้านค้าถงเต๋อได้ปะทุขึ้น อีกทั้งโรคเบาหวานของท่านซือหมู่ที่เป็นอยู่ก่อนแล้ว ก็ทรุดหนักจนต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล ในใจของข้าพเจ้าตอนนี้ต้องทุกข์แล้วทุกข์อีก ซ้ำยังมิอาจบอกกล่าวให้ใครทราบได้จนเวลาผ่านไปหนึ่งปี จึงนับว่าได้ผ่านพ้นไปด้วยดี
  ---ช่างคาดไม่ถึงว่าในปี ๕๓  (ค.ศ.๑๙๖๔) เดือน ๓ ท่านซือหมู่ต้องเจ็บป่วยเป็นโรคอัมพาตครึ่งซีก  (ต้านภัยให้ชาวโลก รับบาปแทนลูกศิษย์) เป็นเรื่องที่ทำให้ข้าพเจ้าต้องเจ็บปวดอย่างสุดบรรยาย มาตรว่า จะได้รับการรักษาทั้งแผนโบราณและแผลปัจจุบันแล้วก็ตาม แต่ก็ยังมิอาจหายเป็นปกติได้
  ---ปีที่ ๕๕  (ค.ศ.๑๙๖๖)  เดือน ๖  คุณห่าวสำเร็จธรรมเนื่องด้วยความเจ็บป่วย งานธรรมในแต่ละแห่งยังคงมีการทดสอบอยู่มิขาด อาการป่วยของท่านซือหมู่ก็ยังมิได้ทุเลา  มารทดสอบยังคงถั่งโถมไม่เคยขาด
  ---ปีที่ ๕๖  (ค.ศ.๑๙๖๗)  เดือน ๕ วันที่ ๑๔ หลิวเฉวียนเสียง ที่ไถหนัน ได้ถูกคนพาลฟ้องเอาผิดอีก จึงถูกทางสถานีตำรวจเรียกตัวไป ปัญหาเกิดขึ้นอีกแล้ว ตราบจนเดือน ๗ มารทดสอบของหลินเฉวียนเสียงจึงนับว่าสิ้นสุด แต่งานธรรมก็ต้องหยุดชะงัก งานธรรมในแต่ละแห่งล้วนมีอุปสรรคจากการทดสอบของทางการ
  ---ปีที่ ๕๗  (ค.ศ.๑๙๖๘)  เนื่องด้วยพระเมตตาของฟ้าเบื้องบน งานธรรมจึงเจริญรุ่งเรืองอย่างมากมาย ทุกคนต่างปลอดภัยสวัสดี แต่เนื่องด้วยข้าพเจ้ามีความหนักอกกลุ้มใจมาเป็นเวลาหลายปี จึงทำให้เกิดเนื้องอกที่ต่อมไทรอยด์ขึ้น ดังนั้นจึงต้องทำการผ่าตัดเมื่อปี ๕๖ เดือน ๑๑ และด้วยเหตุนี้ จึงทำให้ไม่สามารถเปล่งเสียงพูดจาได้ ตราบจนปีที่ ๕๗ เดือน ๖ หลังจากได้รับการรักษาเป็นเวลานาน จากหลายสถานที่ อีกด้วยเพราะทุกคนได้ช่วยกราบวิงวอนขอสิ่งศักดิ์สิทธิ์เมตตา แม้นว่าจะยังไม่หายเป็นปกติ แต่ก็พอจะมีเสียงพูดจาได้บ้าง มาตรว่างานธรรมในแต่ละแห่งจะมีมารทดสอบ แต่ก็ด้วยความศรัทธาของทุก ๆ คน ทั้งหมดจึงผ่านพ้นไปด้วยดี    
หัวข้อ: ธรรมธาดาคู่โลกา : ๖ มหาปัญญา มหาวีระ มหากตัญญู มหาใจภักดิ์
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 2/12/2010, 06:08
   ---คาดไม่ถึงว่าในปี  ๕๘  (ค.ศ.๑๙๖๙) มารทดสอบได้เกิดขึ้นในแต่ละแห่งอีก โดยได้ประทุอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือน ๔ จนถึงเดือน ๗ ในเดือน ๗ ขึ้น ๗ ค่ำ ทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้เรียกตัวข้าพเจ้าไปพูดคุย ข้าพเจ้าจึงถูกกุมขังที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติเป็นเวลา ๗ วัน และบอกข้าพเจ้าให้ลงนามในหน้าหนังสือพิมพ์ว่าจะไม่เผยแพร่ธรรมอีก หลังจากกลับจากไทเป ข้าพเจ้าได้กล่าวได้ความสะท้อนใจว่า
      ""ข้ามสมุทรรุดไต้หวัน  ๒๑ ปี    
        เผยวจีแทนเบื้องฟ้าฉุดผู้คน
        พระคุณฟ้าปณิธานยังมิแทนคุณ
        ต้องกำสรดถูกจองจำอยู่ ๗ วัน ""

    นานาการทดสอบที่ถั่งโถมไม่หยุด การบีบคั้นจากทั้งภายในและภายนอก ก็ทำให้ท่านเหล่าเฉียนเหรินที่มาอยู่ไต้หวันได้เพียง ๒๐ ปีต้องประสบต่อความขมขื่นอย่างเหลือคณา แต่ก็เนื่องด้วยมหาบารมีธรรมอันยิ่งใหญ่ ปัญญาญาณอันเฉียบคมของท่านเหล่าเฉียนเหริน จึงยังทำให้ท่านมั่นคงมิหวั่นไหว ไม่ตัดพ้อท้อถอย ไม่ถือสาหาโทษ หากแต่ยังมีจิตใจที่โอบอ้อมอันยิ่งใหญ่ มีกำลังใจอันกล้าแกร่ง ไปเผชิญกับปัญหาการทดสอบอย่างมิย่อท้อ และที่ประเสริฐที่สุดนั่นก็คือ ท่านจะไม่มีคำบ่นโทษแต่ประการใด จะมีก็แต่เพียงละอายใจที่ไร้บารมีจนไม่อาจนำพาได้อย่างเหมาะสม ดังนั้นในการทดสอบที่กระหน่ำซ้ำเติมเมื่อปีที่ ๖๙ ท่านเหล่าเฉียนเหรินนอกจากจะสงบนิ่งเหมือนเช่นที่ผ่านมา ท่านยังตำหนิติโทษตนย้อนสำรวจพิจารณาตน พร้อมทั้งได้เขียนเป็นบันทึกดังต่อไปนี้ว่า ""ธรรมมีอำพราง มีปรากฏ นี่คือลิขิตแห่งฟ้า การบำเพ็ญก็จักต้องมีมารทดสอบ เหตุเพราะคนเรายังปฏิบัติไม่ดีพอ"  สิ่งศักดิ์สิทธิ์เคยทรงเมตตาไว้ว่า ""นรปัญญายากชนะฟ้าเบื้องบน มารทดสอบนั้นแยบยลสุดคณา"" พระแม่องค์ธรรมได้ทรงเมตตาว่า
           " หากบำเพ็ญอนุตตรธรรมไร้มารสอบ  
       พวกขี้ยาคณิกาหอบกลับวิมาน"
           " ถูกทดสอบแท้นั้นคือรากบุญใหญ่
       ขัดถูไถให้พุทธญาณจรัสแสง "
            " มิใช่เขาถูกติเพราะบาปใหญ่
       รากบุญไร้ไยได้นั่งพันกลีบบัวอาสน์ "
    ฉะนั้น  หากไร้มารก็มิอาจเป็นพุทธะ หากไร้สอบก็มิอาจได้เป็นสัตบุรุษ ด้วยเหตุนี้จึงจำต้องเคี่ยวหลอมตอกทุบ จนที่สุดได้เป็นเหล็กแกร่งที่สามารถแบกคลอนงานใหญ่แห่งฟ้าเบื้องบนได้ และภายใต้การตรากตรำฝึกฝนจากนานาการทดสอบของท่านเหล่าเฉียนเหรินนั้น ก็ทำให้ท่านได้เป็นเสาเอกแห่งดินฟ้า ที่ได้จรัสแสงปัญญาอันเรืองโรจน์  จำได้ว่าเมื่อหลายปีก่อน ด้วยความบังเอิญ ครั้งหนึ่งที่ท่านได้เมตตากับทุกคนท่านได้ถามกับทุก ๆ คนว่า "พวกเธอทราบไหม เหตุใดเมื่อสมัยต้น ๆ ที่มาไต้หวันจึงมีการสอบสาหัสจากทางการ อนุตตรธรรมของเราต้องถูกปิดกั้นไปหลายที่ แม้แต่ฉันเองยังถูกจับไปขังคุก จนต้องทำให้งานธรรมต้องชะงักงันถึงสิบกว่าปี" ในตอนนั้นทุกคนต่างอ้ำอึ้งพูดไม่ออก ท่านเหล่าเฉียนเหรินจึงเมตตาต่อพวกเราด้วยรอยยิ้มว่า"นั่นก็เพราะเบื้องบนทรงประสงค์คุ้มครองคนดีอย่างพวกเรา ให้คนไม่ดีได้หวาดผวาจนการถูกจับกุมของตำรวจจนไม่กล้าเข้ามา อีกทั้งยังเป็นการทดสอบดูกำลังใจ คัดเลือกเมธีปราชญ์ สอบเฟ้นบุคลากร เพื่อให้เป็นแรงผลักดันงามธรรมให้รุ่งเรืองในภายหน้าสืบไป" ครั้นโฮ่วเสวียทุกคนได้ฟังจึงหูตาสว่าง อีกยังรู้สึกเลื่อมใสในสติปัญญาอันเหนือคนธรรมดาของท่านเหล่าเฉียนเหริน ที่สามารถเข้าถึงเจตนาแห่งฟ้าได้ถึงเพียงนี้ ซึ่งคำเมตตาของท่านนี้ ก็ได้ฝังจำอยู่ในหัวใจของโฮ่วเสวียอย่างมิอาจลืมเลือน  
หัวข้อ: ธรรมธาดาคู่โลกา : โอบอ้อมอารี ศุทธิศรัทธา
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 3/12/2010, 05:58

      อันผู้ที่เปี่ยมด้วยมหาภักดี มหากตัญญู มหาปัญญา มหาวีระนั้น จักต้องเป็นผู้ที่มีความโอบอ้อมอารีย์และจริงใจต่อผู้คนเป็นแน่ นั่นก็เพราะยามที่คนเราได้หล่อหลอมชีวิตจนถึงระดับหนึ่งแล้ว คุณธรรมที่พวกเขาได้แสดงออกย่อมต้องเป็นหนึ่งเดียวกัน เหตุเพราะความจริงแท้แห่งชีวิตที่ได้เผยปรากฏออกมาอย่างธรรมชาตินั้น ก็จักต้องเป็นการปรากฏออกมาจากโฉมเดิมแห่งจิตใจ อันเป็นความบริสุทธิ์จากภายในที่เป็นรากแก้วแห่งชีวิต แต่ในทางตรงกันข้าม หากคนเรายังมิอาจหล่อหลอมชีวิตจนถึงขั้นคัมภีรภาพแล้ว เขาก็มิอาจปฏิบัติซึ่งคุณธรรมนั้นออกมาได้ ซึ่งสิ่งนี้เป็นสิ่งที่มิอาจเสแสร้งปรุงแต่งได้อย่างแน่นอน
     สำหรับบารมีธรรมอันยิ่งใหญ่ของท่าน ความโอบอ้อมอารีของท่านเราก็สามารถทำความรู้จักจากจริยวัตรของท่านได้ในต่อไปนี้  โดยก่อนอื่น คุณธรรมที่มีต่องฟ้าอันน่านับถือเป็นที่ยิ่งของท่านก็คือ "สัจจะ" ซึ่งในบทก่อน ๆ ได้กล่าวถึงตอนที่พระอาจารย์ได้ช่วยท่านเหล่าเฉียนเหริน พระอาจารย์ทรงเมตตาว่า "หากเจ้าทำงานแทนฟ้า โรคภัยเพียงแค่นี้จะนับประสาอะไรได้ ชีวิตของเจ้า สิทธิ์ขาดอยู่ที่ฟ้าเบื้องบนแม้ตายก็ยังชุบชีวิตให้ฟื้นคืนได้" และครั้นท่านเหล่าเฉียนเหรินได้สดับก็แอบตั้งปณิธานภานในใจว่า หากเป็นเช่นนั้นจริง ก็จะขออุทิศจิตใจทั้งหมดถวายแก่ฟ้า สำหรับจุดนี้ หากใครไม่มีจริยวัตรอันสุขุมลุ่มลึก อีกความศรัทธาอันกล้าแกร่งแล้ว โดยมากก็มักจะผิดวาจาตระบัดสัตย์ สำหรับคนที่พอจะมีคุณธรรมอยู่บ้าง ก็ยังน้อยนักที่จะไม่ยกยอในความสามารถของตน ดังนั้น สำหรับบุคคลที่มีความซื่อสัตย์ต่อสัญญา ก็ถือได้ว่าเป็นวิญญูชนแล้ว แต่ท่านเหล่าเฉียนเหรินไม่เพียงแต่ไม่อวดความรู้ความสามารถของตนเท่านั้น ท่านยังวิริยะบากบั่น ประคองมั่นในธรรมา โดยไม่เคยหยุดเว้นนับแต่ได้เริ่มศรัทธาเป็นต้นมา สำหรับคุณธรรมอันไพสิฐที่มีต่อฟ้า ต่อผองประชา และต่อตนเองของท่านเช่นนี้ ก็ถือได้ว่าขยายขอบเขตของคุณธรรมด้าน"สัจจะ" จนถึงขั้นปริโยสานอย่างมิมีใครเหมือน ซึ่งหากมิใช่เพราะท่านมีคุณธรรมอันสุขุมแล้ว ไยท่านจึงสามารถปฏิบัติได้อย่างงดงามถึงเพียงนี้ได้
     หากเราลองถามตนเองว่า ในตลอดชีวิตของเราได้มีการปฏิบัติต่อวาจาที่ได้ลั่นไว้โดยไม่เสียคำพูดได้สักกี่ข้อ ฉะนั้น สำหรับจริยาของท่านประการนี้ ก็ทำให้อดนึกถึงปราชญ์ จี้จ๋า แห่งเมืองอู๋ในสมันชุนชิว ที่ได้ทูลถวายกระบี่คู่กายแต่ประมุขเมืองสวี อันเป็นแบบอย่างที่น่าสรรเสริญตราบจนปัจจุบันนี้เสียมิได้ และสำหรับจริยวัตรข้อใหญ่ของท่านยังเป็นเช่นนี้ แล้วสำหรับจริยวัตรข้อปลีกย่อยของท่าน ก็มิไยต้องเกรงว่าจะไร้ธรรมะอีกเลย ดังนั้นในตลอดชีวิตของท่าน หากท่านได้ลั่นวาจา ท่านต้องจักปฏิบัติตามสัญญาอย่างแน่นอน อาวุโสที่อยู่เคียงข้างท่านมักจะกล่าวเช่นนี้อยู่เสมอว่า "พวกท่านวางใจเถอะ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องใด ขอเพียงท่านได้รับปากแล้ว ท่านจะไม่มีวันลืมอย่างเด็ดขาด"  ขอเพียงแต่เป็นประโยชน์ต่อหมู่ชน ท่านก็จะต้องนำพาและพยายามอย่างสุดกำลังความสามารถแน่นอน หากระหว่างฟ้ากับคน ระหว่างคนกับคนต่างสามารถเป็นเช่นนี้ได้ภัยพิบัติของมวลมนุษย์ก็จักลดน้อยลง จนถึงขีดต่ำสุด โดยที่ความอภิรมย์สมานสุขก็จักเพิ่มพูนจนถึงขีดสูงสุดเป็นแน่
หัวข้อ: ธรรมธาดาคู่โลกา : ๑. โอบอ้อมอารี ศุทธิศรัทธา
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 3/12/2010, 07:17
       สำหรับความจริงใจที่มีต่อฟ้าของท่านเช่นนี้ ความจริงในสมัยที่ท่านยังหนุ่มก็เป็นเช่นนี้อยู่แล้ว ในบทก่อน ๆ เราได้เกริ่นถึงแล้วว่า เมื่อสมัยที่ท่านเหล่าเฉียนเหรินสิริอายุได้ ๑๙ ปี ท่านก็เป็นผู้ที่มีความรักชาติ และรู้สึกอัปยศที่บ้านเมืองต้องถูกนานาประเทศข่มเหงรังแก และการที่ท่านได้มีปณิธานสรรค์สร้างกิจการให้เกริกไกร ก็ด้วยเพราะท่านไม่อยากให้ชาติบ้านเมืองต้องถูกลบหลู่เหยียดหยามจากชาติญี่ปุ่นนั่นเอง แม้ท่านอายุยังน้อย แต่ท่านก็มีจิตใจอันแกร่งกล้า มีหัวใจที่มุ่งมั่นพัฒนาและใช้อำนาจทางเศรฐกิจมาช่วยเหลือประเทศชาติ โดยท่านได้ทุ่มเทจนสุดกำลังความสามารถ ด้วยกำลังใจอันเหนือคนธรรมดา ด้วยกำลังกายที่ไม่ระย่อต่อความเหนื่อยยาก ดังนั้นในช่วงเวลาสั้น ๆ เพียงสามสี่ปี ท่านก็สามารถขยายโรงงานได้ถึงสามแห่ง บริหารพนักงานถึงสามสี่ร้อยชีวิต สำหรับจิตใจอันรักชาติบ้านเมืองของท่านดังนี้ ช่างประเสริฐจนคนสามัญยากจะเทียมทันได้ และสำหรับจิตใจอันซื่อสัตย์ภักดีต่อประเทศชาติดังนี้ ก็มิเคยได้ถดถอยเลือนหายตราบจนท่านได้สำเร็จธรรมสู่เบื้องบนและชื่อเสียงขจรก้องทั่วโลกา
 และก็ด้วยจิตใจเช่นนี้ของท่าน ท่านก็ได้แสดงออกทุก ๆ เรื่องราว ในปีหมินกั๋วที่ ๓๖ (ค.ศ.๑๙๔๗) อันเป็นปีที่ท่านซือจุนได้บรรลุธรรม ท่านเหล่าเฉียนเหรินมีคาามเศร้าโศกเสียใจอย่างยากบรรยาย ในด้านหนึ่งท่านก็ติดตามเต้าจั่ง และบรรดาเฉียนเหรินไปจัดพิธีศพที่หังโจว กระทั่งเสร็จพิธีแล้วจึงเดินทางกลับเทียนจิน ในอีกด้านหนึ่ง ท่านก็ไว้ทุกข์อาลัยรักษาพุทธระเบียบ กิจธรรมทั้งปวงก็มีแต่คอยรับบัญชาจากท่านซือหมู่ ในสมัยที่ท่านซือจุนยังทรงพระชนม์อยู่นั้น ท่านเหล่าเฉียนเหรินก็อยู่คอยปรนนิบัติท่านซือจุนอย่างถี่ถ้วน ไม่เพียงแต่สามารถปฏิบัติตามบัญชาได้อย่างทันท่วงทีเท่านั้น หากยังสามารถล่วงรู้ในเจตนา และลงมือปฏิบัติโดยมิต้องให้ท่านซือจุนเป็นกังวลเลย สำหรับจิตใจเช่นนี้จึงนับเป็นจิตใจอันวิเศษเลอเลิศ จึงไม่แปลกที่ได้รับความโปรดปรานและความไว้วางใจจากท่านซือจันเป็นอย่างมาก
   --ปีหมินกั๋วที่ ๔๓ (ค.ศ.๑๙๕๔)  อันเป็นเวลาที่ท่านมาอยู่ไต้หวันได้เพียงไม่กี่ปี หลังจากที่ท่านได้ตรากตรำกรำงานมาหลายปีแล้ว สภาพความเป็นอยู่ก็เริ่มดีขึ้น ท่านเหล่าเฉียนเหรินจึงรีบส่งจดหมายติดต่อท่านซือหมู่  หลังจากทราบว่าท่านซือหมู่ต้องอยู่อย่างยากลำบากที่ฮ่องกง ท่านก็หาวิธีรับท่านซือหมู่มายังไต้หวัน โดยมิได้ใส่ใจต่อคำครหานินทาแต่อย่างใด ในที่สุด ฟ้าก็ทรงเป็นใจให้แก่ผู้ที่มีความพยายาม ในปีนั้นท่านจึงสามารถรับท่านซือหมู่มาไต้หวันได้สมความตั้งใจ แม้ว่าในตอนนั้นท่านจะต้องลำบากยากเข็ญสักเพียงใดหรือจะมีคำไยไพใส่ร้ายมากแค่ไหน ท่านเหล่าเฉียนเหรินก็ยังคงแบกรับไว้อย่างองอาจ โดยไร้คำตัอพ้อต่อว่าใด ๆ ทั้งสิ้น  ตราบจนปีหมินกั๋วที่ ๕๓ (ค.ศ. ๑๙๖๔) เดือน ๓ ท่านซือจุนได้เห็นการทดสอบจากทางการที่กระหน่ำซ้ำเติมอาณาจักรธรรมไม่หยุด ท่านจึงตั้งปริธานเแบกรับบาปเวรแทนศิษย์ และกักบริเวณตัวเองอยู่แต่ในห้องอีกทั้งกราบขอพระแม่องค์ธรรมให้ทรงเมตตาอีกนับหมื่นกราบ เป็นประจำทุกวัน จนในที่สุดท่านถึงกับเป็นอัมพาตไม่อาจเดินเหิน และต้องเจ็บป่วยทรุดโทรม นับแต่นั้นเป็นต้นมา ท่านเหล่าเฉียนเหรินรู้สึกกลัดกลุ้ม และครุ่นคิดอยู่ทุกวันคืน ซึ่งท่านก็ได้บันทึกระบายความรู้สึกในสมุดอนุทินของท่านไว้อย่างมากมายแต่เนื่องจากเป็นมหาปณิธานของท่านซือหมู่ที่ประสงค์จะต้านภัยช่วยโลก ด้วยฐานะที่เป็นลูกศิษย์จึงมิอาจกล่าวคำใด ๆ ได้ ก็มีเพียงแต่ยิ่งทุ่มเทแรงกายแรงใจในการปฏิบัติธรรม และดูแลปรนนิบัติท่านให้มากยิ่งขึ้นเท่านั้น ตราบจนปีหมินกั๋วที่ ๖๔ (ค.ศ.๑๙๗๕) เดือน ๒ วันที่ ๒๓ ท่านซือหมู่ได้อำลาจากไป ท่านเหล่าเฉียนเหรินรู้สึกโทมนัสเสียใจยิ่งนักท่านได้เขียนบันทึกไว้ว่า "อสนีฟาดเปรี้ยงในอรุณ เทพมนุษย์ร่วมอาดูรใจโหยไห้" สำหรับความเจ็บปวดภายในใจของท่าน เราก็สามารถสัมผัสได้จากอักษรที่ท่านบันทึกลงในสมุดอนุทินได้เป็นอย่างดี ซึ่งหากมิใช่เป็นคนที่มีความจริงใจแล้ว ก็คงจะไม่เศร้าโศกเสียใจถึงเพียงนี้แน่
  ---ปีหมินกั๋วที่ ๘๓ (ค.ศ.๑๙๙๔) เดิอน ๘ วันที่ ๒๘ อันเป็นปีที่ครบรอบประสูติกาลหนึ่งศตวรรษของท่านซือหมู่ ที่เทียนเอวี๋ยนฝอเยวี่ยน ได้จัดพิธีมหารำลึกคุณเป็นเวลา ๓ วัน วันที่ ๑ ของมหาพิธี ท่านก็เพียงสวมชุดเต้าผาวและรองเท้าผ้าใบคู่เก่าที่ท่านใช้อยู่ประจำเท่านั้น แต่เมื่อถึงวันที่สองของมหาพิธีอันเป็นวันที่จะทำพิธีกราบอวยพรวันเกิดท่านซือหมู่ เวลานั้น หลังจากท่านเฉียนเหรินทานอาหารเช้าเสร็จ ท่านก็เดินเข้าไปในตึกเทิดคุณ และหยิบรองเท้าคู่ใหม่ในลิ้นชักที่ได้ห่อเก็บอย่างบรรจงออกมาสวมใส่ พร้อมทั้งเปลี่ยนชุดจีนชุดใหม่ที่ยังไม่เคยสวมใส่ที่ไหนมาก่อน ครั้นอาวุโสจำนวนหนึ่งที่ติดตามท่านประจำได้เห็นแล้ว ภายในจิตใจของซาบซึ้งปิติจนน้ำตารินไหล เพราะทุกคนต่างรู้ดีว่าปกติท่านเหล่าเฉียนเหรินจะมีความประหยัดอย่างเคร่งครัด จึงได้เห็นว่าความจงรักภักดีของท่านเหล่าเฉียนเหรินที่มีต่อท่านซือหมู่ก็ยังคงบริสุทธิ์ผุดผ่องมิเลือนหาย แม้ว่ากาลเวลาจะผ่านพ้นไปหลายสิบปีแล้วก็ตาม  
 
หัวข้อ: ธรรมธาดาคู่โลกา : ๒. โอบอ้อมอารี ศุทธิศรัทธา
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 3/12/2010, 08:08
      ไม่เพียงแต่ความจงรักภักดีต่อท่านซือจุน ซือหมู่ จะเป็นเช่นนี้เท่านั้น หากท่านยังมีความเคารพนบนอบต่อพุทธอริยเจ้าอย่างมากมายในกิจวัตรอีกด้วย ในทุก ๆ รายละเอียด ท่านจะมีแต่ความละเอียดรอบคอบโดยหาได้ปล่อยปละละเลยแม้แต่น้อยไม่ อย่างเช่น วันครูแห่งชาติอันเป็นวันประสูติของอริยปราชญ์ขงจื่อเมื่อปีที่แล้ว เนื่องจากอาวุโสในสถานธรรมต่างมีภาระกิจรัดตัว ดังนั้นผลาหารที่ตระเตรียมสำหรับถวายจึงมิได้พูนพร้อมเท่าที่ควร และครั้นท่านเหล่าเฉียนเหรินเดินเข้าไปภายในตำหนักพระ ท่านก็กล่าวอย่างทอดถอนใจว่า ""ความศรัทธาของพวกเธอยังไม่พอนะ ถวายผลไม้ให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์หากไม่ศรัทธาก็ไม่มีความหมายแล้ว ก็เหมือนกับคนในบ้านเธอได้บูชาพระแม่องค์ธรรม พุทธสิ่งศักดิ์สิทธิ์ พุทธประทีป จะต้องจัดให้ตรง กระถางธูปจะต้องวางให้ตรง ธูปก็ต้องปักให้ตรง และยิ่งต้องมีความศรัทธามั่นคง อย่างนี้จะสอดคล้องต่อจริยธรรม ดังนั้นจึงไม่ควรทำอย่างลวก ๆ "" ครั้นทุกคนได้ฟังก็รู้สึกละอายเป็นอย่างยิ่ง เห็นได้ว่า แม้แต่รายละเอียดของจริยธรรมท่านก็ยังมีความรอบคอบถึงเพียงนี้  ดังนั้นในส่วนของหลักใหญ่ของจริยธรรม ก็มิไยต้องกล่าวถึงอีกเลย
     แม้นว่าในเวลาเกือบ ๖๐ ปีที่ผ่านมา เพื่องานใหญ่แห่งสามโลกแล้ว ท่านอุทิศตนให้แก่เวไนยสัตว์ สละบ้านและกิจการงาน ห่างลาจากบุตร ภรรยา ปฏิบัติต่อเวไนยสัตว์เหมือนเช่นบุตรธิดา หากแต่กลับปฏิบัติต่อบุตรธิดาของท่านเหมือนเวไนยสัตว์ โดยทั้งหมดนี้ ท่านล้วนถือประโยชน์ส่วนรวมแห่งเวไนยสัตว์เป็นที่ตั้งทั้งสิ้น แต่สำหรับจิตใจที่ห่วงหาอาทรต่อเวไนยสัตว์แล้ว ท่านก็หาได้เป็นเพราะเวลาที่เปลี่ยนผันจึงผันเปลี่ยนไปเป็นอื่นไม่ โดยท่านจะดำรงความรักความอาทรอยู่ในหัวใจเช่นนี้เสมอ อย่างที่ท่านได้เดินทางกลับบ้านเกิดด้วยวัย ๘๙ ปีนั้น ท่านได้เห็นความระกำลำบากที่เกิดขึ้นแก่บ้านเกิดอย่างมากมาย ดังนั้นหลังจากกลับถึงไต้หวันแล้ว ท่านจึงยังมีอาการเศร้าโศกเสียใจอยู่ระยะหนึ่ง หรือกระทั่งน้ำตาซึมออกมาโดยไม่รู้ตัวอยู่บ่อยครั้ง แม้นอาวุโสที่อยู่เคียงข้างจะมีความรู้สึกอยากรู้ แต่ก็มิกล้าเอ่ยถามท่านแต่อย่างใด ด้วยเพราะเกรงว่าจะยิ่งทำให้ท่านต้องเสียใจมากยิ่งขึ้นกว่าเก่า แม้นเราจะเห็นท่านปฏิบัติต่อส่วนรวมโดยไม่หวังผลตอบแทนอย่างเคร่งครัดก็จริง แต่โดยแท้จริงแล้ว ภายในจิตใจของท่านก็ยังคงความอบอุ่นละมุนละไมแห่งความรักที่มีต่อสายโลหิต ซึ่งเต็มเปี่ยมไปด้วยความมุ่งมั่นและจริงใจอยู่เช่นกัน
  ---ปีหมินกั๋วที่ ๘๑ (ค.ศ.๑๙๙๒)  ๓ ค่ำ เดือน ๑๐  อันเป็นวันบุตรธิดาของท่านจะกลับเมืองจีน หลังจากได้เดินทางมาเยี่ยมท่านเหล่าเฉียนเหรินนั้น ท่านเหล่าเฉียนเหรินได้บันทึกลงในสมุดอนุทินของท่านดังนี้ว่า "ลูกชายลูกหญิงจะกลับเมืองจีนแล้ว พบกันครั้งนี้ เกรงว่าจะไม่มีโอกาสได้พบกันอีก" บันทึกสั้น ๆ เพียงไม่กี่คำ แต่ความรักความอาทรก็ได้เผยปรากฏออกมาจนหมดสิ้น
    ในปีต่อมา บุตรหลานของท่านได้มาเยี่ยมท่านเหล่าเฉียนเหรินที่ไต้หวันอีกครั้ง ท่านเหล่าเฉียนเหรินก็รู้สึกตัวดีว่าท่านมีอายุมากแล้ว ด้วยความรักความอาทร ท่านจึงได้เขียนบันทึกต่อไปอีกว่า "ลูกชาย วั่นฮว๋า วั่นจัง และลูกหญิงอีกสองคน หลานชายอีกสอง  หลานสาวอีกหนึ่ง ทั้งหมดมาเยี่ยมข้าพเจ้าที่ไต้หวัน แต่ข้าพเจ้ามีสุขภาพไม่สู้ดี เกรงว่าจะไม่มีโอกาสได้พบหน้ากันอีกแล้ว ดังนั้นทุกคนจึงอยู่ร่วมฉลองตรุษจีนกันที่ไต้หวัน
หัวข้อ: ธรรมธาดาคู่โลกา : ๓ โอบอ้อมอารี ศุทธิศรัทธา
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 6/12/2010, 00:59

       เพื่อเวไนยสัตว์แล้ว ท่านยอมปล่อยวางความรักที่มีต่อครอบครัวและนำความรักทั้งหมดในหัวในอุทิศให้แก่ผืนอาณาจักรธรรม ในช่วงเวลา ๒๐ ปีที่ผ่านไป ท่านได้อุทิศเพื่อส่วนรวมโดยมิได้หวังผลเพื่อส่วนตน ท่านได้มอบความรักอันเจิดจรัสให้ทุกคนโดยไร้ความลำเอียง ท่านไม่เคยใช้เวลาอยู่กับบุตรธิดา แต่ทว่า ความรักของท่านที่มีต่อบุตรหลานก็ยังคงฝังแน่นอยู่ในหัวใจมิเคยเลือน สำหรับมหาบุรุษแห่งยุคนั้น ก็เป็นเช่นนี้แล
     ส่วนความรักที่มีต่อญาติธรรมนั้น ก็ยิ่งเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องสามารถประจักษ์เห็นได้กันทั้งนั้น ในช่วงเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมา ท่านก็ยังเป็นเช่นห้วหน้าครอบครัวที่คอยดูแลอาณาจักรธรรม อีกยังเป็นประหนึ่งสดมภ์เอกที่ค้ำชูฟ้าดิน ที่ได้กำบังลมฝน อุทิศทุ่มเท ชี้ทิศนำทาง พิทักษ์ธรรมมา และไม่ว่าจะเป็นหญิงชายเฒ่าวัย ญาติธรรมเก่าหรือใหม่ ท่านก็จะแบ่งบันความรักและปฏิบัติต่อทุกคนอย่างเสมอภาค ตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมา ไม่ว่าท่านจะพักอยู่ที่ใด หากได้มีญาติธรรมมอบสิ่งของมาให้ ไม่ว่าจะเป็นของมีค่าราคาแพงเช่นไร ท่านก็หาเคยตัดใจทานหรือใช้แต่อย่างใดไม่ หากแต่ท่านจะแบ่งปันให้แก่ทุก ๆ คน หรือนำไปใช้สำหรับส่งเสริมญาติธรรมโดยกล่าวเพียงว่า "ขอเพียงทุกคนสบายใจ เราก็ดีใจแล้ว" และทุกครั้งที่ท่านส่งแขกที่มาเยี่ยมท่านที่ฝูซัน ก็ยิ่งเป็นเรื่องราวที่น่าประทับใจอย่างที่สุด ขอเพียงแต่ท่านมีเวลา ไม่ว่าจะเป็นญาติธรรมใหม่หรือเก่า ก็ไม่มีครั้งใดที่ท่านจะไม่ส่งจนถึงหน้าประตู และยืนรอจนรถแล่นออกไปไกลแล้วจึงค่อยกลับเข้าในเรือน
     แม้ท่านจะสิริอายุสูงถึง ๙๐ ปีแล้วก็ตาม แต่ท่านก็ยังคงปฏิบัติต่อทุกคนโดยมิแบ่งชั้นวรรณะ มิเคยเปลี่ยน สำหรับคุณธรรมประการนี้ก็เป็นเรื่องที่ชวนให้ผู้คนคนึงหามิเคยเลือน และทุกครั้งที่ได้ร่วมเดินทางไปกับท่าน ขอเพียงมีญาติธรรมขับรถตามหลัง ก็ไม่มีเวลาใดที่ท่านจะไม่คอยเหลียวหลังมองหาและเตือนสติคนขับรถเสมอว่า "ดูรถข้างหลังหน่อยซิว่ายังขับตามอยู่หรือเปล่า" แม้จะเป็นคำพูดที่แสนธรรมดา แต่ก็เปี่ยมล้นด้วยความรักความเมตตาอย่างมากมาย และแน่นอนว่า สำหรับอาวุโสที่เคยร่วมบุกเบิกกรุยทาง ร่วมทุกข์ ร่วนสุขในการแพร่ธรรมที่ไต้หวันเหล่านั้น ท่านเหล่าเฉียนเหรินก็ยิ่งให้ความเอาใจใส่มากเป็นพิเศษ โดยพวกเราสามารถเห็นถึงความจริงใจจากบันทึกที่ท่านได้ถ่ายทอดเอาไว้อย่างแจ่มชัด ซึ่งในที่นี่เราจะขอหยิบยกตัวอย่างให้ท่านได้เห็นเพียงสามเหตุการณ์
หัวข้อ: ธรรมธาดาคู่โลกา : ๔ โอบอ้อมอารี ศุทธิศรัทธา
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 6/12/2010, 01:56

      ปีหมินกั๋วที่ ๖๑ (ค.ศ.๑๙๗๒) ท่านหลิวเฉียนเหริน (ต้าเต๋อเจินจวิน) ได้ถึงแก่มรณกรรม ร่างของท่านได้ฝังอยู่ ณ ฝูซันหรงเยวี๋ยน ปกติท่านเหล่าเฉียนเหริน และท่านหลิวเฉียนเหริน ต่างมีมิตรภาพอันแนบแน่น ในตอนที่ท่านหลิวเฉียนเหรินยังมีชีวิตอยู่ ท่านมีความเสียสละทุ่มเทต่องานธรรม อีกในด้านอาจาริยวัตร (กิจที่ควรประพฤติปฏิบัติต่อครูบาร์อาจารย์) ที่ปฏิบัติต่อท่านเหล่าเฉียนเหรินก็เป็นแบบอย่างอันดีที่รู้กันโดยทั่ว ดังนั้นในตอนที่ท่านหลิวเฉียนเหรินได้ถึงแก่อาสัญ ก็เป็นเรื่องที่ทำให้ท่านเหล่าเฉียนเหรินต้องเศร้าโศกจาบัลย์อย่างเหลือประมาณ จนถึงกับลั่นวาจาอย่างทุกข์ระทมว่า "สูญเสียเสาหลักไปอีกคนหนึ่งแล้ว" แม้นจะเป็นคำพูดอันธรรมดา แต่สำหรับผู้ที่สามารถเป็นเสาหลักภายในใจของท่านได้นั้น จะมีสักกี่คน ดังนั้นสำหรับมิตรสัมพันธ์และธรรมสัมพันธ์ระหว่างท่านทั้งสองก็สามารถรู้ได้จากจุดนี้ได้เป็นอย่างดี
     อีกท่านหนึ่งคือท่านจางเฉียนเหริน เต๋อฮุ่ยผูซ่า เมื่อตอนที่ท่านจางเฉียนเหรินยังมีชีวิตอยู่ ท่านได้ปฏิบัติต่อท่านเหล่าเฉียนเหรินอย่างซื่อสัตย์นบนอบ และก็เป็นแบบอย่างอันงดงามในหมู่สตรี ท่านจางเฉียนเหรินได้ซักผ้าทำอาหารให้ท่านเหล่าเฉียนเหริน อีกทั้งยังร่วมทุกข์ร่วมสุขบุกเบิกแพร่ธรรมร่วมกับเหล่าอาวุโสถึง ๒๐ กว่าปี  เมื่อปีหมินกั๋วที่ ๗๙ (ค.ศ.๑๙๙๐) อันเป็นปีที่ท่านจางเฉียนเหรินได้สำเร็จธรรมนั้น ท่านเหล่าเฉียนเหรินได้เดินทางมาเป็นประธานในมหาอวมงคลพิธีให้กับท่านจางเฉียนเหริน โดยเฉพาะในตอนที่จะทำพิธีปลงศพนั้น ท่านยังได้คุกเข่ากราบสามกราบให้กับท่านจางเฉียนเหรินอีกด้วย เรื่องนี้ได้สร้างความตกตลึงให้กับทุกคนเป็นอย่างมาก โดยภายในใจต่างคิดกันว่า ด้วยธรรมวุติและวัยวุติอย่างท่านเหล่าเฉียนเหรินนี้ อย่างไรก็มิควรทำอย่างยิ่ง โดยเฉพาะเกรงว่าผู้เป็นโฮ่วเสวียจะรับไม่ไหว แต่ท่านเหล่าเฉียนเหรินก็ยังคงกล่าวยืนยันกับทุกคนว่า "ซักผ้าทำอาหารให้เราถึง ๒๐ กว่าปีเรากราบขอบคุณเขาก็เป็นสิ่งที่สมควรแล้ว"
    สำหรับผู้ทรงมหาบารมี ก็จะมีแต่ความรำลึกตรึกพระคุณอยู่ทุกเมื่อ อันจริยาที่ท่านแสดงออกก็ควรค่าถือการเป็นแบบอย่าง และสำหรับความจริงใจอันบริสุทธิ์ ก็ยิ่งทำให้ญาติธรรมที่อยู่ในเหตุการณ์ต่างประทับใจกันโดยถ้วนหน้า
   ในปีหมินกั๋วที่ ๘๑ (ค.ศ.๑๙๙๒) เดือน ๑๒ วันที่ ๓ ท่านเหล่าเฉียนเหริน ได้เดินทางไปเป็นประธานในพิธีเปิดสถานธรรมฃงเมี่ยวที่เมืองไทย อีกทั้งยังเป็นประธานในพิธีเบิกหน้าดิน สถานพักเลี้ยงคนชรา และเปิดชั้นขมาสำนึกบาป โดยมีกำหนดจะเดินทางต่อไปยังฮ่องกงในวันที่ ๑๘  หลังจากที่ได้เสร็จธุระทางเมืองไทยแล้ว แต่คาดไม่ถึงว่าในวันที่ ๑๖ ก็ได้รับข่าวร้ายของฉีเฉียนเหรินอย่างกระทันหัน ในขณะที่ท่านกำลังเสร้าโศกเสียใจอยู่นั้น ท่านได้รีบจองที่นั่งเดินทางกลับไต้หวันทันที และก็ด้วยความศรัทธาจริงใจ เบื้องฟ้าทรงพระเมตตา ท่านจึงสามารถจองที่นั่งกลับไต้หวันในวันที่ ๑๗ ได้อย่างราบรื่น ในขณะนั้นท่านได้บันทึกถ้อยคำอันสะเทือนใจเช่นนี้ว่า "โอ้ จากเทียนจินมาไต้หวันสิบกว่าคน เพื่อธรรมะได้อุทิศจนธรรมขจรไปทั่วโลก ทุกคนต่างทุกข์ยากแสนลำบาก ตราบจนบัดนี้ ที่สำเร็จธรรมกลับเบื้องบนก็หลายคนแล้ว คงเหลือเพียงข้าพเจ้ากับเฉินหงเจินที่ต้องโดดเดี่ยวอ้างว้างอย่างที่สุด อนาคตจะเป็นเช่นไร ข้าพเจ้ามิกล้าคาดคิด ก็มีเพียงถอนใจเศร้าเท่านั้นเอง" สำหรับมิตรไมตรีที่มีต่อโฮ่วเสวียอันกระชับแน่นเช่นนี้ ก็เป็นเรื่องที่เราทุกคนต่างรู้สึกเลื่อมใสและประทับใจอย่างที่สุด
    มีคนกล่าวว่า ท่านเข้มงวดจนไม่มีคความเข้าใจจิตใจมนุษย์เอาเสียเลย ท่านมีแต่วิจารย์ข้อเสียตั้งมากมาย แต่คำให้กำลังใจกลับมีน้อย เสียเหลือเกิน ดังนั้นจึงมักทำให้ผู้คนรู้สึกยำเกรงจนกลายเป็นความเหินห่าง โดยที่ทุกคนหารู้ไม่ว่า "เมื่อหนักน้ำใจสายใยธรรมก็บอบบาง อันกวดขันแท้คือรัก ใครกระจ่าง หากลำพังถือน้ำใจไร้ธรรมชัก น้ำใจหนักจักอยู่ได้สักกี่ครา " "ไม่ขัดเกลาก็ยากเป็นเสาคานหลัก"
       
หัวข้อ: ธรรมธาดาคู่โลกา : ๕ โอบอ้อมอารี ศุทธิศรัทธา
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 6/12/2010, 02:40

      โดยเฉพาะท่านได้ผ่านประสบการ์ชีวิตมาแล้วอย่างโชกโชน บวกกับปัญญจักษุอันเฉียบคมของท่าน เพียงพริบตาก็สามารถมองทะลุในข้อบกพร่อง เห็นกระจ่างในหลายเรื่องราว ดังนั้นท่านจึงหวังให้พวกเราหนักแน่นมั่นคง ปฏิบัติบำเพ็ญอย่างซื่อตรง ชำระปณิธานสรรค์สร้างบุญกุศล จนที่สุดได้กลับคืนสู่เมืองฟ้าอมร ด้วยจิตใจที่มุ่งมั่นให้เติมใหญ่ ใจรักที่คาดหวังให้สำเร็จ ดังนั้นจึงมักจะกล่าวอย่างตรงไปตรงมา อบรมสอนสั่งอยู่ทุกเมื่อเวลา โดยท่านจะปฏิบัติต่อทุกคนเฉกเช่นเดียวกับการปฏิบัติต่อตัวท่านเอง ท่านมิเคยแสวงหาความสุขให้กับตัวเอง หากจะคำนึงถึงผลประโยชน์แห่งเวไนยสัตว์เป็นที่ตั้ง สำหรับจิตใจอันตรงไปตรงมาจนดูเสมือนว่าเคร่งครัดเช่นนี้ โดยแท้แล้วก็เป็นความรักอาทรที่หวังให้ทุกคนได้หลุดพ้นเท่านั้น และผู้ที่สามารถเข้าถึงจิตใจของท่านได้นั้น ย่อมต้องรู้สึกซาบซึ้งประทับใจเป็นแน่แท้ เพราะหากมิใช่จิตใจอันเมตตาอาทรอย่างแท้จริงแล้ว ไฉนท่านจึงสามารถอบรมสอนสั่งโดยมิแหนงหน่ายถึงเพียงนี้ได้
     ท่านมักจะกล่าวกับพวกเราอยู่เสมอว่า "เมื่อรู้ว่าธรรมะนี้ดี ก็จงนำไปบอกเล่าให้ผู้อื่นรู้" "พวกเราจะต้องช่วยเหลือผู้คนอยู่ทุกขณะ" "หากวันนี้เราทำความดี ก็คือคนดี แต่หากพรุ่งนี้ไม่ทำ นั่นก็ไม่ใช่แล้ว" เหล่านี้ล้วนเป็นคำพูดอันแสนธรรมดาที่เต็มไปด้วยความจริงใจ ที่ล้วนเป็นคติอุทาหรณ์อันมีค่าสำหรับผู้บำเพ็ญทุก ๆ คน ซึ่งหากผู้คนในสังคมทุกระดับล้วนสามารถปฏิบัติได้ดังนี้โลกใบนี้ก็คงกลายเป็นสันติภาพไปนานแล้ว
    สำหรับญาติธรรมที่เคยไปพักที่เทียนเอวี๋ยนฝอเยวี่ยน จะทราบดีว่าคำพูดที่มักจะได้ยินท่านกล่าวยามเช้า หลังจากทักทายอรุณสวัสดิ์กับท่านนั้นก็คือ "ตื่นเช้าได้ดื่มน้ำหรือยัง"" หลังตื่นนอนจะต้องดื่มน้ำสักแก้ว จะมีประโยชน์ต่อสุขภาพนะ มิเช่นนั้น เราคงอยู่ไม่ถึงอายุปูนนี้หรอก" จากรายละเอียดเพียงเล็กน้อยจุดนี้ พวกเราก็สามารถสัมผัสถึงความห่วงใยที่มีต่อญาติธรรมอย่างไม่เคยเปลี่ยนของท่านได้เป็นอย่างดี
    ครั้งหนึ่งจำได้ว่า โฮ่วเสวียหลายคนกำลังจัดเรียงเอกสาร มีอาวุโสท่านหนึ่งเมตตาให้ขนมเปียะมาเป็นของกินเล่น แต่ทุกคนง่วนอยู่กับงาน ยังไม่ว่างกิน พอดีท่านกลับมาได้เห็นขนมเปียะวางอยู่ ท่านไม่ถามอะไร แต่ขมวดคิ้วแล้วพูดด้วยน้ำเสียงที่เคร่งขึมว่า "อย่ากินอะไรจุกจิกจะทำให้เสียสุขภาพได้" โฮ่วเสวียทุกคนไม่กล้าพูดอะไร ได้แต่ก้มหน้าขานรับเท่านั้น บุคคลที่ไม่เข้าใจจิตใจท่าน มักเห็นว่าท่านเข้มงวดจนเกินเหตุแค่กินขนมของว่างก็ยังถูกตำหนิ อีกทั้งไม่ใช่จัดหามาเอง อาจจะต้ดพ้อในใจบ้างแต่ทว่าผู้ที่เข้าใจท่านจริง ๆ  กลับรู้สึกซาบซึ้งขอบคุณด้วซ้ำ ! หากมิใช่ท่านห่วงพวกเราด้วยเหมือนห่วงตัวท่านเองแล้วไยต้องใส่ใจรายละเอียดถึงเพียงนี้ เกรงว่าพวกเราจะมีอะไรไม่ดีเกิดขึ้น ดุจเหมือนคุณปู่คุณตารักหลานใส่ใจทุกกระเบียดนิ้วจึงระวังทุกเวลา ! เมื่อเปรียบเทียบพวกเรากับตัวท่านเหล่าเฉียนเหรินแล้ว พวกเรามีข้อบกพร่องมากมายเสียจริง ๆ จึงไม่แปลกเลยที่ท่านต้องห่วงใยเช่นนี้ 
หัวข้อ: ธรรมธาดาคู่โลกา : ๖ โอบอ้อมอารี ศุทธิศรัทธา
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 6/12/2010, 04:24

       สำหรับบุคคลทั่วไป โดยมากมักจะเห็นเพียงด้านที่เข้มงวดคอยอบรมสอนสั่งของท่าน ในลิ้นชักของท่านนั้น ท่านมักจะเตรียมซองอั่งเปาและเงินสดไว้อยู่เสมอ หากเมื่อใดที่มีญาติธรม กระทั่งสามคุณมาหา ขอเพียงท่านทราบว่าเป็นญาติธรรมที่ทุ่มเทอุทิศทั้งหมดภายในอาณาจักรธรรม และกำลังประสบปัญหาเรื่องเงินทองอยู่ ท่านก็มักจะมอบเงินเหล่านี้ให้ตามความเหมาะสมอยู่เสมอ พร้อมทั้งกล่าวว่า "ผู้ใหญ่ให้ ผู้เยาว์มิควรปฏิเสธ" เมื่อท่านยืนยันในเจตนาเช่นนั้น โฮ่วเสวียหลายๆ คนจึงได้แต่สำนึกพระคุณโดยมิอาจปฏิเสธน้ำใจของท่านได้ และถึงแม้จะเป็นเช่นนี้ก็ตาม ท่านก็มิเคยเอ่ยปากบอกบุญแก่ญาติธรรม อีกทั้งยังห้ามมิให้ใครทำการเรี่ยไรเงินบริจาคอีกด้วย หากอาณาจักรธรรมมีงานช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ผู้เข้าใจหลักธรรมก็ทำบุญเองเจริญปณิธาน ชำระหนี้กรรมต้องมีความศรัทธาจริงใจด้วยตัวเอง จึงเป็นบุญจริงกุศลแท้ ดังนั้นท่านจึงปฏิบัติตามพุทธระเบียบ ไม่บังคับให้ใคร ๆ บริจาค ทุกอย่างเป็นไปตามอัธยาศัยขอเพียงได้ทำเต็มที่ก็พอแล้ว
      เมื่อปีที่แล้ว ท่านประสงค์จะซื้อที่ดินไว้สำหรับไว้เป็นอริยาณาจักรยุคขาวที่ผูหลี่ เนื่องจากที่นั่นมีภูมิโหราศาสตร์อันงดงาม อีกเพราะท่านประสงค์จะบรรลุความตั้งใจของท่านซือจุนที่เคยวาดหวังไว้ในอดีต ดังนั้นท่านจึงตัดสินใจซื้อที่ดินผืนดังกล่าว แต่เนื่องจากเป็นเงินก้อนโต ท่านจึงไม่สามารถรวบรวมให้ครบตามจำนวนในทันใดได้ ในตอนนั้นมีอาจารย์อยู่ท่านหนึ่ง ที่ไม่อยากให้ท่านเหล่าเฉียนเหรินต้องกลัดกลุ้มกับเรื่องเงินค่าที่ดิน อาจารย์ท่านนั้นจึงไปรวบรวมเงินมาจนได้จำนวนหนึ่งแสนเหรียญ และคุกเข่าอ้อนวอนให้ท่านเหล่าเฉียนเหรินรับไว้ด้วยความจริงใจ แต่ไม่ว่าท่านเหล่าเฉียนเหรินจะขาดแคลนเงินทองอย่างไร ท่านก็จะไม่ยอมให้ญาติธรรมต้องเดือดร้อนอย่างเด็ดขาด ดังนั้นท่านจึงปฏิเสธอาจารย์ท่านนั้น พร้อมทั้งเมตตาด้วยน้ำตาว่า "เธอก็ไม่ได้ทำงาน ตอนนี้ก็อุทิศทุ่มเททั้งหมดให้แก่อาณาจักรธรรมอยู่แล้ว จะทำอย่างนี้ได้อย่างไร โดยเฉพาะนี่เป็นเงินญาติธรรม เป็นหยาดเหงื่อแรงกายของพวกเขา เราจึงไม่ควรรบกวนพวกเขาให้ทำบุญ"  อาจารย์ท่านนั้นรู้สึกซาบซึ้งและละอายใจจนน้ำตานองหน้า
     ในเวลาต่อมา มีอาจารย์อาวุโสในอาณาจักรธรรมหลายท่านต้องการเผยแพร่ข่าวสารนี้ผ่านนิตยสารกวงหมิง เพื่อให้ทุกคนได้พร้อมใจกันแบ่งเบาภาระของท่านเหล่าเฉียนเหริน ดังนั้นจึงได้ร่างบทความสำหรับลงพิมพ์ในนิตยสารกวงหมิงให้ท่านเหล่าเฉียนเหรินพิจารณา แต่ท่านเหล่าเฉียนเหรินก็ยืนยันให้ลบหมายเลขบัญชีของกวงหมิงเหรินอ้ายจือเจีย (บ้านสว่างอาทรรัก) ออก พร้อมทั้งสั่งกำชับไว้คำหนึ่งว่า "อริยาณาจักรยุคขาวผืนนี้ เราตั้งใจจะมอบให้แก่ทุกคน ตั้งใจจะให้เป็นประโยชน์สำหรับทุกคน" ครั้นโฮ่วเสวียทุกคนได้รับรู้ มีหรือที่จะไม่ซาบซึ้งใจ
     ไม่เพียงเท่านี้ สำหรับจิตใจอันบริสุทธิ์จริงใจของท่าน ก็น้อยคนนักที่จะได้พบเห็น แมันท่านจะรู้ดีว่าทุกคนต่างรักและยำเกรงในตัวท่าน แต่เพื่อผดุงความมั่นคงของอาณาจักรธรรมโดนรวมแล้ว ท่านยิ่งจำเป็นต้องใช้ทั้งพระเดชพระคุณ ต้องปฏิบัตตนให้เป็นแบบอย่าง ต้องอบรมสอนสั่งอย่างเคร่งครัด เพราะใจคนนั้นปล่อยง่ายแต่หากเก็บยากยิ่งนัก สำหรับผู้ที่เคยติดตามท่านเหล่าเฉียนเหรินจะรู้ดีว่าท่านมีความเมตตาเป็นอย่างมาก ท่านจะคิดถึงผู้อื่นอยู่เสมอ ท่านจะมีความเป็นกันเองและเป็นคนใจดี ปกติท่านนอกจากจะคุยสัพเพเหระกับทุกคน บางครั้งท่านยังจะเล่านิทานหรือเกล็ดความรู้ให้พวกเราฟัง ดังนั้นจึงทำให้พวกเราได้มีความรู้อันกว้างขวาง หรือกระทั่งในบางโอกาสที่ท่านอบรมสอนสั่งพวกเรา ท่านก็จะมีความดีใจจนถึงกับลืมอายุและฐานะของตนไปเลย สำหรับจิตใจอันบริสุทธิ์เรียบง่ายของท่านดวงนี้ ได้สร้างความประทับใจให้กับทุกคนมากมาย
    ครั้งหนึ่งเมื่อปลายปีที่แล้ว ทุกคนต่างนั่งล้อมท่านเหล่าเฉียนเหรินดูรายการข่าว ในขณะที่ได้เห็นกลุ่มนักศึกษากำลังรับการฝึกอบรมและทำการสาธิตท่าวิดพื้นอยู่นั้น ท่านเหล่าเฉียนเหรินที่ปกติจะดูโทรทัศน์อย่างเงียบสงบก็พูดโพร่งขึ้นในทันใดว่า "พวกเขาไม่เข้าใจ" ทุกคนต่างงงวยจนทำอะไรไม่ถูก ในขณะที่ทุกคนยังไม่รู้ว่าจะตอบอย่างไรดีนั้น ท่านได้กล่าวต่อไปอีกว่า "พวกเธอก็ไม่เข้าใจที่ฉันพูดอยู่ละซิ" ทุกคนไม่เข้าใจจริง ๆ ท่านเหล่าเฉียนเหรินเป็นคนที่พูดไวทำไว ยังไม่ทันที่พวกเราจะตอบ ชายชราวัย ๙๔ ก็หมอบลงกับพื้นพร้อมกับทำท่าวิดพื้นให้ดูอย่างคล่องแคล่ว ท่าวิดพื้นมีความถูกต้องตามมาตรฐาน ท่านได้วิดพื้นให้พวกเราดูอยู่หลายครั้ง ทั้งยังสามารถพูดไปพร้อมกับการวิดพื้นในขณะเดียวกันอีกด้วย "ท่าวิดพื้นที่ถูกต้องจะต้องเป็นแบบนี้ ร่างกายไม่ควรแนบติดไปกับพื้น" ทุกคนต่างรู้สึกกระดากใจจนต้องรีบพากันหมอบลงหัดทำตามท่่านบ้าง แต่ทำได้เพียงไม่กี่ครั้งก็รู้สึกเหน็ดเหนื่อยเหลือกำลัง ในตอนนั้นทุกคนจึงเข้าใจความหมายของท่านว่ากำลังหมายถึง ท่าวิดพื้นของเหล่านักศึกษาที่ไม่มีความถูกต้องนั่นเอง หลังจากที่ท่านได้ลุกขึ้นยืนด้วยรอยยิ้ม ทุกคนต่างก็เหงือโทรมกายกันถ้วนหน้า เมื่อคิดแล้วก็รู้สึกละอายใจยิ่งนัก เพราะคนหนุ่มสาวยังมิอาจสู้คนแก่อย่างท่านได้เลย
    ในครั้งนั้น ทุกคนต่างชื่นชมในท่าวิดพื้นอันคล่องแคล่วงดงาม และความละเอียดรอบคอบในการบำเพ็ญที่จะไม่ยอมให้เกิดการปล่อยปละละเลยของท่านเป็นอย่างยิ่ง แต่ในอีกส่วนหนึ่งนั้น พวกเราต่างแอบรู้สึกดีใจอยู่ลึก ๆ เพราะท่านยังมีสุขภาพอันแข็งแรง ซึ่งถือว่าเป็นบุญวาสนาของพวกเราทุกคน อาวุโสต่างกล่าวกันอยู่เสมอว่า "วันหนึ่งที่ท่านอยู่ ก็ถือว่าเป็นวันแห่งวาสนาของทุกคน" ยิ่งมีคนกล่าวว่า "หนึ่งวันที่ผู้ทรงบารมียังอยู่ ก็เป็นอีกวันหนึ่งที่โลกจะสันติสุข" (ซึ่งก็เป็นดังที่กล่าวเช่นนั้นไม่ผิด เพราะตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมา เมืองที่ท่านอยู่ยังมิเคยปรากฏหายนะภัยจากธรรมชาติเลยแม้สักครั้ง แต่เพียงท่านได้สำเร็จธรรมจากไปแล้วเท่านั้น เมืองนั้นก็มักจะประสบหายนะภัยอยู่เนือง ๆ นั่นก็เพราะเมืองนั้นได้สูญเสียผู้ทรงธรรมไปแล้วนั่นเอง"
    แต่โลกนี้ช่างเต็มไปด้วยความอนิจจัง หลายสิ่งมักจะเกิดขึนอย่างเหนือความคาดหมาย เพราะอีกเพียงไม่กี่เดือน ท่านก็อำลาจากพวกเราไปอย่างมิอาจหวนคืน แม้นว่าการเกิดตายของชาวโลกจะเป็นสิ่งที่มิอาจหลีกเลื่องได้ แต่สำหรับจิตใจอันบริสุทธิ์เป็นกันเองพร้อมบารมีอันประเสริฐที่ไม่มีการถือสาแบ่งแยกนั้น ก้เป็นความทรงจำที่พวกเราไม่มีวันลบลืมได้ ในวันที่ท่านอำลาจากไป พวกเราทุกคนต่างเศร้าโศกร่ำไห้เสียใจ บรรยายกาศทั่วเทียนเอวี๋ยนฝอเยวี้ยนล้วนสลดหดหู่อย่างน่าใจหาย แม้แต่ต้นไม้ใบหญ้าทั่วหุบเขาก็ยังแสดงอาการเศร้าสลดอย่างมิเคยเป็นมาก่อน ในตลอด ๒๐กว่าวัน ท้องฟ้าได้โปรยละอองฝนร่วมแสดงความเสียใจอย่างมิเคยปรากฏไปทั่วตัวเมือง นั่นเพราะเวไนยสัตว์ได้สูญเสียมหาบุุรุษผู้ยิ่งใหญ่ไปแล้วนั่นเอง
หัวข้อ: ธรรมธาดาคู่โลกา : วิริยะ ใฝ่ศึกษา มัธยัสถ์เหนือคนธรรมดา
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 7/12/2010, 05:59

       ครั้นกล่าวถึงความวิริยะใฝ่ศึกษาของท่านเหล่าเฉียนเหรินแล้ว ก็ยิ่งคู่ควรแก่เกียรติคุณนี้อย่างมิต้องสงสัย นอกจากการปฏิบัติธรรมและการต้อนรับญาติิธรรมแล้ว ครั้นมีเวลาว่าง มือของท่านก็แทบจะไม่เคยว่างเว้นจากหนังสือแต่อย่างใด และไม่ว่าจะเป็นหนังสือประเภทใด ท่านก็จะทุ่มเทศึกษาให้รู้ซึ้งอย่างแตกฉาน สำหรับคนที่ติดตามท่านเหล่าเฉียนเหริน ต่างก็ทราบดีว่า ท่านจะมีความรอบรู้เสียเกือบทุกเรื่อง โดยไม่จำกัดเฉพาะศิลปวรรณกรรมหรือพระสูตรคัมภีร์ของแต่ละศาสนาเท่านั้น หากยังครอบคลุมถึงวิชาดาราศาสตร์ โหราศาสตร์ ภูมิศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ เศรษศาสตร์ แพทย์ศาสตร์ ตลอดจนการเขียนภู่กันจีน ดีดลูกคิด เย็บปักถักร้อย คหกรรมต่าง ๆ ท่านล้วนชำนาญจนถึงขั้นแตกฉานทั้งสิ้น จนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ยังเคยตรัสชมท่านว่า "ความรู้ลุ่มลึก รู้อดีตแจ้งปัจจุบัน" ซึ่งก็เป็นจริงตามนั้นทุกประการ
      และเหตุที่ท่านมีภูมิธรรมความรู้อันสุขุม ลายมือภู่กันอันวิจิตรนั้นเพราะ ท่านเป็นผู้ที่มีความขยันร่ำเรียนอย่างเหนือคนธรรมดามาแต่เยาว์วัย โดยเฉพาะหลังจากที่ท่านได้รับธรรมะแล้ว ไม่ว่าจะเป็นพระสูตร พระโอวาท หรือหนังสือธรรมะต่าง ๆ ขอเพียงท่านมีเวลาท่านก็จะตั้งใจศึกษาค้นคว้า หรือกระทั่งดิ่งความคิดอยู่กับสิ่งที่ศึกษาอยู่มิขาด ไม่ว่าจะอยู่ที่ฝูซันก็ดีหรือที่เทียนฝอเยวี้ยนก้ดี บนหัวเตียงของท่านจะมีหนังสือจัดเป็นแถวยาวเพื่อที่จะสะดวกในการหยิบอ่านได้ทุกเวลา และครั้นท่านได้อ่านพบคติธรรม ความรู้ดี ๆ ข้อใด ท่านก็จะนำมาบอกเล่าแบ่งปันให้กับทุกคนโดยมิหวงแหนแต่อย่างใด ทั้งนี้ท่านยังมักสนับสนุนให้ทุกคนมีความสนใจใฝ่ศึกษาอยู่มิขาด ตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมา พุทธโวาทของแต่ละชั้นเรียนที่ญาติธรรมได้ส่งมาให้อย่างมากมายนั้นท่านจะรับมาอ่านตั้งแต่ต้นจนจบอย่างละเอียดทุกฉบับ สำหรับจิตใจที่แน่วแน่ของท่านเช่นนี้ก็เป็นจิตใจที่น่าเคารพยิ่ง
      สำหรับความตั้งอกตั้งใจ ความวิริยะพากเพียรในการศึกษาเล่าเรียนของท่าน ก็หาใช่สิ่งที่คนธรรมดาสามัญจะสามารถทัดเทียมได้ไม่ โดยจะขอยกตัวอย่างเรื่องหนึ่งมาเล่าสู่กันฟัง ท่านเคยเขียนบทนำใน"คัมภีร์หมิงเซิ่งจิง" โดยมีเนื้อหาดังนี้ว่า "ข้าพเจ้ามาไต้หวันในปีหมินกั๋วที่ ๓๗ (ค.ศ.๑๙๔๘) ตราบจนฤดูสารทในปีหมินกั๋วที่ ๓๘ (ค.ศ.๑๙๔๙) เหตุด้วยความเหน็ดเหนื่อยกรำงานกับการบริหารร้านค้า จึงทำให้เจ็บป่วยเป็นโรคกระบังลมอักเสบซึ่งเป็นอันตรายยิ่งนัก และการรักษาใด ๆ ก็ไม่สัมฤทธิ์ผลทั้งสิ้น จนกระทั่งวสันตฤดูในปีหมินกั๋วที่ ๔๐ (ค.ศ.๑๙๕๑) อาการเจ็บป่วยก็หาได้ดีขึ้นแต่อย่างใดไม่ และด้วยเหตุที่ได้ค้นหนังสือที่นำมาจากเทียนจินขึ้นอ่านพบว่าเป็น "คัมภีร์หมิงเซิ่งจิง"  ดังนั้นจึงทำการจัดพิมพ์จำนวนหนึ่งพันฉบับออกแจกจ่าย และนับแต่นั้น ข้าพเจ้าก็สวดท่องอยู่ทุกวันด้วยความศรัทธา ผ่านไปเพียงไม่กี่วัน อาการเจ็บป่วยของข้าพเจ้าก็หายเป็นปลิดทิ้ง ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าเหลือเชื่อยิ่งนัก ตราบจนบัดนี้ ข้าพเจ้าอายุ ๗๑ ปีแล้วแต่สุขภาพก็ยังคงแข็งแรง นั่นก็เพราะอานุภาพแห่ง "คัมภีร์หมิงเซิ่งจิง" นั่นเอง...
หัวข้อ: ธรรมธาดาคู่โลกา : วิริยะ ใฝ่ศึกษา มัธยัสถ์เหนือคนธรรมดา
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 7/12/2010, 07:10

        สำหรับคัมภีร์เล่มนี้ ท่านได้ท่องมาตลอดสามสี่สิบปี เรียกได้ว่าท่านไม่เคยว่างเว้นแต่อย่างใด และแม้นงานธรรมจะรัดตัวมากเพียงใดท่านก็หาได้หยุดหย่อนแต่อย่างใดไม่ สำหรับจิตใจวิริยะพากเพียรของท่านดั่งนี้ ก็เป็นจิตใจที่ทำให้พวกเรารู้สึกนับถือและละอายใจยิ่งนัก อย่างเมื่อปีที่แล้ว ตอนนั้นท่านสิริอายุสูงถึง ๙๔ ปี ในเดือน ๖ ท่านได้รับเชิญให้ไปยังประเทศมอริเซียส ซึ่งเป็นการเดินทางไกลครั้งสุดท้ายในชีวิตของท่าน ในตอนนั้นท่านก็ยังคงพกคัมภีร์" หมิงเซิ่งจิง" ติดตัวไปอ่านถึงที่นั่นด้วย ในวันที่ ๔ เดือน ๗ ท่านเดินทางกลับไต้หวันเมื่อตอนที่ท่านลงจากเครื่องกลับถึงฝูซันก็เป็นเวลาสี่ทุ่มแล้ว แม้ตอนนั้นท่านจะเหน็ดเหนื่อยจากการเดินทางไกลมากเพียงใด แต่สิ่งแรกที่ท่านทำหลังจากกลับเข้าห้องนอนก็คือหยิบหนังสือขึ้นมาอ่าน ดังนั้นการที่พวกเราได้มีเหล่าเฉียนเหรินที่มีความวิริยะใฝ่ศึกษามากเช่นนี้ จึงนับเป็นวาสนาอันสูงยิ่งของพวกเราทุกคน
      นอกจากความขยันอ่านแล้ว ท่านก็ยังมุ่งมั่นฝึกฝนลายมือพู่กันอยู่เสมอ ลายมือของท่านนั้นหมดจด มีพลัง แม้นท่านจะมีภารกิจงานธรรมอันมากมายก็จริง แต่ท่านก็ยังตกทอดผลงานศิลปะพู่กันนับเป็นพัน ๆ ฉบับซึ่งก็ได้กลายเป็นที่ระลึกอันอมตะ และทรงคุณค่าที่สุดของญาติธรรมจำนวนมาก  สำหรับปฏิปทาอันงดงามของท่านดังนี้ก็เป็นสิ่งที่หาได้ยากยิ่งในหมู่คนมากมาย ซึ่งปฏิปทาดังนี้ไม่เพียงแต่สามารถทำให้ท่านมีความรู้ที่แตกฉานในทุก ๆ เรื่องราวเท่านั้น หากยังเสริมส่งให้ท่านมีบารมีอันยิ่งใหญ่เกรียงไกร และประสบผลสำเร็จในการนำพาอาณาจักรธรรมอันยิ่งใหญ่อีกด้วย ในคัมภีร์ทางสายกลางมีบันทึกไว้ว่า "หากไร้ซึ่งวรบารมี วิสุทธิธรรม มิอาจได้บรรลุ" อันเรื่องใหญ่แห่งการฉุดช่วยเวไนยสัตว์ มีฤาที่จะสำเร็จได้ด้วยง่าย
     ครั้นกล่าวถึงความงดงามด้านการประหยัด ก็เป็นจริยวัตรที่ผู้คนในอาณาจักรธรรมล้วนทราบเป็นอย่างดี เฉิงจื่อกล่าวว่า "ประหยัดเรียบง่าย คือคุณธรรมอันงดงามแห่งมนุษย์"  อันวัตรปฏิบัติในด้านความมัธยัสถ์ของท่านนั้นงดงามจนถึงขั้นคัมภีรภาพ จนทำให้ผู้คนที่คิดว่าได้ประหยัดแล้วยังต้องละอายแก่ใจนอกจากท่านจะไม่สิ้นเปลืองเงินทองเท่านั้น แม้นเพียงเศษกระดาษท่านก็ยังคงทะนุถนอมมิสิ้นเปลือง ส่วนเงินทองทุกบาททุกสตางค์ท่านก็จะใช้ให้เกิดคุณค่าเป็นเท่าตัว ดังนั้น เมื่อท่านได้เห็นเศรธกิจพัฒนาล้ำหน้าไปไกล วัตถุสิ่งของล้วนอุดมสมบูรณ์ แต่เหล่าคนหนุ่มสาวต่างฟุ้งเฟ้อโดยไม่รู้คุณค่าของความประหยัด หรือกระทั่งยังมีทัศนคติที่เมินเฉยไม่นำพาเสียอีก เหตุการณ์เหล่านี้จึงมักทำให้ท่านถอนหายใจเสมอ โดยเฉพาะหากเป็นของชิ้นน้อยด้อยค่าที่สามารถหาซื้อได้โดยไม่ยาก เช่น เข็ม ด้าย เป็นต้น คนทั่วไปก็มักจะทิ้งส่วนที่เหลือจากการปะเย็บไปโดยไม่ไยดี แต่สำหรับผู้ที่มีวัตรปฏิบัติอันงดงามเช่นท่านเหล่าเฉียนเหริน จะหาเป็นเช่นนั้นไม่ กล่าวคือ มีอยู่ครั้งหนึ่ง มีอาวุโสหญิงท่านหนึ่งอาสาจะเย็บกระดุมให้ท่าน ท่านกล่าวว่า "เธอเย็บไม่เป็นหรอก" อาวุโสท่านนั้นรู้สึกแปลกใจ เพราะว่าเขาถนัดเรื่องเย็บปักถักร้อยอยู่แล้ว เหตุใดท่านเหล่าเฉียนเหรินจึงกล่าวว่าเขาเย็บไม่เป็นเล่า จึงกล่าวว่า "ท่านเหล่าเฉียนเหรินเมตตา โฮ่วเสวียปะเย็บอยู่บ่อย ๆ ขอให้ท่านเหล่าเฉียนเหรินเมตตาให้โอกาสโฮ่วเสวียศึกษาด้วยเถิด" ท่านเหล่าเฉียนเหรินไม่อาจปฏิเสธ จึงยื่นเสื้อให้อาวุโสท่านนั้น ครั้นได้รับเสื้อ อาวุโสท่านนั้นก็ดึงด้ายเตรียมร้อยเข็มอย่างคล่องแคล่ว แต่ยังไม่ทันจะเริ่มลงมือ ท่านเหล่าเฉียนเหรินก็ท้วงขึ้นว่า " บอกแล้วว่าเธอเย็บไม่เป็นก็ไม่เชื่อ เย็บกระดุมแค่นี้ไม่จำเป็นต้องใช้ด้ายยาวขนาดนี้หรอก ใช้เพียงแค่นี้ก็พอ" ท่านเหล่าเฉียนเหรินรับเสื้อมาเย็บเอง ซึ่งท่านก็สามารถใช้ด้ายเย็บกระดุมได้อย่างพอดีไม่มีเหลือทิ้ง ไม่เพียงแค่ด้ายเท่านั้น แม้กระทั่งน้ำถูพื้นก็เช่นกัน ท่านมักกล่าวว่า "การถูพื้น ต้องกะดูว่ามีพื้นที่เท่าไรก็ต้องใช้น้ำเท่านั้น หากน้ำน้อยไปก็จะไม่สะอาด หากน้ำมากไปก็จะเป็นการสิ้นเปลือง ดังนั้นต้องกะเกณฑ์ให้พอดี" หรืออย่างซองเอกสารที่ใช้จนเก่า เราเห็นว่าเก่าแล้วก็มักจะทิ้งไป แต่ท่านเหล่าเฉียนเหรินจะนำซองเหล่านั้นมาเลาะพลิกด้านในออกและทากาวใหม่ ซองเก่าที่เราเห็นว่าหาประโยชน์ไม่แล้วก็จะกลายเป็นซองใหม่ในพริบตา
หัวข้อ: ธรรมธาดาคู่โลกา : ๓ วิริยะ ใฝ่ศึกษา มัธยัสถ์เหนือคนธรรมดา
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 7/12/2010, 08:39
    อย่างเช่นที่ฝูซัน อาวุโสจำนวนหลายท่านที่ไปอาจจะมิได้สังเกตุเห็นคือ ใต้อ่างล้างมือที่อยู่หน้าทางเข้าจะต้องมีถังรองน้ำอยู่ทุกแห่ง น้ำล้างมือทั้งหมดที่ไหลรวมลงไปในถังนั้น ท่านเหล่าเฉียนเหรินจะนำไปรดต้นไม้ แปลงผัก หรือชำระสิ่งสกปรกในที่ต่าง ๆ โดยท่านจะไม่ยอมให้เกิดการสิ้นเปลืองน้ำแม้แต่หยดเดียว หรือแม้แต่สมุดเซ็นเยี่ยมท่านก็ต้องตัดเย็บจากกระดาษโฆษณาหรือกระดาเหลือทั้งสิ้นและไม่เพียงแค่นี้เท่านั้นเพราะที่ฝูซันแห่งนี้ อาวุโสและสามคุณ จะเดินเก็บหาฟืนไฟในสวนมาใช้สำหรับหุงต้มโดยไม่มีใครสั่ง ซึ่งทั้งหมดล้วนเป็นเพราะบารมีของท่านเหล่าเฉียนเหรินที่ได้ซึมซาบเข้าไปในจิตใจของอนุชนรุ่นหลังนั่นเอง ท่านเหล่าเฉียนเหรินเคยกล่าวว่า "ในอดีต ครั้นท่านซือจุนเห็นผักที่ลอยทิ้งในคูน้ำครำ ขอเพียงแต่ยังสามารถทำได้ ท่านจะต้องเก็บขึ้นมาทุกครั้ง ที่ทำเช่นนี้มิใช่ว่าจะถนอมสิ่งของ หากเป็นการถนอมบุญ อันเป็นใจจริงที่ไม่อยากให้เกิดการสิ้นเปลืองนั่นเอง"
     ในพุทธวิหารเทียนฝอเยวี่ยนก็เช่นกัน ทุกครั้งที่ท่านมาถึงท่านจะต้องเข้าตรวจห้องครัว เพื่อสำรวจดูว่ามีการสื้นเปลืองข้างของเครื่องใช้หรือไม่ ซึ่งผู้ที่รับผิดชอบงานครัวจะต้องระมัดระวังเรื่องนี้เสมอ  ทั้งนี้เพราะไม่ต้องการให้ท่านกังวลใจนั่นเอง มีบางครั้ง เนื่องจากท่านเห็นว่าใช้น้ำมันสิ้นเปลืองจนเกินไป ท่านจึงลงมือผัดกับข้าวให้พวกเราชิมด้วยตัวท่านเอง ซึ่งแม้จะเป็นเพียงกับข้าวง่าย ๆ แต่ท่านก็สามารถปรุงเป็นอาหารเลิศรสและประหยัดได้โดยไม่ยาก พวกเราทุกคนต่างได้ประจักษ์แก่สายตา และก็ได้ชิมฝีมือการทำอาหารของท่านมาแล้ว ซึ่งทุกคนต่างรู้สึกยกย่องท่านเป็นอย่างยิ่งเพราะท่านไม่เพียงแต่มีความสามารถอันรอบด้านเท่านั้นหากท่านยังมีความละเอียดรอบคอบในทุกสิ่งอีกด้วย ดังนั้นตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมาไม่ว่าจะอยู่ที่ฝูซันก็ดีหรือที่เทียนเอวี๋ยนฝอเยวี่ยนก็ดี ขอเพียงเป็นสถานที่ที่ท่านอยู่ เราก็จะหาถังทิ้งเศษอาหารสักใบก็เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้เลย และในโลกใบนี้ ณ กาลปัจจุบัน การที่เราจะพบคนปฏิบัติตนด้วยความประหยัดอย่างเคร่งครัด ไม่ละโมบในความสุขความสบาย มีความสมถะเรียบง่ายในการกินอยู่เยี่ยงท่านเหล่าเฉียนเหรินนั้น ก็หาใช่เรื่องง่ายดายไม่ ไม่เพียงด้านการกินการใช้เท่านั้น ในเรื่องของการสวมใส่ ท่านก็ยังมีความประหยัดไม่แพ้กัน
หัวข้อ: ธรรมธาดาคู่โลกา : ๔ วิริยะ ใฝ่ศึกษา มัธยัสถ์เหนือคนธรรมดา
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 8/12/2010, 07:40

       ท่านเหล่าเฉียนเหริน มักจะตำหนิญาติธรรมหญิงว่ามีเสื้อผ้ามากจนเกินไปเสมอเพราะแต่ละคนมักจะสะสมเสื้อผ้าไว้ตั้งหลายสิบชุด แต่สำหรับเสื้อผ้าที่แขวนอยูไว้ในตู้ของท่านเหล่าเฉียนเหรินนั้น ก็ยังคงแขวนชุดจีนและเต้าผาว เพียงไม่กี่ชุดเช่นนั้นมาตลอด มาตรว่าเวลาจะผ่านไปแล้วหลายสิบปี ท่านก็ยังคงปฏิบัติเช่นนี้มิเคยเปลี่ยน ครั้งหนึ่งหลังจากที่ท่านกลับมา ท่านได้เห็นญาติธรรมหญิงสวมเสื้อผ้าชุดใหม่ ท่านเหล่าเฉียนเหรินจึงถือโอกาสอบรมว่า "พวกเธอใส่เสื้อผ้าไม่เป็นเลย เสื้อผ้าไม่ควรซักบ่อยนัก เสื้อผ้าของพวกเธอหากมิใช่ใส่ขาด ส่วนใหญ่ก็ซักขาด หากเสื้อผ้าไม่เปื้อน ก็ไม่ควรซักบ่อยนัก ตรงไหนเปื้อนมากก็ออกแรงขยี้หน่อย ส่วนที่ไม่เปื้อนขยี้เบา ๆ ก็พอ พวกเธอดูซิ อย่าเห็นว่าเสื้อผ้าของเราดูออกใหม่ แต่ก็ใส่มายี่สิบสามสิบแล้วนะ"เพียงโอวาทอันแสนธรรมดา แต่ก็ทำให้ญาติธรรมละอายใจยิ่งนัก แม้แต่เรื่องเล็กน้อยเพียงนี้ท่านก็ยังคงมีความละเอียดรอบคอบ ดังนั้นสำหรับรายละเอียดการบำเพ็ญแห่งจิตใจยังมิต้องกล่าวถึงอีกเลย และอีกเรื่องที่ประเสริฐยิ่งก็คือ เหตุที่ท่านประหยัดถึงเพียงนี้ส่วนหนึ่งก็เพราะท่านให้ความเคารพต่อฟ้าเบื้องบนอย่างที่สุด อีกส่วนหนึ่งก็เพราะท่านรักใคร่เอ็นดูต่ออนุชนรุ่นหลัง โดยประสงค์จะเหลือบุญให้แก่เวไนยสัตว์นั่นเอง ท่านกล่าวว่า "พระแม่องค์ธรรมทรงดูแลสรรพสิ่ง ทุกสิ่งล้วนเพราะเบื้องบนทรงประทาน พวกเราทุกคนจึงควรถนอมรักษา เพราะการรักสรรพสิ่งก็คือการรักฟ้า เคารพฟ้าก็จะถนอมสรรพสิ่งนั่นเอง" ท่านยังกล่าวอีกว่า "ใช้บุญก็หมดบุญ ถนอมบุญจึงจะเหลือบุญให้แก่ชนรุ่นหลัง" ด้วยจิตใจอันยิ่งใหญ่นี้ ก็เป็นสิ่งที่น่านับถือยิ่งนัก
       และก็ด้วยความจริงใจของท่านเช่นนี้ ตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมา ไม่ว่าท่านจะรอนแรมเหนื่อยยากกับงานธรรมมากเพียงใด ในขณะที่พักผ่อนตามจุดริมทาง ท่านก็เคยหาซื้อเครื่องดื่มหรือขนมขบเคี้ยวทานไม่ หากท่านจะเตรียมแต่เพียงอาหารแบบเรียบง่าย และน้ำดื่มขวดใหญ่เท่านั้น ท่านกล่าวว่า "ทุกบาททุกสตางค์ล้วนเป็นหยาดเหงื่อแรงกายของเวไนยสัตว์ดังนั้นจึงไม่กล้าสิ้นเปลือง" ครั้นโฮ่วเสวียทุกคนได้ยินต่างก็รู้สึกประทับใจยิ่งนัก และในความเป็นจริง ท่านก็เคร่งครัดในการแบ่งขอบเขตระหว่างทางธรรมกับทางโลกอย่างชัดเจน ในตลอดชีวิตของท่าน ท่านจะไม่เคยนำเงินของเวไนยสัตว์ไปใช้กับลูกหลานของท่านเป็นการส่วนตัวแต่อย่างใด สำหรับสาราณียวัตรอันยิ่งใหญ่ของท่านเช่นนี้ ตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมาก็เคยหาแปรเปลี่ยนแต่อย่างใดไม่ ซึ่งจุดนี้ เราทุกคนควรศึกษาเป็นแบบอย่าง
      แม้ว่าสาราณียวัตรด้านการประหยัดอย่างเคร่งครัดของท่านจะมิใช่สิ่งที่วัยรุ่นหนุ่มสาวจะรับกันได้ง่าย ๆ แต่สำหรับคุณธรรมด้านนี้ก็เป็นคุณธรรมอันงดงามที่เราควรจะรณรงค์ให้แพร่หลาย โดยเฉพาะในยุคที่คุกรุ่นด้วยกระแสวัตถุนิยม และเสรีนิยมที่ทุกคนมีแต่ชิงไหวชิงพริบและเห็นแก่ตัวเช่นปัจจุบัน หากทุกคนสามารถมีปฏิปทาเช่นท่านเหล่าเฉียนเหรินที่ถนุถนอมทรัพยากร เคร่งครัดในความประหยัด ไม่คล้อยตามกระแสทะยานอยากแห่งวัตถุเช่นนี้แล้ว คิดว่าจะสามารถลดภาวะสงครามและภัยพิบัติทั้งทางตรงและทางอ้อม อีกทั้งเพิ่มพูนบุญปัญญาให้แก่ชาวโลกอย่างมากมาย
    โดยเฉพาะในคุณธรรมเช่นนี้ หากมิใช่ได้หยั่งลึกถึงก้นบึ้งแห่งจิตใจอย่างแท้จริงแล้ว มันก็ง่ายแก่การละเลยพลาดพลั้งจนมิอาจควบคุมกิเลสความกระหายแห่งจิตใจได้อย่างแน่นอน ในทางตรงข้าม หากคุณธรรมประการนี้ได้ปลูกฝังอยู่ในจิตใจของคนเราอย่างมั่นคงแล้ว มันก็จะเผยปรากฏออกมาในทุกขณะเวลา จากจริยวัตรหลายสิบปีที่ผ่านมาของท่านเหล่าเฉียนเหริน เราต่างก็ประจักษ์แก่สายตาแล้วว่า ธรรมะได้หยั่งรากฝังลึกลงในจิตใจของท่านมากเพียงใด  มีอยู่ครั้งหนึ่ง หลังจากท่านเหล่าเฉียนเหรินได้ตราจลายพู่กันของสามคุณที่เขียนไว้ในพิธีประทานโอวาทกระบะทราย ท่านได้ชี้แนะทักษะการเขียนไว้โดยละเอียดก่อน จากนั้นท่านก็ถอนใจและชี้ไปที่กระดาษแผ่นนั้นว่า "ต้องตั้งใจเขียนหน่อยนะ แม้นจะเป็นกระดาษแค่แผ่นเดียวก็จริง แต่ก็ซื้อมาด้วยเงินทองนะ" ปกติตอนที่สามคุณฝึกพู่กัน ท่านเหล่าเฉียนเหรินจะกำหนดให้หัดฝึกเขียนตัวใหญ่ก่อน ส่วนช่องว่างที่เหลือก็ให้หัดเขียนหนังสือตัวเล็กเติมลงให้เต็ม โดยจะไม่ยอมให้สิ้นเปลืองอย่างเด็ดขาด ท่านกล่าวว่า "สรรพสิ่งฟ้าทรงประทาน ถนอมบุญเพื่อตกทอดให้คนรุ่นหลัง" ครั้งโฮ่วเสวียที่ยืนอยู่ข้าง ๆ ได้ยิน ก็รู้สึกละอายใจอย่างมาก เพราะในอดีตมีแต่สิ้นเปลืองทรัพยากรกระดาษไปไม่รู้เท่าไร ซึ่งล้วนเป็นการทิ้งบุญไปโดยมิได้ถนอมรักษาเลย
หัวข้อ: ธรรมธาดาคู่โลกา : ๕ วิริยะ ใฝ่ศึกษา มัธยัสถ์เหนือคนธรรมดา
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 8/12/2010, 09:17

      ทั้งนี้ ท่านเหล่าเฉียนเหรินยังกำชับกับคณะอาจารย์ถ่ายทอดเบิกธรรมอยู่เสมอว่า "พวกเธอมีฐานะเป็นอาจารย์ถ่ายทอดเบิกธรรม พวกเธอจะต้องทำตัวให้เป็นแบบอย่างแก่ผู้อื่น มิใช่ว่าหลังจากเสร็จพิธีปั้นเต้าแล้วยังรั้งรอให้ญาติธรรมเชิญทานข้าว ตอนที่เขาเชิญพวกเธอนั่งลง ทำไมไม่ลองคิด ๆ ดูบ้างว่า กิน ! กิน ! กิน ! กินจนบุญกุศลหมดแล้ว" คำพูดที่พูดอย่างตรงไปตรงมาเช่นนี้ ฟังดูแล้วเหมือนไม่ไยดีในน้ำใจ การที่ทานข้าวหลังปั้นเต้าก็เป็นเรื่องปกติของสังคมอยู่แล้ว โดยเฉพาะถันจู่และญาติธรรมต่างก็มีน้ำใจ ปฏิเสธน้ำใจก็จะเป็นการหมางใจกันเปล่า ๆ ทานข้าวสักมื้อก็ไม่น่าจะผิดจนถึงกับกินบุญกุศลหมดหรอก ท่านเหล่าเฉียนเหรินกล่าวหนักเกินไปแล้ว แต่เมื่อเราลองมาใคร่ครวญดู จึงได้ทราบเจตนาของท่านเหล่าเฉียนเหรินเป็นอย่างดี นั่นก็เพราะท่านเกรงว่าพวกเราจะถูกยกย่องเทิดทูนจนเป็นนิสัยแล้วยึดติดไปนั่นเอง
     ในพุทธคัมภีร์ได้บันทึกไว้ว่า "เกิดจิตที่จะรับการสักการะบูชาเช่นนี้จัดตกสู่ทุคติภูมิ" โดยเฉพาะจิตใจของคนเรานั้นอันตรายยิ่ง ส่วนจิตธรรมนั้นก็สุดแสนจะบอบบาง และการที่จะบำเพ็ญจนถึงขั้นจิตหนึ่งใจเดียวและมีความยึดมั่นในทางสายกลางได้นั้นก็หาใช่เรื่องง่ายดายไม่ นั่นเพราะจิตคนเรานั้นเปลี่ยนง่ายหากเก็บกลับได้ยากนัก และผู้ที่สามารถถือความรู้แจ้งเป็นสัตถา (ครู ผู้สอน) นำพาในการประคองจิตเอก และรอบคอบในดำริได้ทุกขณะจิตนั้นก็มีไม่มากเลย ในทางกลับกัน สำหรับผู้ที่ลุ่มหลงงงวย และกระทำไปโดยไร้สติสัมปชัญญะก็มีอยู่มากมายยิ่งนัก ดังนั้นจะมีสักกี่คนที่สามารถประคองดำริให้อยู่ในทางสายกลางอย่างเคร่งครัดได้ทุกขณะ ดังเช่นท่านเหล่าเฉียนเหริน ท่านเหล่าเฉียนเหรินมักจะตักเตือนพวกเราด้วยความเมตตาอยู่เสมอว่า "อย่าตามใจกิเลส อย่าปล่อยปละอารมณ์ ในเมื่อมีฐานะเป็นอาจารย์ถ่ายทอดเบิกธรรม ก็ถือว่าเป็นตัวแทนของท่านซือจุนซือหมู่ ดังนั้นจึงควรรอบคอบในทุกดำริกิริยาจึงจะถูก"  แม้ว่า ท่านจะไม่ค่อยได้ใช้คำพูดอันแสนเมตตาอ่อนหวานมาให้กำลังใจเราก็จริง แต่ความรักอันจริงใจที่แฝงเร้นในโอวาทของท่านนั้น เราก็สามารถสัมผัสรับรู้ได้เป็นอย่างดี
     สำหรับจิตใจอันเสมอภาคของท่านเราก็ควรจะมุ่งมั่นศึกษาเป็นแบบอย่าง อย่างเช่น ท่านทราบดีว่าทุกคนต่างยำเกรงท่านจนมิกล้าเข้าใกล้ ดังนั้นในเวลาที่ร่วมรับประทานอาหารกับทุกคน ท่านจึงมักทานอย่างรวดเร็วและลุกจากที่นั่งก่อนเสมอ ทั้งนี้เพราะไม่อยากให้ทุกคนรู้สึกอึดอัดในการรับประทานนั่นเอง และก็มีบางครั้งที่ท่านจะนั่งคอยพวกเราทานข้าวเสร็จนั่นก็เพราะท่านกำลังสังเกตุดูรายละเอียดด้านกิจวัตรการบำเพ็ญของทุก ๆ คน เพื่อดู่ว่ายังมีข้อใดที่ท่านพอจะอบรมส่งเสริมแก่พวกเราได้บ้าง เพื่อให้ทุกคนสามารถสำรวมจิตใจอันฟุ้งซ่านนั่นเอง
    และที่น่านับถือเป็นอย่างยิ่งก็คือ ท่านไม่เคยให้ใครมายืนคอยปรนนิบัติท่าน แม้ท่านจะอายุสูงถึง ๙๐ ปีแล้วก็ตาม ในชีวิตประจำวันท่านจะไม่เคยให้ญาติธรรม ยกสำรับอาหารไปบริการท่านที่ห้องแม้แต่ครั้งเดียว ไม่ว่าจะฝนตกฟ้าร้องอย่างไร ท่านก็จะต้องเดินเข้าไปในโรงอาหารนั่งร่วมรับประทานพร้อมกับทุกคน อีกยังคอยสังเกตุว่ากับข้าวของทุกคนพอทานหรือไม่ ในบางครั้งที่ท่านมีภารกิจงานธรรมรัดตัวจนไม่อาจร่วมรับประทานอาหารพร้อมกับทุกคนได้ท่านก็จะคอยกำชับให้ทุกคนทานก่อนว่า "พวกเธอควรทานได้แล้ว ถึงเวลาก็ควรทานไปก่อนเถอะ ไม่ต้องรอเราหรอก" สำหรับความรักความเมตตาของท่านเช่นนี้ก็ทำให้เราทุกคนรู้สึกประทับใจเป็นอย่างยิ่ง
    มีอยู่ครั้งหนึ่งที่เปิดชั้นประชุมธรรม เหตุด้วยมีนักเรียนจำนวนมาก จึงได้มีการแจกข้าวกล่องให้นักเรียนทาน ส่วนท่านเหล่าเฉียนเหรินและเหล่าคณาจารย์ก็จะมีการจัดโต๊ะอาหารไว้ต่างหาก อาจารย์ถ่ายทอดเบิกธรรมทั้งหลายต่างมิอาจปฏิเสธน้ำใจของถันจู่จึงนั่งลงทานกันหมด แต่คิดไม่ถึงว่าพอท่านเหล่าเฉียนเหรินเดินเดินเข้ามาในโรงอาหาร ท่านก็ตำหนิอย่างรุนแรงว่า "อย่างนี้ใช้ได้ที่ไหน คนอื่นทานข้าวกล่อง ส่วนพวกเราจัดโต๊ะนั่งทาน" (นี่ก็คือ วัตรที่เสมอภาคของท่านเหล่าเฉียนเหริน จึงเห็นได้ว่าจิตใจของท่านไร้การแบ่งแยก ไร้การเปรียบเทียบ ไม่ว่าญาติธรรมจะมีฐานะยากดีมีจนอย่างไร หรือญาติธรรมจะมีคุณวุติสูงต่ำเช่นไร ท่านล้วนปฏิบัติต่อทุกคนอย่างเสมอภาค ดังนั้นในตลอดชีวิตของท่าน ท่านจะปฏิบัติต่อเวไนยสัตว์โดยไร้ฉันทาคติ โมหะคติ และสิ่งนี้ก็คือจิตใจของพระพุทธาแล)
    แต่ก่อนที่ท่านจะอบรมสอนสั่งเราในรายละเอียด แน่นอนว่าท่านจะต้องสามารถเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่เราได้ก่อน ซึ่งเราทุกคนต่างทราบดีว่าท่านจะประหยัดเงินทุกบาททุกสตางค์อย่างเคร่งครัด ทั้งนี้เพื่อนำมาทำนุบำรุงอาณาจักรธรรม เพื่อสร้างสรรค์ประโยชน์ให้แก่อนุชนรุ่นหลังเป็นสำคัญ แม้จะเป็นเพียงของขวัญชิ้นเล็กน้อยที่ญาติธรรมนำมามอบให้ ท่านก็หาเคยเก็บไว้ใช้เป็นการส่วนตัวไม่ หากท่านจะนำไปมอบให้แก่ญาติธรรม ส่งเสริมญาติธรรม หรือใช้ต้อนรับอาคันตุกะอยู่เสมอ และนี่ก็คือจิตใจอันเปี่ยมด้วยเมตตากรุณาอันไร้ขอบเขต และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ท่านมักจะตระหนักอยู่เสมอว่าจะต้องประหยัดบุญวาสนาทั้งหมดให้แก่อนุชนรุ่นหลัง เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้มีโอกาสพัฒนางานธรรมและฉุดช่วยเวไนยสัตว์นั่นเอง และสำหรับบุคลากรอันมากมายในสังกัดของท่าน ตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมา ท่านก็หาเคยคิดที่จะเหนี่ยวรั้งไว้ข้างกายไม่ ขอเพียงทุกคนมีใจคิดจะบุกเบิกงานธรรม ท่านก็มักจะสนับสนุนให้ทุกคนออกไปบุกเบิกฉุดช่วยผู้มีบุญอยู่ทุกเวลา สำหรับจิตใจอันยิ่งใหญ่ที่มีแต่ทำเพื่อส่วนรวมเช่นนี้ ก็หาได้แตกต่างจากแสงสุริยันจันทราที่สาดส่องแสงไปในพื้นพิภพไม่
หัวข้อ: ธรรมธาดาคู่โลกา : อ่อนน้อมถ่อมตน ประศาสน์ธรรมด้วยหัวใจ
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 9/12/2010, 02:08

        ในคัมภีร์อี้จิงกล่าวว่า "วิญญูชนผู้สุภาพ จะอ่อนน้อมบำเพ็ญตน" ไม่ว่าจะเป็นวิญญูผู้ทรงธรรมท่านใดก็ตาม ก็ล้วนปฏิบัติตนด้วยคุณธรรมอันนอบน้อม ซึ่งท่านเหล่าเฉียนเหรินได้กล่าวอยู่เสมอว่า "มหาธรรมแฝงอยู่ ณ ที่ต่ำ" ภายใต้ใบหน้่าอันเคร่งขรึมเอาจริงเอาจังของท่าน หากมิใช่เป็นคนที่อยู่ใกล้ชิดหรือเป็นคนที่เข้าใจท่านเป็นอย่างดีแล้ว ก็มิอาจเข้าถึงความอ่อนน้อมและความสุขุมในการบำเพ็ญของท่านได้อย่างแน่นอน ซึ่งในตลอดชีวิตของโฮ่วเสวียนั้น ท่านคือผู้ที่อ่อนน้อมถ่อมตนมากที่สุดเท่าที่เคยเห็นมา
       หลายปีก่อน มีอาจารย์ถ่ายทอดเบิกธรรมที่ติดตามท่านนานถึงสิบกว่าปีท่านหนึ่งได้เรียบเรียงชีวประวัติสังเขปของท่าน เพื่อใช้การประกอบบรรยายจริยประวัติ หลังเรียบเรียงเสร็จก็ได้ถ่ายสำเนาและนำมาให้ท่านเหล่าเฉียนเหรินพิจารณาแก้ไข เนื่องด้วยอาจารย์ท่านนี้ได้ติดตามท่านเหล่าเฉียนเหรินมานาน จึงได้รู้ซึ้งถึงคุณธรรมอันงดงามและยิ่งใหญ่ของท่านเหล่าเฉียนเหรินเป็นอย่างดี ดังนั้นในขณะที่เรียบเรียงจึงได้ถ่ายทอดความรู้สึกที่เคารพต่อท่านเหล่าเฉียนเหริน ผ่านปลายปากกาอย่างมิอาจหลีกเลี่ยง แต่พอท่านเหล่าเฉียนเหรินอ่านเสร็จ ท่านก็ใช้ปากกาขีดกากบาทและเขียนคำว่าเพ้อเจ้อ ไม่จริงต่าง ๆลงบนเอกสารทุก ๆ หน้า ส่วนในหน้าสุดท้าย ท่านยังได้เขียนคำว่า "เอาหน้าเอาตา" ตบท้ายไว้อีกด้วย หลังจากอาวุโสหลายท่านได้ทราบเรื่องนี้ ต่างก็นำมาเป็นหัวข้อพูดคุยอย่างสนุกสนานว่า "ท่านเหล่าเฉียนเหรินไม่ชอบให้ใครสรรเสริญหรอกนะ" แต่เมื่อโฮ่วเสวียได้ทราบเรื่องนี้ก็รู้สึกประทับใจยิ่งนัก เพราะสำหรับผู้คนทั่วไปแล้ว ใครบ้างที่ไม่ชอบคำสรรเสริญเยินยอ และจะมีสักกี่คนที่ไม่ยึดติดในชื่อเสียงคำยกย่องบ้าง แต่สำหรับท่านเหล่าเฉียนเหรินแล้ว ท่านมีความอ่อนน้อมถ่อมตนโดยมิได้ยึดติดในชื่อเสียงเกียรติคุณ ทั้ง ๆ ที่ท่านก็สมควรได้รับอย่างยิ่งแล้วก็ตาม
     ในปีก่อน ซึ่งเป็นปีที่ครบรอบประสูติกาลหนึ่งศตวรรษของท่านซือหมู่ อาณาจักรธรรมแต่ละแห่ง ได้ร่วมกันจัดทำสมุดอนุสรณ์ในวาระพิเศษนี้ขึ้นด้วยเหตุนี้ อาจารย์ท่านหนึ่งจึงได้นำฉบับร่างเสนอให้ท่านเหล่าเฉียนเหรินพิจารณาแก้ไข แค่เพียงท่านเหล่าเฉียนเหรินเปิดไปที่หน้าแรก ซึ่งเป็นภาพถ่ายที่ท่านได้เข้ารับเหรียญอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดจากประธานาธิบดีในปีหมินกั๋วที่ ๘๒ (ค.ศ.๑๙๙๓) ท่านก็ขีดกากบาทตัวใหญ่ลงไปโดยไม่รีรอ พร้อมทั้งกล่าวว่า "นี่คืออนุสรณ์ที่รำลึกถึงพระธรรมบารมีของท่านซือหมู่ ไฉนจึงมาสดุดีที่เราได้ เราผู้บำเพ็ญธรรมมิควรยกย่องความดีของตน พึงรู้ว่าธรรมนั้นจะต้องเร้นอยู่ ณ ที่ต่ำเราจึงควรทำอย่างเงียบ ๆ มิเปิดเผยจึงจะถูก" ครั้นโฮ่วเสวียที่ยืนอยู่ข้าง ๆ ได้สดับก็ยังให้รู้สึกละอายใจยิ่งนัก
     หลังจากนั้นอีกสองวัน โฮ่วเสวียได้เปิดสมุดอนุสรณ์ที่ผ่านการพิจารณาแล้วอีกครั้ง พบว่าในส่วนที่เทิดทูนเกียรติคุณของท่าน ล้วนถูกกาออกทั้งสิ้น และในส่วนสรรพนามที่ยกย่องท่านว่า "ท่านเหล่าเฉียนเหรินผู้ทรงบารมี" ก็ล้วนถูกกากบาทจนเหลือแต่เพียงคำว่า "เหล่าเฉียนเหริน" เท่านั้น ตลอดจนรูปถ่ายที่ได้รับเลือกให้เป็นประธานในมหาพิธีบวงสรวงจอมปราชญ์ขงจื่อแห่งชาติก็ยังถูกกาทิ้งด้วยเช่นกัน
    ในตลอดหลายสิบปีแห่งการบำเพ็ญของท่านเหล่าเฉียนเหริน ท่านได้บำเพ็ญจนถึงขั้นคัมภีรภาพดุจทองนพคุณที่สุกอร่าม ดุจหยกงามที่ผ่องอำไพ ฉะนั้นในช่วงปัจฉิมวัย ท่านจึงได้รับคำตรัสชมจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์เป็นจำนวนมาก อย่างเช่นในปีหมินกั๋วที่ ๘๒ (ค.ศ.๑๙๙๓) ชั้นประชุมธรรมอันมากมายในเขตเอเซียอาคเนย์ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ล้วนประทานพระโอวาทซ้อนพระโอวาทว่า บรมครูแห่งยุค พระอริยชนแห่งกาล จอมปราชญ์ขงจื่อแห่งสมัย ผู้ช่วยชนโปรดเกล้า พระพุทธาบนแดนดิน เป็นต้น พร้อมยังมีพระโอวาทประกาศสดุดีอีกว่า "เด่นสง่าคือสัตถาแห่งสมัย คือจอมปราชญ์ขงจื่อบนไผท คือน้ำใสผู้รู้พอ รู้อดีตแจ้งกาลปัจจุบัน เมตตาโปรดชีวัน คอนงานใหญ่สามโลกบนกายา"
หัวข้อ: ธรรมธาดาคู่โลกา : ๒ อ่อนน้อมถ่อมตน ประศาสน์ธรรมด้วยหัวใจ
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 9/12/2010, 03:12

       จึงเห็นได้ว่า ไม่เพียงแต่ชาวโลกที่นับถือและยกย่องในบารมีของท่านเท่านั้น หากยังรวมถึงพระพุทธโพธิสัตว์บนแดนวิมานอีกด้วย ดังนั้นจึงมีอาจารย์ผู้หวังดีจำนวนหนึ่ง มีความประสงค์ที่จะรวบรวมเกียรติประวัติของท่านเหล่าเฉียนเหรินให้เป็นรูปเล่มไว้เพื่อเผยแพร่แก่สารณะต่อไป จึงได้นำเรื่องนี้มาปรึกษากับท่านเหล่าเฉียนเหริน แต่ท่านปฏิเสธโดยทันควันว่า "ไม่ได้ พระโอวาทเหล่านี้เป็นพระวจนะที่ให้กำลังใจแก่ฉันให้สู้ต่อไป ไฉนจึงนำไปประกาสโฆษณาเช่นนั้นได้" ท่านหยุดอยู่พักหนึ่ง เมื่อเห็นใบหน้าอันจริงใจของทุกคนแล้ว จึงกล่าวถนอมน้ำใจว่า "อย่างน้อยก็ต้องรอฉันจากไปแล้ว เวลานั้นจะดำเนินการพิมพ์หรือไม่อย่างไรก็สุดแต่พวกเธอเถอะ" ทุกคนต่างรู้สึกเคารพนับถือในความอ่อนน้อมถ่อมตนของท่านเป็นอย่างยิ่ง ขณะเดียวกันก็ได้เรียนรู้ในคุณธรรมประการนี้จากท่านในอีกทางหนึ่งด้วย
       อันพระอริยเจ้าผู้ทรงธรรมทั้งปวง ที่มีปณิธานเมตตาโปรดสรรพสัตว์เขาจะไม่ให้สภาวะแวดล้อมภายนอก มาเปลี่นแปรซึ่งอุดมการณ์ความมุ่งมั่นของตนอย่างเด็ดขาด เพราะเขาคือผู้ที่ไม่ทะเยอทะยานไขว่คว้าในความสำเร็จทางโลก หากคือ การบ่มเพาะคุณธรรมปัญญาภายในให้ปรากฏ ดังนั้นแม้นจะปลีกสันโดษจนไม่เป็นที่รู้จักของผู้คน เขาก็หาได้รู้สึกทุกข์ร้อนอนาทรแม้แต่น้อยไม่ ในคราวที่สบโอกาสก็จะออกสร้างสรรค์คุณงานตามที่ใจหมาย หากแม้นไร้โอกาสก็จะย้อนกลับบำเพ็ญจิตใจให้อำไพ และที่หาได้ยากยิ่งนักก็คือ ความมั่นคงแห่งอริยภาพภายในของท่านจะมิเคยหวั่นไหวไปตามสภาวะแวดล้อมภายนอกแต่อย่างใด เพราะท่านได้บำเพ็ญปฏิบัติจิตใจจนถึงขั้นสุขุมคัมภีรภาพแล้วนั่นเอง
      สำหรับวิญญูผู้ทรงธรรมจะมีแต่บำเพ็ญตนมิเปิดเผย หากเหล่าคนพาลจะเที่ยวโฆษณาพาที ให้ชาวโลกรับรู้ถึงคุณธรรมความดีของตนสำหรับจุดนี้ ท่านเหล่าเฉียนเหรินจะตระหนักรู้เป็นอย่างดี ดังนั้นท่านจึงมีแต่โทษรำพันตนว่ายังบกพร่อง โดยหาได้ยกย่องคุณความดีของตนแต่อย่างใดไม่ และสำหรับผู้ทรงธรรมบารมีนั้น ก็พึงเป็นเช่นนี้มิใช้ฤา ในภายหลัง โฮ่วเสวียทุกคนต่างสังเกตุเห็นว่า ทุกครั้งที่มีญาติธรรมมารายงานเรื่องงานธรรม ในเอกสารมักจะเกริ่นนำว่าขอกราบเรียนเชิญท่านเหล่าเฉียนเหรินผู้ทรงธรรมบารมีเมตตา ซึ่งท่านเหล่าเฉียนเหรินก็มักขมวดคิ้วบอกพวกเราทุกคนว่า "แค่รายงานอย่างเดียวก็พอแล้วเขียนพวกนี้ทำไมกัน" อันผู้ทรงธรรมบารมีพึงเป็นเช่นนี้ที่มิถือตัวมิใช่ฤา
     จำเดิมแต่เยาว์วัย ท่านได้รับการอบรมสอนสั่งจากคุณตาคุณยายและคุณแม่มาเป็นอย่างดี ดังนั้นท่านจึงแตกฉานในจตุรปกรณ์ (คัมภีร์ 4 เล่มแห่งศาสนาปราชญ์ คือ หลุนอวี่  เมิ่งจื่อ  ต้าเสวีย  จงอยง ) และพระสูตรของทั้งห้าศาสนา อีกยังมีความชำนาญในแก่นของศาสตร์จีนโบราณ ดังนั้นท่านจึงซึมซาบในคุณธรรมเรื่องความอ่อนน้อมได้เป็นอย่างดี
    ตามพุทธคัมภีร์ที่บันทึกไว้ หากผู้ใดสามารถบำเพ็ญจนถึงขั้นไร้อัตตา เขาผู้นั้นจำต้องปฏิบัติจนถึงขั้นเปี่ยมด้วยความรักความเมตตาต่อผู้คน และก็มีเพียงการรู้จักให้เกียรติต่อผู้อื่นโดยไม่ถือตนเท่านั้น จึงจะถือว่าบรรลุถึงสภาวะปห่งการไร้อัตตาได้และสำหรับการบำเพ็ญในด้านนี้ของท่านเหล่าเฉียนเหรินนั้น หาใช่สิ่งที่คนทั่วไปจะสามารถปฏิบัติได้โดยง่ายไม่ลำพังแค่เกียรติคุณที่ได้รับอิสริยาภรณ์อันสูงสุดของประเทศ ญาติธรรมต่างรู้สึกภูมิใจยกย่อง แต่อาวุโสที่อยู่ติดตามท่านมานานก็ยังมิเคยเห็นท่านประกาศยกย่องตนต่อผู้คน ไม่ว่าจะอยู่ ณ สถานที่ใด หรือเหตุปัจจัยใดแม้แต่น้อย
    ท่านมักกำชับเราอยู่เสมอว่า "ธรรมะแฝงอยู่ ณ ที่ต่ำ"  " เราทุกคนควรอุทิศช่วยเหลือผู้อื่นอย่างปิดทองหลังพระ" "เอาแต่ทำที่เปลือกนอกนั้นไร้ประโยชน์"  "ไม่ว่าจะเป็นเช่นไร ฟ้าจะมอบความยุติธรรมให้เอง"
    จริยวัตรอันงดงามของท่านได้เป็นที่ยกย่องของผู้คนอย่างกว้างขวาง แต่ท่านมักจะกล่าวว่า "ทุกสิ่งที่เราทำ ก็มีแต่ร่วมมือกับเจตนาฟ้าโดยมิต้องเอ่ยใด ๆ ครั้นเสร็จสิ้นภารกิจแล้ว ก็กลับคืนเบื้องบนกราบองค์มารดาเท่านั้น" จากจุดนี้จะเห็นได้ว่า จิตใจภายในของท่านได้ตระหนักเป็นอย่างดีว่าสิ่งต่าง ๆ ในโลกล้วนเป็นเพียงมายา ฟองน้ำ รูปเงา ซึ่งมีเพียงบ้านเกิดดั้งเดิมที่แท้จริงของเราเท่านั้นที่เป็นสิ่งที่เราควรมุ่งหมาย เพราะนั่นคือ สิ่งแท้จริงเพียงหนึ่งเดียวในโลกใบนี้นั่นเอง
หัวข้อ: ธรรมธาดาคู่โลกา : ๓ อ่อนน้อมถ่อมตน ประศาสน์ธรรมด้วยหัวใจ
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 12/12/2010, 01:14
   
        เจิงกั๋วฝัน (๑๘๑๑ - ๑๘๗๒ เป็นขุนนางฝ่ายกิจการตะวันตกและแม่ทัพทหารเซียงจวินในปลายราชวงศ์ชิง) เคยกล่าวว่า "ปราชญ์วีระอริยเจ้าแต่นานมาหากประสงค์จะยืนหยัดท่ามกลางโลกหล้า ก็จำต้องเพียบพร้อมด้วยความวิริยะ ส่วนบัณทิตผู้สราญในธรรมา ก็พึงพร้อมพรั่งด้วยความอ่อนน้อมถ่อมตน" ท่านเหล่าเฉียนเหริน ไม่เพียงแต่ปฏิบัติต่อผู้คนด้วยความจริงใจอ่อนน้อมเท่านั้น ต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์แล้ว ท่านก็มักตำหนิอย่างละอายใจที่ยังมิอาจปฏิบัติได้อย่างดีพออยู่เสมอ เมื่อปีที่แล้ว เฉินเฉียนเหรินได้เปิดชั้นประชุมธรรมสำหรับนักศึกษาวิทยาลัยอาชีวะ ในตอนนั้นพระมหาพฤฒาชันษาเจ้าและพระพุทธจี้กงต่างเสด็จประทับญาณพร้อมกันทั้งสองพระองค์ อาวุโสจึงรีบลงจากอู่จี๋กงไปรายงานท่านเหล่าเฉียนเหรินที่ตึกเทิดคุณโดยทันทีว่า "ท่านเหล่าเฉียนเหรินเมตตา ตอนนี้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ได้เสด็จมาประทับญาณ ทุกคนจึงอยากเรียนเชิญท่านเหล่าเฉียนเหรินเมตตากับทุกคนด้วยครับ" แต่ท่านกลับกล่าวขึ้นอย่างเหนือความคาดหมายว่า "ไม่ได้ เรายังปฏิบัติไม่ดีพอ รู้สึกผิดต่อฟ้าเบื้องบนยิ่งนัก เราไม่กล้าไปพบสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรอก" ครั้นโฮ่วเสวียได้ยินก็รู้สึกละอายใจเป็นยิ่งนัก เพราะปกติหากเราได้มีโอกาสเห็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์มาเมตตา พวกเราจะรู้สึกยินดีปรีดาอย่างหาที่เปรียบมิได้ จนอาจจะบ่อยครั้งที่เกิดใจลำพองว่าเป็นเพราะความศรัทธาของเราที่ได้ซาบซึ้งถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์จนมาเมตตา โดยน้อยคนนักที่จะคิดถึงความบกพร่องของตนว่ายังไม่คู่ควรที่จะพบสิ่งศักดิ์สิทธิ์อย่างท่านเหล่าเฉียนเหรินได้เลย
      โบราณกล่าวว่า "อริยเจ้านั้นผิดมาก ปราชญ์เมธานั้นผิดน้อย ส่วนปุถุชนนั้นไร้ผิด" คำ ๆ นี้ช่างมีเหตุผลยิ่งนัก และสำหรับคำตอบอันแสนจะธรรมดาของท่านเหล่าเฉียนเหรินนี้ เราก็สามารถเห็นความเคร่งครัดของการปฏิบัติและการตำหนิติโทษตนด้วยความละอายใจได้เป็นอย่างดี แม้นว่าในหลายปีที่ผ่านมา สิ่งศักดิ์สิทธิ์จะยกย่องชมเชยท่านอย่างมากมายก็จริงแต่ท่านก็หาเคยยกคำตรัสชมเหล่านั้น มาเอ่ยให้ใครทราบแต่อย่างใดไม่ หากท่านกลับยิ่งมุ่งบำเพ็ญเพื่อยกระดับตนให้ดียิ่ง ๆ ขึ้น อันเป็นดั่งที่ว่า "เคร่งครัดตน ผ่อนปรนผู้อื่น" นั่นเอง และนี่ก็คือจริยวัตรที่ท่านได้ปฏิบัติเสมอมา
      ในปีหมินกั๋วที่ ๕๒ (ค.ศ.๑๙๖๓) ภาวะกิจการของร้านค้าถงเต๋อประสบปัญหา กอปรกับปัญหาด้านการเงินที่รุมเร้า การทดสอบจึงได้ประทุขึ้นทั้งภายในและภายนอก แม้นว่าท่านจะเจ็บปวดทรมานเช่นไร แต่ท่านก็หาได้ตัดพ้อต่อว่าใด ๆ ไม่ หากท่านยังคงสำนึกในพระมหากรึณาธิคุณเบื้องบนพระคุณพระอาจารย์อยู่มิเคยขาด พร้อมทั้งยังตำหนิติโทษตนดังนี้ว่า "เมื่อข้าพเจ้าลองคิดดูแล้ว ทั้งหมดก็ล้วนเพราะข้าพเจ้านำพาไม่ดี ไร้บารมี ความสามารถ มีกรรมหนักบาปหนาต่างหาก แต่ก็ยังโชคดีที่ฟ้าทรงพระเมตตา ในตลอดหนึ่งที่ผ่านมาหนี้สินที่ติดค้างก็ล้วนชำระคืนจนหมดสิ้น งานธรรมจึงเริ่มกระเตื้องขึ้น" สิ่งที่ท่านห่วงใยก็คือ งานธรรม และภาวะหนี้สินของร้านค้า ไม่ว่าคนอื่นจะผิดต่อท่านเช่นไร แต่ภายในใจของท่านจะไม่โทษใครอย่างเด็ดขาด
หัวข้อ: ธรรมธาดาคู่โลกา : ๔ อ่อนน้อมถ่อมตน ประศาสน์ธรรมด้วยหัวใจ
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 12/12/2010, 02:12
       ไม่เพียงเท่านี้ ปกติพวกเรามักจะเห็นแต่ใบหน้าที่เคร่งขรึมจริงจังของท่าน น้อยนักที่เราจะได้เห็นด้านที่ตำหนิติโทษตนอย่างเคร่งครัดของท่านวงการพุทธศาสนาในสมัยนั้นได้มีพระเถราจารย์ผู้มีชื่อเสียงท่านหนึ่งนาม "หงอีฝ่าซือ" สำหรับพระคุณเจ้าท่านนี้ ท่านจะถือคติว่า "หากศิษย์ผิดเพราะครูทำ" ดังนั้นหากลูกศิษย์ประพฤติตัวไม่เหมาะสม ท่านก็จะรับผิดขังตนอดอาหารแต่ในห้อง จนกระทั่งลูกศิษย์ได้สำนึกแก้ไขแล้วจึงยุติ แต่สำหรับคุณธรรมด้านนี้ของท่านเหล่าเฉียนเหริน ก็หาใช่ด้อยกว่าแต่อย่างใดไม่ ทุกครั้งที่มีอาวุโส อาจารย์ถ่ายทอดธรรม หรือโฮ่วเสวียทั้งหลายกระทำผิด ท่านก็จะเรียกผู้กระทำมาเมตตาอบรม แต่หลังจากญาติธรรมได้กลับออกไปแล้ว ท่านก็จะเดินกลับห้องตบปากตัวเองอย่างแรง พร้อมทั้งบริภาษตนว่าไร้บารมีความสามารถต่าง ๆ นาๆ  การที่ท่านกล่าวโทษตนอย่างเจ็บปวดเช่นนั้น โฮ่วเสวียทั้งหลายได้เห็นต่างก็อดห่วงใยท่านเสียมิได้ แต่ก็มิทราบว่าจะกล่าวเช่นไรดี อันธรรมจรรยาที่เคร่งครัดตนโดยไม่ถือโทษใครของท่านเช่นนี้ ก็เป็นสิ่งที่ทำให้ผู้รู้เห็นรู้สึกละอายใจยิ่งนัก
      การที่ท่านเหล่าเฉียนเหรินต้องรับผิดชอบต่อปัญหาต่าง ๆ ที่รุมเร้าทั้งนี้เพราะท่านต้องการนำพาอาณาจักรธรรมให้อยู่มนสัมมาวิถีนั่นเอง ในยามที่ประสบปัญหาการทดสอบ ท่านก็จะแบกรับปัญหาและคอยประคับประคองจิตใจของทุกคนให้มั่นคงมิถดถอย ด้วยเพราะหน้าที่ที่ท่านรับผิดชอบคือ งานใหญ่แห่งสามโลก ซึ่งความกดดันตรงนี้ก็หาใช่สิ่งที่เราจะสามารถสัมผัสได้ไม่ แต่จากบทความตอนหนึ่งของท่านต้าเต๋อเจินจวิน ก็พอจะแย้มพรายให้เราได้รับรู้ถึงภาระหน้าที่อันหนักหน่วงของท่านได้บ้าง
    โดยเฉพาะในช่วงที่วาระฟ้ายังกึ่งแฝงกึ่งแจ้งอยู้นั้น พวกเราโชคดีมากเป็นพิเศษที่สามารถขึ้นสู่ธรรมนาวาได้ ทั้งนี้ล้วนเพราะพระคุณของท่านเหล่าเฉียนเหรินทั้งสิ้น หากมิใช่เพราะท่านอุทิศเสียสละ ฝ่าคลื่นลมฝนกระหน่ำ บุกเบิกเผยแพร่ยังถิ่นไกลที่ไต้หวันเพื่อฉุดช่วยเหล่าสรรพสัตว์โดยไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคขวากหนาม ต้องคอยบอกกล่าวตักเตือนจนน้ำลายเหือดแห้งลำบากยากแค้นถึงเพียงนี้ก็ยังมิเป็นที่ยอมรับของสังคม อีกยังไม่เป็นที่เข้าใจของทางการอีกต่างหาก ดังนั้นจึงต้องลำบากตรากตรำอย่างมากมาย ยังจำได้ว่าที่อาณาจักรธรรมแห่งหนึ่ง ท่านเหล่าเฉียนเหรินเห็นทุกคนที่นั่นต่างย่อท้อถดถอย ท่านจึงเมตตาคัดลอกพระโอวาทของพระธรรมาจารย์รุ่นที่ ๑๕ ทิ้งไว้บนโต๊ะหนังสือเพื่อเป็นกำลังใจแก่ทุกท่านว่า.....

อันถูกผิดดีชั่วมิต้องกล่าว            อันสั้นยาวกล่าวโทษไยต้องสน
หากลำบากตรากตรำแล้วพ้อบ่น    ธีรภาพบารมีตนจักสิ้นไป 
ลุยธาราฝ่าอัคคีลุปณิธาน            ผจญมารการทดสอบมิแปรผัน
แม้นเสือร้ายฝูงหมาป่ามาประจัน    ผู้อื่นพรั่นแต่มีเรามุ่งหน้าเดิน 
ท่านงักฮุยฟงปอถิงถูกใส่ไคล้      ท่านกวนอูต้องชีพวายที่ตงอู๋
ปณิธานหาญกู้ชาติมิอาจลุ          เพียงใจภักดิ์ได้เชิดชูลุอริยา
ยิ่งเฉพาะทำงานฟ้าให้พระแม่ฯ     โปรดแผ่พุทธประยูรที่เวียนวน
พวกเราต่างคนสามัญปุถุชน         กลับได้ยลรับธรรมะทำงานฟ้า
อันธรรมาลึกซึ้งสุดวิเศษ             คนทั่วไปมิอาจเห็นเจตกระจ่าง
วิญญูชนอย่าถือสาจิตสล้าง         ต้องใจกว้างอย่างอุปราชปราดเปรื่องชน
ได้ตรากตรำลำบากจากทดสอบ    จึงรู้รอบเหนือฟ้ายังมีฟ้า
ทั่วแผ่นดินยังมีธรรมพิเชฐ           ทั้งบนฟ้าใต้หล้าธรรมยิ่งยง
พึงรู้ว่าทรัพย์ต้องจางห่างราคะ      ทนทุกขเวทนาได้ลิ้มหวาน
หากใจจริงรู้สำนึกอย่างอาจหาญ    จักแปรเคราะห์พาลเป็นสิริสวัสดี
มหาธรรมจำเดิมคืองานแห่งฟ้า      เราช่วยฟ้าแพร่ธรรมาฟ้าประสิทธิ์
อำนาจคนหรือจะสู้ฟ้าลิขิต           ใครอาจชิตฝืนลิขิตแห่งฟ้าได้
มรสุมมีวันเกิดมีวันสิ้น                 เกิดหรือสิ้นล้วนลิขิตด้วยเบื้องฟ้า
เราทั้งหลายอย่าเสียสัตย์ปณิธาน   เร่งกายาด้วยใจหาญองอาจเดิน   
หัวข้อ: ธรรมธาดาคู่โลกา : ๕ อ่อนน้อมถ่อมตน ประศาสน์ธรรมด้วยหัวใจ
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 12/12/2010, 02:53
      โอวาทท่านเหล่าเฉียนเหรินเหล่านี้ ช่างซาบซึ้งกินใจยิ่งนัก เราซึ่งเป็นอนุชนของท่านทั้งหลายจะไม่ทำความเข้าใจในเจตนาของท่านเลยหรือ ครั้นกล่าวถึงตรงนี้ ก็ทำให้นึกถึงพระอริยาในอดีต เช่น พระเยซูที่ต้องธรรมพลีบนไม้กางเขน ท่านจอมปราชญ์ขงจื่อที่ถูกดักล้อมอดอาหาร ทั้งหมดเหล่านี้ ฤามิใช่เพราะต้องการฉุดเหล่าเวไนยหรอกหรือ
     พระอาจารนย์เคยทรงเมตตาว่า "ศิษย์จะต้องจดจำไว้ให้มั่น ไม่ว่าจะอยู่ในภาวะลำบากหรือสุขสบาย ทั้งหมดล้วนเป็นลิขิตแห่งฟ้า ดังนั้นพวกเราจะต้องเรียนรู้การสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเบื้องบน" สิ่งศักดิ์สิทธิ์เคยเมตตาว่า "มารทดสอบพึงรอบคอบซึ้งเจตนา การหมุนเวียนในใต้หล้าฟ้าประสิทธิ์ ฟ้าทดสอบมีสุขใจและทุกข์จิต ไม่ทดสอบมิสัมฤทธิ์เป็นพุทธา" ในขณะที่ถูกทดสอบ ก็คือ เวลาที่ให้เราได้กระจ่างในความจริงภายในตัวเรา และเป็นห้วงโอกาสที่ให้พวกเราได้สำแดงซึ่งคุณธรรมอันแท้จริง แต่การเคี่ยวกรำหล่อหลอมเช่นนั้นก็หาใช่จะฝ่าฟันได้ง่ายไม่และสำหรับโอวาทท่านต้าเต๋นเจินจวิน ที่ได้บันทึกไว้ ก็ยิ่งเป็นบทสะท้อนให้เราได้เข้าถึงความเมตตากรุณาของผู้ทรงคุณธรรมได้ดียิ่งขึ้น
    ทั้งนี้ ในด้านปฏิสัมพันธ์ของท่านเหล่าเฉียนเหริน ท่านจะเมตตาต่อผู้อื่นและเข้มงวดต่อตนเองอยู่เสมอ ท่านจะมิใช่คนที่สักแต่พูด หากจะปฏิบัติออกมาให้เราได้เห็นอย่างแท้จริง แม้นท่านจะอายุถึง ๙๐ กว่าแล้ว แต่ท่านก็มิเคยเอ่ยว่าตนแก่เลยสักคำ ในยามว่างท่านมักจะถือกรรไกรคอยตัดแต่งกิ่งไม้ ดูแลพืชพันธุ์ไม้ดอกอย่างขะมักเขม้น เมื่อญาติธรรมมาท่านจะวางงานไปต้อนรับญาติธรรมอย่างอบอุ่น ครั้นญาติธรรมกลับ ท่านก็จะพับแขนเสื้อและทำงานสวนของท่านต่อไป สำหรับจิตใจอันมานะบากบั่นของท่านดังนี้ก็ได้เป็นแบบอย่างจริยวัตรอันงดงามแก่เราเสมอมา โบราณกล่าวว่า "ธาราไหลน้ำไม่เสีย กายาเพียรใจไม่ท้อ" ดังนั้นแม้นท่านจะสูงวัย ๙๐ กว่า แต่กำลังใจของท่านก็ยังคงแข้มแข็ง และจิตใจของท่านก็ยังคงผ่องใสอยู่ทุกเวลา
    ในด้านการบำเพ็ญปฏิบัติอย่างเคร่งครัดของท่าน เราทุกคนต่างสามารถประจักษ์เห็นในกิจวัตรของท่านได้เป็นอย่างดี โฮ่วเสวียจึงขออนุญาตยกเพียงหนึ่งตัวอย่างมาเล่าสู่กันฟังดังนี้...ในโลกนี้ ผู้ชราที่อายุสูงถึง ๙๐ กว่าแล้วยังไม่เคยฟันหักหรือทำฟันเลยแม้แต่ครั้งเดียวนั้น คงจะหาได้น้อยเต็มที ซึ่งหนึ่งในจำนวนคนที่หาได้ยากยิ่งนั้นก็คือท่านเหล่าเฉียนเหรินของเรานั่นเอง ทั้งนี้เพราะท่านมีความเสมอต้นเสมอปลายเป็นกิจวัตร มีความมานะบากบั่นเป็นนิสัย ทักเช้าท่านจะต้องดื่มน้ำต้มสุก ออกกำลังกาย  และทำกายบริหาร ๘ กระบวนท่าที่แสนลำบากเป็นประจำทุกวัน สำหรับเยาวชนอย่างเราจะเห็นท่าบริหารเหล่านี้เป็นสิ่งที่ยุ่งยากและน่าเบื่อหน่าย แต่ท่านกลับสามารถบริหารท่าเหล่านี้มาตลอดหลายสิบปี ท่านจะไม่ทานขนมขบเคี้ยว ไม่ดื่มน้ำสีหรือน้ำอัดลม ท่านจะทานแบบเรียบง่าย เสื้อผ้าอาภรณ์และเคหะสถานของท่านล้วนธรรมดาไร้ความหรูหรา ท่านมีความสมถะร่าเริง ทั้งหมดล้วนเพราะท่านบำเพ็ญปฏิบัติตนอย่างเคร่งครัดนั่นเอง และเมื่อย้อนมองดูการบำเพ็ญของอนุชนรุ่นหลังอย่างเรา ความมานะบากบั่นอย่างเสมอต้นเสมอปลายเช่นท่านนี้ นับวันก็มีแต่เหลือน้อยลงไปทุกที
   
หัวข้อ: ธรรมธาดาคู่โลกา : แจ่มแจ้งในธรรมา อิริยาแห่งปราชญ์
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 13/12/2010, 10:40

      ในด้านหลักธรรมต่าง ๆ นั้น  ต้องถือว่าท่านเหล่าเฉียนเหรินมีความแตกฉานอย่างลึกซึ้ง ในทุกวจนะที่ปราศัย แม้นจะดูแล้วแสนธรรมดาหากทุก ๆ คำล้วนแฝงด้วยหลักธรรมอันแยบยล และท่านไม่เพียงสามารถประคองรักษาสัทธรรมที่ท่านซือจุนซือหมู่ได้ถ่ายทอดให้เท่านั้น หากท่านยังนำไปปฏิบัติในทันทีได้อย่างเที่ยงตรงประพฤติตนให้เป็นแบบอย่างแห่งธรรมได้อย่างงดงาม และเผยแพร่ศาสตร์แห่งปราชญ์ให้ขจรจนกว้าวไกลได้อีกด้วย ท่านมักกล่าวว่า "สิ่งศักดิ์สิทธิ์เคยเมตตาไว้ว่า ในยุคท้ายศาสนาปราชญ์สนองวาระ เก็บงานสมบูรณ์"  ดังนั้นในทุกรายละเอียดแห่งกิจวัตรประจำวัน ในทุกการเดิน ยืน นั่ง นอน ในทุกการปฏิสันถารและปฏิปทา ท่านล้วนได้แสดงออกถึงจริยวัตรแห่งปราชญ์ได้ประจักษ์อย่างงดงาม
     ท่านเมตตาว่า "ในวัชรสูตรบทที่ ๑๗ ที่ว่าด้วยที่สุดไร้อัตมะ ได้กล่าวไว้ว่า "พระพุทธองค์ทรงรับการประทานจุดจากพระทีปังกรพุทธเจ้า  อันความหมายของพระทีปังกรพุทธเจ้านี้ มิใช่คือการจุดความสว่างดอกหรือ นั่นมิใช่การชี้จุดจากพระวิสุทธิอาจารย์เมื่อตอนที่รับธรรมะหรอกหรือ" ท่านยังได้เมตตาอีกว่า "เพียงครึ่งถ้อยน้อยคำก็เข้าใจ ไยต้องใช้ถึงร้อยพันบทพระคัมภีร์ ได้รู้แจ้งซึ่งโฉมแท้แต่เดิมมี ก็ตรงรี่ด้วยหนึ่งก้าวเข้านิพพาน" "ท่านพระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงได้กล่าวไว้ว่า "ยามใจสงบไยต้องถือศีลให้วุ่นวาย ยามประพฤติเที่ยงตรงมิคลาย ไฉนต้องบำเพ็ญฌาน รู้พระคุณก็จักกตัญญูอุปัฏฐากบุพการี รู้มโนธรรม ก็จักดำรงใจอารีย์ต่อผู้เฒ่าผู้เยาวว์ รู้อภัยก็จักใฝ่ใจเคารพปรองดอง รู้ขันติ บาปวิถีจักไม่บังเกิด หากสามารถสีไม้ให้เกิดไฟ บัวแดงอำไพจักผุดขึ้นจากโคลนตรม ที่ขมปากคือยาดี คำวจีที่เสียดหูแท้คือคำทัดทาน รู้แก้ผิดจักเกิดปัญญาญาณ  ป้องผิดพลาดดวงมานปราชญ์เมธี กิจวัตรหมั่นประโยชน์แก่ชาวประชา วิมุตินั้นหนาหาใช่เิกิดจากทักษิณา อันโพธิเพียงค้นได้จากจิตตา ไยต้องค้นหาใฝ่แยลยลที่ภายนอก หากสดับรับบำเพ็ญเพียรตามนี้ สุขาวดีจักปรากฏเพียงเบื้องตา" ซึ่งก็แน่นอน อันหนึ่งจุดชี้จากพระวิสุทธิ์อาจารย์ ก็เป็นดังเนื้อหาในพระสูตรฮุ่ยเหนิงที่บันทึกว่า..."มีคนถามว่า อันสัทธรรมจุกษุเร้น จะถ่ายทอดให้แก่ผู้ใด" พระธรรมาจารย์ตอบว่า "ผู้มีธรรมจักได้ ผู้รู้ธรรมจักแจ้ง"
    ท่านเหล่าเฉียนเหรินกล่าวว่า "ในโลกใบนี้ อะไรบ้างที่เป็นจริง ก็มีเพียงใจจริงดวงนี้เท่านั้นที่เป็นจริง" เหล่าธรรมอันแยบยลทั้งหลายล้วนที่อยู่ที่ใจจริงดวงนี้ และก็ด้วยใจที่จริงดวงนี้ สิ่งที่ปฏิบัติออกมาจึงจะเป็นคุณธรรมอันแท้จริง ดังนั้นโอวาทที่ท่านได้เมตตาพวกเราในชีวิตประจำวัน ทุกประโยคล้วนเน้นที่การปฏิบัติให้เป็นจริงในชีวิตประจำวันทั้งสิ้น ดังนั้นท่านจึงรณรงค์คุณธรรมแห่งศาสนาปราชญ์ ประกาศให้ปฏิบัติมั่นในคุณธรรมแปด (กตัญญุตาธรรม  ภราดรธรรม  ภัคดีธรรม  สัตยธรรม  จริยธรรม  มโนธรรม  สุจริตธรรม หิริธรรม) อย่างเคร่งครัด โดยท่านมักจะเมตตาเราในหลักธรรมที่เข้าใจง่าย ๆ ดังนี้..."การบำเพ็ญของเรานั้นควรทำอะไรกันบ้าง บำเพ็ญธรรมด้วยความเสมอภาคอย่างนั้นหรือ สังคมสมัยนี้ล้วนมีคำขวัญว่าชายหญิงต้องเสมอภาค ต้องมีเสรีภาพอย่างเสมอภ่ค หากว่าคุณลุงคุณตา คุณพ่อของเธอที่บ้านบอกว่าสิทธิต้องเสมอภาค แล้วอย่างนี้ยังจะเหมือนครอบครัวอีกหรือ ทำเช่นนี้มิใช่วุ่นวายไปหมดดอกหรือ.....เราบำเพ็ญธรรมคือเน้นความเสมอภาค ไม่ว่าจะยากดีมีจนหนุ่มสาวผู้เฒ่าเยาว์ ไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม คนไหนบำเพ็ญคนนั้นได้ คนไหนปฏิบัติคนนั้นบรรลุ อย่างนี้ต่างหากจึงเป็นความเสมอภาค" "กราบพระคือต้องเรียนรู้ และเอาอย่างในพระมหาเมตตา กรุณาแห่งองค์พระพุทธโพธิสัตว์ จากนั้นก็ย้อนมองส่องตน ย้อนสำรวจพิจารณาตน นี่จึงเป็นความหมายที่แท้จริงของการกราบพระ หลักธรรมข้อนี้เราทุกคนควรเข้าใจไว้"
หัวข้อ: ธรรมธาดาคู่โลกา : ๒ แจ่มแจ้งในธรรมา อิริยาแห่งปราชญ์
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 15/12/2010, 09:42

       อ่านคัมภีร์แห่งพระอริยา ที่เรียนนั้นคือฉันใด...การอ่านเรียนที่สำคัญนั้นคือ ต้องแจ้งในความ หรือก็คือ แจ้งในหลักของการเป็นคน เมื่อเข้าใจในความหมายนี้แล้วยังต้องนำพากันไปทำ หลักคุณธรรมทั้งหมดที่มีอยู่ในหนังสือก็อ่านกันไปแล้ว แต่ทำไมถึงไม่ทำ ถ้าเช่นนั้นการอ่านหนังสือจะมีประโยชน์อะไรพระอาจารย์เมตตาว่า "อะไรคือคนจริงนั่งสมาธิ" อันว่านั่งก็คือ สองคนประคองดิน อันสองคนนั้นหมายถึง คนจริง และ คนปลอม แล้วควรนั่งเมือ่ไหร่ นั่งทุก ๆ ช่วงเวลาคนจริงคนปลอมประคองรักษาดิน ยึดมั่นในมัชฌิมา ดำรงซึ่งความสงบแห่งจิตใจ นี่มิใช่การนั่งสมาธิทั่วไปหรอกนะ" วันนี้เบื้องบนทรงเมตตาโปรดธรรมะ คือช่วยคนดีออกมานี่คือการปฏิบัติธรรม การบำเพ็ญธรรมมิใช่การบำเพ็ญจิตดอกหรือ ถามตนเองดูซิว่า โลถ โกรธ หลง ได้ขจัดไปแล้วหรือยัง กตัญญูพ่อแม่แล้วหรือยัง ได้ละสิ้นซึ่งความกังวล เผยออกมาซึ่งความเมตตา ลืมสิ้นซึ่งอัตตา นี่ก็คือพระพุทธา" ปัจจุบันคือยุคสามปลายกัป มีการปกโปรดอย่างกว้างขวาง หากเรากู้โลกช่วยคน วันนี้ตาย วันนี้ก็คือพระพุทธะ เจ้าเชื่อไหม...พระพุทธะมิใช่ว่าต้องตายแล้วจึงจะเป็นพระพุทธะ ตอนที่เจ้ายังอยู้เจ้าทำความดี กู้โลกช่วยคน ทุกคนก็จะชมเจ้าว่าเป็นพระโพธิสัตว์เดินดิน...ดังนั้นทุกคนต่างก็มีจิตพุทธะ ก็ดูแต่เพียงว่าเจ้าไปทำความดีหรือเปล่า ทำความดีก็จะเป็นพระพุทธอย่างแน่นอน  ปัจจุบัน คือช่วงของยุคขาว พระแม่องค์ธรรมทรงส่งจดหมายให้เราเตรียมพร้อม ในอนาคตจะมีการเก็บสมบูรณ์ในยุคปลาย พวกเราจะต้องเก็บสมบูรณ์ตัวเองก่อน หรือก็คือชีวิตตนก็ต้องตนเป็นผู้ช่วย ไม่ว่าใครก็ไม่สามารถช่วยเราได้ ทั้งหมดต้องพึ่งพาตนเอง ตนเองไม่ช่วยตน แล้วจะมีใครช่วยเราได้อีก" ต้องช่วยตนเอง มิใช่พึ่งเพียงแค่สวดมนต์ประจำวัน และก็มิใช่พึ่งการปักธูปไหว้พระประจำวัน ง่ายดายมาก ที่บ้านเจ้าต่างก็มีพระอยู่สององค์ เจ้าไม่ต้องไหว้ เขาก็ปกป้องคุ้มครองเจ้าอยู่ทุกวัน หากแม้แต่พระที่ปกป้องคุ้มครองเจ้าอยู่ทุกวันยังไม่รู้จักกตัญญู ไหว้พระพุทธโพธิสัตว์แล้วจะมีประโยชน์อะไร กับพ่อแม่ยังไม่รู้จักกตัญญู สวดมนต์แล้วจะได้อะไร ดังนั้นแม้ความเป็นมนุษย์ยังทำได้ไม่ดี ไม่มีความซื่อสัตย์กตัญญู ไม่เมตตาการุณ ไหว้พระสวดมนต์ บริจาค ล้วนไม่มีประโยชน์ทั้งสิ้น อยากช่วยตนเองก็ต้องพึ่งตนเอง โดยควรเริ่มทำจากที่บ้านเราก่อน แล้วจึงผลักดันไปสู่ผู้คน วิธีนี้ง่ายดายที่สุด เพียงแต่ต้องดูว่าเจ้าได้ทำหรือเปล่าเท่านั้น"
       ปัจจุบันเบื้องบนทรงปกโปรดอย่างกว้างขวาง ได้บอกให้เราทราบถึงสัจธรรม พวกเราทุกคนต่างได้รับพระบัญชาจากฟ้าเบื้องบนทั้งสิ้น พระอริยาเคยตรัสว่า " อันชีพฟ้าก็คือธรรมญาณ" ที่พูดคือหมายถึง สิ่งนี้  หรืออย่างประโยคแรกในพระหฤทัยสูตรกล่าวไว้ว่า "พระโพธิสัตว์ผู้พินิจตน" ซึ่งหมายความว่า พินิจดูซิ ดูพุทธญาณของตนเองนี่ซิ ซึ่งทั้งหมดได้กล่าวอย่างชัดเจนแล้ว "สารีบุตรไม่เกิด ไม่ดับ ไม่ผ่องแผ้วไม่มัวหมอง" ตรงนี้คือ การกล่าวถึงธรรมญาณเดิมอันบริสุทธิ์ของพวกเรา  หากก่อนนี้มิได้รับหนึ่งจุดจากพระวิสุทธิอาจารย์ เราก็ไม่สามารถเข้าใจในความนี้ได้ ในพุทธคัมภีร์กล่าวไว้เช่นกันว่า "สรรพธรรมล้วนไม่ห่างจากธรรมญาณ" สรรพสิ่งทั้งหลายล้วนเกิดมาจากตรงนี้ทั้งสิ้น เข้าใจไหม
     ชาวต่างชาติกำลังค้นคว้าเรื่องของความนึกคิด โดยเริ่มค้นคว้าจากสมองใหญ่ สมองน้อย ในทางจีนจะพูดถึงเรื่องใจนึกคิด ซึ่งก็คือใจนี้กำลังนึกคิด บนหนังสือเขียนไว้ว่าจิตญาณ ซึ่งจิตก็คือญาณของพวกเรา เราต่างได้รับหนึ่งจุดชี้แล้วจึงเข้าใจ เหตุใดจึงไม่เรียกว่าญาณเสียเลยล่ะ คัมภีร์กล่าวว่า "อันชีพฟ้าก็คือธรรมญาณ" ญาณฟ้าแต่เดิมมา หากไม่แปรสภาพก็จะเรียกว่า ธรรมญาณ แต่ภายหลังได้ถูกบดบังจากอารมณ์ ๗ กิเลส ๖ ก็จะเกิดเป็นการเปรียบเทียบ นี่เรียกว่าใจ สมมุติว่าเธอไม่ดีต่อเรา เราก็จะไม่ดีต่อเธอ เธอด่าฉัน ฉันไม่พอใจ เธอชมฉัน ฉันดีใจ นี่ก็คือการเปรียบเทียบ แต่ญาณฟ้าแต่เดิมมาจะไม่มีสิ่งเหล่านี้ และญาณฟ้าแต่เดิมมาก็คือ ใจไร้เดียงสาอย่างเด็กนั่นเอง"
การปฏิบัติธรรม ก็คือ ต้องกู้โลกช่วยคน เหตุใดการกู้โลกช่วยคนก็คือ การปฏิบัติธรรม เพราะที่เราปฏิบัตินั้น คือ อนุตตรธรรม  อะไรคืออนุตตรธรรม อนุตตรธรรมก็คือ หนทางสายหนึ่งที่จะกลับคืนเบื้องบน อีกคือ สิ่งที่ให้ญาติธรรมสามารถเจริญตามรอยแห่งพระพุทธอริยออกโปรดเวไนย เมื่อไหร่ที่โลกสู่ความสันติสุข เมื่อนั้นจึงถือว่าภารกิจของเราสร็จสิ้น และเวลานั้นจึงจะถึงเวลากลับคืนเบื้องบนถวายรายงานได้ ปณิธานที่พวกเราตั้ง ก็คือหน้าที่ คือภารกิจ ไปถึงที่ไหน ก็ควรปฏิบัตถึงที่นั่น วันนี้ปฏิบัติธรรม วันนี้ก็คือพระพุทธะ แต้ก็พึงรู้ไว้ว่า มีปณิธาน การปฏิบัติงานธรรมก็คืองานของเราจะวิงวอนขอสิ่งศักดิ์สิทธิ์อย่างไรก็ไม่มีทางให้เราได้หรอก บุญกุศลที่เราทำก็คือ ของ ๆ เราเอง ทุกสิ่งล้วนอยู่ที่ตัวเราเอง ปัจจุบันคือเช่นนี้ จุดนี้ไม่ทำความเข้าใจไม่ได้
หัวข้อ: ธรรมธาดาคู่โลกา : ๓ แจ่มแจ้งในธรรมา อิริยาแห่งปราชญ์
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 16/12/2010, 09:18

      ตอนนี้เราต่างรู้ว่าการปฏิบัติธรรม การบำเพ็ญธรรม  การเผยแพร่ธรรม คือ กิจแห่งพุทธอริยะ คือกิจแห่งการกู้โลกช่วยคน สร้างบุญกุศล แต่รู้อย่างเดียวจะมีประโยชน์อะไร รู้แล้วควรต้องไปทำ หลายคนรู้ว่านี่คือสิ่งดี แต่ก็ไม่ไปทำเสียที...พระอริยะตรัสว่า "การรู้และการกระทำต้องเป็นหนึ่งเดียว" ความหมายนั้นก็คือ เมื่อรู้ว่าดีก็ควรไปทำ เปรียบเสมือนรู้ว่ากินข้าวแล้วจึงจะมีสารอาหาร สามารดำรงชีพให้คงอยู่ แต่ถ้าหากไม่กินเราก็ต้องตาย ถ้าเช่นนั้นจะมีประโยชน์อะไรความสำคัญของการรู้และการปฏิบัติต้องเป็นหนึ่งเดียว ก็คือจุดนี้เองแล
     การบำเพ็ญธรรม ก็คือ การบำเพ็ญใจของตน พิจารณาตน สำรวจตน ดูว่าตนได้ทดแทนพระคุณบุพการีแล้วหรือยัง ตนได้ทำความชั่วไว้หรือไม่...การบำเพ็ญธรรม ก็คือ ต้องบำเพ็ญให้จิตธรรมปรากฏออกมา จิตธรรม ก็คือ จิตฟ้า พุทธกล่าวว่า ต้องย้อนมองส่องตน พระอริยะกล่าวว่า ต้องสำรวจตน การบำเพ็ญธรรมนั้นคือเพื่อให้ตนได้ดี บุตรชายของท่านขงจื่อถึงแก่กรรม แต่ท่านขงจื่อก็ยังคงปฏิบัติต่อบุตรของคนอื่นดุจการปฏิบัติต่อบุตรของตน อย่างเช่น เอ็นดูบุตรตนอีกทั้งบุตรของผู้อื่น ปรนนิบัติบุพการีของตนอีกทั้งบุพการีของผู้อื่น เราบำเพ็ฯธรรมก็คือ ต้องนำจิตธรรมออกมา จิตธรรมก็คือจิตฟ้า ฟ้าทรงให้กำเนิดสรรพสิ่ง ก็คือทรงประทานให้แก่ชนทั้งหลาย โดยไม่เคยจำกัดว่าจะไม่ให้ใครเลย"
    ตอนนี้เธอได้รับธรรมะแล้ว ก็ควรรู้ว่าฟ้าทรงประทานจิตญาณให้แก่เรา บุพการีเป็นผู้มอบสังขารให้แก่เรา สังขารเราเมื่อมรณาก็สิ้นแล้วหากมีเพียงจิตญาณนี้ที่เราต้องนำกลับคืนฟ้าไป ทุกคนจึงมิควรยึดสิ่งปลอมมาเป็นสิ่งจริง วันใดที่เราหลับตาไป อะไรก็ไม่ใช่ของ ๆ เราอีกแล้ว ในพุทธคัมภีร์ได้กล่าวไว้ว่า" สวรรค์นรกล้วนเกิดขึ้นเพียงชั่วห้วงความคิด" อะไรคือช่วงห้วงความคิด สมมุติว่า เธอด่าฉัน "ขอโทษนะ ต้องขอบคุณท่านที่ช่วยลบล้างหนี้บาปให้เรา เราก็ไม่ต้องไปกังวล ไม่โกรธ นี่ก็คือสวรรค์ แต่หากเธอด่าฉัน "คุณมีสิทธิ์อะไำร" แล้วก็ด่ากลับไป เกิดการตบตีกันขึ้นมา นี่ก็คือความทุกข์และนี่ก็คือนรก เช่นนี้มิใช่เป็นเพียงแค่ชั่วห้วงความคิดดอกหรือ"
    พุทธระเบียบบอกให้เราเคารพอาจารย์ เทิดทูนธรรมะ เคารพอาวุโส เคร่งครัดในพุทธระเบียบ กตัญญูต่อพ่อแม่ ที่ถูกก็ควรเคารพรักษา หากไม่ถูกก็ไม่ควรรับฟัง หากพระอาจารย์ใช้ให้เราหยิบดาบฆ่าคน เราก็จะฟังคำพูดพระอาจารย์เลยหรือ พ่อของเราเป็นหัวขโมย บอกให้เราเป็นขโมย เราก็เป็น อย่างนี้จะเรียกว่าบุตรกตัญญูอย่างนั้นหรือ  วันนี้เราบำเพ็ญธรรม ก็คือ ต้องรู้จักแยกแยะผิดชอบชั่วดี นี่ก็คือ ยึดหลักคืนสู่จริง ต่อพระโอวาทของสิ่งศักดิสิทธิ์ก็ควรเป็นเช่นนี้เหมือนกัน มีเหตุผลก็จงนำไปปฏิบัติ ไม่มีเหตุผลก็ไม่ควรเชื่อ หากเชื่อก็ต้องถือว่าโง่เขลาเบาปัญญา ตรงนี้จะต้องแยกแยะให้ดี การยึดหลักคืนสู่จริงก็คือความหมายนี้นั่นเอง การบำเพ็ญธรรมต้องเน้นที่ความเสมอภาค ดดยไม่มีการแบ่งแยกยากดีมีจน หรือคุณวุติสูงต่ำแต่อย่างใดการบำเพ็ญธรรมหาได้เกี่ยวข้องกับระดับการศึกษาไม่ เรื่องยากดีมีจนก็มิได้เกี่ยวข้องด้วยเช่นกัน ยาจกก็อาจเป็นพระโพธิสัตว์ได้  ฟ้าทรงปกโปรดอย่างกว้างขวาง ศาสนาปราชญ์เก็บงานอย่างสมบูรณ์ ปัจจุบันทั่วทั้งโลกต่างค้นคว้าเรื่องปรัชญาชีวิต ซึ่งทั้งหมดล้วนอิงปรัชยษเหลาจื่อ ขงจื่อ และเมิ่งจื่อเป็นพื้นฐาน เริ่มทำจากมนุษยธรรม หากมนุษยธรรมยังปฏิบัติได้ไม่ดีแล้วยังจะเหลือศักดฺืศรีแห่งมนุษย์อีกหรือ แล้วหากสักสวดมนต์แต่คาถามันมิใช่ไร้ประโยชน์ใด ๆ ดอกหรือ แล้วเช่นนี้จะสำเร็จเป็นพุทธะได้หรือ ดังนั้นการบำเพ็ญธรรมควรเริ่มจากมนุษยธรรม เริ่มจากพื้นฐาน ตัวเราดีแล้วยังต้องส่งเสริมให้คนอื่นได้ดี ตัดกิเลสสิ้นแล้วจึงจะบรรลุสู่ปัญญาอันยิ่งใหญ่ สำรวมใจบำเพ็ญกายให้เที่ยงตรง หากทุกคนเป็นเช่นนี้ โลกเราก็จะกลายเป็นสันติภพแล้วมิใช่หรือ
     เราบำเพ็ญธรรมปกิบัติธรรม ที่สำคัญคือต้องรู้จักสำนึกคุณ อยู่ในบ้านต้องรู้สำนึกพระคุณบุพการีที่เลี้ยงดู เมื่อรับธรรมะแล้วต้องรู้สำนึกว่าสรรพสิ่งล้วนได้ถูกรังสรรค์จากองค์มารดา ดังนั้นเวลารับประทาน ก็ต้องรำลึกว่าทั้งหมดนี้ฟ้าทรงประทานให้ อยู่ในสังคมยิ่งต้องรู้จักขอบคุณทุก ๆ คน ให้ทุก ๆ วันดำรงแต่จิตสำนึกคุณ เราก็จะมีความสุขล้ำทุกเวลา เช่นนี้ก็เปรียบเช่นอยู่บนแดนนิพพาน หากแต่ละวันมีเรื่องที่ไม่พอใจ นั่นก็ไม่พอใจ นี่ก็ไม่พอใจ แต่ละวันมีแต่เรื่องกลัดกลุ้ม นี่มิเท่ากับใช้ชีวิตบนนรกดอกหรือ ไยต้องเป็นเช่นนั้นด้วย ในแต่ละวัน ในทุกขณะเวลา ในทุก ๆ สถานที่ ให้ดำรงไว้ซึ่งจิตสำนึกคุณ รู้ถนอมบุญปัจจัยให้จงดี  สำหรับสารัตถะข้างต้นที่คัดสรรมา ทุก ๆ วาจาล้วนแสนจะเรียบง่ายหากแต่แฝงด้วยนัยอันแยบยล โดยทัศนะการบำเพ็ญที่สำคัญล้วนแฝงอยู่ในนี้ทั้งสิ้น และสำหรับทัศนะการบำเพ็ญแต่อดีตมา เคยมีไหมที่จะอยู่นอกเหนือจากกรอบโอวาทเหล่านี้ได้ขอเพียงแต่เราตั้งใจในการอ่าน ค่อย ๆ ซึมซาบอย่างละมุน เราก็จักสัมผัสถึงคุณธรรมอังสูงล้ำ การปฏิบัติที่เคร่งครัดและความเรียบง่ายในกิจวัตรของท่านเหล่าเฉียนเหรินได้เป็นอย่างดี
    ท่านซือจุนเคยเมตตาไว้ว่า "ธรรมะก็ไม่เห็นมีอะไร  คือสิ่งเรียบง่ายอย่างที่สุดแล้ว เพียงแต่ใจมนุษย์ของเจ้าต่างหากที่ทำให้ซับซ้อนเสียอีก"  ท่านจวงจื่อกล่าวไว้ว่า " รู้ตัวจริงก่อนแล้วจึงจะมีการรู้จริง" เมื่อไม่รู้แจ้งความเป็นชีวิตอย่างลึกซึ้งมากพอก็จะไม่รู้จริงในหลักสัจธรรมทั้งปวง หากไม่มีการรู้จริงเราก็จะกลายเป็นคนตาบอดที่คลำช้างได้ และควรเป็นเช่นไรจึงจะมีการปฏิบัติจริงล่ะ ดังนั้นจากจรอยวัตรของท่านเหล่าเฉียนเหริน เรียกได้ว่าท่านคือผู้ที่แจ้งในใจตนได้อย่างดีที่สุดและจากโอวาทต่าง ๆ เหล่านี้ของท่านก็ล้วนมีประสิทธิผลเช่นตะเกียงที่นำความสว่างให้เราได้บำเพ็ญปฏิบัติสู้ทิศทางอันถูกต้อง จนทำให้เราไม่เคว้งคว้างหลงทางไปในความมืดมนได้เพราะท่านไม่เพียงแต่สามารถแยกแยะความจริงออกจากมายาได้เท่านั้นหากท่านยังเป็นผู้ไม่ยึดติดในลักษณะ ละวางซึ่งอัตตา จิตใจบริสุทธิ์ผุดผ่องเหมือนเช่นตะวันที่ลอยเด่นบนห้วงนภาแล
หัวข้อ: ธรรมธาดาคู่โลกา : มุ่งมั่นการกุศล เพื่อลุผลในความหวัง
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 17/12/2010, 09:59

       จากบทก่อน ๆ เราพอจะทราบได้ว่า ท่านเหล่าเฉียนเหรินเป็นผู้ที่เน้นความสำคัญของการปฏิบัติ ซึ่งปฏิปทาข้อนี้ของท่านได้ถูกปลูกฝังมาแต่เยาวว์วัยและอาจเป็นเพราะท่านมีจิตเมตตาที่แรงกล้าเหนือผู้คนโดยทั่วไป ดังนั้นเมื่อคราวท่านอายุ ๒๐ กว่า นอกจากท่านจะมุ่งมั่นทุ่มเทให้กับกิจการแล้ว ท่านยังปัดกวาดถนนหนทางที่หน้าบ้านท่านตลอดทั้งสายทุกเช้าอย่างเสมอต้นเสมอปลาย จนผู้คนในหมู่บ้านต่างยกย่องท่านว่าเป็นคนดีโดยถ้วนหน้า แต่ท่านก็หาได้เจาะจงทำความดีเฉพาะแค่ผู้คนในหมู่บ้านไม่ หากแต่ท่านจะเมตตาอารีต่อทุก ๆ คน นับแต่เยาว์วัยจนถึงวัยชรา โดยมิเคยเปิดเผยให้ใครรู้แต่อย่างใด อย่างเมื่อปีที่แล้ว ภาคใต้ทางใต้หวันประสบวาตภัยจากพายุใต้ฝุ่นอย่างแสนสาหัส ครั้นท่านทราบข่าวก็รีบดำเนินการบริจาดเงินช่วยเหลือเป็นจำนวนห้าล้านเหรียญ โดยมีญาติธรรมร่วมสมทบอีกสิบล้านเหรียญ โดยท่านจะกำชับอยู่ตลอดเวลาว่าไม่ให้ลงข่าว หรือประกาศออกไปอย่างเด็ดขาด ท่านกล่าวว่า "การให้ความช่วยเหลือคือหน้าที่ที่พวกเราควรทำอยู่แล้ว"
     ในตลอดชีวิตของท่าน ท่านไม่เพียงแต่รณรงค์หลักคุณธรรมแห่งปราชญ์ให้กว้างไกลเท่านั้น หากแต่ยังมุ่งมั่นปฏิบัติให้เป็นรูปธรรมอีกด้วย ในปีหมินกั๋วที่๖๘ (ค.ศ.๑๙๗๙) เดือน ๑๒ วันที่ ๑๖ ท่านได้ก่อตั้งสถานอนุบาลซิ่นอี้ ที่ซีหลัว โดยมีจุดประสงค์ในการรับเลี้ยงเด็กกำพร้า และทำการอบรมบ่มสอนให้เป็นคนดีของสังคมสืบไป ตราบจนปีหมินกั๋วที่ ๗๖ (ค.ศ.๑๙๘๗) ท่านได้เปิดสถานสงเคราะคนชราที่ผูหลี่ โดยให้ผู้ชราได้ใช้ชีวิตในการบำเพ็ญอย่างมีความสุข ดุจว่าได้อาศัยในบนวิมานในบั้นปลาย ต่อมาในปีหมินกั๋วที่ ๗๘ (ค.ศ. ๑๙๘๙) ท่านยังได้ก่อตั้งอนุตตรธรรมวิทยาลัย เพื่อทำการอบรมสร้างสรรค์ยุวชนที่มีใจมุ่งมั่นบำเพ็ญปฏิบัติในอาณาจักรธรรม ในปีหมินกั๋วที่ ๗๙ (ค.ศ. ๑๙๙๐) ท่านยังได้เดินทางไปทำพิธีเบิกหน้าดินเพื่อก่อสร้างอนุตตรธรรมวิทยาลัยที่เมืองไทย ปีหมินกั๋วที่ ๘๑ (ค.ศ. ๑๙๙๒) ขณะท่านเดินทางไปอเมริกา ท่านเห็นที่ดินที่เหมาะสมผืนหนึ่ง จึงเตรียมโครงการก่อสร้างอนุตตรธรรมวิทยาลัยอีกแห่งหนึ่งที่นั่น ฯลฯ  สำหรับกุศลวัตรต่าง ๆ เหล่านี้ของท่าน หากมิใช่เพราะจิตเมตตากรุณาอันยิ่งใหญ่ และวิสัยทัศน์อันยาวไกลที่จะสร้างสาธารรประโยชน์แก่ชาวโลกแล้ว ไยท่านจึงต้องเหน็ดเหนื่อยตรากตรำ และแปลงอุดมการณ์ให้เป็นรูปธรรมอย่างมากมายเช่นนี้ด้วย
หัวข้อ: ธรรมธาดาคู่โลกา : อันธรรมานั้นคือธรรมชาติ จงปฏิบัติด้วยความเสมอภาค
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 29/12/2010, 14:26

       เหตุด้วยท่านเหล่าเฉียนเหรินมีความเข้าใจต่อธรรมะอย่างลึกซึ้ง มีทัศธรรมอันเที่ยงตรง กอปรกับความพากเพียรในการบำเพ็ญปฏิบัติมาตลอดหลายสิบปีจิตใจภายในของท่านจึงบรรสานเป็นหนึ่งเดียวกับฟ้าดินตลอดเวลา ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นการบำเพ็ญธรรมก็ดี การปฏิบัติธรรมก็ดี ทุกจิตทุกใจของท่านจะต้องปฏิบัติไปตามครรลองแห่งฟ้า ท่านเน้นอยู่เสมอว่า "ธำรงจิตฟ้ามาทำงานแห่งฟ้า ตัดซึ่งบุคคลอัตตา นั่นคือ ความเสมอภาคที่แท้จริง" ท่านเมตตาต่อพวกเราอยู่เสมอว่า "การบำเพ็ญธรรมนั้นอยู่ที่ตัวพวกเราเองทั้งสิ้น จะทำหรือไม่อย่างไรไม่มีใครฝืนบังคับเราได้ สมัยพระอาจารย์ยังมีชีวิตอยู่ก็ยังไม่เคยกล่าวว่า "พวกเจ้าจะต้องเชื่อฟังฉัน" เลยสักคำ ดังนั้นทุกสิ่งทุกอย่างต้องให้เป็นไปโดยธรรมชาติ" "ในโลกใบนี้ นอกจากใจจริงของเจ้าที่เป็นจริงดวงนี้แล้ว นอกนั้นล้วนเป็นสิ่งปลอมที่หาได้จีรังยั่งยืนไม่" หนึ่งจุดชี้จากพระวิสุทธิอาจารย์ นั้นคือ ธรรมะ นอกนั้นล้วนเป็นเพียงคำสอน ตรงนี้ต้องทำความเข้าใจ"
     " ยุคสุดท้าย ต้องบำเพ็ญคุณธรรมภายในของตัวเองเสียบ้าง อย่าได้เอาปฏิบัติแต่ภายนอก ที่ปฏิบัติได้ก็จงพากเพียรเร่งปฏิบัติ หากปฏิบัติไม่ได้ ก็จงประคองรักษาปณิธานของตนไว้เช่นนี้ก็จะกลับเบื้องบนได้"
    " พวกเราจะต้องรักษาพุทธระเบียบ นับแต่อดีต ผู้บำเพ็ญยังไม่เคยปรากฏว่า ได้ก่อตั้งเป็นองค์กรหรือคณะเผยแพร่อบรมใด ๆ การบำเพ็ญธรรมก็คือ การบำเพ็ญธรรม ก็เพียงแค่การเจริญตามรอยแห่งปราชญ์อริยา ฉุดช่วยจิตญาณแห่งปวงชนให้คืนสู่เบื้องบน ก็เพียงแค่เรื่องนี้เรื่องเดียวเท่านั้น" วจนะเหล่านี้มีความถูกต้องสมบูรณ์ยิ่ง ถึงแม้จะดูธรรมดา แต่ก็แฝงด้วยปัญญาญาณอันแสนลึกล้ำ
     ความสำเร็จของงานใหญ่ทั้งปวง จะต้องตั้งอยู่บนรากฐานของศักดิ์ศรีมนุษย์อันยิ่งใหญ่ และอันศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์อันยิ่งใหญ่นี้ ก็ต้องมีต้นกำเนิดมาจากจิตใจอันยิ่งใหญ่น่นเอง อันจิตใจที่ยิ่งใหญ่ก็คือ ความรัก ความเมตตา ที่มีต่อมวลมนุษย์ชาติอย่างไม่มีวันเหือดหาย ความมีมนุษยภาพที่แน่วแน่ของท่านในการประคองรักษาสัทธรรมเช่นนี้ ย่อมหมายถึง ท่านเอาชีวิตทั้งชีวิตทุ่มเทต่อการแสวงหาสัทธรรมอย่างไม่ลดละ และเพียรให้ธรรมแท้ปฏิบัติจริง ท่านเอาจิตมุ่งมาดอันเปี่ยมด้วยมหากรุณานี้บุกเบิกสร้างสรรค์หาทางเดิน ที่กว้างใหญ่ราบเรียบไว้ให้มวลมนุษยชาติสร้างสถาบันครอบครัวที่ผาสุก แปรเปลี่ยนโลกอันอัปลักษณ์นี้ให้สวยงาม แปรโลกอันมืดมนให้กลายสว่างไสว เพื่อทุกคนได้ละจากทางมิจฉาสู่ทางสัมมา คลายความโง่เขลาให้เป็นปัญญา เพื่อพ้นจากโลกีย์สู่ความเป็นอริยา ให้สังคมได้สงบสุข ผู้คนสมัครสมานกัน จนกระทั่งโลกเป็นสันติสุข ทั้งหมดนี้คือ อุดมคติชั่วชีวิตของท่านเหล่าเฉียนเหริน ท่านจึงทุ่มเทอุทิศต่อเวไนยสัตว์โดยไม่ย่อท้อใด ๆ  และสิ่งนี้ก็คือปณิธานของท่านเหล่าเฉียนเหริน
     ดังนั้น ท่านจึงอุทิศเสียสละโดยไม่คำนึงถึงความสุขสบาย บ่อยครั้งที่ท่านต้องเดินทางไกล ท่านต้องอดหลับอดนอน ต้องเหน็ดเหนื่อยจากการกรำงานเมื่อมีญาติธรรมมาขอเข้าพบ ท่านก็ไม่เคยปฏิเสธแม้แต่ครั้งเดียว ด้วยเพราะภายในหัวใจของท่านมีแต่เรื่องการส่งเสริมเวไนยสัตว์นั่นเอง ด้วยการอุทิศเสียสละอย่างทุ่มเทของท่าน จึงทำให้เวไนยชนจำนวนมากสามารถตื่นแจ้งจากความฝัน ผู้คนจึงต่างสำนึกในพระคุณของท่าน และยกย่องเทิดทูนท่านให้เป็นธรรมปรินายกแห่งอาณาจักรธรรม และแม้นท่านซือหมู่จะเคยเรียกท่านเช่นนี้มาแล้วก็ตาม แต่ท่านก็ไม่เคยรับฐานะตำแหน่งนี้ ท่านยังคงถ่อมตน และปฏิเสธต่อทุกคนว่า "เราทุกคนต่างก็เป็นศิษย์ของพระอาจารย์ ต่างก็เป็นศิษย์พี่ศิษย์น้องด้วยกันทั้งนั้น" นี่ก็คือ คุณธรรมอันยิ่งใหญ่ของผู้ทรงธรรมที่มีแต่ให้ โดยหาเคยหวังผลในลาภสักการะแต่อย่างใดไม่ ในตลอดชีวิตของท่าน ท่านไม่เคยเอ่ยคำว่า ""คนนี้คือ โฮ่วเสวียของเรา"" แต่อย่างใด และสิ่งนี้ก็คือแบบอย่างอันน่ายกย่อง คือ ปฏิปทาที่พวกเราควรเจริญรอยตาม
     พระอาจารย์ทรงเคยเมตตาไว้ว่า ""ที่ใดมีธรรม ที่นั่นย่อมดึงดูดผู้คน"" ท่านเหล่าเฉียนเหรินไม่เคยเรียกร้องชื่อเสียง หรือการยกย่องจากผู้อื่นแต่อย่างใด โดยท่านจะปฏิบัติตนเหมือนเช่นดวงอาทิตย์ที่จะมีแต่มอบแสงสว่างและความอบอุ่นให้แก่ชาวโลก โดยหาได้เคยสนใจว่าชาวโลกจะปฏิบัติต่อดวงอาทิตย์อย่างไรไม่ ชาวโลกจะรักใคร่ก็ดี จะเกลียดชังก็ดี ดวงอาทิตย์ก็ยังคงทำหน้าที่ของตนอยู่เช่นนั้น ด้วยเหตุนี้ ท่านเหล่าเฉียนเหรินจึงเป็นที่ยกย่องของผู้คน ด้วยเพราะท่าน คือ ธรรมธาดาผู้เมตตา คือ ผู้ทรงบารมี และคือ ศูนย์รวมจิตใจของเหล่าเวไนยสัตว์นั่นเอง
    อาวุโสเคยเล่าให้ฟังว่า ที่ไต้หวัน หากใครจะเขียนจดหมายถึงท่านเหล่าเฉียนเหริน แมันจะไม่ทราบที่อยู่ของท่านก็ไม่เป็นไร ขอเพียงจ่าหน้าซองว่า ฝูซันท่านเหล่าเฉียนเหริน  บุรุษไปรษณีย์ก็จะนำส่งจดหมายถึงท่านเหล่าเฉียนเหรินได้อย่างแน่นอน และนี่ก็คือบทพิสูจน์ถึงคณธรรมของท่านเหล่าเฉียนเหรินที่ได้ปฏิบัติต่อทุกคนอย่างเสมอภาค ไม่แบ่งแยกยากดีมีจน จนเป็นที่รักใคร่ขออนุชนอย่างไม่มีข้อกังขาใด ๆ เลย
หัวข้อ: ธรรมธาดาคู่โลกา : ศรัทธามิคลาย ปณิธานมิกลาย
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 29/12/2010, 15:59

      ตลอดหลายสิบปีมานี้ เพื่อการฉุดช่วยเวไนยสัตว์ ท่าต้องตรากตรำกรำงานกับการเดินทางจนยากที่จะมีวันหยุดพักผ่อน ทั้งนี้เพื่อเป็นการตอบแทนพระมหากรุณาธิคุณแห่งฟ้า เพื่อฉุดช่วยเหล่าเวไนยสัตว์ให้หลุดพ้น และเพื่อให้พุทธบุตรทั้งหลายต่างได้กราบเฝ้า พระแม่องค์ธรรมอย่างพร้อมเพรียงกันนั่นเอง ดังนั้นที่ฝูซันครั้งถึงวันหยุดเมื่อไร ญาติธรรมก็จะทยอยกันเดินทางมาคารวะท่านเหล่าเฉียนเหรินตั้งแต่เช้าจรดค่ำอย่างไม่ขาดสาย และท่านเหล่าเฉียนเหรินก็จะเมตตาต่อทุกคนตลอดทั้งวัน ท่านจะคอยส่งญาติธรรมกลุ่มแล้วกลุ่มเล่า คนแล้วคนเล่า ดังนั้นตลอดหลายสิบปีมานี้ จึงถือว่าท่านได้ปฏิบัติดั่งเช่น ท่านบรมครูขงจื่อที่ได้อบรมผู้คนอย่างไม่รู้เหนือยหน่ายอย่างแท้จริง ขอเพียงมีญาติธรรมมาเยือน ท่านก็จะทุ่มเทส่งเสริม และต้อนรับทุกคนด้วยผลไม้หรือขนมว่างอย่างอบอุ่น ครั้นญาติธรรมอำลากลับ ท่านก็จะมอบผลไม้ที่บูชาแล้วให้ทุกคน พร้อมทั้งส่งทุกคนถึงประตูใหญ่ จนรถแล่นลับตาไปแล้วจึงจะกลับเข้าไปในเรือน ท่านจะทำเช่นนี้ตลอดทั้งวัน โดยไม่คำนึงถึงอายุสังขารของท่านแต่อย่างใด
     มีอยู่ปีหนึ่ง ได้มีญาติธรรมจากไทเปคณะหนึ่งมาคารวะท่าน ทุกคนต่างเห็นท่านเมตตาต่อญาติธรรมจนน้ำเสียงแหบแห้ง ริมฝีปากบวมแดง แต่ท่านก็ยังมิยอมหยุดพักผ่อน ยังคงส่งเสริมทุกคนด้วยความเอ็นดู ทุกคนที่อยู่ในเหตุการณ์ต่างซาบซึ้งจนน้ำตาคลอ และในวันหนึ่งของปีที่แล้ว ญาติธรรมจากประเทศญี่ปุ่นได้เดินทางมาคารวะท่าน  ท่านเหล่าเฉียนเหรินก็ยังคงออกมาต้อนรับทุกคนด้วยความอบอุ่น และส่งทุกคนเดินทางกลับเหมือนเช่นทุกครั้งที่ผ่านมา เมื่อท่านกลับถึงห้องพัก เสื้อผ้าของท่านก็ชุ่มไปด้วยเหงื่อเสียแล้ว สำหรับจิตใจที่เสียสละอย่างไม่ย่อท้อเช่นนี้ แม้นท่านจะสิริอายุสูงถึง ๙๐ กว่าแล้วก็ยังมิเคยเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด พวกเราจึงรู้สึกละอายใจเป็นยิ่งนัก
    หรือกระทั่ง  บ่อยครั้งที่ท่านเมตตาส่งเสริมญาติธรรมจนน้ำเสียงแหบแห้ง เมื่อญาติธรรมมาถึง ก็มิทราบว่าพละกำลังของท่านได้ผุดขึ้นมาจากไหน เพียงพริบตาท่านก็กลับมากระปรี้กระเปร่าเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น จะต่างก็แต่เพียงน้ำเสียงที่ยังคงแหบแห้งเท่านั้น ในสมัยก่อนท่านซือจุนเคยทรงเมตตาท่านเหล่าเฉียนเหรินว่า " เมื่อเขาอยู่นิ่งปากก็ต้องขยับ เมื่อปากอยู่นิ่งขาก็ต้องขยับ " เราต่างก็ทราบดีว่าท่านเหล่าเฉียนเหรินจะมีความเคารพรักและนำพาในโอวาทของท่านซือจุนทุกประการ และแม้นจะเป็นเช่นนั้นก็จริง แต่หากท่านเหล่าเฉียนเหรินมิได้มีความศรัทธาจริงใจอันบริสุทธิ์ มิได้มีปณิธานที่มุ่งฉุดช่วยเวไนยอันยิ่งใหญ่แล้ว จะมีพละกำลังจากที่ใดที่จะมาประคับประคองร่างกายอันแสนเหนื่อยล้าให้กลับมีชีวิตชีวา เพื่อส่งเสริมเวไนยสัตว์อีกเล่า
    เมื่อสามเดือนก่อน ท่านซือจุนได้ทรงประทับญาณเมตตาว่า " พวกเจ้าทราบไหมว่าเหล่าเฉียนเหรินของพวกเจ้าช่างยิ่งใหญ่เสียจริง ๆ เขารักพวกเจ้ามากเหลือเกิน พวกเจ้ายังมิได้แก่ชรา พวกเจ้าจึงไม่รู้ถึงความลำบากของคนชรา โดยเฉพาะคือ คนชราที่มีอายุสูงถึง ๙๐ กว่าแล้ว ความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้านั้น หาใช่สิ่งที่โฮ่วเสวียอย่างพวกเจ้าจะสามารถสัมผัสรับรู้ได้ไม่ พวกเจ้ารู้หรือไม่ว่า เหล่าเฉียนเหรินของพวกเจ้าต้องการอยู่ดูแลพวกเจ้าต่ออีกหลายๆ ปี ฟ้าเบื้องบนทรงมิอาจอดใจทนดูได้เลย พวกเจ้ารู้ไหม ที่เหล่าเฉียนเหรินของพวกเจ้าเดินทางไปสาธารรรัฐอริเซียสในปีนี้ แท้จริงคือฝืนสังขารไป แม้แต่พระอาจารย์ที่เฝ้าดูอยู่ข้าง ๆ  ก็ยังอดสงสารมิได้เลย" นักเรียนที่ฟังอยู่ต่างพากันซาบซึ้งจนน้ำตาคลอเป้า
     และในปีหมินกั๋วที่ ๓๐ (ค.ศ. ๑๙๔๑) ท่านซือจุนทรงเคยปรารภที่เทียนจินว่า " ญาติธรรมที่ศรัทธากินแจก็มีมากขึ้นแล้ว หากมีที่ให้ทุกคนฝังอยู่ด้วยกันได้ ฉันก็จะเบาใจไม่น้อย" ครั้นท่านเหล่าเฉียนเหรินได้สดับก็นำพาในใจอยู่เสมอมา และตลอด ๕๐ ปีมานี้ ท่านไม่เคยลืมความตั้งใจที่จะสานปณิธานของท่านซือจุนแม้แต่น้อย ดังนั้นในปีที่แล้ว แม้นท่านจะสิริอายุสูงถึง ๙๔ ปีแล้วก็ตาม ท่านก็ยังคงห่วงใยในเรื่องนี้อยู่ตลอดเวลา ท่านจึงตัดสินใจซื้อที่ดินที่ผูหลี่ เพื่อใช้สำหรับก่อสร้างสถูปอังคารมอบให้บรรดาญาติธรรมทั้งหลาย
     ตลอดหลายสิบปีมานี้ สิ่งที่ท่านเหล่าเฉียนเหรินได้ทำให้กับพวกเรานั้นมากมายจนสุดจะพรรณาให้สิ้นได้ ท่านไม่เพียงแต่ได้ฉุดช่วยจิตวิญญาณของพวกเราเท่านั้น หากท่านยังห่วงใยในสารทุกข์สุกดิบของพวกเรา อันหัวใจที่ห่วงหาอาทรต่อพวกเราเช่นนี้ ได้ทำให้พวกเราทุกคนรู้สึกซาบซึ้งและละอายใจยิ่งนัก เพราะความจริงควรเป็นพวกเราต่างหากที่ต้องปรนนิบัติดูแลท่าน แต่ท่านกลับเหมือนเช่นบิดาที่คอยคำนึงถึงความเป็นอยู่ของพวกเราทุกคนอย่างไม่ว่างเว้น สำหรับพระคุณอันยิ่งใหญ่เช่นนี้ แม้นจนชีพวายก็ยังหาอาจทดแทนพระคุณของท่านให้สิ้นได้ไม่ และอันน้ำใจของท่านนั้นก็ได้ประทับตรึงใจพวกเราอย่างมิมีวันเสื่อมคลาย
    ครั้นรำลึกถึงอดีต สมัยที่ท่านยังอยู่กับพวกเราทุก ๆ คน ท่านไม่เพียงแต่จะเมตตาพวกเราในชั้นประชุมธรรมเท่านั้น หากท่านจะคอยอบรมเมตตาพวกเราทุกคนอยู่ทุกโอกาส ไม่ว่าจะอยู่ในเวลาไหน สถานที่ใด เมื่อสบโอกาส ท่านก็จะเมตตาต่อญาติธรรมในทุกรายละเอียดอย่างไม่ย่อท้อ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการยกน้ำชา เปิดประตู กวาดพื้น หั่นผัก ดายหญ้า เขียนหนังสือ กราบพระ  ตลอดจนมารยาทในการต้อนรับแขกต่าง ๆ ท่านล้วนให้ความใส่ใจและอบรมพวกเราด้วยความอดทนอยู่เสมอ ท่านกล่าวว่า " ธรรมะมิอาจห่างได้แม้นเพียงชั่วครู่ "  " หากห่างจากชีวิตประจำวันแล้ว ไหนเลยจะมีธรรมะได้ "
    ทั้งหมดเหล่านี้ล้วนแสนจะธรรมดา แต่ภายในนั้นล้วนแฝงไว้ด้วยความรักอันยิ่งใหญ่ ดังความตอนหนึ่งที่มีบันทึกในคัมภีร์ไบเบิลว่า "ความรักนั้นหาได้ขาดตอนไม่" ซึ่งคำๆ นี้ ก็สามารถเป็นบทสะท้อนในความรักของท่านเหล่าเฉียนเหรินที่มีต่อพวกเราทุกคนได้เป็นอย่างดี ไม่เพียงแค่นี้เท่านั้น เนื่องจากท่านเหล่าเฉียนเหรินเป็นคนที่มีน้ำใจไมตรีสูง ท่านจึงให้ความห่วงใยและดูแลต่อบรรดานักธรรมอาวุโส หรือ สามคุณผู้สูงอายุมากเป็นพิเศษ ดังนั้นท่านจึงมักทักทายหรือโทรศัพท์ถามไถ่สารทุกข์สุกดิบ หรือกระทั่งเดินทางไปเยี่ยมเยือนด้วยตัวท่านเองอยู่เสมอ ท่านเหล่าเฉียนเหรินจะคอยดูแล และคำนึงถึงนักธรรมผู้สูงอายุเหล่านั้นมิเคยขาด ด้วยน้ำใจของท่านเช่นนี้ ก็ได้สร้างความประทับใจให้แก่นักธรรมเหล่านั้นเป็นอย่างมาก
หัวข้อ: ธรรมธาดาคู่โลกา : ธรรมกถาของท่านเหล่าเฉียนเหริน
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 29/12/2010, 16:43

      ดังนั้น เมื่อข่าวการสำเร็จธรรมของท่านเหล่าเฉียนเหรินได้แพร่กระจายออกไป นักธรรมเหล่านั้นจึงร่ำไห้เพรียกหาท่านเหล่าเฉียนเหรินปานจะแหลกสลายต่างเศร้าโศกเสียใจดุจสูญเสียบุพการีผู้ให้กำเนิด ในโลกนี้ยังจะมีความสูญเสียใดที่ได้สร้างความเจ็บปวดทรมานถึงเพียงนี้อีกหรือ

            สำนึกบุญคุณฟ้าอันยิ่งใหญ่
            จึงตั้งใจฝักใฝ่โปรดคนหลง
            สำนึกคุณพระอาจารย์อันยืนยง
            จึงจำนงคงมั่นฉุดเวไนย

     เพื่อพระมหากรุณาธิคุณอันไพศาล เพื่อเวไนยสัตว์ในโลกหล้าอันมากมาย ท่านเหล่าเฉียนเหรินจึงได้ตั้งปณิธานอันยิ่งใหญ่ที่จะต้านภัยช่วยโลกโดยไม่ขอสิ้นสุกหยุดยั้ง ท่านปฏิบัติเหมือนเช่นเหล่าพุทธะแลพระโพธิสัตว์ทั่วสากลที่จะคอยปกป้องคุ้มครองเหล่าเวไนยสัตว์ ส่งเสริมเมตตาเหล่าเวไนยสัตว์ ตราบจนเวไนยสัตว์คนสุดท้ายได้เป็นพระพุทธาแล้วจึงจะถือว่าสิ้นสุดในภารกิจได้
    ดังนั้นตลอดหลายสิบปีมานี้ ท่านจึงเผาผลาญพลังชีวิตของท่านเพื่อส่องสว่างจิตใจชาวโลกให้ตื่นฝัน จนแม้นชีวิตจะหาไม่แล้ว ท่านก็ยังคงเฝ้าทนุถนอมพวกเราอยู่ทุกเวลา แม้นบัดนี้ท่านได้จากพวกเราไปแล้ว แต่ปฏิปทาของท่านก็ยังคงฝังรากหยั่งลึกอยู่ในดวงใจของพวกเราทุกคน และจะเจริญงอกงามอยู่ในดวงใจของเวไนยทั่วหล้าสืบไปชั่วกาลนาน   

                  ท่านทรงธรรมบารมีไพศาลยิ่ง
          คอยติติงประสิทธิ์ศาสตร์ให้ตื่นฝัน
          คอยห่วงหาเมตตาด้วยชีวัน
          คอยแบ่งปันรักมั่นมิผันแปร
                 ห้าสิบกว่ามิผันผายหายไปไหน
          ทุกหายใจห่วงใยและดูแล
          ทั้งชีวิตรักเวไนยใจแน่แท้
          มิเคยแปรเปลี่ยนไปตามเวลา
                 ท่านเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้ากรำงานหนัก 
          ไม่เคยพักความหนักหน่วงห่วงกายหนา
          ต้องเดินทางอย่างวิบากทั้งชีวา
          ด้วยรำลึกถึงคุณฟ้ากตัญญู   
                   มาบัดนี้เก้าสิบห้าท่านลาจาก
          เราเคว้งคว้างดุจถูกพรากดวงชีวัน
          อสนีลั่นเปรี้ยงปร้างมิคาดฝัน
          เศร้าจาบัลย์พลันสะอื้นทั่วฝูซัน
                   แสงสุรีย์ริบหรี่กระไรหนอ
          ฤาน้ำคลอหน่วยตาจนสิ้นแสง
          จิตระทมตรมทุกข์จนสิ้นแรง
          อกระแหงแห้งผากในราตรี
                   หวนระลึกถึงคำที่ท่านมอบ
          จึงยังขอบใจชื้นฟื้นชีวี
          มัวจมปรักดักดานไม่มีดี   
          มิสู้ปรี่รี่ทำแทนคุณไป   
                   ขอให้สานปณิธานของเราเถอะ
          อย่าเลอะเทอะยึดสังขารท่านว่าไว้
          ให้ฉุดช่วยทวยเวไนยด้วยดวงใจ
          ก็ดุจได้ท่านอยู่เคียงมิไกลเลย
                    จึงน้อมจิตอธิษฐานพนมกร
          จิตอมรมิคลอนแคลนทำเมินเฉย
          ต่อแต่นี้จะมุ่งมั่นนำธรรมเผย
          ดุจลมเย็นที่รำเพยทั่วธรา
                     จะขอใจใฝ่ธรรมบำเพ็ญมั่น
          จะบุกบั่นแพร่ธรรมไปทั่วหล้า
          จะรจิตดวงใจด้วยธรรมา
          เพื่อโลกาได้สันติสุขีเอย

                                                              จบเล่ม