Credit : http://www.phuketvegetarian.com/borad/data/9/0056-1.html
《太上老君說常清靜經》
ไท่สั้งเหล่าจฺวินซฺวอฉางชิงจิ้งจิง
(คัมภีร์ “ไท่สั้งเหล่าจฺวินแสดงวิสุทธิสันติภาวะ”)
(http://www.phuketvegetarian.com/borad/data/9/pic/3608.jpg)
大道無形 (เต๋าไร้รูป) ,生育天地 (กำเนิดฟ้าดิน) ;大道無情 (เต๋าไร้จิต) ,運行曰月 (ขับเคลื่อนสุริยันจันทรา) ;大道無名 (เต๋าไร้นาม) ,長養萬物 (หล่อเลี้ยงสรรพสิ่ง) ;吾不知其名強名曰道 (ข้าไม่รู้จะเรียกสิ่งใด จึงขนานนามว่า “เต๋า”) 。夫道者 (อันเต๋านั้น) :有清有濁 (มีสะอาด, มีสกปรก) ,有動有靜 (มีเคลื่อน, มีนิ่ง) ;天清地濁 (ฟ้าสะอาด, ดินสกปรก) ,天動地靜 (ฟ้าเคลื่อน, ดินนิ่ง) ;男清女濁 (ชายสะอาด, หญิงสกปรก) ,男動女靜 (ชายเคลื่อน, หญิงนิ่ง) ;降本流末 (ไหลเวียนเปลี่ยนผัน) ,而生萬物 (ก่อกำเนิดสรรพสิ่ง) 。清者濁之源 (สะอาดมีสกปรกเป็นราก) ,動者靜之基 (เคลื่อนมีนิ่งเป็นฐาน) ;人能常清靜 (มนุษย์สามารถสะอาดและนิ่ง) ,天地悉皆歸 (ฟ้าดินรวมกลับคืน) 。
夫人神好清 (ใจมนุษย์นั้นสะอาด) ,而心擾之 (แต่กลับวุ่นวาย) ;人心好靜 (ใจมนุษย์สงบ) ,而欲牽之 (แต่ตัณหาชักพา) 。常能遣其欲 (สามารถกำจัดตัณหาทั้งปวงได้) ,而心自靜 (ใจย่อมสงบ) ;澄其心 (เมื่อใจสะอาด) ,而神自清 (จิตย่อมสะอาด) ;自然六欲不生 (เมื่อนั้นตัณหาย่อมไม่เกิด) ,三毒消滅 (พิษทั้ง 3 ย่อมสูญสลาย) 。所以不能者 (ชนผู้ไม่สามารถ) ,為心未澄 (ชำระจิตให้สะอาด) ,欲未遣也 (แสดงว่าตัณหายังไม่ถูกกำจัด) ,能遣之者 (ชนผู้สามารถกำจัดตัณหาได้) :內觀其心 (เมื่อมนสิการภายใน) ,心無其心 (ย่อมแจ้งว่าไร้จิต) ;外觀其形 (เมื่อมนสิการภายนอก) ,形無其形 (ย่อมแจ้งว่าไร้รูป) ;遠觀其物 (เมื่อมนสิการสรรพสิ่ง) ,物無其物 (ย่อมแจ้งว่าไร้ซึ่งสรรพสิ่ง) ;三者既無 (เมื่อแจ้งว่าสรรพสิ่งไร้) ,唯見於空 (ดังนี้แล ชื่อว่าแจ้งในสุญญตา) 。觀空亦空 (มนสิการความว่างคือว่าง) ,空無所空 (ความว่างหามีไม่) ;所空既無 (ความว่างก็คือไร้) ,無無亦無 (ไร้ไร้ก็คือไร้) ;無無既無 (ไร้ไร้ที่สุดแล้วก็คือไร้) ,湛然常寂 (ย่อมเข้าถึงความสงบ) 。寂無所寂 (สงบไร้สงบ) ,欲豈能生 (ตัณหาจะเกิดได้ไฉน) ;欲既不生 (เมื่อตัณหาไม่เกิด) ,即是真靜 (จึงเป็นความนิ่งที่แท้จริง) 。真常應物 (จึงควรแก่การงาน) ,真常得性 (เข้าถึงจิตแท้) ;常應常靜 (ควรแก่การงานและสงบมาก) ,常清靜矣 (สะอาดและสงบแล้ว) 。如此清靜 (เมื่อสะอาดและสงบเช่นนี้) ,漸入真道 (ย่อมเข้าถึงเต๋าที่แท้จริง) ;既入真道 (เหตุที่เข้าถึงเต๋า) ,名為得道 (จึงได้ชื่อว่าบรรลุเต๋า) ;雖名得道 (ที่ชื่อว่าบรรลุเต๋า) ,實無所得 (แท้จริงจะมีการบรรลุก็หาไม่);為化眾生 (เพื่อสั่งสอนสรรพชีวิต) ,名為得道 (จึงได้บัญญติว่า “บรรลุเต๋า”) ;能悟之者 (ชนผู้รู้แจ้ง) ,可傳聖道 (จักสามารถถ่ายทอดอริยมรรค)。
上士無爭 (บัณฑิตไร้วิวาท) ,下士好爭 (คนพาลมักวิวาท) 。上德不德 (ผู้ทรงคุณธรรมไร้คุณธรรม) ,下德執德 (ผู้ไร้คุณธรรมยึดถือธรรม) ,執著之者 (ผู้ยึดมั่นนั้น) ,不明道德 (ไม่แจ้งในคุณธรรม) 。眾生所以不得真道者 (สรรพชีวิตไม่แจ้งในเต๋าที่แท้จริง) ,為有妄心 (จึงมีอุปาทาน) ,既有妄心 (เพราะมีอุปาทาน) ,即驚其神 (จึงมีความกลัว) ,既驚其神 (เมื่อมีความกลัว) ,即著萬物 (จึงมีสรรพสิ่ง) ,既著萬物 (เมื่อมีสรรพสิ่ง),即生貪求 (จึงมีความโลภ) ,既生貪求 (เมื่อมีความโลภ) ,即是煩惱 (ก็คือความทุกข์) ,煩惱妄想 (ความทุกข์, อุปาทาน) ,憂苦身心 (ทุกข์กายและใจ) ,便遭濁辱 (พบกับความสกปรกแลเหยียดหยาม) ,流浪生死 (เวียนว่ายเกิดตาย),常沉苦海 (จมอยู่ในทะเลทุกข์) ,永失真道 (สูญเสียเต๋าที่แท้จริง) 。真常之道 (เต๋าที่แท้จริงนั้น) ,悟者自得 (ผู้รู้แจ้งจักบรรลุได้เอง) ;得悟道者 (ผู้บรรลุเต๋านั้น) ,常清靜矣 (บริสุทธิ์และสงบยิ่งนัก)!
คัมภีร์ “ไท่สั้งเหล่าจฺวินซฺวอฉางชิงจิ้งจิง” 《太上老君说常清静经》เป็นคัมภีร์ที่สำคัญคัมภีร์หนึ่งของศาสนาเต๋า เป็นคัมภีร์ที่อธิบายถึงสภาวะของเต๋าและสรรพสิ่ง คัมภีร์นี้เป็นคัมภีร์ของศาสนาเต๋านิกาย “เจิ้งอี” 《正一》เป็นคำสอนของไท่สั้งเหล่าจฺวิน 《太上老君说常清静经》(อ่านเรื่อง “ไท้ส่งโลกุ้น” http://www.phuketvegetarian.com/borad/data/4/0115-1.html ประกอบ) ซึ่งรจนาโดย “เก๋อเทียนซือ” 《葛天师》 (อ่านเรื่อง “เก๋อเทียนซือ” http://www.phuketvegetarian.com/borad/data/4/0122-1.html ประกอบ) เขียนขึ้นในสมัยราชวงศ์จิ้น 《晋朝》(พ.ศ. 808 – 963) ซึ่งในส่วนเนื้อหาของคัมภีร์ดังกล่าวมีเนื้อหาดังต่อไปนี้