นักธรรม

ห้องสมุด "นักธรรม" => หนังสือ => คัมภีร์ => ข้อความที่เริ่มโดย: tik ที่ 26/01/2010, 16:59

หัวข้อ: คัมภีร์มหาบุรุษ 大學首章
เริ่มหัวข้อโดย: tik ที่ 26/01/2010, 16:59
大學首章

大學之道,在明明德,在親民,在止於至善。
知止而後有定,定而後能靜,靜而後能安,安而後能慮,慮而後能得。
物有本末,事有終始,知所先後,則近道矣。

古之欲明明德於天下者,先治其國;
欲治其國者,先齊其家;欲齊其家者,先脩其身;
欲脩其身者,先正其心;欲正其心者,先誠其意;
欲誠其意者,先致其知;致知在格物。
物格而後知至,知至而後意誠,意誠而後心正,
心正而後身脩,身脩而後家齊,家齊而後國治,國治而後天下平。

自天子以至於庶人,壹是皆以脩身為本。
其本亂而末治者,否矣。其所厚者薄,而其所薄者厚,未之有也。
หัวข้อ: Re: คัมภีร์มหาบุรุษ 大學首章
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 4/07/2010, 08:53
           
                ต้าเสวียโส่วจัง   เป็นคาถาศักดิ์สิทธิ์สำคัญที่คนจีนตั้งแต่โบราณนานนับ 2 - 3 พันปีถือเป็นบรรทัดฐานเบื้องต้นในการ

ปฏิบัติธรรมสืบต่อมา   ทั้งจอหงวน  บัณทิต  นักศึกษาหลวง  ในสมัยก่อนจะต้องถือคัมภีร์บทนี้เป็นบทข้อสอบ เพราะบัณทิตจะต้อง

ทำหน้าที่ปกครอง  บริหารบ้านเมือง และประชาชน จึงต้องรู้จิตตน และรู้จิตคนทั้งหลาย

                พระพุทธะ พระอริยเจ้า หลายพระองค์ก่อนหน้านั้น ก็ได้อาศัยคัมภีร์บทนี้ เป็นจุดเริ่มต้นเรียนรู้ ฝึกฝนจนกระทั่งบรรลุ

เริ่มต้นมงคลชีวิตในวันใหม่ และเมื่อไหร่ที่จะทำผิดพลาดไปจากการปฏิบัติบำเพ็ญ  ก็จะอาศัยพระคัมภีร์บทนี้ มาเตือนใจ  อีกทั้ง

สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย ก็จะคุ้มครองรักษาด้วย

 
                ผู้น้อยขออนุญาตอาวุโสร่วมศึกษานะคะ    ขอบพระคุณอาวุโสที่ให้โอกาส   ขอบพระคุณเบื้องบนที่เมตตา   

                                                                  ขอบคุณค่ะ     
หัวข้อ: Re: คัมภีร์มหาบุรุษ 大學首章
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 29/07/2010, 15:48
 คัมภีร์บทนี้เรียกว่า มหาสัตถคัมภีร์ หรือ มหาบุรุษคัมภีร์ หรือ คัมภีร์มหาบุรุษ คือ ต้าเสวีย  มหา แปลว่า ยิ่งใหญ่
 (ตรงกับคำว่า ต้า) เสวีย แปลว่า เรียนรู้  ต้าเสวีย แปลว่า มหาวิทยาลัยก็ได้
ผู้ที่จะเป็นมหาบุรุษ  หรือผู้ที่จะหลุดพ้นจึงไม่ใช่ปุถุชนธรรมดา จึงหมายถึงผู้รู้ความเป็นหนึ่งของตนที่มาจากฟ้า
เบื้องบน บำเพ็ญจนจิตเป็นหนึ่ง เขาจึงเป็นมหาบุรุษ  ต้าเสวีย จึงแปลว่าการเรียนรู้ความเป็นหนึ่งอันเป็นมหาบุรุษ
ผู้หลุดพ้น คัมภีร์บทนี้ได้รับการอรรถาธิบายเพิ่มเติมจากท่านปราชญ์จูซี  เป็นปราชญ์ในสมัยราชวงศ์ซ้อง ได้ศึกษา
เล่าเรียนมาจากอาจารย์เฉิงจื่อ ซึ่งเป็นปราชญ์สำคัญในครั้งนั้น ท่านปราชญ์เฉิงจื่อ ได้รวบรวมเอาคัมภีร์ที่ท่าน
ปราชญ์เจิงจื้อได้เขียนไว้ด้วยกัน ทั้งหมดมี 11 บท  (ท่านปราชญ์เจิงจื้อ เป็นศิษย์ของท่านขงจื้อ )
บทที่ 1  ที่เรากำลังเรียนเป็น บทของพระคัมภีร์ที่ได้มาจากพระวจนะของท่านขงจื้อโดยตรง ส่วนอีก 10 บท
เป็นบทอรรถาธิบายแจงในรายละเอียดให้เห็นถึงความลึกซึ้งแยบยลในพระวจนะของท่านศาสดาขงจื้อ ซึ่งปราชญ์เมธี
ต่างชื่นชมและเห็นในความสุขุมคัมภีรภาพในแต่ละแง่มุม
บทที่1 นี้มีความสำคัญที่จะสอนให้เรารู้จิตโดยตรงของตัวเอง ตามพระวจนะของท่านขงจื้อ  อันที่จริงแต่เดิมทีคัมภีร์
บทนี้จะถ่ายทอดให้แก่ท่านเอี๋ยนหุย ซึ่งเป็นศิษย์เอกของท่านขงจื้อ แต่ท่านเอี๋ยนหุยอายุสั้นกลับคืนเบื้องบนไปเมื่อ
อายุ 32 ปี ท่านเอี๋ยนหุยเป็นศิษย์เอกที่มีความนอบน้อมถ่อมตนและเป็นผู้มีปัญญาเป็นเอกในทางธรรม ท่านขงจื่อ
กล่าวเพียงคำเดียวท่านเอี๋ยนหุยจะรู้ถึงสิบ ท่านเอี๋ยนหุยเป็นคนสมถะ ให้อภัยตลอดเวลา ไม่เคยที่จะโทษผู้ใด
แม้ความผิดนั้นจะเกิดจากใครก็ตาม อีกทั้งไม่เคยทำผิดซ้ำสอง นี่คือจริยปฏิปทาของท่านเอี๋ยนหุย
หัวข้อ: Re: คัมภีร์มหาบุรุษ 大學首章
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 30/07/2010, 06:18
เมื่อท่านเอี๋ยนหุยถึงกาลกลับคืนเบื้องบนไป ท่านขงจื้อร้องไห้ด้วยความโศกเศร้าเสียดายยิ่งกว่าบุตรแท้ๆ
ตายไปเสียอีก เศร้าเสียใจเพราะจะหาปราชญ์อย่างเอี๋ยนหุยเป็นคนที่สองคงไม่ได้ และเสียดายว่าชะรอย
การถ่ายทอดสัจธรรมนี้คงจะถึงกาลสิ้นสุดเสียแล้วกระมัง ต่อมาเมื่อท่านขงจื้อได้พิจารณานักเรียนทั้งสามพันคน
ของท่านโดยละเอียดจึงได้ค้นพบศิษย์ผู้หนึ่งแซ่เจิง เรียกว่าเจิงจื้อ (เจิงซัน) ท่านมีรูปร่างไม่สง่างาม และไม่ค่อย
จะฉลาดเฉลียว แต่มีคุณสมบัติที่เป็นคนมีความจริงใจและมีความกตัญญูต่อพ่อแม่เป็นที่สุด ท่านขงจื้อจึงได้ถ่ายทอด
พระคัมภีร์นี้ให้กับท่านเจิงจื้อ หลังจากนั้นท่านเจิงจื้อจึงได้พิจารณาจนเกิดความปราณีตสุขุมและเขียนขึ้นมา
ต่อท้ายอีก 10 บท การถ่ายทอดพระคัมภีร์นี้ให้ ไม่ใช่หมายความว่ายกคัมภีร์นี้ให้หรืออธิบายตามตัวอักษร
แต่หมายถึงการถ่ายทอดวิถีแห่งจิตให้รู้ชัดในสัจธรรม รู้แท้ในชีวิตจริงอันเป็นอนุตตรภาวะโดยแท้และเกิดความ
เป็นในภาวะนั้นจริง ๆ  ต้าเสวียจือเต้า หนทางหรือธรรมะของผู้ที่จะเป็นมหาบุรุษ ผู้ที่อยู่เหนือคนได้จริง ๆนั้น
เขาจะต้องร่วมคุณธรรมเดียวกับฟ้าดินได้ ฟ้ามีคุณธรรม คือโอบอุ้มสรรพชีวิตไว้โดยไม่แบ่งแยก แผ่นดินมีคุณธรรม
รองรับทั้งความชั่วความดี ยอมรับการเหยียบย่ำทำลาย เป็นผู้ให้ มหาบุรุษ จึงหมายถึงผู้ที่จะร่วมคุณธรรมกับฟ้าดิน
ร่วมแสงสว่างกับตะวันเดือน ร่วมครรลองของฤดูกาลที่ผันแปร เข้าได้กับทุกสภาวะของโลก หนาวก็อยู่ได้ร้อนก็อยู่ได้
ฝนตกแดดออกก็อยู่ได้ ร่วมมิติภาวะเดียวกับผีสางเทวดาได้ ยังอาจโน้มนำผีให้เปลี่ยนแปลงเป็นคนดีได้โดยไม่รังเกียรติ
เมื่ออยู่กับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ก็มีความศักดิ์สิทธิ์ไม่น้อยกว่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายร่วมมงคลร่วมทุกข์ร่วมสุขกับทุกญาณภาวะ
อย่างนี้จึงเรียกว่า มหาบุรุษ

หัวข้อ: Re: คัมภีร์มหาบุรุษ 大學首章
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 2/08/2010, 01:55
สังคมจีนในสมัยโนราณเด็กอายุ 8 ขวบก็จะต้องเข้าเรียนประถมศึกษาสมัยนั้นเขาจะเรียนทุกอย่างไม่ว่าการบ้าน
การเรือนการสังคมไม่ว่าจะเป็นจริยระเบียบ วิทยายุทธ ทั้งกาพย์กลอนโคลงฉันท์ การคำนวน และวิชาการอื่นๆอีก
จะต้องเริ่มต้นเรียนตั้งแต่ 8 ขวบ -14 ขวบเรียกว่าเรียนชั้นประถมวิชาการของชั้นประถมในครั้งนั้นมีหลายอย่างที่
ระดับมหาวิทยาลัยสมัยนี้ยังไม่ได้เรียนรู้กันเลย อายุถึง 15 ปีก้ต้องเริ่มเรียนต้าเสวียคือคัมภีร์มหาบุรุษ เพราะอายุ15
เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อของชีวิตเป็นวัยที่จะเกิดความเปลี่ยนแปลงจากความไม่รู้ไปสู่ความรู้และจากความดีความไร้เดียงสา
ไปสู่ความชั่วเสียส่วนมาก ชีวิตนั้นที่จริงกำหนดความดีได้และชีวิตที่แท้จริงนั้นไม่ใช่ขึ้นอยู่กับกายสังขารเพียงอย่างเดียว
คัมภีร์มหาบุรุษ เรียนเพื่อหยั่งรู้จิตของตนและช่วยให้ผู้ใกล้ชิดได้รับผลสะท้อนจากการหยั่งรู้ตัวเองให้ภาวะจิตภายใน
ของตัวเองเป็นอริยะ ภายนอกของตัวเองเป็นที่พึ่งพาอาศัยของคนทั้งหลายที่ด้อยกว่าได้ ไม่ใช่ให้ดีเฉพาะตนและ
รอดพ้นเฉพาะตนอย่างนี้จึงเรียกว่าการศึกษาคัมภีร์ให้เป็นมหาบุรุษ
ต้าเสวียจือเต้าวิถีธรรมของมหาบุรุษไจ้หมิงหมิงเต๋ออยู่ที่การรู้แจ้งในจิตเดิมแท้ การที่จะเข้าถึงวิถีธรรมของความ
เป็นมหาบุรุษได้อยู่ที่จะต้องยอมรับและเข้าใจอย่างชัดเจนในอนุตตรภาวะหรือจิตญาณอันบริสุทธิ์ที่เต็มไปด้วย
คุณงามความดีของตัวเอง ต้าเสวียจือเต้าไจ้หมิงหมิงเต๋อไจ้ซินหมินไจ้จื่ออวี๋จื้อซั่น หมายถึงวิถีแห่งมหาบุรุษ
อยู่ที่ความเข้าใจกระจ่างแจ้งในอนุตตรภาวะ จิตพุทธะหรือคุณงามความดีของจิตของตัวเองละยังจะต้องใกล้ชิด
สนิทสนมไม่แบ่งเขาไม่แบ่งเรา นำพากล่อมเกลาคนทั้งหลายด้วยการกำหนดหมายหยุดจิตลงตรงจุดวิเศษ
               

หัวข้อ: Re: คัมภีร์มหาบุรุษ 大學首章
เริ่มหัวข้อโดย: หนึ่งเดียว หลุดพ้น ที่ 3/08/2010, 13:02
เมื่อรู้จุดหยุดนิ่งแล้วจากนั้นจึงมีสติ เมื่อก่อนนี้จะให้เราเลิกรัก โลภ โกรธ หลง เป็นเรื่องยากเดี๋ยวนี้พอเรารู้จุดตรงนี้
แล้วเราจึงมีสติได้ดีกว่า เมื่อก่อนที่ยังไม่ได้จุดนี้แม้จะรู้ความเป็นอนิจจังแต่ก็ทำใจไม่ค่อยได้ พอเกิดเหตุร้ายกับตัว
หรือพ่อแม่เจ็บป่วย เราเป็นทุกข์แทบตายใช่มั้ย เดี๋ยวนี้มีสติขึ้นแล้ว ทุกคนก็เกิดมาด้วยญาณดวงนี้พอถึงเวลาจะต้อง
ออกไปจากกายสังขารเราก็มีสติกำหนดรู้ เพราะเรารู้จักกับภาวะนั้นแล้วจิตจึงมีความมั่นคงในการหยุดนิ่งได้ ไม่กระเจิด
กระเจิง ไม่ฟุ้งซ่าน มีสติจากนั้นจะเกิดสมาธิเป็นสมาธิแล้วจึงสงบลง จึงวางใจลงให้คงที่ได้ วางใจคือใจไม่มีโรคไม่มีภัย
ไม่หวั่นไหว ไม่ห่วงใย ไม่กังวล มั่นคงที่อยู่นิ่ง ๆ จิตจึงเกิดความสงบ เมื่อสงบคงที่แล้วจึงเกิดการพิจารณารู้เห็นอย่าง
ชัดเจนถูกต้องเหมือนผืนน้ำนิ่งเรียบทำให้เห็นภาพสะท้อนได้ รู้พิจารณาทำให้เกิดปัญญา จึงไม่โง่เหมือนอย่างที่เคยเป็น
ไม่โง่ที่จะไปรัก โลภ โกรธ หลง หัวปักหัวปำต่อไป ปัญญาจึงเกิดขึ้นเพราะรู้จักพิจารณาถูกผิดควรหรือไม่ควร พิจารณา
แล้วเกิดปัญญา แล้วก็ได้รับคุณจากปัญญาได้หนทางของธรรมะ ไม่หมกมุ่น วกวน ซ้ำซากจึงได้หนทางของการหลุดพ้น
เมื่อเข้าใจถ่องแท้ถึงจิตดวงนี้แล้วและยังอาจเอาความเข้าใจนี้ไปสู่คนทั้งหลาย ยังพาตัวให้ยืนหยัดอยู่ได้ในความถูกต้อง
อีกทั้งช่วยผู้อื่นให้ยืนหยัดในความถูกต้องได้ เรียกว่าช่วยคนช่วยตน ชำระล้างกิเลสวิสัยไม่ดีงามต่าง ๆ ออกไป
สรรพสิ่งมีต้นมีปลาย ที่มีรูปลักษณ์และไม่มีรูปลักษณ์ จะเป็นรูปธรรมหรือนามธรรมมีจุดเริ่มต้น มีต้นกำเนิดความเป็นมา
ไม่ว่าจะเป็นคนเป็นสิ่งของเป็นอะไรก็ตาม ล้วนมีรากฐานของความเป็นมา มีต้นกำเนิดเป็นจุดเริ่มต้น
มีจุดสิ้นสุด เมื่อมีจุดเริ่มต้นก็มีจุดสิ้นสุด และเวียนเริ่มต้นขึ้นมาใหม่ เมล็ดพันธุ์เมล็ดหนึ่งฝังลงภายใต้พื้นดิน เมล็ดพันธุ์นั้น
จึงเป็นจุดเริ่มต้นของชีวิตต้นไม้นั้น เมื่อแตกกิ่ง ก้าน สาขา มีดอก มีใบ มีผล แล้วที่สุกตายไป เมล็ดพันธุ์นั้นถึงจุดสิ้นสุด
แต่ก็ทิ้งเมล็ดพันธุ์เมล็ดไหม่ไว้เป็นจุดเริ่มต้นต่อไป   สรรพสิ่งทั้งหลายล้วนมีจุดเริ่มต้นและมีจุดสิ้นสุดในเวลาเดียวกัน
จุดสิ้นสุดก็เป็นจุดเริ่มต้นสืบเนื่องเรื่อยไปเช่น การตายเป็นจุดเริ่มต้นของการเกิด การเกิดเป็นจุดเริ่มต้นของการตาย